Categories
Uncategorized

อาการสัญญาณเตือน คุณอาจเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า

    /    บทความ    /    อาการสัญญาณเตือน คุณอาจเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

อาการสัญญาณเตือน คุณอาจเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาท 3 ชนิด คือ ซีโรโตนิน นอร์เอปิเนฟริน และโดปามีน เป็นความผิดปกติของสมองในส่วนที่มีผลกระทบต่อความคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม รวมถึงสุขภาพทางกาย ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจึงจำเป็นที่ต้องได้รับการดูแลจาก นักจิตบำบัด หรือจิตแพทย์ เพื่อให้ได้รับการบำบัดอย่างถูกวิธี

โรคซึมเศร้า

การสังเกตตัวเองหรือคนรอบข้างว่าเข้าข่ายโรคซึมเศร้าหรือไม่ สามารถตรวจจากข้อสำรวจง่ายๆ 9 ข้อ หากมีอาการ 5 ข้อขึ้นไป ติดต่อกันเกินกว่า 2 สัปดาห์ อาจเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อวิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไขหรือรักษาต่อไป

  • มีอารมณ์ซึมเศร้า (เด็กหรือวัยรุ่นอาจมีอาการหงุดหงิด โกรธง่าย ต่อต้าน แยกตัว ก้าวร้าว)
  • เบื่อ หมดความสนใจหรือความสุขในการทำกิจกรรมต่างๆ
  • นอนไม่หลับ หรือหลับๆตื่นๆหรือ อยากนอนตลอดเวลา
  • เหนื่อยง่ายหรือไม่ค่อยมีแรง
  • เบื่ออาหารหรือกินมากเกินไป
  • รู้สึกไร้ค่า รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง คิดว่าตัวเองทำให้คนอื่นเดือดร้อน 
  • ไม่มีสมาธิหรือลังเลใจไปหมด 
  • คิดช้า พูดช้า ทำอะไรช้าลงหรือกระวนกระวาย ไม่อยู่นิ่ง
  • มีความคิดอยากตาย คิดทำร้ายตัวเอง
โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า สามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีการรักษาทางจิตใจ และการรักษาด้วยยาหลายชนิด โดยที่แต่ละคนอาจตอบสนอง ต่อการรักษาแต่ละชนิดไม่เท่ากัน บางคนอาจต้องการการรักษาหลายอย่างร่วมกัน การรับประทานยาจะทำให้อาการของโรคดีขึ้นเร็ว ในขณะที่การรักษาทางจิตใจจะช่วยให้คุณเหมือนมี “ภูมิคุ้มกัน”
  • อาหาร ให้กินอาหารครบ 5 หมู่ หากขาดสารอาหารบางอย่างไปจะทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้น เช่น โอเมก้า 3 วิตามิน อี ซี ดี ทองแดง ธาตุเหล็ก
  • การออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายสัปดาห์ละอย่างน้อย 4 วันต่อสัปดาห์ ต่อเนื่องกัน 30-40 นาที เป็นการออกกำลังกายเบาๆ เช่น เดินเร็วก็ได้
  • การพักผ่อน นอนหลับให้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องกาย ให้ตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกสดชื่น ไม่ง่วงหรือยังเพลียอยู่
  • การทำสมาธิ (Mindfulness) เพื่อผ่อนคลายจิตใจ มีงานวิจัยมากมายพบว่าการทำสมาธิช่วยให้สมองผ่อนคลาย ลดความเครียดได้
  • การฝึกคิดบวก ลดการมองตนเองในเชิงลบ เพิ่มมุมมองดีๆเชิงบวก ให้กับตัวเองอยู่เสมอเพื่อสร้างให้จิตใจมีความเข้มแข็ง เอาชนะอุปสรรคในชีวิตได้
การประเมินนี้เป็นการประเมินระดับภาวะซึมเศร้าในขั้นต้น ส่วนการวินิจฉัยนั้นจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อซักประวัติ ตรวจร่างกาย รวมถึงส่งตรวจเพิ่มเติมที่จำเป็น เพื่อยืนยันการวินิจฉัยที่แน่นอน รวมถึงเพื่อแยกโรคหรือภาวะอื่นๆ เนื่องจากภาวะซึมเศร้าสามารถเกิดจากหลายสาเหตุได้มากมาย เช่น โรคทางจิตเวชอื่นที่มีอาการซึมเศร้าร่วมด้วย โรคทางร่างกายเช่นโรคไทรอยด์ โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือเกิดจากยา เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรได้รับการซักประวัติและตรวจร่างกายโดยนักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์อย่างละเอียด เพื่อการวินิจฉัยโรคและทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ถูกต้อง จะส่งผลก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษาดีที่สุด และเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย

หากคุณต้องการปรึกษาแพทย์ เพื่อนัดหมาย พูดคุยกับนักจิตวิทยา สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก เรามีบริการครบถ้วน ทั้งทางร่างกายและจิตใจ สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่ 

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง