Categories
Uncategorized

ทำความรู้จักอันตรายของ ‘โรคไข้ฝีดาษลิง’

    /    บทความ    /    ทำความรู้จักอันตรายของ ‘โรคไข้ฝีดาษลิง’

ทำความรู้จักอันตรายของ
‘โรคไข้ฝีดาษลิง’

ทำความรู้จักอันตรายของ ‘โรคไข้ฝีดาษลิง’

โรคไข้ฝีดาษลิง เป็นโรคที่ใกล้เคียงกับโรคอีสุกอีใส หรือไข้ทรพิษ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่า ผู้ติดเชื้อไวรัสนี้ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง อาการคล้ายกับอาการของโรคอีสุกอีใส และสามารถหายเองได้ภายในภายในไม่กี่สัปดาห์ อย่างไรก็ตามโรคฝีดาษลิง อาจมีอาการรุนแรงมากขึ้นได้ในบางกรณี และอาจทำให้เสียชีวิตได้

โรคไข้ฝีดาษลิง (Monkeypox)

โรคไข้ฝีดาษลิง หรือ Monkeypox เกิดจาก ไวรัส Othopox Virus เป็นโรคที่ใกล้เคียงกับโรคอีสุกอีใส หรือไข้ทรพิษ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่า ผู้ป่วยจะมีไข้ ร่วมกับมีตุ่มผื่นตุ่มหนองทั่วตัว และต่อมน้ำเหลืองโต โดยสายพันธุ์หลักของโรคฝีดาษลิง แบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก คือ

  • สายพันธุ์ Congo Basin พบอัตราการเสียชีวิต 10%
  • สายพันธุ์ West African พบอัตราการเสียชีวิต 1%
อาการของโรคไข้ฝีดาษลิง
 
โรคฝีดาษลิง จะมีอาการที่สังเกตได้ หลังจากที่สัมผัสเชื้อไปแล้วประมาณ 12 วัน ผู้ป่วยอาจมีอาการแสดงของโรคฝีดาษวานรมีตั้งแต่ 7-21 วัน โดยอาการจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ ระยะก่อนออกผื่น (Invasion Phase)  และ ระยะออกผื่น (Skin Eruption Phase)
 
โดยทั่วไปแล้ว อาการป่วยจะกินเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ ส่วนใหญ่สามารถหายจากโรคเองได้ แต่ในกรณีผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ มีโรคประจำตัว อาจมีภาวะแทรกซ้อน หรือเสียชีวิตได้
 
ระยะก่อนออกผื่น (Invasion Phase)  
  • เริ่มด้วยมีไข้ ปวดหัว ปวดตัว ปวดหลัง อ่อนเพลีย และต่อมน้ำเหลืองโต
  • มีอาการต่อมน้ำเหลืองโต 
  • อาจมีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย อาเจียน
  • มีอาการทางระบบหายใจ เช่น เจ็บคอ ไอ เหนื่อย 
ระยะออกผื่น (Skin Eruption Phase)
  • หลังจากมีไข้ประมาณ 1-3 วัน จะเริ่มมีอาการแสดงทางผิวหนัง มีลักษณะตุ่มผื่นขึ้น โดยเป็นตุ่มที่มีรูปแบบการเปลี่ยนแปลงตามลำดับ
  • เริ่มจากรอยแดงจุดๆ เป็นตุ่มนูนแดง ตุ่มน้ำใส ตุ่มน้ำหนอง 
  • ในระยะออกผื่น ผื่นจะกลายเป็นสะเก็ดคลุม แห้งและหลุดออกมา โดยใช้เวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์
การป้องกันโรคฝีดาษลิง  
 
ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคฝีดาษลิงแบบจำเพาะ แต่จะเป็นการรักษาเพื่อบรรเทาอาการ และควบคุมการเกิดภาวะแทรกซ้อน อัตราการเสียชีวิต โดยทาง CDC ระบุว่า โรคฝีดาษลิงนั้นนอกจากจะแพร่ระบาดผ่านการสัมผัสโดยตรงกับแผลติดเชื้อ สะเก็ดแผล หรือของเหลวจากร่างกายแล้ว โรคนี้ยังสามารถแพร่ระบาดผ่านสารคัดหลั่งทางเดินหายใจในระหว่างที่มีการสัมผัสกันเป็นเวลานาน โดยสามารถปรับพฤติกรรมในการป้องกันตัวจากโรคฝีดาษลิงได้ ดังนี้
 
  • หมั่นล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ  โดยเฉพาะหลังสัมผัสสัตว์ หรือสิ่งของสาธารณะ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่า ที่มาจากพื้นที่เสี่ยง หรือสัตว์ป่าป่วย
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ที่มีประวัติ มาจากพื้นที่เสี่ยงและมีอาการ
  • หลีกเลี่ยงการเลี้ยงหรือนำเข้าสัตว์ป่า จากต่างประเทศที่ไม่ทราบประเทศต้นทาง
  • หลีกเลี่ยงสัมผัสเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์
  • รับประทานเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุก
  • เฝ้าระวังอาการ 21 วันหลังกลับจากประเทศเขตติดโรค
  • การฉีดวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษ สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้

การติดต่อของโรคไข้ฝีดาษลิง

โรคฝีดาษลิงสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้จากการสัมผัสใกล้ชิด โดยผ่านการสัมผัสทางผิวหนังกับผู้ติดเชื้อโดยตรง หรือสัมผัสวัตถุที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส ทั้งนี้ในสัตว์ตระกูลลิง หลังได้รับเชื้อมักมีผื่นขึ้นอยู่นานประมาณ 4 – 6 สัปดาห์ และจะพบตุ่มหนองขึ้นตามร่างกาย โดยบริเวณที่พบบ่อยที่สุด คือ ใบหน้า แขนขา ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และหาง เชื้อนี้มักไม่ทำให้สัตว์ตายแต่อาจพบการตายได้บ้างในลิงแรกเกิด ลิงบางตัวอาจจะติดเชื้อโดยไม่แสดงอาการป่วยเลย 

ทั้งนี้หากเราพบผู้ติดเชื้อ หรือผู้ที่สงสัยติดเชื้อ จะต้องแยกผู้เสี่ยงติดเชื้อออกจากผู้อื่น เป็นเวลา 21 – 28 วัน จนกว่าผื่นจะตกสะเก็ด ในกรณีที่เป็นผู้สัมผัสใกล้ชิดกันกับผู้เสี่ยงติดเชื้อให้สังเกตอาการของตนเอง และแยกตัวเองออกจากผู้อื่นเช่นเดียวกัน เนื่องจากคนสามารถติดโรคนี้จากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สิ่งคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือจากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัด การแพร่เชื้อจากคนสู่คนอาจเกิดขึ้นได้แต่มีโอกาสน้อยมาก ผู้ป่วยจะแสดงอาการของโรคหลังจากติดเชื้อแล้วประมาณ 12 วัน

การรักษาโรคฝีดาษลิง
 
ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคฝีดาษลิงแบบจำเพาะ แต่จะเป็นการรักษาเพื่อบรรเทาอาการ และควบคุมการเกิดภาวะแทรกซ้อน สำหรับผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นโรคฝีดาษลิง หรือโรคฝีดาษวานร ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค หรือ CDC แนะนำให้ฉีดวัคซีนภายใน 4 วันหลังสัมผัสเพื่อป้องกันการติดโรค และฉีดวัคซีนภายใน 14 วันเพื่อลดความรุนแรงของโรค ทั้งนี้การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษ สามารถป้องกันโรคฝีดาษลิงได้ 85%  
 
การฉีดวัคซีนป้องกันฝีดาษคนหรือไข้ทรพิษสามารถป้องกันโรคฝีดาษลิงได้ด้วย ดังนั้นผู้สูงวัยที่เคยฉีดวัคซีนไข้ทรพิษมาก่อนจะยังคงมีภูมิคุ้มกันป้องกันฝีดาษลิงได้ แต่อย่างไรก็ตามผู้ที่เกิดหลังปี พ.ศ. 2523 จะไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนฝีดาษหรือไข้ทรพิษมาก่อน ขณะนี้ (เดือนกรกฎาคม 2565) โรคฝีดาษลิงยังไม่ถือเป็นการระบาดและยังไม่มีวัคซีนอยู่ในประเทศไทย

หากท่านต้องการที่จะนัดหมายเพื่อปรึกษาพูดคุยกับแพทย์ สามารถเข้ามารับคำแนะนำได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก ที่พร้อมดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของท่านอย่างครบถ้วน ส่งเสริม ป้องกันเเละรักษา สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้า ที่นี่ 
 

บทความที่เกี่ยวข้อง