/ บทความ / PMS อาการของผู้หญิงก่อนมีประจำเดือน แก้ไขได้จากฮอร์โมน
PMS อาการของผู้หญิงก่อนมีประจำเดือน แก้ไขได้จากฮอร์โมน

อาการของ PMS มักมีอาการเจ็บคัดตึงเต้านม ปวดท้อง ปวดศีรษะ น้ำหนักขึ้น ส่วนในทางสภาพจิตใจ มักมีอาการกระวนกระวาย อารมณ์แปรปรวน จนคนรอบข้างสังเกตเห็นได้ชัดเจน ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายไปเองหลังประจำเดือนมา 2-3 วัน แต่ในบางรายอาจจะมีอาการรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ สามารถรักษาอาการได้โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ
PMS
PMS (Premenstrual Syndrome) คือ อาการผิดปกติที่จะเกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือนราว 1 – 2 สัปดาห์ ในเพศหญิงช่วงอายุ 20-40 ปี โดยสาเหตุของอาการนั้นมีปัจจัยสำคัญมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิงในช่วงก่อนมีประจำเดือน ทั้งนี้ผู้ที่มีอาการ PMS แต่ละคนอาจพบอาการและความรุนแรงที่แตกต่างกัน โดยอาการมักดีขึ้นภายใน 4 วันหลังจากเริ่มมีประจำเดือน โดยอาการของ PMS สามารถแบ่งออกเป็นทางร่างกาย และทางสภาพจิตใจ ดังนี้
อาการทางด้านร่างกาย ได้แก่
- เจ็บคัดตึงเต้านม
- ปวดกล้ามเนื้อ
- ปวดศีรษะ
- ปวดท้อง ท้องอืด
- มีสิวขึ้น
- อ่อนล้า
- อยากอาหารมากกว่าปกติทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
อาการทางด้านอารมณ์และพฤติกรรม ได้แก่
- มีอารมณ์แปรปรวน โกรธง่าย หงุดหงิดง่าย
- ไม่มีสมาธิ เครียด
- มีอารมณ์เศร้า วิตกกังวล
- มีพฤติกรรมแยกตัวออกจากสังคม
- มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างไข่ตกในแต่ละรอบเดือน ซึ่งเป็นช่วงที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ โดยอาการ PMS จะหายไปในช่วงที่ไม่มีการตกไข่ เช่น ขณะตั้งครรภ์ หรือเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน
- การเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง ได้แก่มีการเปลี่ยนแปลงของ Serotonin GABA และ Dopamine จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และมีส่วนกระตุ้นให้เกิดอาการต่างๆข้างต้น ก่อนมีประจำเดือนได้
- กรรมพันธุ์จากครอบครัว
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน โปรตีน และใยอาหาร เช่น ธัญพืชขัดสีน้อย ผัก และผลไม้ นม และเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน หลีกเลี่ยงอาหารที่มีเกลือ น้ำตาล และไขมันสูง
- รับประทานอาหารไขมันต่ำ (Low Fat) ไฟเบอร์สูง เช่น บลูเบอรี่ มะเขือเทศ พริกหยวก เป็นต้น
- วางแผนการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อ เมื่อมีอาการอยากกินอาหารบ่อย ให้ลองแบ่งเป็นมื้อเล็กๆ วันละหลายๆ มื้อ เพื่อควบคุมน้ำหนักให้สมดุล
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ 3–5 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที เช่น เดินเร็ว ขี่จักรยาน หรือว่ายน้ำ ซึ่งอาจช่วยบรรเทา อาการซึมเศร้าได้
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง และจัดการกับความเครียดอย่างเหมาะสม เช่น การทำสมาธิ การเล่นโยคะ การนวดผ่อนคลาย และการอ่านหนังสือ
- หลีกเลี่ยงกาแฟ บุหรี่ สุรา หลีกเลี่ยงของหวาน อาหารเค็ม อาหารรสจัด
- ทานอาหารเสริม เพื่อเสริมสร้างคสามแข็งแรงของร่างกาย อาทิ รับประทานวิตามินบี 6 วิตามินอี แคลเซียม และแมกนีเซียม ตามคำแนะนำของแพทย์
Reference
- PMS คืออะไร รู้ทันเรื่องฮอร์โมน อาการก่อนมีประจำเดือน
- วิธีแก้ PMS ของสาวๆ
- กลุ่มอาการ PMS (PREMENSTRUAL SYNDROME)
- อาการก่อนมีประจำเดือน