Categories
Uncategorized

ทานอาหารอย่างไร?? ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้ร่างกาย

    /    บทความ    /    ทานอาหารอย่างไร?? ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้ร่างกาย

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

ทานอาหารอย่างไร?? ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้ร่างกาย

อาหาร หมายถึงสิ่งที่ร่างกายรับเข้าไปทั้งที่สสารและพลังงาน เกิดกระบวนการสังเคราะห์จนร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ให้เกิดประโยชน์ เพราะฉะนั้นการเลือกรับประทานอาหาร จึงควรพิจารณาก่อนรับประทานทุกครั้ง ว่าอาหารที่กำลังจะรับประทานให้คุณหรือให้โทษอย่างไร เพื่อให้ได้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน

หลักในการเลือกรับประทานอาหาร

จากข้อมูล Thaihealth Watch 2022 พบว่า คนไทยนิยมเลือกรับประทานอาหารไขมันสูง อาหารแปรรูป เครื่องดื่มบรรจุขวด และรับประทานผักผลไม้ไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว โดยเฉพาะความเสี่ยงต่อการป่วยโรคกลุ่ม NCDs อาจส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตของคนไทย ทั้งนี้การเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ดังนี้

  • ชนิด: ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลือกทานอาหารที่หลายหลาก ไม่ควรรับประทานอาหารที่เป็นโทษแก่ร่างกาย เช่น ของทอด ของมัน ของหวาน กาแฟ แอลกอฮอล์ สารปรุงแต่ง สารกันบูด อาหารแปรรูปต่างๆ เป็นต้น 

สูตรลดหวาน มัน เค็ม 6:6:1 กล่าวคือ ไม่ควรรับประทานสิ่งเหล่านี้ เกินกว่ากำหนดต่อวัน
– น้ำตาล 6 ช้อนชา 
– น้ำมัน 6 ช้อนชา 
– เกลือ 1 ช้อนชา   

  • ปริมาณ: พอดี เหมาะสม หมายถึง รับประทานอย่างพอดี ไม่ควรทานในปริมาณที่มากเกินไป
  • เวลา: รับประทานเป็นมื้อๆ ไม่ทานระหว่างมื้อ โดยสามารถทำ Intermittent Fasting ควบคู่ด้วย  

ตัวอย่างคำแนะนำอาหารของรัฐบาลแคนาดา Canada Food Guide 2019

รับประทานผักผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี และอาหารโปรตีน ในการเลือกอาหารโปรตีนให้เลือกทานโปรตีนจากพืช รวมถึงเลือกรับประทานไขมันที่ทำให้สุขภาพดีแทนไขมันอิ่มตัว ทั้งนี้รูปแบบการทานอาหารที่ดีต้องมีลักษณะดังนี้ คือ 
  1. มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน 
  2. ทำให้สุขภาพดี 
  3. ทำให้รู้สึกดี 
โดยภาพรวมของงานวิจัยสรุปได้ว่ารูปแบบของการทานอาหารที่ดี คือการเลือกรับประทาน ผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี และ อาหารโปรตีนต่างๆ เช่น ถั่ว โยเกิร์ต เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เป็นต้น รวมถึงลดและหลีกเลี่ยงการทานอาหารแปรรูป เกลือ และน้ำตาล เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ และนำมาพัฒนาร่างกายได้อย่างเต็มที่
 
ทานอย่างไรให้ได้สารอาหารครบถ้วน
 
  • เน้นรับประทานอาหารจำพวก ผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี และโปรตีนที่เหมาะสม  
โดยพยายามเน้นเลือกรับประทานโปรตีนจากพืช ได้แก่ ถั่วต่างๆ และลดการบริโภคอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น ไขมันจากเนื้อสัตว์บางชนิด รวมทั้งไขมันในนม เนย ชีส น้ำมันหมู น้ำมันปาล์ม เป็นต้น เพิ่มการบริโภคเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เช่น ปลา อกไก่ รวมถึงรับประทานไขมันดี เช่น น้ำมันมะกอก งา แฟลกซีด
 
  • ลดปริมาณอาหารที่ผ่านกระบวนการปรับแต่ง
อาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูปที่ควรลดการบริโภค ได้แก่ ไส้กรอก เบคอน แฮม เนื่องจากเป็นอาหารที่มีเกลือมาก มีไขมันอิ่มตัว และมีสารก่อมะเร็งที่เกิดขึ้นในกระบวนการถนอมอาหาร หากเตรียมอาหารเอง ให้หลีกเลี่ยงการใส่เกลือ น้ำตาล และไขมันอิ่มตัว 
 
  • ดื่มน้ำเปล่าแทนเครื่องดื่มผสมน้ำตาล  
น้ำเปล่าสามารถช่วยดับกระหายและแก้ไขภาวะร่างกายขาดน้ำโดยที่ร่างกายไม่ได้รับแคลอรี่ส่วนเกิน ทั้งนี้หากต้องการเครื่องดื่มทดแทนสามารถดื่มเครื่องดื่มจากพืชที่ไม่ใส่น้ำตาล เช่น นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ กาแฟ ชา (ที่ไม่ใส่น้ำตาล) หรือ นมไร้ไขมันไม่ใส่น้ำตาล เป็นต้น
 
  • อ่านฉลากทุกครั้ง 
ฉลากจะช่วยให้ข้อมูลในการตัดสินใจซื้ออาหารที่ดีได้ถูกต้องมากขึ้น อาทิ ส่วนผสมของอาหาร ปริมาณแคลอรี่ สัดส่วนทางโภชนาการ ธาตุอาหาร วันหมดอายุ และ ปริมาณสารอาหารที่มีโทษหากได้รับในปริมาณมาก เช่น เกลือ น้ำตาล น้ำมันอิ่มตัว เป็นต้น
 
  • รับประทานอาหารอย่างมีสติ
รู้ตัวเสมอว่า ตอนนี้คุณอิ่มแล้ว หรือยังหิวอยู่ 
 
  • สนุกกับการเข้าครัวทำอาหารด้วยตนเอง
การทำอาหารจะช่วยพัฒนานิสัยการกินที่ดี เพราะสามารถควบคุมปริมาณเกลือ น้ำตาล และเครื่องปรุงต่างๆ นอกจากนี้การทำอาหารยังช่วยในการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ลดการบริโภคอาหารที่ต้องผ่านกระบวนการแปรรูป 
 
  • รับประทานอาหารพร้อมกับผู้อื่น
เช่น เพื่อน หรือครอบครัว จะเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในการทานอาหาร ทำให้มีความสุขมากขึ้น

หากคุณต้องการปรึกษาแพทย์ เพื่อปรับพฤติกกรรมการใช้ชีวิต เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก เพื่อเข้าร่วมโปรแกรม Personalized Lifestyle Medicine ที่ออกแบบมาเพื่อเฉพาะบุคคล สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่ 
  

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง