การ Work from home การกักตัว และสถานการณ์ในช่วงโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในหลายๆ ด้าน จนทำให้เรารู้สึกเครียด หดหู่ และอดกังวลถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึงในอนาคตไม่ได้ ถึงอย่างนั้นเราก็มักจะได้ยินถ้อยคำให้กำลังใจจากคนรอบข้างและสื่อต่างๆ ที่คอยบอกให้คิดบวกอยู่เสมอ เช่น ‘โชคดีแล้วที่เรายังมีงานให้ทำจากที่บ้าน’ ‘มองโลกในแง่ดีเข้าไว้’ ‘มีคนอื่นที่แย่กว่าอีกเยอะ’ ‘เรื่องแค่นี้เอง เดี๋ยวมันก็จะผ่านไป’ หรือแม้แต่ ‘ความสุขอยู่ที่ใจเราเอง’
‘คิดบวกเข้าไว้’ อาจไม่ได้ช่วยเยียวยาจิตใจหรือทำให้รู้สึกดีขึ้นอย่างที่เราเคยเชื่อเสมอมา เพราะอาจเป็นการปฏิเสธการมีอยู่ของอารมณ์ในแง่ลบ ทั้งความเศร้า ความหดหู่ ความเครียด ความวิตกกังวล หรือความโกรธ ด้วยการใช้คำพูดในแง่ดีทั้งหลายกดเอาไว้ หรือสร้างมายาคติว่าการแสดงออกถึงอารมณ์แง่ลบจะทำให้เราดูอ่อนแอหรือเป็นคนที่ไม่น่าเข้าใกล้ ซึ่งทั้งหมดนี้แสดงถึงภาวะ “Toxic Positivity” หรือที่แปลว่าภาวะคิดบวกจนเป็นพิษนั่นเอง
Toxic positivity เกิดขึ้นได้ในหลายรูปแบบ อาจเป็นพ่อแม่เราที่ตำหนิหรือลงโทษเมื่อเราแสดงอารมณ์โกรธหรือก้าวร้าว แทนที่จะพยายามถามหาเหตุผลว่าทำไมเราถึงแสดงออกแบบนั้น หรือถ้อยคำให้กำลังใจที่ดูเหมือนปัญหาที่เรากำลังเผชิญเป็นเรื่องเล็กน้อย ทำให้รู้สึกเหมือนไม่ได้รับการรับฟังจริงๆ อาจเป็นโพสต์ในโซเชียลมีเดียของบรรดาเพื่อนๆ และเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ที่ดูจะใช้เวลาในช่วงโควิด-19 อย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ หรือจะเป็นความรู้สึกของคุณเองที่บอกว่าไม่ควรจมอยู่กับความเศร้าหมอง ความวิตกกังวล และความกลัวอย่างที่กำลังเป็นอยู่ก็ได้
เพราะในชีวิตจริงคงไม่มีใครที่จะมีความสุขได้ตลอดเวลา และในแต่ละวันมีทั้งเรื่องดีและร้ายที่ทำให้เกิดอารมณ์หลากหลายทั้งทางลบและทางบวกปะปนกันไปเป็นเรื่องธรรมดา การคาดหวังให้ตัวเองคิดบวกหรือถูกบอกให้กดอารมณ์และความคิดแง่ลบไว้ตลอดจึงเป็นเรื่องที่ต้องฝืนความรู้สึกและขัดกับกลไกทางธรรมชาติ ซึ่งอาจทำให้เกิดอารมณ์ลบซ้ำซ้อน เช่น ความอับอาย หรือการด้อยค่าตัวเอง ซึ่งจะยิ่งไม่เป็นผลดีและอาจนำไปสู่ภาวะสุขภาพจิตที่ย่ำแย่หรือก่อให้เกิดความวิตกกังวลและซึมเศร้าตามมาได้
มีงานวิจัยที่พิสูจน์ว่าคนเราจะตอบสนองอย่างไรเมื่อถูกบอกไม่ให้คิดถึงอะไรบางอย่าง ผลปรากฏว่ากลับยิ่งทำให้คิดถึงสิ่งเหล่านั้นมากขึ้น และงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่แบ่งอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่มและให้ดูวิดีโอ โดยกลุ่มหนึ่งสามารถแสดงอารมณ์ได้ปกติ ในขณะที่อีกกลุ่มต้องทำเหมือนไม่รู้สึกอะไร ผลลัพธ์ชี้ว่ากลุ่มที่เก็บอารมณ์ความรู้สึกเกิดความเครียดมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งนี่อาจนำไปสู่ปัญหานอนไม่หลับ และส่งผลต่อสุขภาพจิตโดยรวมได้
คำแนะนำหรือพฤติกรรมที่เกิดจากความหวังดีที่ขาดความเข้าอกเข้าใจอาจกลายเป็นการละเลยความรู้สึกของอีกฝ่ายโดยไม่รู้ตัว ลองสังเกตตัวเองดูว่าคุณกำลังเผลอใช้ความคิดบวกที่เป็นพิษทำร้ายคนรอบข้างอยู่หรือไม่ เช่น
อย่าลืมว่าเราทุกคนมีสิทธิที่จะรู้สึกอย่างไรก็ได้ ลองเริ่มต้นด้วยการรับฟังโดยไม่ตัดสิน ปล่อยให้พวกเขาได้ระบาย และให้กำลังใจด้วยคำพูดที่แสดงว่าคุณรับรู้และเห็นใจในสิ่งที่พวกเขากำลังเผชิญอยู่ เช่น
เครียด กังวล หดหู่ เศร้า อย่าเก็บไว้คนเดียว ทุกอารมณ์ทุกความรู้สึก พูดคุยกับนักจิตวิทยาได้เสมอ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก พร้อมรับฟังคุณด้วยหัวใจ ติดต่อ LINE @primoCare เพื่อนัดปรึกษาปัญหาสุขภาพใจแบบตัวต่อตัว หรือปรึกษาผ่านทาง Telemedicine กับเราได้เลย
Reference
What is Toxic Positivity?. (https://www.raq.org.au/blog/what-toxic-positivity)
Why “Good Vibes Only” Isn’t Always a Good Thing. (https://health.clevelandclinic.org/why-good-vibes-only-isnt-always-a-good-thing/)
Toxic Positivity: The Dark Side of Positive Vibes. (https://thepsychologygroup.com/toxic-positivity/)
Image: www.freepik.com
ให้พรีโมเเคร์ เมดิคอล ดูเเลทุกองค์ประกอบสุขภาพของคุณ ทั้งด้านรักษา ป้องกัน เเละส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้คุณมีสุขภาพเเข็งเเรงเเบบยั่งยืน
1 ซอยกรุงเทพกรีฑา 4 (บี.กริม) แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240 ประเทศไทย
โทร: +66 2038 5595
LINE ID: @primocare
อีเมล: [email protected]
©2022 PrimoCare Medical Limited. All rights reserved.