Categories
Uncategorized

เช็คอาการ อาหารเป็นพิษ ต้องรีบพบแพทย์ด่วน!

    /    บทความ    /    เช็คอาการ อาหารเป็นพิษ ต้องรีบพบแพทย์ด่วน!

เช็คอาการ อาหารเป็นพิษ ต้องรีบพบแพทย์ด่วน!

เช็คอาการ อาหารเป็นพิษ ต้องรีบพบแพทย์ด่วน!

โรคอาหารเป็นพิษ เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนสารพิษของแบคทีเรียก่อโรคเข้าไป โดยสารพิษเหล่านี้จะเรียกว่า enterotoxin  ซึ่งสารพิษเหล่านี้จะไปกระตุ้นการหลั่งของสารน้ำและเกลือแร่จากเยื่อบุลำไส้เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดอาการท้องเสียตามมา สารพิษที่แบคทีเรียสร้างเหล่านี้มักทนต่อความร้อน แม้จะนำอาหารไปอุ่นให้ร้อนก็ไม่สารถทำลายสารพิษได้ โดยมากมักจะเกิดอาการภายใน 6-24 ชั่วโมง

อาการของโรคอาหารเป็นพิษ

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนนำมาก่อนและเด่นกว่าอาการท้องเสีย อาการคลื่นไส้มีได้ทั้งรุนแรงไม่มากจนถึงรุนแรงมากจนไม่สามารถทานอาหารได้ ส่วนใหญ่มักมีอาการหลังรับประทานอาหารที่สงสัยประมาณ 2-16 ชั่วโมง หลังจากนั้นก็จะมีอาการปวดท้อง ท้องเสียถ่ายเหลวเป็นน้ำตามมา 

  • ถ่ายเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำ 
  • ปวดมวนท้อง 
  • คลื่นไส้ อาเจียน 

อาการของโรคอาหารเป็นพิษชนิดรุนแรง

หากเกิดอาการรุนแรงขึ้น เช่น ท้องเสียมาก อาเจียนมาก มีเลือดปนในอาเจียนหรืออุจจาระ แขนขาอ่อนแรง หายใจลำบาก ตามัวมองเห็นไม่ชัด ปวดท้องอย่างรุนแรงร่วมกับมีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง กระหายน้ำมาก ลุกเดินไม่ไหว ปัสสาวะออกน้อย ควรรีบพบแพทย์ทันที ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง เพราะอาจทำให้ร่างกายเสียน้ำและเกลือแร่จนเป็นอันตรายได้

ทั้งนี้ภาวะอาหารเป็นพิษอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำและเกลือแร่จากการถ่ายท้องและการอาเจียน ซึ่งอาจทำให้ร่างกายเกิดภาวะช็อกและเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน

อาหารเสี่ยงต่อการเกิดอาหารเป็นพิษ

อาหารเป็นพิษเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะในประเทศเขตร้อนอย่างประเทศไทยที่เชื้อโรคสามารถเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี ดังนั้น จึงควรระมัดระวังการรับประทานอาหารอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะอาหารเป็นพิษ โดยหลีกเลี่ยงอาหารดังนี้

  • อาหารสด สุกๆ ดิบๆ หรือผ่านความร้อนไม่เพียงพอ
  • อาหารหมักดอง อาหารกระป๋องที่พบว่ามีรอยบุบ รอยรั่ว หรือขึ้นสนิม
  • อาหารที่ผลิตหรือปรุงไม่สะอาดเพียงพอ เช่น ใช้เขียงหั่นเนื้อสัตว์สดกับผักลวกร่วมกัน
  • อาหารที่มีแมลงวันตอม
  • อาหารที่ปรุงสุกตั้งแต่เช้า โดยไม่มีการอุ่นร้อน
  • อาหารที่มีกะทิเป็นส่วนผสมแล้วปรุงทิ้งไว้นานหลายชั่วโมง
  • น้ำแข็งที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน

การป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ

เราสามารถป้องกันตนเองจากภาวะ “อาหารเป็นพิษ” ได้ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ สะอาด เลือกร้านอาหารที่ไว้ใจได้ หลีกเลี่ยงอาหารสุกๆ ดิบๆ หรืออาหารค้างคืน หากทำกับข้าวเองควรเลือกวัตถุดิบที่เป็นของสดใหม่ เก็บใส่ตู้เย็นแยกเป็นหมวดหมู่ 

  • บริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะ เลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุก สดใหม่ หรือผ่านความร้อน เพื่อช่วยฆ่าเชื้อโรคที่ปนเปื้อนในอาหารก่อนรับประทาน
  • เก็บรักษาอาหารไว้ในที่เย็น เช่น ตู้เย็น เพื่อชะลอการเติบโตของเชื้อโรค หากเก็บอาหารนานเกิน 4 ชั่วโมงหลังปรุงเสร็จ ต้องอุ่นให้ร้อนจัด เพื่อให้ความร้อนฆ่าเชื้อโรคก่อนรับประทานอาหาร 
  • รู้จักเลือกซื้อ บริโภคอาหารที่ปลอดภัย หากต้องเดินทาง หรือสั่งอาหารกล่อง และอย่าปรุงล่วงหน้านาน 
  • เลือกชนิดอาหารที่ไม่บูดเสียง่าย ไม่ควรเป็นอาหารประเภทกะทิ ยำ อาหารสุกๆดิบๆ 
  • มีพฤติกรรมอนามัยที่ดี รักษาความสะอาด เช่น ล้างมือฟอกสบู่ (ก่อนรับประทานอาหาร หรือก่อนปรุงอาหาร)
ทั้งนี้อาการของโรคอาหารเป็นพิษส่วนใหญ่มักไม่รุนแรงและหายได้ภายใน 1 – 2 วัน สามารถดูแลตนเองเบื้องต้นได้ด้วยการดื่มน้ำเกลือแร่ ors และรับประทานอาหารอ่อนๆที่ปรุกสุกสะอาด แต่หากเกิดอาการรุนแรงขึ้น ควรรีบพบแพทย์ทันที

หากท่านต้องการนัดหมายเพื่อเข้ารับการตรวจรักษาจากทีมแพทย์พรีโมแคร์ สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก เราพร้อมดูแลรักษาสุขภาพกายและใจของท่านอย่างครบถ้วน สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่ 

Reference:

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

สัญญาณเตือนประจำเดือนผิดปกติ มาพบแพทย์ด่วน!

    /    บทความ    /    สัญญาณเตือนประจำเดือนผิดปกติ มาพบแพทย์ด่วน!

สัญญาณเตือนประจำเดือน
ผิดปกติ มาพบแพทย์ด่วน!

สัญญาณเตือนประจำเดือนผิดปกติ มาพบแพทย์ด่วน!

ในวัยเจริญพันธุ์จะเริ่มมีประจำเดือนตั้งแต่อายุประมาณ 12 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายกำลังมีการเจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ โดยช่วงเวลาที่มีประจำเดือนในแต่ละครั้ง จะอยู่ในช่วงประมาณ 3-8 วัน ทั้งนี้ประจำเดือนเกิดจากเลือดและเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดออกมาทุกรอบเดือนของผู้หญิง ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทุก 21-35 วันตามการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในแต่ละเดือน ดังนั้นประจำเดือนจึงควรออกเป็นรอบๆ อย่างสม่ำเสมอ ในปริมาณที่เหมาะสม 

ประจำเดือนปกติ

  • เลือด จะต้องเป็นสีแดงสด หรืออาจเปลี่ยนเป็นสีคล้ำขึ้นในช่วงวันท้ายๆ โดยเลือดที่ออกมาจะต้องไม่มีการแข็งตัว ไม่มีลิ่มเลือดขนาดใหญ่หรือชิ้นเนื้อปน บางครั้งประจำเดือนอาจออกมาพร้อมกับตกขาวจึงดูเป็นก้อนได้แต่ไม่อันตราย
  • ปริมาณของเลือด จะอยู่ที่ 30-80 มิลลิลิตร/ รอบเดือนโดยประมาณ ในส่วนเรื่องปริมาณอาจวัดกันค่อนข้างลำบาก เพราะบางคนอาจมีประจำเดือนมากหรือน้อยอยู่แล้ว ให้สังเกตจากความเปลี่ยนแปลงของตนเองที่ไม่เหมือนเดิม หรือสังเกตจากจำนวนผ้าอนามัยที่ใช้มีปริสณเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่
  • ประจำเดือนมักไม่เกิน 7 วันต่อรอบ และมาเพียง 1 รอบต่อเดือน แต่ในบางครั้ง หากมีรอบเดือนในช่วงต้นเดือน อาจมีรอบเดือนอีกครั้งในช่วงวันท้ายๆของเดือนได้
  • ระยะห่างของรอบเดือน ต้องไม่มาถี่เกินไปหรือ ห่างมากเกินไป นับจากวันแรกของเดือนที่ประจำเดือนมาไปจนถึงวันแรกของรอบเดือนหน้าโดยเฉลี่ยสำหรับคนทั่วไปอยู่ที่ 28 วัน
  • อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ท้องอึด ตัวบวม คัดเต้านม หรือปวดหลัง บางคนมีอาการไมเกรนร่วมด้วย ถ้าเคยมีอาการแบบนี้ถือว่าปกติ แต่ถ้าไม่เคยมีอาการมาก่อน แล้วเป็นในภายหลังหรืออาการมากขึ้นๆเรื่อยๆ ควรมาปรึกษาแพทย์
อาการของรอบเดือนที่ไม่ควรมองข้าม
 
กลุ่มอาการจากประจำเดือนของแต่ละคนอาจมีความแตกต่างกัน แต่หากอาการยังคงอยู่เช่นเดิม ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง โดยอาจสังเกตจากลักษณะดังต่อไปนี้
  • มีอาการผิดปกติ เช่น เวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม รวมถึงตรวจพบว่ามีภาวะเลือดจาง
  • เลือดออกยาวนานขึ้น เช่น จากปกติมีรอบเดือนไม่เกิน 7 วัน แต่มียาวนานขึ้นเป็นมากกว่า 10 วัน
  • มีเลือดออกกะปริบกะปรอยนอกรอบเดือน หรือมีประจำเดือนมากกว่า 1 รอบต่อเดือน
  • เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ หรือ มีอาการปวดขณะร่วมเพศ
  • เลือดออกหลังหมดประจำเดือน หลังหมดประจำเดือนแล้ว ฮอร์โมนเพศหญิงจะค่อยๆลดลงจนหมดไป จึงไม่ควรกลับมามีประจำเดือนอีก หากมีเลือดออกจากช่องคลอดควรมาพบแพทย์เพื่อประเมินทุกครั้ง รวมถึงในหญิงวัยหมดประจำเดือนที่ประจำเดือนหมดไปแล้ว ไม่มีควรมีเลือดประจำเดือนออกมาอีก
  • ประจำเดือนไม่มาตามรอบ หรือประจำเดือนไม่มาติดต่อกันหลายเดือน
สาเหตุของประจำเดือนที่ผิดปกติอาจเกิดจาก

  • ความเครียด ความวิตกกังวล
  • อาหาร การอดอาหาร น้ำหนักที่เพิ่มหรือลดลงเร็วเกินไป
  • การรับประทานยาคุมกำเนิด
  • ภาวะอื่นๆ เช่น เนื้องอกในมดลูก ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก โรคถุงน้ำในรังไข่ การตั้งครรภ์ ภาวะรังไข่ล้มเหลวก่อนวัยอันควร การอักเสบหรือติดเชือในโพรงมดลูก หรือระดับฮอร์โมนที่ผิดปกติ
สร้างสมดุลฮอร์โมนให้ร่างกายกลับมาทำงานปกติอีกครั้ง 

อาการบางอย่างอาจเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในช่วงมีประจำเดือน ดังนั้นการสร้างความสมดุลฮอร์โมนโดยการปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน จะช่วยให้ร่างกายกลับมาทำงานอย่างปกติ ทั้งนี้ ฮอร์โมนที่ไม่สมดุลจะกระทบต่อกระบวนการต่างๆ รวมทั้งการมีประจำเดือนด้วย 
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่อย่างสม่ำเสมอ  ควรรับประทานโปรตีนให้เพียงพอ รับประทานไขมันดี ผักผลไม้ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน 
  • เลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ใช้สารเสพติด เพื่อลดอาการปวดก่อนมีประจำเดือน และช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้าย รวมถึงช่วยเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับร่างกายอีกด้วย
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ออกกำลังกายอย่างหักโหม แต่ให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อาทิตย์ละ 3-5 วัน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย 
  • ตรวจภายในและตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงต่อโรคร้าย จะช่วยในการรักษาโรค หรือป้องกันโรคร้ายได้อย่างทันท่วงที รวมถึงฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ HPV ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก
หากท่านต้องการนัดหมายเพื่อเข้ารับการปรึกษาเกี่ยวกับฮอร์โมน หรือเข้าร่วมโปรแกรม Personalized Lifestyle Medicine สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก เราพร้อมดูแลรักษาสุขภาพกายและใจของท่านอย่างครบถ้วน สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่ 

Reference:

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

การออกแบบโปรแกรมทางโภชนาการ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงอย่างยั่งยืน

    /    บทความ    /    การออกแบบโปรแกรมทางโภชนาการ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงอย่างยั่งยืน

ออกแบบโปรแกรมทางโภชนาการ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงอย่างยั่งยืน

การออกแบบโปรแกรมทางโภชนาการ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงอย่างยั่งยืน

ที่พรีโมแคร์ เราออกแบบโปรแกรม Personalized Nutrition ที่ตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพตามหลักโภชนาการ ที่ผ่านการรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ โดยมีแพทย์ผู้ชำนาญการคอยเป็นผู้ให้คำปรึกษา ดูแล และนำการรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามแบบเฉพาะบุคคล

แนวทางการรักษา

สำหรับโปรแกรม Personalized Nutrition ที่พรีโมแคร์ออกแบบมาเฉพาะบุคคลที่ต้องการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ในการรับประทานอาหาร เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงอย่างยั่งยืน โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้

  • ผู้ต้องการควบคุมน้ำหนักอย่างยั่งยืน
  • ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วนระดับ 2 (ค่า BMI สูงกว่า 30)
  • ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ไขมัน ความดัน

 โดยโปรแกรม  Personalized Nutrition ไม่ใช่แต่เป็นโปรแกรมที่มีเป้าหมายในการควบคุม หรือแนะนำ ออกแบบมื้ออาหารเท่านั้น แต่ยังสนใจสุขภาพของผู้เข้ารับบริการแบบองค์รวม ที่จะให้คำปรึกษาเกี่ยวกับทุกแง่มุมของสุขภาพอย่างลึกซึ้ง และต่อเนื่อง ดังนี้

  • ให้คำปรึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ออกแบบมื้ออาหาร
  • ออกแบบกิจกรรมทางกายให้เหมาะสมเฉพาะบุคคล
  • ทีมแพทย์ พยาบาล คอยให้คำแนะนำ ดูแลอย่างใกล้ชิด

ทั้งนี้ผู้ที่เข้ารับการรักษากับโปรแกรม จะได้รับคำปรึกษาโดยตรงจากแพทย์ผู้ชำนาญการด้านโภชนาการ (์Nutritional medicine) ที่จะช่วยออกแบบมื้ออาหารตามจุดมุ่งหมายในด้านสุขภาพของคุณ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนดังนี้


  1. ประเมินภาวะโภชนาการ (Nutrition Assessment) หมายถึง การระบุภาวะโภชนาการของบุคคล โดยอาศัยข้อมูลทางการวัดสัดส่วนต่างๆ ของร่างกาย, ข้อมูลทางห้องปฏิบัติการ, ข้อมูลจากการตรวจร่างกาย, และข้อมูลจากการประเมินอาหารบริโภค ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำมาเทียบกับค่ามาตรฐาน หรือเกณฑ์อ้างอิงทางโภชนาการและทางสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง เพื่อระบุหรือวินิจฉัยปัญหาโภชนาการและสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการในระดับบุคคล
  2. วินิจฉัยทางโภชนาการ (Nutrition Diagnosis) หมายถึง การระบุปัญหาด้านโภชนาการที่เกี่ยวข้องกับโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ (Nutrition problem) โดยขั้นตอนการวินิจฉัยทางด้านโภชนาการถือว่าเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากสามารถประเมินภาวะโภชนาการของผู้ป่วยได้อย่างครบถ้วน และนำมาวิเคราะห์ เพื่อสรุปเป็นปัญหาที่ชัดเจ
  3. วางแผนโภชนาการ (Nutrition Intervention) หมายถึง การวางแผนและออกแบบมื้ออาหาร  เพื่อแก้ไขปัญหาที่ได้วินิจฉัยไว้ ซึ่งสามารถเลือกใช้วิธีการต่าง ๆ ได้หลากหลายขึ้นกับความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย 
  4. ติดตามและประเมินผล (Monitoring and Evaluation) หมายถึง การวัดผลการปฏิบัติตัวตามแผน โดยเป็นการติดตามผลดูว่าผู้ป่วยสามรถปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ได้บรรลุตามเป้าหมายหรือไม่
หากท่านต้องการที่จะนัดหมายเพื่อเข้าโปรแกรม Personalized Nutrition สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก ที่พร้อมดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของท่านอย่างครบถ้วน สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่ 

Reference:

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

รักษาใจที่พรีโมแคร์

    /    บทความ    /    รักษาใจที่พรีโมแคร์

รักษาใจที่พรีโมแคร์

รักษาใจที่พรีโมแคร์

บริการจิตบำบัดที่พรีโมแคร์ เราออกแบบมาเพื่อดูแล ป้องกัน และรักษา เพื่อสุขภาพใจที่แข็งแรงของคุณ ด้วยแนวคิดที่คำนึงถึงผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง เราจึงมุ่งเน้นไปยังการดูเเลทุกองค์ประกอบสุขภาพของคนไข้ รับฟังความคิด ความต้องการ มาเป็นส่วนร่วมในการดูเเลสุขภาพ ภายใต้การดูเเลอย่างใกล้ชิดเเละต่อเนื่อง โดยจะครอบคลุมการดูแลสุขภาพในทุกมิติ ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษา การฟื้นฟู

จิตบำบัด (Psychotherapy)

จิตบำบัดเป็นการใช้เวลาในการพูดคุยเเลกเปลี่ยน เพื่อเยียวยาปัญหาทางด้านจิตใจกับนักจิตวิทยา เพื่อค้นหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดจากประสบการณ์ในชีวิต ส่งผลต่อการปรับตัว มุมมองความเชื่อ การแสดงออกทางพฤติกรรม อารมณ์ และการรับมือกับปัญหา ซึ่งการทำจิตบำบัดสามารถทำได้ด้วยกันหลายวิธีโดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาทักษะการรับมือกับปัญหา ปรับมุมมองความคิด และสามารถแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม 

การทำจิตบำบัดมีประโยชน์ในการรักษาโรคหรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับจิตใจ เช่น อาการเศร้า วิตกกังวล ความเครียดการใช้ชีวิตประจำวัน เหนื่อยล้าจากการทำงาน หรือเหนื่อยล้าจากการดูแลตนในครอบครัว นอกจากนี้ ปัญหาความสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ คนในครอบครัว คู่รัก หรือเพื่อนร่วมงาน ก็อาจได้รับประโยชน์จากการทำจิตบำบัดได้ด้วยเช่นกัน

 

รายละเอียดเพิ่มเติม

  • ภาวะหมดไฟในการทำงาน (burnout syndrome) คือ ภาวะการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจที่เกิดจากความเครียดเรื้อรังในการทำงาน 
  • ภาวะเครียด นำไปสู่ความวิตกกังวล ซึมเศร้า อารมณ์ไม่มั่นคง เปลี่ยนแปลงง่าย 
  • ซึมเศร้า มีอารมณ์เศร้า ท้อแท้ หดหู่ สิ้นหวังอย่างรุนแรง เกิดขึ้นเกือบตลอดทั้งวันติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ร่วมกับเบื่อหน่าย หมดความสนใจในการงานหรือกิจกรรมที่เคยชอบ
  • วิตกกังวล เป็นโรคทางจิตใจที่มีความรุนแรงกว่าความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีอาการตื่นตระหนก กลัว และไม่สบายใจ ไม่สามารถอยู่ในความสงบได้ กระสับกระส่าย กระวนกระวาย
  • ปัญหาความสัมพันธ์ ให้คำปรึกษาปัญหาทางด้านจิตใจที่เกิดทางด้านความสัมพันธ์ อาทิ ครอบครัว คู่รัก เป็นต้น
รักษาใจที่พรีโมแคร์
 
ที่พรีโมเเคร์ เมดิคอล เรามีบริการพิเศษ ที่แบ่งออกเป็น บริการตรวจรักษา และ บริการตรวจป้องกัน สำหรับจิตบำบัด เราพร้อมให้การดูเเลในทุกเเง่มุมสุขภาพ อย่างครบถ้วนทั้งบริการประเมินสุขภาพจิต และให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด เพื่อหาสาเหตุของปัญหาและร่วมหาแนวทางการแก้ไข รวมถึงให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือความคิดเพื่อฟื้นฟูสุขภาพจิต
 
  • ประเมินสุขภาพจิตเบื้องต้น ทดสอบระดับความเครียด ความกดดันสะสม สร้างภูมิคุ้มกันทางใจให้ตนเอง
  • บริการประเมินสุขภาพจิตโดยรวม ทั้งด้านความสัมพันธ์ พฤติกรรม และความคิด
  • บริการให้คำปรึกษาทางด้านจิตใจ พูดคุยเเลกเปลี่ยน เพื่อเยียวยาปัญหาทางด้านจิตใจกับนักจิตวิทยาอย่างใกล้ชิด
หากท่านมีข้อสงสัยเพิ่มเติม หรือต้องการที่จะนัดหมายเพื่อพูดคุยกับนักจิตวิทยา สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก ที่พร้อมดูแลรักษาสุขภาพใจของท่านอย่างครบถ้วน สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่ 
 

Reference:

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

กายภาพบำบัด ช่วยรักษาอาการรองช้ำ

    /    บทความ    /    กายภาพบำบัด ช่วยรักษาอาการรองช้ำ

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

กายภาพบำบัด ช่วยรักษาอาการรองช้ำ

โรครองช้ำ “ภาวะพังผืดฝ่าเท้าอักเสบ” คือภาวะที่เกิดการบาดเจ็บบริเวณพังผืดใต้ฝ่าเท้า ที่เกิดจากความเสื่อมของพังผืดฝ่าเท้า หรือการใช้งานที่มากเกินไป  โดยอาการมักเป็นๆ หายๆ และเป็นมากขึ้นตามลักษณะการใช้งาน การอักเสบจะเกิดขึ้นที่เอ็นบริเวณส้นเท้าต่อเนื่องไปจนถึงเอ็นร้อยหวาย ทั้งนี้โรครองช้ำสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการรักษาทางกายภาพบำบัด จะมีการใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดร่วมด้วย เพื่อกระตุ้นการซ่อมแซมพังผืดเท้าบริเวณที่บาดเจ็บ ร่วมกับการบริหารร่างกาย

โรครองช้ำ (Plantar Fasciitis)

ผู้ที่เป็นโรครองช้ำจะมีอาการปวดและกดเจ็บบริเวณส้นเท้า ซึ่งหากปล่อยให้เรื้อรังจะรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่สามารถเดินหรือทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างสะดวก โรครองช้ำมักพบอาการ ดังนี้ 

  • มีอาการเจ็บด้านในของส้นเท้าในก้าวแรกหลังตื่นนอนตอนเช้า หรือหลังจากที่นั่งเป็นเวลานาน 
  • ไม่สามารถเดินลงน้ำหนักได้เต็มที่ในก้าวแรก แต่ถ้าเดินไปสักระยะอาการเจ็บส้นเท้าจะลดลง
  • อาการเจ็บจะมากขึ้นในช่วงท้ายของวัน หรือเมื่อมีการเพิ่มขึ้นของกิจวัตรประจำวัน 
  • มีจุดกดเจ็บบริเวณส้นเท้าด้านใน

ทั้งนี้ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดความเสี่ยงเป็นโรครองช้ำ ได้แก่

  1. เส้นเอ็นร้อยหวายหรือพังผืดฝ่าเท้าตึงเกินไป ไม่ยืดหยุ่น ซึ่งอาจเกิดได้จากการไม่ค่อยได้ยืดคลายเส้นเอ็น หรือใช้งานเป็นเวลานาน เช่น การยืนหรือเดินเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้พังผืดฝ่าเท้าตึง และทำให้เป็นโรครองช้ำในที่สุด
  2. เส้นเอ็นเสื่อม จากอายุที่มากขึ้น ซึ่งเส้นเอ็นที่เริ่มเสื่อมนั้นจะมีอาการบวม อักเสบ จึงทำให้เจ็บบริเวณบริเวณส้นเท้า
  3. ผู้ที่มีน้ำหนักมาก จะมีความเสี่ยงเป็นรองช้ำได้ง่ายกว่าคนปกติ เนื่องจากน้ำหนักที่เกินจะทำให้พังผืดฝ่าเท้ารับแรงกระแทกมากขึ้น
  4. ผู้ที่มีความผิดปกติการเดิน และการลงน้ำหนักผิดไปจากปกติ จะมีปัจจัยเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งอาจเกิดมาจากอาการ ออฟฟิศซินโดรม ปวดหลัง ปวดข้อต่างๆ ที่ทำให้การเดินลงน้ำหนักผิดปกติ
  5. สวมใส่รองเท้าที่ไม่ถูกสุขลักษณ ะ เช่น การใส่รองเท้าพื้นแข็ง ยืนตลอดทั้งวัน หรือการทำงานที่ต้องเดินทั้งวัน อาจทำให้เกิดอาการรองช้ำได้
ปรับพฤติกรรมเพื่อสุขภาพที่ดีกว่า 
 
เมื่อทราบถึงสาเหตุของอาการที่ทำให้เกิดอาการลองช้ำ ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของคุณ เพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืนกันดีกว่า
  • สวมใส่รองเท้าที่เหมาะสม ไม่ใส่รองเท้าแตะที่มีพื้นแข็ง โดยรองเท้าที่แนะนำคือรองเท้ากีฬา รองเท้าวิ่งที่พื้นรองเท้านิ่ม
  • หมั่นยืดเหยียดคลายเส้นเอ็น ยืดเส้นเอ็นกล้ามเนื้อน่องเป็นประจำ โดยเฉพาะในคนที่มักมีอาการน่องตึงจากการทำงานหนัก ยืนหรือเดินเป็นระยะเวลานาน จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรครองช้ำได้
  • ปรับน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อลดแรงกระแทกพังผืดฝ่าเท้า เพื่อให้ใช้งานได้อย่างปกติ และไม่รบกวนชีวิตประจำวัน
กายภาพบำบัดช่วยได้

ป่วยโรครองช้ำสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด โดยการรักษาทางกายภาพบำบัดจะมีการใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดร่วมด้วย เพื่อให้ระยะของการอักเสบผ่านไปเร็วขึ้นและกระตุ้นการซ่อมแซมพังผืดเท้าบริเวณที่บาดเจ็บ ร่วมกับการบริหารร่างกาย เช่น การยืดกล้ามเนื้อน่อง, การยืดพังผืดเท้า หรือการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดเล็กภายในฝ่าเท้า

  • การรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shock wave therapy) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ลดอาการปวด
  • การรักษาด้วยอัลตราซาวด์ (Ultrasound Therapy) โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อลดอาการปวดอักเสบของเนื้อเยื่อ อาการบวม เร่งการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ ช่วยคลายกล้ามเนื้อที่เกร็ง รวมไปถึงเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับข้อต่อในชั้นลึก
ทั้งนี้นักกายภาพบำบัดจะทำการตรวจประเมินร่างกายโดยละเอียด หากพบการอักเสบ ปวด บวมของผังพืดฝ่าเท้า หรือปวดตึงไปตามขาหรือน่อง จึงจะรักษาด้วยเครื่องมือทางกายภาพบำบัด และสอนการทำกายบริหาร เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ โดยไม่จำเป็นต้องรับประทานยา หรือ เข้ารับการผ่าตัดแต่อย่างใด

หากท่านต้องการที่จะนัดหมายเพื่อฟื้นฟูกระดูกเเละกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆของร่างกาย  สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก ที่พร้อมดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของท่านอย่างครบถ้วน สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่ 

Reference:

บทความที่เกี่ยวข้อง