/    บทความ    /    ปวดหลังเรื้อรัง แก้ไขได้ด้วยวิธีไหนบ้าง?

ปวดหลังเรื้อรัง
แก้ไขได้ด้วยวิธีไหนบ้าง?

ปวดหลังเรื้อรัง แก้ไขได้ด้วยวิธีไหนบ้าง?

จากงานวิจัยพบว่า 90% ของวัยกลางคนไปจนถึงผู้สูงอายุ เคยมีอาการปวดหลัง โดยอาการปวดหลังสามารถแบ่งออกได้หลายรูปแบบ ตั้งแต่การปวดที่เกิดในระยะสั้น ไปจนถึงอาการปวดแบบเรื้อรังที่มาจากหลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอาการเคล็ดขัดยอก การปวดจากกระดูก หรือการปวดที่เกิดจากอุบัติเหตุ ในบางรายอาจเกิดจากน้ำหนักที่เกินเกณฑ์มาตรฐานได้เช่นกัน

 

อาการปวดหลังเรื้อรัง

โดยส่วนมาก อาการปวดหลังจากกล้ามเนื้อทั่วไปมักหายได้ในเวลาไม่ถึงสัปดาห์ แต่หากว่าผู้ป่วยมีอาการปวดหลังต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานกว่า 2 สัปดาห์เป็นต้นไป หรือมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและรักษาก่อนจะเกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง ทั้งนี้อาการปวดหลังเรื้อรังถือเป็นลักษณะอาการสำคัญอย่างหนึ่งของโรค Office Syndrome ซึ่งคือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) เกิดจากการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ 

 

การป้องกันอาการปวดหลังเรื้อรัง

วิธีเหล่านี้จะช่วยป้องกันอาการปวดหลัง ไม่ให้กลับมาเกิดขึ้นอีกครั้ง โดยสามารถเริ่มต้นทำได้ด้วยตัวคุณเอง 

  • ออกกำลังกาย หลายท่านอาจคิดว่าขณะปวดหลังนั้น ไม่ควรออกกำลังกาย แต่ความจริงแล้วหากคุณมีอาการปวดหลัง ที่อาจเกิดจากอาการกล้ามเนื้อหดยึด (Myofascial Pain Syndrome) การออกกำลังกายด้วยวิธีการยืดกล้ามเนื้อนั้นจะช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อได้ แต่ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าท่าออกกำลังกายของคุณนั้นถูกต้อง
  • ควบคุมน้ำหนักตัว  ภาวะน้ำหนักที่เกินเกณฑ์จะส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังได้ ซึ่งการควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันอาการปวดหลังได้
  •  หยุดพักสักนิด หากคุณนั่งอยู่ในท่าไหนที่นานเกินไป จะส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังได้ ให้ลองพักยืดกล้ามเนื้อสัก 10 นาที ทุก 1 ชั่วโมง เปลี่ยนท่านั่งให้ถูกต้อง เพียงเท่านี้ก็สามารถป้องกันอาการปวดหลังได้แล้ว
  • จัดสรีระร่างกายให้ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการนั่ง ยืน เดิน หรือนอน การจัดระเบียบร่างกายจนเป็นความเคยชินนั้นสำคัญที่สุด เพราะนอกจากจะช่วยให้บุคลิกภาพของคุณดูดีขึ้นแล้ว ยังจะช่วยป้องกันอาการปวดในส่วนต่างๆของร่างกายอีกด้วย  

กายภาพบำบัด (Physical Therapy)

คือการฟื้นฟู และเสริมสร้างความสามารถในการใช้ร่างกายด้วยเทคนิคต่างๆ โดยใช้วิธีการตรวจประเมิน และบำบัดความบกพร่องของร่างกายที่เกิดจากภาวะของโรค หรือการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ ทั้งนี้การทำกายภาพบำบัด อาจช่วยบรรเทาอาการปวด ฟื้นฟูร่างกายจากการบาดเจ็บ และช่วยให้ร่างกายเกิดความสมดุล

เทคนิคและวิธีการต่างๆ ของการทำกายภาพบำบัด

การทำกายภาพบำบัดจะเน้นการบำบัดฟื้นฟูอาการเจ็บป่วยต่างๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร่วมกับการออกกำลังกาย หรือใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดต่างๆ เช่น

  • ศาสตร์การนวดผ่อนคลายหลังออกกำลังกาย (Sport massage) การนวดกล้ามเนื้อสำหรับผู้ที่ออกกำลังกาย หรือผู้ที่ผ่านการใช้กล้ามเนื้อมาอย่างหนัก ซึ่งจะแตกต่างจากการนวดแบบอื่นๆ โดยการนวดผ่อนคลายหลังออกกำลังกายจะเน้นการนวดกล้ามเนื้อระดับลึก มีการใช้เทคนิคที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้ที่ออกกำลังกายได้ใช้กล้ามเนื้อได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และลดโอกาสในการบาดเจ็บขณะออกกำลังกาย
  • การรักษาด้วยคลื่นอัลตราซาวด์ (Ultrasound)  คลื่นเสียงความถี่สูง ที่สามารถลดอาการปวดบวมหรือการอักเสบของเนื้อเยื่อ ช่วยเร่งการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ และคลายกล้ามเนื้อที่เกร็ง รวมไปถึงเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับข้อต่อในชั้นลึก นอกจากนี้ยังสามารถนำมาช่วยในการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมได้อีกด้วย
  • การบำบัดด้วยพลังงานคลื่นกระแทก (Shockwave) คลื่นกระแทกที่มีความสามารถในการกระตุ้นพังผืดที่ได้รับการบาดเจ็บ เพื่อให้ร่างกายได้สร้างเซลล์กล้ามเนื้อใหม่ ช่วยในการสลายพังผืดและทำให้ชั้นกล้ามเนื้อคลายตัวลง โดยพลังงานคลื่นกระแทกนั้นมีความสามารถในการนำมาลดการปวดเรื้อรังได้

ขั้นตอนการทำกายภาพบำบัด

การทำกายภาพบำบัด เป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญในการช่วยฟื้นฟูกระดูกเเละกล้ามเนื้อต่างๆของร่างกาย โดยผ่านการใช้เทคนิคต่างๆ เช่น ศาสตร์การนวดผ่อนคลายหลังออกกำลังกาย (Sport massage) การรักษาด้วยคลื่นอัลตราซาวด์ (Ultrasound) เเละการบำบัดด้วยพลังงานคลื่นกระแทก (Shockwave) เป็นต้น โดยการรักษานอกเหนือจากการทำกายภาพบำบัดแล้ว ยังรวมถึง

 

  • การประเมินโครงสร้างร่างกายเพื่อหาสาเหตุการเจ็บป่วย ปวดเมื่อย กล้ามเนื้ออักเสบ เจ็บปวดเรื้อรังและการปรับร่างกายให้เกิดความสมดุล 
  • การสร้างความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงานตามความเหมาะสมให้กับแต่ละบุคคล 
  • การให้ความรู้และส่งเสริมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและถูกวิธี เพื่อให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงและยืดหยุ่น ป้องกันภาวะบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
กายภาพบำบัดเหมาะกับใคร?
การทำกายภาพบำบัดสามารถทำได้ทั้งก่อน-หลังมีอาการผิดปกติ เนื่องจากการทำกายภาพนั้นเป็นการดูแลและฟื้นฟูระบบการทำงานในส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อ กระดูกและการไหลเวียนเลือด ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • ผู้ป่วยออฟฟิศซินโดรม :   อาการเจ็บปวดที่เกี่ยวข้องกับระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ซึ่งถ้าหากมีอาการมาก จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือก่อให้เกิดความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว โดยอาการเหล่านี้สามารถรักษาได้ด้วยการทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
  • ผู้ที่มีอาการปวดหลังเรื้อรัง : การทำกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวดหลังเรื้อรังมีหลายประเภท เช่น อัลตราซาวด์ การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า หรือกายภาพบำบัดด้วยการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ รวมไปถึงการปรับสรีระท่าทางในชีวิตประจำวันของผู้ป่วยให้ถูกต้อง
  •  ผู้ที่มีอาการปวดเมื่อยคอบ่าไหล่ : การทำกายภาพบำบัดสามารถรักษาอาการปวดเมื่อย และบรรเทาอาการปวด เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ โดยวิธีการรักษาอาการปวดด้วยการทำกายภาพบำบัดนั้น แพทย์จะทำการวินิจฉัย และพิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย โดยมุ่งเน้นการรักษาที่ต้นเหตุของอาการ รวมถึงบรรเทาอาการเจ็บปวดให้เหลือน้อยที่สุด
ทั้งนี้หากท่านต้องการตรวจวิเคราะห์ และประเมินโครงสร้างร่างกายเพื่อรักษาอาการปวดเมื่อย กล้ามเนื้ออักเสบ เจ็บปวดเรื้อรัง สามารถเข้ามารับคำปรึกษาได้ที่ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก ที่พร้อมดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของท่านอย่างครบถ้วน ด้วยการส่งเสริม ป้องกันเเละรักษา สุขภาพกาย โดยใช้การบริหาร ออกกำลังกาย ไปจนถึงการใช้เครื่องมือเฉพาะทาง สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้า ที่นี่