ค่าฝุ่น PM 2.5 ที่พุ่งสูงในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพกลับมาเยือนในช่วงเดือนธันวาคม-เมษายนของทุกปี ซึ่งแม้จะกลายเป็นปัญหาที่หลายคนเคยชินไปแล้ว แต่ร่างกายของเราอาจไม่ได้คุ้นเคยกับเจ้าฝุ่นจิ๋วที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาวนี้ ลองมาเช็คกันดูว่าคุณกำลังมีสัญญาณเตือนภัยสุขภาพจากฝุ่นละออง PM 2.5 หรือไม่ และจะมีวิธีป้องกันตัวเองอย่างไรได้บ้าง
ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร?
ตัวอักษร PM มาจากคำว่า Particulate Matter ซึ่งเป็นคำเรียกของอนุภาคของแข็งและหยดของเหลวในอากาศที่มีทั้งอนุภาคขนาดใหญ่ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น ฝุ่น ผง ขี้เถ้า ควัน และอนุภาคขนาดเล็กอีกมากมายที่ไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
ฝุ่นมลพิษ PM ที่สามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ผ่านการหายใจ แบ่งเป็น 2 ขนาด คือ
PM 2.5 (Fine Particulate matter) เป็นอนุภาคที่มีขนาดเล็กมาก เล็กกว่าเส้นผมของมนุษย์ประมาณ 30 เท่า โดยหากนำมารวมกันในหลายพันอนุภาค อาจมองเห็นเท่ากับเครื่องหมายจุด (.) เท่านั้น โดยเมื่อมี PM 2.5 ลอยตัวอยู่ในอากาศปริมาณมากจะดูคล้ายหมอกเทาปกคลุม ซึ่งมักเกิดขึ้นในวันที่สภาพอากาศที่ค่อนข้างนิ่ง ไม่มีลม จึงทำให้เกิดการสะสมของฝุ่นได้มากกว่าปกติ
ผลกระทบของ ฝุ่น PM 2.5 ต่อสุขภาพ
ด้วยขนาดที่เล็กมาก ทำให้ PM 2.5 สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านระบบทางเดินหายใจไปยังปอดได้อย่างง่ายดาย และยังมีบางส่วนหลุดไปในกระแสเลือด ด้วยเหตุนี้จึงอาจส่งผลต่อสุขภาพตามมาทั้งในระยะสั้นและยาวได้
ผลกระทบระยะสั้น
ผลกระทบระยะยาว
มีการศึกษาจำนวนมากชี้ว่าการสูดดมฝุ่นละออง PM 2.5 เป็นเวลานานสามารถส่งผลต่อสุขภาพปอดและหัวใจในภายหลัง
ปัญหาเหล่านี้จะยิ่งน่าวิตกในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงอยู่แล้ว เช่น ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ โรคปอด โรคหัวใจ รวมถึงเด็กๆ และผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ร่างกายมักมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อฝุ่นจิ๋วไวกว่าคนกลุ่มอื่น
หากเดินตามท้องถนน เราจะได้รับฝุ่นละอองที่ลอยสะสมอยู่ในอากาศจากแหล่งกำเนิดต่างๆ โดยตรง เช่น ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ รถบรรทุก และรถสาธารณะ การก่อสร้างถนนตึกรางบ้านช่อง และกระบวนการใดๆ ก็ตามที่เกิดการเผาไหม้เชื้อเพลิงจำพวกไม้ ถ่าน น้ำมันเครื่อง ใบไม้ ใบหญ้า รวมไปถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างไฟป่าหรือภูเขาไฟระเบิดที่ลมอาจหอบฝุ่นละอองจำนวนมากไปยังพื้นที่ใกล้เคียงจนค่า PM 2.5 ในอากาศเพิ่มสูง
นอกจากนี้ ฝุ่น PM ยังมักเป็นผลมาจากปฏิกิริยาของก๊าซต่างๆ ในชั้นบรรยากาศ เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ทำปฏิกิริยากับไนโตรเจนออกไซด์ ซึ่งเป็นมลพิษทางอากาศที่ปล่อยมาจากโรงไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม และรถยนต์บนท้องถนน ซึ่งฝุ่นที่ลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศเหล่านี้สามารถเคลื่อนตัวจากแหล่งกำเนิดไปยังพื้นที่ที่ห่างออกไปหลายร้อยกิโลเมตรด้วยการพัดพาของลม
ฝุ่น PM 2.5อาจเกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิดในบ้านหรืออาคารจากกิจกรรมบางอย่างได้เช่นกัน ได้แก่ ควันบุหรี่ การจุดไฟทำอาหาร การจุดธูปเทียน เทียนหอม และตะเกียงน้ำมัน เป็นต้น รวมถึงฝุ่นละอองนอกบ้านที่ลอยเข้ามาในบ้านก็สามารถทำให้ความเข้มข้นของฝุ่น PM 2.5 เพิ่มสูงขึ้น
การออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงที่ค่าดัชนี PM 2.5 พุ่งสูงเป็นสิ่งที่พึงระมัดระวัง เพราะอัตราการหายใจที่เพิ่มขึ้นเร็วกว่าปกติจะทำให้ได้รับมลพิษในปริมาณที่มากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงอย่างผู้ป่วยโรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคปอด รวมถึงเด็กเล็กและผู้สูงอายุ ที่เสี่ยงได้รับผลกระทบจากการสูดดม PM2.5มากกว่าคนทั่วไป
การตรวจเช็คค่าดัชนีอากาศก่อนออกจากบ้านอาจช่วยให้วางแผนการออกกำลังกายนอกบ้านอย่างปลอดภัยและสบายใจมากขึ้น โดยสามารถเข้าไปเช็คค่าดัชนี PM2.5 (Air quality index: AQI) แบบเรียลไทม์ได้ที่ https://aqicn.org/search/ ซึ่งจะแสดงตัวเลขและระดับสีบ่งบอกคุณภาพอากาศขณะนั้น
ดัชนี คุณภาพอากาศ |
ความหมาย | ผลต่อสุขภาพ | ข้อควรระวัง |
0-50 | อากาศดี | คุณภาพอากาศดี ไม่มีหรือแทบไม่มีผลต่อสุขภาพ | |
51-100 | ปานกลาง | คุณภาพอากาศดีพอใช้ แต่อาจมีมลพิษบางอย่างที่ส่งผลต่อกลุ่มเสี่ยงที่ไวต่อมลพิษอากาศ | เด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด ควรลดการออกกำลังกายกลางแจ้งเป็นเวลานาน |
101-150 | ไม่ดีต่อกลุ่มเสี่ยง | อาจมีผลกระทบต่อกลุ่มเสี่ยง | เด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด ควรลดการออกกำลังกายกลางแจ้งเป็นเวลานาน |
151-200 | ไม่ดีต่อสุขภาพ | เริ่มมีผลกระทบต่อคนทั่วไป กลุ่มเสี่ยงอาจยิ่งมีอาการรุนแรงขึ้น | – กลุ่มเสี่ยงควรเลี่ยงการออกกำลังกาย/กิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน
– ผู้ที่มีสุขภาพดี ควรลดการออกกำลังกายกลางแจ้งเป็นเวลานาน |
201-300 | ไม่ดีต่อสุขภาพอย่างมาก | ส่งผลกระทบต่อกลุ่มเสี่ยงและผู้มีสุขภาพดีมากขึ้น | – กลุ่มเสี่ยงควรเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้งทุกชนิด
– ผู้ที่มีสุขภาพดี ควรลดการออกกำลังกายกลางแจ้ง |
300+ | อันตราย | ทุกคนเสี่ยงได้รับผลกระทบทางสุขภาพที่ร้ายแรงมากขึ้น | ทุกคนควรเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้งทุกชนิด |
ในช่วงที่มีฝุ่นพิษและมีค่า PM 2.5 ในอากาศสูง เราสามารถป้องกันตัวเองตามคำแนะนำต่อไปนี้
การลดฝุ่น PM 2.5 ที่อาจสะสมในบ้าน
การลดมลพิษในอากาศและฝุ่นพิษ PM 2.5 เป็นเรื่องที่ต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในการควบคุมการปล่อยมลพิษจากโรงไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงการออกนโยบายและกฎหมายเพื่อผลักดันให้ลดการสร้างมลพิษในอากาศจากทุกภาคส่วนอย่างจริงจัง ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการออกกฎเกณฑ์ที่บังคับใช้อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อการควบคุมมลพิษที่ยั่งยืนเท่าไรนัก
ส่วนทางด้านประชาชน เราสามารถร่วมแรงกันงดก่อมลพิษ ดังนี้
พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก ดูแลรอบด้าน ทุกองค์ประกอบสุขภาพ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายล่วงหน้าที่ @primocare
โทร 02-038-5595, 082-527-9924
คลิกดูหลากหลายบริการของเราที่นี่