/    บทความ    /    คู่มือดูแลตนเอง ห่างไกลโรคเรื้อรัง NCDs

คู่มือดูแลตนเอง ห่างไกลโรคเรื้อรัง NCDs

คู่มือดูแลตนเอง ห่างไกลโรคเรื้อรัง NCDs

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases) หรือในชื่อย่อ “NCDs” เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งจะมีการดำเนินโรคอย่างค่อยเป็นค่อยไป เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคอ้วนลงพุง เป็นต้น ทั้งนี้การป้องกันโรค NCDs การปรับพฤติกรรมในการใช้ชีวิตเป็นวิธีที่ได้ผลมากที่สุดในการป้องกัน คือ การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ ทำอารมณ์ให้แจ่มใส รวมถึงการไม่ดื่มสุรา สูบบุหรี่ จะช่วยป้องกันให้คุณห่างไกลโรค

โรคเบาหวาน (Diabetes)

เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดขึ้นจากการที่ร่างกายเสียสมดุลในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งอาจเกิดจากตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่พอ หรือร่างกายเกิดภาวะดื้อต่อฮอร์โมนออินซูลินทำให้ร่างกายต้องการอินซูลินมากกว่าคนปกติปกติ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 1 
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • โรคเบาหวานชนิดอื่นที่มีสาเหตุเฉพาะ
  • โรคเบาหวานที่เกิดจากการตั้งครรภ์ 

การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

  • ควบคุมอาหารและน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เนื่องจากในผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ จะพบภาวะดื้ออินซูลินได้มากขึ้น
  • ควรปรึกษานักกำหนดอาหารหรือนักโภชนาการ เกี่ยวกับชนิด และปริมาณอาหาร รวมถึงสัดส่วนอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน ให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ
  • เลือกทานอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ข้าวซ้อมมือ หรือธัญพืชที่ไม่ได้ขัดสี ผัก ผลไม้ที่ไม่หวานจัด ถั่วต่างๆ
  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง ขนมหวาน ไอศกรีม ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ต่างๆ และผลไม้รสหวาน
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลต่ำ เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน อาหารทอด อาหารที่มีกะทิ เลือกใช้ไขมันดีในการประกอบอาหาร
  • หลีกเลี่ยงการดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • พบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แพทย์ประเมิน รวมถึงร่วมกันวางแผนกับผู้ป่วยในการรักษาและติดตามผลอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างเดียว หรือการใช้ยาร่วมด้วย ทั้งนี้จำเป็นต้องมีการประเมินความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น เพื่อใช้ในการร่วมพิจารณา
โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)
เป็นภาวะที่ตรวจพบว่ามีความดันโลหิตอยู่ในระดับสูงผิดปกติ คือมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งอาจไม่แสดงอาการ แต่จะเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง ไตวาย เป็นต้น 

การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารที่มีรสชาติเข้มข้น หมัก ดอง หรือมีรสเค็ม เช่น ไข่เค็ม ปลาร้า ปลาเจ่า ปูเค็ม ผักดอง เต้าหู้ยี้ เต้าเจี้ยว ตั้งฉ่าย เป็นต้น
  • ลดการใช้เครื่องปรุงรสในอาหาร เช่น ผงปรุงรส น้ำปลา ซีอิ้ว เกลือ ซอสปรุงรส และผงชูรส เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงอาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารแปรรูป อาหารกระป๋อง และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม หมูยอ กุนเชียง เป็นต้น เลือกกินอาหารที่สด ผ่านการปรุงใหม่แทน
โรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular diseases)

โรคกลุ่มนี้มีสาเหตุเกิดจากการสะสมไขมันในผนังหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น และอาจเกิดการตีบ หรือตัน หากเกิดบริเวณเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจจะทำให้เกิดหัวใจวายเฉียบพลันเนื่องมาจากการขาดเลือด หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย ทำให้หัวใจล้มเหลวซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่พบมากที่สุด หากเกิดในหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมอง อาจทำให้เกิดสมองขาดเลือด หรือ สโตรค (Stroke) ทำให้เซลล์สมองบางส่วนตาย แล้วทำให้เกิดอัมพาตขึ้นได้

การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ไขมันสูง เช่น ไขมันสัตว์ หนังเป็ด/ไก่ สมองสัตว์ อาหารที่ปรุงด้วยกะทิ และอาหารแปรรูป 
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น เครื่องในสัตว์ ไข่แดง หอยนางรม 
  • ลดอาหารรสเค็ม และอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง เช่น เกลือ น้ำปลา ซีอิ้ว ผงปรุงรส ซุปก้อน น้ำซอสชนิดต่างๆ รวมไปถึง ปลาเค็ม ไข่เค็ม กุนเชียง หมูหยอง หมูแผ่นเป็นต้น
  • ภาวะไขมันในเลือดสูง (Dyslipidemia)
  • ภาวะที่ร่างกายมีไขมันในเลือดมากกว่าปกติ ซึ่งภาวะไขมันในเลือดสูงเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เส้นเลือดตีบ หรืออุดตัน อาจร้ายแรงจนทำให้เสียชีวิตได้

พฤติกรรมเสี่ยงนำไปสู่โรค NCDs  

  • บริโภคโดยเน้นคาร์โบไฮเดรตเป็นหลัก เช่น การรับประทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป จะทำให้ขาดสารอาหารประเภทวิตามิน โปรตีน และแร่ธาตุ อาจทำให้ร่างกายได้รับพลังงานจากอาหารมากเกินไป นำพาไปสู่โรคอ้วน และภาวะดื้ออินซูลินได้
  • รับประทานอาหารหวาน มัน เค็ม ส่งผลทำให้เป็นโรคอ้วนได้ง่าย เพราะหากบริโภคน้ำตาลเกินความต้องการของร่างกาย จะกลายเป็นไขมันสะสมในร่างกายจนเกิดเป็นโรคอ้วน การบริโภคอาหารไขมันสูง จะทำให้เกิดการสะสมในร่างกาย นำไปสู่โรคอ้วนเช่นกัน นอกจากนี้การรับประทานอาหารที่มีรสชาติเค็มอาจนำไปสู่ภาวะความดันโลหิตสูง และโรคไตได้

หากท่านต้องการที่จะนัดหมายล่วงหน้า เพื่อรับคำปรึกษาจากแพทย์ในหัวข้อโรค NCDs สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก

Reference: