Categories
Uncategorized

Brownout Syndrome ไม่ใช่แค่หมดไฟ แต่คือหมดใจในการทำงาน

Brownout Syndrome คือภาวะหมดใจในการทำงานที่รุนแรงกว่า Burnout Syndrome เป็นอาการระยะยาว ที่สะสมมามาเป็นระยะเวลานาน

    /    บทความ    /    Brownout Syndrome ไม่ใช่แค่หมดไฟ แต่คือหมดใจในการทำงาน

Brownout Syndrome ไม่ใช่แค่หมดไฟ แต่คือหมดใจ
ในการทำงาน

Brownout Syndrome ไม่ใช่แค่หมดไฟ แต่คือหมดใจในการทำงาน

Brownout Syndrome คือภาวะหมดใจในการทำงานที่รุนแรงกว่า Burnout Syndrome เป็นอาการระยะยาว ที่สะสมมามาเป็นระยะเวลานาน จากประสบการณ์ในการทำงาน ที่ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานกับสภาพแวดล้อม ผู้คน หรือเงื่อนไขในองค์กรนั้นๆ จนเหนื่อยใจ หมดความภักดี ไม่อยากจะทุ่มเท ไม่อยากเป็นส่วนหนึ่งของทีมอีกต่อไป และอาจนำมาสู่การลาออกในที่สุด 

สาเหตุที่ทำให้คนหมดใจ

อาการหมดใจในการทำงาน หรือ Brownout Syndrome มักเกิดขึ้นกับคนที่มีความสามารถมากกว่าคนอื่น สาเหตุอาจมาจากเพื่อนร่วมงาน กฎขององค์กร การได้รับผลตอบรับไม่ดีในการทำงาน ซึ่งคนที่มีอาการ Brownout ยังสามารถทำงานได้อย่างปกติ เพียงแต่ความผูกพันธ์ของพนักงานกับองค์กรลดลง โดยมีสาเหตุดังนี้

  • กฎระเบียบในองค์กรที่จุกจิก และไม่เป็นธรรม กฎที่จุกจิกและไม่มีความยืดหยุ่นจะทำให้พนักงานกดดัน และเกิดความอึดอัดใจได้ รวมถึงความไม่เป็นธรรม เช่น การยืดหยุ่นกฎระเบียบให้กับคนบางกลุ่ม ซึ่งความไม่ยุติธรรมนี้ เป็นตัวสร้างอคติและความบาดหมางในองค์กร
  • ทำได้มากกว่า แต่ผลตอบแทนเสมอกัน สาเหตุหลักที่ทำให้คนเก่งๆ ทยอยออกจากองค์กร คือ การไม่ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า สิ่งนี้จะทำให้พนักงานรู้สึกว่า จะทำดีไปทำไม หากเป็นแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ พนักงานที่ตั้งใจทำงานอาจเริ่มหมดใจ และเริ่มมองหาองค์กรใหม่ที่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากับการลงแรงมากกว่า
  • หัวหน้างานเอาแต่ใจ ไม่เข้าใจความเป็นมนุษย์ ความเอาแต่ใจ ไม่เปิดรับความเห็นต่างของหัวหน้า ไม่ฟังเหตุผล ขาดความเห็นใจ ไม่ยอมรับผิด พนักงานหลายคนจึงไม่อยากรองรับอารมณ์ และพลังงานลบๆ อีกต่อไป
  • เป้าหมายในการทำงานไม่ชัดเจน เมื่อไม่เห็นเป้าหมายของงานที่ทำ พนักงานหลายคนจึงเริ่มหมดใจ เพราะไม่รู้ว่าสิ่งที่ตัวเองทำนั้นมีประโยชน์ หรือมีคุณค่ากับองค์กรมากน้อยแค่ไหน

สัญญาณเตือนภาวะหมดใจ

  • อาการทางอารมณ์ : หดหู่ เศร้า อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย หงุดหงิด ไม่พอใจในงานที่ทำ
  • อาการทางความคิด : เริ่มมองงานหรือคนอื่นในแง่ร้าย ระแวงง่ายขึ้น โทษคนอื่น สงสัยความสามารถของตนเอง และอยากเลี่ยงปัญหา
  • อาการทางพฤติกรรม : หุนหันพลันแล่น ผัดวันประกันพรุ่ง ทำกิจกรรมสร้างความสุขลดลง เริ่มมาทำงานสายบ่อยขึ้น บริหารจัดการเวลาแย่ลง

หากภาวะหมดไฟไม่ได้รับการจัดการ อาจส่งผลดังนี้

  • ด้านร่างกาย : มีอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง ปวดเมื่อย ปวดศีรษะ มีอาการออฟฟิศซินโดรม หรือไมเกรน
  • ด้านจิตใจ : สูญเสียแรงจูงใจ หมดหวัง บางรายอาจมีอาการของภาวะซึมเศร้า และนอนไม่หลับ อาจมีการใช้สารเสพติดเพื่อจัดการกับอารมณ์
  • การทำงาน : ขาดงานบ่อย ประสิทธิภาพการทำงานลดลง และคิดเรื่องลาออกในที่สุด

วิธีป้องกันภาวะหมดใจในการทำงาน
การป้องกันไม่ให้คนรู้สึกหมดใจในการทำงานต้องอาศัยความร่วมมือหลายส่วน ทั้งจากเพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน ไปจนถึงองค์กร ที่ต้องเปลี่ยนทัศนคติ ปรับระบบการทำงาน และวัฒนธรรมภายในองค์กรให้มีความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น 
  • เปิดใจคุย : หาโอกาสคุยกับหัวหน้างาน เกี่ยวกับเรื่องที่ทำให้เราหงุดหงิดใจ และหัวหน้าเองก็ควรมีการพูดคุยกับคนอื่นๆ เช่นกัน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำงาน
  • หาความช่วยเหลือ : ขอคำปรึกษากับคนรอบข้างหรือนักจิตวิทยา เพราะคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญอาจเป็นทางออกที่ช่วยเราให้ได้เห็นมุมมองที่แตกต่างได้
  • หาเป้าหมายใหม่ : การทำงานหนักเกินไป อาจทำให้เกิดการละเลยกับความต้องการของตัวเอง การจัดสรรเวลา ใส่ใจเป้าหมายของตัวเองจะช่วยสร้างสมดุลในการใช้ชีวิตให้มากขึ้น
  • สร้างสมดุลให้กับชีวิต : ใส่ใจสุขภาพ ความสัมพันธ์ การทำงาน อย่างเท่าเทียมกัน เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ภาวะหมดไฟในการทำงานไม่ใช่โรคซึมเศร้า แต่ถ้าหากคนทำงานเริ่มมีอาการเศร้าหดหู่ เบื่อหน่ายสิ่งรอบตัว รู้สึกทุกข์ทรมานกับการใช้ชีวิต หรือมีความคิดไม่อยากมีชีวิตอยู่ ควรสงสัยว่าอาจเป็นโรคซึมเศร้าแนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ

หากคุณรู้สึกว่ากำลังอยู่ในภาวะ ‘Brownout Syndrome’ สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก

Reference: