Categories
Uncategorized

คู่มือดูแลตนเอง ห่างไกลโรคเรื้อรัง NCDs

    /    บทความ    /    คู่มือดูแลตนเอง ห่างไกลโรคเรื้อรัง NCDs

คู่มือดูแลตนเอง ห่างไกลโรคเรื้อรัง NCDs

คู่มือดูแลตนเอง ห่างไกลโรคเรื้อรัง NCDs

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases) หรือในชื่อย่อ “NCDs” เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งจะมีการดำเนินโรคอย่างค่อยเป็นค่อยไป เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคอ้วนลงพุง เป็นต้น ทั้งนี้การป้องกันโรค NCDs การปรับพฤติกรรมในการใช้ชีวิตเป็นวิธีที่ได้ผลมากที่สุดในการป้องกัน คือ การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ ทำอารมณ์ให้แจ่มใส รวมถึงการไม่ดื่มสุรา สูบบุหรี่ จะช่วยป้องกันให้คุณห่างไกลโรค

โรคเบาหวาน (Diabetes)

เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดขึ้นจากการที่ร่างกายเสียสมดุลในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งอาจเกิดจากตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่พอ หรือร่างกายเกิดภาวะดื้อต่อฮอร์โมนออินซูลินทำให้ร่างกายต้องการอินซูลินมากกว่าคนปกติปกติ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 1 
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • โรคเบาหวานชนิดอื่นที่มีสาเหตุเฉพาะ
  • โรคเบาหวานที่เกิดจากการตั้งครรภ์ 

การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

  • ควบคุมอาหารและน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เนื่องจากในผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ จะพบภาวะดื้ออินซูลินได้มากขึ้น
  • ควรปรึกษานักกำหนดอาหารหรือนักโภชนาการ เกี่ยวกับชนิด และปริมาณอาหาร รวมถึงสัดส่วนอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน ให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ
  • เลือกทานอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ข้าวซ้อมมือ หรือธัญพืชที่ไม่ได้ขัดสี ผัก ผลไม้ที่ไม่หวานจัด ถั่วต่างๆ
  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง ขนมหวาน ไอศกรีม ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ต่างๆ และผลไม้รสหวาน
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลต่ำ เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน อาหารทอด อาหารที่มีกะทิ เลือกใช้ไขมันดีในการประกอบอาหาร
  • หลีกเลี่ยงการดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • พบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แพทย์ประเมิน รวมถึงร่วมกันวางแผนกับผู้ป่วยในการรักษาและติดตามผลอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างเดียว หรือการใช้ยาร่วมด้วย ทั้งนี้จำเป็นต้องมีการประเมินความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น เพื่อใช้ในการร่วมพิจารณา
โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)
เป็นภาวะที่ตรวจพบว่ามีความดันโลหิตอยู่ในระดับสูงผิดปกติ คือมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งอาจไม่แสดงอาการ แต่จะเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง ไตวาย เป็นต้น 

การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารที่มีรสชาติเข้มข้น หมัก ดอง หรือมีรสเค็ม เช่น ไข่เค็ม ปลาร้า ปลาเจ่า ปูเค็ม ผักดอง เต้าหู้ยี้ เต้าเจี้ยว ตั้งฉ่าย เป็นต้น
  • ลดการใช้เครื่องปรุงรสในอาหาร เช่น ผงปรุงรส น้ำปลา ซีอิ้ว เกลือ ซอสปรุงรส และผงชูรส เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงอาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารแปรรูป อาหารกระป๋อง และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม หมูยอ กุนเชียง เป็นต้น เลือกกินอาหารที่สด ผ่านการปรุงใหม่แทน
โรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular diseases)

โรคกลุ่มนี้มีสาเหตุเกิดจากการสะสมไขมันในผนังหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น และอาจเกิดการตีบ หรือตัน หากเกิดบริเวณเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจจะทำให้เกิดหัวใจวายเฉียบพลันเนื่องมาจากการขาดเลือด หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย ทำให้หัวใจล้มเหลวซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่พบมากที่สุด หากเกิดในหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมอง อาจทำให้เกิดสมองขาดเลือด หรือ สโตรค (Stroke) ทำให้เซลล์สมองบางส่วนตาย แล้วทำให้เกิดอัมพาตขึ้นได้

การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ไขมันสูง เช่น ไขมันสัตว์ หนังเป็ด/ไก่ สมองสัตว์ อาหารที่ปรุงด้วยกะทิ และอาหารแปรรูป 
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น เครื่องในสัตว์ ไข่แดง หอยนางรม 
  • ลดอาหารรสเค็ม และอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง เช่น เกลือ น้ำปลา ซีอิ้ว ผงปรุงรส ซุปก้อน น้ำซอสชนิดต่างๆ รวมไปถึง ปลาเค็ม ไข่เค็ม กุนเชียง หมูหยอง หมูแผ่นเป็นต้น
  • ภาวะไขมันในเลือดสูง (Dyslipidemia)
  • ภาวะที่ร่างกายมีไขมันในเลือดมากกว่าปกติ ซึ่งภาวะไขมันในเลือดสูงเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เส้นเลือดตีบ หรืออุดตัน อาจร้ายแรงจนทำให้เสียชีวิตได้

พฤติกรรมเสี่ยงนำไปสู่โรค NCDs  

  • บริโภคโดยเน้นคาร์โบไฮเดรตเป็นหลัก เช่น การรับประทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป จะทำให้ขาดสารอาหารประเภทวิตามิน โปรตีน และแร่ธาตุ อาจทำให้ร่างกายได้รับพลังงานจากอาหารมากเกินไป นำพาไปสู่โรคอ้วน และภาวะดื้ออินซูลินได้
  • รับประทานอาหารหวาน มัน เค็ม ส่งผลทำให้เป็นโรคอ้วนได้ง่าย เพราะหากบริโภคน้ำตาลเกินความต้องการของร่างกาย จะกลายเป็นไขมันสะสมในร่างกายจนเกิดเป็นโรคอ้วน การบริโภคอาหารไขมันสูง จะทำให้เกิดการสะสมในร่างกาย นำไปสู่โรคอ้วนเช่นกัน นอกจากนี้การรับประทานอาหารที่มีรสชาติเค็มอาจนำไปสู่ภาวะความดันโลหิตสูง และโรคไตได้

หากท่านต้องการที่จะนัดหมายล่วงหน้า เพื่อรับคำปรึกษาจากแพทย์ในหัวข้อโรค NCDs สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก

Reference:

          บทความที่เกี่ยวข้อง

          Categories
          Uncategorized

          กรดไหลย้อน ปล่อยเรื้อรังอาจกลายเป็น “มะเร็ง”

              /    บทความ    /    กรดไหลย้อน ปล่อยเรื้อรังอาจกลายเป็น “มะเร็ง”

          กรดไหลย้อน ปล่อยเรื้อรังอาจกลายเป็น "มะเร็ง"

          กรดไหลย้อน ปล่อยเรื้อรังอาจกลายเป็น "มะเร็ง"

          ภาวะที่น้ำย่อยไหลจากกระเพาะย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร หรือที่เราเรียกว่า “กรดไหลย้อน”หลายคนอาจนึกถึงอาการแสบร้อนกลางอก เรอเหม็นเปรี้ยว หรืออาการปวดท้องอย่างรุนแรง แต่รู้หรือไม่ว่าหากปล่อยเรื้อรังเป็นเวลานานจนหลอดอาหารและกล่องเสียงเกิดการอักเสบ ก็อาจทำให้เซลล์เยื่อบุผิวกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้

          สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน

          1. สาเหตุหลักส่วนใหญ่มาจาก “พฤติกรรมการบริโภค” เช่น  รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ รับประทานอาหารเผ็ด เปรี้ยว ของมัน ของทอด ขนมเค้ก ช็อกโกแลต มากเกินพอดี รับประทานอาหารมื้อเย็นแล้วนอนทันที ซึ่งควรรออย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง
          2. ภาวะความเครียด ผู้ที่มีความเครียดมักมีภาวะหลอดอาหารที่มีความไวเกินต่อสิ่งกระตุ้น หลอดอาหารอ่อนไหวต่อกรด เมื่อมีกรดไหลย้อนขึ้นมาแม้เพียงเล็กน้อย จะมีอาการแสดงทันที
          3. ความผิดปกติของหูรูดส่วนปลายหลอดอาหาร ลดลงต่ำกว่าปกติ หรือเกิดการเลื่อนของกระเพาะอาหารเข้าไปในหลอดอาหาร
          4. ความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหาร รวมถึงกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานกว่าปกติ
          5. ปัจจัยอื่นๆ เช่น โรคอ้วน การตั้งครรภ์ การรับประทานยาบางชนิด รวมถึงเชื้อแบคทีเรีย หรือเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม

          กรดไหลย้อน กับมะเร็งกระเพาะอาหาร

          บางคนเข้าใจผิดคิดว่าที่ตัวเองปวดท้องบ่อยๆ นั้นเกิดจากกรดไหลย้อน จึงละเลยไม่ไปพบแพทย์ แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้นอาการของกรดไหลย้อนมีความคล้ายกับอาการของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ซึ่งกว่าจะรู้ตัวว่าเป็นมะเร็งก็อาจจะสายเกินไป ดังนั้น หากมีอาการกลืนลำบาก จุกแน่นใต้ลิ้นปี่จนนอนไม่หลับ อาเจียน ถ่ายเป็นเลือดหรือถ่ายดำ ซีด น้ำหนักลด หรือมีก้อนในท้อง อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้

          สังเกตมะเร็งกระเพาะอาหาร

          ในระยะแรกอาจไม่แสดงอาการเฉพาะและยังมีอาการคล้ายโรคอื่นๆ เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือกระเพาะอาหารอักเสบ

          • อาหารไม่ย่อย ไม่สบายท้อง
          • ท้องอืดหลังรับประทานอาหาร
          • รู้สึกคลื่นไส้เล็กน้อย
          • เบื่ออาหาร
          • แสบร้อนบริเวณหน้าอก
          • ในกรณีที่มีอาการลุกลาม มักมีอาการเพิ่มเติม ดังนี้
          • รู้สึกไม่สบายท้อง โดยเฉพาะบริเวณส่วนบนและตรงกลาง
          • มีเลือดปนในอุจจาระ
          • อาเจียน หรืออาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำคล้ำ
          • อ่อนเพลีย และน้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ

          ทั้งนี้ สำหรับคนไข้ที่เป็นมะเร็งควรได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด ฉายแสง และ/หรือเคมีบำบัด ขึ้นอยู่กับระยะของโรค เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคกรดไหลย้อนอันจะนำไปสู่โรคมะเร็ง เราจึงควรปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ปรับพฤติกรรมการบริโภค รับประทานอาหารให้ตรงเวลา งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ ลดอาหารรสชาติเผ็ด เปรี้ยว ของมัน ของทอด หลังรับประทานอาหารควรรออย่างน้อย 3-4 ชั่วโมงก่อนจะนอน เลี่ยงภาวะความเครียด งดสูบบุหรี่ และควบคุมน้ำหนักในอยู่ในเกณฑ์ปกติ

          หากสังเกตว่าตัวเองมีอาการเข้าข่ายกรดไหลย้อนหรือมีภาวะเสี่ยงอันจะนำไปสู่มะเร็งกระเพาะอาหาร ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อป้องกันและดูแลรักษา ควบคู่ไปกับการปรับพฤติกรรม และการลดน้ำหนัก ซึ่งสามารถนัดหมายเพื่อเข้ารับคำแนะนำ จากทีมแพทย์พรีโมแคร์ เพื่อวางแผนและปรับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตสำหรับแต่ละบุคคล สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก

          Reference:

                  บทความที่เกี่ยวข้อง

                  Categories
                  Uncategorized

                  กระดูกสันหลังคดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

                      /    บทความ    /    กระดูกสันหลังคดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

                  กระดูกสันหลังคดรักษาได้
                  ด้วยกายภาพบำบัด

                  กระดูกสันหลังคดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

                  โรคกระดูกสันหลังคดเป็นโรคที่สามารถเกิดได้ทุกวัยตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้ใหญ่ ซึ่งกระดูกสันหลังคด อาการหรือสัญญาณที่สามารถสังเกตได้ เช่น สะโพกไม่เท่ากัน ไหล่สองข้างไม่เท่ากัน ลำตัวเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง เป็นต้น ซึ่งแนวทางในการรักษากระดูกสันหลังคดนั้นขึ้นอยู่กับระดับของอาการ คนไข้ที่มีลักษณะอาการดังกล่าว หรือสงสัยว่าเป็นโรคกระดูกสันหลังคด สามารถรับการตรวจจากแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยที่ชัดเจน และการวางแผนการดูแลสุขภาพหรือแนวทางการรักษาต่อไป 

                  โรคกระดูกสันหลังคด (Scoliosis)

                  โรคกระดูกสันหลังคด หมายถึง การผิดรูปของแนวกระดูกสันหลัง ที่มีการคดออกไปด้านข้าง หรือการที่กระดูกสันหลังเบี้ยวเป็นรูปตัวเอส “S” หรือ ตัว “C” สาเหตุเกิดได้ตั้งแต่กำเนิด หรือเกิดจากการที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งตัวงอ การนั่งตัวเอียง การยืนลงน้ำหนักทั้งสองข้างไม่เท่ากัน การยืนพักขาบ่อย ๆ หรือการถ่ายน้ำหนักไปข้างใดข้างหนึ่งมากเกินไป

                  สามารถสังเกตอาการด้วยตนเอง เช่น สังเกตจากการระดับของหัวไหล่ทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน หรือสังเกตจากบริเวณแนวกระดูกสันหลังว่าจะมีด้านหนึ่งนูนขึ้นและอีกข้างหนึ่งยุบตัวลง นอกจากนี้ยังสังเกตได้จากสะโพกว่ามีการบิดไปด้านใดด้านหนึ่ง กรณีที่มีอาการปวดหลังเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจเกิดจากภาวะกระดูกสันหลังคดได้เช่นกัน รวมถึงอาการต่างๆ ดังนี้

                  • แนวกระดูกสันหลังไม่ตรง
                  • ระดับหัวไหล่หรือบ่าทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน สะบักหรือกระดูกมีการนูนตัวมากกว่าอีกด้านหนึ่ง
                  • ศีรษะไม่อยู่กึ่งกลางในระหว่างแนวกระดูกเชิงกรานทั้ง 2 ข้าง
                  • สะโพกด้านใดด้านหนึ่งยกขึ้นสูงกว่าอีกด้าน
                  • กระดูกซี่โครงมีระดับความสูงไม่เท่ากัน
                  • ระดับเอวไม่เท่ากัน
                  • ลำตัวเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง

                  กระดูกสันหลังคด ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน

                       เมื่อแกนกระดูกสันหลังคดเอียง ส่งผลให้ลำตัวเอียงไปตามๆ กัน ยิ่งกระดูกสันหลังเอียงทำมุมมากขึ้น ร่างกายก็จะพยายามปรับตัวโดยการดึงให้แกนตัวกลับตรง ส่งผลให้กระดูกสันหลังปล้องข้างเคียงเกิดการคดเอียงเพิ่มเติมได้ในอนาคต อาการข้างเคียงที่ทำให้ผู้ป่วยต้องพบเจอเพิ่มเติม คือ 

                  • กระดูกสันหลังเสื่อมได้เร็วขึ้นกว่าคนทั่วไป 
                  • เกิดความไม่มั่นใจ ด้วยอาการเจ็บป่วยที่ส่งผลต่อรูปลักษณ์ภายนอก
                  • ปวดหลังได้ง่าย 
                  • สำหรับผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังช่วงอกคดมาก อาจส่งผลต่อระบบหายใจ ปอดขยายได้น้อยลง หายใจไม่เต็มที่ เหนื่อยง่าย
                  • ในกลุ่มผู้สูงอายุ ที่กระดูกสันหลังคดจากความเสื่อม อาจส่งผลให้มีอาการที่เกิดจากการเบียดเส้นประสาทได้ เช่น ปวดร้าวลงขา ขาชา และขาอ่อนแรง

                  กายภาพบำบัดรักษากระดูกสันหลังคด

                  เมื่อพบภาวะกระดูกสันหลังคด การรักษาทางกายภาพบำบัดตั้งแต่ระยะแรกนั้นเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ช่วยชะลอการเพิ่มมุมการคดของกระดูกสันหลังได้ โดยนักกายภาพบำบัดจะทำการตรวจประเมิน วิเคราะห์ภาวะกระดูกสันหลังคด และออกแบบแนวทางการทำกายภาพบำบัดที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ในกรณีที่กระดูกสันหลังคดไม่มาก มักมีสาเหตุจากพฤติกรรมที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งสามารถทำกายภาพบำบัด โดยมีขั้นตอนดังนี้

                  • ตรวจประเมินและวิเคราะห์ปัญหาในภาวะกระดูกสันหลังคด
                  • ให้การรักษา โดยอธิบายและให้ความรู้ทางด้านสรีระ และโครงสร้างของภาวะกระดูกสันหลังคด  เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น
                  • จัดท่าทางในชีวิตประจำวัน ฝึกการทรงท่า และการหายใจที่ถูกต้อง
                  • รักษาโดยการออกกำลังกาย : จัดโปรแกรมการออกกำลังกายแบบเฉพาะที่เหมาะสมต่อลักษณะของกระดูกสันหลังคดในแต่ละรูปแบบ , การออกกำลังกายเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ, ออกกำลังกายเพิ่มความยืดหยุ่น, ออกกำลังกายเพิ่มความมั่นคงของแกนกลาง
                  • รักษาโดยใช้ศาสตร์ของกายภาพบำบัด อาทิ การขยับข้อต่อ การคลายกล้ามเนื้อและพังผืด
                  หากท่านต้องการนัดหมายเพื่อเข้ารับการตรวจรักษาจากทีมแพทย์พรีโมแคร์ เพื่อรักษาอาการกระดูกสันหลังคด รวมถึงปรึกษานักกายภาพบำบัด สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก
                   

                  Reference:

                      บทความที่เกี่ยวข้อง

                      Categories
                      Uncategorized

                      Brownout Syndrome ไม่ใช่แค่หมดไฟ แต่คือหมดใจในการทำงาน

                          /    บทความ    /    Brownout Syndrome ไม่ใช่แค่หมดไฟ แต่คือหมดใจในการทำงาน

                      Brownout Syndrome ไม่ใช่แค่หมดไฟ แต่คือหมดใจ
                      ในการทำงาน

                      Brownout Syndrome ไม่ใช่แค่หมดไฟ แต่คือหมดใจในการทำงาน

                      Brownout Syndrome คือภาวะหมดใจในการทำงานที่รุนแรงกว่า Burnout Syndrome เป็นอาการระยะยาว ที่สะสมมามาเป็นระยะเวลานาน จากประสบการณ์ในการทำงาน ที่ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานกับสภาพแวดล้อม ผู้คน หรือเงื่อนไขในองค์กรนั้นๆ จนเหนื่อยใจ หมดความภักดี ไม่อยากจะทุ่มเท ไม่อยากเป็นส่วนหนึ่งของทีมอีกต่อไป และอาจนำมาสู่การลาออกในที่สุด 

                      สาเหตุที่ทำให้คนหมดใจ

                      อาการหมดใจในการทำงาน หรือ Brownout Syndrome มักเกิดขึ้นกับคนที่มีความสามารถมากกว่าคนอื่น สาเหตุอาจมาจากเพื่อนร่วมงาน กฎขององค์กร การได้รับผลตอบรับไม่ดีในการทำงาน ซึ่งคนที่มีอาการ Brownout ยังสามารถทำงานได้อย่างปกติ เพียงแต่ความผูกพันธ์ของพนักงานกับองค์กรลดลง โดยมีสาเหตุดังนี้

                      • กฎระเบียบในองค์กรที่จุกจิก และไม่เป็นธรรม กฎที่จุกจิกและไม่มีความยืดหยุ่นจะทำให้พนักงานกดดัน และเกิดความอึดอัดใจได้ รวมถึงความไม่เป็นธรรม เช่น การยืดหยุ่นกฎระเบียบให้กับคนบางกลุ่ม ซึ่งความไม่ยุติธรรมนี้ เป็นตัวสร้างอคติและความบาดหมางในองค์กร
                      • ทำได้มากกว่า แต่ผลตอบแทนเสมอกัน สาเหตุหลักที่ทำให้คนเก่งๆ ทยอยออกจากองค์กร คือ การไม่ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า สิ่งนี้จะทำให้พนักงานรู้สึกว่า จะทำดีไปทำไม หากเป็นแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ พนักงานที่ตั้งใจทำงานอาจเริ่มหมดใจ และเริ่มมองหาองค์กรใหม่ที่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากับการลงแรงมากกว่า
                      • หัวหน้างานเอาแต่ใจ ไม่เข้าใจความเป็นมนุษย์ ความเอาแต่ใจ ไม่เปิดรับความเห็นต่างของหัวหน้า ไม่ฟังเหตุผล ขาดความเห็นใจ ไม่ยอมรับผิด พนักงานหลายคนจึงไม่อยากรองรับอารมณ์ และพลังงานลบๆ อีกต่อไป
                      • เป้าหมายในการทำงานไม่ชัดเจน เมื่อไม่เห็นเป้าหมายของงานที่ทำ พนักงานหลายคนจึงเริ่มหมดใจ เพราะไม่รู้ว่าสิ่งที่ตัวเองทำนั้นมีประโยชน์ หรือมีคุณค่ากับองค์กรมากน้อยแค่ไหน

                      สัญญาณเตือนภาวะหมดใจ

                      • อาการทางอารมณ์ : หดหู่ เศร้า อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย หงุดหงิด ไม่พอใจในงานที่ทำ
                      • อาการทางความคิด : เริ่มมองงานหรือคนอื่นในแง่ร้าย ระแวงง่ายขึ้น โทษคนอื่น สงสัยความสามารถของตนเอง และอยากเลี่ยงปัญหา
                      • อาการทางพฤติกรรม : หุนหันพลันแล่น ผัดวันประกันพรุ่ง ทำกิจกรรมสร้างความสุขลดลง เริ่มมาทำงานสายบ่อยขึ้น บริหารจัดการเวลาแย่ลง

                      หากภาวะหมดไฟไม่ได้รับการจัดการ อาจส่งผลดังนี้

                      • ด้านร่างกาย : มีอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง ปวดเมื่อย ปวดศีรษะ มีอาการออฟฟิศซินโดรม หรือไมเกรน
                      • ด้านจิตใจ : สูญเสียแรงจูงใจ หมดหวัง บางรายอาจมีอาการของภาวะซึมเศร้า และนอนไม่หลับ อาจมีการใช้สารเสพติดเพื่อจัดการกับอารมณ์
                      • การทำงาน : ขาดงานบ่อย ประสิทธิภาพการทำงานลดลง และคิดเรื่องลาออกในที่สุด

                      วิธีป้องกันภาวะหมดใจในการทำงาน
                      การป้องกันไม่ให้คนรู้สึกหมดใจในการทำงานต้องอาศัยความร่วมมือหลายส่วน ทั้งจากเพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน ไปจนถึงองค์กร ที่ต้องเปลี่ยนทัศนคติ ปรับระบบการทำงาน และวัฒนธรรมภายในองค์กรให้มีความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น 
                      • เปิดใจคุย : หาโอกาสคุยกับหัวหน้างาน เกี่ยวกับเรื่องที่ทำให้เราหงุดหงิดใจ และหัวหน้าเองก็ควรมีการพูดคุยกับคนอื่นๆ เช่นกัน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำงาน
                      • หาความช่วยเหลือ : ขอคำปรึกษากับคนรอบข้างหรือนักจิตวิทยา เพราะคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญอาจเป็นทางออกที่ช่วยเราให้ได้เห็นมุมมองที่แตกต่างได้
                      • หาเป้าหมายใหม่ : การทำงานหนักเกินไป อาจทำให้เกิดการละเลยกับความต้องการของตัวเอง การจัดสรรเวลา ใส่ใจเป้าหมายของตัวเองจะช่วยสร้างสมดุลในการใช้ชีวิตให้มากขึ้น
                      • สร้างสมดุลให้กับชีวิต : ใส่ใจสุขภาพ ความสัมพันธ์ การทำงาน อย่างเท่าเทียมกัน เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

                      ภาวะหมดไฟในการทำงานไม่ใช่โรคซึมเศร้า แต่ถ้าหากคนทำงานเริ่มมีอาการเศร้าหดหู่ เบื่อหน่ายสิ่งรอบตัว รู้สึกทุกข์ทรมานกับการใช้ชีวิต หรือมีความคิดไม่อยากมีชีวิตอยู่ ควรสงสัยว่าอาจเป็นโรคซึมเศร้าแนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ

                      หากคุณรู้สึกว่ากำลังอยู่ในภาวะ ‘Brownout Syndrome’ สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก

                      Reference:

                                  บทความที่เกี่ยวข้อง

                                  Categories
                                  Uncategorized

                                  อันตรายใกล้ตัวในฤดูฝน ภัยสุขภาพที่ป้องกันได้

                                      /    บทความ    /    อันตรายใกล้ตัวในฤดูฝน ภัยสุขภาพที่ป้องกันได้

                                  อันตรายใกล้ตัวในฤดูฝน
                                  ภัยสุขภาพที่ป้องกันได้

                                  อันตรายใกล้ตัวในฤดูฝน ภัยสุขภาพที่ป้องกันได้

                                  กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศว่า ฤดูฝนของประเทศไทยปีนี้ คาดว่าจะเริ่มประมาณปลายสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤษภาคม 2566 การเปลี่ยนแปลงของอากาศอาจนำมาซึ่งการเกิดโรคต่างๆ หลายชนิดที่แพร่ระบาดง่าย พรีโมแคร์อยากให้ทุกท่านดูแลสุขภาพก่อนเกิดโรค มาทำความรู้จักภัยร้ายหน้าฝนกับโรคต่างๆ กันดีกว่า

