/    บทความ    /    ปวดกล้ามเนื้อเเบบไหนถึงต้องมาหานักกายภาพบำบัด?

วัคซีนไข้หวัดใหญ่

ปวดกล้ามเนื้อเเบบไหนถึงต้องมาหานักกายภาพบำบัด?

โดยส่วนมาก อาการปวดหลังจากกล้ามเนื้อทั่วไปมักหายได้ในเวลาไม่ถึงสัปดาห์ แต่หากว่าผู้ป่วยมีอาการปวดต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานกว่า 2 สัปดาห์เป็นต้นไป หรือมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและรักษาก่อนจะเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง

 อาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง (Myofascial Pain Syndrome)

โดยส่วนใหญ่อาการปวดกล้ามเนื้อนั้นมักจะหายเองในเวลาไม่นาน แต่ผู้ป่วยที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังจะมีอาการปวดที่แย่ลง นอกจากนี้อาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังนั้นยังมาพร้อมอาการอื่นๆ ได้แก่ ไมเกรน อ่อนล้า ซึมเศร้า กล้ามเนื้อตึง เป็นต้น

อาการปวดเรื้อรังเกิดจากการใช้งานมัดกล้ามเนื้อมัดที่เกิดอาการผิดท่าทางเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อใช้กล้ามเนื้อติดต่อกันเป็นเวลานาน  กล้ามเนื้อจะเกร็งตัวสะสมจนเกิดเป็นปมกล้ามเนื้ออักเสบ โดยอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังจะมีลักษณะดังนี้

  • ปวดร้าวลึกๆ (Deep dull aching) ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย อาจปวดตลอดเวลาหรือปวดเฉพาะเวลาทำงาน เช่น ปวดบริเวณสะบัก จะปวดคล้ายสะบักจม
  • ปวดร้าว (Referred pain) อาการปวดของกล้ามเนื้อแต่ละตำแหน่งจะมีลักษณะเฉพาะ เช่น ปวดบริเวณก้านคอ ขมับ กรามล่าง และครอบคลุมถึงบริเวณศีรษะ เป็นต้น
  • มีอาการชาร่วมด้วย เกิดอาการชาตามส่วนต่างๆของร่างกายร่วมกับอาการปวด เช่น ชาที่ผิวหนัง ชาที่แขน หรือขา
  • มีอาการปวดต่อเนื่อง มานานกว่า 3 เดือนขึ้นไป
การวินิจฉัย 
อาการปวดกล้ามเนื้อโดยทั่วไปที่เกิดจากกิจกรรมในชีวิตประจำวันยังไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ในทันที แต่หากมีอาการรุนแรงสามารถไปพบแพทย์ได้เช่นกัน โดยปกติแพทย์จะวินิจฉัยรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อจากการซักประวัติจากการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น อาชีพ ไลฟ์สไตล์ อุบัติเหตุ โรคประจำตัว ลักษณะอาการปวดในช่วงที่ผ่านมา เพื่อดูว่าเริ่มมีอาการปวดตั้งแต่เมื่อไหร่ มีอาการบริเวณไหน ต้องทำการกายภาพบำบัดหรือไม่ ซึ่งลักษณะการปวดพบได้หลายแบบ และอาจแตกต่างกันไปตามสาเหตุของผู้ป่วยในแต่ละราย 
 
กายภาพบำบัด (Physical Therapy) 
การทำกายภาพบำบัด เป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญในการช่วยฟื้นฟูกระดูกเเละกล้ามเนื้อต่างๆของร่างกาย โดยผ่านการใช้เทคนิคต่างๆ เช่น
 
  • ศาสตร์การนวดผ่อนคลายหลังออกกำลังกาย (Sport massage) 
  • การรักษาด้วยคลื่นอัลตราซาวด์ (Ultrasound) 
  • การยืดกล้ามเนื้อโดยใช้ยางยืดเเรงต้าน (Theraband Exercise)
  • การบำบัดด้วยพลังงานคลื่นกระแทก (Shockwave) 

การทำกายภาพบำบัดจะเน้นการบำบัดฟื้นฟูอาการเจ็บป่วยต่างๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร่วมกับการออกกำลังกาย หรือใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดต่างๆ โดยการรักษานอกเหนือจากการทำกายภาพบำบัดแล้ว ยังรวมถึง

  • การประเมินโครงสร้างร่างกาย เพื่อหาสาเหตุการเจ็บป่วย ปวดเมื่อย กล้ามเนื้ออักเสบ เจ็บปวดเรื้อรังและการปรับร่างกายให้เกิดความสมดุล 
  • การสร้างความรู้ความเข้าใจ  ในการปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงานตามความเหมาะสมให้กับแต่ละบุคคล 
  • การให้ความรู้และส่งเสริมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและถูกวิธี เพื่อให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงและยืดหยุ่น ป้องกันภาวะบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
สัญญาณเตือนของอาการปวดที่ควรรีบพบแพทย์
 หากไม่แน่ใจว่าอาการปวดที่เป็นอยู่นั้นเป็นอาการปวดเรื้อรังหรือไม่ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการปวด เพื่อทำให้ได้รับการรักษาหรือกายภาพบำบัดอย่างถูกต้อง เหมาะสมและรวดเร็ว
  • อาการปวดที่ไม่ปกติ ขาอ่อนแรง ขาชา เคลื่อนไหวลำบาก หรือเกร็งกระตุกร่วมด้วย 
  • อาการปวดหลังที่เป็นเรื้อรัง ต่อเนื่องนานเกิน 3 เดือน
  • อาการปวดแบบเฉียบพลัน จนไม่สามารถเคลื่อนไหว หรือไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนเดิม
  • อาการปวดจากการได้รับอุบัติเหตุ หกล้ม หรืออาการบาดเจ็บที่เกิดจากการเล่นกีฬา
  • อาการปวดที่มีอาการร่วมอื่นๆ เช่น มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ 
ทั้งนี้หากท่านต้องการตรวจวิเคราะห์ และประเมินโครงสร้างร่างกายเพื่อรักษาอาการปวดเมื่อย กล้ามเนื้ออักเสบ เจ็บปวดเรื้อรัง สามารถเข้ามารับคำปรึกษาได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก เราพร้อมดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของท่านอย่างครบถ้วน ด้วยการส่งเสริม ป้องกันเเละรักษา สุขภาพกาย โดยใช้การบริหาร ออกกำลังกาย ไปจนถึงการใช้เครื่องมือเฉพาะทาง สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้า ที่นี่ 

References: