หลายคนไม่แน่ใจว่าในช่วงที่เป็นประจำเดือนจะออกกำลังกายได้ไหม บางคนเข้าใจไปว่าไม่ควรออกกำลังกาย จนทำให้กระทบต่อแพลนการออกกำลังกายที่วางไว้ คุณหมอพรีโมแคร์ตอบเลยว่าเป็นความเชื่อที่ผิด ความจริงแล้วแม้เป็นประจำเดือนก็ออกกำลังกายได้ แถมยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกด้วย
ทำไมการออกกำลังกายในช่วงวันนั้นของเดือนถึงดี การออกกำลังกายแบบไหนควรทำ และแบบไหนที่ควรเลี่ยงในช่วงมีประจำเดือน รวมถึงคำถามที่หลายคนสงสัย ออกกำลังกายแล้วประจำเดือนไม่มา ผิดปกติหรือไม่ หาคำตอบได้ในบทความนี้
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกิดขึ้นในทุกๆ เดือนอาจส่งผลต่อระดับพลังงานในการทำสิ่งต่างๆ บางคนอาจรู้สึกไม่ค่อยมีเรี่ยวแรงหรือพลังงานที่จะทำอะไรในระหว่างที่มีประจำเดือน แต่บางคนก็อาจรู้สึกตรงกันข้าม คือมีพลังงานมากกว่าเดิม
โดยปกติแล้ว ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแต่ละรอบเดือนอาจแบ่งได้เป็น 4 ช่วง ดังนี้
สัปดาห์ที่ 1 ในวันแรกของการมีประจำเดือนเป็นช่วงที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนลดต่ำที่สุด จากนั้นจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ในช่วงนี้อาจรู้สึกมีพลังหรือกระฉับกระเฉงมากขึ้น
สัปดาห์ที่ 2 สัปดาห์หลังจากประจำเดือนหมด ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการตกไข่ ทำให้ยิ่งรู้สึกมีพลังและกระฉับกระเฉงมากกว่าเดิม
สัปดาห์ที่ 3 ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงหลังไข่ตก ในขณะเดียวกันฮอร์โมนโปสเจสเตอโรนก็เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้อาจรู้สึกเหนื่อย เพลีย ไม่ค่อยอยากทำอะไร การออกกำลังกายในช่วงนี้อาจช่วยปรับอารมณ์และทำให้รู้สึกสดชื่นยิ่งขึ้น
สัปดาห์ที่ 4 ช่วง 1 สัปดาห์ก่อนที่จะมีประจำเดือนอีกครั้ง เป็นช่วงที่จะยิ่งมีพลังงานน้อยลงไปอีก เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนลดลงทั้งคู่ การออกกำลังกายในช่วงนี้อาจช่วยบรรเทาอาการก่อนมีประจำเดือน PMS (Premenstrual Syndrome) ได้
ทั้งนี้ ช่วงพลังงานน้อยและช่วงพลังงานมากของแต่ละคนอาจต่างกัน การจดบันทึกผลของการออกกำลังกายต่อระดับพลังงานในแต่ละช่วงของรอบเดือนจะช่วยให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เฉพาะตัวของตัวเอง เพื่อจะได้เตรียมตัวรับมือได้อย่างถูกต้องมากขึ้น
การออกกำลังกายในช่วงมีประจำเดือนนั้นยังคงให้ประโยชน์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ไม่ต่างไปจากเดิม ทั้งยังไม่ได้ทำให้รู้สึกอ่อนเพลียหรือส่งผลต่อการมีประจำเดือนอย่างที่เราคิด ในทางตรงกันข้าม การออกกำลังกายอาจมีส่วนช่วยบรรเทาอาการในช่วงมีประจำเดือนดังต่อไปนี้ได้อีกด้วย
ในช่วงวันแรกๆ ของการมีประจำเดือน อาจมีความรู้สึกไม่สบายตัว บางคนมีประจำเดือนมามากในช่วงนี้ การออกกำลังกายที่เหมาะสมจึงเป็นการออกกำลังกายเบาๆ ที่เคลื่อนไหวช้าลงกว่าปกติ เช่น
การออกกำลังกายในช่วงมีประจำเดือนส่วนใหญ่ยังคงทำได้ เพียงแต่อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อย เช่น ลดการออกกำลังกายที่หนัก หรือลดระยะเวลาในการออกกำลังกายลงเล็กน้อย
สำหรับคนที่ออกกำลังกายในช่วงมีรอบเดือนแล้วรู้สึกเหนื่อยล้าผิดปกติ แนะนำให้ลดการออกกำลังกายประเภทคาร์ดิโอหรือการฝึกความทนทานของกล้ามเนื้อลง และเน้นออกกำลังกายแบบง่ายๆ เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงที่ร่างกายอาจต้องออกแรงมากกว่าปกติ ส่งผลให้การออกกำลังกายที่มีความยากในระดับปานกลางกลายเป็นเรื่องยากกว่าเดิมไปอีก
การออกกำลังกายหนักเกินไปอาจเป็นสาเหตุให้ประจำเดือนไม่มาหรือหยุดไปเลยได้ โดยมักจะพบได้ในนักกีฬาหรือคนที่เทรนร่างกายอย่างหนัก นอกจากนี้ในกรณีที่ขาดการออกกำลังไปเป็นเวลานานแล้วกลับมาโหมออกกำลังกายอย่างหนัก ก็อาจทำให้ประจำเดือนหยุดไปหรือมาไม่ปกติได้เช่นกัน จึงแนะนำให้วางแผนการออกกำลังกายอย่างพอดี ค่อยๆ ให้ร่างกายปรับตัวไปเรื่อยๆ ไม่ควรหักโหมออกกำลังการอย่างหนักในทันที
การออกกำลังกายมีประโยชน์ต่อร่างกายและช่วยปรับอารมณ์ให้สมดุลได้ทั้งในช่วงที่มีและไม่มีประจำเดือน โดยไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาตร์ใดๆ ที่บอกว่าคุณไม่ควรออกกำลังกายในช่วงที่มีประจำเดือน เพียงแค่ต้องทำอย่างพอดี ลดการออกกำลังกายหนักๆ และหยุดพักเมื่อรู้สึกเหนื่อยล้าเกินไปเท่านั้น
พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก ดูแลทุกเรื่องสุขภาพ ปัญหาสุขภาพเพศหญิงและเพศชาย ปรึกษาได้เลยที่ LINE @primoCare หรือคลิกดูบริการของเราเพิ่มเติมที่นี่
ให้พรีโมเเคร์ เมดิคอล ดูเเลทุกองค์ประกอบสุขภาพของคุณ ทั้งด้านรักษา ป้องกัน เเละส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้คุณมีสุขภาพเเข็งเเรงเเบบยั่งยืน
1 ซอยกรุงเทพกรีฑา 4 (บี.กริม) แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240 ประเทศไทย
โทร: +66 2038 5595
LINE ID: @primocare
อีเมล: [email protected]
©2022 PrimoCare Medical Limited. All rights reserved.