การกลั้นเป็นครั้งคราวอาจไม่ส่งผลเสียมาก แต่หากกลั้นปัสสาวะจนติดเป็นนิสัยอาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะให้สูงขึ้น และยังส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ เช่น กระเพาะปัสสาวะหดเกร็ง อาการปวดท้องน้อย หรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นต้น
การกลั้นปัสสาวะ
ขนาดของกระเพาะปัสสาวะอยู่ที่ประมาณ 500 – 1,000 มิลลิลิตร เมื่อมีปัสสาวะอยูในกระเพาะปัสสาวะประมาณ 160 – 300 มิลลิลิตรหรือประมาณครึ่งกระเพาะปัสสาวะ จะทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะ โดยเกิดจาก เส้นประสาทในกระเพาะปัสสาวะถูกกระตุ้นให้ส่งสัญญาณไปยังสมองแล้วทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะ จากนั้นสมองจะส่งสัญญาณกลับไปยังกระเพาะปัสสาวะให้กลั้นปัสสาวะไว้จนกว่าจะพร้อมขับถ่าย
การกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานอาจทำให้กล้ามเนื้อบริเวณกระเพาะปัสสาวะทำงานหนักมากเกินไป ส่งผลให้เกิดการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้ โดยเฉพาะการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
ข้อเสียของการกลั้นปัสสาวะ
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection หรือ UTI) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ จนทำให้เกิดความผิดปกติขึ้น โดยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบส่วนใหญ่มักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากผู้หญิงมีท่อปัสสาวะสั้นและอยู่ใกล้กับช่องคลอดและทวารหนัก ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะได้โดยง่าย
อาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
ผู้ป่วยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบจะปวดปัสสาวะบ่อย รู้สึกปวดแสบขณะปัสสาวะ ปัสสาวะมีเลือดปนออกมา ปวดท้องน้อย รวมถึงลักษณะน้ำปัสสาวะที่ออกมามีปริมาณน้อย สามารถสังเกตความผิดปกติที่พบได้บ่อยดังนี้
แม้ว่าจะเป็นโรคไม่รุนแรง แต่เมื่อได้รับการรักษาโรคที่ไม่ถูกต้องและเหมาะสม เชื้ออาจแพร่กระจายจากกระเพาะปัสสาวะผ่านทางท่อไตไปจนถึงกรวยไต ทำให้กรวยไตอักเสบและอาจจะสร้างความเสียหายกับไตอย่างถาวร หากมีการอักเสบติดเชื้อรุนแรง อาจลุกลามเป็นการติดเชื้อในกระแสเลือดจนเป็นเหตุทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นการกลั้นปัสสาวะจึงทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายมากกว่าที่คิด!
ให้พรีโมเเคร์ เมดิคอล ดูเเลทุกองค์ประกอบสุขภาพของคุณ ทั้งด้านรักษา ป้องกัน เเละส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้คุณมีสุขภาพเเข็งเเรงเเบบยั่งยืน
1 ซอยกรุงเทพกรีฑา 4 (บี.กริม) แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240 ประเทศไทย
โทร: +66 2038 5595
LINE ID: @primocare
อีเมล: [email protected]
©2022 PrimoCare Medical Limited. All rights reserved.