/    บทความ    /    ความเครียดส่งผลต่อการนอนหลับอย่างไร

ความเครียดส่งผล
ต่อการนอนหลับอย่างไร?

ความเครียดส่งผลต่อการนอนหลับอย่างไร?

โรคนอนไม่หลับเป็นโรคที่พบได้บ่อย ซึ่งสาเหตุอาจมาจากความเครียด การนอนไม่หลับ เริ่มตั้งแต่การที่เราพยายามจะนอนให้หลับ การนอนให้ได้นาน การนอนหลับให้สนิท รวมถึงคุณภาพการนอนที่ดี หากเรานอนไม่หลับในตอนกลางคืน หรือนอนหลับไม่สนิท สิ่งที่ตามมาคือจะมีความรู้สึกง่วงนอนในตอนกลางวันมาก รู้สึกอ่อนเพลีย หงุดหงิดง่าย และขาดความตั้งใจในการทำกิจกรรมต่าง ๆ จากผลการสำรวจพบว่าในปัจจุบันปริมาณผู้ใหญ่จำนวน 10 – 30% ที่มีอาการเครียดจนทำให้นอนไม่หลับ

เมื่อไหร่ถึงจะบอกได้ว่าคุณกำลังมีอาการเครียดจนทำให้นอนไม่หลับ หากคุณนอนไม่หลับมากกว่าสามครั้งต่อสัปดาห์เป็นเวลาติดต่อกันอย่างน้อยสามเดือน นั่นคือคุณมีอาการของโรคนอนไม่หลับเรื้อรัง เพราะความเครียดเรื้อรังสามารถส่งผลอย่างมากต่อการนอนไม่หลับเรื้อรัง โดยความเครียดเหล่านี้อาจเกิดจาก

  • ปัญหาในการทำงาน
  • การหย่าร้างและปัญหาอื่นๆ ในชีวิตสมรสหรือครอบครัว
  • การสูญเสียคนที่รัก
  • การเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บ
  • เกิดการเปลี่ยนแปลงของชีวิต

ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นโรคนอนไม่หลับเรื้อรังเพราะความเครียดที่ได้รับ แต่ผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลก็มีความเสี่ยงสูงที่จะมีอาการนอนไม่หลับ นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงเวลานอนที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต หรือการเปลี่ยนแปลงก็อาจทำให้นอนไม่หลับได้เช่นกัน เมื่อนอนไม่หลับเรื้อรัง คุณก็จะรู้สึกกังวลเกี่ยวกับการนอนหลับและด้านอื่นๆ ของชีวิตมากขึ้น สิ่งเหล่านี้จะยิ่งเพิ่มความเครียดและทำให้อาการนอนไม่หลับรุนแรงขึ้น

อาการนอนไม่หลับส่งผลให้

การนอนหลับไม่เพียงพออาจทำให้เกิดอารมณ์ด้านลบ พลังงานต่ำ ไม่มีสมาธิ และไม่สามารถทำงาน หรือใช้ชีวตประจำวันได้ตามปกติ การอดนอนอาจส่งผลร้ายแรงกับการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ เช่น หากคุณต้องขับรถหรือทำงานด้วยเครื่องจักร การที่มีคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดีเป็นครั้งคราว อาจไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่การนอนไม่หลับอย่างต่อเนื่องสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการทำงาน และต่อภาวะสุขภาพหลายประการ

จากรายงานของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ Centers for Disease Control and Prevention หรือ CDC พบว่าผู้ที่นอนหลับน้อยกว่า 7 ชั่วโมงต่อคืนมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากสภาวะต่อไปนี้

  • สภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน
  • โรคหัวใจ
  • โรคเบาหวาน
  • ภาวะซึมเศร้า
  • โรคข้ออักเสบ
  • โรคไต
อาการนอนไม่หลับในระยะยาวจะส่งผลเสียอย่างไร

เป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกเครียดเป็นครั้งคราว แต่ความรู้สึกเครียดเรื้อรังอาจทำให้ระบบประสาททำงานหนักเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน การอยู่ในสภาวะนี้อาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพกายและจิตใจในระยะยาว

ลดความเครียดเพื่อการนอนหลับที่ดีขึ้น

การลดระดับความเครียดในตอนเย็นก่อนเข้านอน หลายคนสามารถปรับปรุงระยะเวลาและคุณภาพการนอนหลับของพวกเขาได้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างจะช่วยทำให้คุณนอนหลับได้ดีขึ้น อาทิเช่น

  • การทำสมาธิก่อนนอน และการกำหนดลมหายใจก่อนเข้านอน 10 – 30 นาทีในการทำสมาธิ จะช่วยลดความเครียด ความเหนื่อยล้า และทำให้นอนหลับได้ดียิ่งขึ้น
  • การออกกำลังกาย เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับการพัฒนาสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดีตลอดจนการให้ประโยชน์ทางร่างกาย การออกกำลังกายระดับปานกลาง เช่น การวิ่ง 30 นาที สามารถช่วยลดระดับความเครียดและปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับได้
  • ปิดไฟเข้านอนเวลาเดิมทุกคืน การเข้านอนตรงเวลาจะทำให้ร่างกายเรียนรู้ว่าเวลานี้คือเวลาที่ควรนอน เลือกเวลาที่เหมาะสมแล้วทำเป็นประจำจะทำให้เกิดเป็นนิสัยการนอนได้
  • การแช่น้ำอุ่นก่อนนอน ทำให้โลหิตไหลเวียนได้ดีขึ้น และทำให้ลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อและนอนหลับได้ง่ายและนานขึ้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอื่น ๆ การรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และ แอลกฮอล์ น้อยลง หรือแม้แต่การนำงานกลับมาทำที่บ้าน ควรหาทางลดความเครียดโดยการพบปะเพื่อนฝูง หรือครอบครัวมากขึ้น

เพราะสุขภาพของร่างกายปรับเปลี่ยนไปตามสุขภาพของจิตใจ การผ่อนคลายความเครียดจะทำให้การนอนหลับของคุณดีขึ้น และทำให้สุขภาพของคุณดีขึ้นตาม หากต้องการปรึกษาคุณหมอ หรือนักจิตวิทยา เพื่อใช้ให้อาการ นอนไปหลับเพราะความเครียดดีขึ้น สามารถสอบถามหรือนัดหมายคุณหมอ และนักจิตวิทยาได้ที่นี่