– วิตามินบี 1 ช่วยเกี่ยวกับการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ป้องกันโรคเหน็บชา หากขาดจะเกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ พบในเนื้อหมู เมล็ดทานตะวัน ข้าวซ้อมมือ
– วิตามินบี 2 เกี่ยวข้องกับการสร้างเส้นผม เล็บ และผิวหนัง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันโรคปากนกกระจอก จะพบในอาหารจำพวกข้าว ธัญพืช เนื้อสัตว์ ไข่ นม เครื่องในสัตว์ ตับ ผักใบเขียว โยเกิร์ต ข้าวโอ๊ต
– วิตามินบี 5 เกี่ยวข้องกับระบบสัมผัส หากได้รับไม่เพียงพอจะทำให้ความรู้สึกสัมผัสเพี้ยน มีอาการเหน็บชาตามปลายมือ ปลายเท้า ท้องร่วง อาจมีคลื่นไส้และอาการแสบร้อนกลางอก จะพบในอาหารจำพวกเนื้อไก่ เนื้อวัว ตับ มันฝรั่ง เมล็ดทานตะวัน
– วิตามินบี 6 เกี่ยวกับระบบของเส้นประสาท หากขาดวิตามินบี 6 จะเกิดภาวะซีด โลหิตจางได้ พบมากในเนื้อสัตว์ ปลา ไก่ ตับ มันฝรั่ง กล้วย แตงโม นม ไข่แดง ข้าวกล้อง
– วิตามินบี 7 เกี่ยวกับเรื่องผิวหนัง ถ้าขาดจะเป็นผิวหนังอักเสบ ลำไส้อักเสบ ส่วนใหญ่พบในดอกกะหล่ำ ถั่ว กล้วย ปลาแซลมอน ไข่ ตับ งา
– วิตามินบี 9 เกี่ยวข้องกับการสร้างเม็ดเลือด หากขาดจะเป็นโรคโลหิตจางได้ พบในถั่ว ผักโขม บรอกโคลี คะน้า ผักบุ้ง กวางตุ้ง ผักกาดหอม
– วิตามินบี 12 เกี่ยวกับระบบประสาท หากขาดจะเกิดอาการโลหิตจางได้ มีขนาดเม็ดเลือดแดงโตกว่าปกติ พบในกลุ่มเนื้อสัตว์ นม เนย ไข่แดง โยเกิร์ต
- วิตามินซี : ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหาร ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน และทำให้แผลหายเร็วขึ้น อาหารที่มีวิตามินซีสูง ได้แก่ บร็อคโคลี่ มันฝรั่ง พริกหวาน ผักโขม มะละกอ มะม่วง สตรอเบอร์รี่ ฝรั่ง ส้ม
2. กลุ่มที่ละลายในไขมัน หมายถึง วิตามินที่ละลายในไขมัน หรือน้ำมันเท่านั้น เพื่อดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ไม่สามารถขับออกมาทางปัสสาวะได้ หากได้รับมากเกินจะเก็บสะสมไว้ในร่างกาย เช่น วิตามินเอ, ดี, อี และวิตามินเค
- วิตามินเอ : ช่วยรักษาสายตาของผู้สูงวัยไม่ให้เสื่อมสภาพเร็ว ช่วยการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย แหล่งของวิตามินเอในอาหาร ได้แก่ ผักโขม แครอท มันเทศ ฟักทอง มะละกอ มะม่วงสุก
- วิตามินดี : ช่วยป้องกันโรคกระดูกบางและกระดูกพรุน เป็นวิตามินที่ส่วนหนึ่งร่างกายสามารถผลิตได้เองเวลาเจอแสงแดดในช่วงเช้า และจากอาหารจำพวกน้ำมันตับปลา นม ไข่แดง ปลาทู ปลาแซลมอน
- วิตามินอี : ช่วยเกี่ยวกับการบำรุงผิวพรรณ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี ป้องกันเซลล์ในร่างกายไม่ให้ถูกทำลาย วิตามินอีพบมากในอะโวคาโด ถั่วต่างๆ เมล็ดทานตะวัน เนยถั่ว งา และน้ำมันสำหรับปรุงอาหาร เช่น น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันมะกอก
- วิตามินเค : ช่วยในการแข็งตัวของเลือดและกระดูก หากขาดเลือดจะออกง่ายเลือดไหลแล้วหยุดช้า พบในผักใบเขียว มะเขือเทศ ดอกกะหล่ำ ไข่แดง น้ำมันถั่ว ตับ เนื้อหมู
กลุ่มคนเสี่ยงขาดวิตามิน
- ผู้สูงอายุ เกิดจากร่างกายที่ต้องการใช้วิตามินมากขึ้น เพื่อนำมาทดแทน และใช้ประโยชน์ต่อส่วนต่างๆของร่างกายที่สึกหรอ
- หญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากร่างกายจะต้องนำสารอาหารส่วนหนึ่งไปให้เด็กในครรภ์ ส่งผลให้ร่างกายต้องการวิตามินมากขึ้น โดยผู้ที่ตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับประทานอาหารเสริมให้ได้สารอาหารครบถ้วนทั้งคุณแม่และลูกในครรภ์
- พฤติกรรมที่ทำให้ร่างกายสูญเสียวิตามินอย่างรวดเร็ว เช่น ดื่มสุรา สูบบุหรี ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมาก
- ผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านโภชนาการมากขึ้นว่าในกลุ่มอาหารที่กินนั้นขาดสารอาหารประเภทใด เพื่อให้ได้รับสารอาหาร และวิตามินทดแทนที่เพียงพอ
- ผู้ที่มีโรคภัยไข้เจ็บ เช่น คนที่ท้องเสียจะสามารถดูดซึมวิตามินได้น้อยลง หรือผู้ที่มีอาการลำไส้อักเสบ เป็นโรคตับ คนกลุ่มนี้จะสร้างวิตามินได้น้อยลง
การที่ร่างกายได้รับวิตามินที่เพียงพอ จะช่วยให้ทุกส่วนของร่างกายทำงานได้อย่างเต็มที่จากภายใน ส่งผลให้ผิวพรรณสดใส แข็งแรง ปราศจากโรคภัยต่างๆ หากคุณต้องการความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเสริม หรือวิตามินที่ร่างกายคุณขาด สามารถเข้ามารับคำปรึกษาได้ที่
พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก เพื่อเข้าร่วมโปรแกรม Personalized Lifestyle Medicine ที่ออกแบบมาเพื่อเฉพาะบุคคล เราพร้อมดูแลรักษาสุขภาพร่างกาย และจิตใจของท่านให้แข็งแรงอย่างครบถ้วน สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่