Categories
Uncategorized

3 Types of mental illnesses that link with depression

    /    บทความ    /    3 Types of mental illnesses that link with depression

3 Types of mental illnesses
that link with depression

3 Types of mental illnesses that link with depression

People suffering from major depression could find it difficult to live the normal life. It is critical to understand the symptoms of major depression and get help from a psychologist as soon as possible to avoid psychological disorders that can harm patients’ mental health in the long term. 

What Is Depression?

It is natural for everybody to experience sadness. However Major depressive disorder is different from sadness, it is characterized by a depressed mood throughout the day. Especially in the mornings, as well as a loss of interest in usual activities and relationships.

Symptoms Of Major Depression

  • Almost every day, you experience fatigue or a decrease of energy.
  • Almost every day, you have feelings of worthlessness or guilt.
  • Concentration problems and indecisiveness
  • Hypersomnia or insomnia
  • Almost every day, there is a significant drop in interest or enjoyment in almost all activities.
  • Feeling agitated or slowed down
  • Significant weight gain or loss
  • Recurring thought of death or suicide 
Self-screening questions 
  1. In the last 2 weeks, including today, do you feel depressed, sad, or discouraged?
  2. the last 2 weeks, including today, do you feel bored, nothing is enjoyable?

(If you have at least one, you have a chance of getting depressed.)

Depression and Mental Illnesses

Depression has been connected to a variety of mental disorders, such as anxiety disorders, panic disorder and social phobia. These illnesses are fortunately treatable, and those who are affected can live normal productive lives.

What Is Anxiety Disorders Mean?

Anxiety disorders affect women twice as frequently as they do in men. Also many studies show that people with depression often experience symptoms of an anxiety disorder. The person is unable to control the worry and may have other symptoms including

  • Difficulty concentrating
  • Restlessness
  • Sleep disturbance
  • Irritability
  • Muscle tension
What Is Panic Disorder Mean?

Panic disorder is a form of anxiety condition that frequently occurs alongside depression. Panic disorder is characterized by the sudden onset of overwhelming fear and terror, the person will feel as if they are about to faint or have a heart attack. 

At least four of the following symptoms must be present in order for someone to be diagnosed with a panic attack.

  • Chest pain
  • Choking sensation
  • Dizziness or Nausea
  • Extreme sweating
  • Fast heartbeat
  • Feeling of losing control
  • Numbness or Shakiness
What Is Social Anxiety Disorder Mean?
The most common type of anxiety disorder is phobic disorder, which involves an unreasonable or irrational fear. 

If people with phobias are unable to avoid what they fear, they experience a severe anxiety response, which may include rapid heartbeat, nausea, or profuse sweating. 

Social anxiety disorder is a psychological ailment that produces an overwhelming fear of circumstances that demand public interaction. The symptoms of social phobia are much the same as symptoms for anxiety disorders with other symptoms including

  • Difficulty talking
  • Dry mouth
  • Intense sweating
  • Nausea
  • Racing heart
  • Trembling or shaking
How Is Anxiety Treated?
  • Relaxing -It will help you to improve your mental health by practicing the rhythm of breathing through exercise or yoga, you will become more peaceful.
  • Healthy food -Maintaining excellent mental health requires being physically fit and powerful. To keep the body functioning with a cheerful mind, avoid caffeine and alcohol.
  • Socializing with friends –  Meeting new friends relieves loneliness while participating in new activities. Remember to stay connected to others, do not get isolated.
  • Don’t be overwhelmed with stress – If you start to feel stressed or worried about work. Try taking a break from work and doing other stress-relieving activities, such as talking with friends, exercising and meditating.

If your symptoms are not improving. Get counseling from a psychologist to help you cope with stress at Primocare Medical, which will prevent and maintain mental health with varied services, including counseling sessions that attempt to get to the root of an issue, along with ongoing sessions to monitor patients’ health. Make an appointment in advance here.live

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

กายภาพบำบัด ศาสตร์แห่งการฟื้นฟูสุขภาพ เหมาะกับใครบ้าง?

    /    บทความ    /    กายภาพบำบัด ศาสตร์แห่งการฟื้นฟูสุขภาพ เหมาะกับใครบ้าง?

กายภาพบำบัด ศาสตร์แห่งการฟื้นฟูสุขภาพ เหมาะกับใครบ้าง?

กายภาพบำบัด ศาสตร์แห่งการฟื้นฟูสุขภาพ
เหมาะกับใครบ้าง?

เมื่อได้ยินคำว่า ‘กายภาพบำบัด’ หลายคนอาจนึกถึงการรักษาอาการปวดหลังหรือการฟื้นฟูร่างกายหลังอาการบาดเจ็บเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วกายภาพบำบัดเป็นศาสตร์ที่ครอบคลุมการดูแลสุขภาพอีกหลากหลายด้าน มาดูกันว่าวิธีรักษาทางกายภาพบำบัดที่นอกเหนือจากการนวดนั้นมีอะไรบ้าง นักกายภาพบำบัดมีหน้าที่อะไร และใครบ้างที่จะได้รับประโยชน์จากการทำกายภาพบำบัด

นิยามของคำว่า ‘กายภาพบำบัด’

กายภาพบำบัดคือศาสตร์ที่ให้การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม ทั้งในแง่ของการป้องกัน รักษา ฟื้นฟู และส่งเสริมสุขภาพด้วยวิธีการต่างๆ ทางกายภาพ เช่น การออกกำลังกาย การนวด การดัด ดึง และขยับข้อต่อเพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อต่อและกระดูก การรักษาด้วยไฟฟ้า ความร้อน ความเย็น การฝังเข็ม เป็นต้น 

นักกายภาพบำบัด ช่วยอะไรได้บ้าง?

กว่าจะเป็นนักกายภาพบำบัดได้นั้น ต้องผ่านการฝึกฝนอย่างสูง ต้องมีความรู้และทักษะการฟื้นฟูร่างกายในระบบต่างๆ ตั้งแต่ระบบประสาท กล้ามเนื้อและกระดูก หัวใจและหลอดเลือด ไปจนถึงระบบทางเดินหายใจ 

เป้าหมายหลักของนักกายภาพบำบัดคือการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยจะช่วยส่งเสริมการดูแลสุขภาพ บรรเทาความเจ็บปวด ฟื้นฟูร่างกายส่วนต่างๆ ให้กลับมาทำงานตามปกติ รวมถึงป้องกันการเสื่อมสภาพของร่างกายในผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้ที่พิการถาวรจากอุบัติเหตุ ซึ่งในขั้นตอนการรักษาจะให้ความสำคัญกับภาพรวมการทำงานทั้งหมดของร่างกาย ไม่ใช่แค่จุดใดจุดหนึ่งที่เกิดการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บเท่านั้น 

หากยังนึกภาพไม่ออกว่ากายภาพบำบัดจะส่งผลต่อสุขภาพของเราอย่างไร ลองดูตัวอย่างการทำงานหลักๆ ของนักกายภาพบำบัดต่อไปนี้

  • การให้ความรู้และคำแนะนำ โดยเน้นเกี่ยวกับการป้องกันอาการบาดเจ็บจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่ไม่ถูกต้อง เช่น สอนท่าทางการเดิน การนั่งทำงาน วิธีการยกของหนัก ท่ายืดกล้ามเนื้อและท่ากายบริหารที่ทำได้เองที่บ้าน รวมถึงการสอนเทคนิคเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา
  • การรักษาด้วยมือ เช่น การดัด ดึง ขยับข้อต่อ รวมถึงเทคนิคอื่นๆ เพื่อช่วยบรรเทาความปวดเมื่อย ยืดคลายการตึงของกล้ามเนื้อและข้อต่อ เพิ่มการเคลื่อนไหวของร่างกาย การไหลเวียนของเลือด และการระบายน้ำเหลือง
  • การบำบัดด้วยการออกกำลังกาย เป็นการแนะนำวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพร่างกายและอาการเจ็บป่วยของแต่ละคน รวมถึงให้คำแนะนำแก่ผู้ที่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อหรือเพิ่มความแข็งแรงของร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นพิเศษ
  • การใช้เครื่องมือหรือเทคนิคอื่นๆ ในการรักษา เช่น การบำบัดด้วยไฟฟ้า คลื่นเสียงอัลตราซาวด์ การรักษาโดยใช้ความร้อนหรือความเย็น การใช้เครื่องดึงหลัง ดึงคอ การทำธาราบำบัด การฝังเข็ม เป็นต้น 
กายภาพบำบัด มีประโยชน์กับใคร?

บทบาทของกายภาพบำบัดไม่ได้จำกัดแค่การรักษาและฟื้นฟูร่างกายจากการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุอย่างที่หลายคนคุ้นเคย แต่ยังรวมถึงการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันปัญหาที่อาจส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น การบริหารร่างกายเพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บ การแนะนำวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้อง เป็นต้น

นักกายภาพบำบัดนั้นดูแลผู้ป่วยทุกช่วงวัยตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุ และเป็นการดูแลที่ครอบคลุมหลากหลายระบบในร่างกาย

  • ระบบกระดูก ข้อต่อ และกล้ามเนื้อ เช่น อาการปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่ ปวดขา การป้องกันและรักษาอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา อุบัติเหตุ หรือการทำงาน รวมถึงผู้ป่วยที่กระดูกหัก ผู้ที่ได้รับการผ่าตัด และผู้ที่มีความพิการจากการสูญเสียอวัยวะ
  • ระบบประสาทและสมอง เช่น ปัญหาการเคลื่อนไหวที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง อัมพาต โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งหรือโรคเอ็มเอส โรคพาร์กินสัน ผู้ที่มีภาวะสมองพิการแต่กำเนิด และผู้ที่ประสบอุบัติเหตุจนได้รับบาดเจ็บที่สมองหรือไขสันหลัง 
  • ระบบหัวใจและการไหลเวียนของเลือด เช่น โรคหัวใจ และการบำบัดรักษาหลังจากภาวะหัวใจวาย
  • ระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นต้น
ขั้นตอนการพบนักกายภาพบำบัด

สำหรับการพบนักกายภาพบำบัด หากเป็นในโรงพยาบาลเรามักจะได้รับการส่งต่อจากแพทย์ทั่วไปหรือแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ในกรณีที่เห็นว่ามีปัญหาที่ต้องได้รับการรักษาฟื้นฟู หรือรับคำแนะนำจากนักกายภาพบำบัด แต่หากเป็นคลินิกทั่วไปหรือคลินิกกายภาพบำบัด ก็สามารถติดต่อรับการรักษากับนักกายภาพโดยตรงได้เลย

กายภาพบำบัดเรียกได้ว่าเป็นศาสตร์อีกแขนงหนึ่งที่ดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องในทุกระยะของการรักษา ตั้งแต่การซักประวัติเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง การฟื้นฟูสุขภาพให้กลับมาสมบูรณ์ที่สุด ไปจนถึงการป้องกันไม่ให้กลับไปเป็นซ้ำ

นอกจากนี้ในการหาสาเหตุและให้คำแนะนำการรักษา นักกายภาพบำบัดจะคำนึงถึงปัยจัยอื่นๆ ทั้งไลฟ์สไตล์ ลักษณะการงาน อารมณ์ ความคิด ไปจนถึงความสัมพันธ์กับคนรอบข้างด้วย เพราะเชื่อว่าทั้งหมดนี้ล้วนมีส่วนเชื่อมโยงกับอาการเจ็บป่วยและส่งผลต่อสุขภาพทั้งกายและใจของผู้ป่วยได้

ปวดเมื่อย ปวดเกร็งกล้ามเนื้อ ออฟฟิศซินโดรม ให้ทีมกายภาพบำบัดพรีโมแคร์ช่วยค้นหาสาเหตุ เพื่อการรักษาที่ตรงจุด รวดเร็ว ไม่ยื้อเวลาเจ็บป่วย คลิกดูบริการตรวจวิเคราะห์โครงสร้างร่างกาย และบริการกายภาพบำบัดที่หลากหลายได้ที่นี่

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

Home Isolation แยกตัวรักษาที่บ้าน ติดต่อที่ไหน ทำยังไงบ้าง?

    /    บทความ    /    Home Isolation แยกตัวรักษาที่บ้าน ติดต่อที่ไหน ทำยังไงบ้าง?

Home Isolation แยกตัวรักษาโควิด-19 ที่บ้าน ติดต่อที่ไหน ทำยังไงบ้าง?

Home Isolation แยกตัวรักษาโควิด-19 ที่บ้าน
ติดต่อที่ไหน ทำยังไงบ้าง?

Home Isolation แยกตัวรักษาโควิด-19 ที่บ้าน ใครบ้างที่ทำได้ ติดต่อที่ไหน มีขั้นตอนเข้าระบบและแนวทางปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง?

สถานการณ์โควิด-19 ปัจจุบันเข้าขั้นวิกฤตจนมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละวัน​ ทำให้เริ่มมีการนำการรักษาในรูปแบบ Home Isolation หรือ Self Isolation ซึ่งเป็นการแยกตัวผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงให้รักษาตัวที่บ้าน เพื่อให้ผู้ป่วยอาการหนักมีโอกาสได้รับการรักษาอย่างทั่วถึงมากขึ้น และลดปัญหาจำนวนเตียงและบุคลากรทางการแพทย์ไม่เพียงพอรองรับจำนวนผู้ป่วย

Home Isolation ในประเทศไทยมีขั้นตอนการรับเข้าระบบอย่างไรบ้าง ใครสามารถทำได้ ใครที่ไม่ควรทำ และมีข้อปฏิบัติตัวอย่างไรในระหว่างที่แยกตัว คุณหมอพรีโมแคร์ชวนคุณมาหาคำตอบในบทความนี้

แยกตัวรักษา (Isolation) กับกักตัว (Quarantine) ต่างกันอย่างไร?

การกักตัวหลังมีความเสี่ยง (Quarantine) คือการแยกกักตัวเนื่องจากมีความเสี่ยงจากการสัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 หรือเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง ส่วนการแยกตัวรักษา (Home Isolation) คือการรักษาผู้ที่ทราบแน่ชัดแล้วว่าติดเชื้อ โดยให้แยกตัวจากคนอื่นในบ้าน อยู่ในพื้นที่ที่แยกจากกัน เพื่อไม่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

ใครบ้างที่เหมาะกับการแยกรักษาตัวที่บ้าน? 

ปัจจุบันมีการแบ่งผู้ป่วยตามอาการเป็น 3 ระดับ คือ ผู้ป่วยอาการสีเขียว สีเหลือง และสีแดง โดยจะแนะนำให้พักรักษาตัวและสังเกตอาการที่บ้านก็ต่อเมื่อประเมินว่าแล้วเป็นผู้ป่วยในระดับอาการสีเขียว คือ 

  • ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการเหมือนไข้หวัดปกติ 
  • ผู้ที่ตรวจพบว่าติดเชื้อ แต่ไม่มีอาการ 
ใครบ้างที่ไม่เหมาะกับ Home Isolation?
  • ผู้ป่วยอาการสีเหลือง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 
    • มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่ออาการรุนแรงหรือภาวะแทรกซ้อน เช่น มีอายุ 60 ปีขึ้น มีโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ไตเรื้อรัง โรคตับแข็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหัวใจแต่กำเนิด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ โรคอ้วนหรือน้ำหนักเกิน 90 กิโลกรัม ภูมิคุ้มกันต่ำ มีเม็ดเลือดขาวน้อยกว่า 1000
    • มีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวกขณะทำกิจกรรม หายใจเร็ว หายใจหอบเหนื่อย หรือหายใจลำบาก ไอแล้วเหนื่อย อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ ปอดอักเสบ หรือถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน ร่วมกับอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ
  • ผู้ป่วยอาการสีแดง คือผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เช่น หอบเหนื่อย พูดแล้วเหนื่อย พูดไม่เป็นประโยค คำพูดไม่ปะติดปะต่อฟังไม่รู้เรื่อง แน่นหน้าอกตลอดเวลา หายใจแล้วเจ็บหน้าอก ผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้จะต้องรีบเข้ารับการเอกซเรย์ปอด
ขั้นตอนการเข้าระบบ Home Isolation
  1. ผู้ติดเชื้อโควิด-19 สามารถติดต่อเข้าระบบ Home Isolation ในช่องทางต่อไปนี้ 
    1. ผู้มีสิทธิบัตรทอง โทรสายด่วน สปสช. 1330 กด 14
    2. ผู้มีสิทธิประกันสังคม โทรสายด่วน 1506 กด 6 
    3. กรอกข้อมูลลงทะเบียนออนไลน์ทางเว็บไซต์ https://crmsup.nhso.go.th/  
    4. ติดต่อทีมบุคลากรทางการแพทย์อาสาทางแอปพลิเคชัน Line @FammedCoCare
    5. แจ้งจิตอาสาในชุมชนที่ทำหน้าที่คัดกรองผู้ติดเชื้อในชุมชนตามอาการและผู้สัมผัสเสี่ยงสูง โดยจะส่งรายละเอียดของผู้ป่วยให้กับทีมแพทย์พยาบาล จากนั้นซักประวัติ คัดกรองข้อมูล และสอบถามอาการเบื้องต้นของผู้ป่วยผ่านระบบ Telehealth
  2. หากแพทย์ประเมินว่าอาการของผู้ป่วยอยู่ในระดับสีเขียว จะนำผู้ป่วยเข้าสู่การรักษาในระบบ Home Isolation ต่อไป ส่วนในกรณีที่มีระดับอาการเป็นสีเหลือง (รอเตียง) หรือสีแดง (ต้องเข้ารับการรักษาทันที) จะมีทีมพยาบาลและจิตอาสาประสานงานจัดหาเตียงและส่งต่อผู้ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษาจากหน่วยพยาบาลในเครือข่ายโดยเร็วที่สุด
  3. เมื่อเข้าสู่ระบบ Home Isolation แล้ว จะมีทีมพยาบาลให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวและคอยติดตามอาการผู้ป่วยทุกวันผ่านทางแอปพลิเคชัน​ LINE และมีการโทรสอบถามอาการในช่วงเช้า และเย็นทุกวัน เพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
  4. ผู้ป่วยในระบบ Home Isolation ทั้งในเครือข่ายชุมชนและสปสช. จะได้รับอาหาร 3 มื้อทุกวัน รวมทั้งถุงยังชีพและของใช้ที่จำเป็น ปรอทวัดไข้แบบดิจิตอล เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ยาฟ้าทะลายโจรและยาพื้นฐานอื่นๆ จนกว่าจะได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือหายป่วย
  5. หากมีอาการแย่ลงจะมีการประสานส่งต่อรักษาที่โรงพยาบาล โดยจะได้รับยาฟาวิพิราเวียร์เพื่อประคองอาการในระหว่างประสานรอเตียงผู้ป่วย
  6. ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ ทีมงานจะส่งต่อข้อมูลและรายชื่อผู้ป่วยให้กับโรงพยาบาลในเครือข่าย โดยการจ่ายยาให้กับผู้ป่วยต้องผ่านทางแพทย์และโรงพยาบาลเท่านั้น เมื่อได้รับยาแล้ว จะมีทีมพยาบาลไปด้วยเพื่ออธิบายการใช้ยาที่ถูกต้องให้กับผู้ป่วย
แนวทางการปฏิบัติตัวเมื่ออยู่ในช่วง Home Isolation
  • อยู่แต่เฉพาะในบ้าน และงดให้คนอื่นมาเยี่ยม
  • อยู่ในห้องส่วนตัวตลอดเวลา และปิดประตูไว้เสมอ หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดคนอื่นในบ้านให้มากที่สุด โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว และเด็กเล็ก
  • เปิดหน้าต่างภายในห้องหากไม่ได้เชื่อมต่อกับห้องอื่นๆ ในบ้าน รวมถึงเปิดหน้าต่างภายในบ้านเพื่อเพิ่มการระบายอากาศและลดการสะสมของไวรัส
  • ใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่น หากจำเป็นต้องใช้ร่วมกัน ควรรอใช้เป็นคนสุดท้าย รวมทั้งทำความสะอาดตามโถสุขภัณฑ์และพื้นผิวที่สัมผัสทุกครั้งหลังใช้ด้วยน้ำยาฟอกขาวความเข้มข้น 5% ผสมน้ำในอัตราส่วน 1:99 หรือน้ำยาเข้มข้น 0.5% ในอัตราส่วน 1:9
  • หากมีอาการไอ จาม ควรสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา แม้จะอยู่ในห้องส่วนตัว และควรใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์แทนหน้ากากผ้า
  • หลีกเลี่ยงการใช้พื้นที่ภายในบ้านร่วมกับผู้อื่นในเวลาไล่เลี่ยกัน เว้นระยะห่างประมาณ 2 เมตรและสวมหน้ากากอนามัยเสมอเมื่อต้องเข้าใกล้ผู้อื่นหรืออยู่ในห้องเดียวกัน 
  • ไม่รับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น และห้ามรับอาหารจากผู้ส่งอาหารโดยตรง
  • หากไอจามขณะใส่หน้ากากอนามัย ไม่ต้องใช้มือปิดปากหรือถอดหน้ากาก เพราะอาจทำให้มือสัมผัสเชื้อ หากไม่ได้ใส่หน้ากากให้ใช้ทิชชู่ปิดปากแล้วทิ้งโดยมัดถุงทันที หรือยกต้นแขนด้านในขึ้นมาปิดปากและจมูกไว้ 
  • ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ นานอย่างน้อย 20 วินาที หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ความเข้มข้นอย่างน้อย 70% แทนในกรณีที่จำเป็น
  • หลีกเลี่ยงการนำมือมาสัมผัสใบหน้า ปาก จมูก และดวงตาโดยไม่ได้ล้างมือก่อน
  • ไม่ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ จาน​ ชาม ช้อน ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน หรือทำความสะอาดทุกอย่างที่ใช้ด้วยน้ำสบู่​หรือน้ำยาทำความสะอาดก่อน
  • เช็ดทำความสะอาดสิ่งของและบริเวณต่างๆ ในบ้านที่มีการสัมผัสร่วมกันเป็นประจำ เช่น ลูกบิดประตู โซฟา โต๊ะกินข้าว
  • มารดาที่ต้องให้นมบุตร สามารถให้นมได้ตามปกติ เนื่องจากไม่มีรายงานการพบเชื้อโควิด-19 ในน้ำนม แต่ควรสวมหน้ากากอนามัยและล้างมือก่อนสัมผัสหรือให้นมบุตรทุกครั้ง

ระหว่างนี้ อย่าลืมดูแลตัวเองโดยพักผ่อนให้มากและดื่มน้ำให้เพียงพอ และหากมีอาการแย่ลงควรโทรแจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลทราบทันที

เมื่อไหร่ถึงจะหยุด Home Isolation ได้?

สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะสมแก่การหยุด Home Isolation ควรปรึกษาและให้แพทย์ประเมินก่อนเสมอ เนื่องจากมีเงื่อนไขแตกต่างกันไป ทั้งนี้ ทางศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ (Centers for Disease Control and Prevention – CDC) ได้ให้คำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับการกลับไปใช้ชีวิตตามปกติหลัง Home Isolation ดังนี้

ในกรณีที่​คาดว่าติดเชื้อ​/ตรวจพบว่าติดเชื้อ/มีอาการโควิด-19 อาจออกจากการ Home Isolation หากเข้าเงื่อนไขทั้งหมดต่อไปนี้

  • แยกตัวครบ 10 วัน ตั้งแต่เริ่มมีอาการ และ
  • ไม่มีไข้ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา และ
  • มีอาการดีขึ้น ไม่ไอ ไม่มีไข้ ไม่มีอาการหายใจหอบเหนื่อย 

ทั้งนี้บางอาการอาจคงอยู่เป็นเวลาหลายเดือนถึงหลายสัปดาห์แม้จะไม่มีเชื้อแล้วก็ตาม เช่น ไม่ได้กลิ่น ไม่รู้รส ซึ่งในกรณีนี้ถือว่าปลอดภัยแล้ว แพทย์จะอนุญาตให้หยุดแยกตัวรักษาได้

ส่วนคนที่ผลตรวจพบเชื้อโควิด-19 แต่ไม่มีอาการ สามารถหยุด Home Isolation ได้ หากยังคงไม่มีอาการอย่างต่อเนื่อง และแยกตัวครบ 10 วันแล้วหลังทราบผลตรวจ

มีปัญหาสุขภาพหรือความกังวลใจเรื่องใด ปรึกษาทีมแพทย์พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก ได้เลยที่ LINE @PrimoCare 

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว: จะเป็นอย่างไรเมื่อเรามีหมอประจำตัวดูแลตั้งแต่เกิด

    /    บทความ    /    แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว: จะเป็นอย่างไรเมื่อเรามีหมอประจำตัวดูแลตั้งแต่เกิด

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว: จะเป็นอย่างไรเมื่อเรามีหมอประจำตัวดูแลตั้งแต่เกิด

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว:
จะเป็นอย่างไรเมื่อเรามีหมอประจำตัวดูแลตั้งแต่เกิด

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว คืออะไร มีบทบาทหน้าที่อะไร หมอครอบครัว หมอประจำตัว กับความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพตลอดช่วงชีวิต

งานวิจัยปี 2019 ในสหรัฐอเมริกา พบว่าประชาชนในระบบบริการสุขภาพแบบ Primary Care ที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป คอยให้การดูแลส่งเสริมสุขภาพในเบื้องต้นทุกๆ ด้านอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องเสมือนมีหมอประจำตัว มีแนวโน้มที่จะมีอายุยืนยาวกว่าผู้ที่ขาดการสนับสนุนจากระบบนี้ 

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปคืออะไร ทำไมการมีหมอประจำตัวถึงมีความสำคัญต่อสุขภาพและอายุขัยของเรา วันนี้ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก จะพาคุณไปหาคำตอบ

หน้าที่ของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

หลักการของเวชศาสตร์ครอบครัวเป็นแนวคิดเดียวกับนโยบาย “หมอครอบครัว” ที่ทางกระทรวงสาธารณสุขกำลังพยายามผลักดันให้เป็นรูปเป็นร่างอยู่ในตอนนี้ โดยมีเป้าหมายให้แต่ละครอบครัวมีหมอประจำตัว เป็นหมอคนเดิมที่รู้จักและเข้าใจเราเป็นอย่างดี ดูแลต่อเนื่องตั้งแต่เกิดจนโตในทุกมิติสุขภาพ ทั้งการดูแล รักษา ป้องกัน ฟื้นฟู รวมไปถึงการประสานงานส่งต่อให้แพทย์เฉพาะทางในกรณีที่จำเป็น 

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว (Family Medicine) เป็นแพทย์ที่มักอยู่ประจำคลินิกโรคทั่วไป หรือศูนย์สุขภาพใกล้บ้าน มีความเชี่ยวชาญและมีความรู้เฉพาะทางในด้านการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมให้กับคนทุกเพศทุกวัย จากความเชื่อมั่นที่ว่าสุขภาพที่ดีมีหลายปัจจัยประกอบเข้าด้วยกัน ไม่ใช่แค่สุขภาพกายและใจ หรือโรคที่เป็น แต่ยังรวมถึงมิติอื่นๆ ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นสังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ความเชื่อ ลักษณะนิสัย หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตของแต่ละคน

นอกจากนี้ เพื่อการดูแลอย่างครอบคลุมรอบด้านและต่อเนื่อง นอกจากแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแล้วยังมีแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป (General Practice: GP) ที่มีความเชี่ยวชาญในโรคทั่วไป สามารถให้การรักษาเบื้องต้นในทุกๆ โรค รวมถึงทีมสหวิชาชีพแขนงต่างๆ เช่น พยาบาล ทันตแพทย์ เภสัชกร นักกายภาพบำบัด และนักจิตวิทยา เพื่อร่วมกันดูแลผู้ป่วยอย่างครอบคลุมในทุกความต้องการด้านสุขภาพ

เวชศาสตร์ครอบครัว กับการดูแลทุกช่วงชีวิต

โรคภัยต่างๆ โดยเฉพาะโรคเรื้อรังมักไม่มีสัญญาณเตือนแต่เนิ่นๆ ทำให้เราไม่เคยเอะใจ หากละเลยกว่าจะรู้ตัวก็อาจเข้าสู่ระยะรุนแรงที่สายเกินแก้ การดูแลใส่ใจจากหมอที่รู้จักและเข้าใจเราอย่างดีจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการคัดกรองและป้องกันการเกิดโรคตลอดช่วงชีวิตของเรา รวมไปถึงการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพทั้งกายและใจให้แข็งแรงอยู่เสมอ

ทีมแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเริ่มดูแลเราตั้งแต่วัยแรกเกิด และดูแลอย่างต่อเนื่องในทุกช่วงวัย

วัยแรกเกิด (0-2 ปี)
  • ตรวจเช็กความสมบูรณ์และดูแลป้องกันความเสี่ยงของทารกหลังคลอด
  • ตรวจพัฒนาการและการเจริญเติบโต รวมถึงการฉีดวัคซีนตามช่วงอายุที่เหมาะสม
  • คุณพ่อคุณแม่รับคำแนะนำเกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูกในแต่ละช่วงพัฒนาการอย่างสมวัยและปลอดภัยต่อเด็ก
วัยเด็ก (3-9 ปี)

เมื่ออายุเข้า 3 ขวบ เด็กควรได้รับการตรวจพัฒนาการเป็นประจำทุกปี เพื่อส่งเสริมพัฒนาการในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม โดยพ่อแม่สามารถปรึกษาและสอบถามเกี่ยวการเลี้ยงดูให้เด็กมีพัฒนาการครบถ้วนสมวัย 

นอกจากนี้ในแต่ละปีอาจมีการตรวจและการส่งเสริมพัฒนาการเด็กดังต่อไปนี้

  • ตรวจประเมินสุขภาพโดยรวม
  • ประเมินประวัติสุขภาพของคนในครอบครัวเพื่อดูความเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อเด็ก
  • ตรวจเช็กให้แน่ใจว่าเด็กได้รับวัคซีนป้องกันโรคแต่ละชนิดครบถ้วนตามเวลาที่เหมาะสม เช่น วัคซีนบาดทะยัก หัด คางทูม อีสุกอีใส ไอกรน และไข้หวัดใหญ่
  • ตรวจการมองเห็นและการได้ยิน
  • พูดคุยให้คำปรึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กหรือความกังวลในการเลี้ยงดูของพ่อแม่
  • ให้คำแนะนำเกี่ยวกับอาหารการกิน กิจกรรม และความปลอดภัยที่ควรคำนึงในการเลี้ยงดู
วัยรุ่น  (10-20 ปี)

ช่วงเวลาสำคัญในการสร้างรากฐานพฤติกรรมสุขภาพที่ดีให้ต่อเนื่องไปจนโตเป็นผู้ใหญ่ 

  • ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธ์ุ
  • ให้ความรู้ด้านเพศศึกษาและสุขภาพทางเพศ รวมถึงการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • ตรวจประเมินสุขภาพจิตและพฤติกรรมการกิน
  • ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการควบคุมน้ำหนักและทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อรักษาสุขภาพที่ดี
  • พูดคุยเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เช่น การใช้สารเสพติด การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์
  • พูดคุยเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งในโรงเรียนและสอนวิธีการรับมือเมื่อถูกกลั่นแกล้ง
  • แนะนำให้เห็นความสำคัญของการป้องกันอุบัติเหตุ เช่น การใส่หมวกกันน็อกเมื่อขับขี่รถจักรยานยนต์
วัยทำงาน (21-39 ปี)

ช่วงเวลาที่หลายคนทำงานหนักจนละเลยการดูแลสุขภาพ พฤติกรรมในช่วงเวลานี้อาจเป็นตัวกำหนดสุขภาพเมื่ออายุมากขึ้น 

  • ตรวจสุขภาพประจำปี เช่น ตรวจความดันโลหิต ตรวจไขมันในเลือด ตรวจดัชนีมวลกาย (BMI)
  • ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลอาหารการกิน การออกกำลังกาย และการควบคุมน้ำหนักเพื่อป้องกันโรคอ้วน
  • ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการความเครียด การดูแลสุขภาพจิต และอันตรายของการใช้สารเสพติด 
  • ตรวจประเมินความเครียดและประเมินสุขภาพจิตเบื้องต้น
  • ตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ุ เพื่อป้องกันโรคที่อาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์หรือก่อให้เกิดภาวะมีบุตรยากในอนาคต
  • ผู้หญิงควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยตรวจแปปสเมียร์ทุกปีตั้งแต่อายุ 21 ปีขึ้นไป
  • ตรวจสุขภาพปากและฟันทุกปี และตรวจสุขภาพตาอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำ
วัยก่อนเกษียณ (40-60 ปี)
  • ควรรับการตรวจประเมินโรคมะเร็ง เบาหวาน หัวใจ ความดันโลหิต คอเลสเตอรอลสูงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจพบและรักษาตั้งแต่ในระยะแรกเริ่ม 
  • ผู้หญิงควรตรวจแมมโมแกรมหามะเร็งเต้านมและตรวจมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ 
  • เมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป ควรเริ่มตรวจมะเร็งลำไส้ แต่หากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ แพทย์อาจแนะนำให้เริ่มตรวจเร็วขึ้น 
  • เมื่ออายุ 55 ปีขึ้นไป ผู้ชายควรตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก และแจ้งให้แพทย์ทราบหากมีปัญหาเกี่ยวการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศหรือความผิดปกติในการปัสสาวะที่อาจเป็นสัญญาณของมะเร็งต่อมลูกหมาก
วัยสูงอายุ (อายุ 61 ปีขึ้นไป)
  • ตรวจโรคต่างๆ ที่ตรวจในวัยก่อนเกษียณและยังคงมีความเสี่ยงสูงในวัยสูงอายุอย่างต่อเนื่อง
  • ตรวจสุขภาพตาและการมองเห็นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันโรคทางสายตาที่จะยิ่งมีความเสี่ยงสูงเมื่อมีอายุมากขึ้น เช่น โรคต้อกระจก ต้อหิน เป็นต้น
  • ตรวจการได้ยิน
  • ตรวจกระดูกและข้อต่อ เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงการหกล้มกระดูกหัก
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคจากการติดเชื้อที่มีความเสี่ยงสูง เช่น โรคปอดบวม โรคงูสวัด

ในแต่ละช่วงชีวิตมีการดูแลสุขภาพที่ควรเน้นความสำคัญแตกต่างกันไป แต่คงไม่มีใครมาคอยนั่งบอกเรา ถ้าไม่ใช่หมอประจำตัวที่คุ้นเคยอย่างทีมแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ที่เน้นสร้างความเข้าใจ เอาใส่ใจอย่างรอบด้าน เพื่อปรับการดูแลรักษาและป้องกันโรคให้เหมาะกับเราที่สุด

เรื่องสุขภาพ วางใจให้ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก ช่วยดูแลคุณในทุกช่วงของชีวิต ดูรายละเอียดบริการต่างๆ ของเราได้ที่นี่เลย

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

คลินิก VS โรงพยาบาล เลือกใช้บริการแบบไหนตอบโจทย์ที่สุด?

    /    บทความ    /    คลินิก VS โรงพยาบาล เลือกใช้บริการแบบไหนตอบโจทย์ที่สุด?

Uncategorized

Uncategorized

คลินิก กับ โรงพยาบาล ต่างกันอย่างไร อาการแบบไหนควรไปคลินิก อาการแบบไหนควรไปโรงพยาบาล?​ คลินิกและโรงพยาบาล​ทำงานร่วมกันอย่างไร?

เมื่อต้องเลือกรับบริการสุขภาพระหว่างคลินิกกับโรงพยาบาล เราจะเลือกอะไร? บางคนเลือกไปโรงพยาบาลเพราะคิดว่าดูแลรักษาได้ครอบคลุมกว่า บางคนเลือกคลินิกเพราะไม่อยากต้องไปนั่งรอคิวนานๆ ที่โรงพยาบาล แต่ความจริงแล้วเราควรพิจารณาตามอาการและความจำเป็นทางสุขภาพเป็นอย่างแรก มาดูกันให้ชัดๆ ว่าเมื่อไหร่ที่เราควรตัดสินใจเข้าคลินิก และเมื่อไหร่ที่ควรไปโรงพยาบาล

ทำความรู้จัก “คลินิก” 

คลินิก หมายถึง สถานพยาบาลที่เน้นบริการผู้ป่วยนอก โดยส่วนมากมักเป็นคลินิกโดยแพทย์ทั่วไปที่สามารถให้การรักษาเบื้องต้นในทุกๆ โรค แต่ก็มีคลินิกจำนวนไม่น้อยที่เป็นคลินิกที่ให้บริการเฉพาะทาง เช่น คลินิกผิวหนัง คลินิกโรคหู คอ จมูก คลินิกกายภาพ คลินิกกระดูก และยังมีคลินิกที่จัดตั้งขึ้นตามวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น คลินิกสุขภาพทางเพศชายและหญิง คลินิกวางแผนครอบครัว คลินิกบำบัดยาเสพติด คลินิกสุขภาพจิต เป็นต้น

ข้อแตกต่างระหว่างคลินิก กับ โรงพยาบาล

ในบทความนี้จะเน้นเปรียบเทียบระหว่างคลินิกโดยหมอเวชศาสตร์ครอบครัวและหมอเวชปฏิบัติทั่วไป กับโรงพยาบาลในภาพรวมกว้างๆ เพราะทั้งคลินิกและโรงพยาบาลต่างก็มีทั้งประเภทที่ให้การรักษาทั่วไปและรักษาเฉพาะทาง ซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสนในการเปรียบเทียบ

  • ประเภทของผู้ป่วย คลินิกเน้นให้บริการผู้ป่วยนอกที่สามารถกลับบ้านได้เลยหลังรับการตรวจรักษา ในขณะที่โรงพยาบาลจะเน้นบริการผู้ป่วยในที่ต้องนอนค้างเพื่อดูอาการหรือรักษาตัวในระยะยาว 
  • ประเภทของการรักษา บริการสุขภาพโดยคลินิกมุ่งไปที่การดูแลอย่างรอบด้าน ทั้งการให้คำแนะนำในการส่งเสริมสุขภาพที่แข็งแรง การตรวจเช็กสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดความเสี่ยง และให้การรักษาชั้นต้นสำหรับทุกๆ อาการที่ไม่ใช่ภาวะฉุกเฉิน ส่วนในโรงพยาบาลมักเป็นการตรวจรักษาโรคที่ต้องอาศัยความชำนาญจากแพทย์เฉพาะทาง ต้องมีการผ่าตัดหรือใช้เครื่องมือเฉพาะ หรือในกรณีที่มีอาการรุนแรงหรือภาวะฉุกเฉิน
  • ขนาด คลินิกเป็นสถานพยาบาลขนาดเล็กและมีบุคลากรน้อยกว่าในโรงพยาบาลที่มีขนาดใหญ่ และมีผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพหลากหลาย 
  • ราคา การตรวจรักษาในโรงพยาบาลโดยแพทย์เฉพาะทางและมีบุคลากรทางการแพทย์ในขั้นตอนต่างๆ มากกว่า มักมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการไปคลินิก

อาการแบบไหนควรไปคลินิก?

  • การตรวจป้องกันและประเมินความเสี่ยง ได้แก่ การตรวจสุขภาพประจำปี การรับวัคซีน และการตรวจคัดกรองโรคเรื้อรังอย่างเบาหวาน หัวใจ หลอดเลือดหัวใจ และมะเร็งชนิดต่างๆ
  • การตรวจดูแลที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง เช่น การติดตามรักษาอาการโรคประจำตัว การทำกายภาพบำบัด การทำจิตบำบัด ซึ่งหมอที่ตรวจรักษามักเป็นหมอคนเดิมที่เข้าใจและคุ้นเคยกับผู้ป่วยเป็นอย่างดี
  • การรักษาอาการที่ไม่เร่งด่วนฉุกเฉิน อาการทั่วๆ ไปที่สามารถรักษาได้โดยไม่ต้องถึงมือหมอเฉพาะทาง เช่น ไอ เจ็บคอ คัดจมูก ปวดหู เป็นต้น
  • อุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง เช่น ตะคริว แผลถูกของมีคมบาดขนาดเล็ก แผลน้ำร้อนลวก โดยอาการจากอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรงเหล่านี้ไม่นับเป็นกรณีฉุกเฉิน และมักไม่มีความจำเป็นต้องไปห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาล

อาการแบบไหนควรไปโรงพยาบาล?

  • การตรวจรักษาที่ต้องทำโดยแพทย์เฉพาะทาง หรือมีอาการเจ็บป่วยที่รุนแรง
  • เมื่อจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดที่ฉุกเฉินหรือไม่ฉุกเฉิน มักต้องทำในโรงพยาบาลเนื่องจากมีอุปกรณ์และเครื่องมือที่ครบครันมากกว่าคลินิก 
  • อาการหรือภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน เช่น ภาวะหัวใจวาย หรือโรคหลอดเลือดในสมอง 
  • อุบัติเหตุที่ก่อให้เกิดบาดแผลรุนแรง เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์ แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกรุนแรง ศีรษะได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง แผลถูกบาดโดยของมีคมที่ลึกหรือมีขนาดใหญ่
  • ภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพจิต เช่น ผู้ป่วยมีพฤติกรรมทำร้ายตนเองหรือคนรอบข้าง ควรรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที เพื่อรับการประเมินและรักษาเพื่อป้องกันอันตรายต่อตัวผู้ป่วยเองและคนรอบข้าง

คลินิกและโรงพยาบาล ทำงานร่วมกันอย่างไร?

คลินิกนั้นทำงานโดยประสานงานกับโรงพยาบาล ในกรณีที่แพทย์ประจำคลินิกประเมินว่าต้องส่งต่อให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านหรือมีการรักษาที่ต้องนอนค้าง จะมีการประสานงานส่งตัวผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลที่มีแพทย์เฉพาะทางทันที ดังนั้น วางใจได้ว่าคุณจะได้รับการรักษาที่ถูกต้องตามขั้นตอนที่ควรไม่ว่าจะเลือกไปคลินิกหรือโรงพยาบาล

อย่างไรก็ตาม เรามักติดภาพจำว่าโรงพยาบาลมีบริการกว้างขวางครอบคลุม มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และมีคุณภาพดีกว่า ซึ่งแท้จริงแล้วการเลือกไปโรงพยาบาลเมื่อมีอาการที่ไม่รุนแรงหรือไม่ฉุกเฉินมีแต่จะทำให้ต้องรอคิวนานโดยไม่จำเป็น 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงพยาบาลรัฐที่ปัจจุบันมีคนไข้ล้น เมื่อพบหมอก็ได้คุยสั้นๆ ยังไม่ทันได้ถามให้ละเอียด เพราะคนไข้ที่เยอะเกินไปจนหมอต้องทำงานแข่งกับเวลา ส่วนโรงพยาบาลเอกชนก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงเนื่องจากมีเพียงแพทย์เฉพาะทาง และมีต้นทุนการบริหารจัดการที่สูง อีกทั้งยังเข้าถึงได้ยากกว่าการไปคลินิก

นอกจากนี้การไปโรงพยาบาลด้วยอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยยังผิดจุดประสงค์ เพราะหมอเฉพาะทางนั้นมีหน้าที่รักษาผู้ป่วยที่หมอทั่วไปส่งต่อมาให้ หรือผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงเท่านั้น 

ถ้าเลือกให้เหมาะสมตามอาการ ไม่ว่าคลินิกหรือโรงพยาบาล คุณก็จะได้รับบริการที่น่าพึงพอใจและคุ้มค่ากับเงินและเวลาที่เสียไปอย่างแน่นอน 

พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก พร้อมให้บริการด้วยหัวใจ ปรึกษาเรื่องการดูแลสุขภาพกายและใจ ตรวจสุขภาพ ฉีดวัคซีนป้องกันโรค หรือรักษาอาการเจ็บป่วยทั่วไปกับคุณหมอของเรา คลิกดูบริการได้เลยที่นี่

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

แนวทางฉีดวัคซีนโควิด-19 ในผู้สูงอายุ ฉีดได้เลย หรือต้องรอ?

    /    บทความ    /    แนวทางฉีดวัคซีนโควิด-19 ในผู้สูงอายุ ฉีดได้เลย หรือต้องรอ?

Uncategorized

Uncategorized

ผู้สูงอายุ-ผู้มีโรคประจำตัว ฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้เลยหรือไม่? เช็กกลุ่มเสี่ยงที่ควรและไม่ควรฉีด พร้อมคำแนะนำก่อนหลังฉีดวัคซีน

เป็นที่ทราบกันว่าผู้สูงอายุจัดเป็นกลุ่มที่เสี่ยงเกิดอาการรุนแรงและเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 โดยจากสถิติการเสียชีวิตในสหรัฐอเมริกา พบว่า 8 ใน 10 เป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ขึ้นไป และยิ่งอายุมากเท่าไรก็ยิ่งมีความเสี่ยงสูงเท่านั้น ซึ่งคาดว่าสาเหตุมาจากภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ลดลงสวนทางกับอายุที่มากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นผู้สูงอายุยังเป็นกลุ่มที่มักจะมีโรคเรื้อรังหรือโรคประจำตัวที่ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงด้วย

นอกจากการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันผู้สูงอายุจากเชื้อโควิด-19 ที่ตัวผู้สูงอายุเองและคนรอบข้างพอจะทำได้ในเบื้องต้นแล้ว การฉีดวัคซีนคือหัวใจสำคัญที่จะขาดไม่ได้ แต่ก็ยังเป็นที่สับสนกันมากว่าจะเป็นอันตรายหรือไม่ ควรฉีดหรือไม่ควรฉีด วันนี้คุณหมอพรีโมแคร์เลยมีแนวทางการปฏิบัติก่อนและหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับผู้สูงอายุมาฝากกัน

ผู้สูงอายุฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้หรือไม่? ให้ดูตามกลุ่มเสี่ยง

สมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุไทยได้ให้แนวทางการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในผู้สูงอายุโดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มดังต่อไปนี้

1.  ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว/โรคเรื้อรังที่มีอาการคงที่ ควรได้รับการฉีดวัคซีน เนื่องจากมีการศึกษาพบว่าสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และช่วยลดความรุนแรงของโรคได้มาก มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากการฉีดน้อย ไม่ต่างจากวัยอื่น เช่น อาการปวดบริเวณที่ฉีด อ่อนเพลีย มีไข้ต่ำ ซึ่งมักจะหายไปเองภายใน 1-2 วัน นอกจากนี้วัคซีนแอสตราเซเนกาที่ฉีดให้ผู้สูงอายุในไทยขณะนี้ก็มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงน้อยกว่าการฉีดในคนวัยหนุ่มสาว 

 

กลุ่มผู้ป่วยที่ควรฉีดวัคซีนหากมีอาการของโรคคงที่ ได้แก่

  • ความดันโลหิตสูง เบาหวาน
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในทางเดินอาหารและตับ
  • โรคติดเชื้อเอชไอวี (HIV)
  • โรคข้ออักเสบ แพ้ภูมิตัวเอง
  • สะเก็ดเงิน
  • ภาวะสมองเสื่อม
  • อัมพฤกษ์ อัมพาต
  • โรคไตเรื้อรัง
  • โรคหิด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
  • โรคไขกระดูกฝ่อ โรคไขกระดูกทำงานผิดปกติ
  • มะเร็งเม็ดเลือด และโรคมะเร็งอื่นๆ
  • ผู้สูงอายุที่มีภาวะเปราะบาง คือมีความเสื่อมถอยหรืออ่อนแอทางร่างกาย จิตใจ และสังคม

2. ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว/โรคเรื้อรังที่ยังควบคุมอาการไม่ได้/อาการไม่คงที่/ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนฉีด เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ต้องพิจารณาเป็นรายบุคคลตามโรคและอาการ

3. ผู้สูงอายุที่อยู่ในระยะท้ายของชีวิตและคาดว่าจะเสียชีวิตในไม่กี่เดือน ต้องพิจารณาว่าควรฉีดหรือไม่ฉีดตามกรณี เนื่องจากคำแนะนำการฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกาในตอนนี้ต้องฉีด 2 ครั้งโดยเว้นระยะห่าง 10-12 สัปดาห์ หรืออย่างน้อยที่สุด 4 สัปดาห์ อีกทั้งยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในกลุ่มนี้มากนัก

ข้อควรปฏิบัติก่อน-หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับผู้สูงอายุ

  • ก่อนฉีดควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากมีโรคประจำตัว หรือเคยมีประวัติแพ้วัคซีนโควิด-19 หรือวัคซีนอื่นๆ อย่างรุนแรงมาก่อน
  • สามารถทำกิจวัตรต่างๆ ได้ตามปกติทั้งก่อนและหลังฉีด แต่ไม่ควรหักโหมทำงานหรือออกกำลังกายหนักเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการพักผ่อนน้อยในช่วง 1-2 วันก่อนและหลังฉีดวัคซีน
  • กรณีที่ต้องรับวัคซีนอื่นๆ เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ งูสวัด แนะนำให้เว้นระยะห่างอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ก่อน-หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ส่วนวัคซีนที่มีความเร่งด่วน เช่น บาดทะยัก พิษสุนัขบ้า สามารถฉีดได้ทันทีในตำแหน่งที่ต่างกันโดยไม่ต้องเว้นระยะ หรือเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 สัปดาห์

การฉีดวัคซีนโควิด-19 จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันผู้สูงอายุจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และช่วยลดความรุนแรงหากติดเชื้อ ในทางกลับกัน หากผู้สูงอายุมีภาวะที่ควบคุมอาการไม่ได้หรือไม่สามารถรับวัคซีนได้ด้วยเหตุผลใดก็ตาม สิ่งที่ควรทำก็คือการฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันให้กับคนในครอบครัวหรือบุคคลใกล้ชิด เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้สูงอายุและสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในระดับครอบครัว

พรีโมแคร์เป็นกำลังใจให้ทุกครอบครัวผ่านพ้นวิกฤตไปด้วยกัน มีปัญหาหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับการรับวัคซีนโควิด-19 สามารถนัดหมายปรึกษาคุณหมอพรีโมแคร์ หรือดูบริการอื่นๆ ของเราได้ที่นี่ 

Reference

  • คำแนะนำเรื่องการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับผู้สูงอายุ (ฉบับปรับปรุง) (http://www.thaigeron.or.th/)

  • แนวปฏิบัติการ ‘ฉีดวัคซีนโควิด 19’ ให้ผู้สูงอายุและผู้ป่วย
    https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/941124 

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

5 ภัยสุขภาพช่วง Work from home ที่อาจถามหาโดยไม่รู้ตัว

    /    บทความ    /    5 ภัยสุขภาพช่วง Work from home ที่อาจถามหาโดยไม่รู้ตัว

Uncategorized

Uncategorized

รู้ทันภัยสุขภาพที่มากับ Work from home มีโรคอะไรบ้าง? และจะจัดการและแก้ไขอย่างไรให้ทำงานที่บ้านอย่างสุขภาพดี ไม่มีโรคกวนใจ

ในช่วงนี้หลายๆ คน โดยเฉพาะชาวมนุษย์ออฟฟิศ ต่างก็ Work from home กันมากขึ้นตามมาตรการยับยั้งการแพร่ระบาดและป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งแม้การทำงานที่บ้านจะช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อโควิด-19 แต่ก็อาจตามมาด้วยปัญหาสุขภาพอื่นๆ ได้เช่นกัน 

วันนี้ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก ชวนคุณมาทำความรู้จัก 6 ภัยสุขภาพที่อาจมาเยือนโดยไม่รู้ตัวในระหว่าง Work from home รวมถึงวิธีป้องกันและแก้ไขตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อให้กลับมามีสุขภาพเต็มร้อย และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนตอนอยู่ในออฟฟิศ

 

1. ออฟฟิศซินโดรม อาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อหรือบริเวณใดบริเวณหนึ่งของร่างกายที่รบกวนใจใครหลายๆ คน เช่น ปวดคอ บ่า ไหล่ สะบัก หลัง ข้อมือ นิ้วมือ บางครั้งมีอาการชาหรืออ่อนแรงตามแขน มือ นิ้ว และปวดหัว ปวดตา ตาพร่า ร่วมด้วย โดยสาเหตุมักเกิดจากท่าทางการนั่งทำงานที่ไม่ถูกต้อง และการนั่งทำงานติดต่อเป็นเวลานานโดยไม่ได้ลุกเคลื่อนไหวหรือยืดคลายกล้ามเนื้อนั่นเอง 

วิธีป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรมแก้ได้ที่สาเหตุ โดยแนะนำให้ปรับท่าทางในการทำงานให้เหมาะสมและหมั่นเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ 

  • นั่งหลังตรง ไม่ห่อไหล่ ไม่ไขว่ห้าง และนั่งให้เต็มก้น
  • ให้หน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่ในระยะห่าง 1 ช่วงแขน และอยู่ในระดับสายตาหรือต่ำกว่าเล็กน้อย 
  • วางแขนอยู่ในระดับเดียวกับแป้นพิมพ์ ทำมุมตั้งฉาก 90° กับไหล่ และแนบกับลำตัว
  • นั่งให้หัวเข่าอยู่ระดับเดียวกับสะโพกหรือต่ำกว่าเล็กน้อย และหาอะไรมารองเท้าหากเก้าอี้สูงเกินไป
  • ไม่ควรทำงานโดยวางแล็ปท็อปไว้บนตัก เพราะจะทำให้ต้องก้มมองจอตลอดเวลา หากจำเป็นจริงๆ ควรหาเบาะหรือกระเป๋ามาวางเสริมให้จออยู่สูงขึ้นจนคออยู่ในท่าที่สบาย
  • หากทำงานโดยใช้แล็ปท็อป แนะนำให้ใช้คีย์บอร์ดและเมาส์แยกต่างหาก เพื่อปรับระยะหน้าจอให้พอดีกับระดับสายตา หรือใช้จอคอมพิวเตอร์เสริมเพื่อให้ไหล่และแขนอยู่ในท่าธรรมชาติขณะพิมพ์งาน
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมนั่งนาน โดยเฉพาะการนั่งทำงานบนโซฟาหรือบนเตียงที่มักทำให้สรีระร่างกายอยู่ในท่าที่ไม่ถูกต้อง 
  • เปลี่ยนอิริยาบถด้วยการบิดขี้เกียจบ่อยๆ หรือนั่งสลับยืนทำงานโดยวางคอมพิวเตอร์บนโต๊ะสูงหรือชั้นวางของ
  • หมั่นลุกขึ้นยืดเส้นยืดสายทุกๆ ชั่วโมง และทำท่ากายบริหารเพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อเป็นประจำ

2. ปัญหาตาแห้ง ตาล้า จอคอมพิวเตอร์นั้นจะปล่อยแสงสีฟ้า หรือ Blue light ออกมารบกวนการมองเห็นและทำให้ดวงตาต้องทำงานหนักยิ่งขึ้น นอกจากนี้การจ้องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานยังทำให้กล้ามเนื้อบริเวณดวงตาทำงานหนัก เป็นสาเหตุของอาการตาพร่า ตาล้า และอาจพลอยทำให้มีอาการปวดศีรษะไปด้วย 

อาการตาล้าเป็นปัญหาสุขภาพที่คนทำงานต้องเผชิญมากขึ้นเมื่อ Work from home เนื่องจากลักษณะการทำงานที่ทุกอย่างทำผ่านทางออนไลน์ ทั้งการประชุมและการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน ไหนจะช่วงเวลาพักกลางวันที่หลายคนมักรับประทานอาหารไปพร้อมๆ กับจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ จนแทบไม่มีเวลาได้พักสายตาอย่างแท้จริง

หากต้องการถนอมสายตา ลดการทำงานหนักของดวงตา สามารถทำได้ตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • ปรับความสว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้ไม่สว่างหรือมืดจนเกินไปและมีความสมดุลกับแสงภายในห้อง 
  • อาจหาแว่นตัดแสงสีฟ้ามาใส่หรือใช้ฟิล์มติดหน้าจอที่อาจช่วยให้รู้สึกสบายตาขึ้น 
  • คอยเตือนตัวเองให้พักสายตาจากหน้าจอโดยลุกขึ้นเดินยืดเส้นยืดสาย ไปเข้าห้องน้ำ หรือลุกไปดื่มน้ำบ่อยๆ 
  • หมั่นกระพริบตา และทำตามเทคนิคพักสายตา 20-20-20 ที่แพทย์แนะนำ โดยให้พักสายตาจากหน้าจอทุกๆ 20 นาที และมองไกลออกไปในระยะประมาณ 20 ฟุต หรือ 6 เมตร เป็นเวลาอย่างน้อย 20 วินาที 

3. โรคอ้วน การนั่งทำงานนานๆ โดยไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย นอกจากจะทำให้มีอาการของออฟฟิศซินโดรม ยังอาจนำไปสู่ปัญหาโรคอ้วนหรือน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นด้วย โดยเฉพาะในช่วงเวลาแห่งการ Work from home ที่แทบไม่มีเหตุให้ต้องเคลื่อนไหว ไม่ต้องลุกไปคุยกับเพื่อนร่วมงาน ไม่มีพักเบรก แถมหลายคนยังมีอาหารและขนมใกล้มือพร้อมหยิบกินเมื่อไรก็ได้ 

ในการควบคุมน้ำหนักไม่ให้เพิ่มขึ้นจนเกินมาตรฐานหรือเสี่ยงเป็นโรคอ้วน เราควรลดปัจจัยที่กระตุ้นให้อยากกินอาหารที่อ้วนง่าย เช่น พยายามหาวิธีผ่อนคลายในแต่ละวันไม่ให้เกิดความเครียดมากเกินไป เพราะยิ่งเครียดก็ยิ่งทำให้รู้สึกอยากกินอาหารที่มีไขมันและมีน้ำตาลสูง รวมทั้งเก็บขนมขบเคี้ยวต่างๆ ในที่ลับสายตา หันมาตุนผักผลไม้ ของกินเล่นที่มีแคลอรี่ต่ำแทน และวางไว้ในที่ที่เห็นชัดเจน รวมทั้งไม่ลืมขยับร่างกายและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วย

 

4. ภาวะเครียด วิตกกังวล เมื่อต้องเก็บตัวอยู่แต่ในบ้านทุกวัน ไม่สามารถออกไปเที่ยวพักผ่อนได้ตามปกติ ความกลัวที่จะติดเชื้อ ประกอบกับความเครียดที่เกิดจากการ Work from home เช่น อุปกรณ์และสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย ลักษณะการทำงานที่ไม่มีเส้นแบ่งเวลาทำงานและเวลาพักผ่อนอย่างชัดเจน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่ก้าวผ่านไปได้ ซึ่งความเครียดและความวิตกกังวลที่สะสมขึ้นทุกวันนี้อาจนำไปสู่ปัญหาการนอนไม่หลับ และโรคซึมเศร้าได้

ทันทีที่เริ่มรู้ตัวว่าเครียดหรือวิตกกังวล แนะนำให้ลองวิธีง่ายๆ อย่างการหายใจเข้า-ออกลึกๆ ช้าๆ เพื่อผ่อนคลายร่างกายจากความเครียดและปรับระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายให้กลับสู่ภาวะปกติ และควรฝึกทำทุกวันจนเคยชิน 

พยายามไม่วิตกกับเรื่องในอนาคตที่ยังมาไม่ถึงจนเกินไป ให้คิดเสียว่าเป็นเรื่องที่ควบคุมไม่ได้และอยู่กับปัจจุบันเข้าไว้ ที่สำคัญควรจัดสรรเวลาทำงานอย่าให้กินเวลาพักผ่อน เพื่อป้องกันความเครียดและความรู้สึกเหนื่อยล้าสะสม และหากิจกรรมที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายหรือหัวเราะได้ในแต่ละวัน

 

5. Burnout Syndrome การทำงานที่บ้านส่งผลให้หลายคนใช้เวลาในการทำงานยาวนานขึ้น ด้วยสิ่งเร้ามากมายที่ทำให้ว่อกแว่กเสียสมาธิง่าย ทำให้ทำงานเสร็จช้า ไหนจะเจ้านายที่คิดไปเองว่าการเพิ่มเวลางานหรือสั่งงานตอนไหนก็ได้เพราะลูกน้องไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปกลับที่ทำงานและบ้านนั้นเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ เมื่อเผชิญกับความเหนื่อยล้าและความเครียดจากการทำงานเหล่านี้นานเข้าจึงทำให้เกิดอาการหมดเรี่ยวแรงและกำลังใจในการทำงานอย่างภาวะหมดไฟขึ้น

การรับมือกับภาวะ Burnout Syndrome นั้นก็คล้ายๆ กับภาวะเครียดและวิตกกังวล โดยแนะนำให้ลองปรับเวลาการทำงานให้เป็นเวลาทุกวัน ไม่หักโหมเกินไป และมีเวลาให้ตัวเองได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ งานไหนที่เกินขอบเขตความรับผิดชอบมากไปก็ควรพูดคุยกับหัวหน้าให้ชัดเจน หากวันไหนรู้สึกเหนื่อยล้าเกินไปก็ควรลาพักผ่อนเพื่อผ่อนคลายและใช้เวลากับคนรอบข้างบ้าง

าจัดระบบระเบียบการทำงานได้ดี การ Work from home ก็มีประโยชน์ได้เหมือนกัน โดยจากผลสำรวจพบว่าคนทำงานบางคนก็มีสุขภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในช่วงเวลานี้ เนื่องจากประหยัดเงินและเวลาในการเดินทาง ทั้งยังมีเวลาทำสิ่งต่างๆ มากขึ้น เช่น ได้กินอาหารที่มีประโยชน์ กินตรงเวลา และกินครบทุกมื้อ ได้ใช้เวลาอยู่กับลูกๆ และครอบครัว นอกจากนี้บางคนก็รู้สึกว่าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ชาว Work from home คนไหนที่เริ่มรู้สึกถึงปัญหาสุขภาพกวนใจ พรีโมแคร์ เมดิคอล มีทีมแพทย์ พยาบาล ไปจนถึงนักกายภายภาพบำบัด และนักจิตวิทยา สแตนด์บายพร้อมดูแลคุณเสมอ คลิกดูบริการเพิ่มเติมได้ที่นี่เลย

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

จิตแพทย์ VS นักจิตวิทยา เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?

    /    บทความ    /    จิตแพทย์ VS นักจิตวิทยา เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?

Uncategorized

Uncategorized

นักจิตวิทยา กับ จิตแพทย์ ทำงานต่างกันอย่างไร? หาคำตอบว่าใครที่เหมาะจะช่วยแนะนำวิธีจัดการกับปัญหาทางจิตใจและอารมณ์ของคุณที่สุด

เมื่อมีเรื่องให้เครียดหรือกังวลใจ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในครอบครัว ความเครียดจากการทำงาน หรือความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและคนรอบข้าง เรามักมองหาคนใกล้ตัวที่จะคอยรับฟังเพื่อแบ่งเบาความทุกข์ลงไปบ้าง แต่บางครั้งความรู้สึกที่เกิดขึ้นก็ท่วมท้นเกินกว่าจะจัดการด้วยตัวเองได้ หรือมีเหตุผลบางอย่างที่ทำให้ไม่สบายใจที่จะระบายกับคนใกล้ตัว การพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญอย่างจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาจึงดูจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพจิตนั้นมีหลากหลายสาขาและมีชื่อเรียกที่คล้ายกันจนทำให้เกิดความสับสนได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นจิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักจิตวิทยาบำบัด หรือนักจิตวิทยาการปรึกษา โดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญสาขาหลักอย่างจิตแพทย์และนักจิตวิทยาที่ในความเข้าใจของคนทั่วไปนั้นดูจะเป็นเรื่องที่มีความคลุมเครืออยู่มาก วันนี้ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก เลยจะพาไปรู้จักกับทั้งสองวิชาชีพนี้ให้ชัดขึ้น ว่าทำงานเหมือนหรือต่างกันอย่างไร พร้อมทั้งคำแนะนำเบื้องต้นในขั้นตอนการเริ่มปรึกษา

จิตแพทย์ และ นักจิตวิทยา ทำงานต่างกันอย่างไร?

จิตแพทย์และนักจิตวิทยาต่างก็มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกการทำงานของสมอง รวมถึงการเกิดอารมณ์ ความคิด ความรู้สึกต่างๆ และมีทักษะการรักษาทางจิตวิทยาด้วยการพูดคุย เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจในความคิดและพฤติกรรมของตนเอง นอกจากนี้เป้าหมายของทั้งคู่คือการช่วยให้สุขภาพจิตของผู้ป่วยดีขึ้น 

สิ่งที่แยกนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ออกจากกัน มีดังต่อไปนี้

การศึกษาและความเชี่ยวชาญ

  • จิตแพทย์ เป็นแพทย์เฉพาะทางแขนงหนึ่ง เส้นทางการเป็นจิตแพทย์จึงต้องเริ่มจากการเรียนแพทย์ทั่วไปในคณะแพทยศาสตร์ 6 ปี และต่อแพทย์เฉพาะทางในภาควิชาจิตเวชศาสตร์อีก 3 ปี ใช้เวลาทั้งหมดอย่างน้อย 9 ปี มีความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคทางจิต รวมถึงความผิดปกติทางอารมณ์และพฤติกรรม โดยในการวินิจฉัยและรักษาโรคทางจิตจะพิจารณาความผิดปกติจากปัจจัยทางด้านประสาทและสมอง พันธุกรรม รวมถึงโรคอื่นๆ ร่วมด้วย
  • นักจิตวิทยา ไม่ใช่แพทย์ แต่จบจากคณะต่างๆ เช่น จิตวิทยา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ในหลักสูตรสาขาจิตวิทยา ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ กระบวนความคิด และพฤติกรรมของมนุษย์ในปัจจัยแวดล้อมทางสังคมต่างๆ ใช้เวลาเรียน 4 ปีในระดับปริญญาตรี และหากต้องการเป็นนักจิตวิทยาคลินิกที่ปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิตและจิตเวชจะต้องต่อหลักสูตรอบรม 6 เดือนเพื่อสอบใบประกอบโรคศิลป์สาขาจิตวิทยาคลินิก

วิธีการรักษา

  • จิตแพทย์ สามารถตรวจวินิจฉัยโรคทางจิตต่างๆ และให้การรักษาที่ครอบคลุมมากกว่านักจิตวิทยา โดยจะเน้นรักษาด้วยยาและการทำจิตบำบัด ซึ่งบางครั้งในส่วนของการทำจิตบำบัดจะส่งต่อไปให้นักจิตวิทยาเป็นผู้ดูแล นอกจากนี้จิตแพทย์ยังอาจใช้การรักษาอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้า รวมทั้งมีหน้าที่ในการตรวจสุขภาพกายและประเมินประสิทธิภาพของยาที่ผู้ป่วยใช้ 
  • นักจิตวิทยา ไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้ แต่สามารถใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยาเพื่อประกอบการวางแผนการบำบัดทางจิต การรักษาของนักจิตวิทยาจะเน้นวิธีการบำบัดทางจิต ความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมโดยการพูดคุยแลกเปลี่ยนเป็นหลัก เพื่อหาสาเหตุของปัญหาและร่วมหาแนวทางการแก้ไข รวมถึงให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือความคิดเพื่อฟื้นฟูสุขภาพจิต ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงหรือคาดว่าการใช้ยาอาจช่วยได้ นักจิตวิทยาจะส่งต่อผู้ป่วยไปยังจิตแพทย์ พร้อมผลการประเมินสภาพจิตเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวินิจฉัยเพิ่มเติม 

โรคที่ให้การรักษา

  • จิตแพทย์ จะเน้นรักษาโรคที่ต้องใช้หลายวิธีรักษาร่วมกัน ทั้งการใช้ยา การบำบัดทางจิต และการใช้จิตสังคมบำบัด โดยให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านจิตใจ อารมณ์ และสังคมของผู้ป่วยอย่างครอบคลุม ผู้ป่วยที่มีโรคที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่น โรคซึมเศร้าหรือวิตกกังวลชนิดรุนแรง โรคไบโพลาร์ โรคจิตเภท ภาวะออทิสติก มักต้องได้รับการรักษาจากจิตแพทย์ รวมไปถึงกรณีที่มีพฤติกรรมทำร้ายตนเองและคนรอบข้าง
  • นักจิตวิทยา มักดูแลปัญหาทางสภาวะจิตใจที่สามารถรักษาได้ด้วยการทำจิตบำบัด ปัญหาทั่วไปที่หลายคนพบเจอในชีวิตประจำวัน แต่ไม่สามารถหาทางออกด้วยตัวเอง หรือไม่รู้จะไปปรึกษาใคร ล้วนแล้วแต่ปรึกษานักจิตวิทยาได้ เช่น ความเครียดจากการเรียนและการทำงาน ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout) ความวิตกกังวลต่อเรื่องต่างๆ ที่รู้สึกว่ามีมากเกินไป และปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ทั้งครอบครัว เพื่อน หรือคนในที่ทำงาน รวมไปถึงภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวลที่ยังไม่รุนแรง ปัญหาอื่นๆ ในด้านพฤติกรรม การเรียนรู้ และการปรับตัวเข้ากับสังคม 

เริ่มต้นพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาอย่างไรดี?

การเลือกผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตและการรักษาที่เหมาะสมกับภาวะทางจิตที่กำลังเผชิญไม่ต่างจากการหาหมอให้ถูกโรค เบื้องต้นแนะนำให้โทรสอบถามสถานพยาบาลและอาจอธิบายสาเหตุที่อยากขอคำปรึกษาเพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติมว่าควรพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา

ในการพบกันครั้งแรก จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาจะพูดคุยถึงสาเหตุที่คุณคิดว่าตนเองต้องการรับการบำบัด และสอบถามว่ามีอาการอย่างไร รู้สึกอย่างไร เป็นมานานแค่ไหน หลังจากนั้นจะเริ่มพูดคุยในเรื่องต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจผู้ป่วยให้มากขึ้น เช่น ครอบครัว การทำงาน งานอดิเรก หรือกิจกรรมที่ชอบทำ และอาจมีการทำแบบประเมินสุขภาพจิตร่วมด้วย เมื่อรู้จักกันมากขึ้นแล้วก็จะเข้าสู่ขั้นการวางแผนการรักษาและเปิดโอกาสให้ถามคำถามที่คุณยังสงสัยหรือข้องใจเกี่ยวกับการรักษา 

คุณอาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าจะคุ้นเคยกับการบำบัดจิตกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา หากผ่านไป 2-3 สัปดาห์แล้วยังรู้สึกว่าการรักษาไม่ได้ช่วยให้รู้สึกดีขึ้น ควรบอกให้ผู้ที่ให้การรักษาทราบเพื่อปรับวิธีการบำบัดให้เหมาะกับตัวเอง ซึ่งจะส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการรักษา ไม่ควรฝืนทำต่อไปโดยที่รู้สึกไม่ใช่ เพราะนั่นเท่ากับผิดวัตถุประสงค์การรักษาของจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ที่ต้องการช่วยฟื้นฟูสุขภาพจิตของผู้ป่วยและส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตโดยรวมที่ดี

สุขภาพใจมีความสำคัญและต้องการการดูแลไม่ต่างจากสุขภาพกาย หมั่นสังเกตอารมณ์ ความคิด และความรู้สึกของตัวเอง ถ้าไม่ไหวก็ไม่ต้องฝืน ให้พรีโมแคร์ช่วยรับฟังและหาทางรับมือปัญหา นัดหมายปรึกษานักจิตวิทยาของเราได้ที่นี่ 

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

กายภาพบำบัด กับ นวด ต่างกันอย่างไร? เลือกรักษาแบบไหนดี?

    /    บทความ    /    กายภาพบำบัด กับ นวด ต่างกันอย่างไร? เลือกรักษาแบบไหนดี?

Uncategorized

Uncategorized

กายภาพบำบัด หรือ นวด อาการแบบนี้ถ้าจะให้ดีควรเลือกอย่างไหน? นักกายภาพบำบัดกับหมอนวดต่างกันยังไง? เช็กให้รู้ เลือกการรักษาที่ใช่

การกายภาพบำบัดและการนวดบำบัดต่างเป็นศาสตร์แห่งการฟื้นฟูร่างกายที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะ โดยการทำกายภาพบำบัดนั้นจัดเป็นการรักษาทางการแพทย์ ส่วนการนวดบำบัดทั่วไปจะอยู่ในหมวดแพทย์ทางเลือก ซึ่งสำหรับคนทั่วไปก็ยังเป็นที่สับสนกันมากว่าการนวดและการทำกายภาพบำบัดนั้นเหมือนหรือต่างกันอย่างไร บทความนี้เราจะมาดูกันชัดๆ ว่าอาการแบบไหนควรรักษาอย่างไรถึงจะดีที่สุด 

อาการแบบนี้ นวดบำบัดทั่วไปช่วยได้

การนวดบำบัดทั่วไป มีจุดประสงค์ในการช่วยคลายกล้ามเนื้อ โดยอาจใช้เทคนิคการนวดคลึง การกดเน้นตามจุด และการเหยียดยืดกล้ามเนื้อ ซึ่งจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด บรรเทาอาการปวดเมื่อยและลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อ ส่งผลให้รู้สึกดีขึ้นในขณะที่เคลื่อนไหวร่างกาย นอกจากนี้ยังส่งผลดีต่อสุขภาพจิตในด้านการลดความเครียดและความวิตกกังวลได้อีกด้วย

ในกรณีต่อไปนี้ การนวดบำบัดทั่วไปถือเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์

  • มีอาการตึงหรือปวดกล้ามเนื้อเล็กน้อย
  • มีอาการปวดเมื่อยที่ไม่เรื้อรังจากการทำงานหรือกิจวัตรประจำวันอื่นๆ 
  • ต้องการผ่อนคลายจากความเครียดและความวิตกกังวล
  • ต้องการฟื้นฟูร่างกายหลังจากออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา

อาการแบบนี้ ให้กายภาพบำบัดช่วยดีกว่า

การทำกายภาพบำบัด มีจุดประสงค์เพื่อทำการรักษาอาการบาดเจ็บ รวมถึงความเจ็บป่วยรุนแรงหรือเรื้อรัง โดยเป็นหน้าที่ของแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและนักกายภาพบำบัดในการตรวจร่างกาย วินิจฉัย และออกแบบการรักษาตามอาการและสาเหตุการเจ็บป่วย

สำหรับกรณีต่อไปนี้ การรักษาด้วยกายภาพบำบัดจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมมากกว่าการนวดบำบัดทั่วไป

  • มีอาการปวดเรื้อรังหรือปวดรุนแรงมากจนเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนไหวร่างกาย ส่งผลต่อการทำงานและการทำกิจกรรมต่างๆ 
  • มีอาการที่เคยรักษาด้วยการนวดบำบัดมาก่อน แต่อาการไม่ดีขึ้นหรือยังคงเป็นอย่างต่อเนื่อง
  • มีอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือการเล่นกีฬา เช่น ข้อเท้าพลิก แล้วต้องการตรวจประเมินและรับคำแนะนำในการรักษา รวมถึงวิธีการดูแลตัวเองที่ถูกต้อง 
  • ได้รับคำแนะนำส่งต่อจากแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอื่นๆ ให้รับการรักษาโดยทำกายภาพบำบัด

หลายครั้งที่เรามักละเลยการพบแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดเพราะคิดว่าอาการจะดีขึ้นเองในไม่ช้า แต่กลายเป็นว่าอาการกลับยิ่งเรื้อรังและรุนแรงมากขึ้น ดังนั้นตามคำแนะนำที่ถูกต้อง เราควรรับการตรวจรักษาทันทีที่ได้รับบาดเจ็บ หรือมีอาการปวดตามร่างกายที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

การทำงานของแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและนักกายภาพบำบัด

ในการรักษาทางกายภาพบำบัด เราจะพบกับแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูเป็นอันดับแรก ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโครงสร้างและการทำงานของร่างกาย รวมถึงทางด้านระบบประสาท ระบบหัวใจและหลอดเลือด ที่สามารถส่งผลถึงระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ โดยแพทย์จะทำหน้าที่ตรวจประเมิน วินิจฉัย และรักษา ไปจนถึงการตรวจรักษาสุขภาพโดยรวมและโรคประจำตัวอื่นๆ ของคนไข้

แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูทำงานร่วมกับนักกายภาพบำบัด ซึ่งเป็นผู้ที่มีทักษะเกี่ยวกับการป้องกันรักษาและจัดการการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติที่เกิดขึ้น สามารถตรวจประเมินการเคลื่อนไหว อาการบาดเจ็บ ช่วงมุมการเคลื่อนไหวของข้อต่อ ความแข็งแรงและความยาวของกล้ามเนื้อ รวมถึงปัจจัยด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาการบาดเจ็บหรืออาการจากโรคที่เกิดขึ้น เช่น ท่าทางในการนั่ง การทำงาน (ออฟฟิศซินโดรม) หรือการออกกำลังกาย นอกจากนี้ยังมีความเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่น เครื่องอัลตร้าซาวด์ เครื่องช็อคเวฟ เป็นต้น 

โดยหลังจากแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูส่งต่อผู้ป่วยมาทำกายภาพบำบัด นักกายภาพบำบัดจะเป็นผู้ตรวจประเมิน และทำการรักษาผู้ป่วยจนสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ หรือสามารถทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เช่น การกลับไปเล่นกีฬา รวมถึงให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการกลับไปเป็นซ้ำ

ทั้งนี้ ในคลินิกหรือสถานพยาบาลที่ไม่มีแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูกำกับ การรักษาของนักกายภาพบำบัดจะรวมถึงการวินิจฉัยประเมินอาการ และพูดคุยกับผู้ป่วยเพื่อซักประวัติอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นโรคประจำตัว อาการ และพฤติกรรมหรือปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจส่งผลให้มีอาการดังกล่าว 

ในด้านขั้นตอนการรักษา นักกายภาพบำบัดจะใช้เทคนิคที่หลากหลายตามความเหมาะสม เช่น การบำบัดด้วยมือ ซึ่งรวมถึงเทคนิคการดัด ดึง และขยับข้อต่อ การบำบัดด้วยการออกกำลังกาย การใช้เครื่องช็อคเวฟ คลื่นอัลตราซาวด์ ความร้อน และความเย็น เป็นต้น

การนวดนั้นเหมาะสำหรับอาการปวดนิดตึงหน่อยหรือในวันที่เครียดและต้องการผ่อนคลาย แต่หากมีอาการที่เรื้อรัง เป็นๆ หายๆ ที่รบกวนใจหรือขัดขวางการทำงานและการใช้ชีวิตอย่างราบรื่น การกายภาพบำบัดคือคำตอบของคุณ 

สนใจคลิกดูรายละเอียดบริการกายภาพบำบัดที่พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

Sick Building Syndrome โรคแปลกของชาวออฟฟิศ คือโรคอะไรกันแน่?

    /    บทความ    /    Sick Building Syndrome โรคแปลกของชาวออฟฟิศ คือโรคอะไรกันแน่?

Uncategorized

Uncategorized

ไปออฟฟิศทีไรอาการไม่ดีตลอด แต่พอกลับถึงบ้านก็ดีขึ้น คุณกำลังมีภาวะ Sick Building Syndrome อยู่หรือเปล่า? เช็กตัวเองได้ที่นี่

Sick Building Syndrome (SBS) เป็นภาวะความเจ็บป่วยที่เชื่อว่าอาจเกิดจากการทำงานภายในอาคารและสถานที่ปิด ซึ่งยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าสาเหตุที่แท้จริงเกิดจากอะไร อาการของภาวะนี้ค่อนข้างกว้างและอาจดูคล้ายโรคอื่น ทำให้การตรวจวินิจฉัยทำได้ยาก โดยผู้ป่วยอาจมีอาการเกิดขึ้นในห้องใดห้องหนึ่งหรือกินบริเวณกว้างทั้งอาคารก็ได้

หากคุณมีอาการผิดปกติที่หาสาเหตุไม่ได้บ่อยครั้งในที่ทำงานหรือที่พักอาศัย พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก อยากชวนคุณมาทำความรู้จักโรคนี้เพิ่มเติมเพื่อตรวจสอบอาการและสภาพแวดล้อมของอาคารที่ใช้ชีวิตเป็นประจำ ว่าเข้าข่าย Sick Building Syndrome หรือไม่

วิธีสังเกตอาการ Sick Building Syndrome

อาการของ Sick Building Syndrome ที่เกิดขึ้นอาจส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง หรือระบบประสาทก็ได้ และมักทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่าเป็นอาการของโรคอื่น เช่น หวัด หรือภูมิแพ้ วิธีสังเกตเบื้องต้นให้ดูว่าอาการต่อไปนี้ดีขึ้นหรือหายไปเมื่อออกจากอาคารหรือไม่ และมีอาการอย่างไรเมื่อกลับไปอยู่ภายในอาคารอีกครั้ง

  • ปวดหรือวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้
  • คัดจมูก น้ำมูกไหล 
  • ระคายเคืองตา ตาแห้ง
  • เจ็บคอ ระคายเคืองคอ ไอ 
  • หายใจลำบาก หายใจมีเสียงดังหวีด
  • ผิวหนังแห้ง คัน มีผื่นขึ้น
  • อ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิทำงาน สมองล้า
  • มีไข้ หนาวสั่น
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

นอกจากนี้ อาการของ Sick Building Syndrome อาจรุนแรงขึ้นได้หากเกิดขึ้นพร้อมกับอาการภูมิแพ้หรือโรคทางระบบทางเดินหายใจ และอาจส่งผลให้อาการของโรคอื่นกำเริบได้เช่นกัน นอกจากนี้ มีความเป็นไปได้ที่บางคนอาจมีอาการหลังจากออกจากอาคารไปแล้ว เนื่องจากภาวะนี้เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากการอยู่ในอาคารนั้นเป็นประจำหรือต่อเนื่องเป็นเวลานาน

อะไรคือสาเหตุของ Sick Building Syndrome?

ปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าโรคนี้เกิดจากอะไรกันแน่ แต่คาดว่าสภาพแวดล้อมภายในอาคารต่อไปนี้อาจเป็นปัจจัยที่ให้เกิดอาการของ Sick Building Syndrome ตามมาได้

  • การถ่ายเทอากาศที่ไม่ดี ซึ่งอาจทำให้เกิดการสะสมของมลพิษ ฝุ่นควัน สารพิษ และเชื้อโรคต่างๆ ในระดับที่ส่งผลต่อสุขภาพ
  • มลพิษจากภายนอก เช่น ฝุ่น ผง ควันบุหรี่ หรือควันจากรถยนต์ที่ลอยเข้ามาในอาคาร
  • มลพิษ สารพิษ และสารเคมีต่างๆ จากภายในอาคาร ได้แก่
    • เชื้อรา ไวรัส แบคทีเรียที่สะสม
    • ควันบุหรี่ ควันจากเตาอาหาร 
    • น้ำยาทำความสะอาด สีทาผนัง และสารฟอร์มาลดีไฮด์ในพื้นหรือเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้
    • แร่ใยหินที่ใช้เป็นส่วนประกอบของวัสดุต่างๆ ภายในอาคาร เช่น กระเบื้อง ท่อน้ำประปา ท่อซีเมนต์
    • ก๊าซเรดอนที่เป็นสารกัมมันตรังสีที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส และอาจสะสมอยู่ในบ้านที่ไม่มีการระบายอากาศ
  • ความสว่างภายในอาคาร เช่น แสงไฟที่สว่างจ้าหรือมืดเกินไป ซึ่งส่งผลต่อการมองเห็น รวมถึงความชัดและความสว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ไม่สบายตา
  • ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมอื่นๆ เช่น
    • อุณหภูมิที่ร้อนหรือเย็นเกินไป และระดับความชื้นในอากาศที่ต่ำ
    • มีเสียงรอบข้างดังเกินไป
    • มีแมลงหรือมูลของเสียจากสัตว์ เช่น หนู จิ้งจก เป็นต้น

ปัญหาการระบายอากาศและสภาพแวดล้อมภายในอาคารเหล่านี้อาจเป็นเรื่องที่ไม่สามารถปรับแก้ด้วยตนเองได้ จึงควรแจ้งให้เจ้านายหรือผู้ว่าจ้างทราบเมื่อพบปัญหาที่อาจส่งผลต่อสุขภาพและประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อหาวิธีจัดการร่วมกันอย่างเหมาะสมต่อไป

วิธีป้องกันและบรรเทาอาการจาก Sick Building Syndrome

ยากที่จะบอกได้ว่าอาการที่เกิดขึ้นมีสาเหตุจากอะไรกันแน่ การป้องกันโรคนี้จึงเน้นไปที่การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงข้างต้นรวมถึงการลดพฤติกรรมที่อาจนำมาซึ่ง Sick Building Syndrome โดยสามารถทำได้ตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • หากไม่มีเครื่องปรับอากาศ ควรเปิดหน้าต่างและใช้พัดลมเป่าเพื่อเพิ่มการระบายอากาศ
  • หมั่นดูดฝุ่นและทำความสะอาดห้องหรืออาคาร 
  • เปลี่ยนหรือทำความสะอาดฟิลเตอร์เครื่องปรับอากาศทุก 2-3 เดือน
  • ใช้เครื่องกรองอากาศเพื่อลดฝุ่น ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา และสิ่งสกปรกภายในห้อง
  • ปรับแสงไฟภายในอาคารให้สว่างพอดี ปรับแสงหน้าจอให้สบายตา และอัปเกรดจอแสดงผลต่างๆ ให้สามารถมองได้โดยไม่ต้องเพ่งสายตา
  • พยายามผ่อนคลายความเครียดจากการทำงาน เพราะอาจกระตุ้นให้เกิดอาการหรือมีอาการแย่ลงได้
  • หมั่นพักสายตาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยมองออกไปไกลๆ ประมาณ 20 วินาที ทุกๆ 20 นาที และอย่าลืมกระพริบตาบ่อยๆ
  • หาโอกาสออกไปสูดอากาศข้างนอก เช่น ช่วงพักกลางวัน พักเบรค หรือระหว่างไปเข้าห้องน้ำ
  • ลุกขึ้นมายืดเส้นยืดสายหรือทำท่ากายบริหารง่ายๆ เพื่อคลายความเมื่อยล้าที่อาจเกิดจากการนั่งนานเกินไป

หากปรับตามนี้แล้วอาการยังไม่ดีขึ้นก็ถึงเวลาที่ต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัด โดยหากไม่ได้เกิดจากโรคอื่น แพทย์อาจตรวจว่าอาการที่เกิดขึ้นมาจากสภาพแวดล้อมการทำงานหรือไม่ เช่น การตรวจหาสารฟอร์มาลีนไฮด์ ก๊าซเรดอน แร่ใยหิน เชื้อราดำ และการตรวจโลหะหนัก

สำหรับใครที่ไม่แน่ใจว่าอาการที่เกิดขึ้นคือ Sick Building Syndrome หรือไม่ สามารถปรึกษาคุณหมอที่พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก เพื่อรับการตรวจให้แน่ชัดว่าไม่ได้เกิดจากโรคอื่นๆ ที่มีอาการคล้ายกัน พร้อมรับการรักษาอย่างตรงจุด ตามสาเหตุที่พบต่อไป คลิกดูบริการของเราได้เลยที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง