/    บทความ    /    การใช้คลื่นอัลตราซาวด์ในกายภาพบำบัดช่วยได้อย่างไร?

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

การใช้คลื่นอัลตราซาวด์ในกายภาพบำบัดช่วยได้อย่างไร?

การรักษาด้วยคลื่นอัลตร้าซาวด์ หรือ Ultrasound Therapy เป็นเทคโนโลยีคลื่นเสียงความถี่สูง ซึ่งถูกนำมาใช้เพื่อการรักษาทางกายภาพบำบัด โดยเมื่อคลื่นเกิดการสะสมพลังงานและผลิตความร้อนลึกลงไปยังเนื้อเยื่อได้ประมาณ 3-5 เซนติเมตร โดยความลึกขึ้นอยู่กับความถี่ของคลื่นและประเภทของเนื้อเยื่อ ซึ่งนักกายภาพบำบัดจะพิจารณาการตั้งค่าความถี่, รูปแบบของคลื่น ตามความเหมาะสมของผู้ป่วยเฉพาะบุคคล

ประโยชน์ของ Ultrasound therapy 

  • เพื่อลดอาการปวด
  • เพื่อลดอาการบวม ในระยะอักเสบเฉียบพลัน
  • เพื่อกระตุ้นกระบวนการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ
  • เพื่อลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
  • เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับข้อต่อชั้นลึก
  • เพื่อกระตุ้นการสมานตัวของกระดูก
  • สามารถใช้รักษาในบริเวณที่มีโลหะ แต่ต้องระวังการเกิดความร้อนจากคลื่น

กลุ่มอาการที่เหมาะสมในการรักษาด้วยคลื่นอัลตร้าซาวด์

คลื่นอัลตร้าซาวด์เหมาะกับการใช้ในการรักษาเนื้อเยื่อที่เพิ่งได้รับการบาดเจ็บ ระยะเฉียบพลัน ซึ่งจะมีผลในการเร่งกระบวนการซ่อมแซมและลดระยะการอักเสบของเนื้อเยื่อ โดยกลุ่มอาการที่เหมาะแก่การรักษาโดยคลื่นอัลตร้าซาวด์ มีดังนี้

  • โรคออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) คือ อาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืดเรื้อรัง (Myofascial pain syndrome) เนื่องจากการใช้งานกล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
  • ข้อไหล่ติด (Frozen shoulder) คือ อาการปวดบริเวณหัวไหล่ เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของเอ็นและเยื่อหุ้มข้อไหล่ จนทำให้หนาตัวและเกิดการยึดติดของข้อ ส่งผลให้เกิดอาการปวดไหล่ ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้เต็มช่วง 
  • นิ้วล็อค (Trigger finger) คือ ความผิดปกติของนิ้วมือที่ไม่สามารถงอหรือเหยียดได้เต็มช่วงการเคลื่อนไหว เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของปลอกหุ้มเส้นเอ็นบริเวณข้อนิ้วมือ ทำให้ปลอกหุ้มเอ็นหนาตัว บีบเส้นเอ็นจนมีอาการข้อนิ้วสะดุด
  •  อาการปวดหลังล่าง (Low back pain) คือ อาการปวดบริเวณหลังล่าง ในตำแหน่งหลังชายโครงไปถึงส่วนล่าง และในบางรายอาจมีอาการปวดร้าวมาที่สะโพกร่วมด้วย  โดยสาเหตุอาจเกิดจากตัวกล้ามเนื้อหรือข้อต่อกระดูกสันหลัง
  •  กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis syndrome) คือ ความผิดปกติของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน หดเกร็งตัวกดทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการปวดลึกๆ บริเวณรอบข้อสะโพก ร้าวลงขาทางด้านหลัง ในบางรายมีอาการชาร่วมด้วย
  • ข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis) คือ อาการปวดบริเวณหัวเข่า เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนข้อเข่า ทำให้ข้อเข่าติด เกิดเสียงลั่นในข้อขณะเคลื่อนไหว และไม่สามารถเหยียดหรืองอเข่าได้เต็มช่วงการเคลื่อนไหว 
  • ข้อเท้าแพลง (Ankle sprain) คือ การบาดเจ็บบริเวณข้อเท้า มักเกิดหลังจากการทำกิจกรรมที่มีการลงน้ำหนักที่เท้าและมีการเปลี่ยนทิศทางอย่างรวดเร็ว เช่น เล่นกีฬาหรืออุบัติเหตุ ทำให้เอ็นยึดข้อเท้าเกิดการฉีกขาด

อย่างไรก็ตาม ควรได้รับการซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียดโดยแพทย์และนักกายภาพบำบัด เพื่อหาสาเหตุ, วินิจฉัยและพยากรณ์โรคได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ เพื่อประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีที่สุด

หากคุณต้องการปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับการทำกายภาพบำบัด สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก เรามีบริการครบถ้วน ตั้งแต่การตรวจวิเคราะห์ทางกายภาพ รวมถึงการทำกายภาพบำบัดเฉพาะบุคคล สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่ 

Reference