Categories
Uncategorized

คอเลสเตอรอลสูงนำไปสู่โรคอะไรบ้าง?

    /    บทความ    /    คอเลสเตอรอลสูงนำไปสู่โรคอะไรบ้าง?

คอเลสเตอรอลสูง
นำไปสู่โรคอะไรบ้าง?

คอเลสเตอรอลสูงนำไปสู่โรคอะไรบ้าง?

ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ อาจเป็นระดับคอเลสเตอรอลหรือระดับไตรกลีเซอร์ไรด์สูงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือสูงทั้ง 2 ชนิด เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต 

การมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพเป็นสาเหตุหลักที่เพิ่มโอกาสในการเกิดไขมันในเลือดสูง โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอล ไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ หรือคารโบไฮเดรตสูงเกินไป นอกจากนี้การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอหรือเคลื่อนไหวร่างกายน้อย รวมทั้งการสูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปก็สามารถนำไปสู่ไขมันในเลือดสูงได้เช่นกัน


คอเลสเตอรอล

คอเลสเตอรอลสูง (High Cholesterol) คือภาวะที่ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้นจนอาจเป็นอันตรายต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดแดงแข็ง เป็นภาวะที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ทั้งนี้คอเลสเตอรอลมี 2 ชนิด คือ

  • HDL (High Density Lipoprotien) : ไขมันดี หรือไลโพโปรตีนที่มีความหนาแน่นสูงมีหน้าที่ช่วยจับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือดที่ออกไปทำลายที่ตับ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยไขมันชนิดนี้สร้างได้จากการออกกำลังกาย ทั้งนี้ระดับไขมัน HDL ในเลือดในผู้ชายควรมากกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และมากกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ในผู้หญิง
  • LDL (Low Density Lipoprotien) : ไขมันไม่ดี หรือไลโพโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำ โดยไขมันชนิดนี้จะไปเกาะและพอกที่ผนังภายในหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดหนาและตีบ ส่งผลให้เลือดดีที่สูบฉีดออกจากหัวใจไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้ไม่สะดวก ทำให้อวัยวะขาดเลือดและเจ็บป่วย ทั้งนี้ระดับไขมัน LDL ในเลือดไม่ควรเกิน 130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร สำหรับผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัว

อันตรายของภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง

หากมีคอเลสเตอรอลในเลือดสูงเกาะที่ผนังหลอดเลือด จะทำให้เกิดการอักเสบและภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง เมื่อการสะสมเพิ่มมากขึ้นหลอดเลือดแดงในร่างกายส่วนต่างๆจะมีการตีบหรืออุดตัน เช่น หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตายทำให้เสียชีวิต รวมทั้งอัมพฤกษ์อัมพาต 

โดยค่าปกติของคอเลสเตอรอลในเลือดไม่ควรเกิน 200 มก./ดล. และระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 150 มก./ดล. ทั้งนี้ภาวะไขมันในเลือดสูงมีสาเหตุมาจากการบริโภคอาหารและพฤติกรรมการดำเนินชีวิตแบบผิดๆ ทำให้เกิดการสะสมไขมันในเส้นเลือดและนำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือด 


การตรวจวัดระดับไขมันในเลือด
สำหรับการตรวจวัดระดับไขมันในเลือดสามารถทำได้โดยการเจาะเลือดเพื่อตรวจระดับไขมันในเลือด และจะต้องงดอาหารทุกชนิด ยกเว้นน้ำเปล่า ก่อนการเจาะเลือด 12 ชั่วโมง ควรตรวจครั้งแรกเมื่ออายุ 35 ปี โดยตรวจคัดกรองควรทำซ้ำทุกๆ 5 ปี อย่างไรก็ดีความถี่ในการตรวจคัดกรองซ้ำอาจมีความถี่มากกว่านี้ได้ขึ้นกับวิจารณญาณของแพทย์ที่พิจารณาความเสี่ยงของแต่ละบุคคล หรือควรตรวจทันทีในผู้ที่มีความเสี่่ยงสูง ดังนี้
 
  • ชายอายุ 45 ปี หญิงอายุ 55 ปีขึ้นไป 
  • ผู้ที่มีประวัติครอบครัว คือ พี่ น้อง พ่อ แม่ เป็นโรคหัวใจขาดเลือด 
  • ความดันโลหิตเท่ากับหรือมากกว่า 140/90 มม.ปรอท 
  • สูบบุหรี่ 
  • มีภาวะอ้วนลงพุง
  • ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือด
  • มีปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น โรคไต โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ต่อมไทรอยด์ทำงานบกพร่อง หรือตับอ่อนอักเสบ
หากพบว่ามีภาวะไขมันในเลือดสูงจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดยรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม และรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมระดับไตรกลีเซอร์ไรด์และคอเลสเตอรอลในเลือด คือ งดอาหารประเภทน้ำตาล ขนมหวานทุกชนิด ผลไม้รสหวานจัดและผลไม้แปรรูป รวมถึงน้ำหวาน น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงอาหารไขมันสูง คอเลสเตอรอลสูง เช่น ของทอดต่างๆ แกงกะทิ อาหารที่มีส่วนผสมของเนย มาการีน เป็นต้น

การควบคุมอาหาร

อาหารไขมันสูง คอเลสเตอรอลสูง เช่น ของทอดต่างๆ แกงกะทิ อาหารที่มีส่วนผสมของเนย มาการีน เป็นต้น นอกจากนี้ควรรับประทานผักให้มากในแต่ละมื้อ โดยเน้นผักใบเขียว ที่สำคัญควรควบคุมน้ำหนักตัว และออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30-45 นาที สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง โดยไม่หักโหมจนเกินไป 

  • หลีกเลี่ยงอาหารพวกเนื้อสัตว์ที่ติดมัน อาหารทะเลบางชนิด เช่น กุ้ง หอยนางรมปลาหมึกสด  ปลาหมึกแห้ง ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น เนย ครีม เนยแข็ง ขนมหวานที่มีส่วนประกอบของน้ำตาล
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมัน อาหารทอด เช่น ไก่ชุปแป้งทอด กล้วยทอด ปาท่องโก๋ อาหารพวกแกงกะทิ หลนกะทิต่าง ๆ
  • หลีกเลี่ยงน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันมะพร้าว และไขมันที่ได้จากสัตว์  เช่น  เนย  มันหมู  มันวัว  มันไก่  เพราะน้ำมันเหล่านี้มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง ให้เลือกใช้น้ำมันพืชปรุงอาหารแทนน้ำมันสัตว์
  • พยายามปรุงอาหารโดยใช้ต้ม นึ่ง ย่าง อบ แทนการทอด หรือผัด ใช้ไขมันจากพืชในการประกอบอาหาร เช่น น้ำมันถั่วเหลือง  น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันมะกอก น้ำมันข้าวโพด น้ำมันรำ ประกอบอาหาร น้ำมันดอกทานตะวัน  ซึ่งเป็นน้ำมันที่จะช่วยลดโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ได้
  • เลือกรับประทานพืชผักต่างๆ และธัญพืช เช่น ถั่วเมล็ดแห้ง ข้าวที่ไม่ขัดสี ผักสดหลากหลายสีชนิดต่างๆ วันละ 4-5 ถ้วยตวง พืชสมุนไพร เครื่องเทศ ธัญพืชไม่ขัดสี ผลไม้หลายชนิด วันละ4 ผล เช่น ฝรั่ง ส้ม แอบเปิ้ล ชมพู่ กล้วย ฯลฯ
  • บริโภคปลาทะเล สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เพื่อเป็นการลดเนื้อสัตว์ใหญ่ ซึ่งมีกรดไขมันอิ่มตัวสูง ปลาทะเลมีน้ำมันปลา หรือกรดโอเมก้า 3 ช่วยลดการจับตัวของเกล็ดเลือด ลดความดันโลหิต และลดไตรกลีเซอร์ไรด์ได้ ปลาทะเลที่มีโอเมก้า-3 สูง เช่น ปลาทู ปลาโอ ปลากะพง ปลาทูน่า ปลาแซลมอน   

ทั้นี้เป้าหมายของการลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดนั้นขึ้นกับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดของแต่ละบุคคล การตรวจคัดกรองผู้ที่อาจมีภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูงจะช่วยให้เกิดการดูแลตนเองที่เหมาะสมและทันท่วงทีเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือด

ท่านสามารถปรึกษาการควบคุมอาหารสำหรับผู้ที่มีภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง โดยเข้าร่วมโปรแกรมโภชนบำบัด (Personalized Diet Doctor) ได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก

 

Reference:

        บทความที่เกี่ยวข้อง

        Categories
        Uncategorized

        ความเครียดและฮอร์โมน สัมพันธ์กันอย่างไร??

            /    บทความ    /    ความเครียดและฮอร์โมน สัมพันธ์กันอย่างไร??

        ความเครียดและฮอร์โมน
        สัมพันธ์กันอย่างไร??

        ความเครียดและฮอร์โมน สัมพันธ์กันอย่างไร??

        ความเครียดเป็นภาวะของอารมณ์หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ และทำให้รู้สึกถูกกดดัน ไม่สบายใจ วุ่นวายใจ กลัว วิตกกังวล ตลอดจนถูกบีบคั้น เมื่อบุคคลรับรู้หรือประเมินว่าปัญหาเหล่านั้นเป็นสิ่งที่คุกคามจิตใจ หรืออาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จะส่งผลให้สภาวะสมดุลของร่างกายและจิตใจเสียไป

        ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) 

        คอร์ติซอล คือสเตียรอยด์ฮอร์โมน (Steroid hormone) จัดเป็นฮอร์โมนกลุ่มกลูโคคอร์ติคอยด์ (glucocorticoids) ที่ผลิตจากต่อมหมวกไตชั้นนอก และส่งผ่านไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายผ่านกระแสเลือด เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายหลั่งออกมา เพื่อตอบสนองต่อสภาวะเครียดหรือกดดันต่างๆ จึงมักเรียกกันว่า “ฮอร์โมนความเครียด

        Cortisol คือฮอร์โมนความเครียดตัวหลักของร่างกาย (Stress hormone) ปกติร่างกายจะหลั่งออกมาปริมาณมากที่สุดในตอนเช้า ช่วยให้เรารู้สึกสดชื่น และมีพลังต่อสู้ในวันใหม่ของทุกวัน และจะลดลงเหลือเพียง 10% ในช่วงเย็น ถ้าหากร่างกายมีความเครียดสะสม ต่อมหมวกไตจะหลั่ง Cortisol ออกมามากเกินไป เกิดผลเสียของ Cortisol คือกระตุ้นให้เกิดการสลายตัวของร่างกายมากเกินไป ทำให้ร่างกายเสื่อมถอย ต่อมหมวกไตต้องดึงเอาฮอร์โมนอื่นๆ ทั้งฮอร์โมนต้านเครียด (DHEA) ฮอร์โมนเพศ (Estrogen, Progesterone, Testosterone) มาใช้สร้าง Cortisol จนหมด เกิดภาวะพร่องฮอร์โมน ร่างกายอ่อนล้า หรือเรียกว่าภาวะต่อมหมวกไตล้า

         

        ภาวะต่อมหมวกไตล้า

        ในการวินิจฉัย ภาวะต่อมหมวกไตล้า จะต้องมีวัดระดับของฮอรโมนต่อมหมวกไต(Adrenal hormones) 2ตัว ที่มีชื่อว่า คอร์ติซอล (Cortisol) และ ดีเอชอีเอ (Dyhydroepiandrosterone-DHEA) ซึ่งสามารถวัดได้จากผลเลือด Cortisol และ DHEAคือ ฮอร์โมนแห่ง’ความเครียด’ในร่างกายมนุษย์ ปัจจุบันนี้ การรักษาภาวะต่อมหมวกไตล้าจะมุ่งเน้นไปที่การปรับให้ฮอรโมน2ตัวนี้ให้อยู่ระดับที่สมดุล

        อาการต่อมหมวกไตล้า
         ภาวะ’ต่อมหมวกไตล้า’ เป็นอาการผิดปกติของร่างกายอย่างหนึ่งที่มีความเครียดเรื้อรังเป็นตัวกระตุ้น อาการผิดปกติที่ตรงกับ อาการแสดง ด้านล่างอย่างน้อย 5 ข้อ คุณกำลังมีความเสี่ยงสูง
         
        • ขี้เกียจตื่นนอนตอนเช้า
        • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง อยากงีบหลับ ช่วงกลางวัน
        • ง่วงแต่นอนไม่หลับ
        • มีอาการวิงเวียน ศีรษะ หน้ามือ เวลาเปลี่ยนท่าทาง (ลุก-นั่ง)
        • อยากของหวาน, ของเค็ม
        • ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ
        • ปวดประจำเดือนบ่อย
        • เป็นภูมิแพ้กำเริบบ่อยๆ
        • ท้องอืด อาหารไม่ย่อย 
        • ท้องผูก
        • เครียด ซึมเศร้า
        • คุมอาหาร ออกกำลังกายเป็นประจำแต่น้ำหนักไม่ลดลง
        • รู้สึกดีขึ้นทันทีเมื่อได้ทานน้ำตาล
        • ผิวแห้งและแพ้ง่าย

        จัดการอย่างไร เมื่อฮอร์โมนคอร์ติซอลสูง

        • จัดการกับความเครียด (Stress Management) โดยการหากิจกรรมคลายความเครียดทางจิตใจ เช่น การเล่นโยคะ การนวด หรือการบำบัด โดยใช้คลื่นเสียง (Sound Healing)
        • ทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ผักและผลไม้ที่ไม่หวานเกินไป ข้าว ถั่ว เนื้อสัตว์บางประเภท เช่น เป็ด ไก่ ปลา
        • หลีกเลี่ยงสารพิษ เนื่องจากสามารถทำให้ร่างกายอักเสบและนำไปสู่ความเครียดได้
        • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หนักเกินไป สามารถออกกำลังกายแบบเบาๆได้ (Calming Exercise) หรือ การออกกำลังกายที่ใช้พลังงานต่ำหรือ Low-intensity workouts เช่น การวิ่ง จ๊อคกิ้ง หรือการออกกำลังกายที่เรายังสามารถพูดคุยได้ตามปกติขณะออกกำลังกาย
        ฮอร์โมน DHEAs 
        DHEA คือฮอร์โมนเพศชนิดหนึ่งที่เป็นฮอร์โมนตั้งต้นของทั้งฮอร์โมนเพศหญิงและเพศชาย (Pre-sex hormones) และยังเป็น ฮอร์โมนต้านความเครียด (Anti-stress hormones) ช่วยต้านฤทธิ์ของ Cortisol เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะเครียด ทั้งนี้ DHEAs เป็นฮอร์โมนที่ผลิตขึ้นจากต่อมหมวกไต ซึ่งเป็นฮอร์โมนตั้งต้นที่ร่างกายนำมาผลิตฮอร์โมนสำคัญ หลายชนิด เช่น ฮอร์โมนเพศ อาทิ เทสโทสเทอโรน หรือเอสโตรเจน โดยระดับของฮอร์โมน DHEAs นั้น จะผลิตได้สูงสุดในช่วงอายุประมาณ 25 ปี และจะลดลงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น

        จัดการอย่างไร เมื่อฮอร์โมน DHEAs อยู่ในระดับต่ำ
        • ลดความเครียดทางจิตใจ
        • ลดความเครียดทางร่างกาย (ไม่ควรออกกำลังกายหนัก และ ทานอาหารที่มีสารพิษ)
        • หลีกเลี่ยงการทานกาแฟ
        • หลีกเลี่ยงการทานเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
        • งดการสูบบุหรี่
        • นอนพักผ่อนให้เพียงพอ (ก่อน 4 ทุ่ม)
        • ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ (แนะนำให้ทานตาม Canada Food Diet)
        • กินวิตามินและเกลือแร่ให้เพียงพอ 
        • รับประทานโปรตีนให้เพียงพอ
        • หลีกเลี่ยงการทานแป้งขัดสี ควรรับประทานเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน มีเส้นใยสูง
        หากคุณมีภาวะเครียด ต้องการปรึกษาแพทย์ เพื่อปรับพฤติกกรรมการใช้ชีวิต เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก เพื่อเข้าร่วมโปรแกรม Personalized Lifestyle Medicine ที่ออกแบบมาเพื่อเฉพาะบุคคล ตอบสนองทุกปัญหาที่เกี่ยวกับความไม่สมดุลของฮอร์โมน 
         

        Reference:

        บทความที่เกี่ยวข้อง

        Categories
        Uncategorized

        วัยทองคืออะไร เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนมากแค่ไหน?

            /    บทความ    /    วัยทองคืออะไร เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนมากแค่ไหน?

        วัยทองคืออะไร เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนมากแค่ไหน?

        วัยทองคืออะไร เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนมากแค่ไหน?

        วัยทอง

        วัยหมดประจำเดือน (Menopause) จะมีอายุโดยเฉลี่ยประมาณ 45-55 ปี  ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและจิตใจ เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่รังไข่ผลิตฮอร์โมนเพศในระดับต่ำลง ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นตามกลไกธรรมชาติของร่างกายจากการที่ระดับฮอร์โมนเพศหญิง เอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) เริ่มลดน้อยลง

        ภาวะหมดประจำเดือนส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย

        ภาวะวัยทองหรือภาวะหมดประจำเดือนเกิดจากร่างกายของผู้หญิงไม่มีการตกไข่ เนื่องจากรังไข่หยุดทำงาน ไม่ผลิตฮอร์โมนเพศอย่างเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนอีกต่อไป ซึ่งฮอร์โมนทั้งสองชนิดจะส่งผลต่อร่างกาย ดังนี้

        • ฮอร์โมนเอสโตรเจน : เป็นฮอร์โมนสนับสนุนการพัฒนาของเต้านมและมดลูกควบคุมการตกไข่ และมีผลต่อสภาพร่างกายและอารมณ์ของเพศหญิง
        • ฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน : เป็นฮอร์โมนควบคุมรอบประจำเดือน และเตรียมมดลูกให้เหมาะสมต่อการฟักตัวของไข่หากได้รับการปฏิสนธิ

        ภาวะหมดประจำเดือนสามารถแบ่งเป็นสองประเภท ได้แก่

        1. วัยหมดประจำเดือนโดยธรรมชาติ เกิดเมื่อผู้หญิงมีรอบเดือนเป็นเดือนสุดท้าย และหยุดไปนาน 1 ปี อายุโดยเฉลี่ย 45-55 ปี
        2. วัยหมดประจำเดือนหลังการผ่าตัด เป็นการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนหลังการผ่าตัดเอารังไข่ออกทั้งสองข้าง จะเป็นภาวะที่รอบเดือนหมดทันทีเนื่องจากขาดฮอร์โมนที่มาจากรังไข่

        ภาวะหมดประจำเดือนก่อให้เกิดอาการแสดงหลายอย่าง อาการที่พบได้บ่อย ได้แก่ อาการร้อนวูบวาบ (hot flush) โดยเฉพาะบริเวณลำตัวส่วนบน เช่น บริเวณหน้า คอ และอก มักเกิดอาการนานประมาณ 1-5 นาที ร่วมกับ อาการอื่น ได้แก่ เหงื่อออก หนาวสั่น ลำตัวเย็นชื้น วิตกกังวล หรือใจสั่นได้ 

        นอกจากนี้อาจเกิดปัญหาทางระบบปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ เช่น  กลั้นปัสสาวะลำบาก ช่องคลอดแห้ง ติดเชื้อและคันในช่องคลอด เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ อาการวัยทองอื่นๆ ที่อาจพบได้อีก เช่น มีรอบเอวเพิ่มขึ้น มวลกล้ามเนื้อลดน้อยลง ผิวหนังบาง มีปัญหาเกี่ยวกับความจำ เป็นต้น

        อาการในระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นได้ ในระยะเวลา 5-10 ปี หลังหมดประจำเดือน ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังที่เกิดจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน เช่น โรคกระดูกพรุน (osteoporosis) ซึ่งจะเกิดภาวะกระดูกเปราะหักง่าย แม้เพียงอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย นอกจากนั้นอาจเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคไขมันในเลือดสูง ความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น

        เคล็ดลับดูแลตัวเองของผู้ที่เข้าสู่วัยทอง

        อาการของวัยทองเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพร่างกายของผู้หญิงตามวัย แม้อาการวัยทองจะเป็นกลไกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่ผู้ที่เริ่มเข้าสู่วัยทองหรืออยู่ในวัยทองควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้สามารถดูแลตัวเองเบื้องต้นได้ ดังนี้

        • อกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ช่วยลดอาการนอนไม่หลับ ทำให้อารมณ์ดีขึ้น อีกทั้งทำให้กระดูกและสุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น
        • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ปลา ผัก และผลไม้ไม่หวาน เพื่อปรับร่างกายฮอร์โมนให้คงที่ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
        • เพิ่มเอสโตรเจนจากธรรมชาติ ด้วยอาหารจำพวกถั่วเหลือง หรือพืชผักใบเขียว เพื่อช่วยลดอาการหงุดหงิด และอารมณ์แปรปรวน
        • ทานอาหารเสริม หรือวิตามิน แคลเซียม วิตามินดี และแมกนีเซียมเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูก
        • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
        • บริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน และกระชับช่องคลอด (Kegel Exercises)
        • ทาครีมบำรุงผิว มอยส์เจอไรเซอ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อบรรเทาอาการผิวแห้ง
        • ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน และคัดกรองเบื้องต้น ในระหว่างและหลังวัยหมดประจำเดือน เช่น ตรวจเลือด ตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจความหนาแน่นของกระดูก ตรวจมะเร็งปากมดลูก ตรวจมะเร็งเต้านม เป็นต้น
        ท่านสามารถปรึกษาอาการวัยทองและเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับฮอร์โมนได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก กับโปรแกรม Personalized Lifestyle Medicine
         

        Reference:

        บทความที่เกี่ยวข้อง