                                  ภัยสุขภาพอันตรายในหน้าฝน

                                  หน้าร้อนที่แสนอบอ้าวผ่านไปแล้ว เข้าสู่ความอึมครึมของฤดูฝนที่อากาศเย็นลงกว่าเดิม เป็นฤดูกาลที่หลายคนชื่นชอบ แต่รู้หรือไม่ว่าสายฝนที่ชุ่มฉ่ำอาจมาพร้อมโรคได้เช่นกัน มารู้จักโรค 3 กลุ่มที่มากับหน้าฝน พร้อมคำแนะนำในการป้องกันตัวเองให้สุขภาพดีตลอดฤดูฝนนี้มาฝากกัน

                                   โรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ 

                                  • โรคไข้หวัดใหญ่ พบได้ทุกกลุ่มอายุ แต่จะพบมากในเด็ก และอัตราการเสียชีวิต มักพบในผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไป, เด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี,  ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอด โรคหัวใจ โรคไต เบาหวาน ภูมิคุ้มกันบกพร่อง, ผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 100 กิโลกรัม หรือดัชนีมวลกายตั้งแต่ 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร, และหญิงตั้งครรภ์ ติดต่อจากการหายใจหรือสัมผัสละอองฝอยจากน้ำมูก น้ำลายที่ปนเปื้อนเชื้อ หากได้รับเชื้อจะมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล 
                                  • โรคปอดอักเสบ ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย พบได้ทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้ที่มีโรคประจำตัว ติดต่อจากการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ การหายใจนำเชื้อที่ปนเปื้อนในอากาศ ผ่านการไอหรือจาม หากได้รับเชื้อมักจะมีไข้ ไอ และหายใจหอบเหนื่อยอย่างเฉียบพลัน 

                                  ซึ่งทั้งสองโรคสามารถป้องกันได้ด้วยการรักษาสุขภาพ พักผ่อนให้เพียงพอ ทำร่างกายให้อบอุ่น หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น และสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน

                                   โรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำ 

                                  • โรคอุจจาระร่วง ติดต่อโดยการรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรคอาการที่อาจพบ ได้แก่ ปวดท้อง ถ่ายเหลว มีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน

                                  สามารถป้องกันได้ โดยการล้างมือให้สะอาดทั้งก่อนและหลังประกอบอาหาร รับประทานอาหาร หรือหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง ดื่มน้ำสะอาด น้ำต้มสุกหรือน้ำบรรจุขวดที่มีฝาปิดสนิท รับประทานอาหารที่สะอาดและปรุงสุกใหม่ หากต้องการรับประทานอาหารค้างมื้อ ควรอุ่นให้ร้อนก่อนรับประทานทุกครั้ง 

                                  โรคติดต่อนำโดยยุงลาย 

                                  • โรคไข้เลือดออก มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก มีจุดแดงที่ผิวหนัง หากมีอาการรุนแรงอาจช็อกได้
                                  • โรคไข้ปวดข้อยุงลายหรือโรคชิคุนกุนยา มียุงลายเป็นพาหะนำโรคอาการของโรค ได้แก่ มีไข้สูงฉับพลัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ผื่นแดงตามตัวแต่ไม่คัน มักหายไปภายใน 7 – 10 วัน และมีอาการปวดข้อตามหลังอาการผื่น ภายใน 1 – 10 วัน

                                  ป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลายเป็นพาหะนำโรค ได้ด้วยการสำรวจพื้นที่ที่มีน้ำขังและร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบริเวณรอบบ้านเก็บบ้าน ให้สะอาด เช่น พับเก็บเสื้อผ้าใส่ในตู้หรือแขวนให้เรียบร้อย ไม่ให้มีมุมอับทึบ เก็บขยะที่อยู่บริเวณรอบบ้าน ล้างคว่ำภาชนะใส่น้ำ เปลี่ยนน้ำในกระถางหรือแจกันทุกสัปดาห์ ป้องกันไม่ให้ยุงลายวางไข่

                                  รักษาสุขภาพให้แข็งแรงป้องกันภัยร้ายหน้าฝน 
                                  • สวมหน้ากากอนามัย และเปลี่ยนทันทีเมื่อหน้ากากชื้น
                                  • อาบน้ำ สระผมทันทีเมื่อกลับถึงบ้าน
                                  • สระผมแล้วต้องเช็ดหรือเป่าผมให้แห้ง
                                  • รักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ
                                  • หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด
                                  • ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย 1.5 ลิตรต่อวัน
                                  • พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน
                                  หากท่านต้องการที่จะนัดหมายรับคำปรึกษาจากแพทย์ สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก ที่พร้อมดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของท่านอย่างครบถ้วน 

                                  Reference:

                                            บทความที่เกี่ยวข้อง

                                            Categories
                                            Uncategorized

                                            วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกสำคัญกว่าที่คิด

                                                /    บทความ    /    วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกสำคัญกว่าที่คิด

                                            วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกสำคัญกว่าที่คิด

                                            วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกสำคัญกว่าที่คิด

                                            ผู้หญิงไทยประมาณ 6,000-8,000 คนต่อปี ติดเชื้อและเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูก โดยมีอัตราการเสียชีวิต 8-10 คนในหนึ่งวัน มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่พบมากในหญิงไทยเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม ทั้งนี้ไวรัสชนิดนี้จะใช้เวลาเฉลี่ย 5-10 ปี ในการเปลี่ยนแปลงเซลล์ปากมดลูกให้กลายเป็นมะเร็งปากมดลูก โดยผู้หญิงที่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์ จะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส HPV สูงถึง 80% ทั้งนี้มะเร็งปากมดลูกสามารถป้องกันได้ ด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุกปี และฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส HPV

                                            มะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer)

                                            มะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่จะพบในผู้หญิงวัย 30 – 55 ปี เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV หรือ Human Papilloma Virus ซึ่งสามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อเนื้อเยื่อบุผิวที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก และยังสามารถก่อให้เกิดมะเร็งชนิดอื่นๆ เช่น มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด รวมถึงโรคหูดหงอนไก่ด้วย โดยเชื้อไวรัส HPV ที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกมีมากกว่า 40 สายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูกที่พบบ่อยมี 2 สายพันธุ์คือ สายพันธุ์ 16 และ 18 

                                            ทั้งนี้ผู้ติดเชื้อ HPV โดยส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการในช่วงแรก การแสดงอาการของโรคอาจเกิดขึ้นหลายปีหลังได้รับเชื้อและสามารถแพร่เชื้อไปยังคนอื่นได้ โดยผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกจะมีอาการของโรคที่หลากหลาย เช่น เลือดออกทางช่องคลอด อ่อนเพลีย ปวดเชิงกรานและหลัง ประจำเดือนมามากหรือนานกว่าปกติ ปัสสาวะเป็นเลือด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด เป็นต้น

                                                    การป้องกัน-รักษามะเร็งปากมดลูก 

                                                    เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นหนึ่งในมะเร็งที่ป้องกันได้ โดยการป้องกันสามารถทำได้ง่ายกว่าการรักษา ขั้นตอนการป้องกันและรักษาสามารถแบ่งออกได้เป็นสามขั้นตอน ดังนี้

                                                    1. การป้องกันแบบปฐมภูมิ (Primary Prevention) หมายถึงการป้องกันก่อนติดเชื้อ  โดยทั่วไปมักหมายถึงการส่งเสริมเพื่อให้มีสุขภาพดียาวนานที่สุด เช่น การฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์หลักที่ทำให้เกิดมะเร็ง การใช้ถุงยางอนามัย การระมัดระวังไม่ให้สัมผัสถูกเชื้อ และการตรวจคัดกรองเชื้ออย่างสม่ำเสมอ
                                                    2. การป้องกันแบบทุติยภูมิ (Secondary Prevention) หมายถึง การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำปีละครั้ง เพื่อตรวจหาเชื้อให้เจอก่อนที่จะลุกลามเป็นมะเร็ง หรือระยะก่อนลุกลาม (pre-invasive) โดยใช้วิธีการตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear) ซึ่งเป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยการใช้เครื่องมือสอดผ่านทางช่องคลอด และทำการป้ายเซลล์จากมดลูก เพื่อส่งตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติ หรือเซลล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงที่อาจทำให้เกิดมะเร็งได้ สำหรับผู้หญิงที่อายุ 35-55 ปี รวมถึงผู้หญิงทุกคนที่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์แล้วควรที่จะได้รับการตรวจทุกปี
                                                    3. การป้องกันแบบตติยภูมิ (Tertiary Prevention) คือ การรักษาผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปากมดลูกเพื่อให้หายจากโรค โดยวิธีการรักษานั้นจะขึ้นอยู่กับบุคคล เช่น การผ่าตัด การใช้เคมีบำบัด หรือการใช้รังสีรักษา เป็นต้น 
                                                    ในการฉีดวัคซีนจะต้องฉีดทั้งหมด 3 เข็ม ภายในระยะเวลา 6 เดือน โดยความสามารถในการป้องกันการติดเชื้อจะเกิดขึ้นภายใน 1 เดือน หลังจากได้รับวัคซีนครบ 3 เข็ม หากท่านต้องการที่จะนัดหมายเพื่อฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก หรือรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก

                                                    Reference:

                                                              บทความที่เกี่ยวข้อง

                                                              Categories
                                                              Uncategorized

                                                              ตรวจสุขภาพประจำปีจำเป็นจริงหรือ?

                                                                  /    บทความ    /    ตรวจสุขภาพประจำปีจำเป็นจริงหรือ?

                                                              ตรวจสุขภาพประจำปี
                                                              จำเป็นจริงหรือ?

                                                              ตรวจสุขภาพประจำปีจำเป็นจริงหรือ?

                                                              การตรวจสุขภาพ คือ การตรวจร่างกายในภาวะที่ร่างกายเป็นปกติดีไม่มีอาการเจ็บป่วย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการค้นหาปัจจัยเสี่ยงและภาวะผิดปกติเพื่อให้ทราบแนวทางป้องกันการเกิดโรค หรือพบโรคตั้งแต่ระยะเริ่มต้นซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษา

                                                              ทั้งนี้การตรวจสุขภาพประจำปี คือการตรวจป้องกัน (Preventive Medical Services) โดยการตรวจเพื่อส่งเสริมสุขภาพในทุกเพศวัย เพื่อรู้ทันความผิดปกติก่อนที่จะเกิดโรค นำไปสู่การป้องกันและวางแผนการรักษาอย่างทันท่วงที

                                                              ตรวจสุขภาพประจำปี

                                                              โดยปกติหากไม่มีอาการเจ็บไข้ได้ป่วย ทุกคนควรได้รับการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละครั้ง โดยรายละเอียดของการตรวจจะแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงอายุ และปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ โดยข้อดีของการตรวจสุขภาพประจำปีมีดังนี้

                                                              • ช่วยให้ทราบสุขภาวะ และความสมบูรณ์ของร่างกาย ส่งผลให้สามารถปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวันได้เหมาะสมกับสถานะสุขภาพ
                                                              • ช่วยให้ค้นพบความผิดปกติหรือโรคต่างๆ หาแนวโน้มหรือความเสี่ยงของโรคที่อาจเกิดขึ้นแบบไม่รู้ตัว ได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น ซึ่งจะช่วยให้คนไข้สามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที ป้องกันไม่ให้ความผิดปกติลุกลามมากขึ้น 
                                                              • ช่วยให้ติดตามและประเมินสุขภาพของผู้ป่วย เพื่อให้แพทย์ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสม
                                                              • รับวัคซีนประจำปี นอกเหนือจากการตรวจสุขภาพ แพทย์อาจสอบถามประวัติการรับวัคซีนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนที่เหมาะสมประจำปีด้วย
                                                              • ลดความสูญเสีย ทั้งด้านสุขอนามัย และด้านการเงิน หากค้นพบอาการหรือที่มาขอโรคได้ทันท่วงทีจะช่วยยับยั้งความรุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
                                                              ที่พรีโมเเคร์ออกแบบโปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปีให้เหมาะสมกับผู้เข้ารับการตรวจ โดยคำนึงถึงอายุ ความเสี่ยง พฤติกรรมการใช้ชีวิต และความต้องการที่แตกต่างกัน จึงสามารถตรวจหาความเสี่ยงเพื่อป้องกันหรือรักษาได้ตั้งแต่เริ่มต้น โดยมีการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนตรวจสุขภาพประจำปีดังนี้

                                                              • พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อให้ผลการตรวจแม่นยำ
                                                              • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 24 ชั่วโมง
                                                              • งดอาหารและเครื่องดื่ม (ยกเว้นน้ำเปล่า) อย่างน้อย 8-10 ชั่วโมง ในกรณีที่ตรวจหาน้ำตาลในเลือดและไขมันในเลือด
                                                              • สำหรับสุภาพสตรี ไม่ควรอยู่ในช่วงที่มีประจำเดือน หากมีประจำเดือนให้งดตรวจปัสสาวะ เพราะเลือดจะปนเปื้อนในปัสสาวะ มีผลต่อการแปลผลการตรวจ
                                                              • เตรียมตัวให้พร้อม หากมีโรคประจำตัวหรือยาที่ใช้ประจำให้รับประทานยาตามปกติ ทั้งนี้หากใช้ยารักษาเบาหวานอยู่ควรปรึกษาแพทย์ก่อน และนำผลการตรวจหรือรายงานจากแพทย์มาเพื่อประกอบการวินิจฉัย

                                                                      ขั้นตอนการตรวจสุขภาพประจำปี

                                                                      ทุกคนควรเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ในทุกเพศ ทุกวัย ตั้งแต่กลุ่มอายุ 19-60 ปี เพื่อค้นหาแนวโน้มหรือความเสี่ยงของโรคที่อาจเกิดขึ้นแบบไม่รู้ตัว ส่วนกลุ่มเสี่ยงที่ควรมาติดตามสุขภาพทุกๆ 3-6 เดือน ได้แก่ กลุ่มเสี่ยงเป็นเบาหวาน ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังต้องทานยาจำนวนมาก เป็นต้น เพราะการปล่อยทิ้งไว้นานเกินไป ไม่ได้ติดตามอาการ จะทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคต่างๆ หรือเกิดสภาวะอันตรายขึ้นได้ โดยการตรวจสุขภาพประจำปีมีรายละเอียดดังนี้

                                                                       การซักประวัติ

                                                                      การซักประวัติเป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการประเมินภาวะสุขภาพ องค์ประกอบหลักในการประเมินภาวะสุขภาพประกอบด้วย ส่วนที่เป็นประวัติสุขภาพ การตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การซักประวัติจะเป็นการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประวัติสุขภาพทั้งในอดีตและปัจจุบันทำให้ได้ข้อสรุปของประเด็นที่เป็นปัญหาด้านสุขภาพในทุกๆด้าน ประกอบไปด้วย

                                                                      • สุขภาพทั่วไป/ พฤติกรรมสุขภาพ เช่น การกินอาหาร การออกกำลังกาย
                                                                      • การสูบบุหรี่/ดื่มสุรา/ ใช้สารเสพติดใน 3เดือนที่ผ่านมา
                                                                      • พฤติกรรมทางเพศ/ การป้องกันโรคทางเพศสัมพันธ์/ การคุมกำเนิด
                                                                      • ประวัติการป่วยเป็นโรคมะเร็งในครอบครัว เพื่อประเมินความสี่ยงทางพันธุกรรม
                                                                      • การได้รับวัคซีนที่จำเป็น เพิ่มความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเอง

                                                                       การตรวจร่างกายและการประเมินภาวะสุขภาพ

                                                                      คือการตรวจเบื้องต้น เช่น การตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจหาดัชนีมวลกาย ประกอบกับการตรวจร่างกายเบื้องต้นโดยแพทย์ ซึ่งจะช่วยให้สามารถแยกโรคได้ในระดับหนึ่ง โดยมีรายละเอียดดังนี้

                                                                      • การวัดชีพจร และวัดความดันโลหิต เพื่อเป็นข้อมูลทางสุขภาพเบื้องต้นเพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงของภาวะสุขภาพของบุคคลโดยเฉพาะการวัดความดันโลหิต
                                                                      • การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง มีประโยชน์ในการประเมินสภาวะทั่วไป เช่น ภาวะโภชนาการได้แก่ ดัชนีมวลกาย (body mass index, BMI) ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาของกลุ่มวัยทำงาน
                                                                      • การวัดเส้นรอบเอว ประเมินภาวะอ้วนลงพุงซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ นำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือด

                                                                       การตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน 

                                                                      มีคำแนะนำจาก National Institute for Health and Care Excellence (NICE): ให้ตรวจสุขภาพช่องปากและฟันในผู้ที่มีอายุ18 ปีขึ้นไป ทุก 1 ปี

                                                                       การตรวจตา 
                                                                      โดยให้ตรวจในผู้ที่มีอายุ 40-65 ปีตรวจทุก 2 ปีซึ่งมีข้อมูลการศึกษาพบว่าความบกพร่องทางสายตามีความสัมพันธ์กับอายุผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงต่อโรคตาสูงขึ้น

                                                                       การตรวจเต้านม 
                                                                      โรคมะเร็งเต้านมในระยะแรกมักจะไม่แสดงอาการการป้องกันที่ดีที่สุดคือการค้นหาความผิดปกติของเต้านมให้เร็วที่สุดเพื่อเพิ่มโอกาสในการรักษาและการรอดชีวิตและผลการรักษามะเร็งเต้านมในระยะแรก

                                                                       การประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจ หลอดเลือด และโรคเบาหวาน 
                                                                      โดยแสดงผลการประเมินเป็นความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตหรือเจ็บป่วยจากโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันและโรคเส้นเลือดสมองตีบตัน รวมถึงภาวะแทรกซ้อนในโรคเบาหวาน

                                                                       การประเมินภาวะซึมเศร้า 
                                                                      ประเมินภาวะซึมเศร้าด้วยแบบคัดกรองโรคซึมเศร้าชนิด2คำถาม (Two-questions-screening test for depression disorders)

                                                                       การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
                                                                      • การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
                                                                      • การตรวจระดับไขมันในเลือด
                                                                      • การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร
                                                                      • การตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคมะเร็ง
                                                                      • การตรวจมะเร็งปากมดลูก

                                                                      ท่านสามารถปรึกษา หรือทำการนัดหมายเพื่อตรวจสุขภาพประจำปี ได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก สามารถสอบถามเกี่ยวกับโรคเรื้อรังอื่นๆ หรือทำการนัดหมายล่วงหน้า ได้ที่พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก

                                                                      Reference:

                                                                                บทความที่เกี่ยวข้อง

                                                                                Categories
                                                                                Uncategorized

                                                                                คอเลสเตอรอลสูงนำไปสู่โรคอะไรบ้าง?

                                                                                    /    บทความ    /    คอเลสเตอรอลสูงนำไปสู่โรคอะไรบ้าง?

                                                                                คอเลสเตอรอลสูง
                                                                                นำไปสู่โรคอะไรบ้าง?

                                                                                คอเลสเตอรอลสูงนำไปสู่โรคอะไรบ้าง?

                                                                                ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ อาจเป็นระดับคอเลสเตอรอลหรือระดับไตรกลีเซอร์ไรด์สูงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือสูงทั้ง 2 ชนิด เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต 

                                                                                การมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพเป็นสาเหตุหลักที่เพิ่มโอกาสในการเกิดไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอล ไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ หรือคารโบไฮเดรตสูงเกินไป นอกจากนี้การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอหรือเคลื่อนไหวร่างกายน้อย รวมทั้งการสูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปก็สามารถนำไปสู่ไขมันในเลือดสูงได้เช่นกัน


                                                                                คอเลสเตอรอล

                                                                                คอเลสเตอรอลสูง (High Cholesterol) คือภาวะที่ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้นจนอาจเป็นอันตรายต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดแดงแข็ง เป็นภาวะที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ทั้งนี้คอเลสเตอรอลมี 2 ชนิด คือ

                                                                                • HDL (High Density Lipoprotien) : ไขมันดี หรือไลโพโปรตีนที่มีความหนาแน่นสูงมีหน้าที่ช่วยจับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดที่ออกไปทำลายที่ตับ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยไขมันชนิดนี้สร้างได้จากการออกกำลังกาย ทั้งนี้ระดับไขมัน HDL ในเลือดในผู้ชายควรมากกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และมากกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ในผู้หญิง
                                                                                • LDL (Low Density Lipoprotien) : ไขมันไม่ดี หรือไลโพโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำ โดยไขมันชนิดนี้จะไปเกาะและพอกที่ผนังภายในหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดหนาและตีบ ส่งผลให้เลือดดีที่สูบฉีดออกจากหัวใจไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้ไม่สะดวก ทำให้อวัยวะขาดเลือดและเจ็บป่วย ทั้งนี้ระดับไขมัน LDL ในเลือดไม่ควรเกิน 130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร สำหรับผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัว

                                                                                อันตรายของภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง

                                                                                หากมีคอเลสเตอรอลในเลือดสูงเกาะที่ผนังหลอดเลือด จะทำให้เกิดการอักเสบและภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง เมื่อการสะสมเพิ่มมากขึ้นหลอดเลือดแดงในร่างกายส่วนต่างๆจะมีการตีบหรืออุดตัน เช่น หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตายทำให้เสียชีวิต รวมทั้งอัมพฤกษ์อัมพาต 

                                                                                โดยค่าปกติของคอเลสเตอรอลในเลือดไม่ควรเกิน 200 มก./ดล. และระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 150 มก./ดล. ทั้งนี้ภาวะไขมันในเลือดสูงมีสาเหตุมาจากการบริโภคอาหารและพฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบผิดๆ ทำให้เกิดการสะสมไขมันในเส้นเลือดและนำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือด 


                                                                                การตรวจวัดระดับไขมันในเลือด
                                                                                สำหรับการตรวจวัดระดับไขมันในเลือดสามารถทำได้โดยการเจาะเลือดเพื่อตรวจระดับไขมันในเลือด และจะต้องงดอาหารทุกชนิด ยกเว้นน้ำเปล่า ก่อนการเจาะเลือด 12 ชั่วโมง ควรตรวจครั้งแรกเมื่ออายุ 35 ปี โดยตรวจคัดกรองควรทำซ้ำทุกๆ 5 ปี อย่างไรก็ดีความถี่ในการตรวจคัดกรองซ้ำอาจมีความถี่มากกว่านี้ได้ขึ้นกับวิจารณญาณของแพทย์ที่พิจารณาความเสี่ยงของแต่ละบุคคล หรือควรตรวจทันทีในผู้ที่มีความเสี่่ยงสูง ดังนี้
                                                                                 
                                                                                • ชายอายุ 45 ปี หญิงอายุ 55 ปีขึ้นไป 
                                                                                • ผู้ที่มีประวัติครอบครัว คือ พี่ น้อง พ่อ แม่ เป็นโรคหัวใจขาดเลือด 
                                                                                • ความดันโลหิตเท่ากับหรือมากกว่า 140/90 มม.ปรอท 
                                                                                • สูบบุหรี่ 
                                                                                • มีภาวะอ้วนลงพุง
                                                                                • ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือด
                                                                                • มีปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น โรคไต โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ต่อมไทรอยด์ทำงานบกพร่อง หรือตับอ่อนอักเสบ
                                                                                หากพบว่ามีภาวะไขมันในเลือดสูงจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดยรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม และรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมระดับไตรกลีเซอร์ไรด์และคอเลสเตอรอลในเลือด คือ งดอาหารประเภทน้ำตาล ขนมหวานทุกชนิด ผลไม้รสหวานจัดและผลไม้แปรรูป รวมถึงน้ำหวาน น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงอาหารไขมันสูง คอเลสเตอรอลสูง เช่น ของทอดต่างๆ แกงกะทิ อาหารที่มีส่วนผสมของเนย มาการีน เป็นต้น

                                                                                การควบคุมอาหาร

                                                                                อาหารไขมันสูง คอเลสเตอรอลสูง เช่น ของทอดต่างๆ แกงกะทิ อาหารที่มีส่วนผสมของเนย มาการีน เป็นต้น นอกจากนี้ควรรับประทานผักให้มากในแต่ละมื้อ โดยเน้นผักใบเขียว ที่สำคัญควรควบคุมน้ำหนักตัว และออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30-45 นาที สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง โดยไม่หักโหมจนเกินไป 

