Categories
Uncategorized

ความแตกต่างระหว่าง นวดจัดกระดูก และ กายภาพบำบัด

    /    บทความ    /    ความแตกต่างระหว่าง นวดจัดกระดูก และ กายภาพบำบัด

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

ความแตกต่างระหว่าง นวดจัดกระดูก และ กายภาพบำบัด

การนวดจัดกระดูกและกายภาพบำบัดเป็นการรักษาแบบไม่ใช้ยา และไม่มีการผ่าตัด โดยมีความแตกต่างคือการนวดจัดกระดูกหรือไคโรแพรกติก เน้นการรักษาโดยคำนึงถึงความสมดุลของกระดูกสันหลัง โดยใช้มือดัด ดึง กระแทกให้ข้อต่อต่างๆ อยู่ในตำแหน่งเหมาะสม ร่วมกับการใช้เครื่องมือช่วย ทั้งนี้การรักษาด้วยกายภาพบำบัด คือการใช้ศาสตร์ฟื้นฟูสุขภาพด้วยการออกกำลังกายและใช้อุปกรณ์เสริม เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยลดอาการบาดเจ็บของร่างกาย และสามารถกลับมาใช้ร่างกายให้เป็นปกติให้มากที่สุด

นวดจัดกระดูก (Chiropractic)

ไคโรแพรคติก (Chiropractic) ถือเป็นศาสตร์วิชาการแพทย์แขนงหนึ่งของการดูแลสุขภาพที่ คำนึงถึงความสมดุลของกระดูกสันหลังโดยเน้นความสัมพันธ์ระหว่างสรีรวิทยาและความสมบูรณ์ของโครงสร้าง ไปจนถึงการรักษาฟื้นฟูโครงสร้างที่นำไปสู่สุขภาพที่ดีโดยรวม ส่วนที่จะได้รับการเน้นเป็นสำคัญในการทำไคโรแพรคติก หรือนวดจัดกระดูก จะเน้นการจัดกระดูกสันหลังตลอดแนว ตั้งแต่ส่วนคอลงไปถึงก้นกบ ไคโรแพรคติก ให้ความสนใจกับส่วนสำคัญของร่างกาย 4 ส่วนใหญ่ๆ คือ

  1. กระดูกสันหลัง (Spine) 
  2. ระบบประสาท (Nervous System) 
  3. ลักษณะโครงสร้างของร่างกาย (Structure) 
  4. โภชนาการด้านอาหาร วิตามิน (Nutrition) 

การรักษานวดจัดกระดูก

หลักของการรักษาด้วยไคโรแพรคติกคือการจัดเรียงกระดูกให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูตนเองจากการเจ็บป่วย แนวทางการรักษานั้น แพทย์ไคโรแพรคติกจะนำเทคนิคการบำบัดข้อกระดูกและการฟื้นฟูกล้ามเนื้อที่มีปัญหามาใช้ในการปรับโครงสร้างด้วยวิธีการปรับ เพื่อทำให้กระดูกสันหลังขยับได้ปกติและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ต้องอาศัยยาและการผ่าตัด ซึ่งนับว่าเป็นวิธีการรักษาแบบ Non-Invasive โดยการนวดจัดกระดูกสามารถรักษาผู้ป่วยที่มีอาการต่างๆ ดังนี้  

  • ผู้ที่มีอาการคอเคล็ด ปวดคอ ปวดไหล่ ปวดหลัง
  • ผู้ที่มีอาการกล้ามเนื้ออักเสบ และปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ อาทิ คอ บ่า ไหล่ หลัง และแขน
  • ผู้ที่มีอาการปวดจากโรคข้อกระดูกอักเสบหรือเสื่อมสภาพ

กายภาพบำบัด (Physical Therapy)

กายภาพบำบัดคือ คือ ศาสตร์ฟื้นฟูสุขภาพด้วยการออกกำลังกายและใช้อุปกรณ์พิเศษ ทั้งในแง่ของการส่งเสริม, ป้องกัน, รักษา และฟื้นฟูสุขภาพร่างกาย โดยใช้วิธีตามหลักวิทยาศาสตร์และการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางกายภาพบำบัดโดยมีเป้าหมายทั้งในด้านการดูแลสุขภาพร่างกาย การป้องกันภาวะโรคต่าง ๆการฟื้นฟูสุขภาพ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงและการเคลื่อนไหวของร่างกาย รวมทั้งช่วยให้รู้จักวิธีป้องกันการได้รับบาดเจ็บอันเป็นสาเหตุให้ร่างกายเสื่อมสมรรถภาพในการเคลื่อนไหว 

การรักษาทางกายภาพบำบัด 

การทำกายภาพบำบัดมีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น โดยการตรวจประเมินผู้ป่วยแต่ละราย วิเคราะห์ปัญหาของผู้ป่วย โดยใช้หลักการของการเคลื่อนไหวกายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยาและทฤษฎีต่างๆ ที่ผสมผสาน เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วย อาทิ
 
  • การออกกำลังกาย คือกิจกรรมที่เพิ่มเติมมาจากกิจกรรมทั่วไปที่ทำในแต่ละวัน ซึ่งช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น ความแข็งแรง ความทนทานของร่างกายและการทำงานประสานกันระหว่างระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ประกอบไปด้วย การยืดกล้ามเนื้อ เพิ่มความแข็งแรงร่างกาย และ ยกน้ำหนัก เป็นต้น
  • การนวด คือการทำกายภาพบำบัดด้วยมือ เพื่อช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ลดอาการเจ็บปวด และเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่ร่างกาย โดยใช้วิธีการต่างๆ เช่น ขยับข้อต่อ (Mobilization) ดัดข้อต่อ (Manipulation) เป็นต้น
  • การใช้เครื่องมือต่างๆ งานกายภาพบำบัดมีอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัยเพื่อช่วยในการฟื้นฟูผู้ป่วยแต่ละรายให้มีพัฒนาการของอาการที่ดีขึ้น เพื่อช่วยให้การบริการมีประสิทธิภาพสูงสุด ได้แก่ รักษาด้วยคลื่นอัลตราซาวด์ (Ultrasound Therapy) กระตุ้นด้วยไฟฟ้า (Electrical Stimulation) เครื่องเลเซอร์กำลังสูง (High Power Laser Therapy) เครื่องรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shock wave Therapy)เป็นต้น
 ผู้ที่เหมาะกับการทำกายภาพบำบัด 
การทำกายภาพบำบัดสามารถทำได้ทั้งก่อน-หลังมีอาการผิดปกติต่างๆ เพราะเป็นการดูแลและฟื้นฟูระบบการทำงานในร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อ กระดูก การไหลเวียนเลือด ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้การทำกายภาพบำบัดใช้รักษาผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับอาการปวดหลัง ปวดคอ ได้รับบาดเจ็บ หรือป่วยเป็นโรคอื่นๆ ที่ทำให้ต้องเข้ารับการรักษา ดังนี้

  • ฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายหลังได้รับบาดเจ็บ 
  • ผู้ที่มีอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม
  • ผู้ที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อต่อได้สุดช่วงการเคลื่อนไหว เช่น ข้อไหล่ติด ข้อเข่าติด นิ้วล็อค 
  • ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำกิจกรรม เช่น ออกกำลังกาย  เล่นกีฬา   
  • ผู้ที่เริ่มมีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย เช่น ปวดคอ ปวดบ่า ปวดไหล่ ปวดแขน ปวดหลัง  ปวดสะโพก  ปวดเข่า  ปวดขา ปวดข้อเท้า  
หากท่านต้องการที่จะนัดหมายเพื่อปรึกษาพูดคุยกับแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัด สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก เราพร้อมดูแลรักษาสุขภาพร่างกาย และจิตใจของท่านให้แข็งแรงอย่างครบถ้วน ส่งเสริม ป้องกันเเละรักษา สุขภาพกาย โดยใช้การบริหาร ออกกำลังกาย ไปจนถึงการใช้เครื่องมือเฉพาะทาง สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่ 


References

บทความที่เกี่ยวข้อง