Categories
Uncategorized

HOW-TO ฟื้นฟูร่างกายจากอาการ ลองโควิด (Long COVID)

    /    บทความ    /    HOW-TO ฟื้นฟูร่างกายจากอาการ ลองโควิด (Long COVID)

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

HOW-TO ฟื้นฟูร่างกายจากอาการ ลองโควิด (Long COVID)

อีกสิ่งหนึ่งที่น่ากลัวพอๆกับการติดโควิดคือ อาการหลังจากติดเชื้อโควิด-19 หรือที่เรียกว่าลองโควิด ที่จะมีอาการที่สามารถสังเกตได้ชัดคือ อ่อนเพลียเรื้อรังต่อเนื่อง หายใจไม่ทัน หอบเหนื่อย มีภาวะซึมเศร้าหรือวิตกกังวล เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้อาจไม่ได้เกิดกับทุกคนที่เคยติดเชื้อโควิด 

อย่างไรก็ตามผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด ถือเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการลองโควิด ซึ่งอาจเกิดหลังจากที่ได้รับเชื้อมาแล้ว 4-12 สัปดาห์ขึ้นไป ทั้งนี้การฟื้นฟูร่างกายถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วย ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และรับประทานอาหารเสริมเพื่อสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายแข็งแรง และกลับมาฟื้นฟูได้อย่างปลอดภัย

ลองโควิด (Long COVID)

อาการลองโควิด (Long COVID) หรือ Post COVID-19 Syndrome คือ อาการทางร่างกายและทางจิตใจ ที่หลงเหลืออยู่หลังหายจากการติดเชื้อโควิด-19 โดยตัวอย่างอาการของ ‘ลองโควิด’ ได้แก่

  • อาการอ่อนเพลีย
  • อาการไอเรื้อรัง
  • อาการหายใจถี่ หายใจไม่ทัน หรือหอบเหนื่อยง่ายมากขึ้น
  • การรับรสชาติอาหารเปลี่ยนไป หรือพบอาการชาที่ลิ้นในบางราย
  • ปวดท้อง ท้องเสีย ไม่อยากอาหาร
  • มีอาการปวดเมื่อนตามตัว หรือมีผื่นตามตัว
  • นอนไม่หลับ มีภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล หรือมีผลกระทบทางจิตใจ (Post-Traumatic Stress Disorder)

ทั้งนี้อาการลองโควิด เป็นผลจากความผิดปกติภายในร่างกาย เนื่องจากร่างกายยังฟื้นฟูไม่เต็มที่ ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิดจึงควรให้ความสำคัญกับการสังเกตอาการตนเอง พบแพทย์เพื่อประเมินสภาพร่างกาย และวางแผนการฟื้นฟูที่ถูกต้อง โดยผู้ป่วยสามารถนำแนวทางในการพักฟื้นหลังติดเชื้อโควิด-19 มาปฏิบัติได้ ดังนี้

  • สังเกตอาการอยู่บ้าน อย่างน้อย 5 วัน โดยให้สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือให้สะอาด และเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล
  • สังเกตอาการผิดปกติต่างๆอย่างต่อเนื่อง เช่น ไข้สูง ไอมาก หอบเหนื่อย เจ็บแน่นหน้าอก หน้ามืดเป็นลม แขนขาอ่อนแรง หากมีอาการควรพบแพทย์เพื่อประเมินสภาพร่างกาย
  • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ ควรกลับเข้ามารับการประเมินสุขภาพให้ครบถ้วน และควรรับการรักษาโรคประจำตัวนั้นอย่างต่อเนื่อง
  • ดูแลสุขภาพจิต หากผู้ป่วยที่มีความเครียด หรือมีปัญหาสะสม สามารถติดต่อพูดคุยกับจิตแพทย์เพื่อประเมินและฟื้นฟูสภาพจิตใจ
 จะทราบได้อย่างไรว่ามีอาการลองโควิด?

จากรายงานผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาตัวหายแล้ว โดยกลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดภาวะลองโควิด ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอาการหนักจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยเฉพาะในกรณีที่เชื้อลงปอดแล้วเกิดภาวะปอดอักเสบรุนแรง, ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังต่างๆ และผู้ป่วยที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโควิด โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
  • กลุ่มที่ 1 จะยังคงมีอาการแสดงหลังรักษาโควิด-19 หายแล้ว โดยจะยังมีอาการภายใน 4 สัปดาห์ และจะค่อยๆ ดีขึ้น
  • กลุ่มที่ 2  ยังคงมีอาการต่อเนื่องมากกว่า 1 เดือน และอาการจะหายช้า ซึ่งจะพบมากในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะอ้วน หรือน้ำหนักเกิน และผู้ที่มีโรคประจำตัว ซึ่งกลุ่มที่มีอาการมากกว่า 4-6 สัปดาห์ จะเป็นอาการที่เรียกว่า Post COVID Syndrome หรือ Long COVID อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19
 การป้องกันโรคลองโควิด

อาการลองโควิดจะมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปวดหัว ทั้งนี้ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 สามารถป้องกันอาการลองโควิดได้ โดยการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงและสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของตนเองอยู่เสมอ ดังนี้

  • ทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ปรุงสุก สะอาด เน้นอาหารย่อยง่าย เนื่องจากอาจมีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร หากมีอาการเบื่ออาหาร ควรแบ่งอาหารเป็นมื้อ เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ตลอดวัน ไม่ให้ร่างกายอ่อนล้า อ่อนเพลีย
  • เลือกทานอาหารที่มีโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่วต่าง ๆ เต้าหู้ 
  • บริโภคอาหารที่มีจุลินทรีย์ที่ดีต่อสุขภาพ หรือโพรไบโอติกส์ (Probiotics) ได้แก่ โยเกิร์ต นมเปรี้ยว
  • ทานอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง กล้วย หัวหอมใหญ่ กระเทียม เป็นต้น เพื่อเป็นอาหารให้จุลินทรีย์ที่ดีต่อสุขภาพ และยังช่วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  • งดสูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่ส่งผลทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดต่ำลง
ทั้งนี้ การบริโภควิตามินและแร่ธาตุต่างๆ มีส่วนช่วยให้ร่างกายฟื้นฟู แข็งแรง และสร้างภูมิคุ้มกันได้เช่นกัน โดยวิตามินและแร่ธาตุสร้างภูมิคุ้มกัน ที่ควรบริโภคหลังติดเชื้อโควิด-19 เพื่อป้องกันภาวะลองโควิด ได้แก่

  1. วิตามินซี พบมากในผักและผลไม้สด เช่น ส้ม มะละกอ ฝรั่ง มะนาว มะเขือเทศ พริกหวาน เป็นต้น ควรกินแบบสด หากนึ่งหรือผัด ควรใช้ระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อรักษาคุณค่าจากวิตามินซีไว้ได้ดียิ่งขึ้น
  2. วิตามินเอ เช่น เครื่องในสัตว์ ไข่แดง นม ผลิตภัณฑ์จากนม ผักใบเขียวเข้ม ผักและผลไม้สีเหลืองและสีส้ม เช่น ตําลึง ผักบุ้ง แครอท ฟักทอง มันเทศสีเหลือง มะละกอสุก เป็นต้น
  3. วิตามินดี ได้แก่ ปลานิล ปลาทับทิม เห็ด ไข่แดง เป็นต้น
  4. วิตามินอี ได้แก่ ไข่ ผักและผลไม้ต่าง ๆ เช่น ถั่วต่าง ๆ นํ้ามันถั่วเหลือง นํ้ามันมะกอก นํ้ามันดอกทานตะวัน อะโวคาโด เป็นต้น
  5. แร่ธาตุสังกะสี ได้แก่ เนื้อสัตว์ เครื่องใน ตับ หอยนางรม ข้าวกล้อง เป็นต้น
นอกจากนี้หลังจากติดเชื้อ 2 สัปดาห์ – 1 เดือน สามารถปรึกษาแพทย์ให้แนะนำเกี่ยวกับการเลือกรับประทานวิตามินและอาหารเสริมเป็นรายบุคคล วางใจให้พรีโมแคร์เป็นเพื่อนร่วมเดินทาง เคียงข้าง สร้างสุขภาพดีไปกับคุณ หากท่านต้องการที่จะนัดหมายเพื่อปรึกษาพูดคุยกับแพทย์ เพื่อสอบถามบริการ หรือข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการโควิด-19 สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก เราพร้อมดูแลรักษาสุขภาพร่างกาย และจิตใจของท่านให้แข็งแรงอย่างครบถ้วน สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่ 

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง