/    บทความ    /    ตรวจสุขภาพประจำปีจำเป็นจริงหรือ?

ตรวจสุขภาพประจำปี
จำเป็นจริงหรือ?

ตรวจสุขภาพประจำปีจำเป็นจริงหรือ?

การตรวจสุขภาพ คือ การตรวจร่างกายในภาวะที่ร่างกายเป็นปกติดีไม่มีอาการเจ็บป่วย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการค้นหาปัจจัยเสี่ยงและภาวะผิดปกติเพื่อให้ทราบแนวทางป้องกันการเกิดโรค หรือพบโรคตั้งแต่ระยะเริ่มต้นซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษา

ทั้งนี้การตรวจสุขภาพประจำปี คือการตรวจป้องกัน (Preventive Medical Services) โดยการตรวจเพื่อส่งเสริมสุขภาพในทุกเพศวัย เพื่อรู้ทันความผิดปกติก่อนที่จะเกิดโรค นำไปสู่การป้องกันและวางแผนการรักษาอย่างทันท่วงที

ตรวจสุขภาพประจำปี

โดยปกติหากไม่มีอาการเจ็บไข้ได้ป่วย ทุกคนควรได้รับการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละครั้ง โดยรายละเอียดของการตรวจจะแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงอายุ และปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ โดยข้อดีของการตรวจสุขภาพประจำปีมีดังนี้

  • ช่วยให้ทราบสุขภาวะ และความสมบูรณ์ของร่างกาย ส่งผลให้สามารถปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวันได้เหมาะสมกับสถานะสุขภาพ
  • ช่วยให้ค้นพบความผิดปกติหรือโรคต่างๆ หาแนวโน้มหรือความเสี่ยงของโรคที่อาจเกิดขึ้นแบบไม่รู้ตัว ได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น ซึ่งจะช่วยให้คนไข้สามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที ป้องกันไม่ให้ความผิดปกติลุกลามมากขึ้น 
  • ช่วยให้ติดตามและประเมินสุขภาพของผู้ป่วย เพื่อให้แพทย์ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสม
  • รับวัคซีนประจำปี นอกเหนือจากการตรวจสุขภาพ แพทย์อาจสอบถามประวัติการรับวัคซีนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนที่เหมาะสมประจำปีด้วย
  • ลดความสูญเสีย ทั้งด้านสุขอนามัย และด้านการเงิน หากค้นพบอาการหรือที่มาขอโรคได้ทันท่วงทีจะช่วยยับยั้งความรุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ที่พรีโมเเคร์ออกแบบโปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปีให้เหมาะสมกับผู้เข้ารับการตรวจ โดยคำนึงถึงอายุ ความเสี่ยง พฤติกรรมการใช้ชีวิต และความต้องการที่แตกต่างกัน จึงสามารถตรวจหาความเสี่ยงเพื่อป้องกันหรือรักษาได้ตั้งแต่เริ่มต้น โดยมีการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนตรวจสุขภาพประจำปีดังนี้

  • พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อให้ผลการตรวจแม่นยำ
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 24 ชั่วโมง
  • งดอาหารและเครื่องดื่ม (ยกเว้นน้ำเปล่า) อย่างน้อย 8-10 ชั่วโมง ในกรณีที่ตรวจหาน้ำตาลในเลือดและไขมันในเลือด
  • สำหรับสุภาพสตรี ไม่ควรอยู่ในช่วงที่มีประจำเดือน หากมีประจำเดือนให้งดตรวจปัสสาวะ เพราะเลือดจะปนเปื้อนในปัสสาวะ มีผลต่อการแปลผลการตรวจ
  • เตรียมตัวให้พร้อม หากมีโรคประจำตัวหรือยาที่ใช้ประจำให้รับประทานยาตามปกติ ทั้งนี้หากใช้ยารักษาเบาหวานอยู่ควรปรึกษาแพทย์ก่อน และนำผลการตรวจหรือรายงานจากแพทย์มาเพื่อประกอบการวินิจฉัย

          ขั้นตอนการตรวจสุขภาพประจำปี

          ทุกคนควรเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ในทุกเพศ ทุกวัย ตั้งแต่กลุ่มอายุ 19-60 ปี เพื่อค้นหาแนวโน้มหรือความเสี่ยงของโรคที่อาจเกิดขึ้นแบบไม่รู้ตัว ส่วนกลุ่มเสี่ยงที่ควรมาติดตามสุขภาพทุกๆ 3-6 เดือน ได้แก่ กลุ่มเสี่ยงเป็นเบาหวาน ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังต้องทานยาจำนวนมาก เป็นต้น เพราะการปล่อยทิ้งไว้นานเกินไป ไม่ได้ติดตามอาการ จะทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคต่างๆ หรือเกิดสภาวะอันตรายขึ้นได้ โดยการตรวจสุขภาพประจำปีมีรายละเอียดดังนี้

           การซักประวัติ

          การซักประวัติเป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการประเมินภาวะสุขภาพ องค์ประกอบหลักในการประเมินภาวะสุขภาพประกอบด้วย ส่วนที่เป็นประวัติสุขภาพ การตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การซักประวัติจะเป็นการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประวัติสุขภาพทั้งในอดีตและปัจจุบันทำให้ได้ข้อสรุปของประเด็นที่เป็นปัญหาด้านสุขภาพในทุกๆด้าน ประกอบไปด้วย

          • สุขภาพทั่วไป/ พฤติกรรมสุขภาพ เช่น การกินอาหาร การออกกำลังกาย
          • การสูบบุหรี่/ดื่มสุรา/ ใช้สารเสพติดใน 3เดือนที่ผ่านมา
          • พฤติกรรมทางเพศ/ การป้องกันโรคทางเพศสัมพันธ์/ การคุมกำเนิด
          • ประวัติการป่วยเป็นโรคมะเร็งในครอบครัว เพื่อประเมินความสี่ยงทางพันธุกรรม
          • การได้รับวัคซีนที่จำเป็น เพิ่มความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเอง

           การตรวจร่างกายและการประเมินภาวะสุขภาพ

          คือการตรวจเบื้องต้น เช่น การตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจหาดัชนีมวลกาย ประกอบกับการตรวจร่างกายเบื้องต้นโดยแพทย์ ซึ่งจะช่วยให้สามารถแยกโรคได้ในระดับหนึ่ง โดยมีรายละเอียดดังนี้

          • การวัดชีพจร และวัดความดันโลหิต เพื่อเป็นข้อมูลทางสุขภาพเบื้องต้นเพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงของภาวะสุขภาพของบุคคลโดยเฉพาะการวัดความดันโลหิต
          • การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง มีประโยชน์ในการประเมินสภาวะทั่วไป เช่น ภาวะโภชนาการได้แก่ ดัชนีมวลกาย (body mass index, BMI) ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาของกลุ่มวัยทำงาน
          • การวัดเส้นรอบเอว ประเมินภาวะอ้วนลงพุงซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ นำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือด

           การตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน 

          มีคำแนะนำจาก National Institute for Health and Care Excellence (NICE): ให้ตรวจสุขภาพช่องปากและฟันในผู้ที่มีอายุ18 ปีขึ้นไป ทุก 1 ปี

           การตรวจตา 
          โดยให้ตรวจในผู้ที่มีอายุ 40-65 ปีตรวจทุก 2 ปีซึ่งมีข้อมูลการศึกษาพบว่าความบกพร่องทางสายตามีความสัมพันธ์กับอายุผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงต่อโรคตาสูงขึ้น

           การตรวจเต้านม 
          โรคมะเร็งเต้านมในระยะแรกมักจะไม่แสดงอาการการป้องกันที่ดีที่สุดคือการค้นหาความผิดปกติของเต้านมให้เร็วที่สุดเพื่อเพิ่มโอกาสในการรักษาและการรอดชีวิตและผลการรักษามะเร็งเต้านมในระยะแรก

           การประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจ หลอดเลือด และโรคเบาหวาน 
          โดยแสดงผลการประเมินเป็นความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตหรือเจ็บป่วยจากโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันและโรคเส้นเลือดสมองตีบตัน รวมถึงภาวะแทรกซ้อนในโรคเบาหวาน

           การประเมินภาวะซึมเศร้า 
          ประเมินภาวะซึมเศร้าด้วยแบบคัดกรองโรคซึมเศร้าชนิด2คำถาม (Two-questions-screening test for depression disorders)

           การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
          • การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
          • การตรวจระดับไขมันในเลือด
          • การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร
          • การตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคมะเร็ง
          • การตรวจมะเร็งปากมดลูก

          ท่านสามารถปรึกษา หรือทำการนัดหมายเพื่อตรวจสุขภาพประจำปี ได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก สามารถสอบถามเกี่ยวกับโรคเรื้อรังอื่นๆ หรือทำการนัดหมายล่วงหน้า ได้ที่พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก

          Reference: