/ บทความ / วัคซีนไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่มีอาการคล้ายโรคหวัดทั่วไป แต่มีโอกาสเกิดอาการรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้มากกว่า ในประเทศไทย สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่เมื่อปี 2564 ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 27ตุลาคม 2564 มีรายงานผู้ป่วยทั่วประเทศถึง 9,314 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 14.05 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน และในกลุ่มจะพบผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันมากถึงร้อยละ 48 ด้วยเหตุนี้แพทย์จึงแนะนำให้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี เพื่อป้องกันตัวเองและคนรอบข้างจากการติดเชื้อและช่วยลดความรุนแรงของโรค
โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza)
โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่งที่เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza Virus) มีผลต่อระบบทางเดินหายใจอย่างจมูก คอ หลอดลม โดยโรคไข้หวัดใหญ่จะแสดงอาการที่รุนแรงและยาวนานกว่าไข้หวัดธรรมดา และยังมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้สูงกว่า หากมีอาการหนักอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ อาการไข้หวัดใหญ่เบื้องต้น ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายกับไข้หวัดธรรมดา ซึ่งโดยปกติไข้หวัดใหญ่จะมีอาการอยู่ประมาณ 5-7 วัน แล้วก็หายเอง อาการไข้หวัดใหญ่จะมีลักษณะเด่นที่สำคัญ ดังนี้
- มีไข้สูง
- ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือรู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว
- ปวดศีรษะ
- อ่อนเพลีย
- คลื่นไส้ ท้องเสีย
- วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิด 3 สายพันธุ์ ประกอบด้วย เชื้อไวรัสสายพันธุ์ A จำนวน 2 สายพันธุ์ และเชื้อไวรัสสายพันธุ์ B จำนวน 1 สายพันธุ์
- วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิด 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วย เชื้อไวรัสสายพันธุ์ A จำนวน 2 สายพันธุ์ และเชื้อไวรัสสายพันธุ์ B จำนวน 2 สายพันธุ์
ทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ควรรับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะกลุ่มที่เสี่ยงเกิดอาการรุนแรงหรือมีภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ดังต่อไปนี้
- หญิงตั้งครรภ์
- เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี
- ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป
- ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
- ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
- ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- ผู้ป่วยโรคอ้วน
- บุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ทำงานใกล้ชิดผู้ป่วย