Categories
Uncategorized

คู่มือวัคซีน HPV ตอบข้อสงสัย ป้องกันมะเร็งปากมดลูกอย่างมั่นใจ

    /    บทความ    /    คู่มือวัคซีน HPV ตอบข้อสงสัย ป้องกันมะเร็งปากมดลูกอย่างมั่นใจ

คู่มือวัคซีน HPV ตอบข้อสงสัย ป้องกันมะเร็งปากมดลูกอย่างมั่นใจ

คู่มือวัคซีน HPV ตอบข้อสงสัย
ป้องกันมะเร็งปากมดลูกอย่างมั่นใจ

ไวรัส HPV ต้นเหตุโรคร้ายหลายชนิดทั้งในหญิงและชาย มีแฟนคนเดียวก็ติดได้ ตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน HPV ป้องกันตั้งแต่วันนี้

วัคซีน HPV วัคซีนสำคัญที่ควรฉีดทั้งในผู้ชายและผู้หญิงตั้งแต่เด็กเพื่อป้องกันเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ไวรัสที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก มะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิงไทยเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม นอกจากนี้เชื้อ HPV ยังเป็นสาเหตุของหูดหงอนไก่ รวมถึงมะเร็งชนิดอื่นๆ ทั้งในเพศชายและหญิง เช่น มะเร็งช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก และมะเร็งที่คอหอยอีกด้วย

ปัจจุบันวัคซีน HPV เป็นวัคซีนที่เด็กอายุตั้งแต่ 9 ปีขึ้นไปทุกคนควรได้รับ และสามารถฉีดได้จนถึงอายุ 45 ปี ทั้งในเพศชายและเพศหญิง จากเดิมที่แนะนำให้ฉีดที่อายุไม่เกิน 26 ปี 

ป้องกัน HPV ตอนนี้ก็ยังไม่สาย คุณหมอพรีโมแคร์ ชวนมาหาคำตอบทุกข้อสงสัย เตรียมพร้อมฉีดวัคซีนป้องกันตัวคุณเองและคู่ของคุณจากไวรัส HPV อย่างมั่นใจในบทความนี้

เชื้อ HPV คืออะไร?

HPV หรือ Human papillomavirus คือเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อยที่สุด เชื้อชนิดนี้มีหลากหลายสายพันธ์ุ ส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิดโรคและร่างกายสามารถกำจัดเชื้อออกไปได้เองโดยที่ผู้ติดเชื้ออาจไม่ทันรู้ตัว 

อย่างไรก็ตาม มีเชื้อ HPV บางสายพันธุ์ที่แฝงอยู่ในร่างกายได้นานและเป็นสาเหตุของโรคหูดหงอนไก่และโรคมะเร็งชนิดต่างๆ ได้แก่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก มะเร็งที่อวัยวะเพศชาย และมะเร็งที่หลังคอ ซึ่งบางรายอาจเริ่มมีอาการก็เมื่อผ่านไปหลายปีแล้ว

เชื้อไวรัส HPV สามารถติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทั้งทางช่องคลอด ทวารหนัก และทางปากกับผู้ที่ติดเชื้อ รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้สอดใส่แต่ผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศสัมผัสกัน และการใช้เซ็กส์ทอยร่วมกัน โดยผู้ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ แม้จะไม่มีอาการผิดปกติใดๆ 

ทำไมถึงควรฉีดวัคซีน HPV?

ทั้งชายและหญิงที่มีเพศสัมพันธ์ล้วนมีความเสี่ยงได้รับเชื้อ HPV แม้จะเป็นการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่เปลี่ยนคู่นอนก็ตาม โดยคาดการณ์ว่าคนที่มีเพศสัมพันธ์ประมาณ 80% จะติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่งในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต แต่ส่วนใหญ่มักไม่รู้ตัวเพราะร่างกายจะกำจัดเชื้อได้เองเมื่อเวลาผ่านไป 

การฉีดวัคซีน HPV เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยป้องกันจากเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ที่เป็นสาเหตุของหูดหงอนไก่และมะเร็งปากมดลูก รวมถึงมะเร็งชนิดอื่นๆ 

ปัจจุบันมีวัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์ ที่ครอบคลุมการป้องกันเชื้อที่เป็นสาเหตุของมะเร็งและโรคจาก HPV เพิ่มเติมจากวัคซีนชนิด 4 สายพันธุ์ (สายพันธุ์ 6, 11, 16, 18)

  • ป้องกันสายพันธุ์ 6 และ 11 ที่เป็นสาเหตุของโรคหูดหงอนไก่กว่า 90% 
  • ป้องกันสายพันธุ์ 16 และ 18 ที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก 70%
  • ป้องกันสายพันธุ์ 31, 33, 45, 52, 58 ที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก 20% ที่เหลือ

ใครบ้างควรฉีดวัคซีน HPV?

วัคซีน HPV สามารถฉีดได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง โดยช่วงอายุที่ดีที่สุดคือ 9-26 ปี แม้จะเคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อนก็สามารถฉีดได้ อย่างไรก็ตาม การศึกษาในปัจจุบันพบว่าผู้ที่มีอายุ 27-45 ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีน HPV ก็จะได้รับประโยชน์ในการป้องกันจากวัคซีนนี้เช่นกัน

วัคซีน HPV มีกี่ชนิด แตกต่างกันอย่างไร?

วัคซีน HPV แต่ละชนิด บรรจุเชื้อ HPV ในสายพันธุ์ที่ต่างกันออกไป โดยเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่มักก่อให้เกิดโรคนั้นแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ 

  1. สายพันธุ์ความเสี่ยงสูงที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ได้แก่ สายพันธุ์ 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58 
  2. สายพันธุ์ความเสี่ยงต่ำที่ก่อให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศ ได้แก่ สายพันธุ์ 6 และ 11

วัคซีน HPV มีทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ 

  • ชนิด 2 สายพันธุ์ (Cervarix, 2vHPV) มีประสิทธิภาพป้องกันเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 ที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกประมาณ 70%
  • ชนิด 4 สายพันธุ์ (Gardasil, 4vHPV) มีประสิทธิภาพป้องกันเชื้อ HPV สายพันธุ์ 6, 11, 16, 18 ครอบคลุมเชื้อที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกประมาณ 70% และครอบคลุมเชื้อที่เป็นสาเหตุของหูดหงอนไก่ 90% รวมทั้งมีการศึกษาถึงประสิทธิภาพในการป้องกันโรคและมะเร็งจาก HPV ในเพศชาย เช่น มะเร็งทวารหนัก และหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศชาย
  • ชนิด 9 สายพันธุ์ (Gardasil 9, 9vHPV) มีประสิทธิภาพป้องกันเชื้อ HPV สายพันธุ์ 6, 11, 16, 18, 31,33, 45, 52, 58 ครอบคลุมการป้องกันเชื้อที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกและโรคหูดหงอนไก่ได้ 90% ทั้งยังมีผลการศึกษารับรองประสิทธิภาพในการป้องกันโรคและมะเร็งจาก HPV ในเพศชาย

คำแนะนำการฉีดวัคซีน HPV ในแต่ละช่วงอายุ

อายุ

จำนวนเข็มที่ฉีด

ระยะห่างการฉีด

9-14 ปี*

2 เข็ม**

เข็มที่ 1: วันที่ต้องการฉีด

เข็มที่ 2: หลังจากเข็มแรก 6-12 เดือน

3 เข็ม

เข็มที่ 1: วันที่ต้องการฉีด

เข็มที่ 2: หลังจากเข็มแรก 2 เดือน

เข็มที่ 3: หลังจากเข็มแรก 6 เดือน

15-45 ปี

3 เข็ม

เข็มที่ 1: วันที่ต้องการฉีด

เข็มที่ 2: หลังจากเข็มแรก 2 เดือน

เข็มที่ 3: หลังจากเข็มแรก 6 เดือน

*แพทย์จะพิจารณาจำนวนเข็มที่ต้องฉีดตามความเหมาะสม

**หากฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 หลังจากเข็มแรก โดยเว้นช่วงน้อยกว่า 5 เดือน ต้องฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 เพิ่ม โดยฉีดห่างจากเข็มที่ 2 อย่างน้อย 4 เดือน

สำหรับวัคซีนชนิด 3 เข็ม เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดควรได้รับวัคซีนครบทั้ง 3 เข็ม ภายในเวลา 1 ปี แต่หากเลยกำหนด สามารถฉีดต่อได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นฉีดเข็มแรกใหม่

ฉีดวัคซีน HPV แล้วยังคงต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ผู้หญิงที่ฉีดวัคซีน HPV แล้วยังคงจำเป็นต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำเพื่อหาเซลล์ผิดปกติที่เกิดจากเชื้อ HPV เนื่องจากวัคซีนไม่ได้ช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ 100% อีกทั้งไม่สามารถรักษาการติดเชื้อที่อาจเคยเกิดขึ้นในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์ก่อนได้รับวัคซีน ซึ่งเชื้อ HPV นั้นสามารถฝังตัวอยู่ในร่างกายเป็นเวลานานหลายปีกว่าจะก่อให้เกิดโรค

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับวัคซีน HPV

ฉีดได้ วัคซีน HPV แนะนำสำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 9-45 ปี ทั้งในชายและหญิง

ปัจจุบันตามแนวทางการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV ของประเทศไทย แนะนำให้ฉีดในช่วงอายุ 9-26 ปี ทั้งชายและหญิงได้ทันที ในกรณีอายุ 27-45 ปี ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและประเมินประโยชน์จากการฉีดเพิ่มเติม

แม้มีเพศสัมพันธ์แล้วก็สามารถฉีดได้

วัคซีน HPV มีประสิทธิภาพสูงหากไม่เคยมีเพศสัมพันธ์หรือติดเชื้อ HPV มาก่อน แต่หากเคยติดเชื้อ HPV มาแล้ว ก็จะช่วยป้องกันการติดเชื้อในสายพันธุ์ที่ยังไม่เคยติด รวมถึงช่วยป้องกันการติดเชื้อซ้ำในกรณีที่เคยติดเชื้อแล้ว แต่ร่างกายกำจัดเชื้อนั้นออกไปได้โดยไม่ก่อให้เกิดโรค

วัคซีน HPV จะมีประสิทธิภาพสูงที่สุดเมื่อฉีดครบแล้ว 1 เดือน อย่างไรก็ตาม การมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างนี้อาจไม่ได้ทำให้ติดเชื้อ HPV ทุกครั้ง แต่หากได้รับเชื้อ HPV ก็อาจทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลงได้

สามารถฉีดได้ทันทีโดยไม่ต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกหรือตรวจหาเชื้อ HPV 

เชื้อที่ตรวจพบจากการตรวจมะเร็งปากมดลูกหรือการตรวจเชื้อ HPV อาจไม่ได้เป็นการติดเชื้อแบบฝังแน่นจนก่อให้เกิดโรคเสมอไป และหากพบเซลล์ปากมดลูกผิดปกติก็ไม่อาจยืนยันได้ว่าเกิดจากการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ในวัคซีน

วัคซีน HPV สามารถป้องกันเชื้อสายพันธุ์อื่นๆ ที่ไม่เคยติดเชื้อมาก่อนได้ รวมทั้งสามารถป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์เดิมซ้ำได้เช่นกัน

หมายเหตุ: แม้เคยติดเชื้อ HPV บางสายพันธุ์มาแล้วก็ยังคงได้ประโยชน์ในการป้องกันเชื้อสายพันธุ์นั้นๆ เนื่องจากภูมิที่เกิดจากการติดเชื้อตามธรรมชาติอาจไม่สูงพอที่จะป้องกันการติดเชื้อซ้ำได้ โดยจากการศึกษาด้วยการฉีดวัคซีน HPV ในผู้หญิงที่ตรวจพบความผิดปกติของมะเร็งปากมดลูกก่อนระยะลุกลาม (CIN2+) ผลการติดตามเป็นเวลา 4 ปีภายหลังการรักษา พบว่าวัคซีนช่วยลดการกลับมาเป็นซ้ำได้ 80% เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีน HPV

ผู้หญิงที่เพิ่งคลอดบุตรหรือกำลังให้นมบุตร สามารถฉีดวัคซีน HPV ได้ โดยสามารถปรึกษาแพทย์หรือสูตินรีแพทย์เพิ่มเติมก่อนรับวัคซีน

จากรายงาน วัคซีน HPV ไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อทารกในครรภ์ โดยจัดอยู่ในประเภทที่สามารถใช้ในสตรีมีครรภ์ได้อย่างปลอดภัย (Pregnancy category B) อย่างไรก็ตาม ควรงดรับวัคซีนเข็มถัดไปจนกว่าจะคลอด และหลังคลอดสามารถฉีดวัคซีนเข็มต่อไปได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นฉีดเข็ม 1 ใหม่

เชื้อ HPV สามารถก่อโรคได้ในผู้ชายเช่นเดียวกัน เช่น หูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศชาย มะเร็งทวารหนัก มะเร็งอวัยวะเพศชาย ซึ่งโอกาสการติดเชื้อ HPV ในเพศชายจะสูงอย่างต่อเนื่องและไม่ลดลงตามช่วงอายุ การใช้ถุงยางอนามัยไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 100% ดังนั้น การฉีดวัคซีน HPV ในผู้ชายจึงสามารถป้องกันการติดเชื้อได้โดยตรง ทั้งยังป้องกันการเป็นพาหะนำโรคไปสู่ผู้หญิงอีกด้วย

แนะนำให้ฉีดวัคซีน HPV ตามช่วงอายุเช่นเดียวกับผู้หญิง

  • อายุ 9-14 ปี ฉีดชนิด 2 เข็ม
  • อายุ 15-45 ปี ฉีดชนิด 3 เข็ม

แม้ยังไม่ถึงวัยมีเพศสัมพันธ์ก็ควรฉีดวัคซีนป้องกันไว้ก่อน โดยวัคซีน HPV นั้นมีประสิทธิภาพป้องกันเชื้อที่ก่อโรคไม่ต่ำกว่า 10 ปี ซึ่งหากถึงเวลานั้นแล้วก็มีโอกาสที่จะมีเพศสัมพันธ์ หรือหากไม่มีเพศสัมพันธ์ การป้องกันก็ย่อมดีกว่าการเสี่ยงรับเชื้อที่ทำให้เกิดโรคร้ายแรงอย่างมะเร็ง

จากการศึกษาพบว่าผู้ที่เคยฉีดวัคซีน HPV 4 สายพันธุ์มาครบแล้ว สามารถรับวัคซีน HPV 9 สายพันธุ์ใหม่ ครบทั้ง 3 เข็มได้อย่างปลอดภัย โดยที่ร่างกายตอบสนองต่อการสร้างภูมิคุ้มกันต่อ HPV อีก 5 สายพันธุ์ที่เพิ่มขึ้นมาได้ดี 

อย่างไรก็ตาม จากคำแนะนำในปัจจุบัน ผู้ที่ได้รับวัคซีน HPV มาครบ 3 เข็มแล้ว อาจไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์เพิ่ม ยกเว้นกรณีมีความต้องการที่จะได้รับการป้องกันเพิ่มเติมจากเดิม ทั้งนี้แนะนำให้ปรึกษาแพทย์และอาจพิจารณาตามความเหมาะสมไป 

หากจำเป็นต้องได้รับวัคซีน HPV 9 สายพันธุ์เพิ่มเติม ควรเว้นระยะห่างจากวัคซีนเดิมที่ได้รับก่อนหน้านี้อย่างน้อย 1 ปี เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกัน

ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนชนิด 9 สายพันธุ์สลับกับชนิดอื่น หากต้องการฉีดวัคซีน HPV 9 สายพันธุ์ ควรฉีดวัคซีนเดิมให้ครบ และรับใหม่ให้ครบทั้ง 3 เข็มเช่นกัน เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันการติดเชื้อ HPV เพิ่มเติมอีก 5 สายพันธุ์ ได้แก่ 31, 33, 45, 52, 58 โดยเว้นระยะห่างจากเข็มสุดท้ายของวัคซีนชนิดที่ได้รับก่อนหน้านี้อย่างน้อย 1 ปี ก่อนเริ่มต้นฉีดวัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์

จากการศึกษาที่มีการติดตามยาวนานพบว่าในเด็กอายุ 9-15 ปีที่ได้รับวัคซีน 9 สายพันธุ์ หรือ Gradasil 9 ร่างกายตอบสนองต่อการสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี โดยมีภูมิคุ้มกันมากกว่า 90% ยาวนานกว่า 7 ปี และมีประสิทธิภาพ 100% ในการป้องกันการเกิดรอยโรคก่อนมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามและหูดหงอนไก่ในผู้หญิง รวมถึงหูดหงอนไก่ผู้ชาย 

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาในกลุ่มผู้หญิงอายุ 16-26 ปี พบว่าวัคซีน 9 สายพันธุ์มีประสิทธิภาพสูงเทียบเท่ากับชนิด 4 สายพันธุ์ ในการป้องกันสายพันธุ์ 6,11,16,18 โดยมีประสิทธิภาพในการป้องกันรอยโรคขั้นสูงก่อนการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ 98.2% และป้องกันมะเร็งปากช่องคลอดและมะเร็งผนังช่องคลอดได้ 100% รวมทั้งมีประสิทธิภาพในการป้องกันรอยโรคขั้นสูงและมะเร็งจาก HPV สายพันธุ์ 31, 33, 45, 52 และ 58 ได้ถึง 97% 

สำหรับการศึกษาในกลุ่มผู้ชายอายุ 16-26 ปี พบว่าวัคซีน Gardasil 9 (ชนิด 9 สายพันธุ์) มีประสิทธิภาพดีเทียบเท่ากับ Gardasil (ชนิด 4 สายพันธุ์) ในการป้องกัน HPV สายพันธุ์ 6,11,16,18 โดยมีประสิทธิภาพในการป้องกันหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศได้ถึง 89% และป้องกันมะเร็งทวารหนักได้ 75% 

นอกจากนี้ จากข้อมูลการศึกษาเปรียบเทียบการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อประสิทธิภาพในการป้องกันโรค พบว่าในผู้ชายสามารถตอบสนองต่อการสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีไม่ต่างจากในผู้หญิงอายุ 16-26 ปี ต่อเชื้อ HPV ทั้ง 9 สายพันธุ์ ดังนั้น Gardasil 9 จึงมีประสิทธิภาพดีในเพศชายเทียบเท่ากับในเพศหญิงในการป้องกันรอยโรคขั้นสูงและมะเร็งจาก HPV สายพันธุ์ 31, 33, 45, 52 และ 58 ได้ถึง 97% เช่นกัน

จากการศึกษาพบว่าหลังฉีดวัคซีนครบ 3 เข็มแล้ว ร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันและสามารถป้องกันโรคได้ยาวนาน มากกว่า 10 ปี โดยไม่ต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นซ้ำ

ก่อนรับวัคซีนควรพักผ่อนให้เพียงพอ โดยไม่มีข้อห้ามใดๆ ไม่จำเป็นต้องงดแอลกอฮอล์หรืองดสูบบุหรี่ และหากมีประจำเดือนก็สามารถฉีดวัคซีนได้ตามปกติ

จากข้อมูลการใช้ทั่วโลกมากกว่า 270 ล้านโดส พบว่าผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน HPV ส่วนมากไม่รุนแรง และยังไม่พบการเสียชีวิตจากการฉีดวัคซีนนี้ ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยหลังฉีดวัคซีน ได้แก่ บริเวณที่ฉีดมีอาการปวด บวม หรือแดง ปวดศีรษะ บางคนอาจมีอาการคัน ฟกช้ำ มีไข้ คลื่นไส้ มึนงง หรืออ่อนล้า

พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก ชวนคุณส่งความห่วงใยให้คนใกล้ตัวด้วยการพากันฉีดวัคซีนป้องกัน HPV โดยเฉพาะเด็กๆ ในครอบครัวที่มีอายุ 9 ปีขึ้นไป โดยถือเป็นการป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆ ทั้งยังส่งผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีนที่จะได้รับอย่างเต็มที่ 

ทั้งนี้ การฉีดวัคซีน HPV ไม่ได้หมายถึงการสนับสนุนให้เด็กมีเพศสัมพันธุ์ก่อนวัยอันควร คุณพ่อคุณแม่ที่มีความกังวลใจในข้อนี้ควรคำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยของตัวเด็กเป็นหลัก เพื่อปกป้องเด็กจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคมะเร็งที่อาจเกิดจากเชื้อ HPV ซึ่งมีคนมากกว่า 80% ที่เสี่ยงได้รับ

มีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน HPV หรือต้องการนัดหมายฉีดวัคซีน ติดต่อทีมแพทย์พรีโมแคร์ได้เลยที่ LINE @primoCare หรือโทร  02-038-5595, 082-527-9924

เปิดทำการทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.00 – 18.00 น.

บทความที่เกี่ยวข้อง