Categories
Uncategorized

คลินิก กับ โรงพยาบาล เลือกใช้บริการแบบไหนตอบโจทย์ที่สุด?

    /    บทความ    /    คลินิก กับ โรงพยาบาล เลือกใช้บริการแบบไหนตอบโจทย์ที่สุด?

คลินิก กับ โรงพยาบาล เลือกใช้บริการแบบไหนตอบโจทย์ที่สุด?

คลินิก กับ โรงพยาบาล
เลือกใช้บริการแบบไหนตอบโจทย์ที่สุด?

แพทย์หญิงกำลังนั่งทำงานในคลินิก พร้อมด้วยแท็บเล็ตสำหรับการจดบันทึก มองตรงมาที่กล้องด้วยรอยยิ้มสดใส

เมื่อต้องเลือกรับบริการสุขภาพระหว่างคลินิกกับโรงพยาบาล เราจะเลือกอะไร? บางคนเลือกไปโรงพยาบาลเพราะคิดว่าดูแลรักษาได้ครอบคลุมกว่า บางคนเลือกคลินิกเพราะไม่อยากต้องไปนั่งรอคิวนานๆ ที่โรงพยาบาล แต่ความจริงแล้วเราควรพิจารณาตามอาการและความจำเป็นทางสุขภาพเป็นอย่างแรก มาดูกันให้ชัดๆ ว่าเมื่อไหร่ที่เราควรตัดสินใจเข้าคลินิก และเมื่อไหร่ที่ควรไปโรงพยาบาล

ทำความรู้จัก “คลินิก” 

คลินิก หมายถึง สถานพยาบาลที่เน้นบริการผู้ป่วยนอก โดยส่วนมากมักเป็นคลินิกโดยแพทย์ทั่วไปที่สามารถให้การรักษาเบื้องต้นในทุกๆ โรค แต่ก็มีคลินิกจำนวนไม่น้อยที่เป็นคลินิกที่ให้บริการเฉพาะทาง เช่น คลินิกผิวหนัง คลินิกโรคหู คอ จมูก คลินิกกายภาพ คลินิกกระดูก และยังมีคลินิกที่จัดตั้งขึ้นตามวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น คลินิกสุขภาพทางเพศชายและหญิง คลินิกวางแผนครอบครัว คลินิกบำบัดยาเสพติด คลินิกสุขภาพจิต เป็นต้น

ความแตกต่างระหว่างคลินิก กับ โรงพยาบาล

ในบทความนี้จะเน้นเปรียบเทียบระหว่างคลินิกโดยหมอเวชศาสตร์ครอบครัวและหมอเวชปฏิบัติทั่วไป กับโรงพยาบาลในภาพรวมกว้างๆ เพราะทั้งคลินิกและโรงพยาบาลต่างก็มีทั้งประเภทที่ให้การรักษาทั่วไปและรักษาเฉพาะทาง ซึ่งอาจทำให้เกิดความสับสนในการเปรียบเทียบ

  • ประเภทของผู้ป่วย คลินิกเน้นให้บริการผู้ป่วยนอกที่สามารถกลับบ้านได้เลยหลังรับการตรวจรักษา ในขณะที่โรงพยาบาลจะเน้นบริการผู้ป่วยในที่ต้องนอนค้างเพื่อดูอาการหรือรักษาตัวในระยะยาว 
  • ประเภทของการรักษา บริการสุขภาพโดยคลินิกมุ่งไปที่การดูแลอย่างรอบด้าน ทั้งการให้คำแนะนำในการส่งเสริมสุขภาพที่แข็งแรง การตรวจเช็กสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดความเสี่ยง และให้การรักษาชั้นต้นสำหรับทุกๆ อาการที่ไม่ใช่ภาวะฉุกเฉิน ส่วนในโรงพยาบาลมักเป็นการตรวจรักษาโรคที่ต้องอาศัยความชำนาญจากแพทย์เฉพาะทาง ต้องมีการผ่าตัดหรือใช้เครื่องมือเฉพาะ หรือในกรณีที่มีอาการรุนแรงหรือภาวะฉุกเฉิน
  • ขนาด คลินิกเป็นสถานพยาบาลขนาดเล็กและมีบุคลากรน้อยกว่าในโรงพยาบาลที่มีขนาดใหญ่ และมีผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพหลากหลาย 
  • ราคา การตรวจรักษาในโรงพยาบาลโดยแพทย์เฉพาะทางและมีบุคลากรทางการแพทย์ในขั้นตอนต่างๆ มากกว่า มักมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการไปคลินิก

อาการแบบไหนควรไปคลินิก?

  • การตรวจป้องกันและประเมินความเสี่ยง ได้แก่ การตรวจสุขภาพประจำปี การรับวัคซีน และการตรวจคัดกรองโรคเรื้อรังอย่างเบาหวาน หัวใจ หลอดเลือดหัวใจ และมะเร็งชนิดต่างๆ
  • การตรวจดูแลที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง เช่น การติดตามรักษาอาการโรคประจำตัว การทำกายภาพบำบัด การทำจิตบำบัด ซึ่งหมอที่ตรวจรักษามักเป็นหมอคนเดิมที่เข้าใจและคุ้นเคยกับผู้ป่วยเป็นอย่างดี
  • การรักษาอาการที่ไม่เร่งด่วนฉุกเฉิน อาการทั่วๆ ไปที่สามารถรักษาได้โดยไม่ต้องถึงมือหมอเฉพาะทาง เช่น ไอ เจ็บคอ คัดจมูก ปวดหู เป็นต้น
  • อุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง เช่น ตะคริว แผลถูกของมีคมบาดขนาดเล็ก แผลน้ำร้อนลวก โดยอาการจากอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรงเหล่านี้ไม่นับเป็นกรณีฉุกเฉิน และมักไม่มีความจำเป็นต้องไปห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาล

อาการแบบไหนควรไปโรงพยาบาล?

  • การตรวจรักษาที่ต้องทำโดยแพทย์เฉพาะทาง หรือมีอาการเจ็บป่วยที่รุนแรง
  • เมื่อจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดที่ฉุกเฉินหรือไม่ฉุกเฉิน มักต้องทำในโรงพยาบาลเนื่องจากมีอุปกรณ์และเครื่องมือที่ครบครันมากกว่าคลินิก 
  • อาการหรือภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน เช่น ภาวะหัวใจวาย หรือโรคหลอดเลือดในสมอง 
  • อุบัติเหตุที่ก่อให้เกิดบาดแผลรุนแรง เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์ แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกรุนแรง ศีรษะได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง แผลถูกบาดโดยของมีคมที่ลึกหรือมีขนาดใหญ่
  • ภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพจิต เช่น ผู้ป่วยมีพฤติกรรมทำร้ายตนเองหรือคนรอบข้าง ควรรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที เพื่อรับการประเมินและรักษาเพื่อป้องกันอันตรายต่อตัวผู้ป่วยเองและคนรอบข้าง

คลินิกและโรงพยาบาล ทำงานร่วมกันอย่างไร?

คลินิกนั้นทำงานโดยประสานงานกับโรงพยาบาล ในกรณีที่แพทย์ประจำคลินิกประเมินว่าต้องส่งต่อให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านหรือมีการรักษาที่ต้องนอนค้าง จะมีการประสานงานส่งตัวผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลที่มีแพทย์เฉพาะทางทันที ดังนั้น วางใจได้ว่าคุณจะได้รับการรักษาที่ถูกต้องตามขั้นตอนที่ควรไม่ว่าจะเลือกไปคลินิกหรือโรงพยาบาล

อย่างไรก็ตาม เรามักติดภาพจำว่าโรงพยาบาลมีบริการกว้างขวางครอบคลุม มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และมีคุณภาพดีกว่า ซึ่งแท้จริงแล้วการเลือกไปโรงพยาบาลเมื่อมีอาการที่ไม่รุนแรงหรือไม่ฉุกเฉินมีแต่จะทำให้ต้องรอคิวนานโดยไม่จำเป็น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงพยาบาลรัฐที่ปัจจุบันมีคนไข้ล้น เมื่อพบหมอก็ได้คุยสั้นๆ ยังไม่ทันได้ถามให้ละเอียด เพราะคนไข้ที่เยอะเกินไปจนหมอต้องทำงานแข่งกับเวลา ส่วนโรงพยาบาลเอกชนก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงเนื่องจากมีเพียงแพทย์เฉพาะทาง และมีต้นทุนการบริหารจัดการที่สูง อีกทั้งยังเข้าถึงได้ยากกว่าการไปคลินิก

นอกจากนี้การไปโรงพยาบาลด้วยอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยยังผิดจุดประสงค์ เพราะหมอเฉพาะทางนั้นมีหน้าที่รักษาผู้ป่วยที่หมอทั่วไปส่งต่อมาให้ หรือผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงเท่านั้น 

ถ้าเลือกให้เหมาะสมตามอาการ ไม่ว่าคลินิกหรือโรงพยาบาล คุณก็จะได้รับบริการที่น่าพึงพอใจและคุ้มค่ากับเงินและเวลาที่เสียไปอย่างแน่นอน 

พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก พร้อมให้บริการด้วยใจ ทุกเรื่องสุขภาพรอบด้าน ตรวจสุขภาพ ฉีดวัคซีนป้องกันโรค หรือรักษาอาการเจ็บป่วยทั่วไปกับคุณหมอพรีโมแคร์ คลิกดูบริการได้เลยที่นี่

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

วิธีคลายเครียดง่ายๆ ฉบับเร่งด่วน รับมือสถานการณ์โควิด-19

    /    บทความ    /    วิธีคลายเครียดง่ายๆ ฉบับเร่งด่วน รับมือสถานการณ์โควิด-19

วิธีคลายเครียดง่ายๆ ฉบับเร่งด่วน รับมือสถานการณ์โควิด-19

วิธีคลายเครียดง่ายๆ ฉบับเร่งด่วน
รับมือสถานการณ์โควิด-19

วิธีคลายเครียดฉบับเร่งด่วน ด้วยเทคนิคปรับสมดุลอารมณ์และร่างกาย พร้อมแนวทางป้องกันและรับมือกับความเครียดในสถานการณ์โควิด-19

ความเครียด วิตกกังวล และความกลัว เป็นกลไกการตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เราไม่คุ้นเคยหรือเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่หลายคนต้องเผชิญกับอารมณ์ความรู้สึกเหล่านี้ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตในหลายๆ ด้าน โดยกรมสุขภาพจิต เผยว่าคนไทยมีระดับความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะตื่นตระหนกสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดแต่ละระลอก โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงสูง

ความเครียดที่มีมากเกินไปก็เหมือนเส้นด้ายที่ตึงรอวันขาด การฝึกรับมือกับความเครียดเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นพร้อมรับมือทุกสถานการณ์จึงจำเป็นอย่างมากในช่วงเวลาแบบนี้ มาเรียนรู้วิธีรับมือความเครียดและฝึกเทคนิคปลดปล่อยความเครียดฉบับรวดเร็วกับคุณหมอพรีโมแคร์กันเลย

ป้องกันความเครียดยังไงในช่วงโควิด-19?

  • จำกัดการรับข่าวสารเท่าที่รับไหว การติดตามอัปเดตข่าวสารที่มีประโยชน์เป็นเรื่องที่ดี แต่ก็ควรมีขีดจำกัดให้ได้พักจากความวุ่นวายด้วย ไม่ว่าจะเป็นช่องทางการอ่าน การดู การฟัง หรือจากโซเชียลต่างๆ หากพบว่าการเสพข่าวทำให้เครียดและวิตกกังวลมากเกินไปอาจขอให้คนใกล้ตัวที่ไว้ใจคอยช่วยสรุปข้อมูลสำคัญให้ฟังแทน
  • หาเวลาผ่อนคลายไม่ว่าจะยุ่งแค่ไหนก็ตาม การใช้เวลาว่างกับกิจกรรมที่ชื่นชอบจะช่วยปลดปล่อยความตึงเครียดที่สะสมให้ลดน้อยลงได้
  • ป้องกันตัวเองตามคำแนะนำอย่างเหมาะสม การทำตามคำแนะนำพื้นฐานในการป้องกันเชื้อโควิด-19 อย่างเคร่งครัด เช่น ฉีดวัคซีนโควิด-19 ล้างมือบ่อยๆ ใส่หน้ากากอนามัย และเลี่ยงพื้นที่ที่มีคนแออัด ถือว่าเพียงพอแล้ว พยายามอย่าวิตกหรือกลัวมากเกินไปจนเครียด และไม่ควรหวังพึ่งสมุนไพรหรืออาหารเสริมที่มักโฆษณาเกินจริง และอาจมีผลข้างเคียงหากใช้โดยไม่ปรึกษาแพทย์
  • ทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ให้เป็นปกติที่สุด ปรับการใช้ชีวิตเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น ให้รู้สึกใกล้เคียงกับช่วงเวลาปกติมากที่สุด เพื่อลดความวิตกกังวลที่มักจะเกิดขึ้นเมื่อเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงกะทันหัน 
  • เว้นระยะห่างทางร่างกาย แต่อย่าเว้นระยะห่างจากสังคม ความกลัวที่จะติดเชื้ออาจทำให้เรามีแนวโน้มจะแยกตัวออกมา แต่อย่าลืมว่าการรักษาความสัมพันธ์กับคนรอบข้างและการให้กำลังใจกันเพื่อก้าวผ่านช่วงเวลานี้ไปก็สำคัญ แม้จะเป็นช่วงกักตัวที่ต้องแยกตัวจากเพื่อนหรือคนในครอบครัวก็ควรโทรหรือวิดีโอคอลให้รู้สึกว่าไม่ได้ห่างหายกันไปไหน
  • ลดการใช้เวลากับหน้าจอ หันมาทำกิจกรรมที่ได้ออกกำลัง การใช้คอมพิวเตอร์หรือเล่นโทรศัพท์มือถือจะทำให้เราเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงโดยปริยาย ควรแบ่งเวลามาออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ได้ขยับตัวบ่อยๆ เช่น จัดบ้าน รดน้ำต้นไม้ และงานทำความสะอาดต่างๆ โดยมีผลการวิจัยที่พบว่าการออกกำลังกายมีส่วนช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวลได้จริง
  • นอนหลับให้เพียงพอ วันละ 8 ชั่วโมง การพักผ่อนไม่เพียงพอส่งผลให้รู้สึกหงุดหงิดง่าย ไร้พลัง ไม่มีสมาธิ และทำให้เกิดเป็นความเครียดตามมา ในขณะเดียวกันความเครียดก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพการนอน จนทำให้นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท

5 เทคนิคคลายเครียดที่ทำได้เองง่ายๆ แบบเร่งด่วน

เมื่อไรเริ่มรู้สึกว่าเครียดหรือวิตกกังวลมากเกินไป ลองใช้เทคนิคการผ่อนคลายง่ายๆ ต่อไปนี้ เพื่อลดความเครียดและปรับสมดุลให้ร่างกายในทุกๆ วัน

  1. หายใจเข้าลึกๆ ค้างไว้ ก่อนค่อยๆ หายใจออกช้าๆ ทำซ้ำทั้งหมด 10 ครั้ง ให้ร่างกายได้ปรับตัวลดการตอบสนองต่อความเครียด
  2. จัดระเบียบความคิดและสติ ดึงตัวเองออกจากความคิดฟุ้งซ่านด้วยการนับถอยหลังทีละ 3 จาก 100 เช่น 100 97 94 91…
  3. ทำท่าบริหารยืดคลายกล้ามเนื้อทีละส่วน ส่วนละ 10 วินาที เพิ่มความยืดหยุ่นและผ่อนคลายความเครียดที่สะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  4. ดึงสมาธิกลับมาโดยหลับตาแล้วเพ่งความสนใจไปที่สัมผัสต่างๆ รอบตัว เช่น สัมผัสพื้นผิวของสิ่งของ กลิ่นและเสียงรอบตัว และอุณหภูมิห้อง 
  5. ให้รางวัลตัวเองด้วยการชื่นชมในเรื่องที่ทำสำเร็จในแต่ละวัน รวมทั้งขอบคุณคนรอบข้างที่มีส่วนช่วยให้ลุล่วงไปด้วยดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อยแค่ไหนก็สามารถช่วยเพิ่มกำลังใจและความกระตือรือร้นที่จะทำต่อไปได้

เมื่อไรก็ตามที่เครียดจนรู้สึกว่าทุกอย่างเป็นเรื่องยากไปหมด หาทางออกไม่เจอ ไม่รู้จะเริ่มจัดการจากตรงไหน ควรเปิดใจพูดคุยกับคนใกล้ชิดเพื่อคลายความทุกข์ใจ ขจัดความรู้สึกของการแบกรับทุกอย่างไว้คนเดียว หรือถ้ายังกล้าๆ กลัวๆ ที่จะพูดกับคนรอบข้าง คุณสามารถปรึกษานักจิตวิทยาของพรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิกได้ทุกเมื่อโดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกตัดสิน ไม่ว่าจะเรื่องงาน ความสัมพันธ์ ความคิดที่มีต่อตัวเอง หรือเรื่องใดๆ ก็ตามที่รู้สึกว่าส่งผลต่อจิตใจและการใช้ชีวิต

พรีโมแคร์ ดูแลสุขภาพรอบด้าน เคียงข้างทุกช่วงเวลา สนใจคลิกดูบริการที่นี่

หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ LINE @primoCare

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

แนวทางฉีดวัคซีนโควิด-19 ในผู้สูงอายุ ฉีดได้เลย หรือต้องรอ?

    /    บทความ    /    แนวทางฉีดวัคซีนโควิด-19 ในผู้สูงอายุ ฉีดได้เลย หรือต้องรอ?

แนวทางการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในผู้สูงอายุ ฉีดได้เลย หรือต้องรอ?

แนวทางการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในผู้สูงอายุ
ฉีดได้เลย หรือต้องรอ?

ผู้สูงอายุ-ผู้มีโรคประจำตัว ฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้เลยหรือไม่? เช็กกลุ่มเสี่ยงที่ควรและไม่ควรฉีด พร้อมคำแนะนำก่อนหลังฉีดวัคซีน

เป็นที่ทราบกันว่าผู้สูงอายุจัดเป็นกลุ่มที่เสี่ยงเกิดอาการรุนแรงและเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 โดยจากสถิติการเสียชีวิตในสหรัฐอเมริกา พบว่า 8 ใน 10 เป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ขึ้นไป และยิ่งอายุมากเท่าไรก็ยิ่งมีความเสี่ยงสูงเท่านั้น ซึ่งคาดว่าสาเหตุมาจากภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ลดลงสวนทางกับอายุที่มากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นผู้สูงอายุยังเป็นกลุ่มที่มักจะมีโรคเรื้อรังหรือโรคประจำตัวที่ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงด้วย

นอกจากการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันผู้สูงอายุจากเชื้อโควิด-19 ที่ตัวผู้สูงอายุเองและคนรอบข้างพอจะทำได้ในเบื้องต้นแล้ว การฉีดวัคซีนคือหัวใจสำคัญที่จะขาดไม่ได้ แต่ก็ยังเป็นที่สับสนกันมากว่าจะเป็นอันตรายหรือไม่ ควรฉีดหรือไม่ควรฉีด วันนี้คุณหมอพรีโมแคร์เลยมีแนวทางการปฏิบัติก่อนและหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับผู้สูงอายุมาฝากกัน

ผู้สูงอายุฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้หรือไม่ ต้องดูตามกลุ่มเสี่ยง

สมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุไทยได้ให้แนวทางการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในผู้สูงอายุโดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มดังต่อไปนี้

1.  ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว/โรคเรื้อรังที่มีอาการคงที่ 

ควรได้รับการฉีดวัคซีน เนื่องจากมีการศึกษาพบว่าสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และช่วยลดความรุนแรงของโรคได้มาก มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากการฉีดน้อย ไม่ต่างจากวัยอื่น เช่น อาการปวดบริเวณที่ฉีด อ่อนเพลีย มีไข้ต่ำ ซึ่งมักจะหายไปเองภายใน 1-2 วัน นอกจากนี้วัคซีนแอสตราเซเนกาที่ฉีดให้ผู้สูงอายุในไทยขณะนี้ก็มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงน้อยกว่าการฉีดในคนวัยหนุ่มสาว 

กลุ่มผู้ป่วยที่ควรฉีดวัคซีนหากมีอาการของโรคคงที่ ได้แก่

  • ความดันโลหิตสูง เบาหวาน
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคในทางเดินอาหารและตับ
  • โรคติดเชื้อเอชไอวี (HIV)
  • โรคข้ออักเสบ แพ้ภูมิตัวเอง
  • สะเก็ดเงิน
  • ภาวะสมองเสื่อม
  • อัมพฤกษ์ อัมพาต
  • โรคไตเรื้อรัง
  • โรคหิด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
  • โรคไขกระดูกฝ่อ โรคไขกระดูกทำงานผิดปกติ
  • มะเร็งเม็ดเลือด และโรคมะเร็งอื่นๆ
  • ผู้สูงอายุที่มีภาวะเปราะบาง คือมีความเสื่อมถอยหรืออ่อนแอทางร่างกาย จิตใจ และสังคม

2. ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว/โรคเรื้อรังที่ยังควบคุมอาการไม่ได้/อาการไม่คงที่/ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนฉีด เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ต้องพิจารณาเป็นรายบุคคลตามโรคและอาการ

3. ผู้สูงอายุที่อยู่ในระยะท้ายของชีวิตและคาดว่าจะเสียชีวิตในไม่กี่เดือน ต้องพิจารณาว่าควรฉีดหรือไม่ฉีดตามกรณี เนื่องจากคำแนะนำการฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกาในตอนนี้ต้องฉีด 2 ครั้งโดยเว้นระยะห่าง 10-12 สัปดาห์ หรืออย่างน้อยที่สุด 4 สัปดาห์ อีกทั้งยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในกลุ่มนี้มากนัก

ข้อควรปฏิบัติก่อน-หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับผู้สูงอายุ

  • ก่อนฉีดควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากมีโรคประจำตัว หรือเคยมีประวัติแพ้วัคซีนโควิด-19 หรือวัคซีนอื่นๆ อย่างรุนแรงมาก่อน
  • สามารถทำกิจวัตรต่างๆ ได้ตามปกติทั้งก่อนและหลังฉีด แต่ไม่ควรหักโหมทำงานหรือออกกำลังกายหนักเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการพักผ่อนน้อยในช่วง 1-2 วันก่อนและหลังฉีดวัคซีน
  • กรณีที่ต้องรับวัคซีนอื่นๆ เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ งูสวัด แนะนำให้เว้นระยะห่างอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ก่อน-หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ส่วนวัคซีนที่มีความเร่งด่วน เช่น บาดทะยัก พิษสุนัขบ้า สามารถฉีดได้ทันทีในตำแหน่งที่ต่างกันโดยไม่ต้องเว้นระยะ หรือเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 สัปดาห์

การฉีดวัคซีนโควิด-19 จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันผู้สูงอายุจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และช่วยลดความรุนแรงหากติดเชื้อ ในทางกลับกัน หากผู้สูงอายุมีภาวะที่ควบคุมอาการไม่ได้หรือไม่สามารถรับวัคซีนได้ด้วยเหตุผลใดก็ตาม สิ่งที่ควรทำก็คือการฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันให้กับคนในครอบครัวหรือบุคคลใกล้ชิด เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้สูงอายุและสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในระดับครอบครัว

พรีโมแคร์เป็นกำลังใจให้ทุกครอบครัวผ่านพ้นวิกฤตไปด้วยกัน มีปัญหาหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับการรับวัคซีนโควิด-19 สามารถนัดหมายปรึกษาคุณหมอพรีโมแคร์ หรือดูบริการอื่นๆ ของเราได้ที่นี่ 

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

5 ภัยสุขภาพ Work From Home Syndrome ที่อาจถามหาโดยไม่รู้ตัว

    /    บทความ    /    5 ภัยสุขภาพ Work From Home Syndrome ที่อาจถามหาโดยไม่รู้ตัว

5 ภัยสุขภาพ Work From Home Syndrome ที่อาจถามหาโดยไม่รู้ตัว

5 ภัยสุขภาพ Work From Home Syndrome
ที่อาจถามหาโดยไม่รู้ตัว

รู้ทันภัยสุขภาพที่มากับ Work from home มีโรคอะไรบ้าง? และจะจัดการและแก้ไขอย่างไรให้ทำงานที่บ้านอย่างสุขภาพดี ไม่มีโรคกวนใจ

ในช่วงนี้หลายๆ คน โดยเฉพาะชาวมนุษย์ออฟฟิศ ต่างก็ Work from home กันมากขึ้นตามมาตรการยับยั้งการแพร่ระบาดและป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งแม้การทำงานที่บ้านจะช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อโควิด-19 แต่ก็อาจตามมาด้วยปัญหาสุขภาพอื่นๆ ได้เช่นกัน 

วันนี้ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก ชวนคุณมาทำความรู้จัก 6 ภัยสุขภาพที่อาจมาเยือนโดยไม่รู้ตัวในระหว่าง Work from home รวมถึงวิธีป้องกันและแก้ไขตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อให้กลับมามีสุขภาพเต็มร้อย และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนตอนอยู่ในออฟฟิศ

1 ออฟฟิศซินโดรม

อาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อหรือบริเวณใดบริเวณหนึ่งของร่างกายที่รบกวนใจใครหลายๆ คน เช่น ปวดคอ บ่า ไหล่ สะบัก หลัง ข้อมือ นิ้วมือ บางครั้งมีอาการชาหรืออ่อนแรงตามแขน มือ นิ้ว และปวดหัว ปวดตา ตาพร่า ร่วมด้วย โดยสาเหตุมักเกิดจากท่าทางการนั่งทำงานที่ไม่ถูกต้อง และการนั่งทำงานติดต่อเป็นเวลานานโดยไม่ได้ลุกเคลื่อนไหวหรือยืดคลายกล้ามเนื้อนั่นเอง 

วิธีป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรมแก้ได้ที่สาเหตุ โดยแนะนำให้ปรับท่าทางในการทำงานให้เหมาะสมและหมั่นเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ 

  • นั่งหลังตรง ไม่ห่อไหล่ ไม่ไขว่ห้าง และนั่งให้เต็มก้น
  • ให้หน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่ในระยะห่าง 1 ช่วงแขน และอยู่ในระดับสายตาหรือต่ำกว่าเล็กน้อย 
  • วางแขนอยู่ในระดับเดียวกับแป้นพิมพ์ ทำมุมตั้งฉาก 90° กับไหล่ และแนบกับลำตัว
  • นั่งให้หัวเข่าอยู่ระดับเดียวกับสะโพกหรือต่ำกว่าเล็กน้อย และหาอะไรมารองเท้าหากเก้าอี้สูงเกินไป
  • ไม่ควรทำงานโดยวางแล็ปท็อปไว้บนตัก เพราะจะทำให้ต้องก้มมองจอตลอดเวลา หากจำเป็นจริงๆ ควรหาเบาะหรือกระเป๋ามาวางเสริมให้จออยู่สูงขึ้นจนคออยู่ในท่าที่สบาย
  • หากทำงานโดยใช้แล็ปท็อป แนะนำให้ใช้คีย์บอร์ดและเมาส์แยกต่างหาก เพื่อปรับระยะหน้าจอให้พอดีกับระดับสายตา หรือใช้จอคอมพิวเตอร์เสริมเพื่อให้ไหล่และแขนอยู่ในท่าธรรมชาติขณะพิมพ์งาน
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมนั่งนาน โดยเฉพาะการนั่งทำงานบนโซฟาหรือบนเตียงที่มักทำให้สรีระร่างกายอยู่ในท่าที่ไม่ถูกต้อง 
  • เปลี่ยนอิริยาบถด้วยการบิดขี้เกียจบ่อยๆ หรือนั่งสลับยืนทำงานโดยวางคอมพิวเตอร์บนโต๊ะสูงหรือชั้นวางของ
  • หมั่นลุกขึ้นยืดเส้นยืดสายทุกๆ ชั่วโมง และทำท่ากายบริหารเพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อเป็นประจำ

2 ปัญหาตาแห้ง ตาล้า

จอคอมพิวเตอร์นั้นจะปล่อยแสงสีฟ้า หรือ Blue light ออกมารบกวนการมองเห็นและทำให้ดวงตาต้องทำงานหนักยิ่งขึ้น นอกจากนี้การจ้องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานยังทำให้กล้ามเนื้อบริเวณดวงตาทำงานหนัก เป็นสาเหตุของอาการตาพร่า ตาล้า และอาจพลอยทำให้มีอาการปวดศีรษะไปด้วย 

อาการตาล้าเป็นปัญหาสุขภาพที่คนทำงานต้องเผชิญมากขึ้นเมื่อ Work from home เนื่องจากลักษณะการทำงานที่ทุกอย่างทำผ่านทางออนไลน์ ทั้งการประชุมและการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน ไหนจะช่วงเวลาพักกลางวันที่หลายคนมักรับประทานอาหารไปพร้อมๆ กับจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ จนแทบไม่มีเวลาได้พักสายตาอย่างแท้จริง

หากต้องการถนอมสายตา ลดการทำงานหนักของดวงตา สามารถทำได้ตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • ปรับความสว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้ไม่สว่างหรือมืดจนเกินไปและมีความสมดุลกับแสงภายในห้อง 
  • อาจหาแว่นตัดแสงสีฟ้ามาใส่หรือใช้ฟิล์มติดหน้าจอที่อาจช่วยให้รู้สึกสบายตาขึ้น 
  • คอยเตือนตัวเองให้พักสายตาจากหน้าจอโดยลุกขึ้นเดินยืดเส้นยืดสาย ไปเข้าห้องน้ำ หรือลุกไปดื่มน้ำบ่อยๆ 
  • หมั่นกระพริบตา และทำตามเทคนิคพักสายตา 20-20-20 ที่แพทย์แนะนำ โดยให้พักสายตาจากหน้าจอทุกๆ 20 นาที และมองไกลออกไปในระยะประมาณ 20 ฟุต หรือ 6 เมตร เป็นเวลาอย่างน้อย 20 วินาที 

3 โรคอ้วน

การนั่งทำงานนานๆ โดยไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย นอกจากจะทำให้มีอาการของออฟฟิศซินโดรม ยังอาจนำไปสู่ปัญหาโรคอ้วนหรือน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นด้วย โดยเฉพาะในช่วงเวลาแห่งการ Work from home ที่แทบไม่มีเหตุให้ต้องเคลื่อนไหว ไม่ต้องลุกไปคุยกับเพื่อนร่วมงาน ไม่มีพักเบรก แถมหลายคนยังมีอาหารและขนมใกล้มือพร้อมหยิบกินเมื่อไรก็ได้ 

ในการควบคุมน้ำหนักไม่ให้เพิ่มขึ้นจนเกินมาตรฐานหรือเสี่ยงเป็นโรคอ้วน เราควรลดปัจจัยที่กระตุ้นให้อยากกินอาหารที่อ้วนง่าย เช่น พยายามหาวิธีผ่อนคลายในแต่ละวันไม่ให้เกิดความเครียดมากเกินไป เพราะยิ่งเครียดก็ยิ่งทำให้รู้สึกอยากกินอาหารที่มีไขมันและมีน้ำตาลสูง รวมทั้งเก็บขนมขบเคี้ยวต่างๆ ในที่ลับสายตา หันมาตุนผักผลไม้ ของกินเล่นที่มีแคลอรี่ต่ำแทน และวางไว้ในที่ที่เห็นชัดเจน รวมทั้งไม่ลืมขยับร่างกายและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วย

4 ภาวะเครียด วิตกกังวล

เมื่อต้องเก็บตัวอยู่แต่ในบ้านทุกวัน ไม่สามารถออกไปเที่ยวพักผ่อนได้ตามปกติ ความกลัวที่จะติดเชื้อ ประกอบกับความเครียดที่เกิดจากการ Work from home เช่น อุปกรณ์และสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย ลักษณะการทำงานที่ไม่มีเส้นแบ่งเวลาทำงานและเวลาพักผ่อนอย่างชัดเจน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่ก้าวผ่านไปได้ ซึ่งความเครียดและความวิตกกังวลที่สะสมขึ้นทุกวันนี้อาจนำไปสู่ปัญหาการนอนไม่หลับ และโรคซึมเศร้าได้

ทันทีที่เริ่มรู้ตัวว่าเครียดหรือวิตกกังวล แนะนำให้ลองวิธีง่ายๆ อย่างการหายใจเข้า-ออกลึกๆ ช้าๆ เพื่อผ่อนคลายร่างกายจากความเครียดและปรับระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายให้กลับสู่ภาวะปกติ และควรฝึกทำทุกวันจนเคยชิน 

พยายามไม่วิตกกับเรื่องในอนาคตที่ยังมาไม่ถึงจนเกินไป ให้คิดเสียว่าเป็นเรื่องที่ควบคุมไม่ได้และอยู่กับปัจจุบันเข้าไว้ ที่สำคัญควรจัดสรรเวลาทำงานอย่าให้กินเวลาพักผ่อน เพื่อป้องกันความเครียดและความรู้สึกเหนื่อยล้าสะสม และหากิจกรรมที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายหรือหัวเราะได้ในแต่ละวัน

5 ภาวะหมดไฟ (Burnout Syndrome)

การทำงานที่บ้านส่งผลให้หลายคนใช้เวลาในการทำงานยาวนานขึ้น ด้วยสิ่งเร้ามากมายที่ทำให้ว่อกแว่กเสียสมาธิง่าย ทำให้ทำงานเสร็จช้า ไหนจะเจ้านายที่คิดไปเองว่าการเพิ่มเวลางานหรือสั่งงานตอนไหนก็ได้เพราะลูกน้องไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปกลับที่ทำงานและบ้านนั้นเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ เมื่อเผชิญกับความเหนื่อยล้าและความเครียดจากการทำงานเหล่านี้นานเข้าจึงทำให้เกิดอาการหมดเรี่ยวแรงและกำลังใจในการทำงานอย่างภาวะหมดไฟขึ้น

การรับมือกับภาวะ Burnout Syndrome นั้นก็คล้ายๆ กับภาวะเครียดและวิตกกังวล โดยแนะนำให้ลองปรับเวลาการทำงานให้เป็นเวลาทุกวัน ไม่หักโหมเกินไป และมีเวลาให้ตัวเองได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ งานไหนที่เกินขอบเขตความรับผิดชอบมากไปก็ควรพูดคุยกับหัวหน้าให้ชัดเจน หากวันไหนรู้สึกเหนื่อยล้าเกินไปก็ควรลาพักผ่อนเพื่อผ่อนคลายและใช้เวลากับคนรอบข้างบ้าง

ถ้าจัดระบบระเบียบการทำงานได้ดี การ Work from home ก็มีประโยชน์ได้เหมือนกัน โดยจากผลสำรวจพบว่าคนทำงานบางคนก็มีสุขภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในช่วงเวลานี้ เนื่องจากประหยัดเงินและเวลาในการเดินทาง ทั้งยังมีเวลาทำสิ่งต่างๆ มากขึ้น เช่น ได้กินอาหารที่มีประโยชน์ กินตรงเวลา และกินครบทุกมื้อ ได้ใช้เวลาอยู่กับลูกๆ และครอบครัว นอกจากนี้บางคนก็รู้สึกว่าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ชาว Work from home คนไหนที่เริ่มรู้สึกถึงปัญหาสุขภาพกวนใจ พรีโมแคร์ เมดิคอล มีทีมแพทย์ พยาบาล ไปจนถึงนักกายภายภาพบำบัด และนักจิตวิทยา สแตนด์บายพร้อมดูแลคุณเสมอ คลิกดูบริการเพิ่มเติมได้ที่นี่เลย

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

ดูแลผู้สูงอายุอย่างไรให้ปลอดภัยจากโควิด-19

    /    บทความ    /    ดูแลผู้สูงอายุอย่างไรให้ปลอดภัยจากโควิด-19

ดูแลผู้สูงวัยอย่างไรให้ปลอดภัยจากโควิด-19

ดูแลผู้สูงวัยอย่างไรให้ปลอดภัยจากโควิด-19

วิธีป้องกันและดูแลผู้สูงอายุในบ้านให้ปลอดภัยจากโควิด-19 ห่างไกลความเครียดและความเหงาในช่วงกักตัวอยู่ที่บ้าน

วิธีดูแลผู้สูงอายุให้ปลอดภัยในช่วงโควิด-19 นั้นแค่ดูแลทางร่างกายอย่างเดียวคงไม่พอ เพราะเมื่อต้องอยู่แต่ในบ้าน ไม่ได้ออกไปไหน ก็อาจทำให้รู้สึกเหงา จึงต้องคอยดูแลสุขภาพใจไม่ให้เหี่ยวเฉาไปด้วย วันนี้พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก รวบรวม 6 เคล็ดลับการดูแลผู้สูงวัยในบ้านให้ห่างไกลจากเชื้อโควิด-19 แบบดีต่อสุขภาพใจมาฝาก รวมไปถึงคำแนะนำในการปกป้องคนในครอบครัว เมื่อคาดว่าตัวเองจะติดเชื้อหรือเพิ่งไปสัมผัสผู้ติดเชื้อมา  

ข้อแนะนำในการดูแลผู้สูงอายุในช่วงโควิด-19 

1 รักษาสุขภาพและป้องกันตัวเองให้ดีเป็นอันดับแรก

คนอายุน้อยมักจะมีความเสี่ยงเกิดอาการรุนแรงจากการติดเชื้อโควิด-19 น้อยกว่า หรือบางคนอาจไม่มีอาการใดๆ ที่บ่งบอกว่าติดเชื้อด้วยซ้ำ ทำให้แพร่เชื้อไปสู่คนรอบข้างโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นสิ่งที่สำคัญในการปกป้องผู้สูงอายุก็คือการระมัดระวังตัวเองอย่างดีที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อหรือแพร่เชื้อ ดังนี้

  • สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาเมื่อใกล้ชิดผู้สูงอายุ
  • ล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดก่อนและหลังเตรียมอาหาร หลังเข้าห้องน้ำ และหลังจากสัมผัสพื้นผิวสิ่งของต่างๆ ในพื้นที่สาธารณะ 
  • ล้างมือก่อนเข้าไปดูแลผู้สูงอายุ และทำความสะอาดหลังสัมผัสพื้นผิวของสิ่งของที่ผู้สูงอายุใช้
  • เช็ดทำความสะอาดสิ่งของในบ้านที่อาจมีการสัมผัสร่วมกันเป็นประจำ เช่น ลูกบิดประตู โซฟา โต๊ะกินข้าว รวมถึงอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้สูงอายุ เช่น ราวจับกันลื่นในห้องน้ำ ไม้เท้า เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการไปในที่แออัดหรือพื้นที่ปิดที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ หากจำเป็นควรสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาและระวังอย่านำมือมาสัมผัสใบหน้า
  • พยายามเว้นระยะห่างจากคนอื่นอย่างน้อย 2 เมตรเมื่อออกไปนอกบ้าน
  • เมื่อกลับถึงบ้านควรรีบอาบน้ำ สระผม และเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที

2 เลื่อนนัดพบแพทย์ที่ไม่สำคัญออกไปก่อน

สำหรับผู้สูงอายุที่มีสุขภาพแข็งแรงดี ในช่วงนี้หากไม่มีความจำเป็นก็ไม่ควรออกไปเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นนัดตรวจสุขภาพหรือการนัดหมายใดๆ ที่ยังไม่ต้องเร่งรีบ 

ส่วนผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังซึ่งต้องมีการติดตามอาการเป็นระยะนั้น เราสามารถสอบถามแพทย์ได้ว่ามีบริการให้คำปรึกษาทางไกล (Telemedicine) เช่น การโทรศัพท์ หรือการวิดีโอคอล เพื่อตรวจเช็กอาการเบื้องต้นจากการพูดคุยสอบถามอาการหรือไม่ รวมถึงการตรวจโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ ด้วยตนเองที่บ้าน เช่น การวัดความดันโลหิต การวัดระดับน้ำตาลในเลือด เป็นต้น นอกจากนี้ควรสำรองยารักษาโรคประจำตัวของผู้สูงอายุไว้อย่างน้อย 3 เดือน

3 ใช้เทคโนโลยีช่วยลดระยะห่าง สร้างกำลังใจให้ผู้สูงอายุ 

เพื่อลดความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อ ผู้สูงอายุจึงควรงดการพบปะหรือการไปเที่ยวกับเพื่อนๆ และลูกหลาน แต่นั่นก็อาจทำให้เกิดความรู้สึกเหงาและโดดเดี่ยว โดยมีงานวิจัยที่ชี้ว่าในสถานการณ์ปกติ 43% ของผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มักจะรู้สึกเหงา ซึ่งความเหงานี้เป็นตัวการที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลงและมีผลต่อสุขภาพจิต เมื่อรวมเข้ากับความวิตกกังวลและความเครียดในสถานการณ์ที่ยังไม่สามารถรับมือได้แบบนี้ ก็ยิ่งทำให้การเว้นระยะห่างทางสังคมเป็นเรื่องยากและส่งผลในทางลบต่อผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก

การใช้เทคโนโลยีเชื่อมต่อผู้สูงอายุกับเพื่อนๆ หรือคนในครอบครัวจะช่วยคลายความเหงาลงไปได้บ้าง ซึ่งการสอนผู้สูงอายุใช้งานสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์นั้นก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะปัจจุบันมีฟังก์ชันมากมายที่เป็นมิตรกับผู้ใช้งานกลุ่มนี้ เช่น การปรับเพิ่มขนาดตัวอักษร การสร้างปุ่มลัดสำหรับวิดีโอคอลในการกดครั้งเดียว และการเปิดแคปชั่นคำพูดสำหรับผู้ที่มีปัญหาในการได้ยิน เป็นต้น

นอกจากนี้ถ้าเป็นไปได้เราควรชักชวนให้เพื่อนๆ ของผู้สูงอายุ ลูกหลาน และญาติๆ ที่ไม่ได้อยู้บ้านเดียวกันโทรมาหาหรือส่งการ์ดทักทายบ่อยๆ เพื่อให้พวกท่านรู้สึกอุ่นใจและไม่รู้สึกโดดเดี่ยวจนเกินไป

4 หากิจกรรมทำร่วมกัน คลายความเหงาให้ชาวสูงอายุ

การต้องอยู่บ้านทุกวันโดยไม่ได้ใช้เวลาร่วมกับคนอื่นในบ้านจะยิ่งทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกเหงา เบื่อ หรือถึงขั้นหดหู่ และอาจทำให้เกิดความเครียดตามมาได้ ลองหากิจกรรมง่ายๆ ทำร่วมกันในช่วงเวลาว่าง เช่น จัดระเบียบอัลบั้มรูปเก่าๆ ด้วยกันเพื่อรำลึกถึงความทรงจำในวันเก่าๆ ให้ผู้สูงอายุแสดงฝีมือทำอาหารหรือขอให้ช่วยสอนสูตรอาหารสุดอร่อย แนะนำเพลงและหนังเรื่องโปรดของกันและกัน หรือจะสอนวัยเก๋าถ่ายรูปเซลฟี่ ถ่ายวิดีโอแชร์เรื่องราวในแต่ละวันด้วยกันลงในโลกโซเชียลก็ฟังดูน่าสนุกไม่น้อย

5 วางแผนรับมือหากมีคนในครอบครัวติดเชื้อ

วางแผนและพูดคุยกับผู้สูงอายุตั้งแต่ตอนนี้ว่าจะต้องทำอย่างไรหากคนใดคนหนึ่งในครอบครัวติดเชื้อ การพูดกันอย่างตรงไปตรงมาตั้งแต่ต้นจะช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกเครียดน้อยลง รวมทั้งเกิดความรู้สึกมีส่วนร่วมในการวางแผนและพร้อมรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวมากขึ้น นอกจากนี้หากคุณรับหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุเป็นหลักก็ควรมีแผนสำรองโดยหาคนที่จะรับช่วงดูแลแทนในระหว่างที่ตัวเองติดเชื้อด้วย

6 กักตัวหากสงสัยว่าตัวเองอาจติดเชื้อ

เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้สูงอายุและคนอื่นๆ ในบ้าน หากมีอาการที่บ่งชี้หรือสงสัยว่าตัวเองอาจติดเชื้อโควิด-19 เนื่องจากมีการใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อตั้งแต่ในช่วง 48 ชั่วโมงก่อนผู้ติดเชื้อเริ่มมีอาการ ควรกักตัวอยู่แต่ในบ้านในระหว่างที่รอผลตรวจ ตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • พยายามอยู่แต่ในห้องของตัวเองและปิดประตูไว้เสมอ
  • เปิดหน้าต่างภายในห้อง รวมถึงหน้าต่างภายในบ้านเท่าที่เปิดได้เพื่อช่วยเพิ่มการระบายอากาศและลดการสะสมของไวรัส
  • หลีกเลี่ยงการใช้พื้นที่ภายในบ้านร่วมกับผู้อื่นในเวลาเดียวกัน และใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาเมื่อออกจากห้อง
  • ควรรับประทานอาหารในห้องตัวเองหรือในพื้นที่ที่แยกออกมาเพื่อกักตัว
  • แยกใช้ห้องน้ำแยกกับคนอื่นในครอบครัว หรือรอใช้ห้องน้ำเป็นคนสุดท้าย และทำความสะอาดตามพื้นผิวที่สัมผัสทุกครั้งหลังใช้

หากตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด-19 ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กำหนดแนวทางว่าทางโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ตรวจเชื้อจะมีหน้าที่จัดการรับผู้ป่วยเข้ารักษาหรือส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลในเครือข่ายที่สามารถรับผู้ป่วยได้ทันที 

อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่เกิดปัญหาในการจัดหาเตียง แนะนำให้เตรียมเอกสารสำคัญของผู้ป่วย เช่น บัตรประจำตัว และผลตรวจโควิด-19 แล้วโทรแจ้ง 1330, 1668, 1669 เพื่อแจ้งเรื่องเข้ารับการรักษา พร้อมทั้งแจ้งรายละเอียดและเบอร์โทรติดต่อกลับ หรือจะลงทะเบียนหาเตียงผ่าน @sabaideebot ในแอปพลิเคชัน LINE ก็ได้ 

ทั้งนี้หากมีอาการรุนแรงขึ้นในระหว่างที่รอรถมารับไปโรงพยาบาล เช่น ไข้สูง ไอมาก เหนื่อย แน่นหน้าอก หอบ หายใจไม่สะดวก เบื่ออาหาร ให้รีบติดต่อสายด่วน 1668 หรือ 1669 ทันที

การติดเชื้อโควิด-19 ในผู้สูงอายุสามารถป้องกันได้หากมีการเตรียมพร้อม รู้วิธีดูแลวัยเก๋าให้ปลอดภัยแบบไม่เหงาแล้ว ก็อย่าลืมดูแลตัวเองและหาเวลาผ่อนคลายความเครียดที่เกิดขึ้นด้วย จะได้มีกำลังกายและกำลังใจที่ดีในการดูแลชาวสูงวัย เตรียมพร้อมรับมือและผ่านพ้นสถานการณ์นี้ไปได้อย่างปลอดภัยด้วยกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

เครียดเรื่องงานเกินไปไหม? ถึงเวลาเช็กตัวเอง พร้อมวิธีแก้เครียด

    /    บทความ    /    เครียดเรื่องงานเกินไปไหม? ถึงเวลาเช็กตัวเอง พร้อมวิธีแก้เครียด

เครียดเรื่องงานเกินไปไหม? ถึงเวลาเช็กตัวเอง พร้อมวิธีแก้เครียด

เครียดเรื่องงานเกินไปไหม?
ถึงเวลาเช็กตัวเอง พร้อมวิธีแก้เครียด

ค้นหาสัญญาณความเครียดเรื่องงานที่ร่างกายกำลังบอกเรา เรียนรู้วิธีแก้เครียด พร้อมฝึกรับมือกับความเครียดจากการทำงานในทุกๆ วัน

เหล่าวัยทำงานแทบทุกคนต่างเคยเผชิญกับความเครียดเรื่องงานกันมาบ้าง ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่เลวร้ายเสมอไป ความเครียดนิดหน่อยอาจทำให้เรารู้สึกตื่นตัวและมีสมาธิจดจ่อกับงานมากขึ้น หรือสามารถรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ในการทำงานได้ดี ทว่าเมื่อไรที่ความเครียดเริ่มก่อตัวสะสมเรื้อรังจนรู้สึกเหนื่อยล้าและกังวลกับงานตลอดเวลา นั่นอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าสุขภาพกายและใจของเรากำลังได้รับผลกระทบ ซึ่งอาจลุกลามไปถึงประสิทธิภาพในการทำงาน และความสัมพันธ์ต่อคนรอบข้างได้

ความเครียดส่งผลต่อสุขภาพของเราอย่างไร?

การเผชิญความเครียดในระยะสั้นๆ เช่น กำหนดส่งงานที่กระชั้นชิด หรือความผิดพลาดในงานที่ต้องแก้ไข จะส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองทางร่างกายที่เรียกว่า “การตอบสนองโดยสู้หรือหนี” ซึ่งจะมีอาการหัวใจเต้นเร็ว หายใจถี่ขึ้น และกล้ามเนื้อตึงเครียด 

กลไกที่ว่านี้เป็นกลไกทางธรรมชาติที่มนุษย์ทุกคนมีไว้เพื่อปกป้องตนเองจากอันตรายต่างๆ ด้วยความกลัวว่าหากทำงานไม่เสร็จ ทำงานไม่ดี จะถูกตำหนิหรือถึงขั้นถูกไล่ออก ทำให้เราตื่นตัวและต้องการทำงานนั้นให้สำเร็จแม้จะต้องทำงานล่วงเวลาจนดึกดื่นก็ตาม แต่เมื่อเราต้องเผชิญความเครียดติดต่อกันทุกวัน แทนที่จะส่งผลดี ความเครียดที่สะสมเพิ่มขึ้นทุกวันๆ นี้ก็จะนำไปสู่ผลลัพธ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรม 

  • ทางร่างกาย 
    • ปวดหัว ปวดท้อง ปวดกล้ามเนื้อ 
    • เหนื่อยล้า มีปัญหาเกี่ยวกับการนอน 
    • แรงขับทางเพศลดน้อยลง
  • ทางอารมณ์ 
    • หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน 
    • รู้สึกหดหู่ วิตกกังวล 
    • ไม่มีสมาธิ หมดความกระตือรือร้นในการทำงาน 
  • ทางพฤติกรรม 
    • มีพฤติกรรมการกินผิดปกติ อาจกินมากขึ้นหรือน้อยลง 
    • แยกตัวจากสังคม ไม่อยากพบปะเพื่อนฝูง 
    • มีพฤติกรรมหันไปพึ่งแอลกอฮอล์ บุหรี่ หรือสารเสพติดอื่นๆ

ภาวะความเครียดที่เรื้อรังและการเผชิญกับอาการข้างต้นเป็นเวลานานยังอาจทำให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมา เช่น โรควิตกกังวล ซึมเศร้า ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคอ้วน โรคทางระบบเผาผลาญ รวมถึงภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ ทำให้เสี่ยงติดเชื้อไวรัสหวัดและไข้หวัดใหญ่ได้ง่ายขึ้น ทั้งยังมีความสัมพันธ์โดยตรงกับ Burnout Syndrome หรือภาวะหมดไฟ ซึ่งจะมีความเหนื่อยล้าทางกายและทางใจ หดหู่ ไร้กำลังใจในการทำงาน และประสิทธิภาพในการทำงานลดลง 

เทคนิคการรับมือความเครียดเรื่องงาน 

  • เริ่มต้นวันดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ลองตื่นให้เช้าขึ้นเพื่อเผื่อเวลาเตรียมตัวก่อนทำงาน เพราะการตื่นสายจนต้องเร่งรีบในตอนเช้า บวกกับการจราจรที่ติดขัด และปัญหาจุกจิกอีกมากมายนั้นอาจเป็นตัวกระตุ้นให้รู้สึกหงุดหงิดตั้งแต่เช้า และส่งผลต่ออารมณ์ในวันนั้นไปทั้งวัน 
  • กำหนดความรับผิดชอบของตัวเองให้ชัดเจน อย่ารอให้เกิดความเครียดสะสมจากการทำงานที่นอกเหนือจากหน้าที่มากเกินไป หากไม่แน่ใจในขอบเขตงานของตัวเอง ควรพูดคุยกับหัวหน้าให้ชัดเจนตั้งแต่ต้น และเมื่อมีปัญหาในการทำงานก็อย่าลังเลที่จะขอความช่วยเหลือ
  • จัดระเบียบการทำงานในแต่ละวัน สำหรับคนที่ชอบทำงานแบบไม่ต้องมีกฎเกณฑ์หรือวางแผนมากนัก จนบางครั้งความไม่เป็นระบบระเบียบก็ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน ลองแก้ด้วยการเริ่มวางแผนการทำงานแต่ละวันคร่าวๆ เพื่อให้มีงานส่งตรงเวลา ไม่ต้องเร่งรีบในนาทีสุดท้ายหรือทำงานล่วงเวลา ซึ่งในระยะยาวจะกลายเป็นความเครียดสะสมเรื้อรังได้
  • ตั้งเป้าหมายบนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง แบ่งงานที่สามารถทำในแต่ละวันโดยไม่เกินความสามารถ การคิดว่าจะทำทุกอย่างให้เสร็จในวันเดียวนั้นอาจเป็นการกดดันตัวเองมากเกินไป และไม่ควรยึดติดกับการทำงานหลายอย่างพร้อมกัน เพราะการพยายามจะโฟกัสทุกอย่างนั้น ที่จริงแล้วอาจหมายถึงการไม่สามารถโฟกัสอะไรสักอย่างได้ดีพอเลยก็ได้
  • อย่ายึดติดกับความสมบูรณ์แบบมากเกินพอดี การพยายามทำงานอย่างดีที่สุดเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ต้องไม่เคร่งเครียดหรือตึงเกินไปจนไม่มีช่องว่างสำหรับความผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ของตัวเอง ควรหมั่นชื่นชมตัวเองที่ได้พยายามทำอย่างเต็มที่แล้ว
  • หลีกเลี่ยงความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงาน ปัญหาความไม่ลงรอยเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลต่อความรู้สึกในการทำงานได้ เมื่อต่างคนต่างนิสัย การกระทบกระทั่งกันจึงเกิดขึ้นได้เป็นปกติ ซึ่งถ้าเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยงไว้เป็นดีที่สุด หรือถ้าเลี่ยงไม่ได้ก็ควรพูดคุยหรือถกเถียงกันอย่างใจเย็นและยึดตามหลักเหตุผล
  • จัดสภาพแวดล้อมให้น่าทำงาน สภาพการทำงานที่ไม่เอื้ออำนวยหรือเก้าอี้ที่นั่งไม่สบายอาจทำให้รู้สึกไม่อยากทำงานและเกิดความเครียดตามมา ลองจัดสภาพแวดล้อมการทำงานให้เป็นระเบียบ หาเก้าอี้ที่นั่งสบาย และตกแต่งโต๊ะทำงานให้สวยงาม เพื่อช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายในการทำงานมากขึ้น
  • หาจังหวะคลายเครียดระหว่างวัน พยายามลุกขึ้นยืดเส้นยืดสายทุกๆ ชั่วโมง เพื่อคลายความล้าจากการนั่งทำงานเป็นเวลานาน ป้องกันออฟฟิศซินโดรม และหมั่นออกไปสูดอากาศภายนอกในช่วงพักเที่ยงหรือช่วงบ่ายเพื่อให้ร่างกายและสมองตื่นตัวมากขึ้น
  • ฝึกเทคนิคการผ่อนคลายรับมือสถานการณ์ความเครียด เช่น เทคนิคการหายใจเข้าออกช้าๆ และการทำท่าบริหารเหยียดคลายกล้ามเนื้อส่วนที่เกิดการเกร็งจากความเครียดจากการทำงาน

อีกหนึ่งวิธีในการจัดการกับความเครียดที่สำคัญไม่แพ้วิธีอื่นๆ ก็คือการพูดคุยปรึกษาคนรอบข้างเพื่อระบายความเครียดและความทุกข์ใจ หากเก็บทุกอย่างไว้คนเดียว ความเครียดก็จะไม่ได้รับการปลดปล่อยและมีแต่จะทำให้สุขภาพจิตย่ำแย่ลง

สำหรับใครที่มีอาการของภาวะเครียดที่รู้สึกว่าไม่สามารถจัดการด้วยตัวเองได้ หรือต้องการพูดคุยกับใครสักคนที่พร้อมรับฟัง คุณสามารถทำแบบประเมินความเครียดและรับความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยาที่พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก ได้ทุกเมื่อ หากสนใจสามารถคลิกดูบริการและจองคิวออนไลน์ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

จิตแพทย์ กับ นักจิตวิทยา เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?

    /    บทความ    /    จิตแพทย์ กับ นักจิตวิทยา เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?

จิตแพทย์ VS นักจิตวิทยา เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?

จิตแพทย์ VS นักจิตวิทยา
เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?

นักจิตวิทยา กับ จิตแพทย์ ทำงานต่างกันอย่างไร? หาคำตอบว่าใครที่เหมาะจะช่วยแนะนำวิธีจัดการกับปัญหาทางจิตใจและอารมณ์ของคุณที่สุด

เมื่อมีเรื่องให้เครียดหรือกังวลใจ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในครอบครัว ความเครียดจากการทำงาน หรือความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและคนรอบข้าง เรามักมองหาคนใกล้ตัวที่จะคอยรับฟังเพื่อแบ่งเบาความทุกข์ลงไปบ้าง แต่บางครั้งความรู้สึกที่เกิดขึ้นก็ท่วมท้นเกินกว่าจะจัดการด้วยตัวเองได้ หรือมีเหตุผลบางอย่างที่ทำให้ไม่สบายใจที่จะระบายกับคนใกล้ตัว การพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญอย่างจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาจึงดูจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพจิตนั้นมีหลากหลายสาขาและมีชื่อเรียกที่คล้ายกันจนทำให้เกิดความสับสนได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นจิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักจิตวิทยาบำบัด หรือนักจิตวิทยาการปรึกษา โดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญสาขาหลักอย่างจิตแพทย์และนักจิตวิทยาที่ในความเข้าใจของคนทั่วไปนั้นดูจะเป็นเรื่องที่มีความคลุมเครืออยู่มาก วันนี้ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก เลยจะพาไปรู้จักกับทั้งสองวิชาชีพนี้ให้ชัดขึ้น ว่าทำงานเหมือนหรือต่างกันอย่างไร พร้อมทั้งคำแนะนำเบื้องต้นในขั้นตอนการเริ่มปรึกษา

จิตแพทย์ และ นักจิตวิทยา ทำงานต่างกันอย่างไร?

จิตแพทย์และนักจิตวิทยาต่างก็มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกการทำงานของสมอง รวมถึงการเกิดอารมณ์ ความคิด ความรู้สึกต่างๆ และมีทักษะการรักษาทางจิตวิทยาด้วยการพูดคุย เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจในความคิดและพฤติกรรมของตนเอง นอกจากนี้เป้าหมายของทั้งคู่คือการช่วยให้สุขภาพจิตของผู้ป่วยดีขึ้น 

สิ่งที่แยกนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ออกจากกัน มีดังต่อไปนี้

การศึกษาและความเชี่ยวชาญ

  • จิตแพทย์ เป็นแพทย์เฉพาะทางแขนงหนึ่ง เส้นทางการเป็นจิตแพทย์จึงต้องเริ่มจากการเรียนแพทย์ทั่วไปในคณะแพทยศาสตร์ 6 ปี และต่อแพทย์เฉพาะทางในภาควิชาจิตเวชศาสตร์อีก 3 ปี ใช้เวลาทั้งหมดอย่างน้อย 9 ปี มีความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคทางจิต รวมถึงความผิดปกติทางอารมณ์และพฤติกรรม โดยในการวินิจฉัยและรักษาโรคทางจิตจะพิจารณาความผิดปกติจากปัจจัยทางด้านประสาทและสมอง พันธุกรรม รวมถึงโรคอื่นๆ ร่วมด้วย
  • นักจิตวิทยา ไม่ใช่แพทย์ แต่จบจากคณะต่างๆ เช่น จิตวิทยา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ในหลักสูตรสาขาจิตวิทยา ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ กระบวนความคิด และพฤติกรรมของมนุษย์ในปัจจัยแวดล้อมทางสังคมต่างๆ ใช้เวลาเรียน 4 ปีในระดับปริญญาตรี และหากต้องการเป็นนักจิตวิทยาคลินิกที่ปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิตและจิตเวชจะต้องต่อหลักสูตรอบรม 6 เดือนเพื่อสอบใบประกอบโรคศิลป์สาขาจิตวิทยาคลินิก

วิธีการรักษา

  • จิตแพทย์ สามารถตรวจวินิจฉัยโรคทางจิตต่างๆ และให้การรักษาที่ครอบคลุมมากกว่านักจิตวิทยา โดยจะเน้นรักษาด้วยยาและการทำจิตบำบัด ซึ่งบางครั้งในส่วนของการทำจิตบำบัดจะส่งต่อไปให้นักจิตวิทยาเป็นผู้ดูแล นอกจากนี้จิตแพทย์ยังอาจใช้การรักษาอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้า รวมทั้งมีหน้าที่ในการตรวจสุขภาพกายและประเมินประสิทธิภาพของยาที่ผู้ป่วยใช้ 
  • นักจิตวิทยา ไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้ แต่สามารถใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยาเพื่อประกอบการวางแผนการบำบัดทางจิต การรักษาของนักจิตวิทยาจะเน้นวิธีการบำบัดทางจิต ความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมโดยการพูดคุยแลกเปลี่ยนเป็นหลัก เพื่อหาสาเหตุของปัญหาและร่วมหาแนวทางการแก้ไข รวมถึงให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือความคิดเพื่อฟื้นฟูสุขภาพจิต ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงหรือคาดว่าการใช้ยาอาจช่วยได้ นักจิตวิทยาจะส่งต่อผู้ป่วยไปยังจิตแพทย์ พร้อมผลการประเมินสภาพจิตเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวินิจฉัยเพิ่มเติม 

โรคที่ให้การรักษา

  • จิตแพทย์ จะเน้นรักษาโรคที่ต้องใช้หลายวิธีรักษาร่วมกัน ทั้งการใช้ยา การบำบัดทางจิต และการใช้จิตสังคมบำบัด โดยให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านจิตใจ อารมณ์ และสังคมของผู้ป่วยอย่างครอบคลุม ผู้ป่วยที่มีโรคที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่น โรคซึมเศร้าหรือวิตกกังวลชนิดรุนแรง โรคไบโพลาร์ โรคจิตเภท ภาวะออทิสติก มักต้องได้รับการรักษาจากจิตแพทย์ รวมไปถึงกรณีที่มีพฤติกรรมทำร้ายตนเองและคนรอบข้าง
  • นักจิตวิทยา มักดูแลปัญหาทางสภาวะจิตใจที่สามารถรักษาได้ด้วยการทำจิตบำบัด ปัญหาทั่วไปที่หลายคนพบเจอในชีวิตประจำวัน แต่ไม่สามารถหาทางออกด้วยตัวเอง หรือไม่รู้จะไปปรึกษาใคร ล้วนแล้วแต่ปรึกษานักจิตวิทยาได้ เช่น ความเครียดจากการเรียนและการทำงาน ภาวะหมดไฟ ในการทำงาน (Burnout) ความวิตกกังวลต่อเรื่องต่างๆ ที่รู้สึกว่ามีมากเกินไป และปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ทั้งครอบครัว เพื่อน หรือคนในที่ทำงาน รวมไปถึงภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวลที่ยังไม่รุนแรง ปัญหาอื่นๆ ในด้านพฤติกรรม การเรียนรู้ และการปรับตัวเข้ากับสังคม 

เริ่มต้นพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาอย่างไรดี?

การเลือกผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตและการรักษาที่เหมาะสมกับภาวะทางจิตที่กำลังเผชิญไม่ต่างจากการหาหมอให้ถูกโรค เบื้องต้นแนะนำให้โทรสอบถามสถานพยาบาลและอาจอธิบายสาเหตุที่อยากขอคำปรึกษาเพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติมว่าควรพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา

ในการพบกันครั้งแรก จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาจะพูดคุยถึงสาเหตุที่คุณคิดว่าตนเองต้องการรับการบำบัด และสอบถามว่ามีอาการอย่างไร รู้สึกอย่างไร เป็นมานานแค่ไหน หลังจากนั้นจะเริ่มพูดคุยในเรื่องต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจผู้ป่วยให้มากขึ้น เช่น ครอบครัว การทำงาน งานอดิเรก หรือกิจกรรมที่ชอบทำ และอาจมีการทำแบบประเมินสุขภาพจิตร่วมด้วย เมื่อรู้จักกันมากขึ้นแล้วก็จะเข้าสู่ขั้นการวางแผนการรักษาและเปิดโอกาสให้ถามคำถามที่คุณยังสงสัยหรือข้องใจเกี่ยวกับการรักษา 

คุณอาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าจะคุ้นเคยกับการบำบัดจิตกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา หากผ่านไป 2-3 สัปดาห์แล้วยังรู้สึกว่าการรักษาไม่ได้ช่วยให้รู้สึกดีขึ้น ควรบอกให้ผู้ที่ให้การรักษาทราบเพื่อปรับวิธีการบำบัดให้เหมาะกับตัวเอง ซึ่งจะส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการรักษา ไม่ควรฝืนทำต่อไปโดยที่รู้สึกไม่ใช่ เพราะนั่นเท่ากับผิดวัตถุประสงค์การรักษาของจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ที่ต้องการช่วยฟื้นฟูสุขภาพจิตของผู้ป่วยและส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตโดยรวมที่ดี

สุขภาพใจมีความสำคัญและต้องการการดูแลไม่ต่างจากสุขภาพกาย หมั่นสังเกตอารมณ์ ความคิด และความรู้สึกของตัวเอง ถ้าไม่ไหวก็ไม่ต้องฝืน ให้พรีโมแคร์ช่วยรับฟังและหาทางรับมือปัญหา นัดหมายปรึกษานักจิตวิทยาของเราได้ที่ LINE @primoCare หรือคลิกดูบริการเพิ่มเติมที่นี่

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

กายภาพบำบัด กับ นวดแผนไทย ต่างกันอย่างไร? เลือกรักษาแบบไหนดี?

    /    บทความ    /    กายภาพบำบัด กับ นวดแผนไทย ต่างกันอย่างไร? เลือกรักษาแบบไหนดี?

กายภาพบำบัด VS นวดแผนไทย ต่างกันอย่างไร อาการแบบนี้รักษาแบบไหนดี?

กายภาพบำบัด กับ นวดแผนไทย
ต่างกันอย่างไร? เลือกรักษาแบบไหนดี?

กายภาพบำบัด หรือ นวดแผนไทย อาการแบบนี้ถ้าจะให้ดีควรเลือกอย่างไหน? นักกายภาพบำบัดกับหมอนวดต่างกันยังไง? เช็กให้รู้ เลือกการรักษาที่ใช่

การกายภาพบำบัดและการนวดแผนไทย ต่างเป็นศาสตร์แห่งการฟื้นฟูร่างกายที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะ โดยการทำกายภาพบำบัดนั้นจัดเป็นการรักษาทางการแพทย์ ส่วนการนวดบำบัดทั่วไปจะอยู่ในหมวดแพทย์ทางเลือก ซึ่งสำหรับคนทั่วไปก็ยังเป็นที่สับสนกันมากว่าการนวดแผนไทยและการทำกายภาพบำบัดนั้นเหมือนหรือต่างกันอย่างไร บทความนี้เราจะมาดูกันชัดๆ ว่าอาการแบบไหนควรรักษาอย่างไรถึงจะดีที่สุด 

อาการแบบนี้ นวดแผนไทยช่วยได้

การนวดบำบัดทั่วไปและการนวดแผนไทย มีจุดประสงค์ในการช่วยคลายกล้ามเนื้อ โดยอาจใช้เทคนิคการนวดคลึง การกดเน้นตามจุด และการเหยียดยืดกล้ามเนื้อ ซึ่งจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด บรรเทาอาการปวดเมื่อยและลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อ ส่งผลให้รู้สึกดีขึ้นในขณะที่เคลื่อนไหวร่างกาย นอกจากนี้ยังส่งผลดีต่อสุขภาพจิตในด้านการลดความเครียดและความวิตกกังวลได้อีกด้วย

ในกรณีต่อไปนี้ การนวดบำบัดทั่วไปถือเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์

  • มีอาการตึงหรือปวดกล้ามเนื้อเล็กน้อย
  • มีอาการปวดเมื่อยที่ไม่เรื้อรังจากการทำงานหรือกิจวัตรประจำวันอื่นๆ 
  • ต้องการผ่อนคลายจากความเครียดและความวิตกกังวล
  • ต้องการฟื้นฟูร่างกายหลังจากออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา

อาการแบบนี้ ควรกายภาพบำบัด

การทำกายภาพบำบัด มีจุดประสงค์เพื่อทำการรักษาอาการบาดเจ็บ รวมถึงความเจ็บป่วยรุนแรงหรือเรื้อรัง โดยเป็นหน้าที่ของแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและนักกายภาพบำบัดในการตรวจร่างกาย วินิจฉัย และออกแบบการรักษาตามอาการและสาเหตุการเจ็บป่วย

สำหรับกรณีต่อไปนี้ การรักษาด้วยกายภาพบำบัดจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมมากกว่าการนวดบำบัดทั่วไป

  • มีอาการปวดเรื้อรังหรือปวดรุนแรงมากจนเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนไหวร่างกาย ส่งผลต่อการทำงานและการทำกิจกรรมต่างๆ 
  • มีอาการที่เคยรักษาด้วยการนวดบำบัดมาก่อน แต่อาการไม่ดีขึ้นหรือยังคงเป็นอย่างต่อเนื่อง
  • มีอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือการเล่นกีฬา เช่น ข้อเท้าพลิก แล้วต้องการตรวจประเมินและรับคำแนะนำในการรักษา รวมถึงวิธีการดูแลตัวเองที่ถูกต้อง 
  • ได้รับคำแนะนำส่งต่อจากแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพอื่นๆ ให้รับการรักษาโดยทำกายภาพบำบัด

หลายครั้งที่เรามักละเลยการพบแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดเพราะคิดว่าอาการจะดีขึ้นเองในไม่ช้า แต่กลายเป็นว่าอาการกลับยิ่งเรื้อรังและรุนแรงมากขึ้น ดังนั้นตามคำแนะนำที่ถูกต้อง เราควรรับการตรวจรักษาทันทีที่ได้รับบาดเจ็บ หรือมีอาการปวดตามร่างกายที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

การทำงานของแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและนักกายภาพบำบัด

ในการรักษาทางกายภาพบำบัด เราจะพบกับแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูเป็นอันดับแรก ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโครงสร้างและการทำงานของร่างกาย รวมถึงทางด้านระบบประสาท ระบบหัวใจและหลอดเลือด ที่สามารถส่งผลถึงระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ โดยแพทย์จะทำหน้าที่ตรวจประเมิน วินิจฉัย และรักษา ไปจนถึงการตรวจรักษาสุขภาพโดยรวมและโรคประจำตัวอื่นๆ ของคนไข้

แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูทำงานร่วมกับนักกายภาพบำบัด ซึ่งเป็นผู้ที่มีทักษะเกี่ยวกับการป้องกันรักษาและจัดการการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติที่เกิดขึ้น สามารถตรวจประเมินการเคลื่อนไหว อาการบาดเจ็บ ช่วงมุมการเคลื่อนไหวของข้อต่อ ความแข็งแรงและความยาวของกล้ามเนื้อ รวมถึงปัจจัยด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาการบาดเจ็บหรืออาการจากโรคที่เกิดขึ้น เช่น ท่าทางในการนั่ง การทำงาน (ออฟฟิศซินโดรม) หรือการออกกำลังกาย นอกจากนี้ยังมีความเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่น เครื่องอัลตร้าซาวด์ เครื่องช็อคเวฟ เป็นต้น 

โดยหลังจากแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูส่งต่อผู้ป่วยมาทำกายภาพบำบัด นักกายภาพบำบัดจะเป็นผู้ตรวจประเมิน และทำการรักษาผู้ป่วยจนสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ หรือสามารถทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เช่น การกลับไปเล่นกีฬา รวมถึงให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการกลับไปเป็นซ้ำ

ทั้งนี้ ในคลินิกหรือสถานพยาบาลที่ไม่มีแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูกำกับ การรักษาของนักกายภาพบำบัดจะรวมถึงการวินิจฉัยประเมินอาการ และพูดคุยกับผู้ป่วยเพื่อซักประวัติอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นโรคประจำตัว อาการ และพฤติกรรมหรือปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจส่งผลให้มีอาการดังกล่าว 

ในด้านขั้นตอนการรักษา นักกายภาพบำบัดจะใช้เทคนิคที่หลากหลายตามความเหมาะสม เช่น การบำบัดด้วยมือ ซึ่งรวมถึงเทคนิคการดัด ดึง และขยับข้อต่อ การบำบัดด้วยการออกกำลังกาย การใช้เครื่องช็อคเวฟ คลื่นอัลตราซาวด์ ความร้อน และความเย็น เป็นต้น

การนวดนั้นเหมาะสำหรับอาการปวดนิดตึงหน่อยหรือในวันที่เครียดและต้องการผ่อนคลาย แต่หากมีอาการที่เรื้อรัง เป็นๆ หายๆ ที่รบกวนใจหรือขัดขวางการทำงานและการใช้ชีวิตอย่างราบรื่น การกายภาพบำบัดคือคำตอบของคุณ 

สนใจคลิกดูรายละเอียดบริการกายภาพบำบัดที่พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก ที่นี่ หรือสอบถามเพิ่มเติมได้เลยที่ LINE @primoCare

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

Sick Building Syndrome โรคแปลกของชาวออฟฟิศ คือโรคอะไรกันแน่?

    /    บทความ    /    Sick Building Syndrome โรคแปลกของชาวออฟฟิศ คือโรคอะไรกันแน่?

Sick Building Syndrome โรคแปลกของชาวออฟฟิศ คือโรคอะไรกันแน่?

Sick Building Syndrome
โรคแปลกของชาวออฟฟิศ คือโรคอะไรกันแน่?

ไปออฟฟิศทีไรอาการไม่ดีตลอด แต่พอกลับถึงบ้านก็ดีขึ้น คุณกำลังมีภาวะ Sick Building Syndrome อยู่หรือเปล่า? เช็กตัวเองได้ที่นี่

Sick Building Syndrome (SBS) เป็นภาวะความเจ็บป่วยที่เชื่อว่าอาจเกิดจากการทำงานภายในอาคารและสถานที่ปิด ซึ่งยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าสาเหตุที่แท้จริงเกิดจากอะไร อาการของภาวะนี้ค่อนข้างกว้างและอาจดูคล้ายโรคอื่น ทำให้การตรวจวินิจฉัยทำได้ยาก โดยผู้ป่วยอาจมีอาการเกิดขึ้นในห้องใดห้องหนึ่งหรือกินบริเวณกว้างทั้งอาคารก็ได้

หากคุณมีอาการผิดปกติที่หาสาเหตุไม่ได้บ่อยครั้งในที่ทำงานหรือที่พักอาศัย พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก อยากชวนคุณมาทำความรู้จักโรคนี้เพิ่มเติมเพื่อตรวจสอบอาการและสภาพแวดล้อมของอาคารที่ใช้ชีวิตเป็นประจำ ว่าเข้าข่าย Sick Building Syndrome หรือไม่

วิธีสังเกตอาการ Sick Building Syndrome

อาการของ Sick Building Syndrome ที่เกิดขึ้นอาจส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง หรือระบบประสาทก็ได้ และมักทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่าเป็นอาการของโรคอื่น เช่น หวัด หรือภูมิแพ้ วิธีสังเกตเบื้องต้นให้ดูว่าอาการต่อไปนี้ดีขึ้นหรือหายไปเมื่อออกจากอาคารหรือไม่ และมีอาการอย่างไรเมื่อกลับไปอยู่ภายในอาคารอีกครั้ง

  • ปวดหรือวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้
  • คัดจมูก น้ำมูกไหล 
  • ระคายเคืองตา ตาแห้ง
  • เจ็บคอ ระคายเคืองคอ ไอ 
  • หายใจลำบาก หายใจมีเสียงดังหวีด
  • ผิวหนังแห้ง คัน มีผื่นขึ้น
  • อ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิทำงาน สมองล้า
  • มีไข้ หนาวสั่น
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

นอกจากนี้ อาการของ Sick Building Syndrome อาจรุนแรงขึ้นได้หากเกิดขึ้นพร้อมกับอาการภูมิแพ้หรือโรคทางระบบทางเดินหายใจ และอาจส่งผลให้อาการของโรคอื่นกำเริบได้เช่นกัน นอกจากนี้ มีความเป็นไปได้ที่บางคนอาจมีอาการหลังจากออกจากอาคารไปแล้ว เนื่องจากภาวะนี้เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากการอยู่ในอาคารนั้นเป็นประจำหรือต่อเนื่องเป็นเวลานาน

อะไรคือสาเหตุของ Sick Building Syndrome?

ปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าโรคนี้เกิดจากอะไรกันแน่ แต่คาดว่าสภาพแวดล้อมภายในอาคารต่อไปนี้อาจเป็นปัจจัยที่ให้เกิดอาการของ Sick Building Syndrome ตามมาได้

  • การถ่ายเทอากาศที่ไม่ดี ซึ่งอาจทำให้เกิดการสะสมของมลพิษ ฝุ่นควัน สารพิษ และเชื้อโรคต่างๆ ในระดับที่ส่งผลต่อสุขภาพ
  • มลพิษจากภายนอก เช่น ฝุ่น ผง ควันบุหรี่ หรือควันจากรถยนต์ที่ลอยเข้ามาในอาคาร
  • มลพิษ สารพิษ และสารเคมีต่างๆ จากภายในอาคาร ได้แก่
    • เชื้อรา ไวรัส แบคทีเรียที่สะสม
    • ควันบุหรี่ ควันจากเตาอาหาร 
    • น้ำยาทำความสะอาด สีทาผนัง และสารฟอร์มาลดีไฮด์ในพื้นหรือเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้
    • แร่ใยหินที่ใช้เป็นส่วนประกอบของวัสดุต่างๆ ภายในอาคาร เช่น กระเบื้อง ท่อน้ำประปา ท่อซีเมนต์
    • ก๊าซเรดอนที่เป็นสารกัมมันตรังสีที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส และอาจสะสมอยู่ในบ้านที่ไม่มีการระบายอากาศ
  • ความสว่างภายในอาคาร เช่น แสงไฟที่สว่างจ้าหรือมืดเกินไป ซึ่งส่งผลต่อการมองเห็น รวมถึงความชัดและความสว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ไม่สบายตา
  • ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมอื่นๆ เช่น
    • อุณหภูมิที่ร้อนหรือเย็นเกินไป และระดับความชื้นในอากาศที่ต่ำ
    • มีเสียงรอบข้างดังเกินไป
    • มีแมลงหรือมูลของเสียจากสัตว์ เช่น หนู จิ้งจก เป็นต้น

ปัญหาการระบายอากาศและสภาพแวดล้อมภายในอาคารเหล่านี้อาจเป็นเรื่องที่ไม่สามารถปรับแก้ด้วยตนเองได้ จึงควรแจ้งให้เจ้านายหรือผู้ว่าจ้างทราบเมื่อพบปัญหาที่อาจส่งผลต่อสุขภาพและประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อหาวิธีจัดการร่วมกันอย่างเหมาะสมต่อไป

วิธีป้องกันและบรรเทาอาการจาก Sick Building Syndrome

ยากที่จะบอกได้ว่าอาการที่เกิดขึ้นมีสาเหตุจากอะไรกันแน่ การป้องกันโรคนี้จึงเน้นไปที่การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงข้างต้นรวมถึงการลดพฤติกรรมที่อาจนำมาซึ่ง Sick Building Syndrome โดยสามารถทำได้ตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • หากไม่มีเครื่องปรับอากาศ ควรเปิดหน้าต่างและใช้พัดลมเป่าเพื่อเพิ่มการระบายอากาศ
  • หมั่นดูดฝุ่นและทำความสะอาดห้องหรืออาคาร 
  • เปลี่ยนหรือทำความสะอาดฟิลเตอร์เครื่องปรับอากาศทุก 2-3 เดือน
  • ใช้เครื่องกรองอากาศเพื่อลดฝุ่น ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา และสิ่งสกปรกภายในห้อง
  • ปรับแสงไฟภายในอาคารให้สว่างพอดี ปรับแสงหน้าจอให้สบายตา และอัปเกรดจอแสดงผลต่างๆ ให้สามารถมองได้โดยไม่ต้องเพ่งสายตา
  • พยายามผ่อนคลายความเครียดจากการทำงาน เพราะอาจกระตุ้นให้เกิดอาการหรือมีอาการแย่ลงได้
  • หมั่นพักสายตาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยมองออกไปไกลๆ ประมาณ 20 วินาที ทุกๆ 20 นาที และอย่าลืมกระพริบตาบ่อยๆ
  • หาโอกาสออกไปสูดอากาศข้างนอก เช่น ช่วงพักกลางวัน พักเบรค หรือระหว่างไปเข้าห้องน้ำ
  • ลุกขึ้นมายืดเส้นยืดสายหรือทำท่ากายบริหารง่ายๆ เพื่อคลายความเมื่อยล้าที่อาจเกิดจากการนั่งนานเกินไป

หากปรับตามนี้แล้วอาการยังไม่ดีขึ้นก็ถึงเวลาที่ต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัด โดยหากไม่ได้เกิดจากโรคอื่น แพทย์อาจตรวจว่าอาการที่เกิดขึ้นมาจากสภาพแวดล้อมการทำงานหรือไม่ เช่น การตรวจหาสารฟอร์มาลีนไฮด์ ก๊าซเรดอน แร่ใยหิน เชื้อราดำ และการตรวจโลหะหนัก

สำหรับใครที่ไม่แน่ใจว่าอาการที่เกิดขึ้นคือ Sick Building Syndrome หรือไม่ สามารถปรึกษาคุณหมอที่พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก เพื่อรับการตรวจให้แน่ชัดว่าไม่ได้เกิดจากโรคอื่นๆ ที่มีอาการคล้ายกัน พร้อมรับการรักษาอย่างตรงจุด ตามสาเหตุที่พบต่อไป คลิกดูบริการของเราได้เลยที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

Burnout Syndrome ต่างจากซึมเศร้ายังไง? วิธีแก้ภาวะหมดไฟในการทำงาน

    /    บทความ    /    Burnout Syndrome ต่างจากซึมเศร้ายังไง? วิธีแก้ภาวะหมดไฟในการทำงาน

Burnout Syndrome ต่างจากซึมเศร้ายังไง? วิธีแก้ภาวะหมดไฟในการทำงาน

Burnout Syndrome ต่างจากซึมเศร้ายังไง?
วิธีแก้ภาวะหมดไฟในการทำงาน

Burnout Syndrome หรือซึมเศร้ากันแน่? สังเกตความต่าง รู้วิธีป้องกันภาวะหมดไฟ ก่อนส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานและสุขภาพจิต

ความเหนื่อยล้าและความเครียดจากการทำงาน การเรียน หรือแม้แต่ภาระความรับผิดชอบในชีวิต เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้และแต่ละคนก็มีวิธีรับมือในแบบของตัวเอง แต่เมื่อไหร่ที่ความรู้สึกเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือรุนแรงจนรู้สึกว่าเกินความสามารถที่จะจัดการได้ และส่งผลต่อสุขภาพกาย สุขภาพใจ รวมถึงประสิทธิภาพในการทำงาน นั่นอาจเข้าข่าย Burnout Syndrome (ภาวะหมดไฟ) หรือภาวะซึมเศร้าได้

Burnout Syndrome หรือ ภาวะหมดไฟ คือความรู้สึกเบื่อหน่ายและเหนื่อยล้าเรื้อรังที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการทำงานหรือสิ่งที่ต้องรับผิดชอบ ซึ่งในปี 2019 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดให้ Burnout Syndrome เป็นภาวะจากการทำงาน โดยนิยามว่าเป็นผลของความเครียดจากการทำงานที่ยาวนานและไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม แม้ไม่ใช่โรคทางจิตเวช แต่ด้วยความรู้สึกหดหู่ เบื่อหน่าย ไร้เรี่ยวแรงและกำลังในการทำงาน จึงทำให้หลายคนอาจสับสนระหว่าง Burnout Syndrome กับภาวะซึมเศร้าได้ง่าย 

Burnout Syndrome กับซึมเศร้า ต่างกันอย่างไร?

Burnout Syndrome คืออาการที่สามารถส่งผลต่อทั้งทางอารมณ์ ร่างกาย และสภาพจิตใจ โดยมีสาเหตุมาจากความเครียดที่มีมากเกินไปหรือเครียดสะสมเรื้อรัง สัญญาณของภาวะหมดไฟแบ่งได้เป็น 3 ข้อหลักๆ ต่อไปนี้

  • รู้สึกไร้เรี่ยวแรงหรือหมดพลังงาน เกิดความเหนื่อยล้าทั้งทางกายและใจ บางทีอาจมีอาการทางร่างกายจากความเครียดร่วมด้วย เช่น ปวดตามร่างกาย ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย นอนไม่หลับ เป็นต้น
  • หมดกำลังใจในการทำงาน เกิดความรู้สึกในแง่ลบต่องานที่ทำ มีพฤติกรรมห่างเหินหรือไม่อยากมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
  • ประสิทธิภาพในการทำงานลดน้อยลง ไม่มีสมาธิจดจ่อกับงาน สำหรับคนที่ทำงานที่ต้องใช้ความคิดอาจส่งผลให้คิดอะไรไม่ออก หรือขาดความคิดสร้างสรรค์ได้

ภาวะซึมเศร้า เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ที่ส่งผลให้มีอาการของความรู้สึกหดหู่ ขาดความสนใจในเรื่องต่างๆ ในชีวิต หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย อ่อนเพลีย ไร้พลังงาน รู้สึกสิ้นหวัง หรือคิดว่าตัวเองไร้ค่า ซึ่งจะส่งผลต่อชีวิตประจำวันในด้านที่ไม่ใช่เฉพาะการทำงานเท่านั้น แต่ยังรวมถึงงานอดิเรก ความชอบ การเข้าสังคม และความสัมพันธ์ต่อเพื่อนหรือครอบครัว 

แม้อาการดังข้างต้นจะเกิดขึ้นได้เป็นบางครั้งบางคราวในบางช่วงของชีวิตเป็นปกติ แต่อาการที่ต่อเนื่องยาวนานกว่า 2 สัปดาห์นั้นอาจเป็นสัญญาณของภาวะซึมเศร้า ซึ่งไม่ควรปล่อยให้ล่วงเลยจนเรื้อรัง ควรเข้ารับการตรวจรักษากับแพทย์ทันที

จะเห็นได้ว่าอาการภาวะ Burnout Syndrome มีส่วนคล้ายคลึงอาการของภาวะซึมเศร้า แต่ก็มีข้อสังเกตง่ายๆ คือภาวะ Burnout Syndrome อาจดีขึ้นหรือหายไปในช่วงสุดสัปดาห์หรือช่วงที่หยุดพักผ่อนจากงานและความรับผิดชอบต่างๆ ฉะนั้นถ้าสงสัยว่าตัวเองอาจมีอาการของภาวะนี้ก็ลองพักผ่อนและสำรวจตัวเองว่ารู้สึกดีขึ้นหรือไม่ อย่างไรก็ตาม บางคนอาจมีอาการในระดับที่รุนแรง ซึ่งหากปล่อยไว้โดยไม่รักษาก็มีความเป็นไปได้ที่จะนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า

วิธีแก้และวิธีป้องกัน Burnout Syndrome

หากคุณมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อภาวะหมดไฟ หรือมีอาการเข้าข่ายตามที่กล่าวมา เบื้องต้นให้ลองผ่อนคลาย ลดความเครียดและความล้าจากการทำงาน ตามคำแนะนำต่อไปนี้ 

  • อย่าโหมงานหนักจนไม่มีเวลาพักผ่อน ให้เวลาร่างกายและจิตได้ผ่อนคลายจากความเหนื่อยล้า ป้องกันความเครียดที่อาจสะสมเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว ซึ่งจะสังเกตได้จากการคิดถึงเรื่องงานตลอดเวลา นอนไม่หลับ อารมณ์เสีย หงุดหงิดง่าย และประสิทธิภาพในการทำงานที่ลดลง
  • ฝึกพูดคำว่า “ไม่” รู้จักปฏิเสธงานที่นอกเหนือจากความรับผิดชอบหรืองานที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานช่วงนอกเวลาจนเบียดบังเวลาส่วนตัว
  • ขีดเส้นแบ่งเวลาทำงานและเวลาพักผ่อน หยุดคุยเรื่องงานหลังเวลาเลิกงานหรือช่วงสุดสัปดาห์ การติดต่องานหรือเช็กงานตลอดเวลาแม้กระทั่งในช่วงเวลาของการพักผ่อนเมื่อนานไปจะให้เกิดความเหนื่อยล้าและเครียดจนเกิดเป็นภาวะ Burnout ได้ง่ายๆ
  • หยุดพักร้อนเพื่อชาร์จพลังให้ตัวเองบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่สังเกตว่าเริ่มมีอาการหมดไฟในระดับปานกลางถึงรุนแรง การมีช่วงเวลาให้พักผ่อนหย่อนใจจะช่วยเพิ่มพลังกายและใจให้กลับมาลุยงานได้อย่างกระฉับกระเฉงมากขึ้น
  • แบ่งเวลานอนอย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง การพักผ่อนไม่เพียงพอเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะหมดไฟขึ้นได้ ทั้งยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล ไม่มีสมาธิทำงาน หรืออาจส่งผลให้อาการทั้งหมดนี้แย่ลงกว่าเดิมได้ 
  • ใช้เวลากับคนรอบข้างให้มากขึ้น อาจนัดกินข้าวมื้อเย็นกับเพื่อน หากิจกรรมทำร่วมกับคนในครอบครัว และหากกลุ่มเพื่อนที่ใช้เวลาด้วยกันส่วนใหญ่เป็นคนในที่ทำงาน ก็ควรตกลงกันว่าจะไม่พูดเรื่องงานในช่วงพักหรือหลังเลิกงานแล้ว

Burnout Syndrome อาจเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้าตามมา ในขณะเดียวกันภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวลก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้หมดไฟในการทำงานได้เช่นกัน อย่าปล่อยให้ปัญหาเหล่านี้เรื้อรังจนบ่อนทำลายสุขภาพ พยายามตรวจสอบตัวเองอยู่เสมอว่ารู้สึกอย่างไร ไม่ว่าจะรักงานแค่ไหนก็ต้องไม่ลืมให้ความสำคัญกับสุขภาพของตัวเองด้วย 

เมื่อไหร่ที่รู้สึกไร้หนทาง ติดอยู่ในวังวนของความเครียดและความเหนื่อยล้า นักจิตวิทยาพรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก พร้อมรับให้คำปรึกษาทุกเมื่อ ให้เรารับฟังและร่วมหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับลักษณะงานและพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคุณที่สุด สอบถามเพิ่มเติมหรือต้องการนัดหมายบริการ ติดต่อ @primoCare

บทความที่เกี่ยวข้อง