Categories
Uncategorized

ผักผลไม้อบกรอบ อร่อยดี มีประโยชน์ หรือกินแล้วอ้วนกันแน่?

    /    บทความ    /    ผักผลไม้อบกรอบ อร่อยดี มีประโยชน์ หรือกินแล้วอ้วนกันแน่?

ผักผลไม้อบกรอบ อร่อยดี มีประโยชน์ หรือกินแล้วอ้วนกันแน่?

ผักผลไม้อบกรอบ
อร่อยดี มีประโยชน์ หรือกินแล้วอ้วนกันแน่?

ผักผลไม้อบกรอบจัดวางในจานอย่างสวยงาม: สับปะรด กีวี่ เบอร์รี่

ผักผลไม้อบกรอบ อาหารว่างยอดฮิตที่ฟังดูสุขภาพดี แถมยังกรอบอร่อย เคี้ยวเพลิน ถูกใจคนที่ปกติไม่ชอบผักผลไม้สด แต่ว่าผักผลไม้ที่ผ่านกระบวนการแปรรูปเหล่านี้ มีประโยชน์และคุณค่าทางสารอาหารแค่ไหน กินแล้วอ้วนไหม จะทดแทนผักผลไม้สดๆ ได้จริงหรือเปล่า? มาหาคำตอบกับพรีโมแคร์ได้ในบทความนี้

ประโยชน์ของผักอบกรอบ ที่อาจมีไม่เท่ากัน

แม้จะเป็นผักผลไม้อบกรอบเหมือนกันก็ใช่ว่าจะมีประโยชน์และคุณค่าทางสารอาหารเท่ากัน ผักอบกรอบส่วนใหญ่ที่วางขายในท้องตลาดมี 2 แบบ คือ ผักที่ผ่านการอบแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (Freeze drying) และผักที่ผ่านการทอดในสุญญากาศ (Vacuum frying) ซึ่งเมื่อเทียบกันแล้วการอบแห้งแบบแรกหรือการฟรีซดรายถือเป็นวิธีที่ค่อนข้างทันสมัย และจะช่วยคงคุณค่าทางสารอาหารในผักผลไม้ได้มากกว่า

  • ผักผลไม้อบแห้งแบบแช่เยือกแข็ง หรือ Freeze drying คือ การนำผักผลไม้ไปแช่แข็งในระบบสุญญากาศที่อุณหภูมิ 0 องศาและผ่านกระบวนการระเหิดจนน้ำแข็งกลายเป็นไอ ทำให้น้ำในผักผลไม้หายไปมากกว่าวิธีอบแห้งแบบดั้งเดิม ในขณะที่โครงสร้างต่างๆ ของผักผลไม้ยังคงมีรูปร่าง กลิ่น สี รสชาติคล้ายเดิม และมีความกรอบ วิธีนี้จะช่วยยืดอายุอาหารได้นานถึง 25 ขึ้นไป โดยที่ยังคงคุณค่าทางโภชนาการได้มากกว่า 90% มีน้ำหนักเบา พกพาะดวก
  • ผักผลไม้แบบทอดในสุญญากาศ (Vacuum frying) คือ การนำผักผลไม้ที่อุณหภูมิปกติไปทอดใต้สภาวะสุญญากาศที่มีความดันอากาศต่ำ โดยใช้อุณหภูมิต่ำที่ 60-80 องศา ซึ่งจะทำให้น้ำในผักผลไม้ระเหยออกไปได้มากกว่าการทอดในรูปแบบอื่น จึงช่วยรักษาคุณภาพอาหาร ทั้งกลิ่น สี รสชาติ และคงคุณค่าทางสารอาหารได้ดีกว่าการทอดที่ไฟแรงสูง ทั้งยังมีความกรอบและอมน้ำมันน้อยกว่า

จะเห็นได้ว่าการอบแห้งแบบฟรีซดรายนั้นไม่มีกระบวนการทอดเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงปราศจากน้ำมัน ในขณะที่การทอดในสุญญากาศยังคงมีน้ำมันเป็นส่วนประกอบ แม้จะอมน้ำมันน้อยกว่าการทอดแบบอื่นที่มีความดันปกติหรือความดันสูงก็ตาม

คุณค่าทางโภชนาการในผักอบกรอบ

ผักผลไม้อบกรอบชนิดฟรีซดรายมีคุณค่าทางสารอาหารมากกว่าชนิดทอดในสุญญากาศ และมีแคลอรี่น้อยกว่าเนื่องจากไม่ใช้น้ำมัน อย่างไรก็ตาม การรับประทานผักผลไม้สดยังถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในบรรดาทั้งหมด เนื่องจากกระบวนการฟรีซดรายจะทำให้สารอาหารบางอย่างสลายไปส่วนหนึ่ง เช่น วิตามินซี และกรดโฟลิก 

นอกจากนี้ แม้น้ำและความชื้นจะถูกดูดออกไปจนมีน้ำหนักเบาลงมาก แต่ปริมาณน้ำตาลในเนื้อผลไม้จะยังคงอยู่เท่าเดิม ทำให้เสี่ยงได้รับน้ำตาลสูงหากเผลอรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยควรจำกัดปริมาณครั้งละ 1 ส่วน (ประมาณ ½ ถ้วย) และเลือกผลไม้ที่มีน้ำตาลน้อย 

สำหรับผักอบกรอบแบบทอดในสุญญากาศนั้นแม้จะมีสารอาหารน้อยกว่าแบบดรายฟรีซและมีน้ำมัน แต่เมื่อเทียบกับขนมขบเคี้ยวตามท้องตลาดที่ทอดแบบปกติก็ยังถือว่าดีกว่า เพราะสามารถคงรสชาติสารอาหารได้มาก และมีแคลอรี่น้อยกว่า ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าอาหารจังก์ฟู้ดอื่นๆ ในยามที่รู้สึกอยากกินของทอด

ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องควรระมัดระวังก็คือผักผลไม้อบกรอบที่ไม่มีฉลากโภชนาการที่ถูกต้อง และไม่มีเลขที่อย. กำกับ ซึ่งไม่อาจแน่ใจได้เลยว่าผ่านกระบวนการผลิตแบบใดและมีคุณค่าทางโภชนาการมากน้อยแค่ไหน

กิน “ผักอบกรอบ” อ้วนไหม กินอย่างไรให้สุขภาพดี?

ผักผลไม้อบกรอบยังคงมีปริมาณน้ำตาลเท่ากับผักผลไม้สด แต่กลับมีน้ำหนักที่เบาและอิ่มท้องน้อยลง นั่นอาจทำให้เราเผลอกินทีละมากๆ จนได้รับแคลอรี่สูงเกินไปและตามมาด้วยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผักอบกรอบแบบทอดในสุญญากาศก็มีแคลอรี่จากน้ำมันพ่วงมาด้วย 

วิธีกินผักอบกรอบอย่างสุขภาพดีและไม่อ้วน ทำได้ดังต่อไปนี้  

  • ไม่ควรกินผักผลไม้อบกรอบทดแทนผักผลไม้สดทั้งหมด
  • เลือกผักและผลไม้อบกรอบที่แปรรูปด้วยการแช่เยือกแข็งหรือฟรีซดรายเป็นหลัก
  • เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากโภชนาการและผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
  • เลือกกินผักผลไม้อบกรอบหลากหลายชนิด หลากหลายสีสัน เพื่อคุณค่าสารอาหารที่ครบถ้วน
  • เลือกผักผลไม้อบกรอบที่ให้พลังงานต่ำและมีเส้นใยอาหารสูง เช่น ผักใบเขียว บร็อกโคลี่ แครอท กระเจี๊ยบเขียว มะเฟือง แอปเปิล ราสเบอร์รี สตรอว์เบอร์รี
  • จำกัดปริมาณการกินผักผลไม้อบกรอบแต่พอดี โดยเฉพาะผักผลไม้ที่ให้พลังงานสูง เช่น ทุเรียน มันเทศ กล้วย อินทผาลัม 
  • เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณเกลือ น้ำตาล และผงปรุงรสแต่น้อย เพื่อจำกัดปริมาณน้ำตาลและโซเดียม โดยสังเกตได้จากบนฉลากโภชนาการ

เคล็ดลับการกินผักผลไม้สดให้อร่อย

ความกรุบกรอบและรสชาติหวานมันเค็มของผักผลไม้อบกรอบอาจชวนให้อยากกินมากกว่าผักผลไม้สด แต่ถ้าอยากเพิ่มการกินผักผลไม้สดเพื่อสุขภาพที่ดี ก็สามารถเพิ่มความเพลิดเพลินในการกินตามเคล็ดลับต่อไปนี้

  • หั่นผลไม้เป็นชิ้นกินคู่โยเกิร์ตแบบไม่มีน้ำตาล เช่น กล้วย สตรอว์เบอร์รี กีวี่ 
  • กินผักผลไม้แช่เย็นจิ้มกับช็อกโกแล็ตหรือเนยถั่วเล็กน้อยเป็นอาหารว่าง
  • นำผักผลไม้มาปั่นเป็นสมูทตี้แบบไม่แยกกากใยพร้อมกับโยเกิร์ต หรือปั่นกับน้ำแล้วแช่เย็นกินเป็นไอศกรีม
  • โรยถั่ว ลูกเดือย งา หรือธัญพืชอื่นๆ เพิ่มในอาหาร 
  • นำผักผลไม้หรือถั่วลูกไก่มาอบ/ต้มกินเป็นของว่าง
  • ทำเมนูผักผลไม้ทอดกรอบในหม้อทอดไร้น้ำมัน แทนการทอดแบบใช้น้ำมัน

สุดท้ายนี้ ไม่ว่าจะกินผักผลไม้สดหรือกินแบบอบกรอบก็ต้องไม่ลืมจำกัดปริมาณแต่พอดีด้วยเสมอ โดยเฉพาะผักอบกรอบที่เคี้ยวเพลินและมีการปรุงแต่งรสชาติจนยากที่จะหักห้ามใจให้หยุดกิน แถมยังไม่ค่อยอิ่มท้อง ทำให้เสี่ยงได้รับปริมาณแคลอรี่และน้ำตาลสูงเกินได้ง่าย

พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก ดูแลรอบด้าน ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์สุขภาพ โดยทีมแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ นักกายภาพบำบัด นักกำหนดอาหาร และนักจิตวิทยา 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายล่วงหน้าที่ @primocare 
โทร 02-038-5595, 082-527-9924
คลิกดูหลากหลายบริการของเราที่นี่

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

ปัญหา “ความรุนแรงในครอบครัว” หยุดได้ ถ้าทุกคนเข้าใจ

    /    บทความ    /    ปัญหา “ความรุนแรงในครอบครัว” หยุดได้ ถ้าทุกคนเข้าใจ

ปัญหา “ความรุนแรงในครอบครัว” หยุดได้ ถ้าทุกคนเข้าใจ

ปัญหา “ความรุนแรงในครอบครัว”
หยุดได้ ถ้าทุกคนเข้าใจ

เด็กน้อยนั่งเศร้ากับของเล่น หันหน้าออกจากภาพความรุนแรงในครอบครัวเมื่อพ่อแม่ทะเลาะกันโดยมีการบีบแขนและโต้เถียง

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว เผยสถิติความรุนแรงในครอบครัว ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา (ต.ค.63-ก.ย.64) มีเหยื่อมากถึง 2,177 ราย โดยเป็นเพศหญิงถึง 81% ซึ่ง 77% ไม่เคยมีการดำเนินคดีหรือร้องขอความช่วยเหลือ ส่วนผู้กระทำความรุนแรงนั้นส่วนใหญ่เป็นเพศชาย โดยคิดเป็น 86% นอกจากนี้องค์กรสหประชาชาติ ยังระบุว่าประเทศไทยยังติด 1 ใน 10 ประเทศที่มีสถิติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีสูงอย่างต่อเนื่อง 

ทั้งนี้​ การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นอีกตัวกระตุ้นสำคัญของการใช้ความรุนแรงในครอบครัว โดยพบสถิติเพิ่มสูงขึ้นถึง 66% หลังจากมีมาตรการอยู่บ้านลดการติดเชื้อ ซึ่งปัจจัยร่วมส่วนใหญ่เกิดจากเรื่องความเครียดทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อรายได้ในครอบครัวและการใช้สารเสพติด เช่น สุรา และบุหรี่

คำจำกัดความของ “ความรุนแรงในครอบครัว​”

ความรุนแรงในครอบครัว (Family violence หรือ Domestic violence) หมายถึงการใช้ความรุนแรงในรูปแบบใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการทำร้าย ข่มขู่ บังคับ รวมถึงการพยายามควบคุมบงการให้เหยื่อทำในสิ่งที่ตนเองต้องการ ซึ่งเหยื่อในที่นี้ก็คือบุคคลในครอบครัว โดยอาจเป็นคู่สามีภรรยา พ่อแม่ ลูก หลาน พี่น้อง ปู่ย่าตายาย หรือเครือญาติ

ความรุนแรงที่เกิดขึ้นไม่จำกัดแค่การใช้กำลังทำร้ายร่างกายเท่านั้น แต่รวมถึงการใช้คำพูดและการบังคับบงการที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อจิตใจ อารมณ์ รวมถึงความรู้สึกปลอดภัยในการใช้ชีวิตโดยไม่ต้องรู้สึกหวาดกลัวหรือหวาดระแวง 

  • ความรุนแรงทางร่างกาย (Physical abuse) เป็นการใช้กำลังให้เกิดการบาดเจ็บหรือเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ เช่น​ ตบ ตี เตะ ต่อย หยิก การใช้อาวุธขู่หรือทำร้าย รวมไปถึงการห้ามไม่ให้เหยื่อได้รับการรักษาอาการเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บที่เกิดขึ้น
  • ความรุนแรงทางอารมณ์หรือจิตใจ (Emotional abuse) เป็นการทำร้ายทางคำพูดหรือการกระทำ ที่แม้จะไม่มีร่องรอยเป็นหลักฐานชัดเจนเหมือนความรุนแรงทางร่างกาย แต่อาจสร้างบาดแผลทางจิตใจอย่างรุนแรง เช่น ดูถูกเหยียดหยาม ด้อยค่า ทำลายข้าวของส่วนตัวของอีกฝ่ายหรือขู่ทำลาย ตะโกนด่าทอ ทำให้อับอายทั้งในที่ส่วนตัวหรือสาธารณะ แสดงความหึงหวงเกินเหตุ พูดทำร้ายความรู้สึกแล้วอ้างว่าเป็นผลจากแอลกอฮอล์หรือสารเสพติด พูดปั่นหัวให้เหยื่อสับสนหรือโทษตัวเอง สนับสนุนให้ลูกมีพฤติกรรมต่อต้านเหยื่อ รวมไปถึงการจับผิดบงการพฤติกรรม​ การทำให้กลัวหรือรู้สึกไร้หนทางที่จะก้าวออกจากความสัมพันธ์
  • ความรุนแรงทางเพศ (Sexual abuse) มักมีความรุนแรงทางร่างกายมาเกี่ยวข้องด้วย เช่น การสัมผัสทางเพศโดยที่อีกฝ่ายไม่ยินยอม เช่น ข่มขืน (ไม่เว้นกรณีที่สามีบังคับภรรยาให้มีเพศสัมพันธ์) บังคับให้มีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น ไม่ยอมใช้ถุงยางอนามัยหรือคุมกำเนิดเมื่ออีกฝ่ายต้องการคุมกำเนิด บังคับให้ตั้งครรภ์ รวมถึงการวิจารณ์ว่าอีกฝ่ายไม่สามารถสร้างความพึงพอใจทางเพศให้ตน การกล่าวหาว่านอกใจ การตั้งใจลงโทษหรือบงการอีกฝ่ายด้วยการไม่มีเพศสัมพันธ์หรือไม่แสดงความรัก
  • การทารุณกรรมทางการเงิน (Financial abuse) คือการพยายามให้เหยื่อต้องพึ่งพาทางด้านการเงิน เช่น ควบคุมบงการการใช้เงิน บังคับให้แจกแจงการใช้เงินทุกอย่าง บังคับเก็บเงินของอีกฝ่ายไว้ที่ตนเอง ขโมยเงิน ไม่ให้เงินไปโรงเรียนหรือทำงาน ห้ามไม่ให้ไปทำงานหาเงินหรือพยายามทำให้งานเสียหาย ขู่ว่าจะไม่เลี้ยงดูลูกหากเหยื่อจบความสัมพันธ์ รวมถึงการห้ามไม่ให้อีกฝ่ายเข้าถึงทรัพยากรอาหาร เสื้อผ้า ยารักษาโรค และที่พักอาศัย
  • การล่วงละเมิดทางจิต (Spiritual abuse) คือการใช้ศาสนา ความเชื่อ หรือวัฒนธรรมมาเป็นข้ออ้างเพื่อบงการเหยื่อ เช่น ห้ามไม่ให้ปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อทางศาสนา
  • การล่วงละเมิดด้วยการสะกดรอย เป็นการติดตามความเคลื่อนไหวโดยละเมิดความเป็นส่วนตัวซึ่งเป็นได้ทั้งในแง่การติดตามในชีวิตจริงและในโลกออนไลน์ เช่น ตามติดทุกที่โดยที่เหยื่อไม่เต็มใจ ติด GPS ที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือสอดส่องความเคลื่อนไหวในโลกออนไลน์ตลอดเวลา ติดตั้งกล้องสอดแนมในตุ๊กตาหรือของเล่น เป็นต้น

ลบความเชื่อผิดๆ ร่วมสร้างสังคมปลอดความรุนแรง

สังคมไทยของเรายังมีค่านิยมและความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัวอยู่มาก ซึ่งความเชื่อที่ผิดเหล่านี้ฝังรากลึกและบางครั้งก็เป็นปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้ความรุนแรงกลายเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ไปเสียอย่างนั้น พรีโมแคร์ชวนคุณมาทำความเข้าใจ และแบ่งปันความรู้ที่ถูกต้องแก่คนรอบข้างเพื่อสร้างความตระหนักรู้ และเปลี่ยนทัศนคติต่อความรุนแรงในครอบครัวของคนในสังคม ให้กลายเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้เช่นเดียวกับความรุนแรงในรูปแบบอื่น

ความเชื่อ #1 ความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องไกลตัว

ข้อมูลจากศูนย์พึ่งได้ (One Stop Crisis Center: OSCC) กระทรวงสาธารณสุขในปี 2018 คาดการณ์ว่า 1 ใน 6 ของผู้หญิงไทยเคยเผชิญกับความรุนแรงในคู่รัก และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในทุกปี โดยส่วนใหญ่เป็นความรุนแรงทางอารมณ์และจิตใจ ความรุนแรงทางเพศ และความรุนแรงทางร่างกาย นอกจากนี้ รายงานข้อมูลในสหรัฐอเมริกา ชี้ว่า 1 ใน 4 ของผู้หญิง และ 1 ใน 9 ของผู้ชาย ต่างเคยเผชิญความรุนแรงในครอบครัวมาในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต

ความเชื่อ #2 ความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้นในครอบครัวที่ยากจนเท่านั้น

ความรุนแรงในครอบครัวไม่ขึ้นอยู่กับความยากดีมีจน สถานะทางสังคม ระดับการศึกษา เชื้อชาติ หรือศาสนา และเกิดขึ้นได้ในทุกพื้นที่ทั่วโลก 

ความเชื่อ #3 ความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้นในคู่รักหญิง-ชายเท่านั้น

มีข้อมูลชี้ว่าความรุนแรงเกิดขึ้นกับคู่รักเพศเดียวกันได้มากพอกับคู่รักหญิงชาย โดยที่อาจมีอัตราเสี่ยงต่อความรุนแรงมากกว่าด้วยสาเหตุจากความเชื่อและทัศนคติผิดๆ ต่อความสัมพันธ์แบบเพศเดียวกัน เช่น การใช้กำลังเป็นการแสดงอำนาจและแสดงความเป็นเจ้าของ หรือความเชื่อที่ว่าความรุนแรงเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในความสัมพันธ์ รวมถึงปัจจัยทางภายนอกอย่างแรงกดดันจากคนในสังคมและการถูกเลือกปฏิบัติ ซึ่งจะยิ่งส่งผลให้เหยื่อลังเลที่จะเอาความหรือเปิดเผยเรื่องราวต่อสาธารณะ

ความเชื่อ #3 การดื่มสุราเป็นสาเหตุให้ขาดสติและใช้ความรุนแรง

การดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้สารเสพติดอื่นๆ อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่กระตุ้นให้ยิ่งเกิดความรุนแรงมากขึ้น แต่ก็ไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริง ผู้ใช้ความรุนแรงหลายคนมักอ้างว่าตนขาดสติจากการดื่มแอลกอฮอล์เพื่อให้พ้นผิดหรือไม่ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำที่ตัวเองก่อ หรือบางทีก็อ้างว่าใช้ความรุนแรงเพราะไม่ได้ดื่มสุราตามต้องการ

ความเชื่อ #4 ความรุนแรงในครอบครัวเกิดจากการใช้อารมณ์ชั่ววูบ

ความรุนแรงไม่ใช่อารมณ์ชั่ววูบหรือการบันดาลโทสะ แต่เป็นเพียงข้ออ้างในการกระทำรุนแรง โดยผู้ใช้ความรุนแรงมักมีสติมากพอที่จะเลือกใช้ความรุนแรงต่อคนรักหรือคนในครอบครัวเท่านั้น ไม่เคยคิดใช้ความรุนแรงกับผู้อื่น เช่น หัวหน้า หรือเพื่อนบ้าน และหากมีคนมาเคาะประตูบ้านหรือมีคนโทรมาก็สามารถหยุดความรุนแรงนั้นได้ทันที นอกจากนี้ส่วนใหญ่มีสติคิดร้ายร่างกายเหยื่อในส่วนที่คนภายนอกมองไม่เห็น และมักลงมือเมื่ออยู่ในพื้นที่ลับตา ไม่มีพยานรู้เห็นเท่านั้น

ความเชื่อ #5 หากผู้ใช้ความรุนแรงสำนึกผิด และสัญญาว่าจะไม่ทำอีก ความรุนแรงก็จะสิ้นสุดลง

ผู้ใช้ความรุนแรงบางคนอาจมีท่าทีสำนึกและอ้อนวอนให้เหยื่อให้อภัยโดยสัญญาว่าจะไม่ทำอีก แต่นั่นอาจเป็นเพียงวิธีควบคุมบงการให้เหยื่อไม่สามารถหลุดพ้นไปจากความสัมพันธ์ได้ ผู้ใช้ความรุนแรงส่วนใหญ่จะไม่สามารถหยุดพฤติกรรมดังกล่าวได้จริง ทั้งยังมีแนวโน้มกระทำบ่อยขึ้นและเพิ่มระดับความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

ความเชื่อ #6 ความรุนแรงเป็นเรื่องของผู้ใหญ่ ไม่มีผลต่อเด็ก

การเห็นพ่อหรือแม่ถูกทำร้ายโดยอีกฝ่ายและการเติบโตขึ้นมาในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความรู้สึกหวาดกลัวจากผู้กระทำความรุนแรงมีผลกระทบอย่างมากต่อเด็ก การศึกษาหลายงานยังชี้ว่าเด็กๆ สามารถรับรู้ถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นแม้จะไม่ได้กระทำต่อหน้า ซึ่งเด็กๆ ที่เผชิญความรุนแรงเหล่านี้จะมีความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าและมีปัญหาด้านพฤติกรรมและพัฒนาการ รวมถึงปัญหาในการสร้างและรักษาความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มที่จะใช้ความรุนแรงกับคู่ของตนเมื่อโตขึ้นมากกว่าเด็กทั่วไป

ความเชื่อ #7 เป็นตัวเหยื่อเองที่เลือกจะไม่เดินออกมาจากความสัมพันธ์ที่มีการใช้ความรุนแรง

หลายครั้งที่ผู้ที่ตกอยู่ในความสัมพันธ์ที่อีกฝ่ายใช้ความรุนแรงไม่สามารถก้าวออกมาได้ด้วยเหตุผลหลายอย่าง เหยื่ออาจยังไม่สามารถตัดใจได้เนื่องจากผู้ใช้ความรุนแรงมักไม่ได้แสดงด้านแย่ออกมาตั้งแต่ในช่วงแรก แต่เป็นเรื่องดีๆ ที่ทำให้ฝ่ายผู้ถูกกระทำเกิดความรักความผูกพันและพร้อมให้อภัยโดยเชื่อว่าจะไม่ถูกทำร้ายอีก และอาจเป็นเหตุผลด้านอื่นๆ อีกมากมาย เช่น เป็นห่วงความปลอดภัยของลูก ไม่สามารถนำลูกไปด้วยได้ ไม่มีที่ไป ไม่ได้ทำงานและไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ในด้านการเงิน นอกจากนี้บ่อยครั้งที่มีการบงการให้เหยื่อแยกตัวออกห่างจากเพื่อนฝูงหรือครอบครัว ทำให้ยิ่งยากที่จะออกจากความสัมพันธ์ที่เป็นพิษได้

ความเชื่อ #8 เหยื่อมีนิสัยชอบความรุนแรง หรือเป็นฝ่ายกระตุ้นให้เกิดความรุนแรง

หลายครั้งที่เหยื่อตกอยู่ในความสัมพันธ์ที่รุนแรงมากกว่า 1 ครั้ง ทำให้ถูกมองว่ามีลักษณะนิสัยที่ดึงดูดคนที่ชอบใช้ความรุนแรง หรือบางครั้งเป็นเหยื่อเองที่โทษตัวเอง อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญคือข้อเท็จจริงที่ว่า “ไม่มีใครสมควรถูกใช้ความรุนแรง” ไม่ว่าเหยื่อจะมีลักษณะนิสัยอย่างไร หรือแม้แต่พฤติกรรมนอกใจ การทำร้ายหรือใช้ความรุนแรงเพื่อลงโทษก็เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้อยู่ดี

ความเชื่อข้อนี้ที่ว่าเหยื่อเป็นสาเหตุให้เกิดความรุนแรง มีลักษณะของการโทษเหยื่อ หรือ Victim Blaming  ซึ่งมักมีรากฐานจากความเชื่อที่ว่าผู้ชายเป็นหัวหน้าครอบครัวและมีสิทธิลงโทษภรรยาหรือลูกเมื่อมีพฤติกรรมไม่ตรงกับความต้องการหรือความคาดหวังของตนเอง

ความเชื่อ #9 ผู้ที่ใช้ความรุนแรงและ/หรือเหยื่อความรุนแรง เป็นคนที่ไม่เห็นคุณค่าของตัวเอง (Low self-esteem)

ผู้ใช้ความรุนแรงส่วนใหญ่ไม่ได้มีภาวะเคารพตัวเองต่ำ แต่เกิดจากความเชื่อว่าตัวเองมีอำนาจควบคุมบงการชีวิตและลงโทษคู่ของตนหรือลูกๆ หรือบางทีอาจใช้ลักษณะดังกล่าวเป็นข้ออ้างเพื่อซักฟอกตัวเองจากการใช้ความรุนแรงเท่านั้น ส่วนเหยื่อความรุนแรงก็ไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่มีความเคารพหรือเห็นค่าของตัวเองต่ำ แต่อาจถูกปั่นหัวจากผู้ใช้ความรุนแรงด้วยการดูถูก พูดให้เสียความมั่นใจ หรือโยนความผิดในเรื่องต่างๆ ให้ ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้เหยื่อโทษตัวเองและไม่กล้าเปิดโปงผู้กระทำ

ความเชื่อ #10 ผู้หญิงที่เป็นเหยื่อมักโกหกเกี่ยวกับการถูกใช้ความรุนแรง

กรณีการใช้ความรุนแรงที่เกิดจากการกุเรื่องถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับกรณีที่เกิดขึ้นจริง โดยมีการศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังในปี 2013 พบว่าในช่วง 17 เดือน มีเคสความรุนแรงในครอบครัวทั้งหมด 111,891 เคส พบเพียง 6 เคสเท่านั้นที่เป็นการกล่าวหาที่ไม่เป็นความจริง ความเชื่อข้อนี้ยังเป็นดาบสองคมที่อาจทำให้เหยื่อความรุนแรงยิ่งไม่กล้าขอความช่วยเหลือเมื่อเผชิญความรุนแรง เนื่องจากกลัวว่าจะไม่มีใครเชื่อ โดยจากสถิติของศูนย์พึ่งได้ พบว่ามีถึง 77% ที่เหยื่อตัดสินใจไม่แจ้งความดำเนินคดี

ความเชื่อ #11 ผู้ชายที่ใช้ความรุนแรง เติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่ใช้ความรุนแรง

เป็นความจริงที่ผู้ชายที่ใช้ความรุนแรงบางส่วนมีพื้นฐานมาจากการเผชิญความรุนแรงในวัยเด็ก แต่ก็มีหลายคนเช่นกันที่ไม่ได้เลียนแบบพฤติกรรมความรุนแรงในวัยเด็ก ทั้งนี้การเผชิญความรุนแรงในวัยเด็กและพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงในวัยผู้ใหญ่นั้นมีความซับซ้อนและยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัด แต่สิ่งสำคัญที่สุดก็คือการสร้างบรรทัดฐานความเข้าใจใหม่ว่า ความรุนแรงคือทางเลือกและการตัดสินใจเฉพาะบุคคล ไม่ควรมีข้ออ้างที่ทำให้กลายเป็นเรื่องชอบธรรมได้ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในเพศใดก็ตาม

เมื่อตกอยู่ในความสัมพันธ์ที่มีความรุนแรงหรือพบเห็นการใช้ความรุนแรงในครอบครัว สามารถขอความช่วยเหลือจากสายด่วน 191 หรือสายด่วน 1300 ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของศูนย์ช่วยเหลือสังคม One Stop Crisis Center (OSCC) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) 

หากไม่แน่ใจว่ากำลังเผชิญกับความรุนแรงในครอบครัวหรือไม่ คุณสามารถทำแบบประเมินแบบวัดความสัมพันธ์/ความรุนแรงในชีวิตคู่ และค้นหาช่องทางขอความช่วยเหลือทั่วประเทศไทย ได้ในแอปพลิเคชัน icanplan ซึ่งจัดทำขึ้นโดยวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้ความช่วยเหลือและแนะแนวทางการรับมือกับความรุนแรงโดยเฉพาะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

เสื่อมสมรรถภาพทางเพศเพราะสุขภาพจิตย่ำแย่ ปัญหาที่ผู้ชายไม่ควรมองข้าม

    /    บทความ    /    เสื่อมสมรรถภาพทางเพศเพราะสุขภาพจิตย่ำแย่ ปัญหาที่ผู้ชายไม่ควรมองข้าม

เสื่อมสมรรถภาพทางเพศเพราะสุขภาพจิตย่ำแย่ ปัญหาที่ผู้ชายไม่ควรมองข้าม

เสื่อมสมรรถภาพทางเพศเพราะสุขภาพจิตย่ำแย่
ปัญหาที่ผู้ชายไม่ควรมองข้าม

ผู้ชายนั่งเครียดกุมศีรษะที่ปลายเตียงจากปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ด้านข้างมีผู้หญิงนอนหลับอยู่

เชื่อหรือไม่ว่าภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศชาย หรือที่มักเรียกกันว่า “นกเขาไม่ขัน” อาจไม่ได้เกิดจากปัญหาทางด้านร่างกายเสมอไป โดยกว่า 40% ของปัญหานี้มีปัจจัยทางด้านสุขภาพจิตเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นความเครียด วิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า หรือแม้แต่ความรู้สึกผิด รวมถึงความไม่มั่นใจในตัวเอง และความกังวลเกี่ยวกับความสัมพันธ์

อาการของภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

การที่อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัวอย่างที่ควร เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เป็นครั้งคราวและไม่ได้น่าวิตกกังวลมากนัก แต่หากปัญหานี้เกิดขึ้นบ่อยๆ ในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ (ประมาณร้อยละ 50 ขึ้นไป) นั่นอาจแสดงถึงภาวะเสื่อมสมรรถภาพ ซึ่งมีชื่อเรียกทางการแพทย์เรียกสั้นๆ ว่า ED (Erectile dysfunction) ได้

อาการที่เป็นสัญญาณบ่งบอกการเสื่อมสมรรถภาพในเพศชาย

  • อวัยวะเพศไม่แข็งตัวเต็มที่ หรือไม่แข็งตัวพอที่จะมีเพศสัมพันธ์ให้สำเร็จ
  • อวัยวะเพศหดตัวก่อนเสร็จกิจ
  • มีภาวะหลั่งเร็วหรือหลั่งช้าเกินไป
  • มีความสนใจในเซ็กส์ แต่การมีเซ็กส์กลับกลายเป็นเรื่องยาก

ทั้งนี้ แต่ละคนอาจมีอาการของภาวะนี้แตกต่างกันไป การคอยหมั่นสังเกตความผิดปกติและปัญหาการแข็งตัวที่กระทบการร่วมเพศ จะทำให้คุณสามารถให้ข้อมูลแก่แพทย์ได้โดยละเอียด และช่วยให้การวินิจฉัยเป็นไปได้ง่ายขึ้น

ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เกิดจากอะไร?

การแข็งตัวของของเพศชายแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ คือ

  • การแข็งตัวที่เกิดจากสิ่งเร้าทางร่างกาย เช่น การสัมผัส
  • การแข็งตัวที่เกิดจากสิ่งเร้าทางจิต เช่น ความนึกคิด จินตนาการ มุมมองต่อความสัมพันธ์
  • การแข็งตัวในตอนกลางคืนขณะนอนหลับ ซึ่งเป็นกลไกตามธรรมชาติ

เมื่อกลไกทางจิตเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลต่อการตื่นตัวทางเพศ สุขภาพจิตของเราจึงเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศตามมาได้ โดยอาจเป็นผลจากความเครียดและวิตกกังวล ความไม่มั่นใจในรูปร่างตัวเอง ปัญหาสุขภาพจิตที่เกี่ยวเนื่องกับปัญหาการนอนหลับ รวมถึงการกังวลว่าตนเองมอบความสุขในการร่วมรักให้กับคู่ได้ไม่เพียงพอ 

เจาะลึก ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศจากปัจจัยทางสุขภาพจิต 

  • ความเครียดและความวิตกกังวล ปัญหาต่างๆ ในชีวิต เช่น การทำงาน การเงิน​ ความขัดแย้งในครอบครัว​ อาจส่งผลต่อทั้งร่างกายและจิตใจจนไม่อยากคิดเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ฮอร์โมนความเครียดที่ร่างกายปล่อยออกมาก็กระทบต่อการแข็งตัวของอวัยวะเพศได้เช่นกัน
  • ภาวะซึมเศร้า สารเคมีในสมองที่เปลี่ยนแปลงจนเป็นสาเหตุของภาวะซึมเศร้าอาจส่งผลต่อสมองส่วนที่ควบคุมแรงขับทางเพศและการแข็งตัวของอวัยวะเพศ และมีงานวิจัยชี้ว่า 75% ของผู้ป่วยซึมเศร้ามักมีปัญหาในการมีเพศสัมพันธ์ตามมา
  • ปัญหา​​ความสัมพันธ์​ การกระทบกระทั่งกันเป็นเรื่องปกติของคู่ชีวิต แต่​หากขาดการพูดคุยสื่อสารให้เข้าใจ ก็อาจเป็นตัวแปรให้ความสัมพันธ์​เปราะบางและมีความปรารถนาต่อกันน้อยลง
  • ความกลัวว่าจะสร้างความพึงพอใจให้คู่ได้ไม่มากพอ ความวิตกกังวลในสมรรถภาพทางเพศของตัวเองมากเกินไปอาจเป็นเหตุให้อวัยวะเพศไม่แข็งตัวขึ้นจริงๆ ได้
  • การเสพติดหนังโป๊ รวมถึงสื่อลามกอื่นๆ ในการช่วยตัวเอง อาจเป็นสาเหตุของภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้เช่นกัน เพราะการเสพติดคือการที่สมองถูกฝึกให้ส่งความรู้สึกตื่นตัวออกไปเมื่อได้ดูหนังโป๊เท่านั้น นอกจากนี้ยังอาจสร้างความคาดหวังที่เป็นไปได้จริงยากต่อความสามารถในการมีเซ็กส์ของตัวเอง เนื่องจากยึดติดกับภาพเกินจริงและความแฟนซีที่หนังโป๊สร้างขึ้น
  • การขาดความมั่นใจในตัวเอง ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ความมั่นใจในตัวเองถดถอย ในทางกลับกันผู้ที่มีความมั่นใจต่ำก็อาจด้อยค่าตัวเองว่าไม่มีเสน่ห์ดึงดูดหรือไม่คู่ควรกับอีกฝ่าย นอกจากนี้ความไม่มั่นใจยังทำให้เกิดความรู้สึกผิด​ ซึมเศร้า​ ​วิตกกังวล​และกลัวถูกปฏิเสธ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ได้กล่าวไปแล้ว
  • ความเฉยชาในความสัมพันธ์​ อาจเกิดจากความเบื่อหน่ายหรือความขัดแย้งที่มาแทนที่ความตื่นเต้นและความพึงพอใจในการมีเพศสัมพันธ์กับคู่รัก
  • ความรู้สึกผิด ไม่ว่าจากเรื่องใดก็ตาม อาจทำให้มีความคิดลงโทษตัวเองและปฏิเสธความพึงพอใจจากเซ็กส์เพื่อไถ่โทษ รวมถึงความรู้สึกผิดที่มีอิทธิพลจากความเชื่อทางศาสนาหรือวัฒนธรรมบางอย่างที่มองว่าการมีเซ็กส์คือเรื่องผิดบาปน่าละอาย

ตรวจสอบตัวเองด้วยคำถามง่ายๆ

วิธีตรวจสอบภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศที่เกิดจากสุขภาพจิตในเบื้องต้น ให้ลองตอบคำถามต่อไปนี้

  1. อวัยวะเพศแข็งตัวปกติเมื่อตื่นนอนตอนเช้าหรือไม่
  2. ชีวิตช่วงนี้กำลังเผชิญความเครียดและวิตกกังวลอย่างมากหรือไม่
  3. อวัยวะเพศแข็งตัวเมื่อช่วยตัวเองหรือไม่
  4. กังวลว่าจะไม่สามารถทำให้คู่พอใจในการร่วมเพศหรือไม่

หากตอบว่า “ใช่” ในข้อใดข้อหนึ่งข้างต้น ก็มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นภาวะเสื่อมสมรรถภาพที่เกิดจากสาเหตุทางจิตใจมากกว่าภาวะจากความผิดปกติทางร่างกายได้

วิธีรับมือกับภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

การรักษาภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศที่เกิดจากจากปัจจัยทางจิตใจจะมุ่งเน้นไปที่การหาสาเหตุแฝงทางสุขภาพจิตและบำบัดด้วยวิธีทางจิตวิทยาเป็นหลัก ทั้งนี้ ปัญหาด้านสมรรถภาพทางเพศอาจเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่หลายคนไม่อยากพูดถึง แต่นักจิตบำบัดมืออาชีพนั้นสามารถช่วยให้เรารู้สึกสบายใจที่จะระบายความในใจ พร้อมกับแนะนำทางออกที่ดีต่อสุขภาพจิต โดยมั่นใจได้เลยว่าข้อมูลการรักษาทั้งหมดจะถูกเก็บเป็นความลับ

ในขั้นตอนการบำบัด นอกจากการพูดคุยให้คำปรึกษาเพื่อจัดการกับความคิดและความรู้สึกที่เป็นตัวการของปัญหาการแข็งตัวของอวัยวะเพศ นักจิตวิทยาอาจแนะนำวิธีพูดคุยกับคู่รักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมาเพื่อร่วมกันแก้ไข แทนที่จะปกปิดหรือปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งอาจสร้างความเข้าใจผิดและเกิดเป็นปัญหาความสัมพันธ์เรื้อรัง รวมถึงการให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษาและทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ในแง่บวก

ในทางตรงกันข้าม หากภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศเกิดจากสาเหตุด้านร่างกาย ได้แก่ ความเสื่อมตามอายุที่มากขึ้น และอาการเจ็บป่วยที่ส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดบริเวณอวัยวะเพศ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคความผิดปกติทางฮอร์โมน การรักษานั้นมักเป็นการใช้ยาเข้าช่วยและเน้นควบคุมโรคที่ส่งผลต่อสมรรถภาพทางเพศ

เมื่อไรถึงควรไปพบแพทย์?

อาการอวัยวะเพศไม่แข็งตัวหรือแข็งตัวไม่เต็มที่ที่นับวันยิ่งรุนแรงหรือเกิดขึ้นบ่อยเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าควรได้รับการรักษาโดยแพทย์ ซึ่งการวินิจฉัยเบื้องต้นมักเริ่มจากตรวจร่างกายและตรวจเลือดเพื่อระบุว่าเกิดจากสาเหตุทางร่างกายหรือไม่ ตลอดจนการถามคำถามเพื่อประเมินสุขภาพทางเพศและระดับความเครียดที่เป็นปัจจัยแฝง

ภาวะเสื่อมหรือหย่อนสมรรถภาพทางเพศที่เกิดจากกลไกทางจิตใจและอารมณ์เกิดขึ้นได้กับผู้ชายทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่วัยรุ่นไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ และไม่จำเป็นต้องมีความผิดปกติทางร่างกายเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอไป ถ้ารู้สึกว่าตัวเองกำลังประสบปัญหานี้ หรือมีความเครียดความวิตกกังวลที่น่าจะส่งผลต่อแรงขับทางเพศ สามารถนัดหมายปรึกษาแพทย์และนักจิตวิทยาพรีโมแคร์​ที่นี่

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายล่วงหน้าที่ @primocare 
โทร 02-038-5595, 082-527-9924
คลิกดูหลากหลายบริการของเราที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

ฝุ่น PM 2.5: ผลกระทบต่อสุขภาพ และวิธีการป้องกันตัวเอง


ฝุ่น PM 2.5: ผลกระทบต่อสุขภาพ และวิธีการป้องกันตัวเอง

ฝุ่น PM 2.5:ผลกระทบต่อสุขภาพ
และวิธีการป้องกันตัวเอง


ภาพทิวทัศน์มุมสูงในเมืองที่พร่ามัวจากการปกคลุมของหมอกควันและฝุ่นพิษ PM 2.5

ค่าฝุ่น PM 2.5 ที่พุ่งสูงในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพกลับมาเยือนในช่วงเดือนธันวาคม-เมษายนของทุกปี ซึ่งแม้จะกลายเป็นปัญหาที่หลายคนเคยชินไปแล้ว แต่ร่างกายของเราอาจไม่ได้คุ้นเคยกับเจ้าฝุ่นจิ๋วที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาวนี้ ลองมาเช็คกันดูว่าคุณกำลังมีสัญญาณ​เตือน​ภัยสุขภาพ​จากฝุ่นละออง PM 2.5 หรือไม่ และจะมีวิธีป้องกันตัวเองอย่างไรได้บ้าง

ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร?

ตัวอักษร PM มาจากคำว่า Particulate Matter ซึ่งเป็นคำเรียกของอนุภาคของแข็งและหยดของเหลวในอากาศที่มีทั้งอนุภาคขนาดใหญ่ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น ฝุ่น ผง ขี้เถ้า ควัน และอนุภาคขนาดเล็กอีกมากมายที่ไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า 

ฝุ่นมลพิษ PM ที่สามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ผ่านการหายใจ แบ่งเป็น 2 ขนาด คือ 

  • PM 10 ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 10 ไมครอน และ 
  • PM 2.5 ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน

PM 2.5 (Fine Particulate matter) เป็นอนุภาคที่มีขนาดเล็กมาก​ เล็กกว่าเส้นผมของมนุษย์ประมาณ 30 เท่า​ โดยหากนำมารวมกันในหลายพันอนุภาค อาจมองเห็นเท่ากับเครื่องหมายจุด (.) เท่านั้น​ โดยเมื่อมี PM 2.5 ลอยตัวอยู่ในอากาศปริมาณมากจะดูคล้ายหมอกเทาปกคลุม ซึ่งมักเกิดขึ้นในวันที่สภาพอากาศที่ค่อนข้างนิ่ง ไม่มีลม จึงทำให้เกิดการสะสมของฝุ่นได้มากกว่าปกติ

ผลกระทบของ ฝุ่น PM 2.5 ต่อสุขภาพ

ด้วยขนาดที่เล็กมาก ทำให้​ PM 2.5 สามารถ​เข้าสู่ร่างกายผ่านระบบทางเดินหายใจไปยังปอด​ได้อย่างง่ายดาย​ และยังมีบางส่วนหลุดไปในกระแสเลือด ด้วยเหตุนี้จึงอาจส่งผลต่​อสุขภาพตามมาทั้งในระยะสั้นและยาวได้

ผลกระทบระยะสั้น​ 

  • ก่อการระคายเคืองต่อดวงตาและระบบทางเดินหายใจ เช่น จมูก​ ลำคอ​ รวมถึงปอด
  • มีอาการไอ​ จาม​ เจ็บคอ น้ำมูกไหล
  • หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย
  • อาจทำให้อาการของโรคที่เป็นอยู่แล้วกำเริบหรือแย่ลง เช่น​ โรคหอบหืด โรคหัวใจ

ผลกระทบระยะยาว

มีการศึกษาจำนวนมากชี้ว่าการสูดดม​ฝุ่นละออง​ PM 2.5 เป็นเวลานานสามารถส่งผลต่อสุขภาพปอดและหัวใจในภายหลัง

  • เพิ่มอัตราการเกิดโรคหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง 
  • ส่งผลให้ปอดทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
  • เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (nonfatal heart attack) และภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ
  • เพิ่มอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอดและโรคหัวใจ
  • เพิ่มอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรในผู้ที่มีโรคปอดหรือโรคหัวใจ

ปัญหา​เหล่านี้จะยิ่งน่าวิตกในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยง​สูงอยู่แล้ว เช่น​ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ โรคปอด โรคหัวใจ รวมถึงเด็ก​ๆ​ และผู้สูงอายุ​ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ร่างกายมักมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อฝุ่นจิ๋วไวกว่าคนกลุ่มอื่น 

PM 2.5 เกิดจากอะไร?

หากเดินตามท้องถนน เราจะได้รับฝุ่นละอองที่ลอยสะสมอยู่ในอากาศจากแหล่งกำเนิดต่างๆ โดยตรง เช่น​ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ รถบรรทุก​ และรถสาธารณะ การก่อสร้างถนนตึกรางบ้านช่อง และกระบวนการใดๆ ก็ตามที่เกิดการเผาไหม้เชื้อเพลิง​จำพวกไม้​ ​ถ่าน​ น้ำมันเครื่อง ใบไม้​ ใบหญ้า รวมไปถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างไฟป่าหรือภูเขาไฟระเบิดที่ลมอาจหอบฝุ่นละอองจำนวนมากไปยังพื้นที่ใกล้เคียงจนค่า PM 2.5 ในอากาศเพิ่มสูง

นอกจากนี้ ฝุ่น PM ยังมักเป็นผลมาจากปฏิกิริยาของก๊าซต่างๆ ในชั้นบรรยากาศ เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ทำปฏิกิริยากับไนโตรเจนออกไซด์ ซึ่งเป็นมลพิษทางอากาศที่ปล่อยมาจากโรงไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม และรถยนต์บนท้องถนน ซึ่งฝุ่นที่ลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศเหล่านี้สามารถเคลื่อนตัวจากแหล่งกำเนิดไปยังพื้นที่ที่ห่างออกไปหลายร้อยกิโลเมตรด้วยการพัดพาของลม

ฝุ่น​ PM​ 2.5​อาจเกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิดในบ้านหรืออาคารจากกิจกรรมบางอย่างได้เช่นกัน ได้แก่​ ควันบุหรี่​ การจุดไฟทำอาหาร การจุดธูปเทียน เทียนหอม และตะเกียง​น้ำมัน เป็นต้น รวมถึงฝุ่นละอองนอกบ้าน​ที่ลอยเข้ามาในบ้านก็สามารถทำให้ความเข้มข้นของฝุ่น PM 2.5 เพิ่มสูงขึ้น

ค่าฝุ่น pm 2.5 ในแต่ละวันบอกอะไร? 

การออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงที่ค่าดัชนี PM 2.5 พุ่งสูงเป็นสิ่งที่พึงระมัดระวัง​ เพราะอัตราการหายใจที่เพิ่มขึ้นเร็วกว่าปกติจะทำให้ได้รับมลพิษในปริมาณที่มากขึ้น​ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงอย่างผู้ป่วยโรคหอบหืด โรคหัวใจ​ โรคปอด รวมถึงเด็กเล็กและผู้สูงอายุ​ ที่เสี่ยงได้รับผลกระทบจากการสูดดม PM2.5​มากกว่าคนทั่วไป

การตรวจเช็คค่าดัชนีอากาศก่อนออกจากบ้านอาจช่วยให้วางแผนการออกกำลังกายนอกบ้านอย่างปลอดภัยและสบายใจมากขึ้น โดยสามารถเข้าไปเช็คค่าดัชนี PM2.5 (Air quality index: AQI) แบบเรียลไทม์ได้ที่​ https://aqicn.org/search/ ซึ่งจะแสดงตัวเลขและระดับสีบ่งบอกคุณภาพอากาศขณะนั้น

ดัชนี
คุณภาพอากาศ
ความหมาย ผลต่อสุขภาพ ข้อควรระวัง
0-50 อากาศดี คุณภาพอากาศดี ไม่มีหรือแทบไม่มีผลต่อสุขภาพ  
51-100 ปานกลาง คุณภาพอากาศดีพอใช้ แต่อาจมีมลพิษบางอย่างที่ส่งผลต่อกลุ่มเสี่ยงที่ไวต่อมลพิษอากาศ เด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด ควรลดการออกกำลังกายกลางแจ้งเป็นเวลานาน
101-150 ไม่ดีต่อกลุ่มเสี่ยง อาจมีผลกระทบต่อกลุ่มเสี่ยง เด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด ควรลดการออกกำลังกายกลางแจ้งเป็นเวลานาน
151-200 ไม่ดีต่อสุขภาพ เริ่มมีผลกระทบต่อคนทั่วไป กลุ่มเสี่ยงอาจยิ่งมีอาการรุนแรงขึ้น – กลุ่มเสี่ยงควรเลี่ยงการออกกำลังกาย/กิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน

– ผู้ที่มีสุขภาพดี ควรลดการออกกำลังกายกลางแจ้งเป็นเวลานาน

201-300 ไม่ดีต่อสุขภาพอย่างมาก ส่งผลกระทบต่อกลุ่มเสี่ยงและผู้มีสุขภาพดีมากขึ้น – กลุ่มเสี่ยงควรเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้งทุกชนิด

– ผู้ที่มีสุขภาพดี ควรลดการออกกำลังกายกลางแจ้ง

300+ อันตราย ทุกคนเสี่ยงได้รับผลกระทบทางสุขภาพที่ร้ายแรงมากขึ้น ทุกคนควรเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้งทุกชนิด

วิธีป้องกันตัวเอง รับมือฝุ่น PM 2.5

ในช่วงที่มีฝุ่นพิษและมีค่า PM 2.5 ในอากาศสูง เราสามารถป้องกันตัวเองตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • ดื่มน้ำให้มาก และใช้น้ำเกลือหรือน้ำสะอาดกลั้วคอแล้วบ้วนทิ้ง วันละ 3-4 รอบ
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายและกิจกรรมกลางแจ้งที่ต้องออกแรงมาก
  • สวมหน้ากากอนามัยชนิดกรองฝุ่น PM 2.5 เมื่อต้องออกจากบ้าน
  • ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคหอบหืด โรคปอด ควรพกยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นติดตัว

การลดฝุ่น PM 2.5 ที่อาจสะสมในบ้าน 

  • ปิดประตูหน้าต่างไม่ให้ฝุ่นมลพิษจากภายนอกเข้ามาในบ้านหรืออาคาร
  • งดสูบบุหรี่ และไม่ควรสูบภายในบ้าน
  • งดทำอาหารประเภทปิ้งย่างที่ก่อให้เกิดควัน และควรติดตั้งเครื่องดูดควันเหนือเตาทำอาหาร
  • งดจุดเทียนหอม ธูปเทียน​ การจุดไฟเผาขยะ ใบไม้
  • เปิดหน้าต่างระบายฝุ่นพิษภายในบ้านในวันที่ค่าดัชนีอากาศดี
  • ปลูกต้นไม้สูงรอบบ้านช่วยกรองอากาศและดูดฝุ่นพิษได้
  • ใช้เครื่องกรองอากาศภายในบ้านช่วยลดระดับ PM 2.5
  • หากมีอาการจากการสูดดมฝุ่นควันที่ผิดปกติ เช่น หายใจไม่ออก แสบหรือระคายเคืองที่ตา ควรรีบมาพบแพทย์

การร่วมมือกันของภาคประชาชน

การลดมลพิษในอากาศและฝุ่นพิษ PM 2.5 เป็นเรื่องที่ต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในการควบคุมการปล่อยมลพิษจากโรงไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงการออกนโยบายและกฎหมายเพื่อผลักดันให้ลดการสร้างมลพิษในอากาศจากทุกภาคส่วนอย่างจริงจัง ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการออกกฎเกณฑ์ที่บังคับใช้อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อการควบคุมมลพิษที่ยั่งยืนเท่าไรนัก

ส่วนทางด้านประชาชน เราสามารถร่วมแรงกันงดก่อมลพิษ ดังนี้

  • สำหรับผู้ใช้รถ ควรใช้น้ำมันที่ไร้สารตะกั่วสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน และใช้น้ำมันดีเซลกลั่นอุณหภูมิต่ำสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล หมั่นเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง และติดตั้งอุปกรณ์กรองไอเสียจากรถยนต์
  • ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวเท่าที่ทำได้ และหันมาเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะที่สร้างมลพิษน้อยกว่า
  • นำพืชผักและเศษอาหารที่เหลือกินเหลือใช้มาทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ลดการเผาทำลาย
  • สนับสนุนให้เกษตรกรประยุกต์ใช้ระบบเกษตรแบบผสมผสาน แทนการปลูกพืชชนิดเดียวที่มักต้องเผาทำลายเป็นจำนวนมาก
  • รวบรวมวัสดุเหลือใช้ไปส่งต่อหรือบริจาคแทนการทิ้งหรือเผาทำลาย
  • ลด ละ เลิก การใช้อุปกรณ์ที่มีสารประกอบที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจก เช่น สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC) และสารไฮโดรฟลูโอ-คาร์บอน (HCFC)

พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก ดูแลรอบด้าน ทุกองค์ประกอบสุขภาพ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายล่วงหน้าที่ @primocare  
โทร 02-038-5595, 082-527-9924
คลิกดูหลากหลายบริการของเราที่นี่


ติดต่อเรา


ติดต่อเรา

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

HPV กับเรื่องที่หญิง-ชาย ต้องรู้ ติดง่ายแค่ไหน รักษาได้ไหม?

    /    บทความ    /    HPV กับเรื่องที่หญิง-ชาย ต้องรู้ ติดง่ายแค่ไหน รักษาได้ไหม?

HPV กับเรื่องที่หญิง-ชาย ต้องรู้ ติดง่ายแค่ไหน รักษาได้ไหม?

HPV กับเรื่องที่หญิง-ชาย ต้องรู้
ติดง่ายแค่ไหน รักษาได้ไหม?

ปกป้องคนที่รักด้วยวัคซีน HPV ปลอดภัยทั้งบ้าน พ่อแม่และลูกสาวพูดคุยใช้เวลาร่วมกันอย่างยิ้มแย้มมีความสุข

ปัจจุบันเชื้อไวรัส HPV (เอชพีวี) เป็นชื่อที่คุ้นเคยว่าคือสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง รวมถึงโรคหูดหงอนไก่ และโรคมะเร็งอีกหลายชนิดทั้งในเพศหญิงและชาย แต่ที่หลายคนอาจยังไม่รู้​ก็คือการติดเชื้อ HPV นั้นใช่ว่าจะต้องเกิดโรคมะเร็งตามมาเสมอไป​ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เชื้อ HPV อันตรายหรือไม่กันแน่​​ วันนี้พรีโมแคร์จะพาไปรู้จักเชื้อไวรัสชนิดนี้ให้มากขึ้นกับ 7 ข้อเท็จจริงต่อไปนี้

1. คนส่วนใหญ่มีเชื้อ HPV แต่ไม่ใช่เชื้อ HPV ทุกสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดมะเร็ง

เชื้อไวรัส HPV (human papillomavirus) คือหนึ่งในสาเหตุของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อย โดยกล่าวได้ว่าทุกคนที่มีเพศสัมพันธ์จะเคยติดเชื้อ HPV อย่างน้อย 1 สายพันธุ์ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต นั่นก็เพราะไวรัสชนิดนี้มีมากกว่า 200 สายพันธุ์ แต่ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ที่ไม่เป็นอันตราย และร่างกายสามารถกำจัดเชื้อจนหายดีได้เองเมื่อเวลาผ่านไป

อย่างไรก็ตาม มีเชื้อ HPV บางสายพันธุ์ที่แฝงอยู่ในร่างกายได้นาน และอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคหูดหงอนไก่และมะเร็งต่างๆ ตามมา ซึ่งล้วนมีโอกาสเกิดขึ้นทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ได้แก่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก มะเร็งที่อวัยวะเพศชาย และมะเร็งช่องปากและลำคอ 

HPV สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคในคน แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ

  1. สายพันธุ์ความเสี่ยงสูง ได้แก่ สายพันธุ์ 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58 ซึ่งสามารถก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งอื่นๆ 
  2. สายพันธุ์ความเสี่ยงต่ำ ได้แก่ สายพันธุ์ 6 และ 11 สามารถก่อให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศ แต่จะไม่นำไปสู่มะเร็งหรือปัญหาร้ายแรงอื่นๆ เหมือนสายพันธุ์ความเสี่ยงสูง 

2. ถึงมีเพศสัมพันธ์แบบไม่สอดใส่ก็เสี่ยงติดเชื้อ​ HPV​ 

เชื้อ HPV สามารถติดต่อได้ง่ายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทั้งในเพศหญิงและชาย โดยจะได้รับเชื้อในบริเวณอวัยวะเพศที่สัมผัสเชื้อจากอีกฝ่าย เช่น อวัยเพศหญิง ช่องคลอด ปากช่องคลอด ทวารหนัก อวัยวะเพศชาย อัณฑะ รวมไปถึงช่องปากและลำคอในกรณีมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ปากหรือออรัลเซ็กส์ (Oral Sex) นอกจากนี้แม้จะไม่มีการหลั่งทั้งคู่ และไม่ได้มีการสอดใส่อวัยวะเพศชายเข้าไปภายในช่องคลอด ทวารหนัก หรือปาก ก็ยังเสี่ยงติดเชื้อจากคู่ที่มีเชื้อไวรัสนี้ได้อยู่ดี รวมถึงกรณีที่ใส่ถุงยางแต่มีการสัมผัสผิวหนังตำแหน่งเสี่ยงอื่นๆ

3. ผู้ที่มีเชื้อ HPV ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ

การติดเชื้อ HPV เกิดขึ้นได้อย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิตของคนส่วนใหญ่ที่มีเพศสัมพันธ์ ซึ่งมีหลายคนที่ติดเชื้อและหายได้เองภายใน 2-3 ปีโดยอาจไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าติดเชื้อ ทำให้สามารถส่งต่อเชื้อโดยไม่ได้ตั้งใจได้ง่าย นอกจากนี้ แม้จะป้องกันตัวเองและคู่เป็นอย่างดี หรือไม่เคยเปลี่ยนคู่นอนเลยก็ยังเสี่ยงได้ เนื่องจากเชื้อสามารถฝังตัวอยู่ในร่างกายได้นาน และอาจเริ่มมีอาการเมื่อเวลาผ่านไปหลายปี เช่น หากคบกับแฟนมา 10 ปี ก็เป็นไปได้ที่จะมีการติดเชื้อจากแฟนตั้งแต่ในช่วงแรกๆ ที่มีเพศสัมพันธ์ แต่เพิ่งมามีอาการในช่วงปีหลังๆ 

4. HPV ไม่มีวิธีรักษา

การติดเชื้อ HPV ไม่มีวิธีรักษาให้หายทันที ทำได้เพียงรอให้ร่างกายกำจัดเชื้อออกไปเองตามเวลา ส่วนเชื้อ HPV ชนิดที่ทำให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศนั้นสามารถรักษาด้วยการตัดหูดออกไป แต่ก็ไม่ได้ช่วยกำจัดไวรัสที่แฝงตัวอยู่ 

ในกรณีที่ติดเชื้อสายพันธุ์ความเสี่ยงสูง หากตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ จะมีโอกาสรักษาและป้องกันได้ก่อนที่เซลล์จะกลายเป็นมะเร็ง ดังนั้น การหมั่นตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำจึงเป็นสำคัญอย่างยิ่ง โดยผู้ที่มีเพศสัมพันธ์แล้วควรเริ่มตรวจตั้งแต่อายุ 25 ปีขึ้นไป หากไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ควรเริ่มตรวจตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป 

5. HPV สามารถป้องกันได้

ปัจจุบันมีวัคซีน HPV ที่สามารถป้องกันไวรัสมากถึง 9 สายพันธุ์ ทั้งสายพันธุ์ที่เป็นสาเหตุของหูดที่อวัยวะเพศและมะเร็งปากมดลูก รวมถึงวัคซีน HPV ชนิด 4 สายพันธุ์ และ 2 สายพันธุ์ ซึ่งเป็นวัคซีนตัวเก่าที่ยังมีใช้อยู่

  • วัคซีนชนิด 2 สายพันธุ์ (Cervarix, 2vHPV) ป้องกันเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 ที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกประมาณ 70%
  • วัคซีนชนิด 4 สายพันธุ์ (Gardasil, 4vHPV) ป้องกันเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16, 18 ที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกประมาณ 70% และสายพันธุ์ 6, 11 ที่เป็นสาเหตุของหูดหงอนไก่ 90% รวมทั้งป้องกันโรคและมะเร็งจาก HPV ในเพศชาย เช่น มะเร็งทวารหนัก และหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศชาย
  • วัคซีนชนิด 9 สายพันธุ์ (Gardasil 9, 9vHPV) ป้องกันเชื้อ HPV สายพันธุ์ 6, 11, 16, 18, 31,33, 45, 52, 58 ครอบคลุมเชื้อที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกและโรคหูดหงอนไก่ 90% ทั้งยังมีผลการศึกษารับรองประสิทธิภาพในการป้องกันโรคและมะเร็งจาก HPV ในเพศชาย

นอกจากนี้ การใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ และใช้ Dental Dam หรือแผ่นยางอนามัยขณะออรัลเซ็กส์ ตลอดจนไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ ก็เป็นอีกวิธีป้องกันที่ควรทำควบคู่กันไปเพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ HPV

6. อายุมากกว่า 26 ปี ก็ฉีดวัคซีน HPV ได้

ปัจจุบันวัคซีน HPV แนะนำให้ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9-45 ปี ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย และเป็นวัคซีนสำคัญที่หลายประเทศเริ่มพิจารณาฉีดให้แก่เด็กอายุ 9 ขวบขึ้นไปฟรีตั้งแต่ในปี 2017 เป็นต้นมา ซึ่งในประเทศไทยเองก็มีนโยบายฉีดวัคซีน HPV ให้เด็กหญิง ป.5 ทุกคนฟรีเมื่อไม่กี่ปีมานี้เช่นกัน  

แนวทางการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV ตามช่วงอายุ

อายุ

จำนวนเข็มที่ฉีด

ระยะห่างการฉีด

9-14 ปี*

2 เข็ม**

เข็มที่ 1: วันที่ต้องการฉีด

เข็มที่ 2: หลังจากเข็มแรก 6-12 เดือน

3 เข็ม

เข็มที่ 1: วันที่ต้องการฉีด

เข็มที่ 2: หลังจากเข็มแรก 2 เดือน

เข็มที่ 3: หลังจากเข็มแรก 6 เดือน

15-45 ปี

3 เข็ม

เข็มที่ 1: วันที่ต้องการฉีด

เข็มที่ 2: หลังจากเข็มแรก 2 เดือน

เข็มที่ 3: หลังจากเข็มแรก 6 เดือน

*แพทย์จะพิจารณาจำนวนเข็มที่ต้องฉีดตามความเหมาะสม

**หากเว้นช่วงระหว่างวัคซีนเข็มที่ 1 กับเข็มที่ 2 น้อยกว่า 5 เดือน จะต้องฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 เพิ่ม โดยฉีดห่างจากเข็มที่ 2 อย่างน้อย 4 เดือน

7. ถึงฉีดวัคซีน HPV แล้วก็ยังต้องตรวจมะเร็งปากมดลูกสม่ำเสมอ

ผู้หญิงที่ฉีดวัคซีน HPV แล้ว ยังคงต้องป้องกันด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ ซึ่งจะช่วยให้ตรวจพบเซลล์ผิดปกติที่เกิดจากเชื้อ HPV และรักษาได้ทันท่วงทีตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม เนื่องจากวัคซีนไม่ได้ช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ 100% อีกทั้งไม่สามารถป้องกันเชื้อที่ฝังอยู่ในร่างกายมาก่อน ในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์และเกิดการติดเชื้อก่อนได้รับวัคซีน

ส่งความห่วงใยให้คนรอบข้าง ชวนกันฉีดวัคซีน HPV ป้องกันโรคร้าย โดยเฉพาะเด็กๆ ในครอบครัวที่มีอายุ 9 ปีขึ้นไป เพื่อการป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆ และประสิทธิภาพของวัคซีนที่จะได้รับอย่างเต็มที่ 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายฉีดวัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์ล่วงหน้าที่ @primocare 
โทร 02-038-5595, 082-527-9924
คลิกดูหลากหลายบริการของเราที่นี่

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

ผิวแห้ง คัน ตกสะเก็ด เกิดจากอะไร? รวมทริคดูแลผิวในหน้าหนาว

    /    บทความ    /    ผิวแห้ง คัน ตกสะเก็ด เกิดจากอะไร? รวมทริคดูแลผิวในหน้าหนาว

ผิวแห้ง คัน ตกสะเก็ด เกิดจากอะไร? รวมทริคดูแลผิวในหน้าหนาว

ผิวแห้ง คัน ตกสะเก็ด เกิดจากอะไร?
รวมทริคดูแลผิวในหน้าหนาว

หญิงสาวบำรุงมือที่มีผิวแห้ง คัน และตกสะเก็ดด้วยโลชันมอยซ์เจอร์ไรเซอร์ทั่วทั้งสองมือ เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวในหน้าหนาว

ปัญหาผิวแห้ง ผิวแตกที่อาจมาพร้อมอาการคัน ผิวลอกตกสะเก็ด มักมารบกวนใจในฤดูหนาวที่อุณหภูมิเปลี่ยน อากาศแห้ง ทำให้ผิวหน้าและผิวกายของเราเสียความชุ่มชื้นได้ง่ายขึ้น สำหรับใครที่กำลังกลุ้มใจกับปัญหานี้ วันนี้คุณหมอพรีโมแคร์จะพาไปเจาะลึกสาเหตุและวิธีดูแลผิวให้นุ่มชุ่มชื้น สร้างเกราะป้องกันผิวให้กลับมาแข็งแรงไม่แห้งกร้านอีกต่อไป

สังเกตุอาการผิวแห้ง

อาการผิวแห้งของแต่ละคนอาจมีลักษณะแตกต่างกันไป โดยจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้ผิวแห้ง รวมถึงภาวะสุขภาพและอายุที่จะส่งผลให้มีอาการมากน้อยไม่เหมือนกัน 

อาการที่พบบ่อย ได้แก่

  • ผิวแตกเป็นร่อง เห็นเป็นรอยเส้นๆ
  • ผิวลอก ตกสะเก็ด เป็นขุย
  • มีอาการคัน แดง
  • รู้สึกผิวหยาบกร้าน ไม่ชุ่มชื้น
  • ผิวตึงผิดปกติ โดยเฉพาะหลังจากอาบน้ำหรือว่ายน้ำ

ผิวแห้ง เกิดจากอะไร?

  • อายุ ต่อมเหงื่อและต่อมไขมันใต้ผิวหนังจะทำงานลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ประกอบกับไขมันและความยืดหยุ่นของผิวหนังที่ลดลง ทำให้ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปและผู้สูงอายุมีผิวบางและเกิดผิวแห้งได้ง่ายขึ้น
  • สภาพอากาศ อากาศที่เย็นและมีความชื้นต่ำจะดูดความชุ่มชื้นออกจากผิวหนังออกไปด้วย ทำให้เรามักมีอาการผิวแห้งผิวแตกในช่วงหน้าหนาว และยิ่งรุนแรงขึ้นหากมีลมหนาวพัดแรง
  • อาชีพ การทำงานที่ผิวหนังต้องสัมผัสน้ำตลอดเวลา เช่น ครูสอนว่ายน้ำ ช่างสระผม รวมถึงงานที่สัมผัสความร้อนจากเตาไฟซึ่งจะทำให้ความชื้นในห้องลดลง
  • พันธุกรรม ลองสังเกตุว่าในครอบครัวมีใครที่ผิวแห้งหรือมีปัญหาสุขภาพที่ทำให้ผิวแห้งหรือไม่ เช่น โรคผิวหนังอักเสบ (Eczema) เบาหวาน โรคไต ไทรอยด์ 
  • โรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคไต ที่อาจทำให้มีผิวแห้งและมีอาการคันตามผิวหนัง
  • ปัจจัยอื่นๆ ผิวแห้งอาจเกิดจากการแพ้สารในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบางอย่างที่มีคุณสมบัติกำจัดน้ำมันในผิวหนัง เช่น สบู่ แชมพู น้ำยาซักผ้า รวมถึงการอาบหรือแช่น้ำอุ่นนานเกินไป และการว่ายน้ำในสระที่มีคลอรีน

วิธีดูแลผิวแห้งให้กลับมาชุ่มชื้น

การบำรุงผิวด้วยมอยส์เจอไรเซอร์เป็นประจำจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว ป้องกันการระคายเคืองและอาการคันจากผิวแห้ง โดยควรเลือกครีมหรือโลชั่นที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม และมองหาส่วนประกอบที่ชื่อว่ากรดไฮยาลูโรนิค (Hyaluronic acid) และเซราไมด์ (Ceramide) ที่มีคุณสมบัติคงความชุ่มชื้นและสร้างปราการปกป้องผิว 

เคล็ดลับผิวชุ่มชื้น บอกลาปัญหาผิวแห้งไม่ว่าฤดูไหนๆ

  • ไม่อาบน้ำอุ่นนานหรือบ่อยเกินไป ควรใช้เวลาไม่เกิน 5-10 นาที และปรับอุณหภูมิให้อุ่นแต่พอดี เพราะน้ำที่ร้อนจะยิ่งดึงน้ำมันออกจากผิวและทำให้ผิวแห้งมากขึ้น
  • ทาโลชั่นหรือครีมบำรุงผิวทันทีหลังจากอาบน้ำเช็ดตัวเสร็จ เพื่อคงความชุ่มชื้นของผิวให้มากที่สุด
  • เลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำหอม ซึ่งอาจก่อให้เกิดการระคายเคือง ทั้งผลิตภัณฑ์สำหรับผิวหน้าและผิวกาย โรลออน โลชั่น และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่างๆ
  • ลดครีมบำรุงผิวที่มีสารก่อการระคายเคือง เช่น ยาแต้มสิวหรือผลิตภัณฑ์ที่มีกรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) และเบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) รวมถึง AHA (Alpha Hydroxy Acid) กรดไกลโคลิก (Glycolic Acid) และเรตินอล (Retinol) ที่มีคุณสมบัติผลัดเซลล์ผิวอันจะทำให้ผิวแห้งและผิวหน้าลอกง่ายขึ้น โดยควรจำกัดการใช้ในช่วงหน้าหนาวหรือช่วงที่รู้สึกว่าผิวค่อนข้างแห้งอยู่แล้ว
  • ใช้น้ำยาซักผ้าและน้ำยาปรับผ้านุ่มสูตรสำหรับผิวแพ้ง่าย ป้องกันการระคายเคืองจากสารเคมีหรือน้ำหอมที่จะสัมผัสกับผิวหนังของเราตลอดเวลาที่สวมใส่เสื้อผ้า
  • ดื่มน้ำให้มาก เพื่อป้องกันผิวขาดน้ำและคงความชุ่มชื้นให้ผิวตลอดเวลา
  • ทำกิจกรรมผักผ่อนหรือใช้เวลากับคนรอบข้าง เป็นการคลายความเครียดที่เป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคผิวหนังอักเสบและปัญหาผิวหนังอื่นๆ
  • เลิกสูบบุหรี่ สารนิโคตินในบุหรี่เป็นตัวการที่ทำให้เลือดไหลเวียนไม่เต็มที่และทำให้ผิวแห้งกร้าน

วิธีบรรเทาอาการคันจากผิวแห้ง

  • ทาโลชั่นหรือครีมบำรุงที่ช่วยให้ผิวนุ่มชุ่มชื้นเป็นประจำ
  • สวมใส่เสื้อผ้าหลวมๆ ที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย เพื่อลดการระคายเคืองของผิว
  • ใช้มือลูบหรือแตะผิวแทนการเกาเพื่อป้องกันผิวหนังถลอกและติดเชื้อ
  • ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำเย็นแล้วประคบไว้ที่ผิวหนังบริเวณที่คันเพื่อลดการเกา
  • ตัดเล็บให้สะอาดและตะไบให้ไม่บาดผิวหากเผลอเกาขณะนอนหลับ

อาการผิวแห้งคัน ต้องรักษาหรือไม่?

บางครั้งอาการที่เกิดขึ้นอาจไม่ใช่แค่ผิวแห้งจากอากาศหนาว แต่เป็นปัญหาโรคผิวหนังอื่นๆ หรือโรคเรื้อรังบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคไต ซึ่งกรณีหลังนี้พบได้น้อย 

อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ผิวแห้งรุนแรง คันเรื้อรัง หากปล่อยไว้อาจทำให้ผิวแตกจนมีเลือดออก ผิวอักเสบจากการเกา และเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ผิวหนัง ดังนั้น หากมีอาการต่อไปนี้แนะนำให้มาพบแพทย์

  • มีอาการคันอย่างต่อเนื่อง คันมากจนนอนไม่หลับ หรือส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
  • มีสัญญาณการติดเชื้อที่ผิวหนัง เช่น ผิวแดง จับดูอุ่นๆ หรือบวมขึ้น
  • รู้สึกเจ็บเมื่อสัมผัส หรือมีผื่นขึ้น

การรักษาผิวแห้งในเบื้องต้นมักแนะนำให้ใช้มอยซ์เจอไรเซอร์ในรูปแบบครีม ขี้ผึ้ง หรือโลชั่นเป็นหลัก และหากมีผิวแห้งและคันอย่างรุนแรง แพทย์จะสั่งจ่ายยาสเตียรอยด์ชนิดทาเพื่อลดอาการอักเสบของผิวหนังบริเวณที่มีผื่นคัน และอาจใช้ยาหรือการรักษาวิธีอื่นๆ ร่วมด้วยตามการวินิจฉัยโรค

พรีโมแคร์ ดูแลทุกเรื่องสุขภาพโดยมีคนไข้เป็นศูนย์รวมความใส่ใจ 
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือนัดหมายล่วงหน้าที่ LINE @primocare  
คลิกดูบริการของเราที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

ท่าบริหารข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ขยับนิด พิชิตข้อเข่าเสื่อม

    /    บทความ    /    ท่าบริหารข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ขยับนิด พิชิตข้อเข่าเสื่อม

ท่าบริหารข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ขยับนิด พิชิตข้อเข่าเสื่อม

ท่าบริหารข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
ขยับนิด พิชิตข้อเข่าเสื่อม

ผู้สูงอายุทำท่าบริหารข้อเข่าเสื่อม ด้วยท่าเหยียดขาตรงบนพื้น ปลายเท้าแยกจากกัน มือขวาเอื้อมแตะปลายเท้าซ้าย

ผู้ป่วยที่มีอาการปวดและฝืดตึงข้อจากโรคข้อเข่าเสื่อมมักเป็นกังวลว่าการออกกำลังกายจะส่งผลเสียต่อข้อเข่าและทำให้รู้สึกปวดมากกว่าเดิม แต่ในความเป็นจริงแล้วท่าบริหารข้อเข่าเสื่อมที่ถูกต้องคือหนึ่งในวิธีรักษา​ชะลอโรคและป้องกันข้อเข่าเสื่อมที่รุนแรงอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งจะช่วยบรรเทาอาการปวดเข่าและทำให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องตัวยิ่งขึ้น  

เข้าใจสาเหตุและอาการของข้อเข่าเสื่อม

ข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis) เกิดจากการเสื่อมตัวของกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อเข่า ซึ่งเป็นส่วนที่หุ้มปลายกระดูก ทำหน้าที่ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและลดแรงเสียดทานระหว่างข้อต่อที่เกิดขึ้นขณะทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งการเดิน วิ่ง กระโดด หรือเคลื่อนไหวไปมา เมื่อขาดตัวช่วยลดแรงกระแทกนี้ไป จึงนำมาซึ่งอาการปวดเสียว ข้อเข่าอ่อนแอลง และอาจมีการอักเสบร่วมด้วย

อายุที่มากขึ้นเป็นปัจจัยหลักของการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม โรคนี้จึงพบได้ในผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังอาจเกิดปัจจัยเสี่ยงต่อไปนี้ได้เช่นกัน 

  • ภาวะน้ำหนักเกิน ทำให้ข้อเข่าต้องแบกรับน้ำหนักเพิ่มขึ้น
  • อาการบาดเจ็บจากการทำงานที่ใช้ข้อเข่าซ้ำๆ เช่น นั่งคุกเข่า นั่งยองๆ สควอท ยกของหนัก
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากบุคคลในครอบครัวที่เป็นโรคนี้

ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมอาจมีอาการปวดหนักๆ สลับเบา บางครั้งปวดจี๊ด บางครั้งปวดหน่วงๆ อาการปวดข้อเข่าจะกำเริบเมื่อมีการเคลื่อนไหวที่มีแรงกระแทกต่อข้อเข่าสูง และดีขึ้นเมื่อหยุดพักหรือประคบเย็น นอกจากนี้ยังรวมถึงอาการฝืดตึงข้อต่อที่มักเกิดขึ้นหลังจากนั่งหรือนอนเป็นเวลานาน ทำให้เคลื่อนไหวร่างกายไม่สะดวก และกรณีที่อาการเริ่มรุนแรงมักมีข้อบวมจนสังเกตได้ จับดูรู้สึกอุ่นๆ หรือแสบร้อน

ท่าบริหารข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ

การเคลื่อนไหวน้อยและขาดการออกกำลังกายจะยิ่งทำให้อาการเหล่านี้แย่ลงกว่าเดิม เนื่องจากจะส่งผลให้อาการฝืดตึงที่ข้อเข่าสะสมมากขึ้นทุกวัน วันนี้คุณหมอพรีโมแคร์มี 3 ประเภทท่าบริหาร-ออกกำลังกายที่อยากแนะนำให้ทำเป็นประจำ ซึ่งจะได้ประโยชน์ครบถ้วนในการเสริมความแข็งแรงของข้อเข่า​และสุขภาพโดยรวมไปในตัว

1. ท่าบริหารข้อเข่าเสื่อมแบบแอโรบิก หรือคาร์ดิโอ 

เป็นการออกกำลังกายแบบเป็นจังหวะที่ช่วยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจ ทำให้สุขภาพหัวใจและปอดแข็งแรง แถมยังเพิ่มการเผาผลาญแคลอรี่และช่วยในการควบคุมน้ำหนักซึ่งจะส่งผลดีต่อข้อเข่า 

ท่านั่งแยกขา

  • นั่งบนเก้าอี้ ขาสองข้างชิดกัน
  • ยกขาข้างขวาออกไปด้านข้าง แล้วกลับท่าเดิม 
  • ทำสลับกับขาขวา ทั้งหมด 20 ครั้ง

ท่านั่งเตะขา

  • นั่งบนเก้าอี้ เหยียดขาตรงทั้ง 2 ข้าง
  • เตะขาสลับข้าง เกร็งขาให้เท้าลอยพื้นตลอดเวลา 
  • ลองเตะไล่ระดับให้สูงขึ้นเรื่อยๆ ในครั้งต่อๆ ไปเพื่อเพิ่มระดับความยาก

ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมสามารถเพิ่มการออกกำลังกายแบบแอโรบิกชนิดอื่นๆ ที่มีแรงกระแทกต่ำได้เช่นกัน ได้แก่ การเดิน ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน รวมถึงการออกกำลังกายในน้ำ (Aquatic exercise) ที่อาจเป็นการเดิน ยกดัมเบล หรือเหยียดยืดแขนขาในน้ำ ซึ่งเหมาะกับผู้ที่เพิ่งเริ่มออกกำลังกายหรือผู้มีน้ำหนักเกิน เพราะจะช่วยลดน้ำหนักของร่างกายที่ข้อต่อต้องรองรับ ทั้งยังช่วยบรรเทาอาการปวดข้อได้ดี

2. ท่าบริหารฝึกกล้ามเนื้อรอบเข่า 

มีประโยชน์ในการช่วยสร้างกล้ามเนื้อและฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบๆ หัวเข่า ทำให้ผู้ป่วยสามารถขยับเคลื่อนไหวข้อเข่าได้อย่างมั่นคงและคล่องตัวมากกว่าเดิม

ท่านั่งเหยียดเข่า

  • นั่งชิดเก้าอี้ เหยียดขาขวาตรง กระดกปลายเท้าขึ้น
  • เกร็งต้นขายกค้างไว้ 3-5 วินาที แล้วเอาลง
  • ทำสลับกับขาอีกข้าง ทั้งหมด 20 ครั้ง

ท่านั่งยืดขา

  • นั่งบนเก้าอี้ ยืดขา 2 ข้างให้สุด จิกฝ่าเท้ากับพื้น
  • ค่อยๆ ลากขาเข้าหาตัวช้าๆ จนกลับมาอยู่ในท่านั่งปกติ
  • ทำทั้งหมด 20 ครั้ง

3. ท่าบริหารยืดเหยียดกล้ามเนื้อ 

ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของข้อเข่า และถือเป็นการยืดคลายกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกายไปในตัว

ท่ายืดกล้ามเนื้อแฮมสตริง หรือต้นขาด้านหลัง

  • ยืนจับเก้าอี้หรือโต๊ะเพื่อทรงตัว
  • ยกปลายเท้าข้างหนึ่งไปด้านหลัง ใช้มือยึดปลายเท้าไว้
  • ค่อยๆ โน้มตัวไปข้างหน้า ดึงเข่าลงไปทางพื้น ให้ต้นขาเอียงไปด้านหลัง 
  • ค้างไว้ 3-5 วินาที ทำสลับกับขาอีกข้าง 5-10 ครั้ง

ท่านอนกระดกปลายเท้า

  • นอนหงาย ขาเหยียดตรง
  • กระดกปลายเท้าขวาขึ้น ปลายเท้าซ้ายกระดกลง 
  • เกร็งค้างครั้งละ 3-5 วินาที สลับทั้ง 2 ข้าง 5-10 ครั้ง

ท่านอนเหยียดขาขึ้น

  • นอนหงาย ใช้หมอนรองใต้เข่าขวา
  • เหยียดเข่าซ้าย ยกขาขึ้นสูงจากพื้นเล็กน้อย
  • เกร็งค้างไว้ 3-5 วินาที ทำสลับกับอีกข้างประมาณ 5-10 ครั้ง

ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม ไม่ควรออกกำลังกายแบบไหน?

ท่าออกกำลังกายบริหารข้อเข่าเสื่อมไม่มีข้อห้ามตายตัว แม้แต่การวิ่งที่หลายคนเชื่อกันว่าอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดปัญหาสุขภาพหัวเข่าตามมาภายหลัง รวมถึงโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งจากการศึกษาหลายงาน ยังไม่พบหลักฐานว่าการวิ่งนั้นส่งผลเสียต่อข้อเข่า และตรงกันข้ามอาจช่วยส่งเสริมสุขภาพเข่าเพราะมีส่วนช่วยลดและควบคุมน้ำหนักได้ 

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่มีโรคข้อเข่าเสื่อม การออกกำลังกายที่เกิดแรงกระแทกค่อนข้างสูง เช่น การวิ่ง การเล่นบาสเก็ตบอล และฟุตบอลนั้นควรทำอย่างระมัดระวัง โดยปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • ปรึกษาแพทย์และนักกายภาพบำบัดเพื่อวางโปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับโรคมากที่สุด
  • ฟังเสียงร่างกายตัวเองและปรับการออกกำลังให้อยู่ในระดับที่พอประมาณ 
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายบนพื้นคอนกรีตแข็งๆ ที่จะเพิ่มแรงกระแทกต่อเข่า
  • ไม่ควรออกกำลังกายแบบมีแรงกระแทกสูงบ่อยเกินไป 
  • หยุดพักทันทีหากมีอาการปวดที่เป็นสัญญาณว่าหักโหมมากไป เช่น ความรู้สึกปวดที่มากกว่าอาการปวดเข่าตามปกติ 

พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก ดูแลรอบด้าน ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์สุขภาพ เราเชื่อมั่นว่าการดูแลบนพื้นฐานความชอบและไลฟ์สไตล์เฉพาะบุคลลที่แตกต่างจะผลักดันให้คุณมีสุขภาพดีและมีความสุขที่สุด

สอบถามข้อมูลหรือนัดหมายล่วงหน้าที่ @primocare
โทร 02-038-5595, 082-527-9924
คลิกดูหลากหลายบริการของเราที่นี่

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

ท่านอนแก้โรค: ปวดหลัง​ ปวดคอ กรดไหลย้อน​ ภูมิแพ้ นอนกรน

    /    บทความ    /    ท่านอนแก้โรค: ปวดหลัง​ ปวดคอ กรดไหลย้อน​ ภูมิแพ้ นอนกรน

ท่านอนแก้โรค: ปวดหลัง​ ปวดคอ กรดไหลย้อน​ ภูมิแพ้ นอนกรน

ท่านอนแก้โรค
ปวดหลัง ปวดคอ กรดไหลย้อน ภูมิแพ้ นอนกรน

ผู้หญิงกำลังนอนห่มผ้าในท่านอนตะแคงขวา สีหน้ายิ้มแย้มหลับสบาย มือซ้ายวางบนหมอน

นอกจากท่านอนที่ถูกต้องจะช่วยส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับ ทำให้ตื่นมารับเช้าวันใหม่ได้อย่างสดชื่นกระปรี้กระเปร่า เชื่อหรือไม่ว่าการปรับเปลี่ยนท่านอนเพียงเล็กน้อยยังอาจช่วยบรรเทาปัญหาสุขภาพบางอย่างได้อีกด้วย 

สำหรับใครที่กำลังมีอาการปวดหลัง ปวดคอ ออฟฟิศซินโดรม กรดไหลย้อน คัดจมูก ภูมิแพ้ หรือแม้กระทั่งนอนกรน วันนี้พรีโมแคร์จะพาไปดูกันว่า ต้องนอนท่าไหนถึงจะช่วยรับมืออาการเหล่านี้ให้อยู่หมัด

ท่านอนคนท้อง

ท่านอนที่เหมาะสมกับผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ที่สุดคือท่านอนตะแคงงอเข่า เนื่องจากจะช่วยลดแรงกดจากขนาดท้องที่โตขึ้น และทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดี และถ้าจะให้ดีควรนอนตะแคงข้างซ้ายเพื่อป้องกันแรงกดทับต่อตับ ช่วยให้เลือดดีไปเลี้ยงตัวอ่อน มดลูก ไต และหัวใจได้มากขึ้น

หากนอนตะแคงข้างซ้ายแล้วรู้สึกไม่สบาย สามารถสลับนอนตะแคงข้างขวาเพื่อคลายการลงน้ำหนักที่สะโพกด้านซ้าย และอาจใช้หมอนรองบริเวณใต้ท้อง ระหว่างขา และหนุนบริเวณกระเบนเหน็บให้นอนสบายยิ่งขึ้น

ท่านอนแก้ปวดหลัง

ท่านอนตะแคงเป็นท่าที่ดีที่สุดสำหรับป้องกันหรือลดอาการปวดหลัง รองลงมาคือท่านอนหงาย โดยมีงานวิจัยที่ให้ผู้ใหญ่ที่มีอาการปวดหลัง ฝึกนอนในท่าตะแคงหรือนอนหงาย ผลลัพธ์พบว่าต่างมีอาการดีขึ้นมากภายใน 4 สัปดาห์

สำหรับคนที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง แนะนำให้นอนตะแคงโดยใช้หมอนหรือผ้าห่มที่มีความหนาพอประมาณหนุนระหว่างเข่าทั้ง 2 ข้าง ทั้งนี้เพื่อป้องกันอาการปวดคอและปวดบ่าไหล่จากท่านอนตะแคง ควรนอนหนุนหมอนที่มีความสูงพอดีกับช่องว่างระหว่างไหล่และคอ เพื่อให้กระดูกคอวางตัวในแนวเดียวกับกระดูกสันหลัง 

ท่านอนแก้ปวดคอ ปวดไหล่

หากมีอาการปวดคอควรนอนหงาย เนื่องจากเป็นท่าที่ช่วยป้องกันท่าทางที่ผิดตำแหน่งของคอที่อาจเกิดจากการนอนตะแคงหรือนอนคว่ำ โดยแนะนำให้ใช้หมอนที่ช่วยรองรับคอและมีความนุ่ม นอนแล้วศีรษะอยู่ต่ำลงไป อาจใช้หมอนยางพาราหรือหมอนเมมโมรีโฟมที่มีลักษณะโค้งเป็นรูปตัว S ซึ่งจะช่วยรองรับให้ศีรษะอยู่ในท่าทางที่ถูกต้อง หรือจะหนุนหมอนแบนๆ แล้วม้วนผ้าเช็ดตัวรองบริเวณคอขณะนอนหลับก็ได้เช่นกัน

นอกจากนี้ระหว่างที่นอนควรให้แขนทั้งสองข้างอยู่ในท่าเดียวกัน เช่น วางไว้ข้างลำตัวทั้งสองข้าง เพื่อป้องกันการวางตัวของกระดูกสันหลังที่ไม่เป็นแนวเดียวกัน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอาการปวดไหล่หรือปวดคอได้เช่นกัน 

ท่านอนลดอาการคัดจมูก ภูมิแพ้

สำหรับผู้ป่วยโรคภูมิแพ้หรือผู้ที่มีอาการคัดจมูก ควรใช้หมอนหนุนบริเวณหลังส่วนบน เพื่อยกระดับศีรษะให้สูงขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ทางเดินหายใจเปิดออกและหายใจคล่อง ควรหลีกเลี่ยงการนอนราบระดับเดียวกับที่นอนเพราะจะทำให้ยิ่งคัดจมูกมากกว่าเดิม

ท่านอนลดกรดไหลย้อน

ควรนอนตะแคงซ้ายโดยใช้หมอนหนุนศีรษะและลำตัวส่วนบนให้ยกขึ้นสูงกว่าช่วงเท้า อาจใช้หมอนเมมโมรี่โฟมทรงเอียงหรือเตียงปรับระดับที่ช่วยยกลำตัวช่วงบนขึ้นป้องกันกรดไหลย้อนจากกระเพาะมาสู่หลอดอาหาร และไม่ควรนอนตะแคงขวาเพราะจะยิ่งทำให้อาการแย่ลง

ท่านอนแก้อาการกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นภาวะที่ส่งผลให้ทางเดินหายใจหดตัวลงในระหว่างหลับ มักเกิดร่วมกับปัญหาการนอนกรน การนอนตะแคงหรือนอนคว่ำจะช่วยเปิดทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น ลดอาการกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่ไม่รุนแรง ควรหลีกเลี่ยงท่านอนหงายเพราะอาจยิ่งทำให้อาการแย่ลงได้

ท่านอนผู้ป่วยโควิด-19

ผู้ติดเชื้อโควิด-19 บางรายอาจมีอาการหายใจลำบากเนื่องจากเชื้อไวรัสส่งผลกระทบต่อการทำงานของปอด ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ท่านอนคว่ำโดยตะแคงศีรษะไปด้านข้างจะช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น เนื่องจากช่วยลดแรงกดของหัวใจและท้องที่กระทำต่อปอด และในกรณีฉุกเฉินสามารถยื้อเวลาเพื่อรอการช่วยเหลือด้วยเครื่องช่วยหายใจ

ขณะนอนคว่ำ ผู้ป่วยควรอยู่ในท่าที่รู้สึกสบายที่สุด เพราะจะต้องนอนในท่านี้เป็นเวลานาน โดยสามารถขยับตัวเปลี่ยนท่าคลายเมื่อยทุก 1-2 ชั่วโมง ตัวอย่างท่านอนคว่ำที่สามารถทำตามได้ มีดังนี้

  • ท่าที่ 1 นอนคว่ำ ตะแคงศีรษะไปด้านข้าง หดมือสองข้างเก็บใต้หน้าอกหรือหัวไหล่ อาจใช้หมอนเตี้ยๆ หนุนใต้คางเพื่อลดแรงกดต่อต้นขาและปลายเท้า
  • ท่าที่ 2 นอนคว่ำ ตะแคงศีรษะไปด้านข้าง กางมือสองข้างออกมาวางระดับศีรษะ และใช้หมอนเตี้ยหนุนหน้าท้อง
  • ท่าที่ 3 นอนคว่ำ ตะแคงศีรษะไปด้านข้าง ยกขาข้างเดียวกับฝั่งที่ตะแคงศีรษะขึ้นมาประมาณ 90 องศา และใช้หมอนรองใต้ขาข้างดังกล่าว
  • ท่าที่ 4 นอนคว่ำกึ่งตะแคงโดยใช้หมอนช่วยรองบริเวณลำตัว และสอดหมอนระหว่างเข่า 2 ข้างให้ขนานกัน

หากปรับได้ ปัญหาสุขภาพก็ไม่ใช่อุปสรรคการนอนหลับพักผ่อนอีกต่อไป แต่ถ้ารู้สึกไม่คุ้นเคยกับท่านอนเหล่านี้ ในช่วงแรกแนะนำให้ใช้หมอนวางรอบตัวเพื่อจัดตำแหน่งท่านอนที่ถูกต้อง เมื่อนานไปก็จะทำได้อย่างเคยชิน และอาจกลายมาเป็นท่านอนที่ดีและตอบโจทย์สุขภาพของเราที่สุดก็เป็นได้

พรีโมแคร์ ดูแลทุกเรื่องสุขภาพโดยมีคนไข้เป็นศูนย์รวมความใส่ใจ คลิกดูบริการของเราที่นี่ หรือสอบถามเพิ่มเติม/นัดหมายรับบริการล่วงหน้าที่ @primocare

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

เบาหวาน มีกี่ชนิด: สาเหตุ อาการ การป้องกัน การรักษาเบาหวาน

    /    บทความ    /    เบาหวาน มีกี่ชนิด: สาเหตุ อาการ การป้องกัน การรักษาเบาหวาน

เบาหวาน มีกี่ชนิด? สาเหตุ อาการ การป้องกัน การรักษาเบาหวาน

เบาหวาน มีกี่ชนิด?
สาเหตุ อาการ การป้องกัน การรักษาเบาหวาน

ผู้หญิงนั่งทำงานหน้าคอมพิเตอร์ มือหนึ่งจับเมาส์ อีกมือหยิบเยลลี่เคลือบน้ำตาลจากโหลขนมหวานที่อัดแน่นรับประทานไปพลาง

โรคเบาหวานแบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลัก คือ เบาหวานชนิดที่ 1 เบาหวานชนิดที่ 2 และเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งอาจสร้างความสับสนให้ใครหลายคน โดยเฉพาะเบาหวานชนิดที่ 1 และเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งแม้จะส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงและนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้ทั้งคู่ แต่ก็มีความแตกต่างกันในหลายด้าน 

เบาหวานชนิดที่ 1, 2 และเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ต่างกันอย่างไร พรีโมแคร์จะพาไปหาคำตอบทุกเรื่อง ทั้งสาเหตุ อาการ การรักษา และการป้องกันในบทความนี้

กลไกการเกิดโรคเบาหวาน

เบาหวานจัดเป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อระบบเผาผลาญอาหาร โดยปกติแล้วอาหารที่เรากินเข้าไปจะถูกเผาผลาญจนกลายเป็นน้ำตาลกลูโคสและปล่อยสู่กระแสเลือด ซึ่งระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้นนี้จะเป็นตัวส่งสัญญาณให้ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินออกมาเพื่อทำหน้าที่ส่งน้ำตาลในเลือดไปเป็นพลังงานให้กับเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย

โรคเบาหวานเกิดจากความผิดปกติที่ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอหรือร่างกายไม่สามารถนำอินซูลินมาใช้ได้ตามปกติ จนเซลล์ต่างๆ ไม่ตอบสนองต่ออินซูลินอีกต่อไป ส่งผลให้มีน้ำตาลสะสมในเลือดมากเกินไป หรือที่เราเรียกกันว่า “ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง” ซึ่งจะเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงตามมาได้ เช่น โรคหัวใจ โรคไต สูญเสียการมองเห็น และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาควบคุมให้น้ำตาลในเลือดกลับมาปกติ

เบาหวานมีกี่ชนิด แต่ละชนิดต่างกันอย่างไร?

เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้ไม่บ่อยเท่ากับเบาหวานชนิดที่ 2 โดยในผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด จะพบผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ได้ประมาณ 5-10% เบาหวานชนิดนี้เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันจนทำให้เกิดการทำลายเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างอินซูลินในตับอ่อน ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถสร้างอินซูลินได้อีกต่อไป ผู้ป่วยจึงต้องรักษาด้วยอินซูลินทุกวัน เบาหวานชนิดที่ 1 ไม่สามารถป้องกันได้ และมักตรวจเจอในเด็กและวัยรุ่น จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า โรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น

เบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากภาวะดื้ออินซูลิน ส่งผลให้อินซูลินที่ทำหน้าที่ลดระดับน้ำตาลในเลือดทำงานได้ไม่ดี ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำอินซูลินมาใช้ได้อย่างที่ควรและไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ กว่า 90-95% ของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะป่วยด้วยเบาหวานชนิดนี้ อาการของเบาหวานชนิดที่ 2 ไม่ได้เกิดขึ้นเร็วอย่างโรคเบาหวานชนิดที่ 1 แต่จะค่อยเป็นค่อยไปและอาจไม่รู้ตัวแม้ผ่านไปหลายปี ทำให้มักตรวจเจอในวัยผู้ใหญ่มากกว่า อย่างไรก็ตาม เบาหวานชนิดที่ 2 มีแนวโน้มเกิดกับคนอายุน้อยมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากพฤติกรรมการกินและขาดการออกกำลังกายที่นำไปสู่ภาวะน้ำหนักเกิน

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในระหว่างตั้งครรภ์ที่ส่งผลให้เซลล์ของร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินน้อยลง ทารกที่คุณแม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพต่างๆ มากกว่าเด็กทั่วไป รวมทั้งมีแนวโน้มเกิดโรคอ้วนและโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในภายหลัง และสำหรับตัวคุณแม่เอง แม้เบาหวานชนิดนี้มักจะหายไปหลังคลอดบุตรแล้วแต่ก็จะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะเบาหวานชนิดที่ 2 ตามมาภายหลังได้เช่นกัน 

ภาวะก่อนเบาหวาน ระยะก่อนเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ยังไม่สูงพอที่จะวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ภาวะก่อนเบาหวานนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับพฤติกรรมทางสุขภาพที่จะช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดกลับไปอยู่ในเกณฑ์ปกติ เช่น ควบคุมอาหาร เพิ่มการออกกำลังกาย และลดน้ำหนักที่มากเกิน แต่หากปล่อยไว้จะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดในสมองได้ 

ปัจจัยเสี่ยงของเบาหวาน

เบาหวานชนิดที่ 1 คาดว่าเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม การมีญาติสายตรงเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 หรือมียีนส์ที่เป็นปัจจัยเสี่ยง และมักตรวจพบในช่วงอายุ 4-7 ปีได้มากที่สุด รองลงมาคือช่วงอายุ 10-14 ปี

เบาหวานชนิดที่ 2 และภาวะก่อนเบาหวาน มีปัจจัยเสี่ยงสำคัญเป็นน้ำหนัก รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ทั้งทางด้านพันธุกรรมและพฤติกรรม ได้แก่ 

  • มีครอบครัวสายตรง เช่น พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 
  • มีอายุมากกว่า 45 ปี 
  • ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย 
  • เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงเป็นเบาหวานชนิดนี้สูงขึ้นหากมีปัจจัยดังต่อไปนี้

  • มีญาติสายตรงเป็นโรคเบาหวาน 
  • มีอายุ 30 ปีขึ้นไป
  • มีภาวะน้ำหนักเกิน (BMI ≥ 27 กก./ม2)
  • เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ครั้งก่อน 
  • เคยคลอดบุตรที่มีน้ำหนักแรกเกิดตั้งแต่ 4 กิโลกรัมขึ้นไป 
  • เคยมีความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ครั้งก่อน

อาการของโรคเบาหวาน

อาการเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และ 2 และเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีความคล้ายคลึงกัน ต่างกันที่อาการของเบาหวานชนิดที่ 1 จะปรากฏให้เห็นเร็วกว่าชนิดที่ 2 ในขณะที่เบาหวานชนิดที่ 2 นั้นจะเกิดขึ้นช้ากว่าและมักจะไม่มีอาการ โดยเฉพาะในระยะเริ่มแรก ส่วนเบาหวานขณะตั้งครรภ์นั้นมักจะไม่มีอาการและมักทราบจากการตรวจคัดกรองภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ตามที่แนะนำในหญิงตั้งครรภ์ทุกคนอยู่แล้ว

อาการของเบาหวานที่สังเกตุได้ มีดังนี้ 

  • ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะในตอนกลางคืน
  • กระหายน้ำบ่อย
  • รู้สึกเหนื่อยมากกว่าปกติ
  • น้ำหนักลดลง
  • คันหรือเกิดเชื้อราที่อวัยวะเพศ
  • เป็นแผลแล้วหายช้ากว่าปกติ
  • ตาพร่ามัว 

การรักษาเบาหวาน

โรคเบาหวานชนิดที่ 1 ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ผู้ป่วยต้องรักษาอย่างต่อเนื่องด้วยการฉีดอินซูลินเข้าใต้ผิวหนัง และจะต้องตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) ทุก 3 เดือนเพื่อดูการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและประเมินว่ามีความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือไม่ นอกจากนี้แพทย์จะช่วยวางแผนอาหารการกิน รวมถึงแนะนำวิธีนับคาร์โบไฮเดรตในอาหารเพื่อคำนวนการฉีดอินซูลินด้วยตนเองอย่างเหมาะสม พร้อมกับการปรับพฤติกรรมเพิ่มการออกกำลังกายและเลือกกินอาหารที่ดีต่อระดับน้ำตาลในเลือด

เบาหวานชนิดที่ 2 ผู้ป่วยควรปรับพฤติกรรมเช่นเดียวกันกับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 เพื่อช่วยในการควบคุมน้ำหนักและระดับน้ำตาลในเลือด รวมถึงลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ โดยหลายครั้งที่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถลดความรุนแรงของโรคไปได้มากจากการพยายามลดน้ำหนัก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และกินอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำตามคำแนะนำจากแพทย์และนักโภชนาการ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มักต้องใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดควบคู่ไปด้วยหากการปรับพฤติกรรมอย่างเดียวไม่ได้ผล และแพทย์อาจแนะนำให้ตรวจน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ สามารถลดความเสี่ยงของปัญหาต่อครรภ์ด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เช่น การปรับอาหารการกินและเพิ่มการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่หากการปรับพฤติกรรมอย่างเดียวไม่เพียงพอ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดหรือมีการฉีดอินซูลินช่วย นอกจากนี้จะมีการติดตามอย่างใกล้ชิดในระหว่างตั้งครรภ์จนถึงช่วงคลอดเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น และอาจแนะนำให้คลอดก่อนกำหนดหากมีข้อกังวลที่เกี่ยวเนื่องกับปัญหาสุขภาพของเด็กหรือคุณแม่ รวมถึงในกรณีที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี

ภาวะก่อนเบาหวาน ผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวานสามารถปรับพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ หรืออย่างน้อยก็คงให้อยู่ในระดับที่ยังไม่จัดเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ต่อไป โดยเน้นการควบคุมหรือลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน และเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ รวมทั้งตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำทุกปี

เบาหวาน ป้องกันได้หรือไม่

สำหรับเบาหวานชนิดที่ 1 ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคที่แน่ชัด จึงยังไม่มีวิธีป้องกัน ส่วนผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถป้องกันหรือชะลอระยะของโรคให้ช้าลงด้วยการปรับพฤติกรรม เช่น ควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากเกิน กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และออกกำลังกายบ่อยๆ ทั้งนี้เนื่องจากโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มักไม่มีอาการแสดงใดๆ ทำให้ผู้ป่วยไม่ทันรู้ตัว จึงแนะนำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงเข้ารับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำทุกปี 

โรคและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากเบาหวาน

ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงสามารถส่งผลให้เนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ รวมถึงเส้นเลือดเล็กตามบริเวณดวงตา เส้นประสาท และไตเกิดความเสียหายอย่างรุนแรง รวมทั้งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในสมองตามมา โดยสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2

ส่วนเบาหวานขณะตั้งครรภ์ที่ควบคุมได้ไม่ดีอาจทำให้ทารกในครรภ์มีขนาดตัวใหญ่จนคุณแม่รู้สึกอึดอัด ไม่สบายครรภ์ นำไปสู่ปัญหาการคลอดลำบากและอาจต้องผ่าคลอด ซึ่งจะต้องใช้เวลาพักฟื้นหลังคลอดนานกว่าการคลอดธรรมชาติ รวมถึงภาวะความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงทำให้เกิดอันตรายต่อทั้งแม่และบุตรได้

เรียนรู้วิธีปรับไลฟ์สไตล์ ดูแลและให้คำแนะนำการปรับพฤติกรรมแบบเฉพาะตัวให้เข้ากับปัจจัยเสี่ยง โรคประจำตัว และความชอบส่วนบุคคล โดยการร่วมมือกันของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นักจิตวิทยา นักกายภาพบำบัด และนักกำหนดอาหาร ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายล่วงหน้าได้เลยที่ @primocare 
โทร 02-038-5595, 082-527-9924
คลิกดูหลากหลายบริการของเราที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

7 วิธีลดความดันสูงแบบธรรมชาติ ปรับไลฟ์สไตล์ ลดการใช้ยา

    /    บทความ    /    7 วิธีลดความดันสูงแบบธรรมชาติ ปรับไลฟ์สไตล์ ลดการใช้ยา

7 วิธีลดความดันสูงแบบธรรมชาติ ปรับไลฟ์สไตล์ ลดการใช้ยา

7 วิธีลดความดันสูงแบบธรรมชาติ
ปรับไลฟ์สไตล์ ลดการใช้ยา

แพทย์ใช้เครื่องวัดความดันโลหิตให้ผู้ป่วย เพื่อติดตามผลหลังจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยวิธีลดความดันสูงตามคำแนะนำ

โรคความดันโลหิตสูงควบคุมได้ด้วยการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์เป็นหลัก ไม่เว้นแม้แต่ผู้ป่วยที่กินยาลดความดันโลหิตเป็นประจำอยู่แล้ว โดยเป็นวิธีลดความดันแบบธรรมชาติที่ได้ผลและจำเป็นสำหรับผู้ป่วยทุกคน ซึ่งอีกหนึ่งข้อดีก็คือแพทย์อาจให้หยุดหรือลดการใช้ยา หากประสบความสำเร็จในการควบคุมความดันโลหิตด้วยตนเอง

รู้จักโรคความดันโลหิตสูง

สาเหตุของความดันโลหิตสูงเกิดจากการที่มีแรงดันของเลือดสูงในระดับที่มีผลกระทบต่อหัวใจ หลอดเลือด และอวัยวะอื่นๆ ซึ่งหากปล่อยไว้อาจเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาสุขภาพหรือภาวะแทรกซ้อนอีกมากมาย เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไต

โรคความดันโลหิตสูงเกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ อายุที่มากขึ้น ญาติสายตรงมีประวัติเป็นโรคนี้ มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย สูบบุหรี่ มีความเครียด รวมถึงการกินอาหารที่ส่งผลให้ความดันโลหิตสูง เช่น อาหารรสเค็มหรืออาหารที่มีโซเดียมสูงมากเกิน ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินพอดี หรืออาจมีสาเหตุมาจากการมีโรคเรื้อรังบางอย่างก็ได้เช่นกัน เช่น เบาหวาน โรคไตเรื้อรัง เป็นต้น

ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่จะไม่มีอาการผิดปกติใดๆ แม้ว่าค่าความดันโลหิตจะขึ้นสูงจนถึงขั้นที่เป็นอันตรายแล้วก็ตาม อย่างไรก็ตาม ภาวะความดันโลหิตสูงสามารถตรวจพบได้ง่ายๆ หากหมั่นไปพบแพทย์เมื่อมีปัญหาสุขภาพหรือได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี

7 วิธีลดความดันโลหิตแบบธรรมชาติ 

ไลฟ์สไตล์สุขภาพดีต่อไปนี้นอกจากจะช่วยส่งเสริมสุขภาพโดยรวมแล้ว ยังช่วยลดและควบคุมความดันโลหิตสูงให้อยู่หมัด และเป็นวิธีที่ทำให้ผู้ป่วยหลายคนสามารถรักษาโรคความดันโลหิตสูงได้โดยไม่ต้องพึ่งยาลดความดันเป็นหลัก

1. ลดน้ำหนักส่วนเกินและลดรอบเอว ในกรณีที่มีภาวะอ้วนหรือมีค่า BMI ≥ 25 การลดน้ำหนักส่งผลให้ระดับความดันโลหิตลดลงได้ โดยน้ำหนักที่ลดลงทุกๆ 10 กิโลกรัม จะช่วยลดความดันโลหิตตัวบนเฉลี่ย 5-20 มิลลิเมตรปรอท และในทางอ้อมยังช่วยลดความดันโลหิตในผู้ที่มีสาเหตุมาจากอาการหยุดหายใจขณะหลับจากน้ำหนักตัวที่มากเกินไปได้อีกด้วย

2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การออกกำลังกายช่วยป้องกันการเกิดความดันโลหิตสูงในผู้ที่เพิ่งเริ่มมีภาวะความดันโลหิตสูง และช่วยให้ผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูงอยู่แล้วควบคุมความดันให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย โดยการออกกำลังกายวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน สามารถช่วยลดระดับความดันโลหิตได้ถึงประมาณ 5-8 มิลลิเมตรปรอท

3. ลดโซเดียม อย่าลืมอ่านฉลากโภชนาการทุกครั้งก่อนเลือกซื้ออาหารหรือวัตถุดิบปรุงรส สำหรับผู้มีสุขภาพดีทั่วไป ควรจำกัดปริมาณโซเดียมจากอาหารและเครื่องดื่มไม่เกินวันละ 2,300 มิลลิกรัม ส่วนผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงควรจำกัดไม่เกินวันละ 1,500 มิลลิกรัม นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมสูงในชีวิตประจำวัน เช่น อาหารแปรรูป อาหารกระป๋อง อาหารสำเร็จรูป เช่น แฮม เบคอน หมูยอ แหนม กุนเชียง ของตากแห้ง ของดอง อาหารที่ผ่านการอบ ขนมกรุบกรอบ รวมทั้งลดการเติมเกลือ ซอส และเครื่องปรุงต่างๆ หากทำได้ก็จะสามารถลดความดันโลหิตได้ถึง 5-6 มิลลิเมตรปรอท

4. กินอาหารลดความดันสูง อาหารแดช (DASH) เป็นรูปแบบการกินอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโดยเฉพาะ โดยเป็นการเน้นกินธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต บัควีต ขนมปังโฮลวีต รวมถึงผักผลไม้และผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันอิ่มตัวต่ำ ซึ่งอุดมไปด้วยโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม กากใย และโปรตีนที่มีส่วนช่วยในการควบคุมระดับความดันโลหิต รวมทั้งลดอาหารทอด อาหารมัน และอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง จากการศึกษายังพบว่า DASH Diet สามารถช่วยลดความดันได้ถึง 11 มิลลิเมตรปรอท

5. ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แต่พอดี การดื่มมากเกินไปไม่เพียงแต่ส่งผลต่อระดับความดันโลหิต แต่ยังลดประสิทธิภาพของยาลดความดันโลหิตอีกด้วย แค่ดื่มแต่พอดีก็สามารถช่วยลดระดับความดันโลหิตได้ประมาณ 4 มิลลิเมตรปรอท โดยผู้หญิงไม่ควรดื่มเกินวันละ 1 ดื่มมาตรฐาน ส่วนผู้ชายไม่ควรดื่มเกินวันละ 2 ดื่มมาตรฐาน (1 ดื่มมาตรฐานเท่ากับเบียร์ประมาณ 350 มิลลิลิตร, ไวน์ 150 มิลลิลิตร, หรือเครื่องดื่มที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ 40% ประมาณ 45 มิลลิลิตร)

6. เลิกบุหรี่ การสูบบุหรี่ในแต่ละครั้งทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องหลายนาทีแม้หลังหยุดสูบ นอกจากนี้การเลิกบุหรี่ยังช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ช่วยให้มีสุขภาพโดยรวมที่ดีขึ้น และจากการศึกษาที่ผ่านมา คนที่เลิกบุหรี่มักมีอายุยืนกว่าคนที่สูบบุหรี่อย่างต่อเนื่อง

7. ลดความเครียด ฮอร์โมนความเครียดส่งผลให้หลอดเลือดหดตัวแคบลงและอาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นชั่วคราว และหากมีความเครียดเรื้อรังก็อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เช่น นอนไม่หลับ กินเยอะเกินไปเพราะเครียด หรือเลือกจัดการกับความเครียดโดยใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 

วิธีคลายเครียดในเบื้องต้นให้ลองฝึกสมาธิและฝึกการหายใจเข้าออกลึกๆ ช้าๆ ควรหาต้นตอความเครียดให้เจอและจัดการอย่างเหมาะสม ลองลดความคาดหวังและโฟกัสในสิ่งที่ควบคุมได้หรือแก้ไขได้เป็นหลัก และอย่าลืมหาเวลาให้ตัวเองพักผ่อนหรือทำกิจกรรมผ่อนคลายในแต่ละวัน

ความดันสูง ไม่กินยาได้ไหม? ความดันสูงแค่ไหนถึงต้องกินยาลดความดัน

นอกจากการปรับไลฟ์สไตล์เพื่อลดความดันโลหิตแล้ว การใช้ยาก็เป็นอีกวิธีที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยหลายคนที่มีความเสี่ยงสูงหรือแค่ปรับพฤติกรรมเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ เพื่อช่วยให้ควบคุมความดันโลหิตได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้น ผู้ป่วยควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรหยุดยาหรือปรับลดปริมาณยาด้วยตนเอง และควรไปพบแพทย์ตามนัดหมายเป็นประจำ 

บางคนคิดว่าการรับประทานยาลดความดันโลหิตส่งผลต่อการทำงานของตับและไต ทำให้พยายามลดหรือหยุดยาด้วยตนเอง ที่จริงแล้วการรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอย่อมส่งผลดีผู้ป่วยมากกว่าการไม่รับประทานยา เพราะจะช่วยป้องกันไม่ให้อวัยวะต่างๆ เสียหายจากการมีความดันโลหิตสูง ซึ่งรวมถึงตับและไตด้วย นอกจากนี้หากผู้ป่วยมีโรคตับหรือไต แพทย์จะเลือกยาที่ส่งผลกระทบต่อโรคดังกล่าวน้อยที่สุดอยู่แล้ว

มีผู้ป่วยหลายคนที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ตามคำแนะนำข้างต้น ทำให้ระดับความดันโลหิตลดลงจนสามารถหยุดยาหรือลดปริมาณการใช้ยาลดความดันโลหิตได้ในที่สุด คุณเองก็เป็นหนึ่งในนั้นได้ ปรึกษาทีมแพทย์พรีโมแคร์เพื่อรับคำแนะนำการปรับพฤติกรรมลดระดับความดันโลหิตตามไลฟ์สไตล์เฉพาะบุคคลได้เลยที่ @primocare  

บทความที่เกี่ยวข้อง