                                                                                • หลีกเลี่ยงอาหารพวกเนื้อสัตว์ที่ติดมัน อาหารทะเลบางชนิด เช่น กุ้ง หอยนางรมปลาหมึกสด  ปลาหมึกแห้ง ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น เนย ครีม เนยแข็ง ขนมหวานที่มีส่วนประกอบของน้ำตาล
                                                                                • หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมัน อาหารทอด เช่น ไก่ชุปแป้งทอด กล้วยทอด ปาท่องโก๋ อาหารพวกแกงกะทิ หลนกะทิต่าง ๆ
                                                                                • หลีกเลี่ยงน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันมะพร้าว และไขมันที่ได้จากสัตว์  เช่น  เนย  มันหมู  มันวัว  มันไก่  เพราะน้ำมันเหล่านี้มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง ให้เลือกใช้น้ำมันพืชปรุงอาหารแทนน้ำมันสัตว์
                                                                                • พยายามปรุงอาหารโดยใช้ต้ม นึ่ง ย่าง อบ แทนการทอด หรือผัด ใช้ไขมันจากพืชในการประกอบอาหาร เช่น น้ำมันถั่วเหลือง  น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันมะกอก น้ำมันข้าวโพด น้ำมันรำ ประกอบอาหาร น้ำมันดอกทานตะวัน  ซึ่งเป็นน้ำมันที่จะช่วยลดโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ได้
                                                                                • เลือกรับประทานพืชผักต่างๆ และธัญพืช เช่น ถั่วเมล็ดแห้ง ข้าวที่ไม่ขัดสี ผักสดหลากหลายสีชนิดต่างๆ วันละ 4-5 ถ้วยตวง พืชสมุนไพร เครื่องเทศ ธัญพืชไม่ขัดสี ผลไม้หลายชนิด วันละ4 ผล เช่น ฝรั่ง ส้ม แอบเปิ้ล ชมพู่ กล้วย ฯลฯ
                                                                                • บริโภคปลาทะเล สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เพื่อเป็นการลดเนื้อสัตว์ใหญ่ ซึ่งมีกรดไขมันอิ่มตัวสูง ปลาทะเลมีน้ำมันปลา หรือกรดโอเมก้า 3 ช่วยลดการจับตัวของเกล็ดเลือด ลดความดันโลหิต และลดไตรกลีเซอร์ไรด์ได้ ปลาทะเลที่มีโอเมก้า-3 สูง เช่น ปลาทู ปลาโอ ปลากะพง ปลาทูน่า ปลาแซลมอน   

                                                                                ทั้นี้เป้าหมายของการลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดนั้นขึ้นกับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดของแต่ละบุคคล การตรวจคัดกรองผู้ที่อาจมีภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูงจะช่วยให้เกิดการดูแลตนเองที่เหมาะสมและทันท่วงทีเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือด

                                                                                ท่านสามารถปรึกษาการควบคุมอาหารสำหรับผู้ที่มีภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง โดยเข้าร่วมโปรแกรมโภชนบำบัด (Personalized Diet Doctor) ได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก

                                                                                 

                                                                                Reference:

                                                                                      บทความที่เกี่ยวข้อง

                                                                                      Categories
                                                                                      Uncategorized

                                                                                      ความเครียดและฮอร์โมน สัมพันธ์กันอย่างไร??

                                                                                          /    บทความ    /    ความเครียดและฮอร์โมน สัมพันธ์กันอย่างไร??

                                                                                      ความเครียดและฮอร์โมน
                                                                                      สัมพันธ์กันอย่างไร??

                                                                                      ความเครียดและฮอร์โมน สัมพันธ์กันอย่างไร??

                                                                                      ความเครียดเป็นภาวะของอารมณ์หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ และทำให้รู้สึกถูกกดดัน ไม่สบายใจ วุ่นวายใจ กลัว วิตกกังวล ตลอดจนถูกบีบคั้น เมื่อบุคคลรับรู้หรือประเมินว่าปัญหาเหล่านั้นเป็นสิ่งที่คุกคามจิตใจ หรืออาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จะส่งผลให้สภาวะสมดุลของร่างกายและจิตใจเสียไป

                                                                                      ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) 

                                                                                      คอร์ติซอล คือสเตียรอยด์ฮอร์โมน (Steroid hormone) จัดเป็นฮอร์โมนกลุ่มกลูโคคอร์ติคอยด์ (glucocorticoids) ที่ผลิตจากต่อมหมวกไตชั้นนอก และส่งผ่านไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายผ่านกระแสเลือด เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายหลั่งออกมา เพื่อตอบสนองต่อสภาวะเครียดหรือกดดันต่างๆ จึงมักเรียกกันว่า “ฮอร์โมนความเครียด

                                                                                      Cortisol คือฮอร์โมนความเครียดตัวหลักของร่างกาย (Stress hormone) ปกติร่างกายจะหลั่งออกมาปริมาณมากที่สุดในตอนเช้า ช่วยให้เรารู้สึกสดชื่น และมีพลังต่อสู้ในวันใหม่ของทุกวัน และจะลดลงเหลือเพียง 10% ในช่วงเย็น ถ้าหากร่างกายมีความเครียดสะสม ต่อมหมวกไตจะหลั่ง Cortisol ออกมามากเกินไป เกิดผลเสียของ Cortisol คือกระตุ้นให้เกิดการสลายตัวของร่างกายมากเกินไป ทำให้ร่างกายเสื่อมถอย ต่อมหมวกไตต้องดึงเอาฮอร์โมนอื่นๆ ทั้งฮอร์โมนต้านเครียด (DHEA) ฮอร์โมนเพศ (Estrogen, Progesterone, Testosterone) มาใช้สร้าง Cortisol จนหมด เกิดภาวะพร่องฮอร์โมน ร่างกายอ่อนล้า หรือเรียกว่าภาวะต่อมหมวกไตล้า

                                                                                       

                                                                                      ภาวะต่อมหมวกไตล้า

                                                                                      ในการวินิจฉัย ภาวะต่อมหมวกไตล้า จะต้องมีวัดระดับของฮอรโมนต่อมหมวกไต(Adrenal hormones) 2ตัว ที่มีชื่อว่า คอร์ติซอล (Cortisol) และ ดีเอชอีเอ (Dyhydroepiandrosterone-DHEA) ซึ่งสามารถวัดได้จากผลเลือด Cortisol และ DHEAคือ ฮอร์โมนแห่ง’ความเครียด’ในร่างกายมนุษย์ ปัจจุบันนี้ การรักษาภาวะต่อมหมวกไตล้าจะมุ่งเน้นไปที่การปรับให้ฮอรโมน2ตัวนี้ให้อยู่ระดับที่สมดุล

                                                                                      อาการต่อมหมวกไตล้า
                                                                                       ภาวะ’ต่อมหมวกไตล้า’ เป็นอาการผิดปกติของร่างกายอย่างหนึ่งที่มีความเครียดเรื้อรังเป็นตัวกระตุ้น อาการผิดปกติที่ตรงกับ อาการแสดง ด้านล่างอย่างน้อย 5 ข้อ คุณกำลังมีความเสี่ยงสูง
                                                                                       
                                                                                      • ขี้เกียจตื่นนอนตอนเช้า
                                                                                      • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง อยากงีบหลับ ช่วงกลางวัน
                                                                                      • ง่วงแต่นอนไม่หลับ
                                                                                      • มีอาการวิงเวียน ศีรษะ หน้ามือ เวลาเปลี่ยนท่าทาง (ลุก-นั่ง)
                                                                                      • อยากของหวาน, ของเค็ม
                                                                                      • ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ
                                                                                      • ปวดประจำเดือนบ่อย
                                                                                      • เป็นภูมิแพ้กำเริบบ่อยๆ
                                                                                      • ท้องอืด อาหารไม่ย่อย 
                                                                                      • ท้องผูก
                                                                                      • เครียด ซึมเศร้า
                                                                                      • คุมอาหาร ออกกำลังกายเป็นประจำแต่น้ำหนักไม่ลดลง
                                                                                      • รู้สึกดีขึ้นทันทีเมื่อได้ทานน้ำตาล
                                                                                      • ผิวแห้งและแพ้ง่าย

                                                                                      จัดการอย่างไร เมื่อฮอร์โมนคอร์ติซอลสูง

                                                                                      • จัดการกับความเครียด (Stress Management) โดยการหากิจกรรมคลายความเครียดทางจิตใจ เช่น การเล่นโยคะ การนวด หรือการบำบัด โดยใช้คลื่นเสียง (Sound Healing)
                                                                                      • ทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ผักและผลไม้ที่ไม่หวานเกินไป ข้าว ถั่ว เนื้อสัตว์บางประเภท เช่น เป็ด ไก่ ปลา
                                                                                      • หลีกเลี่ยงสารพิษ เนื่องจากสามารถทำให้ร่างกายอักเสบและนำไปสู่ความเครียดได้
                                                                                      • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หนักเกินไป สามารถออกกำลังกายแบบเบาๆได้ (Calming Exercise) หรือ การออกกำลังกายที่ใช้พลังงานต่ำหรือ Low-intensity workouts เช่น การวิ่ง จ๊อคกิ้ง หรือการออกกำลังกายที่เรายังสามารถพูดคุยได้ตามปกติขณะออกกำลังกาย
                                                                                      ฮอร์โมน DHEAs 
                                                                                      DHEA คือฮอร์โมนเพศชนิดหนึ่งที่เป็นฮอร์โมนตั้งต้นของทั้งฮอร์โมนเพศหญิงและเพศชาย (Pre-sex hormones) และยังเป็น ฮอร์โมนต้านความเครียด (Anti-stress hormones) ช่วยต้านฤทธิ์ของ Cortisol เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะเครียด ทั้งนี้ DHEAs เป็นฮอร์โมนที่ผลิตขึ้นจากต่อมหมวกไต ซึ่งเป็นฮอร์โมนตั้งต้นที่ร่างกายนำมาผลิตฮอร์โมนสำคัญ หลายชนิด เช่น ฮอร์โมนเพศ อาทิ เทสโทสเทอโรน หรือเอสโตรเจน โดยระดับของฮอร์โมน DHEAs นั้น จะผลิตได้สูงสุดในช่วงอายุประมาณ 25 ปี และจะลดลงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น

                                                                                      จัดการอย่างไร เมื่อฮอร์โมน DHEAs อยู่ในระดับต่ำ
                                                                                      • ลดความเครียดทางจิตใจ
                                                                                      • ลดความเครียดทางร่างกาย (ไม่ควรออกกำลังกายหนัก และ ทานอาหารที่มีสารพิษ)
                                                                                      • หลีกเลี่ยงการทานกาแฟ
                                                                                      • หลีกเลี่ยงการทานเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
                                                                                      • งดการสูบบุหรี่
                                                                                      • นอนพักผ่อนให้เพียงพอ (ก่อน 4 ทุ่ม)
                                                                                      • ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ (แนะนำให้ทานตาม Canada Food Diet)
                                                                                      • กินวิตามินและเกลือแร่ให้เพียงพอ 
                                                                                      • รับประทานโปรตีนให้เพียงพอ
                                                                                      • หลีกเลี่ยงการทานแป้งขัดสี ควรรับประทานเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน มีเส้นใยสูง
                                                                                      หากคุณมีภาวะเครียด ต้องการปรึกษาแพทย์ เพื่อปรับพฤติกกรรมการใช้ชีวิต เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก เพื่อเข้าร่วมโปรแกรม Personalized Lifestyle Medicine ที่ออกแบบมาเพื่อเฉพาะบุคคล ตอบสนองทุกปัญหาที่เกี่ยวกับความไม่สมดุลของฮอร์โมน 
                                                                                       

                                                                                      Reference:

                                                                                      บทความที่เกี่ยวข้อง

                                                                                      Categories
                                                                                      Uncategorized

                                                                                      วัยทองคืออะไร เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนมากแค่ไหน?

                                                                                          /    บทความ    /    วัยทองคืออะไร เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนมากแค่ไหน?

                                                                                      วัยทองคืออะไร เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนมากแค่ไหน?

                                                                                      วัยทองคืออะไร เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนมากแค่ไหน?

                                                                                      วัยทอง

                                                                                      วัยหมดประจำเดือน (Menopause) จะมีอายุโดยเฉลี่ยประมาณ 45-55 ปี  ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและจิตใจ เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่รังไข่ผลิตฮอร์โมนเพศในระดับต่ำลง ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นตามกลไกธรรมชาติของร่างกายจากการที่ระดับฮอร์โมนเพศหญิง เอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) เริ่มลดน้อยลง

                                                                                      ภาวะหมดประจำเดือนส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย

                                                                                      ภาวะวัยทองหรือภาวะหมดประจำเดือนเกิดจากร่างกายของผู้หญิงไม่มีการตกไข่ เนื่องจากรังไข่หยุดทำงาน ไม่ผลิตฮอร์โมนเพศอย่างเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนอีกต่อไป ซึ่งฮอร์โมนทั้งสองชนิดจะส่งผลต่อร่างกาย ดังนี้

                                                                                      • ฮอร์โมนเอสโตรเจน : เป็นฮอร์โมนสนับสนุนการพัฒนาของเต้านมและมดลูกควบคุมการตกไข่ และมีผลต่อสภาพร่างกายและอารมณ์ของเพศหญิง
                                                                                      • ฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน : เป็นฮอร์โมนควบคุมรอบประจำเดือน และเตรียมมดลูกให้เหมาะสมต่อการฟักตัวของไข่หากได้รับการปฏิสนธิ

                                                                                      ภาวะหมดประจำเดือนสามารถแบ่งเป็นสองประเภท ได้แก่

                                                                                      1. วัยหมดประจำเดือนโดยธรรมชาติ เกิดเมื่อผู้หญิงมีรอบเดือนเป็นเดือนสุดท้าย และหยุดไปนาน 1 ปี อายุโดยเฉลี่ย 45-55 ปี
                                                                                      2. วัยหมดประจำเดือนหลังการผ่าตัด เป็นการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนหลังการผ่าตัดเอารังไข่ออกทั้งสองข้าง จะเป็นภาวะที่รอบเดือนหมดทันทีเนื่องจากขาดฮอร์โมนที่มาจากรังไข่

                                                                                      ภาวะหมดประจำเดือนก่อให้เกิดอาการแสดงหลายอย่าง อาการที่พบได้บ่อย ได้แก่ อาการร้อนวูบวาบ (hot flush) โดยเฉพาะบริเวณลำตัวส่วนบน เช่น บริเวณหน้า คอ และอก มักเกิดอาการนานประมาณ 1-5 นาที ร่วมกับ อาการอื่น ได้แก่ เหงื่อออก หนาวสั่น ลำตัวเย็นชื้น วิตกกังวล หรือใจสั่นได้ 

                                                                                      นอกจากนี้อาจเกิดปัญหาทางระบบปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ เช่น  กลั้นปัสสาวะลำบาก ช่องคลอดแห้ง ติดเชื้อและคันในช่องคลอด เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ อาการวัยทองอื่นๆ ที่อาจพบได้อีก เช่น มีรอบเอวเพิ่มขึ้น มวลกล้ามเนื้อลดน้อยลง ผิวหนังบาง มีปัญหาเกี่ยวกับความจำ เป็นต้น

                                                                                      อาการในระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นได้ ในระยะเวลา 5-10 ปี หลังหมดประจำเดือน ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังที่เกิดจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน เช่น โรคกระดูกพรุน (osteoporosis) ซึ่งจะเกิดภาวะกระดูกเปราะหักง่าย แม้เพียงอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย นอกจากนั้นอาจเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคไขมันในเลือดสูง ความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น

                                                                                      เคล็ดลับดูแลตัวเองของผู้ที่เข้าสู่วัยทอง

                                                                                      อาการของวัยทองเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพร่างกายของผู้หญิงตามวัย แม้อาการวัยทองจะเป็นกลไกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่ผู้ที่เริ่มเข้าสู่วัยทองหรืออยู่ในวัยทองควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้สามารถดูแลตัวเองเบื้องต้นได้ ดังนี้

                                                                                      • อกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ช่วยลดอาการนอนไม่หลับ ทำให้อารมณ์ดีขึ้น อีกทั้งทำให้กระดูกและสุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น
                                                                                      • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ปลา ผัก และผลไม้ไม่หวาน เพื่อปรับร่างกายฮอร์โมนให้คงที่ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
                                                                                      • เพิ่มเอสโตรเจนจากธรรมชาติ ด้วยอาหารจำพวกถั่วเหลือง หรือพืชผักใบเขียว เพื่อช่วยลดอาการหงุดหงิด และอารมณ์แปรปรวน
                                                                                      • ทานอาหารเสริม หรือวิตามิน แคลเซียม วิตามินดี และแมกนีเซียมเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูก
                                                                                      • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
                                                                                      • บริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน และกระชับช่องคลอด (Kegel Exercises)
                                                                                      • ทาครีมบำรุงผิว มอยส์เจอไรเซอ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อบรรเทาอาการผิวแห้ง
                                                                                      • ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน และคัดกรองเบื้องต้น ในระหว่างและหลังวัยหมดประจำเดือน เช่น ตรวจเลือด ตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจความหนาแน่นของกระดูก ตรวจมะเร็งปากมดลูก ตรวจมะเร็งเต้านม เป็นต้น
                                                                                      ท่านสามารถปรึกษาอาการวัยทองและเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับฮอร์โมนได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก กับโปรแกรม Personalized Lifestyle Medicine
                                                                                       

                                                                                      Reference:

                                                                                      บทความที่เกี่ยวข้อง