/    บทความ    /    ภาวะเครียดสะสม ที่คุณอาจไม่รู้ตัว

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

พูดคุยกับนักจิตวิทยาช่วยอะไรได้บ้าง?

ความเครียดเป็นสภาวะของอารมณ์ เมื่อต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์อันตราย ร่างกายจะหลั่งสารสื่อประสาท ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็ว หายใจถี่ขึ้น กล้ามเนื้อหดตัว และความดันโลหิตสูงขึ้น โดยผู้ที่ป่วยเป็นโรคเครียดมักเกิดอาการของโรคทันทีที่เผชิญสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด ในบางรายอาจจะเป็นโรคซึมเศร้า (Depressive disorder) หรือ โรควิตกกังวล (Anxiety disorders) ได้ในอนาคต

ภาวะเครียด

โรคเครียดมีสาเหตุมาจากการพบเจอหรือรับรู้เหตุการณ์อันตรายที่ร้ายแรง ทั้งนี้ความเครียดอาจเกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งความรู้สึกดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายและอารมณ์ ดังนี้ 

  • ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อาทิ ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น เหงื่อออกที่ฝ่ามือ เวียนศีรษะ หายใจไม่สะดวก แน่นหน้าอก หรือนอนไม่หลับ เป็นต้น 
  • ความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ อาทิ รู้สึกกดดันอยู่เสมอ ไม่มีสมาธิ อารมณ์แปรปรวน

ทั้งนี้ภาวะเครียด สามารถที่จะกลายเป็นความเครียดสะสม หรือความเครียดเรื้อรังได้ หากมีอาการเครียดติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จนเกิดความสะสมสร้างความกังวลและรบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ในบางรายที่มีอาการเครียดสะสมมากๆ อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานและคนรอบข้างได้ 

สัญญาณเตือนภาวะเครียด

ภาวะเครียดสามารถก่อให้เกิดผลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ผู้ที่ต้องการสังเกตุว่าตนเองมีภาวะเครียดสะสมหรือไม่ สามารถตรวจสอบความผิดปกติของร่างกาย พฤติกรรม และอารมณ์เบื้องต้นเหล่านี้ เพื่อนำไปสู่การรักษาที่ถูกต้อง

  • สัญญาณทางร่างกาย เช่น หายใจถี่ หัวใจเต้นเร็ว หายใจลำบาก มีอาหารปวดหัว ปวดท้อง นอนไม่หลับ ปวดเมื่อยบริเวณบ่าและคอ ท้องผูกสลับกับท้องเสีย ชาตามปลายมือปลายเท้า
  • สัญญาณทางอารมณ์ เช่น เบื่อหน่ายชีวิต วิตกกังวล มีความต้องการทางเพศลดลง อ่อนไหวง่าย
  • สัญญาณทางพฤติกรรม เช่น นิ่งเงียบ ไม่พูดคุย มั่นใจในตัวเองลดน้อยลง ทานอาหารมากขึ้นหรือน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด เริ่มใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ หรือสนใจที่จะเสพสารเสพติด
  • เกิดโรคแทรกซ้อน ปัญหาทางสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล หรือบุคลิกภาพแปรปรวน

การป้องกัน รักษาภาวะเครียด

ถึงแม้ว่าอาการเครียด หรือกังวลจะเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีภาวะเครียดสะสม ที่ก่อให้เกิดความกังวลและรบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานและคนรอบข้างได้ ดังนั้นผู้ที่มีอาการตรใข้างต้นจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการรักษา หรือป้องกันก่อนเกิดภาวะเครียดสะสม

  • ทำกิจกรรมที่ทำให้คุณรู้สึกสนุกเพลิดเพลินและผ่อนคลาย เช่น การนอนดูหนัง ฟังเพลงสบายๆ หรือออกไปหากิจกรรมกับคนรอบข้าง เช่น เพื่อน คนรัก หรือครอบครัว 
  • ฝึกการผ่อนคลาย เช่น การฝึกหายใจ การทำสมาธิ การฝึกจินตภาพเพื่อเอาชนะความเครียด ความวิตกกังวล จะช่วยให้ชีพจรเต้นช้าลง และคลายความกังวลไปได้บ้าง
  • เปลี่ยนแปลงทัศนคติ เช่น มองความท้าทายว่าเป็นโอกาสในการเรียนรู้และเติบโต หรือใช้หลักการทางศาสนาเข้าช่วยเพื่อให้มีสติและมีความสงบสุขในจิตใจ
  • จัดสรรเวลาในชีวิตประจำวัน โดยการแยกเวลาการทำงาน และเวลาส่วนตัวให้ชัดเจน จัดสรรเวลาเพื่ออยู่กับตัวเอง และทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย
  • ออกกำลังกาย หรือเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เมื่อมีอาการเครียด ร่างกายจะหลั่งสาร Cortisol ซึ่งสามารถช่วยทำให้ร่างกายลดความตึงเครียดโดยการขยับร่างกายวันละ 30 นาที 3 – 5 วันต่อสัปดาห์ 
  • ปรึกษาแพทย์ หากคุณรู้สึกเครียด วิตกกังวล จนไม่สามารถควบคุมความรู้สึกเหล่านี้ได้ การไปพบจิตแพทย์ หรือนักจิตบำบัดจะช่วยบรรเทาอาการเครียดสะสม ผ่านการให้คำปรึกษาและบำบัดอย่างถูกต้อง เพื่อคลายความเครียดอย่างถูกวิธี 

สุขภาพใจมีความสำคัญและต้องการการดูแลไม่ต่างจากสุขภาพกาย หมั่นสังเกตอารมณ์ ความคิด และความรู้สึกของตัวเอง หากท่านต้องการที่จะปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพใจ ให้พรีโมแคร์ช่วยรับฟังและหาทางรับมือปัญหา นัดหมายปรึกษานักจิตวิทยาของเราได้ที่ Line Official @primoCare หรือคลิกที่นี่ 

 

Reference