/    บทความ    /    กายภาพบำบัด ช่วยรักษาอาการรองช้ำ

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

กายภาพบำบัด ช่วยรักษาอาการรองช้ำ

โรครองช้ำ “ภาวะพังผืดฝ่าเท้าอักเสบ” คือภาวะที่เกิดการบาดเจ็บบริเวณพังผืดใต้ฝ่าเท้า ที่เกิดจากความเสื่อมของพังผืดฝ่าเท้า หรือการใช้งานที่มากเกินไป  โดยอาการมักเป็นๆ หายๆ และเป็นมากขึ้นตามลักษณะการใช้งาน การอักเสบจะเกิดขึ้นที่เอ็นบริเวณส้นเท้าต่อเนื่องไปจนถึงเอ็นร้อยหวาย ทั้งนี้โรครองช้ำสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการรักษาทางกายภาพบำบัด จะมีการใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดร่วมด้วย เพื่อกระตุ้นการซ่อมแซมพังผืดเท้าบริเวณที่บาดเจ็บ ร่วมกับการบริหารร่างกาย

โรครองช้ำ (Plantar Fasciitis)

ผู้ที่เป็นโรครองช้ำจะมีอาการปวดและกดเจ็บบริเวณส้นเท้า ซึ่งหากปล่อยให้เรื้อรังจะรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่สามารถเดินหรือทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างสะดวก โรครองช้ำมักพบอาการ ดังนี้ 

  • มีอาการเจ็บด้านในของส้นเท้าในก้าวแรกหลังตื่นนอนตอนเช้า หรือหลังจากที่นั่งเป็นเวลานาน 
  • ไม่สามารถเดินลงน้ำหนักได้เต็มที่ในก้าวแรก แต่ถ้าเดินไปสักระยะอาการเจ็บส้นเท้าจะลดลง
  • อาการเจ็บจะมากขึ้นในช่วงท้ายของวัน หรือเมื่อมีการเพิ่มขึ้นของกิจวัตรประจำวัน 
  • มีจุดกดเจ็บบริเวณส้นเท้าด้านใน

ทั้งนี้ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดความเสี่ยงเป็นโรครองช้ำ ได้แก่

  1. เส้นเอ็นร้อยหวายหรือพังผืดฝ่าเท้าตึงเกินไป ไม่ยืดหยุ่น ซึ่งอาจเกิดได้จากการไม่ค่อยได้ยืดคลายเส้นเอ็น หรือใช้งานเป็นเวลานาน เช่น การยืนหรือเดินเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้พังผืดฝ่าเท้าตึง และทำให้เป็นโรครองช้ำในที่สุด
  2. เส้นเอ็นเสื่อม จากอายุที่มากขึ้น ซึ่งเส้นเอ็นที่เริ่มเสื่อมนั้นจะมีอาการบวม อักเสบ จึงทำให้เจ็บบริเวณบริเวณส้นเท้า
  3. ผู้ที่มีน้ำหนักมาก จะมีความเสี่ยงเป็นรองช้ำได้ง่ายกว่าคนปกติ เนื่องจากน้ำหนักที่เกินจะทำให้พังผืดฝ่าเท้ารับแรงกระแทกมากขึ้น
  4. ผู้ที่มีความผิดปกติการเดิน และการลงน้ำหนักผิดไปจากปกติ จะมีปัจจัยเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งอาจเกิดมาจากอาการ ออฟฟิศซินโดรม ปวดหลัง ปวดข้อต่างๆ ที่ทำให้การเดินลงน้ำหนักผิดปกติ
  5. สวมใส่รองเท้าที่ไม่ถูกสุขลักษณ ะ เช่น การใส่รองเท้าพื้นแข็ง ยืนตลอดทั้งวัน หรือการทำงานที่ต้องเดินทั้งวัน อาจทำให้เกิดอาการรองช้ำได้
ปรับพฤติกรรมเพื่อสุขภาพที่ดีกว่า 
 
เมื่อทราบถึงสาเหตุของอาการที่ทำให้เกิดอาการลองช้ำ ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของคุณ เพื่อสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืนกันดีกว่า
  • สวมใส่รองเท้าที่เหมาะสม ไม่ใส่รองเท้าแตะที่มีพื้นแข็ง โดยรองเท้าที่แนะนำคือรองเท้ากีฬา รองเท้าวิ่งที่พื้นรองเท้านิ่ม
  • หมั่นยืดเหยียดคลายเส้นเอ็น ยืดเส้นเอ็นกล้ามเนื้อน่องเป็นประจำ โดยเฉพาะในคนที่มักมีอาการน่องตึงจากการทำงานหนัก ยืนหรือเดินเป็นระยะเวลานาน จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรครองช้ำได้
  • ปรับน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อลดแรงกระแทกพังผืดฝ่าเท้า เพื่อให้ใช้งานได้อย่างปกติ และไม่รบกวนชีวิตประจำวัน
กายภาพบำบัดช่วยได้

ป่วยโรครองช้ำสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด โดยการรักษาทางกายภาพบำบัดจะมีการใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดร่วมด้วย เพื่อให้ระยะของการอักเสบผ่านไปเร็วขึ้นและกระตุ้นการซ่อมแซมพังผืดเท้าบริเวณที่บาดเจ็บ ร่วมกับการบริหารร่างกาย เช่น การยืดกล้ามเนื้อน่อง, การยืดพังผืดเท้า หรือการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดเล็กภายในฝ่าเท้า

  • การรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shock wave therapy) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ลดอาการปวด
  • การรักษาด้วยอัลตราซาวด์ (Ultrasound Therapy) โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อลดอาการปวดอักเสบของเนื้อเยื่อ อาการบวม เร่งการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ ช่วยคลายกล้ามเนื้อที่เกร็ง รวมไปถึงเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับข้อต่อในชั้นลึก
ทั้งนี้นักกายภาพบำบัดจะทำการตรวจประเมินร่างกายโดยละเอียด หากพบการอักเสบ ปวด บวมของผังพืดฝ่าเท้า หรือปวดตึงไปตามขาหรือน่อง จึงจะรักษาด้วยเครื่องมือทางกายภาพบำบัด และสอนการทำกายบริหาร เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ โดยไม่จำเป็นต้องรับประทานยา หรือ เข้ารับการผ่าตัดแต่อย่างใด

หากท่านต้องการที่จะนัดหมายเพื่อฟื้นฟูกระดูกเเละกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆของร่างกาย  สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก ที่พร้อมดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของท่านอย่างครบถ้วน สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่ 

Reference: