/    บทความ    /    คอเลสเตอรอลสูงนำไปสู่โรคอะไรบ้าง?

คอเลสเตอรอลสูง
นำไปสู่โรคอะไรบ้าง?

คอเลสเตอรอลสูงนำไปสู่โรคอะไรบ้าง?

ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ อาจเป็นระดับคอเลสเตอรอลหรือระดับไตรกลีเซอร์ไรด์สูงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือสูงทั้ง 2 ชนิด เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต 

การมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพเป็นสาเหตุหลักที่เพิ่มโอกาสในการเกิดไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอล ไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ หรือคารโบไฮเดรตสูงเกินไป นอกจากนี้การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอหรือเคลื่อนไหวร่างกายน้อย รวมทั้งการสูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปก็สามารถนำไปสู่ไขมันในเลือดสูงได้เช่นกัน


คอเลสเตอรอล

คอเลสเตอรอลสูง (High Cholesterol) คือภาวะที่ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้นจนอาจเป็นอันตรายต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดแดงแข็ง เป็นภาวะที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ทั้งนี้คอเลสเตอรอลมี 2 ชนิด คือ

  • HDL (High Density Lipoprotien) : ไขมันดี หรือไลโพโปรตีนที่มีความหนาแน่นสูงมีหน้าที่ช่วยจับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดที่ออกไปทำลายที่ตับ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยไขมันชนิดนี้สร้างได้จากการออกกำลังกาย ทั้งนี้ระดับไขมัน HDL ในเลือดในผู้ชายควรมากกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และมากกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ในผู้หญิง
  • LDL (Low Density Lipoprotien) : ไขมันไม่ดี หรือไลโพโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำ โดยไขมันชนิดนี้จะไปเกาะและพอกที่ผนังภายในหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดหนาและตีบ ส่งผลให้เลือดดีที่สูบฉีดออกจากหัวใจไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้ไม่สะดวก ทำให้อวัยวะขาดเลือดและเจ็บป่วย ทั้งนี้ระดับไขมัน LDL ในเลือดไม่ควรเกิน 130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร สำหรับผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัว

อันตรายของภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง

หากมีคอเลสเตอรอลในเลือดสูงเกาะที่ผนังหลอดเลือด จะทำให้เกิดการอักเสบและภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง เมื่อการสะสมเพิ่มมากขึ้นหลอดเลือดแดงในร่างกายส่วนต่างๆจะมีการตีบหรืออุดตัน เช่น หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตายทำให้เสียชีวิต รวมทั้งอัมพฤกษ์อัมพาต 

โดยค่าปกติของคอเลสเตอรอลในเลือดไม่ควรเกิน 200 มก./ดล. และระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 150 มก./ดล. ทั้งนี้ภาวะไขมันในเลือดสูงมีสาเหตุมาจากการบริโภคอาหารและพฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบผิดๆ ทำให้เกิดการสะสมไขมันในเส้นเลือดและนำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือด 


การตรวจวัดระดับไขมันในเลือด
สำหรับการตรวจวัดระดับไขมันในเลือดสามารถทำได้โดยการเจาะเลือดเพื่อตรวจระดับไขมันในเลือด และจะต้องงดอาหารทุกชนิด ยกเว้นน้ำเปล่า ก่อนการเจาะเลือด 12 ชั่วโมง ควรตรวจครั้งแรกเมื่ออายุ 35 ปี โดยตรวจคัดกรองควรทำซ้ำทุกๆ 5 ปี อย่างไรก็ดีความถี่ในการตรวจคัดกรองซ้ำอาจมีความถี่มากกว่านี้ได้ขึ้นกับวิจารณญาณของแพทย์ที่พิจารณาความเสี่ยงของแต่ละบุคคล หรือควรตรวจทันทีในผู้ที่มีความเสี่่ยงสูง ดังนี้
 
  • ชายอายุ 45 ปี หญิงอายุ 55 ปีขึ้นไป 
  • ผู้ที่มีประวัติครอบครัว คือ พี่ น้อง พ่อ แม่ เป็นโรคหัวใจขาดเลือด 
  • ความดันโลหิตเท่ากับหรือมากกว่า 140/90 มม.ปรอท 
  • สูบบุหรี่ 
  • มีภาวะอ้วนลงพุง
  • ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือด
  • มีปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น โรคไต โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ต่อมไทรอยด์ทำงานบกพร่อง หรือตับอ่อนอักเสบ
หากพบว่ามีภาวะไขมันในเลือดสูงจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดยรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม และรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมระดับไตรกลีเซอร์ไรด์และคอเลสเตอรอลในเลือด คือ งดอาหารประเภทน้ำตาล ขนมหวานทุกชนิด ผลไม้รสหวานจัดและผลไม้แปรรูป รวมถึงน้ำหวาน น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงอาหารไขมันสูง คอเลสเตอรอลสูง เช่น ของทอดต่างๆ แกงกะทิ อาหารที่มีส่วนผสมของเนย มาการีน เป็นต้น

การควบคุมอาหาร

อาหารไขมันสูง คอเลสเตอรอลสูง เช่น ของทอดต่างๆ แกงกะทิ อาหารที่มีส่วนผสมของเนย มาการีน เป็นต้น นอกจากนี้ควรรับประทานผักให้มากในแต่ละมื้อ โดยเน้นผักใบเขียว ที่สำคัญควรควบคุมน้ำหนักตัว และออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30-45 นาที สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง โดยไม่หักโหมจนเกินไป 

  • หลีกเลี่ยงอาหารพวกเนื้อสัตว์ที่ติดมัน อาหารทะเลบางชนิด เช่น กุ้ง หอยนางรมปลาหมึกสด  ปลาหมึกแห้ง ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น เนย ครีม เนยแข็ง ขนมหวานที่มีส่วนประกอบของน้ำตาล
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมัน อาหารทอด เช่น ไก่ชุปแป้งทอด กล้วยทอด ปาท่องโก๋ อาหารพวกแกงกะทิ หลนกะทิต่าง ๆ
  • หลีกเลี่ยงน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันมะพร้าว และไขมันที่ได้จากสัตว์  เช่น  เนย  มันหมู  มันวัว  มันไก่  เพราะน้ำมันเหล่านี้มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง ให้เลือกใช้น้ำมันพืชปรุงอาหารแทนน้ำมันสัตว์
  • พยายามปรุงอาหารโดยใช้ต้ม นึ่ง ย่าง อบ แทนการทอด หรือผัด ใช้ไขมันจากพืชในการประกอบอาหาร เช่น น้ำมันถั่วเหลือง  น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันมะกอก น้ำมันข้าวโพด น้ำมันรำ ประกอบอาหาร น้ำมันดอกทานตะวัน  ซึ่งเป็นน้ำมันที่จะช่วยลดโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ได้
  • เลือกรับประทานพืชผักต่างๆ และธัญพืช เช่น ถั่วเมล็ดแห้ง ข้าวที่ไม่ขัดสี ผักสดหลากหลายสีชนิดต่างๆ วันละ 4-5 ถ้วยตวง พืชสมุนไพร เครื่องเทศ ธัญพืชไม่ขัดสี ผลไม้หลายชนิด วันละ4 ผล เช่น ฝรั่ง ส้ม แอบเปิ้ล ชมพู่ กล้วย ฯลฯ
  • บริโภคปลาทะเล สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เพื่อเป็นการลดเนื้อสัตว์ใหญ่ ซึ่งมีกรดไขมันอิ่มตัวสูง ปลาทะเลมีน้ำมันปลา หรือกรดโอเมก้า 3 ช่วยลดการจับตัวของเกล็ดเลือด ลดความดันโลหิต และลดไตรกลีเซอร์ไรด์ได้ ปลาทะเลที่มีโอเมก้า-3 สูง เช่น ปลาทู ปลาโอ ปลากะพง ปลาทูน่า ปลาแซลมอน   

ทั้นี้เป้าหมายของการลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดนั้นขึ้นกับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดของแต่ละบุคคล การตรวจคัดกรองผู้ที่อาจมีภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูงจะช่วยให้เกิดการดูแลตนเองที่เหมาะสมและทันท่วงทีเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือด

ท่านสามารถปรึกษาการควบคุมอาหารสำหรับผู้ที่มีภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง โดยเข้าร่วมโปรแกรมโภชนบำบัด (Personalized Diet Doctor) ได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก

 

Reference: