Categories
Uncategorized

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19

    /    บทความ    /    วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19

ไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นสาเหตุที่สำคัญของการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน พบได้บ่อยในประชากรทุกกลุ่มอายุ อาการแสดงมีตั้งแต่อาการไข้ ไอ น้ำมูกไหล เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ไปจนถึงภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ปอดบวม สมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตับอักเสบ ฯลฯ พบอัตราป่วยประมาณร้อยละ 10-20 ของประชากร กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคเรื้อรัง และผู้ที่เป็นโรคอ้วน มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง

วัคซีนไข้หวัดใหญ่

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่นั้นสามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป ทั้งนี้วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทยเป็นไวรัสชนิดเชื้อตาย มีความปลอดภัยสูง และมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เดียวหรือใกล้เคียงกับวัคซีนได้ 70-90% ทั้งนี้ควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี เนื่องจากแต่ละสายพันธุ์จะแตกต่างกันในแต่ละปี โดยวัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถฉีดได้ตลอดปี แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสม คือ ก่อนฤดูฝน และก่อนฤดูหนาวเนื่องจากเป็นช่วงที่เริ่มมีการระบาด

กลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

  • หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป 
  • เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปีทุกคน 
  • ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อาทิ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย เบาหวาน
  • ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการได้รับเคมีบำบัด
  • กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
  • ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมถึงผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ)
  • ผู้ป่วยโรคอ้วน (น้ำหนัก>100 กิโลกรัม หรือ BMI >35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร)
  • ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
  • บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล

วัคซีนไข้หวัดใหญ่จำเป็นอย่างไรในช่วงโควิด-19?

อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่าวัคซีนไข้หวัดใหญ่นั้นช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ เพราะแต่ละวัคซีนย่อมมีคุณสมบัติการป้องกันโรคแต่ละชนิดแตกต่างกันไป ไม่สามารถใช้แทนกันได้ โดยนอกจากการป้องกันและช่วยลดการแพร่กระจายของโรคไข้หวัดใหญ่แล้ว ประโยชน์ของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่จะได้รับมีดังต่อไปนี้

  • ลดอาการรุนแรง ลดการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและอัตราการเสียชีวิต ซึ่งอาจเพิ่มขึ้นทวีคูณหากติดเชื้อไข้หวัดใหญ่และโควิด-19 พร้อมกัน โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป หญิงตั้งครรภ์ เด็กเล็ก และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เป็นต้น
  • ลดความสับสนในการตรวจแยกการติดเชื้อระหว่างไข้หวัดใหญ่และโควิด-19 เพราะเมื่อฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่แล้วก็มีความเสี่ยงไม่มากที่อาการที่เกิดขึ้นจะมาจากโรคไข้หวัดใหญ่ ทั้งยังช่วยเพิ่มศักยภาพในการตรวจผู้เชื้อโควิด-19 เพราะการตรวจที่แม่นยำของ 2 โรคนี้จะใช้วิธีเดียวกัน คือการตรวจแบบ PCR
  • ป้องกันการแพร่เชื้อไข้หวัดใหญ่ไปสู่ครอบครัวและบุคคลอื่น เนื่องจากโรคไข้หวัดใหญ่และโรคโควิด-19 มีอาการคล้ายคลึงกัน จึงอาจส่งผลต่อการตรวจวินิจฉัยและการรักษาของแพทย์ได้ หากผู้ป่วยติดเชื้อ 2 โรคนี้พร้อมกัน จะทำให้อาการป่วยรุนแรงขึ้น อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มมากขึ้น และมีโอกาสเสียชีวิตสูงขึ้นด้วย

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ สามารถฉีดพร้อมกับวัคซีนป้องกันโควิด-19ได้เลย!

สามารถฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ พร้อมกับวัคซีนโควิด-19 ได้ โดยแนะนำให้ฉีดที่แขนคนละข้าง เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสคนละชนิดกัน ประชาชนควรได้รับวัคซีนทั้ง 2 ตัว ทั้งนีโรคไข้หวัดใหญ่ และ โรคโควิด-19 มีโอกาสที่จะติดเชื้อร่วมกันได้ เมื่อเกิดการติดเชื้อร่วมกัน จะส่งผลให้อาการป่วยรุนแรงขึ้น และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ป้องกันไว้ก่อนคือสิ่งที่เราทำได้ในตอนนี้เพื่อลดความเสี่ยง 

หากท่านต้องการที่จะนัดหมายเพื่อฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่  พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก  เราพร้อมดูแลรักษาสุขภาพร่างกาย และจิตใจของท่านให้แข็งแรงอย่างครบถ้วน ส่งเสริม ป้องกันเเละรักษา สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่ 

References

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

ความแตกต่างระหว่าง นวดจัดกระดูก และ กายภาพบำบัด

    /    บทความ    /    ความแตกต่างระหว่าง นวดจัดกระดูก และ กายภาพบำบัด

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

ความแตกต่างระหว่าง นวดจัดกระดูก และ กายภาพบำบัด

การนวดจัดกระดูกและกายภาพบำบัดเป็นการรักษาแบบไม่ใช้ยา และไม่มีการผ่าตัด โดยมีความแตกต่างคือการนวดจัดกระดูกหรือไคโรแพรกติก เน้นการรักษาโดยคำนึงถึงความสมดุลของกระดูกสันหลัง โดยใช้มือดัด ดึง กระแทกให้ข้อต่อต่างๆ อยู่ในตำแหน่งเหมาะสม ร่วมกับการใช้เครื่องมือช่วย ทั้งนี้การรักษาด้วยกายภาพบำบัด คือการใช้ศาสตร์ฟื้นฟูสุขภาพด้วยการออกกำลังกายและใช้อุปกรณ์เสริม เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยลดอาการบาดเจ็บของร่างกาย และสามารถกลับมาใช้ร่างกายให้เป็นปกติให้มากที่สุด

นวดจัดกระดูก (Chiropractic)

ไคโรแพรคติก (Chiropractic) ถือเป็นศาสตร์วิชาการแพทย์แขนงหนึ่งของการดูแลสุขภาพที่ คำนึงถึงความสมดุลของกระดูกสันหลังโดยเน้นความสัมพันธ์ระหว่างสรีรวิทยาและความสมบูรณ์ของโครงสร้าง ไปจนถึงการรักษาฟื้นฟูโครงสร้างที่นำไปสู่สุขภาพที่ดีโดยรวม ส่วนที่จะได้รับการเน้นเป็นสำคัญในการทำไคโรแพรคติก หรือนวดจัดกระดูก จะเน้นการจัดกระดูกสันหลังตลอดแนว ตั้งแต่ส่วนคอลงไปถึงก้นกบ ไคโรแพรคติก ให้ความสนใจกับส่วนสำคัญของร่างกาย 4 ส่วนใหญ่ๆ คือ

  1. กระดูกสันหลัง (Spine) 
  2. ระบบประสาท (Nervous System) 
  3. ลักษณะโครงสร้างของร่างกาย (Structure) 
  4. โภชนาการด้านอาหาร วิตามิน (Nutrition) 

การรักษานวดจัดกระดูก

หลักของการรักษาด้วยไคโรแพรคติกคือการจัดเรียงกระดูกให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูตนเองจากการเจ็บป่วย แนวทางการรักษานั้น แพทย์ไคโรแพรคติกจะนำเทคนิคการบำบัดข้อกระดูกและการฟื้นฟูกล้ามเนื้อที่มีปัญหามาใช้ในการปรับโครงสร้างด้วยวิธีการปรับ เพื่อทำให้กระดูกสันหลังขยับได้ปกติและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ต้องอาศัยยาและการผ่าตัด ซึ่งนับว่าเป็นวิธีการรักษาแบบ Non-Invasive โดยการนวดจัดกระดูกสามารถรักษาผู้ป่วยที่มีอาการต่างๆ ดังนี้  

  • ผู้ที่มีอาการคอเคล็ด ปวดคอ ปวดไหล่ ปวดหลัง
  • ผู้ที่มีอาการกล้ามเนื้ออักเสบ และปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ อาทิ คอ บ่า ไหล่ หลัง และแขน
  • ผู้ที่มีอาการปวดจากโรคข้อกระดูกอักเสบหรือเสื่อมสภาพ

กายภาพบำบัด (Physical Therapy)

กายภาพบำบัดคือ คือ ศาสตร์ฟื้นฟูสุขภาพด้วยการออกกำลังกายและใช้อุปกรณ์พิเศษ ทั้งในแง่ของการส่งเสริม, ป้องกัน, รักษา และฟื้นฟูสุขภาพร่างกาย โดยใช้วิธีตามหลักวิทยาศาสตร์และการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางกายภาพบำบัดโดยมีเป้าหมายทั้งในด้านการดูแลสุขภาพร่างกาย การป้องกันภาวะโรคต่าง ๆการฟื้นฟูสุขภาพ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงและการเคลื่อนไหวของร่างกาย รวมทั้งช่วยให้รู้จักวิธีป้องกันการได้รับบาดเจ็บอันเป็นสาเหตุให้ร่างกายเสื่อมสมรรถภาพในการเคลื่อนไหว 

การรักษาทางกายภาพบำบัด 

การทำกายภาพบำบัดมีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น โดยการตรวจประเมินผู้ป่วยแต่ละราย วิเคราะห์ปัญหาของผู้ป่วย โดยใช้หลักการของการเคลื่อนไหวกายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยาและทฤษฎีต่างๆ ที่ผสมผสาน เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วย อาทิ
 
  • การออกกำลังกาย คือกิจกรรมที่เพิ่มเติมมาจากกิจกรรมทั่วไปที่ทำในแต่ละวัน ซึ่งช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น ความแข็งแรง ความทนทานของร่างกายและการทำงานประสานกันระหว่างระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ประกอบไปด้วย การยืดกล้ามเนื้อ เพิ่มความแข็งแรงร่างกาย และ ยกน้ำหนัก เป็นต้น
  • การนวด คือการทำกายภาพบำบัดด้วยมือ เพื่อช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ลดอาการเจ็บปวด และเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่ร่างกาย โดยใช้วิธีการต่างๆ เช่น ขยับข้อต่อ (Mobilization) ดัดข้อต่อ (Manipulation) เป็นต้น
  • การใช้เครื่องมือต่างๆ งานกายภาพบำบัดมีอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัยเพื่อช่วยในการฟื้นฟูผู้ป่วยแต่ละรายให้มีพัฒนาการของอาการที่ดีขึ้น เพื่อช่วยให้การบริการมีประสิทธิภาพสูงสุด ได้แก่ รักษาด้วยคลื่นอัลตราซาวด์ (Ultrasound Therapy) กระตุ้นด้วยไฟฟ้า (Electrical Stimulation) เครื่องเลเซอร์กำลังสูง (High Power Laser Therapy) เครื่องรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shock wave Therapy)เป็นต้น
 ผู้ที่เหมาะกับการทำกายภาพบำบัด 
การทำกายภาพบำบัดสามารถทำได้ทั้งก่อน-หลังมีอาการผิดปกติต่างๆ เพราะเป็นการดูแลและฟื้นฟูระบบการทำงานในร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อ กระดูก การไหลเวียนเลือด ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้การทำกายภาพบำบัดใช้รักษาผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับอาการปวดหลัง ปวดคอ ได้รับบาดเจ็บ หรือป่วยเป็นโรคอื่นๆ ที่ทำให้ต้องเข้ารับการรักษา ดังนี้

  • ฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายหลังได้รับบาดเจ็บ 
  • ผู้ที่มีอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม
  • ผู้ที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อต่อได้สุดช่วงการเคลื่อนไหว เช่น ข้อไหล่ติด ข้อเข่าติด นิ้วล็อค 
  • ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำกิจกรรม เช่น ออกกำลังกาย  เล่นกีฬา   
  • ผู้ที่เริ่มมีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย เช่น ปวดคอ ปวดบ่า ปวดไหล่ ปวดแขน ปวดหลัง  ปวดสะโพก  ปวดเข่า  ปวดขา ปวดข้อเท้า  
หากท่านต้องการที่จะนัดหมายเพื่อปรึกษาพูดคุยกับแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัด สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก เราพร้อมดูแลรักษาสุขภาพร่างกาย และจิตใจของท่านให้แข็งแรงอย่างครบถ้วน ส่งเสริม ป้องกันเเละรักษา สุขภาพกาย โดยใช้การบริหาร ออกกำลังกาย ไปจนถึงการใช้เครื่องมือเฉพาะทาง สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่ 


References

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

เอ็นหัวไหล่อักเสบ

    /    บทความ    /    เอ็นหัวไหล่อักเสบ

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

เอ็นหัวไหล่อักเสบ

การอักเสบของเส้นเอ็นข้อไหล่เกิดจากการใช้งานไหล่ซ้ำๆ เป็นระยะเวลานาน โดยการใช้งานหัวไหล่หนักเกินไป จะทำให้เอ็นรอบข้อไหล่อักเสบ หรือฉีกขาดได้ ทั้งนี้หากเริ่มมีอาการปวดไหล่ อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา เพราะเอ็นหัวไหล่อักเสบนั้น เส้นเอ็นหัวไหล่ไม่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ หากฉีกขาดแล้วปล่อยทิ้งไว้ จะนำไปสู่ภาวะ ข้อไหล่เสื่อมจนต้องผ่าตัดได้ 

เอ็นหัวไหล่อักเสบ (Rotator cuff tendinitis)

อาการเอ็นหัวไหล่อักเสบ เป็นการอักเสบของเอ็นกล้ามเนื้อ โรเทเตอร์ คัฟฟ์ (Rotator cuff) หรือเอ็นรอบข้อไหล่ ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ 4 มัด มีหน้าที่ช่วยพยุงหัวกระดูกต้นแขนให้อยู่ในเบ้าข้อไหล่ โดยโรคนี้มักจะใช้เวลาในการเกิด สาเหตุอาจเกิดมาจากการใช้งานซ้ำๆ การใช้งานที่หนักเกินไป หรืออุบัติเหตุไหล่กระแทก เป็นต้น

อาการของโรคเอ็นหัวไหล่อักเสบ

  • มีอาการปวดตำแหน่งชัดเจน ปวดเฉพาะบางท่าหรือแค่บางช่วงของการเคลื่อนไหว
  • ขยับได้ลดลงในทิศที่มีอาการปวด
  • ปวดและบวมที่ด้านหน้าหัวไหล่และด้านข้างของต้นแขน
  • อาการบวมด้านหน้าของหัวไหล่
  • มีเสียง “คลิก” จากหัวไหล่เมื่อยกแขนขึ้นเหนือหัว

การรักษาโรคเอ็นหัวไหล่อักเสบ

 มีวัตถุประสงค์เพื่อลดอาการปวดและทำให้กลับไปใช้งานข้อไหล่ได้ โดยการรักษาขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัย เช่น สุขภาพ อายุ และการใช้งานที่ต้องการ ทั้งนี้วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของโรค มีได้ 2 กรณี คือ การผ่าตัด และไม่ผ่าตัด

1. กรณีไม่ผ่าตัด เริ่มต้นการรักษาด้วยการให้ทานยา ฉีดยา การทำกายภาพบำบัด ซึ่งจะพิจารณาตามความรุนแรงของโรค ดังนี้

  • การพักและปรับเปลี่ยนการใช้งาน เช่น หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หลีกเลี่ยงงานที่ต้องยกแขนสูง
  • การใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่เสตียรอยด์ จะช่วยลดการอักเสบ ลดอาการบวมและอาการปวดได้
  • การทำกายภาพบำบัด โดยการฝึกยืดเยื่อหุ้มข้อเพื่อเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ ให้สามารถกลับไปขยับและใช้งานได้เหมือนปกติ เมื่ออาการปวดลดลงแล้วจะเริ่มฝึกการเพิ่มความแข็งแรงของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อรอบๆข้อไหล่
  • การฉีดยาสเตียรอยด์  ในส่วนของบริเวณรอบๆเส้นเอ็นที่อักเสบ สามารถลดการอักเสบและอาการปวดได้ ใช้ในกรณีที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยการพัก การรับประทานอาหารและการทำกายภาพบำบัด

2. กรณีผ่าตัด การผ่าตัดที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ได้แก่ การผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง (Endoscope) ซึ่งมีการพัฒนาไปถึงขั้นการยึด ซ่อม แม้กระทั่งการสร้างเส้นเอ็นใหม่ และยังรวมไปถึงการรักษาข้ออื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกันได้อีกด้วย โดยการผ่าตัดจะใช้วิธีส่องกล้องเย็บซ่อมเส้นเอ็นไหล่และ/หรือกรอหินปูน ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดค่อนข้างน้อย ผู้ป่วยสามารถเริ่มกายภาพหลังผ่าตัดได้อย่างรวดเร็ว

การรักษาทางกายภาพบำบัด 

ในระยะแรกนั้นจะเป็นการยืดกล้ามเนื้อและเคลื่อนไหวโดยไม่ใช้แรงเพื่อทำให้กลับมาสามารถเคลื่อนไหวได้เท่าเดิมและลดอาการปวด ร่วมกับการใช้เครื่องมือ ทั้งนี้การกายภาพบำบัดเอ็นข้อไหล่อักเสบอาจมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละบุคคล นักกายภาพบำบัดจะเป็นผู้วางแผนการรักษาให้เหมาะกับผู้ป่วย ดังนี้
  • การเสริมสร้างกล้ามเนื้อ (Strengthening) นักกายภาพบำบัดจะแนะนำท่าออกกำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนื้อเพื่อลดอาการปวดบริเวณที่บาดเจ็บ นอกจากนี้หากบริเวณดังกล่าวแข็งแรงขึ้น ก็จะช่วยลดโอกาสบาดเจ็บซ้ำแบบเดิมอีกด้วย
  • การขยับเคลื่อนข้อต่อ (Joint mobilization) เป็นท่าทางการเคลื่อนไหวเพิ่มความยืดหยุ่นของเยื่อหุ้มข้อ (Joint capsule) เพื่อให้หัวไหล่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยนักกายภาพบำบัดที่มีความรู้เรื่องกายวิภาคศาสตร์ (Anatomy) จะวางแผนการเคลื่อนไหวให้
  • อัลตราซาวด์ (Ultrasound) การอัลตราซาวด์เพื่อบำบัดรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ เอ็นข้อไหล่ และเนื้อเยื่ออื่นๆ เป็นการใช้ความร้อนเข้าไปช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในเนื้อเยื่อ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการไหล่ติดร่วมด้วย ช่วยให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่นได้มากขึ้น และเพิ่มขอบเขตการเคลื่อนไหว
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Activity modification) นอกจากนักกายภาพบำบัดจะช่วยบรรเทาอาการให้กับคุณแล้ว ยังช่วยคุณวางแผนป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำด้วย โดยแนะนำให้เปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เพื่อให้หัวไหล่ไม่ทำงานหนักเกินไป
  • ปรับปรุงพื้นที่ทำงานให้เหมาะกับสรีระของตัวเอง เพราะหลายคนอาจต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน นักกายภาพบำบัดอาจแนะนำสัดส่วนที่เหมาะสม หรือแนะนำท่าออกกำลังกายง่ายๆ ที่ทำได้ที่โต๊ะทำงาน
  • การออกกำลังกายที่บ้าน การกายภาพบำบัดหัวไหล่ที่ทำกับนักกายภาพบำบัดนั้น ควรทำอย่างสม่ำเสมอ นักกายภาพบำบัดอาจแนะนำให้คุณออกกำลังกายต่อที่บ้านเป็นประจำเพื่อให้การรักษาได้ผลตามต้องการที่สุด
ตัวอย่างท่าออกกำลังกาย 

การออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ ควบคู่ไปกับการทำกายภาพบำบัด และการใช้เครื่องมือรักษาเพื่อลดอาการปวด อาการอักเสบ 

  • Lateral raise : ยืนตรงจับยางยืดข้างลำตัว กางแขนขึ้นโดยให้รู้สึกถึงแรงตึงจากยาง ไม่เกิน 45 องศา
  • Shoulder external rotation with band : ผูกยางยืดระดับเดียวกับหัวไหล่ ดึงแขนไปด้านหลัง จากนั้นหมุนแขนขึ้นให้นิ้วโป้งชี้ไปด้านหลัง
  • Prone W,T,Y raise : นอนคว่ำ หนีบสะบักและยกแขนขึ้นจากพื้นในท่า W,T,Y ทำ 12-15 ครั้งต่อเซต 2-3 เซตต่อวัน

หากท่านต้องการที่จะนัดหมายเพื่อปรึกษาพูดคุยกับแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัด สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก เราพร้อมดูแลรักษาสุขภาพร่างกาย และจิตใจของท่านให้แข็งแรงอย่างครบถ้วน ส่งเสริม ป้องกันเเละรักษา สุขภาพกาย โดยใช้การบริหาร ออกกำลังกาย ไปจนถึงการใช้เครื่องมือเฉพาะทาง สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่ 

References

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแตกต่างจากการรักษาแบบทั่วไปอย่างไร?

    /    บทความ    /    แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแตกต่างจากการรักษาแบบทั่วไปอย่างไร?

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแตกต่างจากการรักษาแบบทั่วไปอย่างไร?

หลักการของเวชศาสตร์ครอบครัวเป็นแนวคิดเดียวกับ “หมอครอบครัว” โดยมีเป้าหมายให้แต่ละครอบครัวมีหมอประจำตัว เป็นหมอคนเดิมที่รู้จักและเข้าใจเราเป็นอย่างดี ดูแลต่อเนื่องตั้งแต่เกิดจนโตในทุกมิติสุขภาพ ทั้งการดูแล รักษา ป้องกัน ฟื้นฟู รวมไปถึงการประสานงานส่งต่อให้แพทย์เฉพาะทางในกรณีที่จำเป็น 

การรักษาแบบทั่วไป (Medicine)

หมายถึงการรักษาทางการแพทย์ โดยวิธีการให้ยาในปริมาณที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วย การรักษาแบบทั่วไปนั้นจะเป็นการใช้ข้อมูลการตัดสินใจเลือกวิธีรักษาและการเลือกชนิดยานั้นส่วนใหญ่ได้มาจากผลการรักษาและการศึกษาเกี่ยวกับโรคนั้นๆ ซึ่ง การแพทย์มีหลายระบบ เช่น การแพทย์แผนปัจจุบันหรือการแพทย์ตะวันตกหรือที่เรียกว่าการแพทย์แบบแผน (conventional medicine) การแพทย์แผนจีน การแพทย์อายุรเวช การแพทย์แผนไทย เป็นต้น

ทั้งนี้การรักษาแบบทั่วไปนั้นจะให้การดูแลสุขภาพแก่ผู้ป่วยและคนทั่วไป ทั้งในแง่การวินิจฉัยโรค  บำบัดรักษา ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและรักษาโรค ฟื้นฟูสุขภาพ และให้การประคับประคองผู้ป่วยที่มีโรคหรือการบาดเจ็บต่างๆ ประกอบไปด้วยศาสตร์ย่อยๆ มากมายที่ถูกพัฒนามาเพื่อดูแลผู้ป่วยและป้องกันโรค

การรักษาแบบองค์รวม (Holistic Care)

เป็นวิธีดูแลสุขภาพให้ทั่วถึงทั้งร่างกาย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงสุขภาพและความสมบูรณ์แข็งแรงผ่านร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยไม่ได้พิจารณาเฉพาะโรคที่เป็นหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย แต่พิจารณาจากความสัมพันธ์ของทั้ง 4 ด้านให้มีภาวะสมดุล คงไว้ซึ่งความมีสุขภาวะที่ดี โดยให้ความหมายของแต่ละด้าน ดังนี้

  • ด้านร่างกาย (Physical) คือ ให้การดูแลที่เน้นให้ร่างกายมีความแข็งแรง มีพละกำลังที่สมบูรณ์
  • ด้านจิตใจ (Mental) คือ การมีสุขภาพจิตที่ดี มีความสุข ปราศจากความเครียด สามารถปรับตัวต่อทุกสภาวะของร่างกายได้ดี มีความคิดความอ่านได้เหมาะสมตามวัย
  • ด้านสังคม (Social) คือ ความสามารถในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคม การอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างมีความสุข และมีระบบบริการที่ดี มีแหล่งช่วยเหลือที่เหมาะสม
  • ด้านจิตวิญญาณ (Spiritual) หรืออาจหมายถึง ด้านปัญญา คือ การมีความสุขที่เกิดจากความเข้าใจความเป็นจริงของชีวิต ความเชื่อต่างๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพกายและใจ

การรักษาแบบบูรณาการองค์รวม (Integrated Care)

การรักษาแบบบูรณาการองค์รวม หรือ “Integrated Care” คือการวางแผนดูแล และส่งเสริมด้านสุขภาพ การป้องกันโรค และ การตรวจคัดกรองความเสี่ยงก่อนเกิดโรคได้ตั้งแต่ระยะแรก เป็นหลักการสำคัญเพื่อให้บริการทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ โดยเน้นการดูแลและรักษาผู้ป่วยแบบบูรณาการ ครอบคลุมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ 

ที่พรีโมเเคร์ เรามีแพทย์และผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาอย่างใส่ใจเเละชัดเจน โดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางความใส่ใจ เเละมีส่วนร่วมในการดูเเลสุขภาพ ภายใต้การดูเเลอย่างใกล้ชิดเเละต่อเนื่องจาก บุคลากรทางการเเพทย์ของพรีโมเเคร์ เปรียบเสมือน 

“เพื่อนร่วมเดินทาง ที่เคียงข้าง สร้างรากฐานสุขภาพดีไปกับคุณ”

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว (Family Medicine)

 เป็นแพทย์ที่มักอยู่ประจำคลินิกโรคทั่วไป หรือศูนย์สุขภาพใกล้บ้าน มีความเชี่ยวชาญและมีความรู้เฉพาะทางในด้านการดูแลสุขภาพ ด้วยการรักษาแบบบูรณาการองค์รวม (Integrated Care) ให้กับคนทุกเพศทุกวัย จากความเชื่อมั่นที่ว่าสุขภาพที่ดีมีหลายปัจจัยประกอบเข้าด้วยกัน ไม่ใช่แค่สุขภาพกายและใจ หรือโรคที่เป็น แต่ยังรวมถึงมิติอื่นๆ ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นสังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ความเชื่อ ลักษณะนิสัย หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตของแต่ละคน

นอกจากแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแล้วยังมีแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป (General Practice: GP) ที่มีความเชี่ยวชาญในโรคทั่วไป สามารถให้การรักษาเบื้องต้นในทุกๆ โรค รวมถึงทีมสหวิชาชีพแขนงต่างๆ เช่น พยาบาล ทันตแพทย์ เภสัชกร นักกายภาพบำบัด และนักจิตวิทยา เพื่อร่วมกันดูแลผู้ป่วยอย่างครอบคลุมในทุกความต้องการด้านสุขภาพ

ทั้งนี้แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว จะยึดถือปรัชญาการทำงานเวชศาสตร์ครอบครัว ที่ร่วมวางแผนการดูแลสุขภาพ การออกกำลังกาย การจัดการด้านโภชนาการที่เหมาะสม ตลอดจนแนะนำด้านการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ที่ให้ความใกล้ชิดกับผู้รับบริการเหมือนคนในครอบครัวเดียวกัน ด้วยความปราถนาดีที่อยากให้มีสุขภาพยืนยาวอย่างมีคุณภาพ พร้อมทั้งสามารถดูแลสุขภาพให้กับสมาชิกในครอบครัวได้อีกด้วย
  • การดูแลอย่างต่อเนื่อง (Continuity of care) 
  • การดูแลแบบองค์รวม  (Holistic care)
  • การดูแลแบบผสมผสาน (Integrated care) 
  • การดูแลในรูปแบบที่เข้าถึงได้ง่าย (Accessible) 
  • การดูแลที่มีระบบการปรึกษาในโรคที่ซับซ้อนและมีการส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ  (Consultation and referral system)

เพราะผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางของความใส่ใจ เราพร้อมที่จะดูเเลสุขภาพของคุณอย่างต่อเนื่องเพื่อให้คุณได้ใกล้ชิด เเละใช้เวลากับทีมเเพทย์ให้นานกว่าที่เคย หากท่านต้องการที่จะนัดหมายเพื่อปรึกษาพูดคุยกับแพทย์ สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก ที่พร้อมดูแลรักษาสุขภาพร่างกาย และจิตใจของท่านให้แข็งแรงอย่างครบถ้วน สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่ 

References:

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

    /    บทความ    /    ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

วัคซีนไข้หวัดใหญ่

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

 ข้อไหล่ติด เป็นอาการที่ไม่สามารถยกแขนได้สุด หากยกแขนจนถึงระดับเกือบเต็มที่จะรู้สึกปวด ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวันโดยเฉพาะเรื่องของการหยิบจับวัตถุที่ต้องยกไหล่ เช่น การเอื้อมมือหยิบของบนชั้นสูงๆ หรือการใส่เสื้อผ้า แต่สามารถรักษาให้หายได้ หากปฏิบัติถูกวิธี หรือได้รับการรักษาที่เหมาะสมด้วยแพทย์หรือนักกายภาพผู้ชำนาญ 

ภาวะข้อไหล่ติด (Frozen Shoulder / Adhesive Capsulitis) 

มีสาเหตุเกิดจากเยื่อหุ้มข้อไหล่ (capsule) มีการอักเสบ และเกิดการหดตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความยืดหยุ่นรอบข้อไหล่ลดลง ทำให้เมื่อใช้งานมีอาการเจ็บ ปวด และขยับได้ลดลง มีอาการติดแข็ง (stiffness) ตามมาได้ ทั้งนี้ผู้ป่วยไหล่ติดส่วนใหญ่มักพบในเพศหญิง ช่วงอายุ 40-60 ปี โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือโรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคเพิ่มขึ้น ภาวะข้อไหล่ติดสามารถหายได้เอง แต่จะมีอาการได้ตั้งแต่ 6 เดือน – 2 ปี แบ่งเป็น 3 ระยะ

  1. ระยะอักเสบ (Painful) 6-9 สัปดาห์ มีอาการปวดมากเมื่อขยับในหลายทิศทาง
  2. ระยะยึดติด (Stiffness) 4-6 เดือน อาการปวดเริ่มดีขึ้น แต่รู้สึกขยับได้ลดลง
  3. ระยะคลายตัว (Resolution) 6 เดือน – 2 ปี อาการปวดน้อยลง เริ่มขยับได้ดีขึ้น

 

อาการของภาวะข้อไหล่ติด
  •  มีอาการปวดและตึงทั่วข้อไหล่เมื่อขยับ โดยเฉพาะเมื่อยกไหล่
  • ปวดมากตอนกลางคืน หรือ เมื่อนอนทับหัวไหล่
  • ขยับหัวไหล่ได้ลดลงในหลายทิศทาง
การรักษาภาวะข้อไหล่ติด
  •  กายภาพบำบัด โดยการใช้เครื่องมือเพื่อลดอาการปวด คลายเยื่อหุ้มข้อไหล่และกล้ามเนื้อรอบ ๆ หัวไหล่ ร่วมกับการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มมุมองศาการเคลื่อนไหว ผู้ป่วยจะต้องทำกายภาพอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ระยะแรกที่มีอาการจึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดี ทำให้สามารถขยับหัวไหล่ได้มากขึ้น อาการเจ็บจากไหล่ติดก็จะลดลง
  • ให้ยาแก้ปวดและยาลดการอักเสบ สำหรับผู้ป่วยที่รู้สึกเจ็บบริเวณหัวไหล่ แพทย์จะให้ยาแก้ปวดและลดการอักเสบไปรับประทานเพื่อบรรเทาอาการปวด
  • การผ่าตัด จะเป็นวิธีสุดท้ายที่แพทย์จะเลือกใช้ในการรักษา ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ป่วยที่มีอาการไหล่ติดอย่างมาก หรือรักษาด้วยวิธีอื่นๆแล้วไม่ได้ผล จึงจะแนะนำให้การรักษาด้วยการผ่าตัดแบบส่องกล้องเพื่อเลาะตัดเยื่อบุข้อที่หนาและแข็งตัวออก ทำให้ข้อไหล่ขยับได้มากขึ้น และทำการดัดข้อไหล่ได้ง่ายขึ้น
ท่าออกกำลังกายช่วยเพิ่มมุมองศาหัวไหล่ (ROM Exercise)
 
  • ท่าไต่กำแพง (shoulder flexion) : ยืนวางมือไว้บนกำแพง ค่อย ๆ ไต่ขึ้นไปด้านบน ได้มากที่สุดเท่าที่ไม่เจ็บ
  • หมุนแขนเข้าด้านในแนวนอน (shoulder internal rotation) : ยืนจับไม้หรือผ้าไว้ด้านหลังในแนวนอน จากนั้นออกแรงหุบแขนเข้าด้านใน สามารถใช้มืออีกข้างช่วยดึงได้
  • หมุนแขนเข้าด้านในแนวตั้ง (shoulder internal rotation) : ยืนจับไม้หรือผ้าไว้ด้านหลังในแนวตั้ง ไขว้แขนไว้ด้านหลัง จากนั้นหุบแขนพร้อมกับดันแขนขึ้นด้านบน สามารถใช้มืออีกข้างช่วยดึงได้
  • หมุนแขนออกด้านนอก (shoulder external rotation) : ยืนงอศอกชิดลำตัว มือจับบริเวณกำแพงหรือขอบประตู หันตัวออกด้านนอก หันไปด้านตรงข้ามกับหัวไหล่ที่เจ็บ สามารถทำได้ 10 ครั้งต่อเซต 2-3 เซตต่อวัน ทำเท่าที่ทำได้ ขณะที่ทำสามารถรู้สึกตึงเล็กน้อยได้แต่ไม่เจ็บ
เทคนิคและวิธีการต่างๆ ของการทำกายภาพบำบัดที่พรีโมแคร์
 
การทำกายภาพบำบัดจะเน้นการบำบัดฟื้นฟูอาการเจ็บป่วยต่างๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร่วมกับการออกกำลังกาย หรือใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดต่างๆ เช่น
 
  • ศาสตร์การนวดผ่อนคลายหลังออกกำลังกาย (Sport massage)
    การนวดกล้ามเนื้อสำหรับผู้ที่ออกกำลังกาย หรือผู้ที่ผ่านการใช้กล้ามเนื้อมาอย่างหนัก ซึ่งจะแตกต่างจากการนวดแบบอื่นๆ โดยการนวดผ่อนคลายหลังออกกำลังกายจะเน้นการนวดกล้ามเนื้อระดับลึก มีการใช้เทคนิคที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้ที่ออกกำลังกายได้ใช้กล้ามเนื้อได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และลดโอกาสในการบาดเจ็บขณะออกกำลังกาย
 

 

  • การรักษาด้วยคลื่นอัลตราซาวด์ (Ultrasound)
    คลื่นเสียงความถี่สูง ที่สามารถลดอาการปวดบวมหรือการอักเสบของเนื้อเยื่อ ช่วยเร่งการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ และคลายกล้ามเนื้อที่เกร็ง รวมไปถึงเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับข้อต่อในชั้นลึก นอกจากนี้ยังสามารถนำมาช่วยในการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมได้อีกด้วย
 
  • การบำบัดด้วยพลังงานคลื่นกระแทก (Shockwave)
    คลื่นกระแทกที่มีความสามารถในการกระตุ้นพังผืดที่ได้รับการบาดเจ็บ เพื่อให้ร่างกายได้สร้างเซลล์กล้ามเนื้อใหม่ ช่วยในการสลายพังผืดและทำให้ชั้นกล้ามเนื้อคลายตัวลง โดยพลังงานคลื่นกระแทกนั้นมีความสามารถในการนำมาลดการปวดเรื้อรังได้
 
  • ยืดกล้ามเนื้อโดยใช้ยางยืดเเรงต้าน (Theraband Exercise)
    Resistance Band หรือยางยืดออกกำลังกาย เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับฝึกกล้ามเนื้อโดยอาศัยแรงต้าน ช่วยให้กล้ามเนื้อที่มีขนาดเล็กเฉพาะจุดมีความแข็งแรง โดยไม่เพิ่มแรงกดดันกับข้อต่อต่างๆ สามารถใช้เล่นกล้ามเนื้อได้ทั่วทั้งตัวและเล่นได้หลากหลายท่า ช่วยบริหารและยืดกล้ามเนื้อ เพิ่มความแข็งแรง และความยืดหยุ่นให้ร่างกาย
 
หากท่านต้องการที่จะนัดหมายเพื่อทำกายภาพ หรือปรึกษาแพทย์สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก ที่พร้อมดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของท่านอย่างครบถ้วน สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่  

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

ปวดกล้ามเนื้อเเบบไหนถึงต้องมาหานักกายภาพบำบัด?

    /    บทความ    /    ปวดกล้ามเนื้อเเบบไหนถึงต้องมาหานักกายภาพบำบัด?

วัคซีนไข้หวัดใหญ่

ปวดกล้ามเนื้อเเบบไหนถึงต้องมาหานักกายภาพบำบัด?

โดยส่วนมาก อาการปวดหลังจากกล้ามเนื้อทั่วไปมักหายได้ในเวลาไม่ถึงสัปดาห์ แต่หากว่าผู้ป่วยมีอาการปวดต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานกว่า 2 สัปดาห์เป็นต้นไป หรือมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและรักษาก่อนจะเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง

 อาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง (Myofascial Pain Syndrome)

โดยส่วนใหญ่อาการปวดกล้ามเนื้อนั้นมักจะหายเองในเวลาไม่นาน แต่ผู้ป่วยที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังจะมีอาการปวดที่แย่ลง นอกจากนี้อาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังนั้นยังมาพร้อมอาการอื่นๆ ได้แก่ ไมเกรน อ่อนล้า ซึมเศร้า กล้ามเนื้อตึง เป็นต้น

อาการปวดเรื้อรังเกิดจากการใช้งานมัดกล้ามเนื้อมัดที่เกิดอาการผิดท่าทางเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อใช้กล้ามเนื้อติดต่อกันเป็นเวลานาน  กล้ามเนื้อจะเกร็งตัวสะสมจนเกิดเป็นปมกล้ามเนื้ออักเสบ โดยอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังจะมีลักษณะดังนี้

  • ปวดร้าวลึกๆ (Deep dull aching) ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย อาจปวดตลอดเวลาหรือปวดเฉพาะเวลาทำงาน เช่น ปวดบริเวณสะบัก จะปวดคล้ายสะบักจม
  • ปวดร้าว (Referred pain) อาการปวดของกล้ามเนื้อแต่ละตำแหน่งจะมีลักษณะเฉพาะ เช่น ปวดบริเวณก้านคอ ขมับ กรามล่าง และครอบคลุมถึงบริเวณศีรษะ เป็นต้น
  • มีอาการชาร่วมด้วย เกิดอาการชาตามส่วนต่างๆของร่างกายร่วมกับอาการปวด เช่น ชาที่ผิวหนัง ชาที่แขน หรือขา
  • มีอาการปวดต่อเนื่อง มานานกว่า 3 เดือนขึ้นไป
การวินิจฉัย 
อาการปวดกล้ามเนื้อโดยทั่วไปที่เกิดจากกิจกรรมในชีวิตประจำวันยังไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ในทันที แต่หากมีอาการรุนแรงสามารถไปพบแพทย์ได้เช่นกัน โดยปกติแพทย์จะวินิจฉัยรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อจากการซักประวัติจากการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น อาชีพ ไลฟ์สไตล์ อุบัติเหตุ โรคประจำตัว ลักษณะอาการปวดในช่วงที่ผ่านมา เพื่อดูว่าเริ่มมีอาการปวดตั้งแต่เมื่อไหร่ มีอาการบริเวณไหน ต้องทำการกายภาพบำบัดหรือไม่ ซึ่งลักษณะการปวดพบได้หลายแบบ และอาจแตกต่างกันไปตามสาเหตุของผู้ป่วยในแต่ละราย 
 
กายภาพบำบัด (Physical Therapy) 
การทำกายภาพบำบัด เป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญในการช่วยฟื้นฟูกระดูกเเละกล้ามเนื้อต่างๆของร่างกาย โดยผ่านการใช้เทคนิคต่างๆ เช่น
 
  • ศาสตร์การนวดผ่อนคลายหลังออกกำลังกาย (Sport massage) 
  • การรักษาด้วยคลื่นอัลตราซาวด์ (Ultrasound) 
  • การยืดกล้ามเนื้อโดยใช้ยางยืดเเรงต้าน (Theraband Exercise)
  • การบำบัดด้วยพลังงานคลื่นกระแทก (Shockwave) 

การทำกายภาพบำบัดจะเน้นการบำบัดฟื้นฟูอาการเจ็บป่วยต่างๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร่วมกับการออกกำลังกาย หรือใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดต่างๆ โดยการรักษานอกเหนือจากการทำกายภาพบำบัดแล้ว ยังรวมถึง

  • การประเมินโครงสร้างร่างกาย เพื่อหาสาเหตุการเจ็บป่วย ปวดเมื่อย กล้ามเนื้ออักเสบ เจ็บปวดเรื้อรังและการปรับร่างกายให้เกิดความสมดุล 
  • การสร้างความรู้ความเข้าใจ  ในการปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงานตามความเหมาะสมให้กับแต่ละบุคคล 
  • การให้ความรู้และส่งเสริมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและถูกวิธี เพื่อให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงและยืดหยุ่น ป้องกันภาวะบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
สัญญาณเตือนของอาการปวดที่ควรรีบพบแพทย์
 หากไม่แน่ใจว่าอาการปวดที่เป็นอยู่นั้นเป็นอาการปวดเรื้อรังหรือไม่ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการปวด เพื่อทำให้ได้รับการรักษาหรือกายภาพบำบัดอย่างถูกต้อง เหมาะสมและรวดเร็ว
  • อาการปวดที่ไม่ปกติ ขาอ่อนแรง ขาชา เคลื่อนไหวลำบาก หรือเกร็งกระตุกร่วมด้วย 
  • อาการปวดหลังที่เป็นเรื้อรัง ต่อเนื่องนานเกิน 3 เดือน
  • อาการปวดแบบเฉียบพลัน จนไม่สามารถเคลื่อนไหว หรือไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนเดิม
  • อาการปวดจากการได้รับอุบัติเหตุ หกล้ม หรืออาการบาดเจ็บที่เกิดจากการเล่นกีฬา
  • อาการปวดที่มีอาการร่วมอื่นๆ เช่น มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ 
ทั้งนี้หากท่านต้องการตรวจวิเคราะห์ และประเมินโครงสร้างร่างกายเพื่อรักษาอาการปวดเมื่อย กล้ามเนื้ออักเสบ เจ็บปวดเรื้อรัง สามารถเข้ามารับคำปรึกษาได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก เราพร้อมดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของท่านอย่างครบถ้วน ด้วยการส่งเสริม ป้องกันเเละรักษา สุขภาพกาย โดยใช้การบริหาร ออกกำลังกาย ไปจนถึงการใช้เครื่องมือเฉพาะทาง สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้า ที่นี่ 

References: 

บทความที่เกี่ยวข้อง