Categories
Uncategorized

เอ็นร้อยหวายอักเสบ รักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

    /    บทความ    /    เอ็นร้อยหวายอักเสบ รักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

เอ็นร้อยหวายอักเสบ รักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

เอ็นร้อยหวาย คือเส้นเอ็นที่ใหญ่สุดในร่างกายเป็นส่วนที่เชื่อมต่อกล้ามเนื้อน่องกับส้นเท้า มีผลในการเดิน วิ่ง และกระโดด หากเกิดเส้นเอ็นตึงมาก อาจทำให้เกิดการเอ็นร้อยหวายอักเสบ หรือหากเอ็นร้อยหวายยืดเกินไปหรือหดตัวอย่างรวดเร็ว อาจทำให้เอ็นร้อยหวายฉีกขาดได้

เอ็นร้อยหวายอักเสบ (Achilles Tendinitis)

เกิดจากการใช้งานเอ็นร้อยหวายมากเกินไป เช่น การยืนนานๆ เดินเยอะ ออกกำลังกายในท่าซ้ำๆ จนมีการบาดเจ็บและอักเสบเกิดขึ้น ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม เอ็นร้อยหวายก็จะใช้งานได้น้อยลงเรื่อยๆ จนมีอาการเจ็บตลอดเวลาที่ใช้งาน อาการเอ็นร้อยหวายอักเสบ มีดังนี้

  • รู้สึกเจ็บที่บริเวณเอ็นร้อยหวายขณะใช้งาน
  • มีอาการบวม แดง ร้อน 
  • รู้สึกตึงที่บริเวณเอ็นร้อยหวาย ขยับข้อเท้าได้ลดลง 
ทั้งนี้สาเหตุของเอ็นร้อยหวายอักเสบนั้น สามารถเกิดจากการใช้งานที่หนักเกินไป หรือพฤติกรรม รวมถึงโครงสร้างกระดูกที่ผิดปกติ เช่น 
  • ภาวะน่องตึง  การที่มีกล้ามเนื้อน่องตึงเกินไป ทำให้แต่ละก้าวที่เดินหรือวิ่ง เอ็นร้อยหวายจะตึงตัวมากกว่าปกติ และเกิดการบาดเจ็บได้
  • กระดูกงอกที่ส้นเท้า กระดูกที่ยื่นขึ้นมาอาจกระทบกับเอ็นร้อยหวายขณะที่กระดกข้อเท้าขึ้น ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง
  • การใช้งาน การออกกำลังกายในท่าซ้ำๆ จนทำให้เกิดการตึงและบาดเจ็บ การเล่นกีฬาโดยเฉพาะกีฬาที่มีการเร่งและชะลอความเร็ว หรือกีฬาที่มีการกระโดด เช่น บาสเกตบอล ฟุตบอล แบดมินตัน เป็นต้น
  • การอักเสบจากโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันต่อร่างกายตนเอง เช่น สะเก็ดเงิน(Psoriasis) และโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด(Ankylosing spondylitis) ซึ่งในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดการอักเสบที่เส้นเอ็นร้อยหวายได้
  • ขาดการยืดเหยียดที่พอเพียง เกิดจากการที่ไม่ยืดร่างกายก่อนการใช้งาน ทำให้เกิดการบาดเจ็บ จนทำให้เกิดการอักเสบได้เมื่อใช้งาน

การป้องกัน รักษาอาการเอ็นร้อยหวายอักเสบ

อาการบาดเจ็บที่เอ็นร้อยหวาย ไม่ควรที่จะละเลย เนื่องจากเอ็นร้อยหวายเป็นเส้นเอ็นที่จำเป็นในการขยับเท้าในชีวิตประจำวัน เมื่อมีอาการอักเสบแล้วมีการเคลื่อนไหวซ้ำๆ สามารถทำให้เกิดการฉีดขาดได้ ซึ่งอาจต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด ดังนั้นการป้องกันตนเอง หรือรักษาตั้งแต่เริ่มต้นจะช่วยลดอาการเจ็บปวด และลดโอกาสที่จพต้องรับการผ่าตัดลง โดยสามารถฏิบัติตัวด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้

  • พักการใช้งานบริเวณเอ็นร้อยหวาย เมื่อรู้สึกปวดเกร็งบริเวณเอ็นร้อยหวาย ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย เลี่ยงการวิ่งขึ้น-ลงเนิน หรือการกระโดด หรือการใช้งานซ้ำที่ก่อให้เกิดแรงต่อเส้นเอ็น 
  • เพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อน่องเป็นประจำ ช่วยให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นสามารถรองรับแรงกระแทกได้ดีขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการบาดเจ็บ 
  • เลือกรองเท้าให้ถูกต้อง เลือกรองเท้าที่มีพื้นนุ่ม เพื่อลดแรงสะเทือนจากพื้น รวมถึงใช้อุปกรณ์เสริมในรองเท้าเพื่อช่วยยกส้นเท้าขึ้นสักเล็กน้อย หากต้องเดินเยอะ ไม่ควรสวมรองเท้าส้นสูง
กายภาพบำบัดช่วยอย่างไร

การทำกายภาพบำบัด สามารถช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับบริเวณเอ็นร้อยหวายได้ เมื่อทำเป็นประจำ แต่จะต้องมีนักกายภาพบำบัดคอยดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อลดอาการบาดเจ็บ และแนะนำท่าออกกำลังกายตามเฉพาะบุคคล นอกจากนี้การใช้เครื่องมือเข้าช่วยในการออกกำลังกาย อาทิ การใช้ยางยืดแรงต้าน จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถยืดกล้ามเนื้อได้ง่ายขึ้นอีกด้วย 

ทั้งนี้การใช้เครื่องมือทางการแพทย์ในการรักษาร่วมด้วย เช่น การรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shockwave Therapy) จะช่วยเร่งให้เอ็นร้อยหวายซ่อมแซมตัวเองได้ดีขึ้น เร็วขึ้น โดยการกระตุ้นให้เกิดการอักเสบที่เอ็นร้อยหวายผ่านคลื่นพลังงาน ควบคู่กับการทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย

หากคุณต้องการปรึกษาแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัด เกี่ยวกับอาการเอ็นร้อยหวายอักเสบ หรือเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับสุขภาพ ที่พรีโมแคร์ เมดิคอล เราพร้อมให้บริการคุณอย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็ฯการตรวจวิเคราะห์ทางกายภาพ หรือการทำกายภาพบำบัดเพื่อรักษาอาการต่างๆ สามารถสอบถามเพิ่มเติม หรือทำการนัดหมายล่วงหน้าเพื่อเข้ารับบริการได้ที่ Line Official @primoCare หรือคลิกที่นี่ 

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

การใช้คลื่นอัลตราซาวด์ในกายภาพบำบัดช่วยได้อย่างไร?

    /    บทความ    /    การใช้คลื่นอัลตราซาวด์ในกายภาพบำบัดช่วยได้อย่างไร?

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

การใช้คลื่นอัลตราซาวด์ในกายภาพบำบัดช่วยได้อย่างไร?

การรักษาด้วยคลื่นอัลตร้าซาวด์ หรือ Ultrasound Therapy เป็นเทคโนโลยีคลื่นเสียงความถี่สูง ซึ่งถูกนำมาใช้เพื่อการรักษาทางกายภาพบำบัด โดยเมื่อคลื่นเกิดการสะสมพลังงานและผลิตความร้อนลึกลงไปยังเนื้อเยื่อได้ประมาณ 3-5 เซนติเมตร โดยความลึกขึ้นอยู่กับความถี่ของคลื่นและประเภทของเนื้อเยื่อ ซึ่งนักกายภาพบำบัดจะพิจารณาการตั้งค่าความถี่, รูปแบบของคลื่น ตามความเหมาะสมของผู้ป่วยเฉพาะบุคคล

ประโยชน์ของ Ultrasound therapy 

  • เพื่อลดอาการปวด
  • เพื่อลดอาการบวม ในระยะอักเสบเฉียบพลัน
  • เพื่อกระตุ้นกระบวนการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ
  • เพื่อลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
  • เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับข้อต่อชั้นลึก
  • เพื่อกระตุ้นการสมานตัวของกระดูก
  • สามารถใช้รักษาในบริเวณที่มีโลหะ แต่ต้องระวังการเกิดความร้อนจากคลื่น

กลุ่มอาการที่เหมาะสมในการรักษาด้วยคลื่นอัลตร้าซาวด์

คลื่นอัลตร้าซาวด์เหมาะกับการใช้ในการรักษาเนื้อเยื่อที่เพิ่งได้รับการบาดเจ็บ ระยะเฉียบพลัน ซึ่งจะมีผลในการเร่งกระบวนการซ่อมแซมและลดระยะการอักเสบของเนื้อเยื่อ โดยกลุ่มอาการที่เหมาะแก่การรักษาโดยคลื่นอัลตร้าซาวด์ มีดังนี้

  • โรคออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) คือ อาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืดเรื้อรัง (Myofascial pain syndrome) เนื่องจากการใช้งานกล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
  • ข้อไหล่ติด (Frozen shoulder) คือ อาการปวดบริเวณหัวไหล่ เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของเอ็นและเยื่อหุ้มข้อไหล่ จนทำให้หนาตัวและเกิดการยึดติดของข้อ ส่งผลให้เกิดอาการปวดไหล่ ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้เต็มช่วง 
  • นิ้วล็อค (Trigger finger) คือ ความผิดปกติของนิ้วมือที่ไม่สามารถงอหรือเหยียดได้เต็มช่วงการเคลื่อนไหว เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของปลอกหุ้มเส้นเอ็นบริเวณข้อนิ้วมือ ทำให้ปลอกหุ้มเอ็นหนาตัว บีบเส้นเอ็นจนมีอาการข้อนิ้วสะดุด
  •  อาการปวดหลังล่าง (Low back pain) คือ อาการปวดบริเวณหลังล่าง ในตำแหน่งหลังชายโครงไปถึงส่วนล่าง และในบางรายอาจมีอาการปวดร้าวมาที่สะโพกร่วมด้วย  โดยสาเหตุอาจเกิดจากตัวกล้ามเนื้อหรือข้อต่อกระดูกสันหลัง
  •  กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis syndrome) คือ ความผิดปกติของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน หดเกร็งตัวกดทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการปวดลึกๆ บริเวณรอบข้อสะโพก ร้าวลงขาทางด้านหลัง ในบางรายมีอาการชาร่วมด้วย
  • ข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis) คือ อาการปวดบริเวณหัวเข่า เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนข้อเข่า ทำให้ข้อเข่าติด เกิดเสียงลั่นในข้อขณะเคลื่อนไหว และไม่สามารถเหยียดหรืองอเข่าได้เต็มช่วงการเคลื่อนไหว 
  • ข้อเท้าแพลง (Ankle sprain) คือ การบาดเจ็บบริเวณข้อเท้า มักเกิดหลังจากการทำกิจกรรมที่มีการลงน้ำหนักที่เท้าและมีการเปลี่ยนทิศทางอย่างรวดเร็ว เช่น เล่นกีฬาหรืออุบัติเหตุ ทำให้เอ็นยึดข้อเท้าเกิดการฉีกขาด

อย่างไรก็ตาม ควรได้รับการซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียดโดยแพทย์และนักกายภาพบำบัด เพื่อหาสาเหตุ, วินิจฉัยและพยากรณ์โรคได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ เพื่อประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีที่สุด

หากคุณต้องการปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับการทำกายภาพบำบัด สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก เรามีบริการครบถ้วน ตั้งแต่การตรวจวิเคราะห์ทางกายภาพ รวมถึงการทำกายภาพบำบัดเฉพาะบุคคล สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่ 

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

เปลี่ยนพฤติกรรม รักษาอาการไมเกรน

    /    บทความ    /    เปลี่ยนพฤติกรรม รักษาอาการไมเกรน

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

เปลี่ยนพฤติกรรม รักษาอาการไมเกรน

ไมเกรน จัดอยู่ในกลุ่มอาการปวดศีรษะชนิดหนึ่ง ลักษณะการปวดจะมีอาการปวดศีรษะแบบตุบๆ อาจปวดข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ความรุนแรงในการปวดจะอยู่ในระดับปานกลางหรือระดับมาก ในบางรายอาจมีอาการผิดปกติอื่นร่วมด้วย เช่น มีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียน เห็นแสงวูบวาบ สายตาเบลอชั่วขณะ 

สาเหตุของอาการปวดศีรษะไมเกรน

สิ่งกระตุ้นพฤติกรรมการใช้ชีวิต (Trigger Factors) อาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แต่สำหรับผู้ที่เป็นไมเกรน การรู้จักสิ่งกระตุ้นเหล่านี้เป็นประโยชน์ในการจัดการกับชีวิตตัวเองได้ ดังนั้นปัจจัยกระตุ้นอาการปวดศีรษะไมเกรนจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย

สาเหตุที่เป็นปัจจัยในการกระตุ้นอาการปวดศีรษะไมเกรน ได้แก่

  • ความเครียด
  • พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป
  • อดอาหาร หรือทานอาหารไม่ตรงเวลา
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
  • ภาพแวดล้อม เช่น แสงจ้า เสียงดัง กลิ่นที่รุนแรง หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศแบบฉับพลัน
  • การใช้ยาบางชนิด
วิธีป้องกันการปวดศีรษะไมเกรน

อาการปวดศีรษะไมเกรนสามารถบรรเทาและป้องกันได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยา การปรับพฤติกรรมและเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงสามารถลดหรือป้องกันการปวดศีรษะจากไมเกรนได้ ดังนี้


  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่ไม่หักโหมจนเกินไป
  • พักผ่อนให้เพียงพอ และนอนให้ตรงเวลาอย่างสม่ำเสมอ
  • เลือกรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ เช่น งดทานอาหารแปรรูป อาหารที่มีรสชาติเค็มจัด
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มคาเฟอีน แอลกอฮอล์
  • ลดความเครียดในชีวิตประจำวัน ด้วยการทำงานอดิเรก หรือกิจกรรมอื่นๆที่ช่วยผ่อนคลายความเครียด
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยอื่นๆที่กระตุ้นให้เกิดอาการ
อย่างไรก็ตาม การเริ่มรับประทานยาบรรเทาปวด อาจจะช่วยลดอาการปวดศีรษะลงได้ โดยการใช้ยานั้นควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ เพื่อที่จะได้รับการรักษาและได้รับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพของตนเอง ได้อย่างถูกต้อง

หากคุณต้องการปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับอาการไมเกรน หรือต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงอย่างยั่งยืน สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก เรามีบริการครบถ้วน ทั้งทางร่างกายและจิตใจ สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่ 

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

PMS อาการของผู้หญิงก่อนมีประจำเดือน แก้ไขได้จากฮอร์โมน

    /    บทความ    /    PMS อาการของผู้หญิงก่อนมีประจำเดือน แก้ไขได้จากฮอร์โมน

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

PMS อาการของผู้หญิงก่อนมีประจำเดือน แก้ไขได้จากฮอร์โมน

 อาการของ PMS มักมีอาการเจ็บคัดตึงเต้านม ปวดท้อง ปวดศีรษะ น้ำหนักขึ้น ส่วนในทางสภาพจิตใจ มักมีอาการกระวนกระวาย อารมณ์แปรปรวน จนคนรอบข้างสังเกตเห็นได้ชัดเจน ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายไปเองหลังประจำเดือนมา 2-3 วัน แต่ในบางรายอาจจะมีอาการรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ สามารถรักษาอาการได้โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ

PMS

PMS (Premenstrual Syndrome) คือ อาการผิดปกติที่จะเกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือนราว 1 – 2 สัปดาห์ ในเพศหญิงช่วงอายุ 20-40 ปี โดยสาเหตุของอาการนั้นมีปัจจัยสำคัญมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิงในช่วงก่อนมีประจำเดือน ทั้งนี้ผู้ที่มีอาการ PMS แต่ละคนอาจพบอาการและความรุนแรงที่แตกต่างกัน โดยอาการมักดีขึ้นภายใน 4 วันหลังจากเริ่มมีประจำเดือน โดยอาการของ PMS สามารถแบ่งออกเป็นทางร่างกาย และทางสภาพจิตใจ ดังนี้

อาการทางด้านร่างกาย ได้แก่

  • เจ็บคัดตึงเต้านม
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดท้อง ท้องอืด
  • มีสิวขึ้น
  • อ่อนล้า 
  • อยากอาหารมากกว่าปกติทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

อาการทางด้านอารมณ์และพฤติกรรม ได้แก่

  • มีอารมณ์แปรปรวน โกรธง่าย หงุดหงิดง่าย
  • ไม่มีสมาธิ เครียด
  • มีอารมณ์เศร้า วิตกกังวล
  • มีพฤติกรรมแยกตัวออกจากสังคม 
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ 
ทั้งนี้ความรุนแรงของ PMS สามารถเพิ่มระดับจนพัฒนาเป็น PMDD หรือ Premenstrual Dysphoric Disorder โดยจะมีความรุนแรงทางด้านอารมณ์มากกว่า PMS คือ มีอารมณ์ก้าวร้าว ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ วิตกกังวลมาก ไม่อยากทำกิจกรรมอะไร มีอารมณ์ซึมเศร้ารุนแรง ซึ่งจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางอย่างเร่งด่วน
 
สาเหตุของ PMS
 
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของกลุ่มอาการนี้ แต่เชื่อว่าเกิดจากเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในช่วงระหว่างการตกไข่ในแต่ละรอบเดือน (ประมาณ 7-10 วันก่อนการมีประจำเดือน) แม้ว่าจะยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิด PMS ที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศและปัจจัยอื่น ๆ ดังนี้
 
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างไข่ตกในแต่ละรอบเดือน ซึ่งเป็นช่วงที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ โดยอาการ PMS จะหายไปในช่วงที่ไม่มีการตกไข่ เช่น ขณะตั้งครรภ์ หรือเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน 
  • การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง ได้แก่มีการเปลี่ยนแปลงของ  Serotonin GABA และ Dopamine จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และมีส่วนกระตุ้นให้เกิดอาการต่างๆข้างต้น ก่อนมีประจำเดือนได้
  • กรรมพันธุ์จากครอบครัว
 ปวดท้องประจำเดือน อาจไม่ใช่ PMS เสมอไป!
 
อาการปวดท้องประจำเดือน อาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับภาวะ PMS แต่ อาจจะเป็นอาการของภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หากปวดไม่มาก สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ อาจจะรับประทานยาแก้ปวด เพื่อบรรเทาอาการได้ แต่ถ้ามีอาการปวดมาก จนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ หรือมีอาการปวดมากขึ้นเรื่อยๆในแต่ละเดือน ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการและสาเหตุที่ชัดเจนว่ามาจากการปวดท้องในช่วงมีประจำเดือน หรือปวดท้องจากโรคแทรกซ้อนอื่นๆ 
 
ทั้งนี้ ผู้ที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ควรมาพบแพทย์เช่นกัน เพื่อวินิจฉัยโรคแทรกซ้อนอื่นๆที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ 
 
การบรรเทาอาการ PMS
 
ในช่วงก่อนมีประจำเดือน สามารถปฏิบัติตัวเพื่อลดอาการปวดท้องประจำเดือนได้ด้วยตนเอง เช่น ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดังนี้
 
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน โปรตีน และใยอาหาร เช่น ธัญพืชขัดสีน้อย ผัก และผลไม้ นม และเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน หลีกเลี่ยงอาหารที่มีเกลือ น้ำตาล และไขมันสูง
  • รับประทานอาหารไขมันต่ำ (Low Fat) ไฟเบอร์สูง เช่น บลูเบอรี่ มะเขือเทศ พริกหยวก เป็นต้น 
  • วางแผนการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อ เมื่อมีอาการอยากกินอาหารบ่อย ให้ลองแบ่งเป็นมื้อเล็กๆ วันละหลายๆ มื้อ เพื่อควบคุมน้ำหนักให้สมดุล
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ 3–5 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที เช่น เดินเร็ว ขี่จักรยาน หรือว่ายน้ำ ซึ่งอาจช่วยบรรเทา อาการซึมเศร้าได้
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง และจัดการกับความเครียดอย่างเหมาะสม เช่น การทำสมาธิ การเล่นโยคะ การนวดผ่อนคลาย และการอ่านหนังสือ
  • หลีกเลี่ยงกาแฟ บุหรี่ สุรา หลีกเลี่ยงของหวาน อาหารเค็ม อาหารรสจัด
  • ทานอาหารเสริม เพื่อเสริมสร้างคสามแข็งแรงของร่างกาย อาทิ รับประทานวิตามินบี 6 วิตามินอี แคลเซียม และแมกนีเซียม ตามคำแนะนำของแพทย์
หากท่านมีอาการ PMS หรือต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการของโรค สามารถเข้ามารับคำแนะนำ หรือรับการรักษาโดยแพทย์ได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก ด้วยบริการ Lifestyle Medicine ที่ให้คำแนะนำตามความต้องการของบุคคล ด้วยแพทย์จากพรีโมแคร์ที่พร้อมให้คำปรึกษาอย่างรอบด้าน ภายใต้การดูเเลอย่างใกล้ชิดจากบุคลากรทางการเเพทย์ของพรีโมเเคร์ สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่ 
 

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

อาการ PCOS คืออะไร? ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบอันตรายมากแค่ไหน?

    /    บทความ    /    อาการ PCOS คืออะไร? ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบอันตรายมากแค่ไหน?

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

อาการ PCOS คืออะไร? ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบอันตรายมากแค่ไหน?

ผู้ป่วย PCOS มักมีอาการหรือรู้สึกถึงความผิดปกติภายหลังจากมีประจำเดือนครั้งแรก ซึ่งภาวะนี้เป็นกลุ่มอาการที่ประกอบด้วยภาวะที่มีฮอร์โมนแอนโดรเจนสูงร่วมกับภาวะไม่ตกไข่เรื้อรัง ภาวะแอนโดรเจนสูงทำให้เกิดภาวะขนดก ผิวหน้ามัน มีสิวมาก การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การรับประทานอาหารและการออกกำลังกายจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น โรคเบาหวาน ครรภ์เป็นพิษ ไขมันในเลือดสูง โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น เป็นต้น

ถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome)

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome: PCOS) เป็นความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ หรือระบบฮอร์โมน ทำให้ผู้ป่วยมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน แอนโดรเจน และอินซูลินอยู่ในภาวะที่ไม่สมดุล เกิดถุงน้ำขนาดเล็กจำนวนหลายใบอยู่ในรังไข่ และมีอาการแสดงของโรคแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยภาวะนี้ถือเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะมีบุตรยากในเพศหญิง รวมถึงทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ การคลอดก่อนกำหนด และการเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์อีกด้วย

สาเหตุของกลุ่มอาการ PCOS

 ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด อาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม หรือหลายๆ ปัจจัยร่วมกัน ข้อมูลในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่า เกิดจากสาเหตุใดเป็นหลัก แต่พบว่ามีปัจจัยบางอย่างที่อาจส่งผลให้เกิด PCOS ดังนี้ 

1. ภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล ทางการแพทย์ยังไม่สามารถยืนยันถึงสาเหตุ ที่ส่งผลให้ฮอร์โมนอยู่ในภาวะไม่สมดุล แต่เป็นไปได้ว่า อาจเกิดจากความผิดปกติของรังไข่เอง ต่อมผลิตฮอร์โมนชนิดต่าง ๆ ในร่างกาย หรือสมองซึ่งมีหน้าที่ควบคุมฮอร์โมน รวมถึงภาวะดื้ออินซูลิน ที่ทำให้ฮอร์โมนมีปริมาณเปลี่ยนไป ความผิดปกติของฮอร์โมนที่มักพบในผู้ป่วย PCOS คือ

– ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนมีปริมาณสูงกว่าปกติ เทสโทสเทอโรน คือฮอร์โมนเพศชายชนิดหนึ่ง โดยปกติจะถูกผลิตขึ้นในร่างกายของเพศหญิงปริมาณเล็กน้อย ระดับเทสโทสเทอโรนที่สูงมากกว่าระดับทั่วไปส่งผลให้ร่างกายเกิดความผิดปกติได้ อาทิ ขนดก ขนหนา หน้ามัน มีสิว เป็นต้น

ฮอร์โมนลูทิไนซิง หรือแอลเอชมีปริมาณสูงกว่าปกติ ลูทิไนซิง คือฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นการตกไข่ ซึ่งหากมีปริมาณมากเกินไป อาจส่งผลให้รังไข่ทำงานไม่ปกติ ส่งผลให้มีบุตรยาก

– Sex Hormone Binding Globulin หรือ SHBG มีปริมาณต่ำกว่าปกติ SHBG คือโปรตีนในเลือดชนิดหนึ่ง มีหน้าที่ช่วยควบคุมปฏิกิริยาของฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนที่มีต่อร่างกาย ปริมาณ SHBG ที่ต่ำลงจึงส่งผลให้ร่างกายผิดปกติจากการทำงานของฮอร์โมนเพศชายที่มากขึ้น

2. ภาวะดื้ออินซูลิน ภาวะดื้อต่ออินซูลินจะมีอาการคล้ายกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กล่าวคือ เมื่อร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินลดลง น้ำตาลในเลือดจึงสูง ทำให้ร่างกายผลิตอินซูลินออกมามากขึ้น เมื่อระดับอินซูลินในร่างกายสูงกว่าปกติจะส่งผลให้รังไข่ถูกกระตุ้นและผลิตฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนออกมามากเกินไป ซึ่งจะไปรบกวนการตกไข่และทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ นอกจากนี้ภาวะดื้อต่ออินซูลินยังเป็นสาเหตุให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น เกิดการสะสมไขมัน เสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนอีกด้วย

3. พันธุกรรม บุคคลที่มีคนใกล้ชิดทางสายเลือดเป็น PCOS จะมีความเสี่ยงต่อการเป็น PCOS มากกว่าบุคคลอื่น ในปัจจุบัน นักวิจัยกำลังศึกษาถึงยีนเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของ PCOS แต่ยังไม่มีผลลัพธ์ออกมาเป็นที่ชัดเจน

อาการกลุ่ม PCOS 

ผู้ป่วย PCOS มักมีอาการหรือรู้สึกถึงความผิดปกติภายหลังจากมีประจำเดือนครั้งแรก ซึ่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน โดยส่วนใหญ่จะแสดงอาการหลัก ดังนี้

  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ (Irregular period) เช่น ประจำเดือนไม่มาติดต่อกันนานหลายเดือน ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนมานานและอาจมามากหรือน้อยผิดปกติ รวมถึงกรณีมาสม่ำเสมอในรอบที่น้อยกว่า 21 วัน หรือ รอบที่มากกว่า 35 วัน
  • ขนดก (Hirsutism) ที่แขน ขา ตามลำตัว มีหนวด เนื่องจากมีฮอร์โมนเพศชายสูง
  • เป็นสิว ผิวมัน (Acne, Oily skin) เนื่องจากเป็นภาวะที่มีฮอร์โมนเพศชายสูง ทำให้มีการสร้างไขมันที่ผิวหนังเพิ่มขึ้น เมื่อเกิดการอักเสบจึงกลายเป็นสิวตามมา
  • ศีรษะล้าน ผมบาง (Male-pattern baldness) จากอิทธิพลของฮอร์โมนเพศชาย
  • ภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน (Obesity) ป่วย PCOS อาจมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นผิดปกติ หรือเกิดความรู้สึกหดหู่ จากอาการผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
  • ไข่ไม่ตก มีบุตรยาก (Infertility) เนื่องจากมีความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศ ประกอบกับเป็นประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ จึงส่งผลให้มีบุตรยาก

การรักษากลุ่ม PCOS

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หากคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (BMI) แล้วผลลัพธ์มีค่ามากกว่า 25 เป็นต้นไป ซึ่งบ่งชี้ว่ามีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ควรหันมาออกกำลังกาย และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักและผลไม้ รวมถึงหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกไขมันและแป้ง เนื่องจากการลดน้ำหนักลงได้แม้เพียงเล็กน้อย จะช่วยบรรเทาอาการป่วยและป้องกันภาวะแทรกซ้อนในอนาคตได้
  • การออกกำลังกาย การศึกษาส่วนใหญ่จะแนะนำให้ออกกำลังกายควบคู่ไปกับการจำกัดอาหาร ส่วนมากแนะนำให้ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อย 120-150 นาทีต่อสัปดาห์ โดยต้องออกกำลังกายแบบ Cardio Exercise with moderate intensity เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะมีภาวะอ้วนร่วมด้วย
  • ป้องกันภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว ได้แก่ รักษาภาวะดื้ออินซูลิน ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด รักษาและป้องกันเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว ฯลฯ
  • รับประทานยา ชนิดของยาที่ต้องรับประทานจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับอาการที่ปรากฎในผู้ป่วยแต่ละราย

– ทานยาคุมกำเนิด ผู้ป่วยที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ แพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวม (มีฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนเป็นส่วนประกอบ) เพื่อช่วยในเรื่องลดการเกิดขนใหม่ หน้ามันน้อยลง สิวน้อยลง และช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นรอบ ทำให้โอกาสเกิดโพรงมดลูกหนาตัวลดลง หรือยาเม็ดคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนตัวเดียว (มีเพียงฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเป็นส่วนประกอบ) โดยช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก 

– ยับยั้งฮอร์โมนเอสโตรเจน ผู้ป่วยที่มีการตกไข่ผิดปกติ การตกไข่ที่ผิดปกติ เช่น ตกไข่ไม่สม่ำเสมอ หรือไม่ตกไข่ ส่งผลให้มีบุตรยาก แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานโคลมีฟีน หรือเลทโทรโซล โดยสูตินรีแพทย์ที่เชี่ยวชาญเรื่องเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์จะเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสมของคนไข้ตามรายบุคคล

หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับพฤติกรรม การรับประทานอาหาร หรือการใช้อาหารเสริม เพื่อช่วยให้ควบคุมกลุ่มอาการของ PCOS ให้ดีขึ้น สามารถเข้ามารับคำแนะนำ หรือรับการรักษาโดยแพทย์ได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก ด้วยบริการ Lifestyle Medicine ที่ให้คำแนะนำตามความต้องการของบุคคล ด้วยแพทย์จากพรีโมแคร์ที่พร้อมให้คำปรึกษาอย่างรอบด้าน ภายใต้การดูเเลอย่างใกล้ชิดจากบุคลากรทางการเเพทย์ของพรีโมเเคร์ สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

การใช้คลื่นกระแทกรักษาอาการปวดเรื้อรัง ( Shockwave Therapy)

    /    บทความ    /    การใช้คลื่นกระแทกรักษาอาการปวดเรื้อรัง ( Shockwave Therapy)

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

การใช้คลื่นกระแทกรักษาอาการปวดเรื้อรัง ( Shockwave Therapy)

 การรักษาด้วยคลื่นกระแทก หรือ Shockwave Therapy เป็นเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้ ในการรักษาทางกายภาพบำบัด แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ Extracorporeal Shockwave Therapy (ESWT) และ Radial Shockwave Therapy (RSWT) ซึ่งทำการรักษาโดยส่งผ่านคลื่นกระแทกไปบริเวณที่มีอาการปวด เพื่อกระตุ้นเนื้อเยื่อให้เกิดการบาดเจ็บใหม่, กระตุ้นการหลั่งสารลดอาการปวด เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรังได้เป็นอย่างดี 

ประโยชน์ของ Shockwave Therapy

  • ลดอาการปวดเรื้อรังบริเวณกล้ามเนื้อ, เอ็น และข้อต่อ
  • กระตุ้นกระบวนการซ่อมแซมของเยื้อเยื่อที่บาดเจ็บ
  • กระตุ้นการสร้างหลอดเลือดใหม่ และเพิ่มไหลเวียนโลหิต
  • กระตุ้นการสลายหินปูนในเส้นเอ็น
  • เร่งการสมานตัวของกระดูก

กลุ่มอาการที่เหมาะสมในการรักษาด้วยคลื่นกระแทก

      การรักษาโดยพลังงานคลื่นกระแทกกับการใช้ในการรักษาเนื้อเยื่อที่ได้รับการบาดเจ็บเรื้อรังและไม่ค่อยตอบสนองด้วยการรักษาด้วยเครื่องมืออื่นๆ ซึ่งส่วนมากจะเห็นผลทันทีหลังการรักษา โดยกลุ่มอาการที่เหมาะแก่การรักษาโดยพลังงานคลื่นกระแทก มีดังนี้

  • โรคออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) คือ อาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืดเรื้อรัง (Myofascial pain syndrome) เนื่องจากการใช้งานกล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
  •  เอ็นข้อศอกด้านนอกอักเสบ (Tennis elbow) คือ อาการปวดบริเวณข้อศอกด้านนอก ซึ่งเกิดจากการใช้งานซ้ำๆของเอ็นกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกระดกข้อมือขึ้น จนเกิดการอักเสบ
  •  ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ (De quervain’s disease) คือ อาการปวดบริเวณโคนนิ้วโป้ง ซึ่งเกิดจากการใช้งานของข้อมือและนิ้วหัวแม่มือในลักษณะเดิมซ้ำๆ จนเกิดการเสียดสีของเอ็นบริเวณนิ้วโป้งกับปลอกหุ้มเอ็นข้อมือ จนเกิดการอักเสบ  
  • เอ็นหัวเข่าอักเสบ (Patellar tendinitis) คือ อาการปวดบริเวณรอบๆ กระดูกสะบ้า ซึ่งเกิดจากการฉีกขาดของเส้นเอ็นบริเวณเหนือลูกสะบ้า มักพบได้บ่อยในนักวิ่ง, นักกีฬากระโดดสูง
  • เอ็นร้อยหวายอักเสบ (Achilles tendinitis) คือ อาการเจ็บบริเวณหลังส้นเท้า ขณะเดินลงน้ำหนัก, เล่นกีฬา หรือทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเกิดจากการใช้งานซ้ำๆของเอ็นร้อยหวาย จนทำให้เกิดการบาดเจ็บ
  • เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ หรือ รองช้ำ (Plantar fasciitis) คือ อาการปวดบริเวณใต้ฝ่าเท้า ซึ่งเกิดจากการตึงตัวของกล้ามเนื้อน่องและเส้นเอ็นใต้ฝ่าเท้า จนเกิดการอักเสบ
  • อื่นๆ ได้แก่ ข้อไหล่ติด (Frozen shoulder), พังผืดกดทับเส้นประสาทข้อมือ (Carpal tunnel syndrome), นิ้วล็อค (Trigger finger), ข้อเข่าเสื่อม (Knee osteoarthritis)

อย่างไรก็ตาม ควรได้รับการซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียดโดยแพทย์และนักกายภาพบำบัด เพื่อหาสาเหตุ, วินิจฉัยและพยากรณ์โรคได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ เพื่อประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีที่สุด

หากคุณต้องการปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับการทำกายภาพบำบัด สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก เรามีบริการครบถ้วน ตั้งแต่การตรวจวิเคราะห์ทางกายภาพ รวมถึงการทำกายภาพบำบัดเฉพาะบุคคล สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่ 

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

อาการสัญญาณเตือน คุณอาจเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า

    /    บทความ    /    อาการสัญญาณเตือน คุณอาจเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

อาการสัญญาณเตือน คุณอาจเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาท 3 ชนิด คือ ซีโรโตนิน นอร์เอปิเนฟริน และโดปามีน เป็นความผิดปกติของสมองในส่วนที่มีผลกระทบต่อความคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม รวมถึงสุขภาพทางกาย ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจึงจำเป็นที่ต้องได้รับการดูแลจาก นักจิตบำบัด หรือจิตแพทย์ เพื่อให้ได้รับการบำบัดอย่างถูกวิธี

โรคซึมเศร้า

การสังเกตตัวเองหรือคนรอบข้างว่าเข้าข่ายโรคซึมเศร้าหรือไม่ สามารถตรวจจากข้อสำรวจง่ายๆ 9 ข้อ หากมีอาการ 5 ข้อขึ้นไป ติดต่อกันเกินกว่า 2 สัปดาห์ อาจเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อวิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไขหรือรักษาต่อไป

  • มีอารมณ์ซึมเศร้า (เด็กหรือวัยรุ่นอาจมีอาการหงุดหงิด โกรธง่าย ต่อต้าน แยกตัว ก้าวร้าว)
  • เบื่อ หมดความสนใจหรือความสุขในการทำกิจกรรมต่างๆ
  • นอนไม่หลับ หรือหลับๆตื่นๆหรือ อยากนอนตลอดเวลา
  • เหนื่อยง่ายหรือไม่ค่อยมีแรง
  • เบื่ออาหารหรือกินมากเกินไป
  • รู้สึกไร้ค่า รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง คิดว่าตัวเองทำให้คนอื่นเดือดร้อน 
  • ไม่มีสมาธิหรือลังเลใจไปหมด 
  • คิดช้า พูดช้า ทำอะไรช้าลงหรือกระวนกระวาย ไม่อยู่นิ่ง
  • มีความคิดอยากตาย คิดทำร้ายตัวเอง
โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า สามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีการรักษาทางจิตใจ และการรักษาด้วยยาหลายชนิด โดยที่แต่ละคนอาจตอบสนอง ต่อการรักษาแต่ละชนิดไม่เท่ากัน บางคนอาจต้องการการรักษาหลายอย่างร่วมกัน การรับประทานยาจะทำให้อาการของโรคดีขึ้นเร็ว ในขณะที่การรักษาทางจิตใจจะช่วยให้คุณเหมือนมี “ภูมิคุ้มกัน”
  • อาหาร ให้กินอาหารครบ 5 หมู่ หากขาดสารอาหารบางอย่างไปจะทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้น เช่น โอเมก้า 3 วิตามิน อี ซี ดี ทองแดง ธาตุเหล็ก
  • การออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายสัปดาห์ละอย่างน้อย 4 วันต่อสัปดาห์ ต่อเนื่องกัน 30-40 นาที เป็นการออกกำลังกายเบาๆ เช่น เดินเร็วก็ได้
  • การพักผ่อน นอนหลับให้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องกาย ให้ตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกสดชื่น ไม่ง่วงหรือยังเพลียอยู่
  • การทำสมาธิ (Mindfulness) เพื่อผ่อนคลายจิตใจ มีงานวิจัยมากมายพบว่าการทำสมาธิช่วยให้สมองผ่อนคลาย ลดความเครียดได้
  • การฝึกคิดบวก ลดการมองตนเองในเชิงลบ เพิ่มมุมมองดีๆเชิงบวก ให้กับตัวเองอยู่เสมอเพื่อสร้างให้จิตใจมีความเข้มแข็ง เอาชนะอุปสรรคในชีวิตได้
การประเมินนี้เป็นการประเมินระดับภาวะซึมเศร้าในขั้นต้น ส่วนการวินิจฉัยนั้นจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อซักประวัติ ตรวจร่างกาย รวมถึงส่งตรวจเพิ่มเติมที่จำเป็น เพื่อยืนยันการวินิจฉัยที่แน่นอน รวมถึงเพื่อแยกโรคหรือภาวะอื่นๆ เนื่องจากภาวะซึมเศร้าสามารถเกิดจากหลายสาเหตุได้มากมาย เช่น โรคทางจิตเวชอื่นที่มีอาการซึมเศร้าร่วมด้วย โรคทางร่างกายเช่นโรคไทรอยด์ โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือเกิดจากยา เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรได้รับการซักประวัติและตรวจร่างกายโดยนักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์อย่างละเอียด เพื่อการวินิจฉัยโรคและทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ถูกต้อง จะส่งผลก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษาดีที่สุด และเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย

หากคุณต้องการปรึกษาแพทย์ เพื่อนัดหมาย พูดคุยกับนักจิตวิทยา สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก เรามีบริการครบถ้วน ทั้งทางร่างกายและจิตใจ สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่ 

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

เสี่ยงหรือไม่? สำรวจตัวเองกับมะเร็งเต้านม

    /    บทความ    /    เสี่ยงหรือไม่? สำรวจตัวเองกับมะเร็งเต้านม

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

เสี่ยงหรือไม่? สำรวจตัวเองกับมะเร็งเต้านม

 มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยอันดับ 1 ในผู้หญิงไทยและทั่วโลก ในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมถึง 0.68 ล้านคน ดังนั้นการตรวจคัดกรองมีความสําคัญมาก เนื่องจากการค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกสามารถรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาในการรักษา และอัตราการเสียชีวิตลงได้

มะเร็งเต้านม (Breast Cancer)

มะเร็งเต้านมเกิดจากเซลล์ของเต้านมที่มีการแบ่งตัวอย่างผิดปกติส่วนใหญ่มักเกิดที่ภายในท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนม และสามารถกระจายออกไปอวัยวะใกล้เคียงเช่นต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ หรือแพร่กระจายไปอยู่อวัยวะที่อยู่ห่างไกล เช่น กระดูก ปอด ตับ และสมอง เช่นเดียวกับมะเร็งชนิดอื่นๆ ทั้งนี้มะเร็งเต้านมพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยผู้ชายมีโอกาสพบได้น้อยมากเพียง1% ของมะเร็งเต้านมทั้งหมด

สาเหตุของมะเร็งเต้านม

  • อายุ ในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปีจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 
  • ฮอร์โมน ฮอร์โมนเพศหญิงมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านม ผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกําเนิดมากกว่า 5 ปี หรือได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนหลังหมดประจําเดือนเป็นระยะเวลานานกว่า 2 ปี จะเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมมากขึ้น
  • ประวัติโรคมะเร็ง ผู้ที่เคยเป็นมะเร็งเต้านมข้างหนึ่ง มีโอกาสเสี่ยงที่จะตรวจพบโรคมะเร็งได้ที่เต้านมอีกข้างหนึ่งได้มากขึ้น
  • พันธุกรรม มะเร็งเต้านมมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับยีน BRCA1, BRCA2 (บีอาร์ซีเอวัน, บีอาร์ซีเอทู) ผู้หญิงที่มีการกลายพันธุ์ของยีน จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น 
  • พฤติกรรม การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์ รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การขาดการออกกําลังกาย ภาวะอ้วนหลังหมดประจําเดือน น้ำหนักเกิน เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

การตรวจเต้านมด้วยตนเองควรทําอย่างน้อยเดือนละครั้ง ช่วงเวลาที่เหมาะสมสําหรับผู้ที่ยังมีประจําเดือน คือ 7-10 วัน หลังจากมีประจําเดือนวันแรก โดยการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ท่านอาจตรวจได้ทั้งในท่ายืน ท่านั่ง หรือท่านอนก็ได้ โดยสามารถสังเกตได้ด้วยตนเองด้วยวิธีการดังนี้

  • การดู โดยให้ท่านยืนหน้ากระจกเงา ปล่อยแขนแนบลําตัวทั้ง 2 ข้าง ตามด้วยท่ายกมือเท้าสะเอว และยกมือทั้ง 2 ข้างไว้เหนือศรีษะ
  • การคลํา หลังจากดูลักษณะเต้านม 2 ข้าง ครบเรียบร้อยแล้ว ให้ท่านคลําบริเวณรักแร้ บริเวณเหนือกระดูกไหปล้าร้าและคลําเต้านมทั้ง 2 ข้าง

สัญญาณผิดปกติ

  • พบก้อนเนื้อบริเวณเต้านม หรือใต้รักแร้ 
  • มีอาการเจ็บผิดปกติที่เต้านม
  • บริเวณเต้านมมีผื่น แดง ร้อน ผื่นคล้ายผิวส้ม
  • ขนาดหรือรูปร่างของเต้านมเปลี่ยนไป ไม่เท่ากันอย่างชัดเจน
  • มีรอยบุ๋มของผิวหนังบริเวณเต้านม หรือหัวนม
  • มีเลือด น้ำเหลือง หรือของเหลวไหลออกมาจากหัวนม 

ทั้งนี้ หากท่านคลำพบเจอสิ่งปกติ ควรที่จะเข้ารับการตรวจรักษาโดยแพทย์เพิ่มเติม เพื่อจะได้เข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง หากคุณต้องการปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับสุขภาพ ที่พรีโมแคร์ เมดิคอล เราพร้อมให้บริการคุณอย่างครบถ้วน สามารถสอบถามเพิ่มเติม หรือทำการนัดหมายล่วงหน้าเพื่อเข้ารับบริการได้ที่ Line Official @primocare หรือคลิกที่นี่  

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

ภาวะเครียดสะสม ที่คุณอาจไม่รู้ตัว

    /    บทความ    /    ภาวะเครียดสะสม ที่คุณอาจไม่รู้ตัว

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

พูดคุยกับนักจิตวิทยาช่วยอะไรได้บ้าง?

ความเครียดเป็นสภาวะของอารมณ์ เมื่อต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์อันตราย ร่างกายจะหลั่งสารสื่อประสาท ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็ว หายใจถี่ขึ้น กล้ามเนื้อหดตัว และความดันโลหิตสูงขึ้น โดยผู้ที่ป่วยเป็นโรคเครียดมักเกิดอาการของโรคทันทีที่เผชิญสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด ในบางรายอาจจะเป็นโรคซึมเศร้า (Depressive disorder) หรือ โรควิตกกังวล (Anxiety disorders) ได้ในอนาคต

ภาวะเครียด

โรคเครียดมีสาเหตุมาจากการพบเจอหรือรับรู้เหตุการณ์อันตรายที่ร้ายแรง ทั้งนี้ความเครียดอาจเกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งความรู้สึกดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายและอารมณ์ ดังนี้ 

  • ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อาทิ ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น เหงื่อออกที่ฝ่ามือ เวียนศีรษะ หายใจไม่สะดวก แน่นหน้าอก หรือนอนไม่หลับ เป็นต้น 
  • ความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ อาทิ รู้สึกกดดันอยู่เสมอ ไม่มีสมาธิ อารมณ์แปรปรวน

ทั้งนี้ภาวะเครียด สามารถที่จะกลายเป็นความเครียดสะสม หรือความเครียดเรื้อรังได้ หากมีอาการเครียดติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จนเกิดความสะสมสร้างความกังวลและรบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ในบางรายที่มีอาการเครียดสะสมมากๆ อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานและคนรอบข้างได้ 

สัญญาณเตือนภาวะเครียด

ภาวะเครียดสามารถก่อให้เกิดผลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ผู้ที่ต้องการสังเกตุว่าตนเองมีภาวะเครียดสะสมหรือไม่ สามารถตรวจสอบความผิดปกติของร่างกาย พฤติกรรม และอารมณ์เบื้องต้นเหล่านี้ เพื่อนำไปสู่การรักษาที่ถูกต้อง

  • สัญญาณทางร่างกาย เช่น หายใจถี่ หัวใจเต้นเร็ว หายใจลำบาก มีอาหารปวดหัว ปวดท้อง นอนไม่หลับ ปวดเมื่อยบริเวณบ่าและคอ ท้องผูกสลับกับท้องเสีย ชาตามปลายมือปลายเท้า
  • สัญญาณทางอารมณ์ เช่น เบื่อหน่ายชีวิต วิตกกังวล มีความต้องการทางเพศลดลง อ่อนไหวง่าย
  • สัญญาณทางพฤติกรรม เช่น นิ่งเงียบ ไม่พูดคุย มั่นใจในตัวเองลดน้อยลง ทานอาหารมากขึ้นหรือน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด เริ่มใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ หรือสนใจที่จะเสพสารเสพติด
  • เกิดโรคแทรกซ้อน ปัญหาทางสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล หรือบุคลิกภาพแปรปรวน

การป้องกัน รักษาภาวะเครียด

ถึงแม้ว่าอาการเครียด หรือกังวลจะเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีภาวะเครียดสะสม ที่ก่อให้เกิดความกังวลและรบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานและคนรอบข้างได้ ดังนั้นผู้ที่มีอาการตรใข้างต้นจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการรักษา หรือป้องกันก่อนเกิดภาวะเครียดสะสม

  • ทำกิจกรรมที่ทำให้คุณรู้สึกสนุกเพลิดเพลินและผ่อนคลาย เช่น การนอนดูหนัง ฟังเพลงสบายๆ หรือออกไปหากิจกรรมกับคนรอบข้าง เช่น เพื่อน คนรัก หรือครอบครัว 
  • ฝึกการผ่อนคลาย เช่น การฝึกหายใจ การทำสมาธิ การฝึกจินตภาพเพื่อเอาชนะความเครียด ความวิตกกังวล จะช่วยให้ชีพจรเต้นช้าลง และคลายความกังวลไปได้บ้าง
  • เปลี่ยนแปลงทัศนคติ เช่น มองความท้าทายว่าเป็นโอกาสในการเรียนรู้และเติบโต หรือใช้หลักการทางศาสนาเข้าช่วยเพื่อให้มีสติและมีความสงบสุขในจิตใจ
  • จัดสรรเวลาในชีวิตประจำวัน โดยการแยกเวลาการทำงาน และเวลาส่วนตัวให้ชัดเจน จัดสรรเวลาเพื่ออยู่กับตัวเอง และทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย
  • ออกกำลังกาย หรือเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เมื่อมีอาการเครียด ร่างกายจะหลั่งสาร Cortisol ซึ่งสามารถช่วยทำให้ร่างกายลดความตึงเครียดโดยการขยับร่างกายวันละ 30 นาที 3 – 5 วันต่อสัปดาห์ 
  • ปรึกษาแพทย์ หากคุณรู้สึกเครียด วิตกกังวล จนไม่สามารถควบคุมความรู้สึกเหล่านี้ได้ การไปพบจิตแพทย์ หรือนักจิตบำบัดจะช่วยบรรเทาอาการเครียดสะสม ผ่านการให้คำปรึกษาและบำบัดอย่างถูกต้อง เพื่อคลายความเครียดอย่างถูกวิธี 

สุขภาพใจมีความสำคัญและต้องการการดูแลไม่ต่างจากสุขภาพกาย หมั่นสังเกตอารมณ์ ความคิด และความรู้สึกของตัวเอง หากท่านต้องการที่จะปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพใจ ให้พรีโมแคร์ช่วยรับฟังและหาทางรับมือปัญหา นัดหมายปรึกษานักจิตวิทยาของเราได้ที่ Line Official @primoCare หรือคลิกที่นี่ 

 

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง