Categories
Uncategorized

เสี่ยงหรือไม่? สำรวจตัวเองกับมะเร็งเต้านม

    /    บทความ    /    เสี่ยงหรือไม่? สำรวจตัวเองกับมะเร็งเต้านม

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

เสี่ยงหรือไม่? สำรวจตัวเองกับมะเร็งเต้านม

 มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยอันดับ 1 ในผู้หญิงไทยและทั่วโลก ในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมถึง 0.68 ล้านคน ดังนั้นการตรวจคัดกรองมีความสําคัญมาก เนื่องจากการค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกสามารถรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาในการรักษา และอัตราการเสียชีวิตลงได้

มะเร็งเต้านม (Breast Cancer)

มะเร็งเต้านมเกิดจากเซลล์ของเต้านมที่มีการแบ่งตัวอย่างผิดปกติส่วนใหญ่มักเกิดที่ภายในท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนม และสามารถกระจายออกไปอวัยวะใกล้เคียงเช่นต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ หรือแพร่กระจายไปอยู่อวัยวะที่อยู่ห่างไกล เช่น กระดูก ปอด ตับ และสมอง เช่นเดียวกับมะเร็งชนิดอื่นๆ ทั้งนี้มะเร็งเต้านมพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยผู้ชายมีโอกาสพบได้น้อยมากเพียง1% ของมะเร็งเต้านมทั้งหมด

สาเหตุของมะเร็งเต้านม

  • อายุ ในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปีจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 
  • ฮอร์โมน ฮอร์โมนเพศหญิงมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านม ผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกําเนิดมากกว่า 5 ปี หรือได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนหลังหมดประจําเดือนเป็นระยะเวลานานกว่า 2 ปี จะเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมมากขึ้น
  • ประวัติโรคมะเร็ง ผู้ที่เคยเป็นมะเร็งเต้านมข้างหนึ่ง มีโอกาสเสี่ยงที่จะตรวจพบโรคมะเร็งได้ที่เต้านมอีกข้างหนึ่งได้มากขึ้น
  • พันธุกรรม มะเร็งเต้านมมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับยีน BRCA1, BRCA2 (บีอาร์ซีเอวัน, บีอาร์ซีเอทู) ผู้หญิงที่มีการกลายพันธุ์ของยีน จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น 
  • พฤติกรรม การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์ รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การขาดการออกกําลังกาย ภาวะอ้วนหลังหมดประจําเดือน น้ำหนักเกิน เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

การตรวจเต้านมด้วยตนเองควรทําอย่างน้อยเดือนละครั้ง ช่วงเวลาที่เหมาะสมสําหรับผู้ที่ยังมีประจําเดือน คือ 7-10 วัน หลังจากมีประจําเดือนวันแรก โดยการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ท่านอาจตรวจได้ทั้งในท่ายืน ท่านั่ง หรือท่านอนก็ได้ โดยสามารถสังเกตได้ด้วยตนเองด้วยวิธีการดังนี้

  • การดู โดยให้ท่านยืนหน้ากระจกเงา ปล่อยแขนแนบลําตัวทั้ง 2 ข้าง ตามด้วยท่ายกมือเท้าสะเอว และยกมือทั้ง 2 ข้างไว้เหนือศรีษะ
  • การคลํา หลังจากดูลักษณะเต้านม 2 ข้าง ครบเรียบร้อยแล้ว ให้ท่านคลําบริเวณรักแร้ บริเวณเหนือกระดูกไหปล้าร้าและคลําเต้านมทั้ง 2 ข้าง

สัญญาณผิดปกติ

  • พบก้อนเนื้อบริเวณเต้านม หรือใต้รักแร้ 
  • มีอาการเจ็บผิดปกติที่เต้านม
  • บริเวณเต้านมมีผื่น แดง ร้อน ผื่นคล้ายผิวส้ม
  • ขนาดหรือรูปร่างของเต้านมเปลี่ยนไป ไม่เท่ากันอย่างชัดเจน
  • มีรอยบุ๋มของผิวหนังบริเวณเต้านม หรือหัวนม
  • มีเลือด น้ำเหลือง หรือของเหลวไหลออกมาจากหัวนม 

ทั้งนี้ หากท่านคลำพบเจอสิ่งปกติ ควรที่จะเข้ารับการตรวจรักษาโดยแพทย์เพิ่มเติม เพื่อจะได้เข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง หากคุณต้องการปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับสุขภาพ ที่พรีโมแคร์ เมดิคอล เราพร้อมให้บริการคุณอย่างครบถ้วน สามารถสอบถามเพิ่มเติม หรือทำการนัดหมายล่วงหน้าเพื่อเข้ารับบริการได้ที่ Line Official @primocare หรือคลิกที่นี่  

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

ภาวะเครียดสะสม ที่คุณอาจไม่รู้ตัว

    /    บทความ    /    ภาวะเครียดสะสม ที่คุณอาจไม่รู้ตัว

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

พูดคุยกับนักจิตวิทยาช่วยอะไรได้บ้าง?

ความเครียดเป็นสภาวะของอารมณ์ เมื่อต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์อันตราย ร่างกายจะหลั่งสารสื่อประสาท ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็ว หายใจถี่ขึ้น กล้ามเนื้อหดตัว และความดันโลหิตสูงขึ้น โดยผู้ที่ป่วยเป็นโรคเครียดมักเกิดอาการของโรคทันทีที่เผชิญสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด ในบางรายอาจจะเป็นโรคซึมเศร้า (Depressive disorder) หรือ โรควิตกกังวล (Anxiety disorders) ได้ในอนาคต

ภาวะเครียด

โรคเครียดมีสาเหตุมาจากการพบเจอหรือรับรู้เหตุการณ์อันตรายที่ร้ายแรง ทั้งนี้ความเครียดอาจเกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งความรู้สึกดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายและอารมณ์ ดังนี้ 

  • ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อาทิ ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น เหงื่อออกที่ฝ่ามือ เวียนศีรษะ หายใจไม่สะดวก แน่นหน้าอก หรือนอนไม่หลับ เป็นต้น 
  • ความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ อาทิ รู้สึกกดดันอยู่เสมอ ไม่มีสมาธิ อารมณ์แปรปรวน

ทั้งนี้ภาวะเครียด สามารถที่จะกลายเป็นความเครียดสะสม หรือความเครียดเรื้อรังได้ หากมีอาการเครียดติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จนเกิดความสะสมสร้างความกังวลและรบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ในบางรายที่มีอาการเครียดสะสมมากๆ อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานและคนรอบข้างได้ 

สัญญาณเตือนภาวะเครียด

ภาวะเครียดสามารถก่อให้เกิดผลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ผู้ที่ต้องการสังเกตุว่าตนเองมีภาวะเครียดสะสมหรือไม่ สามารถตรวจสอบความผิดปกติของร่างกาย พฤติกรรม และอารมณ์เบื้องต้นเหล่านี้ เพื่อนำไปสู่การรักษาที่ถูกต้อง

  • สัญญาณทางร่างกาย เช่น หายใจถี่ หัวใจเต้นเร็ว หายใจลำบาก มีอาหารปวดหัว ปวดท้อง นอนไม่หลับ ปวดเมื่อยบริเวณบ่าและคอ ท้องผูกสลับกับท้องเสีย ชาตามปลายมือปลายเท้า
  • สัญญาณทางอารมณ์ เช่น เบื่อหน่ายชีวิต วิตกกังวล มีความต้องการทางเพศลดลง อ่อนไหวง่าย
  • สัญญาณทางพฤติกรรม เช่น นิ่งเงียบ ไม่พูดคุย มั่นใจในตัวเองลดน้อยลง ทานอาหารมากขึ้นหรือน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด เริ่มใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ หรือสนใจที่จะเสพสารเสพติด
  • เกิดโรคแทรกซ้อน ปัญหาทางสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล หรือบุคลิกภาพแปรปรวน

การป้องกัน รักษาภาวะเครียด

ถึงแม้ว่าอาการเครียด หรือกังวลจะเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีภาวะเครียดสะสม ที่ก่อให้เกิดความกังวลและรบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานและคนรอบข้างได้ ดังนั้นผู้ที่มีอาการตรใข้างต้นจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการรักษา หรือป้องกันก่อนเกิดภาวะเครียดสะสม

  • ทำกิจกรรมที่ทำให้คุณรู้สึกสนุกเพลิดเพลินและผ่อนคลาย เช่น การนอนดูหนัง ฟังเพลงสบายๆ หรือออกไปหากิจกรรมกับคนรอบข้าง เช่น เพื่อน คนรัก หรือครอบครัว 
  • ฝึกการผ่อนคลาย เช่น การฝึกหายใจ การทำสมาธิ การฝึกจินตภาพเพื่อเอาชนะความเครียด ความวิตกกังวล จะช่วยให้ชีพจรเต้นช้าลง และคลายความกังวลไปได้บ้าง
  • เปลี่ยนแปลงทัศนคติ เช่น มองความท้าทายว่าเป็นโอกาสในการเรียนรู้และเติบโต หรือใช้หลักการทางศาสนาเข้าช่วยเพื่อให้มีสติและมีความสงบสุขในจิตใจ
  • จัดสรรเวลาในชีวิตประจำวัน โดยการแยกเวลาการทำงาน และเวลาส่วนตัวให้ชัดเจน จัดสรรเวลาเพื่ออยู่กับตัวเอง และทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย
  • ออกกำลังกาย หรือเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เมื่อมีอาการเครียด ร่างกายจะหลั่งสาร Cortisol ซึ่งสามารถช่วยทำให้ร่างกายลดความตึงเครียดโดยการขยับร่างกายวันละ 30 นาที 3 – 5 วันต่อสัปดาห์ 
  • ปรึกษาแพทย์ หากคุณรู้สึกเครียด วิตกกังวล จนไม่สามารถควบคุมความรู้สึกเหล่านี้ได้ การไปพบจิตแพทย์ หรือนักจิตบำบัดจะช่วยบรรเทาอาการเครียดสะสม ผ่านการให้คำปรึกษาและบำบัดอย่างถูกต้อง เพื่อคลายความเครียดอย่างถูกวิธี 

สุขภาพใจมีความสำคัญและต้องการการดูแลไม่ต่างจากสุขภาพกาย หมั่นสังเกตอารมณ์ ความคิด และความรู้สึกของตัวเอง หากท่านต้องการที่จะปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพใจ ให้พรีโมแคร์ช่วยรับฟังและหาทางรับมือปัญหา นัดหมายปรึกษานักจิตวิทยาของเราได้ที่ Line Official @primoCare หรือคลิกที่นี่ 

 

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

พูดคุยกับนักจิตวิทยาช่วยอะไรได้บ้าง?

    /    บทความ    /    พูดคุยกับนักจิตวิทยาช่วยอะไรได้บ้าง?

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

พูดคุยกับนักจิตวิทยาช่วยอะไรได้บ้าง?

 นักจิตวิทยา (Psychologists) เป็นผู้ที่ศึกษาลงลึกด้านจิตใจของมนุษย์และเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญด้านภาวะทางจิตใจ และ อารมณ์ ที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรม ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ กระบวนความคิด และพฤติกรรมของมนุษย์ในปัจจัยแวดล้อมทางสังคมต่างๆ

นักจิตวิทยาช่วยอย่างไร?

การรักษาของนักจิตวิทยาจะเน้นวิธีการตรวจประเมินทางจิตวิทยาและการบำบัดทางจิต ความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมโดยการพูดคุยแลกเปลี่ยนและทำแบบทดสอบเฉพาะด้านเป็นหลัก เพื่อหาสาเหตุของปัญหาและร่วมหาแนวทางการแก้ไข รวมถึงให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือความคิดเพื่อฟื้นฟูสุขภาพจิต โดยนักจิตวิทยาคือผู้ที่เรียนทางจิตวิทยาและได้รับการฝึกจนเป็นนักจิตวิทยาที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่ตนเองสนใจ เช่น จิตวิทยาคลินิก จิตวิทยาการให้การปรึกษา จิตวิทยาองค์กร จิตวิทยาสุขภาพ มีหน้าที่ตรวจประเมินด้วยแบบทดสอบ ให้คำปรึกษา หรือทำจิตบำบัดตามทฤษฎีที่ตนเองสนใจเป็นพิเศษกับผู้ป่วยด้วยการพูดคุย แต่นักจิตวิทยาจะไม่สามารถสั่งจ่ายยาหรือวินิจฉัยอาการทางการแพทย์ได้ โดยทั้งคู่มักทำงานร่วมกันเพื่อช่วยฟื้นฟูสุขภาพจิตของผู้ป่วย 

เมื่อไหร่ถึงจะต้องไปหานักจิตวิทยา

 นักจิตวิทยามักดูแลปัญหาทางสภาวะจิตใจที่สามารถรักษาได้ด้วยการให้คำปรึกษาหรือทำจิตบำบัด ปัญหาทั่วไปที่หลายคนพบเจอในชีวิตประจำวัน แต่ไม่สามารถหาทางออกด้วยตัวเอง หรือไม่รู้จะไปปรึกษาใคร ล้วนแล้วแต่ปรึกษานักจิตวิทยาได้ เช่น ความเครียดจากการเรียนและการทำงาน ภาวะหมดไฟ ในการทำงาน (Burnout) ความวิตกกังวลต่อเรื่องต่างๆ ที่รู้สึกว่ามีมากเกินไป และปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ทั้งครอบครัว เพื่อน หรือคนในที่ทำงาน รวมไปถึงภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวลที่ยังไม่รุนแรง ปัญหาอื่นๆในด้านพฤติกรรม การเรียนรู้ และการปรับตัวเข้ากับสังคม 

  • เมื่อเผชิญหน้ากับปัญหาชีวิต ในช่วงต่างๆ
  • ต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องชีวิตในมิติต่างๆ
  • ต้องการดูแลความเครียด ความกังวลที่เกิดขึ้น
  • ต้องการตัดสินใจที่มั่นคงมากขึ้น
  • อยากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง เพื่อให้ชีวิตตัวเองดีขึ้น
  • อยากมีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น อยากดูแลความสัมพันธ์กับคนสำคัญหรือครอบครัว
  • ต้องการคลี่คลายปมบางอย่างภายในใจ
  • การเปลี่ยนสภาพแวดล้อม สภาวะหมดไฟ
  • เมื่อพบความกดดัน รู้สึกแปลกแยก และต้องการปรับตัว หรือพัฒนาตัวเอง
  • มีปัญหาภายในครอบครัวและต้องการหาทางออก
  • ต้องการมีความสุข ความพอใจในชีวิตตัวเองมากขึ้น
สุขภาพใจมีความสำคัญและต้องการการดูแลไม่ต่างจากสุขภาพกาย หมั่นสังเกตอารมณ์ ความคิด และความรู้สึกของตัวเอง หากท่านต้องการที่จะปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพใจ ให้พรีโมแคร์ช่วยรับฟังและหาทางรับมือปัญหา นัดหมายปรึกษานักจิตวิทยาของเราได้ที่ LINE @primoCare หรือคลิกที่นี่ 
 

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

วิตามิน สารอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน สร้างความแข็งแรงจากภายใน

    /    บทความ    /    วิตามิน สารอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน สร้างความแข็งแรงจากภายใน

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

วิตามิน สารอาหารเสริมภูมิคุ้มกัน สร้างความแข็งแรงจากภายใน

 วิตามินเป็นสารประกอบอินทรีย์ ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญที่สิ่งมีชีวิตต้องการในปริมาณเล็กน้อย โดยได้รับจากการรับประทานอาหาร เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้ในปริมาณที่เพียงพอ 

หน้าที่ของวิตามิน

วิตามินแต่ละชนิดมีหน้าที่แตกต่างกัน โดยวิตามินแต่ละชนิดจะได้รับจากสารอาหารที่แตกต่างกัน หากร่างกายขาดวิตามินชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือได้รับในปริมาณที่ไม่เพียงพอต่อร่างกาย อาจทำให้เกิดความผิดปกติต่อร่างกายได้ โดยวิตามินแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ

1. กลุ่มที่ละลายในน้ำ หมายถึง วิตามินที่สามารถถูกขับออกทางไตพร้อมกับปัสสาวะ โดยวิตามินจะอยู่ในร่างกาย 2-4 ชั่วโมง ทำให้มีโอกาสที่จะสะสมในร่างกายน้อย ไม่ก่อผลข้างเคียง เช่น วิตามินบี และวิตามินซี

  • วิตามินบี : เกี่ยวข้องกับระบบประสาท พลังงานและเม็ดเลือด อาทิ 
– วิตามินบี 1 ช่วยเกี่ยวกับการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ป้องกันโรคเหน็บชา หากขาดจะเกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ พบในเนื้อหมู เมล็ดทานตะวัน ข้าวซ้อมมือ 
 
– วิตามินบี 2 เกี่ยวข้องกับการสร้างเส้นผม เล็บ และผิวหนัง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันโรคปากนกกระจอก จะพบในอาหารจำพวกข้าว ธัญพืช เนื้อสัตว์ ไข่ นม เครื่องในสัตว์ ตับ ผักใบเขียว โยเกิร์ต ข้าวโอ๊ต
 
– วิตามินบี 5  เกี่ยวข้องกับระบบสัมผัส หากได้รับไม่เพียงพอจะทำให้ความรู้สึกสัมผัสเพี้ยน มีอาการเหน็บชาตามปลายมือ ปลายเท้า ท้องร่วง อาจมีคลื่นไส้และอาการแสบร้อนกลางอก จะพบในอาหารจำพวกเนื้อไก่ เนื้อวัว ตับ มันฝรั่ง เมล็ดทานตะวัน
 
– วิตามินบี 6 เกี่ยวกับระบบของเส้นประสาท หากขาดวิตามินบี 6 จะเกิดภาวะซีด โลหิตจางได้ พบมากในเนื้อสัตว์ ปลา ไก่ ตับ มันฝรั่ง กล้วย แตงโม นม ไข่แดง ข้าวกล้อง
 
– วิตามินบี 7 เกี่ยวกับเรื่องผิวหนัง ถ้าขาดจะเป็นผิวหนังอักเสบ ลำไส้อักเสบ ส่วนใหญ่พบในดอกกะหล่ำ ถั่ว กล้วย ปลาแซลมอน ไข่ ตับ งา 
 
– วิตามินบี 9 เกี่ยวข้องกับการสร้างเม็ดเลือด หากขาดจะเป็นโรคโลหิตจางได้ พบในถั่ว ผักโขม บรอกโคลี คะน้า ผักบุ้ง กวางตุ้ง ผักกาดหอม 
 
– วิตามินบี 12 เกี่ยวกับระบบประสาท หากขาดจะเกิดอาการโลหิตจางได้ มีขนาดเม็ดเลือดแดงโตกว่าปกติ พบในกลุ่มเนื้อสัตว์ นม เนย ไข่แดง โยเกิร์ต

  • วิตามินซี : ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหาร ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน และทำให้แผลหายเร็วขึ้น อาหารที่มีวิตามินซีสูง ได้แก่ บร็อคโคลี่ มันฝรั่ง พริกหวาน ผักโขม มะละกอ มะม่วง สตรอเบอร์รี่ ฝรั่ง ส้ม

2. กลุ่มที่ละลายในไขมัน หมายถึง วิตามินที่ละลายในไขมัน หรือน้ำมันเท่านั้น เพื่อดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ไม่สามารถขับออกมาทางปัสสาวะได้ หากได้รับมากเกินจะเก็บสะสมไว้ในร่างกาย เช่น วิตามินเอ, ดี, อี และวิตามินเค

  • วิตามินเอ : ช่วยรักษาสายตาของผู้สูงวัยไม่ให้เสื่อมสภาพเร็ว ช่วยการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย แหล่งของวิตามินเอในอาหาร ได้แก่ ผักโขม แครอท มันเทศ ฟักทอง มะละกอ มะม่วงสุก
  • วิตามินดี : ช่วยป้องกันโรคกระดูกบางและกระดูกพรุน เป็นวิตามินที่ส่วนหนึ่งร่างกายสามารถผลิตได้เองเวลาเจอแสงแดดในช่วงเช้า และจากอาหารจำพวกน้ำมันตับปลา นม ไข่แดง ปลาทู ปลาแซลมอน  
  • วิตามินอี : ช่วยเกี่ยวกับการบำรุงผิวพรรณ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี ป้องกันเซลล์ในร่างกายไม่ให้ถูกทำลาย วิตามินอีพบมากในอะโวคาโด ถั่วต่างๆ เมล็ดทานตะวัน เนยถั่ว งา และน้ำมันสำหรับปรุงอาหาร เช่น น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันมะกอก
  • วิตามินเค : ช่วยในการแข็งตัวของเลือดและกระดูก หากขาดเลือดจะออกง่ายเลือดไหลแล้วหยุดช้า พบในผักใบเขียว มะเขือเทศ ดอกกะหล่ำ ไข่แดง น้ำมันถั่ว ตับ เนื้อหมู 
กลุ่มคนเสี่ยงขาดวิตามิน 
  • ผู้สูงอายุ เกิดจากร่างกายที่ต้องการใช้วิตามินมากขึ้น เพื่อนำมาทดแทน และใช้ประโยชน์ต่อส่วนต่างๆของร่างกายที่สึกหรอ 
  • หญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากร่างกายจะต้องนำสารอาหารส่วนหนึ่งไปให้เด็กในครรภ์ ส่งผลให้ร่างกายต้องการวิตามินมากขึ้น โดยผู้ที่ตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับประทานอาหารเสริมให้ได้สารอาหารครบถ้วนทั้งคุณแม่และลูกในครรภ์
  • พฤติกรรมที่ทำให้ร่างกายสูญเสียวิตามินอย่างรวดเร็ว เช่น ดื่มสุรา สูบบุหรี ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมาก 
  • ผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านโภชนาการมากขึ้นว่าในกลุ่มอาหารที่กินนั้นขาดสารอาหารประเภทใด เพื่อให้ได้รับสารอาหาร และวิตามินทดแทนที่เพียงพอ
  • ผู้ที่มีโรคภัยไข้เจ็บ เช่น คนที่ท้องเสียจะสามารถดูดซึมวิตามินได้น้อยลง หรือผู้ที่มีอาการลำไส้อักเสบ เป็นโรคตับ คนกลุ่มนี้จะสร้างวิตามินได้น้อยลง
การที่ร่างกายได้รับวิตามินที่เพียงพอ จะช่วยให้ทุกส่วนของร่างกายทำงานได้อย่างเต็มที่จากภายใน ส่งผลให้ผิวพรรณสดใส แข็งแรง ปราศจากโรคภัยต่างๆ หากคุณต้องการความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเสริม หรือวิตามินที่ร่างกายคุณขาด สามารถเข้ามารับคำปรึกษาได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก เพื่อเข้าร่วมโปรแกรม Personalized Lifestyle Medicine ที่ออกแบบมาเพื่อเฉพาะบุคคล เราพร้อมดูแลรักษาสุขภาพร่างกาย และจิตใจของท่านให้แข็งแรงอย่างครบถ้วน สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่ 
 

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

First Aid : การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ช่วยเหลือชีวิตอย่างเร่งด่วน

    /    บทความ    /    First Aid : การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ช่วยเหลือชีวิตอย่างเร่งด่วน

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

First Aid : การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ช่วยเหลือชีวิตอย่างเร่งด่วน

การปฐมพยาบาลคือให้การช่วยเหลือเบื้องต้น เมื่อพบอุบัติเหตุแก่ผู้บาดเจ็บก่อนนำส่งโรงพยาบาล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บเพิ่มขึ้น พิการ หรือเสียชีวิต ในการช่วยเหลืออาจใช้อุปกรณ์เท่าที่หาได้ในขณะนั้น เพื่อประคับประคองอาการของผู้ป่วยจนกว่าจะได้รับการรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์ หรือถูกส่งต่อเพื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น (First Aid)

การปฐมพยาบาล หมายถึง การให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ ณ สถานที่เกิดเหตุ โดยใช้อุปกรณ์เท่าที่จะหาได้ในขณะนั้น ก่อนที่ผู้บาดเจ็บจะได้รับการดูแลรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์ หรือส่งต่อไปยังโรงพยาบาล โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ

  • เพื่อช่วยชีวิต
  • เพื่อเป็นการลดความรุนแรงของการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย
  • เพื่อทำให้บรรเทาความเจ็บปวดทรมาน และช่วยให้กลับสู่สภาพเดิมโดยเร็ว
  • เพื่อป้องกันความพิการที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลัง
ทั้งนี้ผู้ปฐมพยาบาลมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บหรือผู้ป่วยฉุกเฉินเท่านั้น จะหมดหน้าที่เมื่อผู้บาดเจ็บปลอดภัยหรือได้รับการรักษาจากแพทย์หรือสถานพยาบาลแล้ว ขอบเขตหน้าที่ของผู้ปฐมพยาบาลมี 2 ประการ ดังนี้

1. วิเคราะห์สาเหตุและความรุนแรงของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการช่วยเหลือได้ถูกต้อง

1.1 ซักประวัติของอุบัติเหตุ จากผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์หรือผู้บาดเจ็บที่รู้สึกตัวดี
1.2 ซักถามอาการผิดปกติหลังได้รับอุบัติเหตุ เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดมากที่บริเวณใด 
1.3 ตรวจร่างกายผู้บาดเจ็บทุกครั้งก่อนให้การปฐมพยาบาล โดยตรวจตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า เพื่อค้นหาสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น เช่น อาการบวม บาดแผล กระดูกหัก เป็นต้น

2. ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ โดยช่วยเป็นลำดับขั้นดังนี้

2.1 ถ้าผู้บาดเจ็บอยู่ในบริเวณที่มีอันตรายต้องเคลื่อนย้ายออกมาก่อน เช่น ตึกพังถล่มลงมา ไฟไหม้ในโรงภาพยนต์ เป็นต้น
2.2 ช่วยชีวิต โดยจะตรวจดูลักษณะการหายใจ ว่ามีการอุดตันของทางเดินหายใจหรือไม่ หัวใจหยุดเต้นหรือไม่ 
2.3 ช่วยมิให้เกิดอันตรายมากขึ้น โดยใช้วิธีการสังเกตุความผิดปกติของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ  

  • หากมีกระดูกหักต้องเข้าเฝือกก่อน เพื่อมิให้มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อมากขึ้น 
  • ถ้ามีบาดแผลต้องคลุมด้วยผ้าสะอาด เพื่อมิให้ฝุ่นละอองเข้าไปทำให้ติดเชื้อ 
  • ในรายที่สงสัยว่ามีการหักของกระดูกสันหลัง ต้องให้อยู่นิ่งที่สุด และถ้าจะต้องเคลื่อนย้ายจะต้องให้แนวกระดูกสันหลังตรง โดยนอนราบบนพื้นไม้แข็ง มีหมอนหรือผ้าประคองศีรษะมิให้เคลื่อนไหว 
หลักทั่วไปในการปฐมพยาบาล

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นต้องดูตามอาการซึ่งแตกต่างกัน โดยผู้ที่ให้ความช่วยเหลือต้องมีสติ คิดหาวิธีรับมือ และตัดสินใจให้เหมาะสมกับสถานการณ์มากที่สุด เพื่อความปลอดภัยของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ โดยสามารถปฏิบัตืตามหลักการต่างๆ ดังนี้

  • เมื่อพบผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ ต้องรีบช่วยเหลือทันที ยกเว้นในกรณีที่มีอุปสรรคต่อการช่วยเหลือ เช่น มีแก็สพิษ มีวัสดุกีดขวาง ให้ย้ายผู้ป่วยออกมาในที่ปลอดภัยเสียก่อนจึงดำเนินการช่วยเหลือ
  • ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในกรณีที่จะมีอันตรายต่อชีวิตโดยรีบด่วนก่อน
  • หลีกเลี่ยงกลุ่มคนจำนวนมาก เพื่อให้ผู้ป่วยมีอากาศปลอดโปร่ง มีแสงสว่างเพียงพอ และมีบริเวณกว้างขวางเพียงพอ อีกทั้งสะดวกในการให้การปฐมพยาบาลด้วย
  • จัดให้ผู้บาดเจ็บอยู่ในท่าที่เหมาะสมในการปฐมพยาบาล และไม่เพิ่มอันตรายแก่ผู้บาดเจ็บด้วย ควรจัดให้อยู่ในท่านอนหงายและทางเดินหายใจโล่ง พร้อมทั้งสังเกตอาการต่างๆ ของผู้บาดเจ็บ และวางแผนการให้การช่วยเหลืออย่างมีสติ ไม่ตื่นเต้นตกใจ สังเกตสิ่งแวดล้อมว่ามีสิ่งของอันตรายอยู่ใกล้เคียงหรือไม่ 
  • บันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ อาการ ลักษณะของผู้บาดเจ็บเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลที่ได้ทำลงไป พร้อมทั้งนำติดตัวไปกับผู้บาดเจ็บเสมอเพื่อประโยชน์ในการรักษาต่อไป
  • อย่าทำการรักษาด้วยตนเอง ให้เพียงการปฐมพยาบาลที่จำเป็นอย่างถูกต้อง แล้วนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาลทันที
การช่วยเหลือเมื่อพบผู้ป่วยไม่หายใจและไม่มีชีพจร

Cardiopulmonary Resuscitation หรือ CPR คือ การปฐมพยาบาลเพื่อช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นให้กลับมาหายใจ และมีการไหลเวียนออกซิเจนรวมทั้งเลือดกลับคืนสู่สภาพเดิม พร้อมทั้งป้องกันเนื้อเยื่อไม่ให้ได้รับอันตรายจากการขาดออกซิเจนอย่างถาวร

  1. เปิดทางเดินหายใจกดหน้าผากยกคาง
  2. ถ้ามีสิ่งแปลกปลอมในปากให้ล้วงออก
  3. ผายปอด 2 ครั้ง
  4. ตรวจพบไม่มีชีพจร ให้นวดหัวใจและผายปอด
  5. กดหน้าอก 30 ครั้ง สลับกับการผายปอด 2 ครั้ง พร้อมตรวจชีพจรและการหายใจเป็นระยะ 
การปฐมพยาบาลเมื่อถูกไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวก

บาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก โดยมากมักจะมีสาเหตุจากอุบัติเหตุ อาการบาดเจ็บจะมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใดขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ระยะเวลาที่ผิวหนังสัมผัสกับความร้อน อวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บ ดีกรีความลึกของบาดแผล และขนาดความกว้างพื้นที่ของบาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

  1. ล้างด้วยน้ำสะอาดที่อุณหภูมิปกติ
  2. หลังจากนั้นซับด้วยผ้าแห้งสะอาด แล้วสังเกตว่าถ้าผิวหนังมีรอยถลอก มีตุ่มพองใส หรือมีสีของผิวหนังเปลี่ยนไป ควรรีบไปพบแพทย์
  3. ไม่ควรใส่ตัวยา/สารใดๆ ทาลงบนบาดแผล ถ้าไม่แน่ใจในสรรพคุณที่ถูกต้องของยาชนิดนั้น  เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อบาดแผล เพิ่มโอกาสการเกิดบาดแผลติดเชื้อ และทำให้รักษาได้ยากขึ้น และไม่ควรเจาะตุ่มน้ำด้วยตนเอง
การปฐมพยาบาลหกล้มแผลถลอก

เมื่อหกล้มอาจมีแผลถลอกได้เช่น ที่บริเวณหัวเข่า ข้อศอก แผลลักษณะนี้จะมีผิวหนังลอกหลุด มีเลือดออกเล็กน้อย อาจมีสิ่งสกปรกที่แผล ถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดการติดเชื้อมีหนองได้ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนพบแพทย์จึงถือเป็นเรื่องสำคัญ

  1. ล้างแผลด้วยน้ำสะอาดและสบู่ เพื่อให้สิ่งสกปรกออกให้หมด
  2. ใช้ผ้าสะอาดกดแผลห้ามเลือดให้หยุดไหล
  3. ใส่ยาสำหรับแผลสด
  4. ปิดแผลด้วยพลาสเตอร์หรือผ้าสะอาด
หากท่านได้รับอุบัติเหตุ ต้องการที่จะทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น สามารถเข้ามารับคำแนะนำ หรือรับการรักษาโดยแพทย์ได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก เรามีความชำนาญและมีความรู้ในด้านการดูแลสุขภาพ ภายใต้การดูเเลอย่างใกล้ชิดจากบุคลากรทางการเเพทย์ของพรีโมเเคร์  สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่ 

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

HOW-TO ฟื้นฟูร่างกายจากอาการ ลองโควิด (Long COVID)

    /    บทความ    /    HOW-TO ฟื้นฟูร่างกายจากอาการ ลองโควิด (Long COVID)

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

HOW-TO ฟื้นฟูร่างกายจากอาการ ลองโควิด (Long COVID)

อีกสิ่งหนึ่งที่น่ากลัวพอๆกับการติดโควิดคือ อาการหลังจากติดเชื้อโควิด-19 หรือที่เรียกว่าลองโควิด ที่จะมีอาการที่สามารถสังเกตได้ชัดคือ อ่อนเพลียเรื้อรังต่อเนื่อง หายใจไม่ทัน หอบเหนื่อย มีภาวะซึมเศร้าหรือวิตกกังวล เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้อาจไม่ได้เกิดกับทุกคนที่เคยติดเชื้อโควิด 

อย่างไรก็ตามผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด ถือเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการลองโควิด ซึ่งอาจเกิดหลังจากที่ได้รับเชื้อมาแล้ว 4-12 สัปดาห์ขึ้นไป ทั้งนี้การฟื้นฟูร่างกายถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วย ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และรับประทานอาหารเสริมเพื่อสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายแข็งแรง และกลับมาฟื้นฟูได้อย่างปลอดภัย

ลองโควิด (Long COVID)

อาการลองโควิด (Long COVID) หรือ Post COVID-19 Syndrome คือ อาการทางร่างกายและทางจิตใจ ที่หลงเหลืออยู่หลังหายจากการติดเชื้อโควิด-19 โดยตัวอย่างอาการของ ‘ลองโควิด’ ได้แก่

  • อาการอ่อนเพลีย
  • อาการไอเรื้อรัง
  • อาการหายใจถี่ หายใจไม่ทัน หรือหอบเหนื่อยง่ายมากขึ้น
  • การรับรสชาติอาหารเปลี่ยนไป หรือพบอาการชาที่ลิ้นในบางราย
  • ปวดท้อง ท้องเสีย ไม่อยากอาหาร
  • มีอาการปวดเมื่อนตามตัว หรือมีผื่นตามตัว
  • นอนไม่หลับ มีภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล หรือมีผลกระทบทางจิตใจ (Post-Traumatic Stress Disorder)

ทั้งนี้อาการลองโควิด เป็นผลจากความผิดปกติภายในร่างกาย เนื่องจากร่างกายยังฟื้นฟูไม่เต็มที่ ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิดจึงควรให้ความสำคัญกับการสังเกตอาการตนเอง พบแพทย์เพื่อประเมินสภาพร่างกาย และวางแผนการฟื้นฟูที่ถูกต้อง โดยผู้ป่วยสามารถนำแนวทางในการพักฟื้นหลังติดเชื้อโควิด-19 มาปฏิบัติได้ ดังนี้

  • สังเกตอาการอยู่บ้าน อย่างน้อย 5 วัน โดยให้สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือให้สะอาด และเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล
  • สังเกตอาการผิดปกติต่างๆอย่างต่อเนื่อง เช่น ไข้สูง ไอมาก หอบเหนื่อย เจ็บแน่นหน้าอก หน้ามืดเป็นลม แขนขาอ่อนแรง หากมีอาการควรพบแพทย์เพื่อประเมินสภาพร่างกาย
  • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ ควรกลับเข้ามารับการประเมินสุขภาพให้ครบถ้วน และควรรับการรักษาโรคประจำตัวนั้นอย่างต่อเนื่อง
  • ดูแลสุขภาพจิต หากผู้ป่วยที่มีความเครียด หรือมีปัญหาสะสม สามารถติดต่อพูดคุยกับจิตแพทย์เพื่อประเมินและฟื้นฟูสภาพจิตใจ
 จะทราบได้อย่างไรว่ามีอาการลองโควิด?

จากรายงานผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาตัวหายแล้ว โดยกลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดภาวะลองโควิด ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอาการหนักจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยเฉพาะในกรณีที่เชื้อลงปอดแล้วเกิดภาวะปอดอักเสบรุนแรง, ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังต่างๆ และผู้ป่วยที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโควิด โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
  • กลุ่มที่ 1 จะยังคงมีอาการแสดงหลังรักษาโควิด-19 หายแล้ว โดยจะยังมีอาการภายใน 4 สัปดาห์ และจะค่อยๆ ดีขึ้น
  • กลุ่มที่ 2  ยังคงมีอาการต่อเนื่องมากกว่า 1 เดือน และอาการจะหายช้า ซึ่งจะพบมากในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะอ้วน หรือน้ำหนักเกิน และผู้ที่มีโรคประจำตัว ซึ่งกลุ่มที่มีอาการมากกว่า 4-6 สัปดาห์ จะเป็นอาการที่เรียกว่า Post COVID Syndrome หรือ Long COVID อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19
 การป้องกันโรคลองโควิด

อาการลองโควิดจะมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปวดหัว ทั้งนี้ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 สามารถป้องกันอาการลองโควิดได้ โดยการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงและสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของตนเองอยู่เสมอ ดังนี้

  • ทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ปรุงสุก สะอาด เน้นอาหารย่อยง่าย เนื่องจากอาจมีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร หากมีอาการเบื่ออาหาร ควรแบ่งอาหารเป็นมื้อ เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ตลอดวัน ไม่ให้ร่างกายอ่อนล้า อ่อนเพลีย
  • เลือกทานอาหารที่มีโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่วต่าง ๆ เต้าหู้ 
  • บริโภคอาหารที่มีจุลินทรีย์ที่ดีต่อสุขภาพ หรือโพรไบโอติกส์ (Probiotics) ได้แก่ โยเกิร์ต นมเปรี้ยว
  • ทานอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง กล้วย หัวหอมใหญ่ กระเทียม เป็นต้น เพื่อเป็นอาหารให้จุลินทรีย์ที่ดีต่อสุขภาพ และยังช่วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  • งดสูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ส่งผลทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดต่ำลง
ทั้งนี้ การบริโภควิตามินและแร่ธาตุต่างๆ มีส่วนช่วยให้ร่างกายฟื้นฟู แข็งแรง และสร้างภูมิคุ้มกันได้เช่นกัน โดยวิตามินและแร่ธาตุสร้างภูมิคุ้มกัน ที่ควรบริโภคหลังติดเชื้อโควิด-19 เพื่อป้องกันภาวะลองโควิด ได้แก่

  1. วิตามินซี พบมากในผักและผลไม้สด เช่น ส้ม มะละกอ ฝรั่ง มะนาว มะเขือเทศ พริกหวาน เป็นต้น ควรกินแบบสด หากนึ่งหรือผัด ควรใช้ระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อรักษาคุณค่าจากวิตามินซีไว้ได้ดียิ่งขึ้น
  2. วิตามินเอ เช่น เครื่องในสัตว์ ไข่แดง นม ผลิตภัณฑ์จากนม ผักใบเขียวเข้ม ผักและผลไม้สีเหลืองและสีส้ม เช่น ตําลึง ผักบุ้ง แครอท ฟักทอง มันเทศสีเหลือง มะละกอสุก เป็นต้น
  3. วิตามินดี ได้แก่ ปลานิล ปลาทับทิม เห็ด ไข่แดง เป็นต้น
  4. วิตามินอี ได้แก่ ไข่ ผักและผลไม้ต่าง ๆ เช่น ถั่วต่าง ๆ นํ้ามันถั่วเหลือง นํ้ามันมะกอก นํ้ามันดอกทานตะวัน อะโวคาโด เป็นต้น
  5. แร่ธาตุสังกะสี ได้แก่ เนื้อสัตว์ เครื่องใน ตับ หอยนางรม ข้าวกล้อง เป็นต้น
นอกจากนี้หลังจากติดเชื้อ 2 สัปดาห์ – 1 เดือน สามารถปรึกษาแพทย์ให้แนะนำเกี่ยวกับการเลือกรับประทานวิตามินและอาหารเสริมเป็นรายบุคคล วางใจให้พรีโมแคร์เป็นเพื่อนร่วมเดินทาง เคียงข้าง สร้างสุขภาพดีไปกับคุณ หากท่านต้องการที่จะนัดหมายเพื่อปรึกษาพูดคุยกับแพทย์ เพื่อสอบถามบริการ หรือข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการโควิด-19 สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก เราพร้อมดูแลรักษาสุขภาพร่างกาย และจิตใจของท่านให้แข็งแรงอย่างครบถ้วน สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่ 

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

NCDs อันตรายถึงชีวิต ป้องกันได้เพียงปรับพฤติกรรม

    /    บทความ    /    NCDs อันตรายถึงชีวิต ป้องกันได้เพียงปรับพฤติกรรม

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

NCDs อันตรายถึงชีวิต ป้องกันได้เพียงปรับพฤติกรรม

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs (Non-Communicable Diseases) เป็นกลุ่มโรคเรื้อรังที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่สะสมต่อเนื่อง โดยสาเหตุหลักส่วนใหญ่ เกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ ซึ่งหากไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต หรือไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องภายใต้คำแนะนำจากแพทย์อาจก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)

เป็นโรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งทำงานในออฟฟิศเป็นระยะเวลานาน โดยไม่ขยับตัว ทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ไม่ออกกำลังซึ่งจะมีการดำเนินโรคอย่างช้าๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีอาการของโรคแล้วมักจะเกิดการเรื้อรังของโรค ตัวอย่างของกลุ่มโรค NCDs เช่น 

  • โรคเบาหวาน คือ โรคที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าปกติ เนื่องจากกลไกการควบคุมระดับน้ำตาลผิดปกติ ยกตัวอย่างเช่น ภาวะการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) หากไม่ได้รับการรักษา อาจก่อเกิดโรคและอาการแทรกซ้อนขึ้น
  • โรคความดันโลหิตสูง คือ ภาวะความดันในหลอดเลือดแดงที่มีค่าสูงเกินปกติ (140/90 มิลลิเมตรปรอท) ส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น หากไม่ได้รักษาอย่างถูกต้อง อาจทำให้เกิดโรคหัวใจได้
  • โรคไขมันในเลือดสูง คือ ภาวะที่ร่างกายมีไขมันในเลือดมากกว่าปกติ ไขมันที่สูงนั้นอาจเป็นโคเลสเตอรอล (Cholesterol) หรือ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เส้นเลือดตีบหรืออุดตัน 
  • โรคอ้วนลงพุง คือ กลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติของกระบวนการเผาผลาญอาหารในร่างกาย ส่งผลให้ผู้ป่วยมีไขมันสะสมในช่องท้อง (Visceral fat) และมีรอบเอวขนาดใหญ่  ซึ่งมีความสัมพันธ์กับโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นภายหลัง

สาเหตุของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

โรคติดต่อไม่เรื้อรัง เกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุหลักส่วนใหญ่ เกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนการ เช่น อาหารที่มีรสชาติหวาน มัน เค็ม ขาดการออกกำลังกาย สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ผู้ป่วยบางส่วนเกิดจากพันธุกรรม ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและต่อเนื่องจากแพทย์ อาจก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆตามมา และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคติดต่อไม่เรื้อรังยังมีโอกาสทำให้เกิดความเครียด ท้อแท้ หมดกำลังใจในการใช้ชีวิต จนอาจนำไปสู่โรคเครียดหรือโรคซึมเศร้าได้

การป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

โรคเรื้อรังนั้นมีหลายลักษณะและเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยอาจเกิดขึ้นในร่างกายเป็นเวลานานกว่าจะแสดงอาการ และอาจทำให้อวัยวะบางส่วนในร่างกายเกิดปัญหาหรือใช้งานได้ไม่เต็มที่ ซึ่งโรคเรื้อรังบางชนิดยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทั้งนี้การป้องกันไม่ให้เกิดโรคสามารถทำได้เพียงแค่ปรับพฤติกรรม ดังนี้

  • ตรวจเช็คหาปัจจัยเสี่ยงของโรคเรื้อรังเป็นประจำทุกปี 
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ เน้นการรับประทานผักและผลไม้
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัด ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่
  • พักผ่อนให้เพียงพอ

 ที่พรีโมแคร์

PrimoCare Medical เราพร้อมอยู่เคียงข้างคุณ ช่วยให้คุณห่างไกลจากโรคร้ายด้วยแพ็คเกจตรวจสุขภาพ และโปรแกรม Lifestyle Medicine ที่สร้างขึ้นมาโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาอย่างใส่ใจเเละชัดเจน โดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางความใส่ใจ เเละมีส่วนร่วมในการดูเเลสุขภาพ ภายใต้การดูเเลอย่างใกล้ชิดเเละต่อเนื่องจาก บุคลากรทางการเเพทย์ของพรีโมเเคร์ ให้คุณได้มีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน

  • บริการตรวจคัดกรองโรคเรื้อรังที่่นำไปสู่ความเจ็บป่วย : 
  1. PrimoCare Cardio (ตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดหัวใจ) 
  2. PrimoCare Diabetes (ตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน) 
  3. PrimoCare Hypertension (ตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง) 
  4. PrimoCare Hyperlipidemia (ตรวจคัดกรองโรคไขมันในเลือดผิดปกติ)
  • Lifestyle Medicine : โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable diseases: NCDs) มีสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ ในการดำเนินวิถีชีวิตจึงถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้ร่างกายสามารถใช้งานได้อย่างสมบูรณ์
  • โภชนบำบัด (Diet Therapy) : อาหารที่ช่วยรักษาหรือช่วยให้สามารถควบคุมตัวโรค ตามแนวทางการรักษาแบบองค์รวม การกินอาหารที่เหมาะสมมีส่วนช่วยในการรักษาโรค พรีโมแคร์ให้คำปรึกษา เเนะนำ โภชนาการอาหารที่เหมาะสมกับโรคที่เป็นอยู่ เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วย และดูแลสุขภาพให้ครบถ้วน
วางใจให้พรีโมแคร์เป็นเพื่อนร่วมเดินทาง เคียงข้าง สร้างสุขภาพดีไปกับคุณ หากท่านต้องการที่จะนัดหมายเพื่อปรึกษาพูดคุยกับแพทย์ เพื่อสอบถามบริการ หรือข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคเรื้อรัง สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก  เราพร้อมดูแลรักษาสุขภาพร่างกาย และจิตใจของท่านให้แข็งแรงอย่างครบถ้วน สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่ 

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

จัดสมดุลสุขภาพจิตในการทำงาน

    /    บทความ    /    จัดสมดุลสุขภาพจิตในการทำงาน

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

จัดสมดุลสุขภาพจิตในการทำงาน

 สุขภาพจิตที่ดีเป็นสภาวะที่บุคคลสามารถควบคุมสภาวะทางจิตใจ อารมณ์ และความคิดให้ปรับตัวเข้ากับสังคม และสิ่งแวดล้อม พร้อมดำเนินชีวิตตามบทบาทหน้าที่ของตนในสังคมได้อย่างมีความสุข ทั้งนี้สุขภาพจิตในที่ทำงานเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะงานเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน โดยที่ไม่มีใครหลีกเลี่ยงความเครียดและความกังวลจากงานได้ การจัดการกับสุขภาพจิตในที่ทำงานจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากที่จะช่วยสร้างสมดุลให้กับชีวิต

สุขภาพจิต (Mental Health) 

สุขภาพจิตเป็นสภาวะทางจิตใจของบุคคล ซึ่งโดยธรรมชาติภาวะทางจิตใจมีการปรับเปลี่ยนแปลงตามสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวของบุคคลนั้นๆ โดยภาวะจิตใจที่เป็นสุข สามารถปรับตัวแก้ปัญหา สร้างสรรค์ทำงานได้ มีความรู้ สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น มีความมั่นคงทางจิตใจ มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ อยู่ในสังคม และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้

ผู้ที่มีสุขภาพจิตดีมักมีลักษณะของคนที่เข้าใจชีวิตมีจุดมุ่งหมายในชีวิต ไม่มีความรู้สึกสิ้นหวัง คิดบวก มองโลกในแง่ดี มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้อื่นมากกว่าผู้ที่มีสุขภาพจิตไม่ดี การมีสุขภาพจิตดีและการมองโลกในแง่ดีนั้นสัมพันธ์กับสุขภาพร่างกายที่ดีขึ้นด้วย ทำให้มีปัญหาสุขภาพลดน้อยลง โดยผู้ที่มีสุขภาพจิตดีมักมีลักษณะดังนี้

  • ไม่ค่อยรู้สึกสิ้นหวัง
  • เข้าสู่โหมดอารมณ์แง่ลบได้ยาก และปรับอารมณ์ให้กลับมาเป็นปกติได้เร็ว
  • มีแนวโน้มจะนึกถึงช่วงเวลาที่ดีมากกว่าช่วงเวลาที่เลวร้าย
  • เข้าใจถึงความหมายของชีวิต และสามารถใช้ชีวิตอย่างมีจุดมุ่งหมาย
  • ให้ความสนใจกับสิ่งที่สำคัญและคำนึงถึงการคงไว้ซึ่งอารมณ์และสุขภาพจิตที่ดี

ความเครียดจากการทำงาน

ความเครียดจากที่ทำงานส่งผลเสียต่อสุขภาพทางร่างกาย และจิตใจ สำหรับผู้ที่ไม่มีความสุขในการทำงาน มีข้อสังเกตได้จากการมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม ดังนี้ 

  • เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย ไม่อยากทำงาน ขาดความกระตือรือร้น ทำงานผิดพลาดบ่อย หรือขาดงานเป็นประจำ 
  • ไม่อยากพูดกับใคร อารมณ์ร้อน รู้สึกว่าการทำงานเป็นเรื่องเครียด ไม่สนุกสนานเหมือนเดิม
  • ระบายออกโดยการใช้สารเสพติด เช่นการสูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกฮอล์
  • เกิดอาการเจ็บป่วย โดยไม่มีสาเหตุ เช่นปวดหัวเป็นประจำ ปวดหลัง ปวดไหล่ อ่อนเพลีย มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ เช่น นอนไม่หลับหรืออยากนอนตลอดเวลา 

แบบประเมินสุขภาพจิต

แบบทดสอบดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสั้น 15 ข้อ โดยกรมสุขภาพจิต คำถามต่อไปนี้จะถามถึงประสบการณ์ของท่านในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน ให้ท่านสำรวจตัวท่านเองและประเมินเหตุการณ์ อาการหรือความคิดเห็นและความรู้สึกของท่านว่าอยู่ในระดับใด แล้วตอบคำตอบที่เป็นจริงกับตัวท่านมากที่สุด โดยคำตอบจะมี 4 ตัวเลือก คือ ไม่เลย (1 คะแนน), เล็กน้อย (2 คะแนน),  มาก (3 คะแนน) และ มากที่สุด (4 คะแนน)

  1. ท่านรู้สึกพึงพอใจในชีวิต
  2. ท่านรู้สึกสบายใจ
  3. ท่านรู้สึกเบื่อหน่ายท้อแท้กับการดำเนินชีวิตประจำวัน
  4. ท่านรู้สึกผิดหวังในตัวเอง
  5. ท่านรู้สึกว่าชีวิตของท่านมีแต่ความทุกข์
  6. ท่านสามารถทำใจยอมรับได้สำหรับปัญหาที่ยากจะแก้ไข (เมื่อมีปัญหา)
  7. ท่านมั่นใจว่าสามารถควบคุมอารมณ์ได้เมื่อมีเหตุการณ์คับขันหรือร้ายแรงเกิดขึ้น
  8. ท่านมั่นใจที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดขึ้นในชีวิต
  9. ท่านรู้สึกเห็นใจเมื่อผู้อื่นมีทุกข์
  10. ท่านรู้สึกเป็นสุขในการช่วยเหลือผู้อื่นที่มีปัญหา
  11. ท่านให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่นเมื่อมีโอกาส
  12. ท่านรู้สึกภูมิใจในตนเอง
  13. ท่านรู้สึกมั่นคง ปลอดภัยเมื่ออยู่ในครอบครัว
  14. หากท่านป่วยหนัก ท่านเชื่อว่าครอบครัวจะดูแลท่านเป็นอย่างดี
  15. สมาชิกในครอบครัวมีความรักและผูกพันต่อกัน

การแปลผลการประเมิน

ดัชนีชี้วัดความสุขคนไทยฉบับสั้นใหม่ 15 ข้อ มีคะแนนเต็มทั้งหมด 60 คะแนน เมื่อผู้ตอบได้ประเมินตนเองแล้ว และรวมคะแนนทุกข้อได้คะแนนเท่าไร สามารถนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ปกติที่กำหนดดังนี้

  • 51-60 คะแนน หมายถึง มีสุขภาพจิตมากกว่าคนทั่วไป (Good)
  • 44-50 คะแนน หมายถึง มีสุขภาพจิตเท่ากับคนทั่วไป (Fair)
  • 43 คะแนน หรือน้อยกว่า หมายถึง มีสุขภาพจิตต่ำกว่าคนทั่วไป (Poor)

Work-Life Balance

การมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีนั้น เป็นพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนให้เราใช้ชีวิตอย่างมีความสุข และสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น การมีสุขภาพจิตที่ดี สามารถสร้างได้ด้วยตนเอง เพียงแค่ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ดังนี้

  • ตั้งเป้าหมายการทำกิจกรรมต่างๆ ทำให้เรารู้สึกว่าเราอยากจะมาทำงานทุกวัน และวันทำงานของเรามีคุณค่า ดังนั้นควรตั้งเป้าหมายและจัดรายการลำดับการทำงานในแต่ละวันเพื่อการจัดการเวลาได้ดีขึ้น
  • รู้จักผ่อนคลายจากสภาวะความเครียด หาเวลาพักเพื่อผ่อนคลายสัก 30 นาที เช่น ฟังเพลง ดูทีวี นั่งสมาธิ ทำสิ่งที่ชื่นชอบ สิ่งที่ทำแล้วสบายใจที่ไม่กระทบกับความสุขของคนอื่น เป็นต้น
  • เคารพเวลาพักผ่อนของตนเอง การเป็นพนักงานที่ทำงานเก่ง ควรมาพร้อมกับสุขภาพและร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ด้วย เมื่อถึงเวลาพักผ่อนควรหยุดคิดถึงเรื่องงาน ไม่นำงานกลับมาทำที่บ้าน ปิดโทรศัพท์มือถือ ใช้เวลาพักผ่อนเพื่อเป็นรางวัลให้กับความอดทนและตั้งใจของตนเองในแต่ละวัน
  • เรียนรู้ที่จะปฏิเสธ ขอความช่วยเหลือจากหัวหน้าและเพื่อนร่วมงานเพื่อแบ่งเบาภาระงานเพื่อช่วยให้จดจ่อกับงานและผลิตงานที่มีคุณภาพได้มากขึ้น
  • พัฒนาตนเองให้ประสบความสำเร็จในการทำงาน โดยหมั่นฝึกฝนหาความรู้เพิ่มเติมในงานที่ทำ รวมทั้งถ้าได้รับมอบหมายงานใหม่ๆ ให้คิดว่าเป็นโอกาสในการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ซึ่งจะทำให้เราเกิดความภาคภูมิใจและมีความสุขกับการทำงาน
  • ใช้เวลากับคนรอบตัวให้มากขึ้น การทำงานหนักหักโหมจนเกินไป ไม่เพียงแต่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพเท่านั้น แต่ยังส่งผลร้ายต่อความสัมพันธ์ในครอบครัวด้วย การแบ่งเวลาให้กับคนรอบตัวหรือคนในครอบครัวจะส่งผลดีต่อความสัมพันธ์ และช่วยบรรเทาความเครียดหรือความทุกข์ภายในจิตใจ จึงไม่ควรละเลยคนรอบตัวที่ควรให้ความสำคัญ
  • ใส่ใจกับตนเองมากขึ้น ควรแบ่งเวลาเพื่อดูแลสุขภาพตนเอง เช่น ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ทำกิจกรรมที่ชอบเพื่อผ่อนคลายความเครียด จะช่วยให้ร่างกายและจิตใจแข็งแรงพร้อมสำหรับการทำงานและการใช้ชีวิต

หากท่านต้องการที่จะนัดหมายเพื่อปรึกษาพูดคุยกับนักจิตวิทยา  สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก  ที่พร้อมดูแลรักษาสุขภาพร่างกาย และจิตใจของท่านให้แข็งแรงอย่างครบถ้วน สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่   

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

ทานอาหารอย่างไร?? ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้ร่างกาย

    /    บทความ    /    ทานอาหารอย่างไร?? ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้ร่างกาย

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

ทานอาหารอย่างไร?? ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้ร่างกาย

อาหาร หมายถึงสิ่งที่ร่างกายรับเข้าไปทั้งที่สสารและพลังงาน เกิดกระบวนการสังเคราะห์จนร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ให้เกิดประโยชน์ เพราะฉะนั้นการเลือกรับประทานอาหาร จึงควรพิจารณาก่อนรับประทานทุกครั้ง ว่าอาหารที่กำลังจะรับประทานให้คุณหรือให้โทษอย่างไร เพื่อให้ได้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน

หลักในการเลือกรับประทานอาหาร

จากข้อมูล Thaihealth Watch 2022 พบว่า คนไทยนิยมเลือกรับประทานอาหารไขมันสูง อาหารแปรรูป เครื่องดื่มบรรจุขวด และรับประทานผักผลไม้ไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว โดยเฉพาะความเสี่ยงต่อการป่วยโรคกลุ่ม NCDs อาจส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตของคนไทย ทั้งนี้การเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ดังนี้

  • ชนิด: ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลือกทานอาหารที่หลายหลาก ไม่ควรรับประทานอาหารที่เป็นโทษแก่ร่างกาย เช่น ของทอด ของมัน ของหวาน กาแฟ แอลกอฮอล์ สารปรุงแต่ง สารกันบูด อาหารแปรรูปต่างๆ เป็นต้น 

สูตรลดหวาน มัน เค็ม 6:6:1 กล่าวคือ ไม่ควรรับประทานสิ่งเหล่านี้ เกินกว่ากำหนดต่อวัน
– น้ำตาล 6 ช้อนชา 
– น้ำมัน 6 ช้อนชา 
– เกลือ 1 ช้อนชา   

  • ปริมาณ: พอดี เหมาะสม หมายถึง รับประทานอย่างพอดี ไม่ควรทานในปริมาณที่มากเกินไป
  • เวลา: รับประทานเป็นมื้อๆ ไม่ทานระหว่างมื้อ โดยสามารถทำ Intermittent Fasting ควบคู่ด้วย  

ตัวอย่างคำแนะนำอาหารของรัฐบาลแคนาดา Canada Food Guide 2019

รับประทานผักผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี และอาหารโปรตีน ในการเลือกอาหารโปรตีนให้เลือกทานโปรตีนจากพืช รวมถึงเลือกรับประทานไขมันที่ทำให้สุขภาพดีแทนไขมันอิ่มตัว ทั้งนี้รูปแบบการทานอาหารที่ดีต้องมีลักษณะดังนี้ คือ 
  1. มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน 
  2. ทำให้สุขภาพดี 
  3. ทำให้รู้สึกดี 
โดยภาพรวมของงานวิจัยสรุปได้ว่ารูปแบบของการทานอาหารที่ดี คือการเลือกรับประทาน ผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี และ อาหารโปรตีนต่างๆ เช่น ถั่ว โยเกิร์ต เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เป็นต้น รวมถึงลดและหลีกเลี่ยงการทานอาหารแปรรูป เกลือ และน้ำตาล เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ และนำมาพัฒนาร่างกายได้อย่างเต็มที่
 
ทานอย่างไรให้ได้สารอาหารครบถ้วน
 
  • เน้นรับประทานอาหารจำพวก ผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี และโปรตีนที่เหมาะสม  
โดยพยายามเน้นเลือกรับประทานโปรตีนจากพืช ได้แก่ ถั่วต่างๆ และลดการบริโภคอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น ไขมันจากเนื้อสัตว์บางชนิด รวมทั้งไขมันในนม เนย ชีส น้ำมันหมู น้ำมันปาล์ม เป็นต้น เพิ่มการบริโภคเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เช่น ปลา อกไก่ รวมถึงรับประทานไขมันดี เช่น น้ำมันมะกอก งา แฟลกซีด
 
  • ลดปริมาณอาหารที่ผ่านกระบวนการปรับแต่ง
อาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูปที่ควรลดการบริโภค ได้แก่ ไส้กรอก เบคอน แฮม เนื่องจากเป็นอาหารที่มีเกลือมาก มีไขมันอิ่มตัว และมีสารก่อมะเร็งที่เกิดขึ้นในกระบวนการถนอมอาหาร หากเตรียมอาหารเอง ให้หลีกเลี่ยงการใส่เกลือ น้ำตาล และไขมันอิ่มตัว 
 
  • ดื่มน้ำเปล่าแทนเครื่องดื่มผสมน้ำตาล  
น้ำเปล่าสามารถช่วยดับกระหายและแก้ไขภาวะร่างกายขาดน้ำโดยที่ร่างกายไม่ได้รับแคลอรี่ส่วนเกิน ทั้งนี้หากต้องการเครื่องดื่มทดแทนสามารถดื่มเครื่องดื่มจากพืชที่ไม่ใส่น้ำตาล เช่น นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ กาแฟ ชา (ที่ไม่ใส่น้ำตาล) หรือ นมไร้ไขมันไม่ใส่น้ำตาล เป็นต้น
 
  • อ่านฉลากทุกครั้ง 
ฉลากจะช่วยให้ข้อมูลในการตัดสินใจซื้ออาหารที่ดีได้ถูกต้องมากขึ้น อาทิ ส่วนผสมของอาหาร ปริมาณแคลอรี่ สัดส่วนทางโภชนาการ ธาตุอาหาร วันหมดอายุ และ ปริมาณสารอาหารที่มีโทษหากได้รับในปริมาณมาก เช่น เกลือ น้ำตาล น้ำมันอิ่มตัว เป็นต้น
 
  • รับประทานอาหารอย่างมีสติ
รู้ตัวเสมอว่า ตอนนี้คุณอิ่มแล้ว หรือยังหิวอยู่ 
 
  • สนุกกับการเข้าครัวทำอาหารด้วยตนเอง
การทำอาหารจะช่วยพัฒนานิสัยการกินที่ดี เพราะสามารถควบคุมปริมาณเกลือ น้ำตาล และเครื่องปรุงต่างๆ นอกจากนี้การทำอาหารยังช่วยในการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ลดการบริโภคอาหารที่ต้องผ่านกระบวนการแปรรูป 
 
  • รับประทานอาหารพร้อมกับผู้อื่น
เช่น เพื่อน หรือครอบครัว จะเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในการทานอาหาร ทำให้มีความสุขมากขึ้น

หากคุณต้องการปรึกษาแพทย์ เพื่อปรับพฤติกกรรมการใช้ชีวิต เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก เพื่อเข้าร่วมโปรแกรม Personalized Lifestyle Medicine ที่ออกแบบมาเพื่อเฉพาะบุคคล สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่ 
  

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

การกลั้นปัสสาวะนานๆ ส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไร?

    /    บทความ    /    การกลั้นปัสสาวะนานๆ ส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไร?

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

การกลั้นปัสสาวะนานๆ ส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไร?

 การกลั้นเป็นครั้งคราวอาจไม่ส่งผลเสียมาก แต่หากกลั้นปัสสาวะจนติดเป็นนิสัยอาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะให้สูงขึ้น และยังส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ เช่น กระเพาะปัสสาวะหดเกร็ง อาการปวดท้องน้อย หรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นต้น

การกลั้นปัสสาวะ 

ขนาดของกระเพาะปัสสาวะอยู่ที่ประมาณ 500 – 1,000 มิลลิลิตร เมื่อมีปัสสาวะอยูในกระเพาะปัสสาวะประมาณ 160 – 300 มิลลิลิตรหรือประมาณครึ่งกระเพาะปัสสาวะ จะทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะ โดยเกิดจาก เส้นประสาทในกระเพาะปัสสาวะถูกกระตุ้นให้ส่งสัญญาณไปยังสมองแล้วทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะ จากนั้นสมองจะส่งสัญญาณกลับไปยังกระเพาะปัสสาวะให้กลั้นปัสสาวะไว้จนกว่าจะพร้อมขับถ่าย 

การกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานอาจทำให้กล้ามเนื้อบริเวณกระเพาะปัสสาวะทำงานหนักมากเกินไป ส่งผลให้เกิดการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้ โดยเฉพาะการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ 

ข้อเสียของการกลั้นปัสสาวะ   

  • กระเพาะปัสสาวะหดเกร็ง
  • กระเพาะปัสสาวะปริแตก 
  • ติดเชื้อแบคทีเรียที่ท่อปัสสาวะ
  • กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
  • กรวยไตอักเสบ
  • ติดเชื้อที่ไต
  • ติดเชื้อในกระแสเลือด

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) 

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection หรือ UTI) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ จนทำให้เกิดความผิดปกติขึ้น โดยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบส่วนใหญ่มักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากผู้หญิงมีท่อปัสสาวะสั้นและอยู่ใกล้กับช่องคลอดและทวารหนัก ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะได้โดยง่าย

อาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ผู้ป่วยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบจะปวดปัสสาวะบ่อย รู้สึกปวดแสบขณะปัสสาวะ ปัสสาวะมีเลือดปนออกมา ปวดท้องน้อย รวมถึงลักษณะน้ำปัสสาวะที่ออกมามีปริมาณน้อย สามารถสังเกตความผิดปกติที่พบได้บ่อยดังนี้

  • ปัสสาวะบ่อย กะปริดกระปรอย  ครั้งละน้อยๆ มีอาการคล้ายปัสสาวะไม่สุด
  • รู้สึกปวดบริเวณท้องน้อย ปวดแสบ ขัด ร้อนขณะปัสสาวะ โดยเฉพาะตอนปัสสาวะสุด
  • ปัสสาวะมีสีผิดปกติ บางครั้งมีกลิ่นผิดปกติ หรือ อาจปัสสาวะมีเลือดปน
  • ในเด็กอาจมีอาการปัสสาวะรดที่นอน มีไข้ เบื่ออาหาร อาเจียน อ่อนเพลีย
  • ในผู้สูงอายุ จะไม่มีอาการทางปัสสาวะ แต่จะมีอาการอ่อนเพลีย สับสน หรือมีไข้

แม้ว่าจะเป็นโรคไม่รุนแรง แต่เมื่อได้รับการรักษาโรคที่ไม่ถูกต้องและเหมาะสม เชื้ออาจแพร่กระจายจากกระเพาะปัสสาวะผ่านทางท่อไตไปจนถึงกรวยไต ทำให้กรวยไตอักเสบและอาจจะสร้างความเสียหายกับไตอย่างถาวร หากมีการอักเสบติดเชื้อรุนแรง อาจลุกลามเป็นการติดเชื้อในกระแสเลือดจนเป็นเหตุทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นการกลั้นปัสสาวะจึงทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายมากกว่าที่คิด!

บทความที่เกี่ยวข้อง