Categories
Uncategorized

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกสำคัญกว่าที่คิด

    /    บทความ    /    วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกสำคัญกว่าที่คิด

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกสำคัญกว่าที่คิด

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกสำคัญกว่าที่คิด

ผู้หญิงไทยประมาณ 6,000-8,000 คนต่อปี ติดเชื้อและเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูก โดยมีอัตราการเสียชีวิต 8-10 คนในหนึ่งวัน มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่พบมากในหญิงไทยเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม ทั้งนี้ไวรัสชนิดนี้จะใช้เวลาเฉลี่ย 5-10 ปี ในการเปลี่ยนแปลงเซลล์ปากมดลูกให้กลายเป็นมะเร็งปากมดลูก โดยผู้หญิงที่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์ จะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส HPV สูงถึง 80% ทั้งนี้มะเร็งปากมดลูกสามารถป้องกันได้ ด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุกปี และฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส HPV

 

มะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer)

มะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่จะพบในผู้หญิงวัย 30 – 55 ปี เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV หรือ Human Papilloma Virus ซึ่งสามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อเนื้อเยื่อบุผิวที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก และยังสามารถก่อให้เกิดมะเร็งชนิดอื่นๆ เช่น มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด รวมถึงโรคหูดหงอนไก่ด้วย โดยเชื้อไวรัส HPV ที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกมีมากกว่า 40 สายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูกที่พบบ่อยมี 2 สายพันธุ์คือ สายพันธุ์ 16 และ 18 

ทั้งนี้ผู้ติดเชื้อ HPV โดยส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการในช่วงแรก การแสดงอาการของโรคอาจเกิดขึ้นหลายปีหลังได้รับเชื้อและสามารถแพร่เชื้อไปยังคนอื่นได้ โดยผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกจะมีอาการของโรคที่หลากหลาย เช่น เลือดออกทางช่องคลอด อ่อนเพลีย ปวดเชิงกรานและหลัง ประจำเดือนมามากหรือนานกว่าปกติ ปัสสาวะเป็นเลือด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด เป็นต้น

 

การป้องกัน-รักษามะเร็งปากมดลูก

เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นหนึ่งในมะเร็งที่ป้องกันได้ โดยการป้องกันสามารถทำได้ง่ายกว่าการรักษา ขั้นตอนการป้องกันและรักษาสามารถแบ่งออกได้เป็นสามขั้นตอน ดังนี้ 

  1. การป้องกันแบบปฐมภูมิ (Primary Prevention) หมายถึงการป้องกันก่อนติดเชื้อ  โดยทั่วไปมักหมายถึงการส่งเสริมเพื่อให้มีสุขภาพดียาวนานที่สุด เช่น การฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์หลักที่ทำให้เกิดมะเร็ง การใช้ถุงยางอนามัย การระมัดระวังไม่ให้สัมผัสถูกเชื้อ และการตรวจคัดกรองเชื้ออย่างสม่ำเสมอ
  2. การป้องกันแบบทุติยภูมิ (Secondary Prevention) หมายถึง การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำปีละครั้ง เพื่อตรวจหาเชื้อให้เจอก่อนที่จะลุกลามเป็นมะเร็ง หรือระยะก่อนลุกลาม (pre-invasive) โดยใช้วิธีการตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear) ซึ่งเป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยการใช้เครื่องมือสอดผ่านทางช่องคลอด และทำการป้ายเซลล์จากมดลูก เพื่อส่งตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติ หรือเซลล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงที่อาจทำให้เกิดมะเร็งได้ สำหรับผู้หญิงที่อายุ 35-55 ปี รวมถึงผู้หญิงทุกคนที่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์แล้วควรที่จะได้รับการตรวจทุกปี
  3. การป้องกันแบบตติยภูมิ (Tertiary Prevention) คือ การรักษาผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปากมดลูกเพื่อให้หายจากโรค โดยวิธีการรักษานั้นจะขึ้นอยู่กับบุคคล เช่น การผ่าตัด การใช้เคมีบำบัด หรือการใช้รังสีรักษา เป็นต้น 

วัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV

ปัจจุบันในไทยมีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV ทั้งสิ้น 3 ชนิด ได้แก่ ชนิด 2, 4 และ 9 สายพันธุ์ ทั้งนี้สายพันธุ์ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูกที่พบบ่อยมี 2 สายพันธุ์คือ สายพันธุ์ 16 และ 18 โดยวัคซีนที่ป้องกัน 2 สายพันธุ์นี้สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 70%-90% 

วัคซีนทั้ง 3 ชนิด มีข้อบ่งใช้เพื่อป้องกันการก่อโรคจากเชื้อ HPV ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย โดยทั่วไปวัคซีนจะครอบคลุมการป้องกันมะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งอวัยวะเพศชาย และมะเร็งทวารหนัก

วัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV เหมาะกับใคร
การรับวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกสามารถฉีดได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย โดยแนะนำให้ฉีดในผู้หญิงอายุตั้งแต่ 9-45 ปี และผู้ชายควรฉีดวัคซีนในช่วงอายุ 9-26 ปี ทั้งนี้หากได้รับวัคซีนก่อนการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกและร่างกายอยู่ในวัยที่สร้างภูมิคุ้มกันได้ดีจะทำให้ได้รับประสิทธิภาพจากวัคซีนสูงสุด ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์แล้วก็สามารถฉีดได้เช่นกัน
 
ในการฉีดวัคซีนจะต้องฉีดทั้งหมด 3 เข็ม ภายในระยะเวลา 6 เดือน โดยความสามารถในการป้องกันการติดเชื้อจะเกิดขึ้นภายใน 1 เดือน หลังจากได้รับวัคซีนครบ 3 เข็ม หากท่านต้องการที่จะนัดหมายเพื่อฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก หรือรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก ที่พร้อมดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของท่านอย่างครบถ้วน สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้า ที่นี่ 
 

Reference

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

ปวดหลังเรื้อรัง แก้ไขได้ด้วยวิธีไหนบ้าง?

    /    บทความ    /    ปวดหลังเรื้อรัง แก้ไขได้ด้วยวิธีไหนบ้าง?

ปวดหลังเรื้อรัง
แก้ไขได้ด้วยวิธีไหนบ้าง?

ปวดหลังเรื้อรัง แก้ไขได้ด้วยวิธีไหนบ้าง?

จากงานวิจัยพบว่า 90% ของวัยกลางคนไปจนถึงผู้สูงอายุ เคยมีอาการปวดหลัง โดยอาการปวดหลังสามารถแบ่งออกได้หลายรูปแบบ ตั้งแต่การปวดที่เกิดในระยะสั้น ไปจนถึงอาการปวดแบบเรื้อรังที่มาจากหลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอาการเคล็ดขัดยอก การปวดจากกระดูก หรือการปวดที่เกิดจากอุบัติเหตุ ในบางรายอาจเกิดจากน้ำหนักที่เกินเกณฑ์มาตรฐานได้เช่นกัน

 

อาการปวดหลังเรื้อรัง

โดยส่วนมาก อาการปวดหลังจากกล้ามเนื้อทั่วไปมักหายได้ในเวลาไม่ถึงสัปดาห์ แต่หากว่าผู้ป่วยมีอาการปวดหลังต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานกว่า 2 สัปดาห์เป็นต้นไป หรือมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและรักษาก่อนจะเกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง ทั้งนี้อาการปวดหลังเรื้อรังถือเป็นลักษณะอาการสำคัญอย่างหนึ่งของโรค Office Syndrome ซึ่งคือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) เกิดจากการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ 

 

การป้องกันอาการปวดหลังเรื้อรัง

วิธีเหล่านี้จะช่วยป้องกันอาการปวดหลัง ไม่ให้กลับมาเกิดขึ้นอีกครั้ง โดยสามารถเริ่มต้นทำได้ด้วยตัวคุณเอง 

  • ออกกำลังกาย หลายท่านอาจคิดว่าขณะปวดหลังนั้น ไม่ควรออกกำลังกาย แต่ความจริงแล้วหากคุณมีอาการปวดหลัง ที่อาจเกิดจากอาการกล้ามเนื้อหดยึด (Myofascial Pain Syndrome) การออกกำลังกายด้วยวิธีการยืดกล้ามเนื้อนั้นจะช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อได้ แต่ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าท่าออกกำลังกายของคุณนั้นถูกต้อง
  • ควบคุมน้ำหนักตัว  ภาวะน้ำหนักที่เกินเกณฑ์จะส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังได้ ซึ่งการควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันอาการปวดหลังได้
  •  หยุดพักสักนิด หากคุณนั่งอยู่ในท่าไหนที่นานเกินไป จะส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังได้ ให้ลองพักยืดกล้ามเนื้อสัก 10 นาที ทุก 1 ชั่วโมง เปลี่ยนท่านั่งให้ถูกต้อง เพียงเท่านี้ก็สามารถป้องกันอาการปวดหลังได้แล้ว
  • จัดสรีระร่างกายให้ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการนั่ง ยืน เดิน หรือนอน การจัดระเบียบร่างกายจนเป็นความเคยชินนั้นสำคัญที่สุด เพราะนอกจากจะช่วยให้บุคลิกภาพของคุณดูดีขึ้นแล้ว ยังจะช่วยป้องกันอาการปวดในส่วนต่างๆของร่างกายอีกด้วย  

กายภาพบำบัด (Physical Therapy)

คือการฟื้นฟู และเสริมสร้างความสามารถในการใช้ร่างกายด้วยเทคนิคต่างๆ โดยใช้วิธีการตรวจประเมิน และบำบัดความบกพร่องของร่างกายที่เกิดจากภาวะของโรค หรือการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ ทั้งนี้การทำกายภาพบำบัด อาจช่วยบรรเทาอาการปวด ฟื้นฟูร่างกายจากการบาดเจ็บ และช่วยให้ร่างกายเกิดความสมดุล

เทคนิคและวิธีการต่างๆ ของการทำกายภาพบำบัด

การทำกายภาพบำบัดจะเน้นการบำบัดฟื้นฟูอาการเจ็บป่วยต่างๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร่วมกับการออกกำลังกาย หรือใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดต่างๆ เช่น

  • ศาสตร์การนวดผ่อนคลายหลังออกกำลังกาย (Sport massage) การนวดกล้ามเนื้อสำหรับผู้ที่ออกกำลังกาย หรือผู้ที่ผ่านการใช้กล้ามเนื้อมาอย่างหนัก ซึ่งจะแตกต่างจากการนวดแบบอื่นๆ โดยการนวดผ่อนคลายหลังออกกำลังกายจะเน้นการนวดกล้ามเนื้อระดับลึก มีการใช้เทคนิคที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้ที่ออกกำลังกายได้ใช้กล้ามเนื้อได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และลดโอกาสในการบาดเจ็บขณะออกกำลังกาย
  • การรักษาด้วยคลื่นอัลตราซาวด์ (Ultrasound)  คลื่นเสียงความถี่สูง ที่สามารถลดอาการปวดบวมหรือการอักเสบของเนื้อเยื่อ ช่วยเร่งการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ และคลายกล้ามเนื้อที่เกร็ง รวมไปถึงเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับข้อต่อในชั้นลึก นอกจากนี้ยังสามารถนำมาช่วยในการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมได้อีกด้วย
  • การบำบัดด้วยพลังงานคลื่นกระแทก (Shockwave) คลื่นกระแทกที่มีความสามารถในการกระตุ้นพังผืดที่ได้รับการบาดเจ็บ เพื่อให้ร่างกายได้สร้างเซลล์กล้ามเนื้อใหม่ ช่วยในการสลายพังผืดและทำให้ชั้นกล้ามเนื้อคลายตัวลง โดยพลังงานคลื่นกระแทกนั้นมีความสามารถในการนำมาลดการปวดเรื้อรังได้

ขั้นตอนการทำกายภาพบำบัด

การทำกายภาพบำบัด เป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญในการช่วยฟื้นฟูกระดูกเเละกล้ามเนื้อต่างๆของร่างกาย โดยผ่านการใช้เทคนิคต่างๆ เช่น ศาสตร์การนวดผ่อนคลายหลังออกกำลังกาย (Sport massage) การรักษาด้วยคลื่นอัลตราซาวด์ (Ultrasound) เเละการบำบัดด้วยพลังงานคลื่นกระแทก (Shockwave) เป็นต้น โดยการรักษานอกเหนือจากการทำกายภาพบำบัดแล้ว ยังรวมถึง

 

  • การประเมินโครงสร้างร่างกายเพื่อหาสาเหตุการเจ็บป่วย ปวดเมื่อย กล้ามเนื้ออักเสบ เจ็บปวดเรื้อรังและการปรับร่างกายให้เกิดความสมดุล 
  • การสร้างความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงานตามความเหมาะสมให้กับแต่ละบุคคล 
  • การให้ความรู้และส่งเสริมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและถูกวิธี เพื่อให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงและยืดหยุ่น ป้องกันภาวะบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
กายภาพบำบัดเหมาะกับใคร?
การทำกายภาพบำบัดสามารถทำได้ทั้งก่อน-หลังมีอาการผิดปกติ เนื่องจากการทำกายภาพนั้นเป็นการดูแลและฟื้นฟูระบบการทำงานในส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อ กระดูกและการไหลเวียนเลือด ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • ผู้ป่วยออฟฟิศซินโดรม :   อาการเจ็บปวดที่เกี่ยวข้องกับระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ซึ่งถ้าหากมีอาการมาก จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือก่อให้เกิดความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว โดยอาการเหล่านี้สามารถรักษาได้ด้วยการทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
  • ผู้ที่มีอาการปวดหลังเรื้อรัง : การทำกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวดหลังเรื้อรังมีหลายประเภท เช่น อัลตราซาวด์ การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า หรือกายภาพบำบัดด้วยการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ รวมไปถึงการปรับสรีระท่าทางในชีวิตประจำวันของผู้ป่วยให้ถูกต้อง
  •  ผู้ที่มีอาการปวดเมื่อยคอบ่าไหล่ : การทำกายภาพบำบัดสามารถรักษาอาการปวดเมื่อย และบรรเทาอาการปวด เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ โดยวิธีการรักษาอาการปวดด้วยการทำกายภาพบำบัดนั้น แพทย์จะทำการวินิจฉัย และพิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย โดยมุ่งเน้นการรักษาที่ต้นเหตุของอาการ รวมถึงบรรเทาอาการเจ็บปวดให้เหลือน้อยที่สุด
ทั้งนี้หากท่านต้องการตรวจวิเคราะห์ และประเมินโครงสร้างร่างกายเพื่อรักษาอาการปวดเมื่อย กล้ามเนื้ออักเสบ เจ็บปวดเรื้อรัง สามารถเข้ามารับคำปรึกษาได้ที่ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก ที่พร้อมดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของท่านอย่างครบถ้วน ด้วยการส่งเสริม ป้องกันเเละรักษา สุขภาพกาย โดยใช้การบริหาร ออกกำลังกาย ไปจนถึงการใช้เครื่องมือเฉพาะทาง สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้า ที่นี่ 

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

โภชนบำบัดดูแลผู้ป่วยเบาหวาน

    /    บทความ    /    โภชนบำบัดดูแลผู้ป่วยเบาหวาน

โภชนบำบัดดูแลผู้ป่วยเบาหวาน

โภชนบำบัดดูแลผู้ป่วยเบาหวาน

โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าปกติอย่างต่อเนื่อง ที่เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อน ทำให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยกว่าปกติ หรือเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่ ผู้ป่วยจึงจำเป็นจะต้องควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ทั้งนี้ผู้ป่วยสามารถที่จะดูแลตนเอง เพื่อป้องกันภาวะโรคเบาหวาน หรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวานด้วยโภชนบำบัด พร้อมกับการออกกำลังกายเป็นประจำ ควบคู่ไปกับการรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง เพื่อให้ร่างกายกลับมาแข็งแรงอีกครั้ง

 

โรคเบาหวาน (Diabetes)

โดยปกติแล้วตับอ่อนจะทำหน้าที่สร้างอินซูลิน เพื่อที่จะนำน้ำตาลในเลือดไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย และนำมาสร้างเป็นพลังงาน ซึ่งโรคเบาหวานนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อร่างกายทำหน้าที่ผิดปกติ ดังนี้

  • เมื่อตับอ่อนไม่ผลิตอินซูลินอีกต่อไป
  • เมื่อตับอ่อนผลิตอินซูลินในปริมาณที่น้อยมาก
  • เมื่อร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลินอย่างเหมาะสม จะเกิดภาวะที่เรียกว่า “ภาวะดื้อต่ออินซูลิน”

ทั้งนี้ หากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้เป็นพลังงานได้เต็มที่ เนื่องจากขาดฮอร์โมนอินซูลิน จะมีผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น 

 

ประเภทของโรคเบาหวาน

สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้

  1. โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 diabetes mellitus) คือ ภาวะที่เกิดจากเซลล์ในตับอ่อนถูกทำลายจนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ โดยผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1นั้นจะต้องใช้การฉีดอินซูลินเข้าช่วย เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม
  2. โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes  mellitus) คือ ภาวะที่ร่างกายของผู้ป่วยยังสามารถที่จะผลิตอินซูลินเองได้ แต่ร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ในกรณีที่มีอาการรุนแรง ร่างกายจะไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการ ทั้งนี้การรักษาเบาหวานชนิดที่ 2 นั้นผู้ป่วยจะต้องมีการรับประทานยาควบคู่กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การลดน้ำหนัก การควบคุมอาหาร และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  3.  โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational diabetes mellitus) คือ โรคเบาหวานที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ มักเกิดเมื่อไตรมาส 2-3 ของการตั้งครรภ์
  4. โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ(Specific types of diabetes mellitus) สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคทางพันธุกรรม โรคของตับอ่อน โรคทางต่อมไร้ท่อ ยาบางชนิด เป็นต้น

ภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes)

คือ ภาวะที่น้ำตาลในเลือดมีปริมาณที่สูงเกินค่าปกติ แต่ยังไม่สูงมากพอที่จะสามารถวินิจฉัยให้เป็นโรคเบาหวานได้ โดยผู้ป่วยที่มีภาวะก่อนเบาหวานนั้นจะไม่มีอาการข้างเคียง อย่างไรก็ตามผู้ป่วยสามารถที่จะพัฒนาจากภาวะก่อนเบาหวาน เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ หรืออาจนำมาสู่โรคแทรกซ้อนอื่นๆ ของโรคเบาหวาน เช่น โรคหัวใจ ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวานด้วยเช่นกัน

โภชนบำบัด (Diet Therapy)

คือการนำความรู้ทางด้านอาหารมาช่วยในการรักษา และบรรเทาอาการผู้ป่วยจากโรค สภาวะต่างๆได้ โดยการคำนึงถึงความเหมาะสมของโรค หรือสภาวะในขณะเจ็บป่วย ตามความต้องการของร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลงในขณะนั้นให้กลับคืนสู่สภาพปกติ

โภชนบำบัดกับโรคเบาหวาน

การนำโภชนบำบัดมาประยุกต์ใช้กับโรคเบาหวาน ไม่เพียงแต่จะช่วยในการควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเท่านั้น แต่ยังช่วยป้องกันภาวะของโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคเบาหวานได้อีกด้วย เช่น โรคหัวใจ ทั้งนี้ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ร่างกายสามารถผลิตอินซูลินเองได้นั้น มักจะใช้วิธีการบำบัดโดยการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ และดีต่อสุขภาพ โดยมีหลักในการเลือกทานอาหารเพียง 4  ประการ ดังนี้

 

  1. เลือกบริโภคอาหารที่มีแคลลอรีต่ำ
  2. เลือกบริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (Complex Carbs) คืออาหารจำพวกแป้งและเส้นใยอาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์จากธัญพืช ผักใบเขียว ถั่วต่าง ๆ ผลไม้ เป็นต้น
  3. เลือกบริโภคอาหารที่ประกอบไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัว (Polyunsaturated fats) เช่น น้ำมันมะกอก จะช่วยลดระดับไขมันคอเรสเตอรอลในเลือด
  4. ลดการบริโภคอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว เช่น เนย ชีส และเนื้อสัตว์ที่มีไขมัน
ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์
สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์นั้น ควรที่จะควบคุมอาหาร เพื่อที่จะให้ร่างกายแข็งแรง และกลับมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตามข้อแนะนำต่างๆ ดังนี้
  • ควบคุมคาร์โบไฮเดรต : เป้าหมายของการควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน คือการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ โดยการรับประทานคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่เท่ากันในทุกวัน ตามปริมาณที่แพทย์แนะนำ เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะน้ำตาลในเลือดที่สูง หรือต่ำกว่าปกติจากการทานอาหารที่มีปริมาณน้ำตาล หรือคาร์โบไฮเดรตที่แตกต่างกันในแต่ละวัน
  • จดบันทึกปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ได้รับในแต่ละวัน : วิธีการนี้จะช่วยให้การควบคุมคาร์โบไฮเดรตของคุณได้ผลมากยิ่งขึ้น โดยเริ่มจากการจดลงสมุดบันทึก และควบคุมไม่ให้ปริมาณของคาร์โบไฮเดรตในแต่ละมื้ออาหารเกินกว่า 45-60 กรัม ทั้งนี้ปริมาณของตาร์โบไฮเดรตที่คนไข้ควรได้รับจะแตกต่างกันไปตามที่แพทย์แนะนำขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย
  •  ทานอาหารให้ครบทุกมื้อ : การข้ามอาหารมื้อเช้า หรือมื้อกลางวันเพื่อที่จะสามารถลดปริมาณแคลอรี่ที่ควรบริโภคในแต่ละวันนั้น เป็นเรื่องที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะส่งผลให้น้ำตาลในเลือดตกแล้ว ยังจะทำให้ทานอาหารในมื้อถัดไปในปริมาณที่มากกว่าปกติอีกด้วย
  • เพิ่มการบริโภคผัก : การใส่ผักเพิ่มลงไปในมื้ออาหาร จะช่วยเพิ่มสีสันให้อาหารดูน่าทานมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังจะช่วยให้ระบบย่อยอาหารของคุณทำงานดีขึ้นอีกด้วย เลือกผักที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ เช่น เห็ด หัวหอม มะเขือเทศ เป็นต้น
ทั้งนี้หากท่านต้องการที่จะได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถที่จะเข้ามารับคำปรึกษาได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก ที่พร้อมดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของท่านอย่างครบถ้วน ด้วยโปรแกรมโภชนบำบัด ด้วยการให้คำปรึกษาทางด้านการบริโภคอาหารเพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วย ตามแนวทางการรักษาแบบองค์รวม สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้า ที่นี่ 

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

กายภาพบำบัดช่วยลดอาการปวดไมเกนได้ จริงหรือไม่?

    /    บทความ    /    กายภาพบำบัดช่วยลดอาการปวดไมเกนได้ จริงหรือไม่?

กายภาพบำบัด
ช่วยลดอาการปวดไมเกนได้
จริงหรือไม่?

กายภาพบำบัดช่วยลดอาการปวดไมเกนได้ จริงหรือไม่?

โรคไมเกรนเป็นอาการที่นำมาซึ่งการปวดหัวชนิดเรื้อรัง ที่มาพร้อมกับอาการอื่นๆที่น่ากังวลใจ ซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การรับประทานยานั้นจะช่วยได้เพียงชั่วคราว ดังนั้นการทำกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยไมเกรนถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยลดอาการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อที่เกิดจากอาการไมเกรนได้ ซึ่งวิธีต่างๆเหล่านี้ผู้ป่วยสามารถรับคำแนะนำที่ถูกต้องจากนักกายภาพบำบัด และนำมาใช้ที่บ้านด้วยตนเองในระยะยาว เพื่อที่จะบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นขณะเป็นไมเกรนด้วย

ไมเกรน (Migraine Disorder)

ไมเกรน คืออาการปวดหัวชนิดหนึ่ง ที่มาพร้อมกับอาการต่างๆเหล่านี้ เช่น อาการปวดหัวแบบตุบๆ เห็นแสงวูบวาบ ได้ยินเสียงชัดเจนขึ้น สายตาเบลอชั่วขณะ ทั้งนี้ในบางรายอาจเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ร่วมด้วย โรคไมเกรนสามารถเกิดขึ้นกับผู้ป่วยในทุกช่วงวัย แต่จะเริ่มเป็นในวัยรุ่น โดยผู้ป่วยจะแสดงอาการรุนแรงในช่วงอายุประมาณ 30 ปี และจะแสดงอาการของไมเกรนที่น้อยลงในอายุที่มากขึ้น

ไมเกรนกับกายภาพบำบัด

ไมเกรนส่งผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง ประกอบไปด้วยสมอง และไขสันหลัง และยังส่งผลต่อระบบประสาทส่วนปลาย และหลอดเลือด ส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้เกิดอาการปวดไมเกรน ทั้งนี้การทานยารักษาไมเกรนจะช่วยลดอาการปวดที่ระบบประสาทส่วนกลาง ต่างจากการรักษาด้วยวิธีทำกายภาพบำบัดที่จะเน้นการรักษาที่กล้ามเนื้อและข้อต่อ

การทำกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยไมเกรน

การทำกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยไมเกรน จะช่วยเยียวยาอาการปวดชั่วคราว โดยสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆได้ดังนี้

 

  • การนวด : ผู้ป่วยไมเกรน หรือญาติสามารถเรียนรู้วิธีการนวดตามจุดต่างๆ จากนักกายภาพบำบัด และนำวิธีการนวดต่างๆมาใช้ เมื่อมีอาการปวดไมเกรน เพื่อบรรเทาอาการปวดของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นขณะเป็นไมเกรน
  • การดึงกระดูกสันหลังส่วนคอ : วิธีการนี้จะช่วยลดอาการปวดคอที่มาจากไมเกรน ด้วยการแยกกระดูก ข้อต่อ และหมอนรองกระดูกสันหลังออกจากกัน นอกจากนี้วิธีการดึงกระดูกสันหลังส่วนคอยังจะช่วยลดอาการตึงของเส้นประสาท และช่วยยืดกล้ามเนื้อส่วนคออีกด้วย
  • การยืดกล้ามเนื้อ : จะช่วยลดอาการปวดสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆ นักกายภาพบำบัดจะแนะนำท่าทางการเคลื่อนไหวที่ถูกต้อง เพื่อลดอาการปวดที่เกิดขึ้นเฉพาะจุดของร่างกาย
  • การออกกำลังกาย : การออกกำลังกายด้วยท่าทางที่ถูกต้องสำหรับผู้ป่วยไมเกรนแต่ละรายที่มีอาการแตกต่างกันนั้น จะต้องได้รับคำแนะนำจากนักกายภาพบำบัด เพื่อที่จะสามารถลดอาการปวดจากไมเกรนได้ โดยผู้ป่วยสามารถนำท่าทางต่างๆไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน หรือขณะออกกำลังกายได้
ทั้งนี้หากท่านมีอาการปวดกล้ามเนื้อจากไมเกรน หรือมีอาการอื่นๆที่ต้องการจะได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม หรือรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เข้ามารับคำแนะนำได้ที่พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก ที่พร้อมดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของท่านอย่างครบถ้วน ด้วยโปรแกรมกายภาพบำบัด ฟื้นฟูกระดูกเเละกล้ามเนื้อต่างๆ ในร่างกาย ช่วยส่งเสริม ป้องกันเเละรักษาสุขภาพ โดยใช้การบริหาร ออกกำลังกาย ไปจนถึงการใช้เครื่องมือเฉพาะทาง สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่ 
 

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทั้งตัว! หรือจะเป็น “โรคไฟโบรมัยอัลเจีย”

    /    บทความ    /    ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทั้งตัว! หรือจะเป็น “โรคไฟโบรมัยอัลเจีย”

ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทั้งตัว! หรือจะเป็น “โรคไฟโบรมัยอัลเจีย”

ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทั้งตัว! หรือจะเป็น “โรคไฟโบรมัยอัลเจีย”

โรคไฟโบรมัยอัลเจียส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย ด้วยอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อทั่วร่างกายเป็นเวลานานแบบเรื้อรัง ที่มาพร้อมกับความเหนื่อยล้าที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ส่งผลกระทบต่ออารมณ์และจิตใจ ทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ทั้งนี้หากผู้ป่วยได้รับการประเมินรักษา โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงการทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง อาการปวดเมื่อยได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยไม่รู้สึกถึงอาการปวดเมื่อยตามร่างกายอีกต่อไป

โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia)

โรคไฟโบรมัยอัลเจียเป็นอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อทั่วร่างกายแบบเรื้อรัง อันเนื่องมาจากสาเหตุที่ไม่สามารถระบุได้ชัดเจน อาจเกิดจากความเครียด การทำกิจกรรมที่ใช้ร่างกายเป็นระยะเวลานาน หรือการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตามอาการปวดที่เกิดขึ้น ไม่ได้มาจากการบาดเจ็บของข้อต่อ หรืออวัยวะอื่นๆ แต่อาการปวดส่งผลกระทบกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้ป่วย เพราะไม่สามารถทำกิจกรรมที่ใช้แรง หรือกล้ามเนื้อได้เหมือนเดิม โดยผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อย อ่อนล้า ร่วมกับอาการปวดเมื่อยทั่วร่างกายตามจุดต่างๆของกล้ามเนื้อ 18 จุด ที่เมื่อกดตามบริเวณต่างๆ จะเกิดอาการเจ็บปวด แตกต่างจากคนธรรมดาที่จะรู้สึกเพียงแรงกดเท่านั้น จากงานวิจัยจะพบว่าผู้หญิงอายุระหว่าง 25-60 ปี มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคไฟโบรมัยอัลเจียมากกว่าผู้ชายถึง 10 เท่า

โรคไฟโบรมัยอัลเจียและอาการซึมเศร้า

จากการรายงานพบว่าผู้ป่วยโรคไฟโบรมัยอัลเจียบางรายนั้น เคยถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน อาจเกิดจากอาการปวดกล้ามเนื้อทั่วร่างกายแบบเรื้อรัง ที่ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ เช่น การทำกิจกรรมต่างๆ หรือการใช้สมาธิในการทำงาน เป็นต้น เนื่องจากอาการปวดกล้ามเนื้อทั่วร่างกายส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกเครียด และกังวลตลอดเวลา โดยสิ่งเหล่านี้อาจเป็นที่มาของอาการเหนื่อยล้าที่เกิดจากโรคซึมเศร้า นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงสารเคมีในสมองที่เปลี่ยนไปของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าซึ่งอาจเป็นสาเหตุในการเกิดโรคไฟโบรมัยอัลเจียอีกด้วย

ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน

อาการของโรคไฟโบรมัยอัลเจียที่ชัดเจนรองลงมาจากอาการปวดเมื่อย คืออาการเหนื่อยล้าที่ส่งผลให้การทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันเป็นเรื่องที่ยากขึ้นกว่าปกติ เช่น การทำงานบ้าน การทำงานที่ต้องใช้สมาธิ หรือการออกกำลังกาย นอกจากนี้อาการปวดแบบเรื้อรังยังส่งผลกระทบต่อจิตใจ และอารมณ์อีกด้วย อาจก่อให้เกิดอารมณ์เครียด หงุดหงิด หรือซึมเศร้า ไม่เพียงแต่ทุกข์ทรมานจากการอาหารปวดเมื่อยเท่านั้น แต่ผู้ป่วยโรคไฟโบรมัยอัลเจียยังจะต้องประสบปัญหาในการนอนหลับ เช่น การหลับไม่สนิท หรือการตื่นกลางดึก เนื่องจากอาการเจ็บปวดที่รบกวนการนอน

กายภาพบำบัดช่วยได้

การทำกายภาพบำบัดโดยผู้เชี่ยวชาญ สามารถช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย ผ่านการยืดกล้ามเนื้อด้วยท่าเฉพาะสำหรับผู้ป่วยโรคไฟโบรมัยอัลเจีย ที่จะช่วยให้กล้ามเนื้อส่วนที่ปวดเมื่อยมีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น นอกจากช่วยเรื่องอาการปวดเมื่อยแล้ว การทำกายภาพบำบัดยังช่วยลดอาการเหนื่อยล้า ผ่านการใช้เครื่องมือบำบัด การนวด หรือการใช้ความร้อน และความเย็นเข้าช่วย ขั้นตอนต่างๆเหล่านี้จะทำให้ผู้ป่วยโรคไฟโบรมัยอัลเจียสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างคล่องแคล่วได้อีกครั้ง โดยไม่ต้องกังวลถึงความเจ็บปวดอีกต่อไป

ทั้งนี้การทำกายภาพบำบัดยังช่วยให้การใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพราะผู้เชี่ยวชาญสามารถแนะนำท่าทางในการทำกิจกรรมที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการนั่งทำงาน การยืน หรือเดิน รวมถึงการออกกำลังกาย เพื่อป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ หรือข้อต่อที่อาจเกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมต่างๆ นอกจากการแนะนำท่าทางที่ปลอดภัยแล้ว นักกายภาพบำบัดยังสามารถช่วยแนะนำกิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคไฟโบรมัยอัลเจีย เพื่อลดอาการเหนื่อยล้าที่อาจเกิดขึ้นระหว่างวัน และอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในระยะยาว

กายภาพบำบัดช่วยอะไรได้บ้าง?

 

การทำกายภาพบำบัดจะช่วยบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นจากการบาดเจ็บ หรืออาการป่วยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวัน โดยการทำกายภาพบำบัดมีเป้าหมายคือ ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาเคลื่อนไหว และใช้ชีวิตได้ตามปกติ ดังนี้

  • บรรเทาอาการเจ็บปวดตามร่างกาย
  • พัฒนาการเคลื่อนไหวของร่างกาย
  • ป้องกัน หรือบรรเทาอาการบาดเจ็บที่เกิดจากการเล่นกีฬา
  • ช่วยให้ร่างกายกลับมาเคลื่อนไหวได้ปกติหลังได้รับการผ่าตัด
  • ฟื้นฟูร่างกายหลังได้รับอุบัติเหตุ
  • รักษาอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ หรือข้ออักเสบ
  • ลดความเจ็บปวดจากอาการออฟิศซินโดรม
  • รักษาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย
 กายภาพบำบัดกับโรคไฟโบรมัยอัลเจีย

 

สำหรับการเข้ารับการบำบัดในครั้งแรก นักกายภาพบำบัดจะทำการสอบถามถึงอาการเจ็บปวดต่างๆที่เกิดขึ้นในส่วนต่างๆของร่างกาย โดยคำถามจะรวมถึงความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย การใช้ชีวิตประจำวัน การนอนหลับ และประวัติการใช้ยา เพื่อนำมาประเมิณและวินิจฉัยโรคในเบื้องต้น หลังจากนั้นนักกายภาพจะทำการทดสอบโดยการประเมิณร่างกาย ดังนี้

  • ทดสอบความสามารถในการเคลื่อนไหว เช่น การเอื้อม งอ หรือจับสิ่งของต่างๆ
  • ความสามารถในการเดิน งอเข่า หรือการขึ้นบันได
  • อัตราการเต้นของหัวใจขณะทำกิจกรรมต่างๆ
  • การทรงตัวในท่าทางต่างๆ
  • กดคลึงทั่วร่างกายตามจุดต่างๆของกล้ามเนื้อ 18 จุด 

หลังจากที่ได้ทำการทดสอบครบถ้วนแล้ว นักกายภาพจะทำการกำหนดแผนในการรักษาผู้ป่วย เพื่อให้สอดคล้องกับความเจ็บป่วยที่คนไข้กำลังเผชิญ โดยแต่ละบุคคลจะมีระยะเวลาในการรักษาที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับอาการที่เกิดขึ้น นักกายภาพบำบัดจะทำการวางแผนการรักษาด้วยวิธีต่างๆ เพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายของผู้ป่วยให้กลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติอย่างยั่งยืน ในระยะเวลาที่เหมาะสม

ทั้งนี้หากท่านมีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ต้องการที่จะหาสาเหตุ เพื่อที่จะได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม หรือรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เข้ามารับคำแนะนำได้ที่พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก ที่พร้อมดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของท่านอย่างครบถ้วน ด้วยโปรแกรมกายภาพบำบัด ฟื้นฟูกระดูกเเละกล้ามเนื้อต่างๆ ในร่างกาย ช่วยส่งเสริม ป้องกันเเละรักษาสุขภาพ โดยใช้การบริหาร ออกกำลังกาย ไปจนถึงการใช้เครื่องมือเฉพาะทาง สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่ 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

อาการทางจิต 3 ประเภท ที่อาจเกิดขึ้นร่วมกับภาวะซึมเศร้า

    /    บทความ    /    อาการทางจิต 3 ประเภท ที่อาจเกิดขึ้นร่วมกับภาวะซึมเศร้า

อาการทางจิต 3 ประเภท
ที่อาจเกิดขึ้นร่วมกับภาวะซึมเศร้า

อาการทางจิต 3 ประเภท ที่อาจเกิดขึ้นร่วมกับภาวะซึมเศร้า

ภาวะโรคซึมเศร้าจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเรียน การทานอาหาร หรือ การนอนหลับ ทั้งนี้หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา ดูแลอย่างใกล้ชิดจากนักจิตวิทยา หรือคนรอบข้าง อาจก่อให้เกิดอาการทางจิตอื่นๆ ร่วมขึ้นด้วยที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของผู้ป่วยในระยะยาว ดังนั้นการดูแลสุขภาพจิตให้แข็งแรงจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ

ภาวะซึมเศร้า (Major Depressive Disorder) คืออะไร?

อาการเศร้า เสียใจ เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน แต่ในส่วนของภาวะซึมเศร้านั้น เป็นอาการที่จะรู้สึกเศร้าทั้งวัน โดยส่วนมากจะเกิดขึ้นในช่วงเช้า และนำมาซึ่งอาการเบื่อหน่าย หมดความสนใจในการทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง โดยอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นทุกวันติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ 

อาการของภาวะซึมเศร้า

  • เหนื่อยล้า หรือหมดพลังเกือบทุกวัน
  • รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า หรือรู้สึกผิดตลอดเวลา
  • สมาธิสั้น ไม่สามารถจดจ่อกับงานได้
  • นอนไม่หลับ หรือรู้สึกง่วงนอนตลอดทั้งวัน
  • ไม่มีความสุข หรือรู้สึกหมดความสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบ
  • หมดแรง เฉื่อยชา
  • น้ำหนักลดลง หรือเพิ่มขึ้นอย่างมากในระยะเวลาอันสั้น
  • มีความคิดอยากตาย หรืออยากฆ่าตัวตาย

คำถามที่ใช้ในการคัดกรองด้วยตัวเอง

โดยคุณสามารถประเมินตัวเอง หรือคนในครอบครัวได้คร่าวๆ โดยใช้คำถามสองข้อ (ถ้ามีอย่างน้อย 1 ข้อ ถือว่าคุณมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้า)

  1. ใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา รวมถึงวันนี้คุณรู้สึกหดหู่ เศร้า หรือท้อแท้สิ้นหวังหรือไม่
  2. ใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา รวมถึงวันนี้คุณรู้สึกเบื่อ ทำอะไรก็ไม่เพลิดเพลินหรือไม่ 

ภาวะซึมเศร้าและอาการทางจิตอื่นๆ

ภาวะซึมเศร้าอาจเกิดร่วมกันกับอาการทางจิตอื่นๆ เช่น  โรควิตกกังวล โรคแพนิค โรคกลัวสังคม เป็นต้น โดยโรคต่างๆเหล่านี้สามารถรักษาให้หายได้ ด้วยคำแนะนำที่ถูกต้องจากแพทย์ หรือนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญ ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติได้

โรควิตกกังวล (Anxiety Disorders)

อาการวิตกกังวล เป็นอาการที่เกิดขึ้นจากความเครียด นำมาซึ่งอาการหัวใจเต้นเร็ว กล้ามเนื้อรัดเกร็ง โดยโรควิตกกังวลมักจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า นอกจากนี้ผลงานวิจัยยังบ่งชี้ว่า ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าจะเคยประสบกับโรควิตกกังวลอยู่บ่อยคร้้ง โดยโรควิตกกังวลนั้นผู้ป่วยจะไม่สามารถควบคุมอาการวิตกกังวล และความเครียดได้ พร้อมกับมีอาการต่างๆ ดังนี้

 

  • ไม่สามารถจดจ่อกับงานได้
  • เหนื่อยล้า หมดแรง
  • หงุดหงิดง่าย 
  • กล้ามเนื้อเกร็ง
  • นอนหลับยาก หรือง่ายผิดปกติ
 โรคแพนิค (Panic Disorder)

 

อาการแพนิคเป็นโรควิตกกังวลประเภทหนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นร่วมกับภาวะซึมเศร้า โดยผู้ที่เป็นโรคแพนิคนั้น จะมีอาการตกใจ หรือกลัวสุดขีดคล้ายภาวะหัวใจวาย หรือเป็นลม  ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยมีความกังวลอย่างรุนแรงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเฉียบพลัน นอกจากนี้ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคแพนิคจะมีอาการดังนี้ร่วมด้วยอย่างน้อย 4 อย่าง อาทิ

 

  • เจ็บหน้าอก
  • หายใจลำบาก และถี่
  • ปวดหัว หรือมึนงง
  • เหงื่อออก
  • หัวใจเต้นเร็ว และแรง
  • ตัวสั่น หรือเกิดอาการชาตามร่างกาย
  • ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้

โรคกลัวสังคม (Phobic Disorder)

อาการกลัว ตื่นตระหนกถือเป็นโรควิตกกังวลประเภทหนึ่งด้วยเช่นกัน ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการกลัวนั้นอาจมีเหตุผลแอบแฝง หรือไม่มีเลยก็เป็นได้ เมื่อผู้ป่วยตกอยู่ในสภาวะหวาดกลัวจะทำให้เกิดอาการ หัวใจเต้นเร็ว คลื่นไส้ เหงื่อออก โดยอาการกลัวสังคมนั้นเป็นอาการทางจิตชนิดหนึ่ง ที่ผู้ป่วยจะรู้สึกหวาดกลัวเมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ถูกล้อมไปด้วยผู้คนแปลกหน้า ทั้งนี้อาการที่เกิดขึ้นจะเหมือนกับโรควิตกกังวล และมีอาการอื่นๆร่วมด้วย ดังนี้
  • พูดจาติดขัด
  • ปากแห้ง
  • เหงื่อออกมาก
  • คลื่นไส้
  • หัวใจเต้นแรง
  • ตัวสั่น

ลดอาการวิตกกังวลในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?

  • ทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย จะช่วยให้อาการวิตกกังวลลดลง และสุขภาพจิตดีขึ้นอีกด้วย เช่น การออกกำลังกาย หรือการเล่นโยคะเป็นประจำ จะช่วยฝึกจังหวะการหายใจ ทำให้สงบมากยิ่งขึ้น 
  • ทานอาหารที่มีประโยชน์ นอกจากจะช่วยให้สุขภาพกายแข็งแรงแล้ว ยังช่วยให้สุขภาพจิตใจแข็งแรงด้วย หลีกเลี่ยงคาเฟอีน รวมถึงแอลกฮอล์ และสารเสพติด จะช่วยให้ร่างกายทำงานดียิ่งขึ้น ส่งผลให้จิตใจเบิกบาน
  • สังสรรค์กับเพื่อน การพบปะเพื่อนจะช่วยบรรเทาอาการเหงา หรือเบื่อหน่าย สามารถชวนเพื่อนทำกิจกรรมใหม่ๆด้วยกัน หลีกเลี่ยงการอยู่คนเดียวเมื่อรู้สึกเครียด หรือกังวล จะช่วยบรรเทาอาการวิตกกังวลได้
  • อย่าจมอยู่กับความเครียด หากเริ่มรู้สึกเครียด หรือกังวลเรื่องงาน ให้ลองพักจากงานและไปทำกิจกรรมอื่นเพื่อคลายเครียด เช่น การพูดคุยกับเพื่อน ออกกำลังกาย หรือนั่งสมาธิ เป็นต้น
หากทำครบตามที่แนะนำแล้วอาการไม่ดีขึ้น ท่านสามารถลดความเครียด และความกังวลได้ ด้วยการมาพบนักจิตวิทยาเพื่อทำการพูดคุย ปรึกษา พร้อมรับคำแนะนำได้ที่พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก ที่จะคอยดูแลรักษาสุขภาพจิตของท่านให้แข็งแรง สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่ 
 

Reference

  • The Link Between Depression and Other Mental Illnesses (https://www.webmd.com/depression/guide/link-to-other-mental-illnesses)
  • Major Depression (Clinical Depression)(https://www.webmd.com/depression/guide/major-depression)
  • Generalized Anxiety Disorder                                      (https://www.webmd.com/anxiety-panic/guide/generalized-anxiety-disorder)

บทความที่เกี่ยวข้อง