Categories
Uncategorized

การกลั้นปัสสาวะนานๆ ส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไร?

    /    บทความ    /    การกลั้นปัสสาวะนานๆ ส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไร?

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

การกลั้นปัสสาวะนานๆ ส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไร?

 การกลั้นเป็นครั้งคราวอาจไม่ส่งผลเสียมาก แต่หากกลั้นปัสสาวะจนติดเป็นนิสัยอาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะให้สูงขึ้น และยังส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ เช่น กระเพาะปัสสาวะหดเกร็ง อาการปวดท้องน้อย หรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นต้น

การกลั้นปัสสาวะ 

ขนาดของกระเพาะปัสสาวะอยู่ที่ประมาณ 500 – 1,000 มิลลิลิตร เมื่อมีปัสสาวะอยูในกระเพาะปัสสาวะประมาณ 160 – 300 มิลลิลิตรหรือประมาณครึ่งกระเพาะปัสสาวะ จะทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะ โดยเกิดจาก เส้นประสาทในกระเพาะปัสสาวะถูกกระตุ้นให้ส่งสัญญาณไปยังสมองแล้วทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะ จากนั้นสมองจะส่งสัญญาณกลับไปยังกระเพาะปัสสาวะให้กลั้นปัสสาวะไว้จนกว่าจะพร้อมขับถ่าย 

การกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานอาจทำให้กล้ามเนื้อบริเวณกระเพาะปัสสาวะทำงานหนักมากเกินไป ส่งผลให้เกิดการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้ โดยเฉพาะการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ 

ข้อเสียของการกลั้นปัสสาวะ   

  • กระเพาะปัสสาวะหดเกร็ง
  • กระเพาะปัสสาวะปริแตก 
  • ติดเชื้อแบคทีเรียที่ท่อปัสสาวะ
  • กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
  • กรวยไตอักเสบ
  • ติดเชื้อที่ไต
  • ติดเชื้อในกระแสเลือด

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) 

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection หรือ UTI) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ จนทำให้เกิดความผิดปกติขึ้น โดยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบส่วนใหญ่มักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากผู้หญิงมีท่อปัสสาวะสั้นและอยู่ใกล้กับช่องคลอดและทวารหนัก ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะได้โดยง่าย

อาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ผู้ป่วยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบจะปวดปัสสาวะบ่อย รู้สึกปวดแสบขณะปัสสาวะ ปัสสาวะมีเลือดปนออกมา ปวดท้องน้อย รวมถึงลักษณะน้ำปัสสาวะที่ออกมามีปริมาณน้อย สามารถสังเกตความผิดปกติที่พบได้บ่อยดังนี้

  • ปัสสาวะบ่อย กะปริดกระปรอย  ครั้งละน้อยๆ มีอาการคล้ายปัสสาวะไม่สุด
  • รู้สึกปวดบริเวณท้องน้อย ปวดแสบ ขัด ร้อนขณะปัสสาวะ โดยเฉพาะตอนปัสสาวะสุด
  • ปัสสาวะมีสีผิดปกติ บางครั้งมีกลิ่นผิดปกติ หรือ อาจปัสสาวะมีเลือดปน
  • ในเด็กอาจมีอาการปัสสาวะรดที่นอน มีไข้ เบื่ออาหาร อาเจียน อ่อนเพลีย
  • ในผู้สูงอายุ จะไม่มีอาการทางปัสสาวะ แต่จะมีอาการอ่อนเพลีย สับสน หรือมีไข้

แม้ว่าจะเป็นโรคไม่รุนแรง แต่เมื่อได้รับการรักษาโรคที่ไม่ถูกต้องและเหมาะสม เชื้ออาจแพร่กระจายจากกระเพาะปัสสาวะผ่านทางท่อไตไปจนถึงกรวยไต ทำให้กรวยไตอักเสบและอาจจะสร้างความเสียหายกับไตอย่างถาวร หากมีการอักเสบติดเชื้อรุนแรง อาจลุกลามเป็นการติดเชื้อในกระแสเลือดจนเป็นเหตุทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นการกลั้นปัสสาวะจึงทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายมากกว่าที่คิด!

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

ทำความรู้จักกับ Lifestyle Medicine (วิถีชีวิตบำบัด หรือ เวชศาสตร์วิถีชีวิต)

    /    บทความ    /    ทำความรู้จักกับ Lifestyle Medicine (วิถีชีวิตบำบัด หรือ เวชศาสตร์วิถีชีวิต)

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

ทำความรู้จักกับ Lifestyle Medicine (วิถีชีวิตบำบัด หรือ เวชศาสตร์วิถีชีวิต)

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันโดยการร่วมมือระหว่างแพทย์และคนไข้ ตั้งแต่การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการความเครียด การนอนหลับ การเลิกสุบบุหรี่ รวมถึงความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน หรือกระทั่งรักษาโรคซึ่งเป็นการบำบัดที่สาเหตุ ถือเป็นการบำบัดแบบใหม่ที่สามารถป้องกัน ลดความเสี่ยง และลดการใช้ยาลงได้ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงอย่างยั่งยืน

Lifestyle Medicine

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ตั้งแต่การกิน การออกกำลังกาย การจัดการกับความเครียด การนอนหลับ การเลิกสูบบุหรี่ รวมถึงความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ทั้งหมดนี้เรียกว่า “Lifestyle Medicine” ซึ่งเป็นศาสตร์ของการปรับไลฟ์สไตล์ เพื่อเปลี่ยนสุขภาพให้ดีขึ้น และเป็นหัวใจสำคัญของการส่งเสริม ป้องกัน หรือกระทั่งรักษาโรคโดยเน้นที่สาเหตุ ลดการใช้ยาจริงๆ แล้วหันมาใช้ยาที่ชื่อว่า “ไลฟ์สไตล์” แทน

Lifestyle Medicine เป็นการบำบัดโดยยึดข้อมูลที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-based) เน้นให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา (Active Participation) และให้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางการตัดสินใจ (Patient-centered) ทำให้เกิดแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง และนำไปสู่สุขภาพที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนในทุกด้าน

Lifestyle Medical Clinic by PrimoCare Medical

การปรับไลฟ์สไตล์ หรือปรับวิถีการใช้ชีวิต (Lifestyle Medicine) เน้นให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา (active participation) และให้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางการตัดสินใจ ทำให้เกิดแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง

  • “มีแพทย์เป็นเพื่อน” 

แพทย์จะใช้เวลารับฟัง พูดคุย ทำความรู้จัก ทำความเข้าใจกับไลฟ์สไตล์ของแต่ละบุคคล รวมถึงความชอบส่วนบุคคล ข้อจำกัดต่างๆ และแรงจูงใจในการมีสุขภาพที่ดีขึ้น  

  • “ร่วมหาวิถีใหม่ที่ใช่” 

เพื่อให้คำแนะนำตามแบบเฉพาะบุคคล ตรงกับไลฟ์สไตล์ และใช้หลักการในการให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา พัฒนา (Coaching) เพื่อให้สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในระยะยาวได้อย่างยั่งยืน

  • “ประสานรอบด้านการดูแล” 

เชื่อมต่อกับบริการอื่นๆ ในคลินิก ไม่ว่าจะเป็นนักจิตวิทยาที่สามารถให้คำปรึกษาเรื่องความเครียด ความสัมพันธ์ หรือนักกายภาพบำบัดที่จะช่วยดูแลเรื่องอาการบาดเจ็บที่อาจเป็นข้อจำกัดในการออกกำลังกาย รวมถึงนักกำหนดอาหารที่สามารถประเมินและให้การรักษาทางโภชนาการอย่างตรงจุด

  • “ร่วมด้วยช่วยกัน” 

บริการพิจารณาอาหารเสริมรายบุคคล (Personalized Supplement) ที่จะช่วยส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เห็นผลได้ดียิ่งขึ้น โดยการสังเกตุการณ์จากปัจจัยเสี่ยง ภาวะโภชนาการ ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ เป็นต้น

  • “ใช้ยาเมื่อจำเป็น” 

ในรายที่เป็นโรคเรื้อรังที่ควบคุมไม่ได้ อาจมีความจำเป็นต้องใช้ยาควบคู่ไปกับการปรับไลฟ์สไตล์ เพื่อส่งเสริมให้สุขภาพร่างกายของผู้ป่วยแข็งแรง และปลอดภัย

Lifestyle Changing 

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable diseases: NCDs) ทั้งความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน กระดูกพรุน หรือมะเร็ง มีสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสมอย่างค่อยเป็นค่อยไปและสะสมอาการอย่างต่อเนื่อง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ ในการดำเนินวิถีชีวิตจึงถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้ร่างกายสามารถใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ แข็งแรง ดังนี้

  • การรับประทานอาหาร – บริโภคอาหารอย่างไรให้มีความสุข รู้วิธีเลือกรับประทานอาหารที่ชอบเพื่อสุขภาพที่ดี 
  • การออกกำลังกาย – สร้างแรงจูงใจด้วยการเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และกิจวัตรประจำวันให้เป็นการออกกำลังกายง่ายๆ ในทุกวัน อย่างน้อยวันละ 30 นาที เพื่อสุขภาพกาย และสุขภาพใจที่แข็งแรง
  • การจัดการความเครียด – แบ่งเวลาสำหรับการทำงาน ความสัมพันธ์ และการพักผ่อนให้พอดีด้วย work-life balance คืนความยืดหยุ่น ลดความตึงเครียดของร่างกายและจิตใจ
  • การนอน – ปรับการนอนให้ร่างกายได้ชาร์จพลังและสร้างภูมิคุ้มกันได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้หากมีปัญหาในการนอนหลับ จะทำให้ร่างกายเหนื่อยล้า ไม่มีพลังที่จะใช้ในวันถัดไป แพทย์จะช่วยประเมิณ เพื่อระบุสาเหตุของคุณภาพการนอนที่ย่ำแย่ 
  • เลิกบุหรี่ – ตัดให้ขาดจากสารพิษที่บั่นทอนอายุขัยและสุขภาพ จะช่วยยืดเวลาอยู่กับคนที่รักให้นานกว่าเดิม
  • ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง – เพิ่มความสุขและความพอใจในชีวิตด้วยความสัมพันธ์ที่ดี ทั้งกับเพื่อน ครอบครัว คนรัก รวมถึงเพื่อนร่วมงาน

หากท่านต้องการที่จะนัดหมายเพื่อเข้าโปรแกรม Lifestyle Medicine สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก ที่พร้อมดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของท่านอย่างครบถ้วน สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่ 

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

ความเครียดและฮอร์โมน สัมพันธ์กันอย่างไร??

    /    บทความ    /    ความเครียดและฮอร์โมน สัมพันธ์กันอย่างไร??

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

ความเครียดและฮอร์โมน สัมพันธ์กันอย่างไร??

ความเครียดเป็นภาวะของอารมณ์หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ และทำให้รู้สึกถูกกดดัน ไม่สบายใจ วุ่นวายใจ กลัว วิตกกังวล ตลอดจนถูกบีบคั้น เมื่อบุคคลรับรู้หรือประเมินว่าปัญหาเหล่านั้นเป็นสิ่งที่คุกคามจิตใจ หรืออาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จะส่งผลให้สภาวะสมดุลของร่างกายและจิตใจเสียไป

ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) 

คอร์ติซอล คือสเตียรอยด์ฮอร์โมน (Steroid hormone) จัดเป็นฮอร์โมนกลุ่มกลูโคคอร์ติคอยด์ (glucocorticoids) ที่ผลิตจากต่อมหมวกไตชั้นนอก และส่งผ่านไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายผ่านกระแสเลือด เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายหลั่งออกมา เพื่อตอบสนองต่อสภาวะเครียดหรือกดดันต่างๆ จึงมักเรียกกันว่า “ฮอร์โมนความเครียด

Cortisol คือฮอร์โมนความเครียดตัวหลักของร่างกาย (Stress hormone) ปกติร่างกายจะหลั่งออกมาปริมาณมากที่สุดในตอนเช้า ช่วยให้เรารู้สึกสดชื่น และมีพลังต่อสู้ในวันใหม่ของทุกวัน และจะลดลงเหลือเพียง 10% ในช่วงเย็น ถ้าหากร่างกายมีความเครียดสะสม ต่อมหมวกไตจะหลั่ง Cortisol ออกมามากเกินไป เกิดผลเสียของ Cortisol คือกระตุ้นให้เกิดการสลายตัวของร่างกายมากเกินไป ทำให้ร่างกายเสื่อมถอย ต่อมหมวกไตต้องดึงเอาฮอร์โมนอื่นๆ ทั้งฮอร์โมนต้านเครียด (DHEA) ฮอร์โมนเพศ (Estrogen, Progesterone, Testosterone) มาใช้สร้าง Cortisol จนหมด เกิดภาวะพร่องฮอร์โมน ร่างกายอ่อนล้า หรือเรียกว่าภาวะต่อมหมวกไตล้า

ภาวะต่อมหมวกไตล้า

ในการวินิจฉัย ภาวะต่อมหมวกไตล้า จะต้องมีวัดระดับของฮอรโมนต่อมหมวกไต(Adrenal hormones) 2ตัว ที่มีชื่อว่า คอร์ติซอล (Cortisol) และ ดีเอชอีเอ (Dyhydroepiandrosterone-DHEA) ซึ่งสามารถวัดได้จากผลเลือด Cortisol และ DHEAคือ ฮอร์โมนแห่ง’ความเครียด’ในร่างกายมนุษย์ ปัจจุบันนี้ การรักษาภาวะต่อมหมวกไตล้าจะมุ่งเน้นไปที่การปรับให้ฮอรโมน2ตัวนี้ให้อยู่ระดับที่สมดุล

อาการต่อมหมวกไตล้า

ภาวะ’ต่อมหมวกไตล้า’ เป็นอาการผิดปกติของร่างกายอย่างหนึ่งที่มีความเครียดเรื้อรังเป็นตัวกระตุ้น อาการผิดปกติที่ตรงกับ อาการแสดง ด้านล่างอย่างน้อย 5 ข้อ คุณกำลังมีความเสี่ยงสูง

  • ขี้เกียจตื่นนอนตอนเช้า
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง อยากงีบหลับ ช่วงกลางวัน
  • ง่วงแต่นอนไม่หลับ
  • มีอาการวิงเวียน ศีรษะ หน้ามือ เวลาเปลี่ยนท่าทาง (ลุก-นั่ง)
  • อยากของหวาน, ของเค็ม
  • ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ
  • ปวดประจำเดือนบ่อย
  • เป็นภูมิแพ้กำเริบบ่อยๆ
  • ท้องอืด อาหารไม่ย่อย 
  • ท้องผูก
  • เครียด ซึมเศร้า
  • คุมอาหาร ออกกำลังกายเป็นประจำแต่น้ำหนักไม่ลดลง
  • รู้สึก’ดีขึ้นทันที’เมื่อได้ทานน้ำตาล
  • ผิวแห้งและแพ้ง่าย

จัดการอย่างไร เมื่อฮอร์โมนคอร์ติซอลสูง

  • จัดการกับความเครียด (Stress Management) โดยการหากิจกรรมคลายความเครียดทางจิตใจ เช่น การเล่นโยคะ การนวด หรือการบำบัด โดยใช้คลื่นเสียง (Sound Healing)
  • ทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสร ะ เช่น ผักและผลไม้ที่ไม่หวานเกินไป ข้าว ถั่ว เนื้อสัตว์บางประเภท เช่น เป็ด ไก่ ปลา
  • ลดความเครียดทางร่างกาย
  1. หลีกเลี่ยงสารพิษ เนื่องจากสามารถทำให้ร่างกายอักเสบและนำไปสู่ความเครียดได้
  2. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หนักเกินไป สามารถออกกำลังกายแบบเบาๆได้ (Calming Exercise) หรือ การออกกำลังกายที่ใช้พลังงานต่ำหรือ Low-intensity workouts เช่น การวิ่ง จ๊อคกิ้ง หรือการออกกำลังกายที่เรายังสามารถพูดคุยได้ตามปกติขณะออกกำลังกาย

ฮอร์โมน DHEAs 

DHEA คือฮอร์โมนเพศชนิดหนึ่งที่เป็นฮอร์โมนตั้งต้นของทั้งฮอร์โมนเพศหญิงและเพศชาย (Pre-sex hormones) และยังเป็น ฮอร์โมนต้านความเครียด (Anti-stress hormones) ช่วยต้านฤทธิ์ของ Cortisol เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะเครียด ทั้งนี้ DHEAs เป็นฮอร์โมนที่ผลิตขึ้นจากต่อมหมวกไต ซึ่งเป็นฮอร์โมนตั้งต้นที่ร่างกายนำมาผลิตฮอร์โมนสำคัญ หลายชนิด เช่น ฮอร์โมนเพศ อาทิ เทสโทสเทอโรน หรือเอสโตรเจน โดยระดับของฮอร์โมน DHEAs นั้น จะผลิตได้สูงสุดในช่วงอายุประมาณ 25 ปี และจะลดลงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น

จัดการอย่างไร เมื่อฮอร์โมน DHEAs อยู่ในระดับต่ำ

  • ลดความเครียดทางจิตใจ
  • ลดความเครียดทางร่างกาย (ไม่ควรออกกำลังกายหนัก และ ทานอาหารที่มีสารพิษ)
  • หลีกเลี่ยงการทานกาแฟ
  • หลีกเลี่ยงการทานเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • งดการสูบบุหรี่
  • นอนพักผ่อนให้เพียงพอ (ก่อน 4 ทุ่ม)
  • ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ (แนะนำให้ทานตาม Canada Food Diet)
  • กินวิตามินและเกลือแร่ให้เพียงพอ 
  • รับประทานโปรตีนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการทานแป้งขัดสี ควรรับประทานเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน มีเส้นใยสูง

หากคุณมีภาวะเครียด ต้องการปรึกษาแพทย์ เพื่อปรับพฤติกกรรมการใช้ชีวิต เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก เพื่อเข้าร่วมโปรแกรม Personalized Lifestyle Medicine ที่ออกแบบมาเพื่อเฉพาะบุคคล ตอบสนองทุกปัญหาที่เกี่ยวกับความไม่สมดุลของฮอร์โมน เราพร้อมดูแลรักษาสุขภาพร่างกาย และจิตใจของท่านให้แข็งแรงอย่างครบถ้วน สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่ 

References

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

เปลี่ยนพฤติกรรม สร้างสมดุลฮอร์โมน

    /    บทความ    /    เปลี่ยนพฤติกรรม สร้างสมดุลฮอร์โมน

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

เปลี่ยนพฤติกรรม สร้างสมดุลฮอร์โมน

ฮอร์โมน (Hormones) สารเคมีที่ร่างกายสร้างขึ้นจากส่วนต่างๆ ที่ผลิตจากต่อมไร้ท่อ (Endocrine gland) ที่ร่างกายสร้าง และลำเลียงสารเคมีเหล่านี้ไปตามกระแสเลือดไปสู่อวัยวะเป้าหมายเพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย ระดับของสมดุลฮอร์โมนจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงได้ตั้งแต่อายุประมาณ 25 ปีขึ้นไป และเมื่อความสมดุลของฮอร์โมนเสียไป อาจก่อให้เกิดภาวะหรืออาการผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับความไม่สมดุลของระดับฮอร์โมนได้

ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen)  

คือฮอร์โมนเพศหญิง ผลิตจากรังไข่ และทำให้ลักษณะร่างกายของผู้หญิงมีการเติบโต เช่น มีเต้านม สะโพกผาย เกี่ยวเนื่องกับการมีประจำเดือน การผลิตไข่ การตกไข่ รวมถึงช่วยในเรื่องการทำงานของกล้ามเนื้อและกระดูก ถ้าหากเอสโตรเจนลดลง โดยเฉพาะผู้หญิงที่หมดประจำเดือนในช่วงวัย 45-50 ปี

ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone)

 คือฮอร์โมนเพศหญิงที่มีส่วนสำคัญในการควบคุมภาวะไข่ตกและการมีประจำเดือน โดยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสามารถหลั่งได้จากรังไข่และต่อมหมวกไต ฮอร์โมนตัวนี้จะกระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว ในช่วงที่มีรอบเดือนเยื่อบุโพรงมดลูกจะหนาขึ้นเตรียมพร้อมกับการฝังตัวของตัวอ่อนในการตั้งครรภ์ หากไม่มีการฝังตัวของตัวอ่อนระดับโปรเจสเตอโรนจะลดลง 

เมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจนมาก และ/หรือ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน มีระดับต่ำ 
  • ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงเกินไป อาจจะส่งผลให้ร่างกายสะสมไขมันได้ง่ายและมากขึ้น ทำให้เกิดเป็นโรคอ้วนได้ นอกจากนี้ยังทำให้มีอารมณ์แปรปรวน และยังเสี่ยงต่อโรคมะเร็งหลายชนิด รวมไปถึงโรคไขมันในหลอดเลือด 
  • ระดับโปรเจสเตอโรนต่ำเกินไปการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน ส่งผลต่อความต้องการทางเพศ และการสร้างฮอร์โมนหลายชนิด รวมถึงควบคุมการหลั่งฮอร์โมน จึงมีความเกี่ยวข้องในการมีประจำเดือนและการตั้งครรภ์ ดังนั้นหากเกิดความเครียดวิตกกังวลจึงส่งผลกับฮอร์โมน การตกไข่ และการมีประจำเดือน

HOW-TO ลดระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน

ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนไม่สมดุลอาจเกิดจากหลายๆสาเหตุ เช่น น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น ความเครียดเรื้อรัง อาหารการกิน สารเคมีที่ได้รับ การทานยาคุมกำเนิด หรือยาอื่นๆ ทำให้เกิดความผิดปกติ 
  • ดูแลเรื่องการขับสารพิษออกจากร่างกาย  เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีวิตามินให้เพียงพอ หรืออาหารเสริมที่ช่วยในเรื่องการขับสารพิษ
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโทษต่อสุขภาพ อาทิ ของทอด ของหวาน ของเค็ม กาแฟ แอลกอฮอล์ รวมถึงอาหารที่อาจมีฮอร์โมน เลือกทานอาหารที่เป็นออร์แกนิค
  • จำกัดการบริโภคอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่แดง หนังและส่วนติดไขมันสัตว์ (หมูติดมัน เบคอน หมูกรอบ) เนื้อสัตว์แปรรูป (ไส้กรอก ไส้อั่ว แหนม แฮม โบโลน่า หมูยอ กุนเชียง)  เป็นต้น
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อาทิ การทาน Plant Based Diet และ ไข่ (ปลอดสารพิษ) รวมถึงอาหารทะเล (ปลา)
  • ออกกำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ประเภท Weight Training ช่วยส่งเสริมให้ปริมาณไขมันอยู่ในระดับที่เหมาะสม 

HOW-TO ฟื้นฟูฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน

ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน มีความสำคัญมากสำหรับผู้หญิง ดังนั้นการดูแลสุขภาพกายรวมถึงสภาพจิตใจ จะช่วยให้ฮอร์โมนต่างๆ ทำงานได้อย่างสมดุล 

  • ลดความเครียด 
  • ลดการอักเสบต่างๆ ของร่างกาย 
  • ดูแลลำไส้ให้มีสุขภาพดี
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ทานวิตามินเสริม เช่น Magnesium วิตามินบี หรือ Fish Oil

เมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจน และ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน มีระดับต่ำ (อยู่ในวัยหมดประจำเดือน)

ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ จะส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมากผิดปกติ หนาวสั่น เป็นลม หรือวิงเวียนศีรษะได้ง่าย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในอาการของฮอร์โมนที่ไม่สมดุล สามารถเพิ่มความสมดุลของฮอร์โมนด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้

  • รับประทานสารอาหารเพิ่มเติม เสริมด้วยการรับประทาน นํ้ามะพร้าว ถั่วเหลือง หรือ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่  โดยในส่วนไขมันนั้น ควรรับประทานอาหารที่มีไขมันดี เช่น ปลาทะเล ธัญพืช เมล็ดเจีย ถั่วเปลือกแข็ง เต้าหู้ ถั่วเหลือง อะโวคาโด ในปริมาณที่เหมาะสม
  • ออกกำลังกายให้ครบทั้ง 3 ส่วน 
  1. Weight training เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ซึ่งมีส่วนสำคัญกับการป้องกันการล้มในผู้สูงอายุทำให้ฮอร์โมนทำงานได้ดี
  2. Stretching ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับส่วนต่างๆของร่างกาย
  3. Cardio ออกกำลังกายเพื่อให้หัวใจสูบฉีดเลือด เพื่อความแข็งแรงของหัวใจ นอกจากนี้ควรออกกำลังกายประเภทที่มี Weight Bearing ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่มีการลงนํ้าหนัก เพื่อความแข็งแรงของกระดูก 

หากคุณมีภาวะก่อนมีประจำเดือน ประจำเดือนมาไม่ปกติ อ่อนเพลียง่าย หรือต้องการปรับพฤติกกรรมการใช้ชีวิต เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก  เพื่อเข้าร่วมโปรแกรม Personalized Lifestyle Medicine ที่ออกแบบมาเพื่อเฉพาะบุคคล ตอบสนองทุกปัญหาที่เกี่ยวกับความไม่สมดุลของฮอร์โมน เราพร้อมดูแลรักษาสุขภาพร่างกาย และจิตใจของท่านให้แข็งแรงอย่างครบถ้วน สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

ภูมิคุ้มกันต่ำเพิ่มโอกาสติดโควิด แก้ไขได้อย่างไร?

    /    บทความ    /    ภูมิคุ้มกันต่ำเพิ่มโอกาสติดโควิด แก้ไขได้อย่างไร?

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

ภูมิคุ้มกันต่ำเพิ่มโอกาสติดโควิด แก้ไขได้อย่างไร?

โควิด-19 เป็นไวรัสที่จะแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เซลล์ของเชื้อไวรัสโคโรนา จะเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อในร่างกาย ส่งผลต่อการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน ทั้งปริมาณและคุณภาพ ซึ่งทำให้ร่างกายไม่สามารถควบคุมเชื้อโรคไม่ให้กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ ทั้งนี้เชื้อไวรัสนั้นจะเข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรงจะติดเชื้อได้ง่าย และยังทำให้เชื้อลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ได้เร็วกว่าผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี

ระบบภูมิคุ้มกัน (Immune System)

ระบบภูมิคุ้มกัน เป็นระบบที่ช่วยในการดักจับเชื้อโรค สิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย หากร่างกายมีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ ก็จะยิ่งทำให้เชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น หากร่างกายขาดระบบภูมิคุ้มกัน ก็เหมือนร่างกายไม่มีเกราะป้องกัน ทำให้ร่างกายได้รับแบคทีเรีย เชื้อไวรัส ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันสามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ ภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ จากการสร้างขึ้นเอง (Active Immunity) และภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ ได้รับจากภายนอก (Passive Immunity) โดยสามารถแยกประเภทได้ดังนี้

1. ภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ จากการสร้างขึ้นเอง (Active Immunity) แบ่งออกเป็น

  • Active naturally acquired immunity คือ ภูมิคุ้มกันเกิดภายหลังจากการเป็นโรคติดเชื้อตามธรรมชาติ สามารถป้องกันการติดเชื้อซ้ําได้เช่น หัด สุกใส ส่วนมากมักมีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต
  • Active artificially acquired immunity คือ ภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการได้รับวัคซีน ทำให้กระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกัน สามารถช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ หากมีการติดเชื้อ

2. ภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ ได้รับจากภายนอก (Passive Immunity)

  • Passive naturally acquired immunity เกิดจากได้รับภูมิคุ้มกันโดยตรง จากแม่ไปสู่ลูก ผ่านทางน้ํานมแม่ โดยจะมีผลคุ้มครองในช่วงต้นของชีวิตเท่านั้น
  • Passive artificially acquired immunity เกิดจากการได้รับแอนติบอดีหรือภูมิคุ้มกันสําเร็จรูป เช่น การฉีด Equine Rabies Immunoglobulin (ERIG) ให้ กับผู้ที่ถูกสุนัขบ้ากัด หรือการฉีด Antivenom ให้กับผู้ที่ถูกงูพิษกัด โดยภูมิคุ้มกันแบบนี้อยู่ได้ไม่นาน สามารถถูกทําลายโดยร่างกาย

การสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน

การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจะช่วยป้องกันเชื้อโรคในการเข้ามาทำร้ายร่างกาย ช่วยในการลดการแพร่ระบาดของโรค ลดการเจ็บป่วย และการเสียชีวิต โดยสามารถเริ่มจากตัวคุณเองด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต ทั้งในด้านการรับประทานอาหาร การพักผ่อน ดังนี้ 
  • รับวิตามินดีเพิ่มเติมจากแสงแดด โดยให้มือ แขนและขา สัมผัสแดดเพียงครั้งละ 15 นาที ในช่วงเวลาที่แดดไม่จัดจนเกินไป ได้แก่ก่อน 10 นาฬิกา และหลัง 15 นาฬิกา ทั้งนี้วิตามินดีมีความสำคัญมากต่อการทำงานอย่างสมดุลของระบบภูมิต้านทาน
  • รับธาตุสังกะสีให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เช่น อาหารทะล เนื้อสัตว์ เต้าหู้ ข้าวกล้อง เห็ด ผักโขม งาดำ ถั่วแดง มะม่วงหิมพานต์ ถั่วลิสงานโรค หากภูมิต้านทานโรคทำงานเกินพอดีจะส่งผลเสียต่อร่างกายในทุกระบบ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับให้เพียงพอและเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เพื่อให้ร่างกายสามารถหลั่งโกรทฮอร์โมนได้ในปริมาณมาก ช่วยในการชะลอวัย สมองจะได้รับการฟื้นฟู
  • รับวิตามินซีให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เนื่องจากวิตามินซีมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย โดยควรได้รับในปริมาณอย่างน้อย 400 มิลลิกรัมต่อวัน นอกจากจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแล้ว ยังช่วยให้ระบบขับถ่ายในร่างกายสามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติ 
  • จัดการกับความเครียด อารมณ์เครียดจะส่งผลเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนที่มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกัน ของร่างกาย ทำให้ภูมิต้านทานต่อโรคต่างๆ ลดลงจึงเกิดการติดเชื้อได้ง่าย จึงไม่ควรปล่อยให้ตัวเองเครียด สามารถใช้วิธีการต่างๆ เพื่อลดความเครียด เช่น การทำสมาธิ การออกกำลังกาย การทำสวน รดน้ำต้นไม้ เล่นกับสัตว์เลี้ยง ซึ่งสามารถช่วยลดความเครียดลงได้
  • ออกกำลังกายอย่างพอเหมาะเป็นประจำ นอกจากช่วยให้กล้ามเนื้อร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังช่วยขับของเสียผ่านทางเหงื่อ และเพิ่มปริมาณการไหลเวียนเลือด ช่วยกระตุ้นให้ระบบการไหลเวียนเลือดดีขึ้น แล้วทำให้เม็ดเลือดขาวแข็งแรงสามารถจัดการกับเชื้อโรค อีกทั้งร่างกายจะหลั่งสารเอนดอร์ฟินออกมาหลังการออกกำลังกายเพื่อช่วยทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย ลดความเครียด และความวิตกกังวล ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคภัยได้ ควรออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อยวันละ 30 นาที 3 – 4 วันต่อสัปดาห์
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำ การไปตรวจสุขภาพจะช่วยให้เราเข้าใจสุขภาพของตัวเอง และหากพบกับโรคร้ายก็จะทำให้เรารับมือได้อย่างทันท่วงที การไปตรวจสุขภาพจึงไม่ใช่เรื่องน่ากลัว ยิ่งไปตรวจสุขภาพกับศูนย์บริการที่ดีมีมาตรฐานก็ยิ่งช่วยให้รู้สึกอุ่นใจมากยิ่งขึ้น
อาหารเสริมสร้างภูมิต้านทานช่วยต้านโควิด-19

ภูมิต้านทานทำหน้าที่คุ้มกันเราจากการติดเชื้อ ต้านทานโรคไม่ให้ลุกลามและหายในที่สุด ภูมิต้านทานโรคจะสมบูรณ์เมื่อเรามีร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ การรับประทานอาหารจึงถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกายได้ ดังนี้
  • ผักและผลไม้หลากหลายสีและหลากหลายชนิด เพื่อเสริมวิตามินชี และสารต้านอนุมูลอิสระ
  • รับประทานอาหารกลุ่มที่ให้จุลินทรีย์โปรไบโอติกส์อย่างสม่ำเสมอ เช่น โยคิร์ต นัตโตะ กิมจิ มิโสะ เนยแข็ง แตงกวาดอง
  • ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ อุดมไปด้วยวิตามินซี ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
  • ปลา มีกรดไขมันโอเมก้า 3 และไขมันที่มีประโยชน์ ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวทำงานได้ดีขึ้นและช่วยให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • Low-carb หรืออาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ มีส่วนช่วยสร้างความแข็งแรงให้ร่างกายในระยะยาว มีผลดีต่อความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด ระบบการเผาผลาญอาหารและการควบคุมน้ำหนัก มีผลการวิจัยพบว่าผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานหรือระบบการเผาผลาญอาหารบกพร่องมีความเสี่ยงที่จะมีอาการป่วยรุนแรงหากได้รับเชื้อโควิดมากกว่าคนทั่วไป

หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร หรืออาหารเสริมที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สามารถเข้ามารับคำแนะนำ หรือรับการรักษาโดยแพทย์ได้ที่  พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก ด้วยบริการ Lifestyle Medicine ที่ให้คำแนะนำตามความต้องการของบุคคล ด้วยแพทย์จากพรีโมแคร์ที่พร้อมให้คำปรึกษาอย่างรอบด้าน ภายใต้การดูเเลอย่างใกล้ชิดจากบุคลากรทางการเเพทย์ของพรีโมเเคร์ สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่  

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

พรีโมแคร์ขอแชร์! ท่าออกกำลังกายบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่าง

    /    บทความ    /    พรีโมแคร์ขอแชร์! ท่าออกกำลังกายบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่าง

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

พรีโมแคร์ขอแชร์! ท่าออกกำลังกายบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่าง

อาการปวดหลังส่วนล่างเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การนั่งผิดท่า การใช้งานกล้ามเนื้อหลังเป็นระยะเวลานาน อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่าง คือ มีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ Quadratus lumborum (Quadratus lumborum muscle strain: QL) ที่ทำงานหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน จึงทำให้กล้ามเนื้อมัดนี้เกร็งตัวค้างไว้ จนทำให้เกิดอาการปวดบริเวณหลังส่วนล่างได้

Quadratus Lumborum

กล้ามเนื้อ Quadratus lumborum วางตัวอยู่ช่วงหลังช่วงล่าง (Lower back) โดยเกาะระหว่างซี่โครงและกระดูกสันหลังกับกระดูกเชิงกราน ในบริเวณของกระดูกสันหลังส่วนเอว มีพื้นที่คล้ายกับพื้นที่รูปสี่เหลี่ยม โดยกล้ามเนื้อ QL ทำหน้าที่ในการ แอ่นหลัง ช่วยเพิ่มความมั่นคงให้กับข้อกระดูกสันหลังระดับเอว โดยสามารถแบ่งออกเป็น 4 ข้อหลัก ดังนี้

  • ช่วยรักษาความมั่นคงของเชิงกรานขณะที่ลำตัวตั้งตรง
  • พับลำตัวไปทางด้านข้าง
  • ช่วยในการเหยียดหลัง
  • เป็นกล้ามเนื้อแกนกลางที่มีส่วนช่วยในการหายใจร่วมกับกระบังลม

อาการปวดหลังส่วนล่าง

เมื่อกล้ามเนื้อส่วน Quadratus lumborum มีการทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน จะส่งผลให้กล้ามเนื้อมัดนี้เกร็งตัวค้างไว้ จนทำให้เกิดอาการปวดบริเวณหลังส่วนล่างได้ โดยสาเหตุทำให้กล้ามเนื้อ Quadratus lumborum เกิดอาการตึง มีดังนี้
  • การใช้งานกล้ามเนื้อเป็นระยะเวลานาน เช่น นั่งหรือยืนผิดท่าเป็นเวลานานๆ ทำให้กล้ามเนื้อหลังกดตัวค้าง จนเกิดการบาดเจ็บ และทำให้เกิดอาการเกร็งและปวดในที่สุด หรือ การยกของหนัก ทำให้กล้ามเนื้ออักเสบ
  • กล้ามเนื้อสะโพกอ่อนแรง ทำให้กล้ามเนื้อ Quadratus lumborum ต้องทำงานเพิ่มมากขึ้น
  • นอนหมอนสูง หรือนอนตะแคงตลอดคืน จะทำให้เอวด้านบนหดงอเข้าหากัน ส่งผลให้กล้ามเนื้อ Quadratus lumborum มีการหดตัวอยู่ตลอดเวลา เมื่อกล้ามเนื้อตึงมากๆ จึงทำให้มีอาการปวดได้
  • การใช้กล้ามเนื้อข้างเดียวเป็นระยะเวลานาน เช่น การยืน นั่งเอียงตัว นั่งชันเข่า หรือนั่งพับเพียบข้างใดข้างหนึ่งตลอดเวลา เพราะกล้ามเนื้อจะทำให้กล้ามเนื้อ Quadratus lumborum ข้างนั้นทำงานหนักอยู่ฝั่งเดียว

 การรักษาอาการปวดหลังส่วนล่าง

เมื่อเกิดอาการปวดหลังส่วนล่างนั้น ผู้ป่วยสามารถที่จะเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันได้ในเบื้องต้น เช่น ท่าทางในการยืน นั่ง หรือนอน แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้นควรที่จะรับคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อทำกายภาพบำบัด และออกกำลังยืดกล้ามเนื้อ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อและบรรเทาอาการปวด

  • การประคบเย็น 10-15 นาที วิธีนี้ใช้เมื่อมีอาการปวดภายระยะเวลา 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ความเย็นจะช่วยลดอาการอักเสบและอาการปวดลงได้ หากเกิน 72 ชั่วโมงหลังจากมีอาการปวดควรใช้การประคบอุ่นเป็นเวลา 15-20 นาที
  • การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เนื่องจากการยืดกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างจะช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวลดอาการตึง และช่วยบรรเทาอาการปวดลงได้
  • การปรับท่านั่ง หรือท่าทางในชีวิตประจำวัน หลีกเลี่ยงการนั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน ทั้งนี้หากทำตามวิธีเบื้องตนแล้วอาการปวดยังไม่ทุเลาลง หรือมีอาการปวดเพิ่มขึ้น ควรปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดเพื่อให้ได้รับการรักษาให้ถูกต้องต่อไป
  • รับการรักษาทางกายภาพบำบัด โดยใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดในการลดอาการปวด เช่น Ultrasound therapy, Shockwave therapy เพื่อช่วยรักษาอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อ และลดอาการปวดเเละการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ

ท่ายืดกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง

การยืดกล้ามเนื้อ (stretching exercise) เป็นการออกกำลังกายที่สำคัญในการเตรียมความพร้อมให้โครงสร้างร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อที่ต้องทำการเคลื่อนไหวให้มีความยืดหยุ่น และช่วยป้องกันการบาดเจ็บจากการใช้กล้ามเนื้อ โดยพรีโมแคร์ขอแนะนำ 3 ท่ายืดกล้ามเนื้อ ดังนี้

  1. นั่งบนส้นเท้า ไต่มือไปด้านหน้า จากนั้นค่อยๆ ไต่มือไปด้านตรงข้ามที่ต้องการยืด
  2. นั่งขัดสมาธิ ยกแขนด้านที่ต้องการยืด เอียงไปด้านตรงข้าม จากนั้นโน้มตัวลงด้านหน้า
  3. ยืนขาข้างที่ต้องการยืดไปด้านหลังและหุบเข้าด้านในเล็กน้อย เอียงตัวเข้าหากำแพงหรือที่จับ บิดลำตัวมองเล็กน้อย มองลงด้านล่าง

หากท่านมีอาการปวดที่กล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง ต้องการที่จะทำกายภาพบำบัด หรือสนใจท่ายืดกล้ามเนื้อเพิ่มเติม สามารถเข้ามารับคำแนะนำ หรือรับการรักษาโดยแพทย์ และนักกายภาพได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก เรามีความชำนาญและมีความรู้ในด้านการดูแลสุขภาพ ภายใต้การดูเเลอย่างใกล้ชิดจากบุคลากรทางการเเพทย์ของพรีโมเเคร์  สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่ 


References

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

Text Neck Syndrome : โรคยอดฮิต ของคนติดมือถือ

    /    บทความ    /    Text Neck Syndrome : โรคยอดฮิต ของคนติดมือถือ

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

Text Neck Syndrome : โรคยอดฮิต ของคนติดมือถือ

คืออาการปวดเรื้อรังบริเวณต้นคอ บ่า ไหล่ หรือสะบัก ที่มีสาเหตุมาจากการก้มหน้าเป็นเวลานาน ซึ่งอาจเกิดจากการก้มหน้าเล่นมือถือ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์สื่อสารอื่นๆ ทั้งนี้อาการของโรค Text Neck Syndrome มีหลายระดับ โดยหากมีอาการแนะนำให้มาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรักษาได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้อาการดีขึ้นและไม่ให้อาการกลับมาเป็นอีก

Text Neck Syndrome

คือโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทส่วนคอ ซึ่งเป็นกลุ่มอาการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่าและไหล่ รวมไปถึงความเสื่อมของกระดูกข้อต่อ หรือหมอนรองกระดูกบริเวณคอ เกิดจากการบาดเจ็บที่บริเวณคอ จากการใช้งานโทรศัพท์มือถือ หรือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆเป็นเวลานานเกินไป โดยการก้มหน้าลงทุก ๆ องศา ทำให้คอและบ่าต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้น

  • ก้มหน้า 15 องศา คอและบ่าต้องรับน้ำหนัก 5 กิโลกรัม
  • ก้มหน้า 30 องศา คอและบ่าต้องรับน้ำหนัก 18 กิโลกรัม
  • ก้มหน้า 45 องศา คอและบ่าต้องรับน้ำหนัก 22 กิโลกรัม
  • ก้มหน้า 60 องศา คอและบ่าต้องรับน้ำหนัก 27 กิโลกรัม

ทั้งนี้เมื่อคอและบ่าต้องรับน้ำหนักที่มากขึ้นและเป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อบริเวณคอ ส่งผลให้เกิดอาการปวดต่าง ๆ ในที่สุด ซึ่งอาการความรุนแรงของโรค Text Neck Syndrome มีหลายระดับ หากมีอาการแล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม สามารถส่งผลรุนแรงต่ออาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อได้ 

อาการของ Text Neck Syndrome

โดยอาการของโรค Text Neck Syndrome มีหลายระดับ โดยมีตั้งแต่อาการปวดเล็กน้อย มีอาการอักเสบของกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า สะบัก และหัวไหล่ ไปจนถึงอาการที่สามารถสร้างปัญหารุนแรง ซึ่งก่อให้เกิดการกดทับของไขสันหลัง หรือรากประสาทบริเวณคอ สังเกตอาการที่เป็นสัญญาณเตือนได้ดังนี้

  • รู้สึกเมื่อย ตึง ที่กล้ามเนื้อบริเวณคอ 
  • ปวดบริเวณ คอ บ่า ไหล่ หรือสะบัก หรือมีอาการปวดเรื้อรัง
  • ปวดร้าวไปในบริเวณส่วนอื่นๆของร่างกาย เช่น ศีรษะ หรือแขน 
  • อาการอื่นๆ เช่น อาการชา หรืออ่อนแรงจากกระดูกคอเสื่อม หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท

 การป้องกัน-รักษา Text Neck Syndrome

เนื่องจากอาการของ Text Neck Syndrome เกิดจากการใช้พฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่ไม่ถูกต้อง ทำให้สรีระในร่างกายอยู่ในท่าทางที่ไม่ถูกต้องในระยะเวลาที่นานเกินกว่าร่างกายจะรับไหว ดังนั้นจึงสามารถป้องกันได้โดยการทำกายภาพบำบัด เพื่อปรับท่าทาง และบรรเทาอาการบาดเจ็บของร่างกาย รวมถึงปรับพฤติกรรมให้ถูกต้อง ดังนี้

  • ใช้เครื่องมือเพื่อคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการปวด อักเสบ โดยใช้การรักษาด้วยคลื่นอัลตราซาวด์ (Ultrasound) เเละการบำบัดด้วยพลังงานคลื่นกระแทก (Shockwave) เพื่อลดการปวดเรื้อรัง
  • ออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นบริเวณคอ บ่า ไหล่
  • จัดท่าทางหรืออุปกรณ์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยให้ขอบบนหน้าจออยู่ระดับสายตา
  • ไม่ใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆติดกันเป็นเวลานาน หรือมีพักเป็นระยะ ลดเวลาในการใช้งาน
  • เปลี่ยนอิริยาบถทุก 15-20 นาที ระหว่างวัน

ท่าออกกำลังกายป้องกัน Text Neck Syndrome

ทั้งนี้ผู้ที่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆเป็นเวลานาน สามารถนำท่าออกกำลังกายจากพรีโมแคร์มาปรับใช้เป็นประจำ เพื่อป้องกันอาการจากโรค Text Neck Syndrome ได้ง่ายๆ เพียงอาทิตย์ละ 3-4 ครั้ง ด้วยท่าออกกำลังกาย 4 ท่าจากพรีโมแคร์ ดังนี้

  1. Around the world : ถือลูกบอลหรือขวดน้ำขนาดเล็กทั้งสองข้าง กดสะบักลง กางแขนขึ้นด้านบนวาดเป็นวงกลม  จากนั้นกดสะบักลงแล้วค่อย ๆ วาดแขนกลับลงมาที่เดิม
  2. Open book : นอนตะแคง งอเข่า และสะโพก เอื้อมแขนไปด้านหน้าแล้วเปิดแขนหันหน้าและลำตัวไปด้านตรงข้าม 
  3. Serratus wall slide : งอศอก 90 องศา เอื้อมแขนไปที่กำแพง แล้วเลื่อนขึ้น-ลง สามารถเพิ่มความยากด้วยการใส่ยางยืดที่แขน
  4. Y raise : นอนคว่ำ กางแขนเป็นรูปตัว Y ประมาณ 120 องศา กดสะบักลง จากนั้นยกแขนขึ้น 
โดยทุกท่าสามารถทำได้ 12 – 15 ครั้ง/ เซต,ทั้งหมด 2-3 เซต และขณะทำต้องไม่รู้สึกเจ็บ 

ฟื้นฟูกระดูกเเละกล้ามเนื้อต่างๆ ในร่างกายด้วยการทำกายภาพบำบัดจากนักกายภาพที่พร้อมให้คำแนะนำ พร้อมดูแลอย่างต่อเนื่อง สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก  เราพร้อมดูแลรักษาสุขภาพร่างกาย และจิตใจของท่านให้แข็งแรงอย่างครบถ้วน สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่ 

References

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

พรีโมแคร์ขอแชร์ 6 ท่ายืดกล้ามเนื้อ ห่างไกลออฟฟิศซินโดรม!

    /    บทความ    /    พรีโมแคร์ขอแชร์ 6 ท่ายืดกล้ามเนื้อ ห่างไกลออฟฟิศซินโดรม!

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

พรีโมแคร์ขอแชร์ 6 ท่ายืดกล้ามเนื้อ ห่างไกลออฟฟิศซินโดรม!

การยืดกล้ามเนื้อ หรือ Stretching นั้นสำคัญกว่าที่คิด เนื่องจากการยืดกล้ามเนื้อเป็นประจำทุกวัน วันละ 15 นาที จะช่วยให้ร่างกายเพิ่มความยืดหยุ่นตัวของกล้ามเนื้อและข้อต่อ ส่งผลให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย หรือลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย หากทำเป็นประจำ จะช่วยลดอาการบาดเจ็บของร่างกาย และช่วยป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรมได้อีกด้วย

ประโยชน์ของการยืดกล้ามเนื้อ

การยืดกล้ามเนื้อเป็นประจำทุกวัน จะช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย หรือลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ป้องกันการบาดเจ็บจากการยึดของเอ็น ข้อต่อ และ กล้ามเนื้อ อีกทั้งยังมีประโยชน์อีกมากมาย ดังนี้

  • ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นตัวของกล้ามเนื้อและข้อต่อ หรือช่วยลดอาการปวดหลัง ปวดไหล่จากออฟฟิศซินโดรม
  • ช่วยลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อและข้อต่อ การยืดเหยียดจะช่วยบรรเทาความตึงเครียดในกล้ามเนื้อทำให้รู้สึกผ่อนคลายลง
  • ช่วยให้ออกกำลังกายได้ดียิ่งขึ้น พัฒนาระบบการทำงาน ของร่างกายและการเคลื่อนไหว ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
  • ลดความอ่อนล้าในระหว่างวัน การยืดกล้ามเนื้อด้วยท่าง่าย ๆ ไม่กี่นาทีจะช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด 

หลักปฏิบัติในการยืดกล้ามเนื้อ

การยืดเหยียดกล้ามเนื้อจะช่วยให้เอ็นข้อต่อและเส้นใยกล้ามเนื้อ ที่ได้รับการยืดเหยียดมีความยาวและมุมการเคลื่อนไหวที่ดี ทำให้สามารถช่วยป้องกันการฉีกขาดของเส้นใยกล้ามเนื้อ และลดการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นในการใช้ชีวิตประจำวันได้

  • ควรทำการยืดกล้ามเนื้อเป็นประจำทุกวัน หรือ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
  • ควรทำการยืดกล้ามเนื้อก่อนและหลังทำการออกกำลังกายทุกครั้ง
  • ควรทำการผ่อนคลายส่วนที่กำลังยืด
  • ควรทำการยืดกล้ามเนื้อจนกระทั่งถึงจุดที่รู้สึกตึง แล้วหยุดนิ่งค้างไว้ประมาณ 10 – 15 วินาที
  • ไม่กลั้นลมหายใจในขณะทำการยืดกล้ามเนื้อ
  • ไม่ควรเคลื่อนไหวในลักษณะกระตุก กระชาก ในขณะทำการยืดกล้ามเนื้อ
  • ควรจัดท่าทางในการยืดกล้ามเนื้อในแต่ละท่าให้ถูกต้อง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการยืดกล้ามเนื้อสูงสูด

หมายเหตุ: หากมีอาการปวดหลังร่วมกับอาการต่างๆ เช่น มีอาการปวดชาร้าวลงขาหรือแขน, มีอาการอ่อนแรงของแขนหรือขา, กลั้นอุจจาระ ปัสสาวะลำบาก, มีไข้,เบื่ออาหาร หรือน้ำหนักลด ควรมาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาต่อไป

ท่ายืดกล้ามเนื้อจากพรีโมแคร์

การยืดเหยียดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ อาจจะใช้เป็นการยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบมีการเคลื่อนที่ (Dynamic stretching) และการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ (Cool down) ใช้การยืดเหยียดแบบค้างอยู่กับที่ (Static stretching) โดยท่ายืดกล้ามเนื้อมีดังนี้

  • ท่าที่ 1: นอนคว่ำ มือแนบข้างลำตัว โดยมักเป็นท่าเริ่มออกกำลังกายสำหรับผู้ที่มีอาการปวดหลังมาก ค้างท่านี้ไว้ 20-30 นาที
  • ท่าที่ 2: นอนคว่ำ งอศอกกางออกเท่าไหล่ ค่อยๆยกศีรษะและลำตัวจนกระทั่งหน้าอกพ้นพื้น ค้างท่านี้ไว้ 10 วินาที ทำทั้งหมด 10 ครั้ง
  • ท่าที่ 3: นอนคว่ำ วางมือทั้ง 2 ข้างด้านหน้าต่อไหล่ ค่อยๆยกศีรษะจนกระทั่งสะดือพ้นพื้น โดยลำตัวส่วนล่างติดกับพื้น  ค้างท่านี้ไว้ 10 วินาที ทำทั้งหมด 10 ครั้ง
  • ท่าที่ 4: ยืนตรง กางขาออกเล็กน้อย มือ2ข้างวางไว้ที่หลัง แอ่นตัวไปด้านหลังช้าๆ โดยใช้มือที่วางข้างหลังดันตัวไปข้างหน้า  ค้างท่านี้ไว้ 10 วินาที ทำทั้งหมด 10 ครั้ง
  • ท่าที่ 5: นอนหงาย ชันเข่าและยกเข่าทั้ง2ข้างขึ้น โดยใช้มือช่วยดันขาให้ชิดหน้าอกมากที่สุด กดลำตัวช่วงบนให้แนบกับพื้น  ค้างท่านี้ไว้ 10 วินาที ทำทั้งหมด 10 ครั้ง
  • ท่าที่ 6: นั่งบนเก้าอี้ โดยฝ่าเท้าทั้ง 2 ข้างติดพื้น กางขาออกเล็กน้อย ค่อยๆก้มตัวลงจนมือทั้ง 2 ข้างแตะพื้น  ค้างท่านี้ไว้ 10 วินาที แล้วค่อยๆเงยหน้าขึ้นช้าๆ ทำทั้งหมด 10 ครั้ง

การรักษาทางกายภาพบำบัด 

หากท่านมีอาการปวด หรือมีอาการออฟฟิศซินโดรม ในระยะแรกนั้นจะเป็นการยืดกล้ามเนื้อและเคลื่อนไหวโดยไม่ใช้แรงเพื่อทำให้กลับมาสามารถเคลื่อนไหวได้เท่าเดิมและลดอาการปวด ร่วมกับการใช้เครื่องมือ ทั้งนี้นักกายภาพบำบัดจะเป็นผู้วางแผนการรักษาให้เหมาะกับผู้ป่วย ดังนี้

  • การเสริมสร้างกล้ามเนื้อ (Strengthening) นักกายภาพบำบัดจะแนะนำท่าออกกำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนื้อเพื่อลดอาการปวดบริเวณที่บาดเจ็บ นอกจากนี้หากบริเวณดังกล่าวแข็งแรงขึ้น ก็จะช่วยลดโอกาสบาดเจ็บซ้ำแบบเดิมอีกด้วย
  • การใช้เครื่องมือ เช่น คลื่นอัลตราซาวด์ หรือ คลื่นกระแทก เพื่อบำบัดรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออื่นๆ เป็นการใช้ความร้อนเข้าไปช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในเนื้อเยื่อ ช่วยให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่นได้มากขึ้น และเพิ่มช่วงมุมการเคลื่อนไหว
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Activity modification) นอกจากนักกายภาพบำบัดจะช่วยบรรเทาอาการให้กับคุณแล้ว ยังช่วยคุณวางแผนป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำด้วย โดยแนะนำให้เปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อทำงานหนักเกินไป
หากท่านต้องการที่จะนัดหมายเพื่อปรึกษาพูดคุยกับแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัด สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก เราพร้อมดูแลรักษาสุขภาพร่างกาย และจิตใจของท่านให้แข็งแรงอย่างครบถ้วน ส่งเสริม ป้องกันเเละรักษา สุขภาพกาย โดยใช้การบริหาร ออกกำลังกาย ไปจนถึงการใช้เครื่องมือเฉพาะทาง สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่ 

References

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

สัญญาณเตือนภัย! ของอาการออฟฟิศซินโดรม


ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

เอ็นหัวไหล่อักเสบ


การอักเสบของเส้นเอ็นข้อไหล่เกิดจากการใช้งานไหล่ซ้ำๆ เป็นระยะเวลานาน โดยการใช้งานหัวไหล่หนักเกินไป จะทำให้เอ็นรอบข้อไหล่อักเสบ หรือฉีกขาดได้ ทั้งนี้หากเริ่มมีอาการปวดไหล่ อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา เพราะเอ็นหัวไหล่อักเสบนั้น เส้นเอ็นหัวไหล่ไม่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ หากฉีกขาดแล้วปล่อยทิ้งไว้ จะนำไปสู่ภาวะ ข้อไหล่เสื่อมจนต้องผ่าตัดได้ 

เอ็นหัวไหล่อักเสบ (Rotator cuff tendinitis)

อาการเอ็นหัวไหล่อักเสบ เป็นการอักเสบของเอ็นกล้ามเนื้อ โรเทเตอร์ คัฟฟ์ (Rotator cuff) หรือเอ็นรอบข้อไหล่ ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ 4 มัด มีหน้าที่ช่วยพยุงหัวกระดูกต้นแขนให้อยู่ในเบ้าข้อไหล่ โดยโรคนี้มักจะใช้เวลาในการเกิด สาเหตุอาจเกิดมาจากการใช้งานซ้ำๆ การใช้งานที่หนักเกินไป หรืออุบัติเหตุไหล่กระแทก เป็นต้น

อาการของโรคเอ็นหัวไหล่อักเสบ

  • มีอาการปวดตำแหน่งชัดเจน ปวดเฉพาะบางท่าหรือแค่บางช่วงของการเคลื่อนไหว
  • ขยับได้ลดลงในทิศที่มีอาการปวด
  • ปวดและบวมที่ด้านหน้าหัวไหล่และด้านข้างของต้นแขน
  • อาการบวมด้านหน้าของหัวไหล่
  • มีเสียง “คลิก” จากหัวไหล่เมื่อยกแขนขึ้นเหนือหัว

การรักษาโรคเอ็นหัวไหล่อักเสบ

 มีวัตถุประสงค์เพื่อลดอาการปวดและทำให้กลับไปใช้งานข้อไหล่ได้ โดยการรักษาขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัย เช่น สุขภาพ อายุ และการใช้งานที่ต้องการ ทั้งนี้วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของโรค มีได้ 2 กรณี คือ การผ่าตัด และไม่ผ่าตัด

1. กรณีไม่ผ่าตัด เริ่มต้นการรักษาด้วยการให้ทานยา ฉีดยา การทำกายภาพบำบัด ซึ่งจะพิจารณาตามความรุนแรงของโรค ดังนี้

  • การพักและปรับเปลี่ยนการใช้งาน เช่น หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หลีกเลี่ยงงานที่ต้องยกแขนสูง
  • การใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่เสตียรอยด์ จะช่วยลดการอักเสบ ลดอาการบวมและอาการปวดได้
  • การทำกายภาพบำบัด โดยการฝึกยืดเยื่อหุ้มข้อเพื่อเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ ให้สามารถกลับไปขยับและใช้งานได้เหมือนปกติ เมื่ออาการปวดลดลงแล้วจะเริ่มฝึกการเพิ่มความแข็งแรงของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อรอบๆข้อไหล่
  • การฉีดยาสเตียรอยด์  ในส่วนของบริเวณรอบๆเส้นเอ็นที่อักเสบ สามารถลดการอักเสบและอาการปวดได้ ใช้ในกรณีที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยการพัก การรับประทานอาหารและการทำกายภาพบำบัด

2. กรณีผ่าตัด การผ่าตัดที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ได้แก่ การผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง (Endoscope) ซึ่งมีการพัฒนาไปถึงขั้นการยึด ซ่อม แม้กระทั่งการสร้างเส้นเอ็นใหม่ และยังรวมไปถึงการรักษาข้ออื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกันได้อีกด้วย โดยการผ่าตัดจะใช้วิธีส่องกล้องเย็บซ่อมเส้นเอ็นไหล่และ/หรือกรอหินปูน ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดค่อนข้างน้อย ผู้ป่วยสามารถเริ่มกายภาพหลังผ่าตัดได้อย่างรวดเร็ว

การรักษาทางกายภาพบำบัด 

ในระยะแรกนั้นจะเป็นการยืดกล้ามเนื้อและเคลื่อนไหวโดยไม่ใช้แรงเพื่อทำให้กลับมาสามารถเคลื่อนไหวได้เท่าเดิมและลดอาการปวด ร่วมกับการใช้เครื่องมือ ทั้งนี้การกายภาพบำบัดเอ็นข้อไหล่อักเสบอาจมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละบุคคล นักกายภาพบำบัดจะเป็นผู้วางแผนการรักษาให้เหมาะกับผู้ป่วย ดังนี้

  • การเสริมสร้างกล้ามเนื้อ (Strengthening) นักกายภาพบำบัดจะแนะนำท่าออกกำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนื้อเพื่อลดอาการปวดบริเวณที่บาดเจ็บ นอกจากนี้หากบริเวณดังกล่าวแข็งแรงขึ้น ก็จะช่วยลดโอกาสบาดเจ็บซ้ำแบบเดิมอีกด้วย
  • การขยับเคลื่อนข้อต่อ (Joint mobilization) เป็นท่าทางการเคลื่อนไหวเพิ่มความยืดหยุ่นของเยื่อหุ้มข้อ (Joint capsule) เพื่อให้หัวไหล่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยนักกายภาพบำบัดที่มีความรู้เรื่องกายวิภาคศาสตร์ (Anatomy) จะวางแผนการเคลื่อนไหวให้
  • อัลตราซาวด์ (Ultrasound) การอัลตราซาวด์เพื่อบำบัดรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ เอ็นข้อไหล่ และเนื้อเยื่ออื่นๆ เป็นการใช้ความร้อนเข้าไปช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในเนื้อเยื่อ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการไหล่ติดร่วมด้วย ช่วยให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่นได้มากขึ้น และเพิ่มขอบเขตการเคลื่อนไหว
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Activity modification) นอกจากนักกายภาพบำบัดจะช่วยบรรเทาอาการให้กับคุณแล้ว ยังช่วยคุณวางแผนป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำด้วย โดยแนะนำให้เปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เพื่อให้หัวไหล่ไม่ทำงานหนักเกินไป
  • ปรับปรุงพื้นที่ทำงานให้เหมาะกับสรีระของตัวเอง เพราะหลายคนอาจต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน นักกายภาพบำบัดอาจแนะนำสัดส่วนที่เหมาะสม หรือแนะนำท่าออกกำลังกายง่ายๆ ที่ทำได้ที่โต๊ะทำงาน
  • การออกกำลังกายที่บ้าน การกายภาพบำบัดหัวไหล่ที่ทำกับนักกายภาพบำบัดนั้น ควรทำอย่างสม่ำเสมอ นักกายภาพบำบัดอาจแนะนำให้คุณออกกำลังกายต่อที่บ้านเป็นประจำเพื่อให้การรักษาได้ผลตามต้องการที่สุด

ตัวอย่างท่าออกกำลังกาย 
การออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อ ควบคู่ไปกับการทำกายภาพบำบัด และการใช้เครื่องมือรักษาเพื่อลดอาการปวด อาการอักเสบ 

  • Lateral raise : ยืนตรงจับยางยืดข้างลำตัว กางแขนขึ้นโดยให้รู้สึกถึงแรงตึงจากยาง ไม่เกิน 45 องศา
  • Shoulder external rotation with band : ผูกยางยืดระดับเดียวกับหัวไหล่ ดึงแขนไปด้านหลัง จากนั้นหมุนแขนขึ้นให้นิ้วโป้งชี้ไปด้านหลัง
  • Prone W,T,Y raise : นอนคว่ำ หนีบสะบักและยกแขนขึ้นจากพื้นในท่า W,T,Y ทำ 12-15 ครั้งต่อเซต 2-3 เซตต่อวัน

หากท่านต้องการที่จะนัดหมายเพื่อปรึกษาพูดคุยกับแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัด สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก เราพร้อมดูแลรักษาสุขภาพร่างกาย และจิตใจของท่านให้แข็งแรงอย่างครบถ้วน ส่งเสริม ป้องกันเเละรักษา สุขภาพกาย โดยใช้การบริหาร ออกกำลังกาย ไปจนถึงการใช้เครื่องมือเฉพาะทาง สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่ 

References


ติดต่อเรา


ติดต่อเรา

Reference

ทำความรู้จัก “โรคฝีดาษลิง” (Monkeypox) แพร่เชื้อ-ติดต่ออย่างไร?

    บทความที่เกี่ยวข้อง