Categories
Uncategorized

5 วิธีลดน้ำหนักง่ายๆ แบบสุขภาพดี ในช่วง Work from home

    /    บทความ    /    5 วิธีลดน้ำหนักง่ายๆ แบบสุขภาพดี ในช่วง Work from home

5 วิธีลดน้ำหนักง่ายๆ แบบสุขภาพดี ในช่วง Work from home

5 วิธีลดน้ำหนักง่ายๆ แบบสุขภาพดี
ในช่วง Work from home

5 วิธีลดน้ำหนักง่ายๆ ลดพุง ระหว่าง Work from home คำแนะนำการเพิ่มแรงจูงใจในการลดน้ำหนักในช่วงโควิด-19 เพื่อผลลัพธ์ที่เห็นผลทันใจ

เมื่อการ Work from home ในสถานการณ์โควิด-19 ไม่ได้สะดวกสบายไปทั้งหมด แต่มาพร้อมปัญหาอ้วน ลงพุง น้ำหนักขึ้น เพราะเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงและออกไปไหนมาไหนไม่สะดวก ไหนจะรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา กินจุบจิบระหว่างมื้อมากขึ้น บางคนเกิดความเครียดสะสมจากการทำงานโดยไม่รู้ตัวจนทำให้รู้สึกหิวกว่าปกติ แถมพอนึกจะไปวิ่งออกกำลังกายหรือไปฟิตเนสก็กลัวเชื้อโควิดอีก

ถึงอย่างนั้นก็อย่าเพิ่งถอดใจ วันนี้ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก มี 5 วิธีลดน้ำหนักง่ายๆ แบบสุขภาพดีที่ทำได้ที่บ้านมาฝากกัน

1. ปรับพฤติกรรมการบริโภค ช่วยลดน้ำหนักได้มากกว่าที่คิด

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินมีผลอย่างมากต่อการลดน้ำหนัก และอย่างที่รู้กันดีว่าถ้าไม่อยากน้ำหนักขึ้นเราก็ควรกินอาหารให้เป็นเวลา เน้นผักผลไม้ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และอาหารไขมันต่ำ ไม่กินจุบจิบระหว่างวัน รวมถึงลดขนมหวาน ขนมขบเคี้ยว น้ำหวานที่มีน้ำตาลและแคลอรี่สูงทั้งหลาย ฟังดูเหมือนง่ายแต่พอถึงเวลาก็พังไม่เป็นท่า นั่นก็เพราะการทำงานที่บ้านทำให้เรามีอิสระในการทำสิ่งต่างๆ มากกว่า การหักห้ามใจไม่ให้กินของอ้วนจึงไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายๆ

สำหรับใครที่รู้สึกว่าการฝืนใจตัวเองเป็นเรื่องยากและสุดท้ายมักต้องพ่ายแพ้ต่อความอยาก แนะนำให้ลองเปลี่ยนพฤติกรรมตามทฤษฎีผลักดัน หรือ Nudge Theory ที่กล่าวว่าคนเรามักมีพฤติกรรมเอนเอียงไปตามสิ่งแวดล้อมและความรู้สึกส่วนตัว ดังนั้นหากต้องการลดพฤติกรรมการกินที่ส่งผลให้อ้วน เราจึงควรออกแบบสิ่งแวดล้อมหรือสร้างสถานการณ์ที่จะผลักดันให้ตัวเองกินอาหารที่เป็นมิตรต่อน้ำหนักโดยอัตโนมัติ เช่น วางขนมไว้ให้ห่างสายตาเพื่อลดการบริโภค วางอาหารที่มีประโยชน์และไม่อ้วนไว้ในตู้เย็นให้อยู่ในระดับสายตา เพื่อกระตุ้นให้บริโภค หรือเปลี่ยนภาชนะใส่อาหารและช้อนให้มีขนาดเล็กลงเพื่อปรับปริมาณการกินแต่พอดี

2. แยกเวลาพักผ่อนและเวลาทำงานให้ชัดเจน

การทำงานที่บ้านอาจทำให้มีปัญหาในการแบ่งแยกเวลาพักผ่อนออกจากเวลาทำงาน ประกอบกับอุปสรรคต่างๆ ในการทำงานที่อาจทำให้เกิดการสะสมของความเครียดจนนอนไม่หลับหรือนอนหลับไม่สนิท และรู้หรือไม่ว่าการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอยังสามารถส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักได้ โดยมีงานวิจัยหลายงานชี้ว่าผู้ที่นอนน้อยหรือนอนดึกจะมีความอยากกินขนมขบเคี้ยวมากขึ้น และมักจะเลือกขนมที่มีแป้งหรือไขมันสูงอีกด้วย ระหว่างทำงานที่บ้านจึงควรเตือนตัวเองให้แบ่งเวลาพักผ่อนกับเวลาทำงานไม่ให้ทับซ้อนกัน และนอนหลับให้เพียงพออย่างเป็นเวลาทุกวัน

3. ขยับตัวนิด เคลื่อนไหวร่างกายหน่อย

อย่าเผลอนั่งทำงานเพลินตลอดทั้งวันจนแทบไม่ได้ขยับร่างกายลุกไปไหนเลย ลองตั้งเวลาหรือคอยเตือนตัวเองทุก 1 ชั่วโมงให้ลุกขึ้นมาเดินยืดเส้นยืดสายหรือขยับตัวออกกำลังกายเบาๆ หรือจะใช้โอกาสที่ได้ทำงานอยู่บ้านแบ่งเวลาช่วงพักกลางวันมาทำงานบ้านหรือทำงานสวนเล็กๆ น้อยก็ได้ เช่น ล้างจาน กวาดบ้าน รดน้ำต้นไม้ นอกจากจะช่วยให้รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่ามากขึ้นแล้ว ยังช่วยเพิ่มการเผาผลาญไขมันส่วนเกิน และป้องกันอาการปวดเมื่อยจากโรคออฟฟิศซินโดรมได้อีกด้วย

4. ออกกำลังกาย เพิ่มการเผาผลาญไขมัน

การออกกำลังกายนั้นไม่จำเป็นต้องไปที่ฟิตเนสหรือสวนสาธารณะเสมอไป ยังมีวิธีการออกกำลังลายลดไขมันที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์มากมายและทำได้ง่ายๆ ที่บ้าน อย่างเช่นการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ (Cardio) ที่ช่วยเสริมความแข็งแรงของหัวใจและปอดและช่วยเผาผลาญแคลอรี่ได้ดี เช่น วิ่งจ๊อกกิ้งอยู่กับที่ กระโดดเชือก กระโดดตบ เต้นแอโรบิก เดินขึ้นลงบันได ปั่นจักรยาน เป็นต้น

รวมถึงการออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง (Weight training) ที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและช่วยเร่งอัตราการเผาผลาญแคลอรี่ เหมาะกับคนที่ต้องการลดน้ำหนักและกระชับสัดส่วนต่างๆ ให้กลับมาเข้ารูป เช่น การทำท่าแพลงค์ (Plank) การทำท่าสควอท การวิดพื้น และการยกดัมเบล

สำหรับคนที่ไม่ชอบออกกำลังกายแบบจริงจังและชื่นชอบการเล่นเกม อาจลองเล่นเกมที่ได้ทั้งความสนุกเพลิดเพลินและได้ออกกำลังกายไปในตัวบนแพลตฟอร์มต่างๆ อย่าง Playstation, Nintendo Switch และ Xbox ที่มีเกมต่างๆ ให้ผู้เล่นได้ขยับเคลื่อนไหวร่างกายระหว่างเล่นมากมาย เช่น Beat Saber, Ring Fit Adventure, Burn It Up, Just Dance 2020 หรือจะออกกำลังกายตามคลิปใน Youtube ที่สอนท่าออกกำลังกายกึ่งเต้นตามจังหวะเพลงเพิ่มความสนุกสนาน ก็น่าจะช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการออกกำลังกายได้ไม่น้อย

5. อย่าปล่อยให้ตัวเองเครียดเกินไป

ความกดดันและความเครียดเป็นอีกตัวการสำคัญที่ทำให้เรารู้สึกหิวและกินมากผิดปกติโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากร่างกายตอบสนองต่อความเครียดโดยคิดว่าต้องชดเชยพลังงานที่ถูกใช้ไปในการต่อสู้กับความเครียด ดังนั้นถ้าอยากลดความอ้วน เราจึงควรเริ่มต้นจากการทำจิตใจให้แจ่มใส พยายามผ่อนคลายความเครียด ทำงานด้วยความสบายใจ อย่ากดดันตัวเอง เพื่อลดพฤติกรรมที่จะทำให้อ้วนและช่วยให้การลดน้ำหนักของเราได้ผลดีอย่างที่ตั้งเป้าไว้

เคล็ดลับผ่อนคลายจากความตึงเครียดที่ทำได้ด้วยตนเองมีหลายวิธีด้วยกัน เช่น การฝึกหายใจเข้าออกลึกๆ ช้าๆ การนั่งสมาธิ การทำกิจกรรรมผ่อนคลายสมอง เช่น ดูหนัง ฟังเพลง วาดรูป และยังรวมถึงการขอความช่วยเหลือหรือระบายกับคนใกล้ชิดเมื่อมีปัญหาหรือเรื่องทุกข์ใจ เพราะการเก็บปัญหาทุกอย่างไว้คนเดียวนั้นมีแต่จะทำให้เครียดมากกว่าเดิม

การปฏิบัติตามวิธีลดน้ำหนักง่ายๆ ทั้งหมดนี้พร้อมกันในคราวเดียวก็อาจเป็นเรื่องที่ยากไปสักหน่อย ลองค่อยๆ ปรับให้เกิดความเคยชินไปทีละอย่าง ให้รางวัลตัวเองบ้างเป็นครั้งคราว และพยายามอย่ากดดันตัวเองว่าจะต้องลดน้ำหนักให้ได้ในเร็ววัน เป้าหมายการลดน้ำหนักก่อนกลับไปทำงานออฟฟิศก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถของคุณอย่างแน่นอน

Work from home ทั้งทีสุขภาพต้องดี รับคำปรึกษาและเทคนิคดีๆ ในการควบคุมน้ำหนักเพิ่มเติมได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก คลิกดูรายละเอียดบริการของเราได้เลยที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

วัคซีนคืออะไร ทำไมถึงต้องฉีด? ตอบทุกข้อสงสัย

    /    บทความ    /    วัคซีนคืออะไร ทำไมถึงต้องฉีด? ตอบทุกข้อสงสัย

วัคซีน ทำไมถึงต้องฉีด ตอบทุกข้อสงสัยก่อนฉีดวัคซีน

วัคซีน ทำไมถึงต้องฉีด ตอบทุกข้อสงสัยก่อนฉีดวัคซีน

ผู้หญิงกำลังได้รับการฉีดวัคซีนที่ต้นแขนด้านขวา มีสีหน้ายิ้มแย้ม

เคยสงสัยไหมว่าวัคซีนที่เราฉีดกันตั้งแต่เด็กจนโตนั้น ทำไมถึงต้องฉีด ฉีดแล้วป้องกันโรคได้จริงไหม และมีความปลอดภัยแค่ไหน วันนี้ พรีโมแคร์จะพาไปหาคำตอบของทุกข้อสงสัย เพื่อสร้างความมั่นใจก่อนรับการฉีดวัคซีนชนิดต่างๆ โดยเฉพาะในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 แบบนี้ ที่ทุกคนต้องได้รับวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันเป็นระยะ

วัคซีนคืออะไร ทำงานอย่างไร?

ในทุกๆ วัน ร่างกายของคนเราสัมผัสเชื้อโรคมากมายที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคตามมา แต่ถึงอย่างนั้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายก็มีกลไกต่อสู้กับเชื้อโรคที่เป็นตัวการ ทั้งยังสามารถจดจำเชื้อโรคดังกล่าวและสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการติดเชื้อชนิดนั้นซ้ำในอนาคตได้ 

อย่างไรก็ตาม มีเชื้อโรคบางชนิดที่มีความรุนแรงถึงขั้นอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงหรือถึงแก่ชีวิต เช่น เชื้อโควิด-19 ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ในตอนนี้ การรอให้เกิดภูมิคุ้มกันขึ้นเองตามธรรมชาติหลังติดเชื้อจึงไม่ใช่วิธีที่ปลอดภัย

วัคซีนคือเครื่องมือสำคัญในการป้องกันโรค โดยเป็นการจำลองการติดเชื้อโดยใช้เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ อาจเป็นเชื้อที่ตายแล้ว ที่ยังไม่ตายแต่ถูกทำให้อ่อนแอลง หรือบางส่วนของเชื้อที่ไม่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อได้แล้ว ฉีดเข้าไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สร้างภูมิขึ้นมาต่อสู้กับเชื้อโรคดังกล่าวโดยไม่ต้องมีอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้นจริง 

วัคซีนมีประโยชน์อย่างไร ทำไมถึงต้องฉีดวัคซีน?

การฉีดวัคซีนช่วยป้องกันตัวคุณเองและคนรอบข้างจากการเจ็บป่วยรุนแรงและการเสียชีวิต โดยในแต่ละปีวัคซีนสามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคต่างๆ ได้ถึงประมาณ 3 ล้านคน 

นอกจากนี้ การฉีดวัคซีนยังช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันหมู่ หรือ Herd immunity ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อมีคนจำนวนมากพอที่ได้รับวัคซีน ทำให้ป้องกันการติดเชื้อไปยังผู้ที่ไม่สามารถฉีดวัคซีนได้ เช่น ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางชนิด ผู้มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เด็กอายุต่ำกว่า 2 เดือน และมีกรณีที่วัคซีนช่วยกำจัดโรคให้สูญพันธุ์จนไม่ต้องมีการฉีดวัคซีนอีกต่อไป ได้แก่ โรคฝีดาษที่ในอดีตเคยคร่าชีวิตผู้คนไปหลายร้อยล้านคน

การฉีดวัคซีน ปลอดภัยหรือไม่?

วัคซีนที่ผลิตขึ้นมาจะต้องผ่านการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยจนมั่นใจได้ว่าจะไม่เป็นอันตรายต่อผู้ที่ฉีดวัคซีน ซึ่งมักต้องใช้เวลาหลายปีในการทดลองขั้นต่างๆ จนกว่าจะได้รับการอนุมัติจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ทั้งยังมีการติดตามผลข้างเคียงจากการใช้วัคซีนนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตามในกรณีเกิดโรคระบาดรุนแรงที่ไม่เคยพบมาก่อน อาจมีการอนุมัติให้ใช้วัคซีนในกรณีฉุกเฉิน แต่วัคซีนเหล่านี้ก็ยังต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานทางความปลอดภัยและประสิทธิภาพในเบื้องต้นอยู่ดี รวมทั้งการพิจารณาชั่งน้ำหนักอย่างถี่ถ้วนว่าการอนุมัติใช้ฉุกเฉินนี้จะมีประโยชน์ในการป้องกันมากกว่าความเสี่ยงหรืออันตรายที่จะเกิดจากการฉีดวัคซีน

สำหรับสถานการณ์โรคโควิด-19 ในตอนนี้ ทางองค์การอนามัยโลกก็ได้อนุมัติให้ใช้วัคซีนโควิดหลายชนิดเป็นกรณีฉุกเฉินตั้งแต่เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2020 และวัคซีนหลายชนิดก็ได้รับการพิสูจน์ว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันและมีความปลอดภัย และยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อรับมือกับการกลายพันธุ์ของเชื้อโคโรน่าไวรัส

วัคซีนทำมาจากเชื้อโรค จึงเป็นสาเหตุให้ติดโรคนั้นๆ จริงหรือไม่?

ความเชื่อที่ว่าการฉีดวัคซีนทำให้เกิดโรคได้นั้นไม่เป็นความจริง ส่วนประกอบต่างๆ ของวัคซีนมีความปลอดภัยสูง โดยมีส่วนผสมหลักเป็นแบคทีเรีย ไวรัส หรือบางส่วนของเชื้อโรคจำนวนน้อยมากที่ตายแล้วหรือถูกทำให้อ่อนแอลง จึงมั่นใจได้ว่าการฉีดวัคซีนไม่ได้ก่อให้เกิดโรคขึ้นแต่อย่างใด และการศึกษาวิจัยในปัจจุบันพบว่า การฉีดวัคซีนนั้นปลอดภัยมากกว่าการไม่ฉีดวัคซีน

ฉีดวัคซีนมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง?

อาการข้างเคียงหลังจากได้รับการฉีดวัคซีนส่วนมากไม่รุนแรงและจะดีขึ้นเองเมื่อเวลาผ่านไป ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยในหลายวัคซีน คืออาการแดง บวม หรือปวดบริเวณที่ฉีดวัคซีน ส่วนในทารกหรือเด็กเล็กอาจรู้สึกไม่ค่อยสบาย หรือมีไข้ต่ำประมาณ 1-2 วัน 

วัคซีนป้องกันโรคได้แค่ไหน?

วัคซีนแต่ละชนิดมีประสิทธิภาพและระยะเวลาการป้องกันที่แตกต่างกันไป วัคซีนบางโรคสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ตลอดชีวิต แต่วัคซีนบางโรคอาจมีประสิทธิภาพลดลงเมื่อเวลาผ่านไป จึงต้องฉีดกระตุ้นเป็นประจำตามกำหนด เช่น วัคซีนบาดทะยักที่ควรฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี หรือโรคที่เชื้อไวรัสจะเปลี่ยนสายพันธ์ุที่รุนแรงไปในแต่ละปีอย่างไข้หวัดใหญ่ ที่ควรมีการฉีดวัคซีนป้องกันทุกปี 

โรคที่พบได้น้อยแล้ว ทำไมยังต้องฉีดวัคซีน?

การฉีดวัคซีนช่วยลดการติดเชื้อจนทำให้โรคบางโรคพบได้น้อยลงแล้วในปัจจุบัน เช่น โรคโปลิโอ หรือโรคคอตีบ แต่การฉีดวัคซีนก็ยังจำเป็นอยู่ดี เพราะหากไม่ฉีดก็จะมีคนติดเชื้อเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเกิดการแพร่กระจายต่อกันไปในวงกว้าง ถึงตอนนั้นเราอาจต้องกลับมาเริ่มต่อสู้กับโรคที่มีอัตราการติดเชื้อน้อยมากในขณะนี้แบบเริ่มนับหนึ่งใหม่ก็เป็นได้

ยกตัวอย่างกรณีศึกษาในประเทศญี่ปุ่นเมื่อครั้งอยู่ในจุดที่เรียกได้ว่าประสบความสำเร็จในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไอกรน โดยในปี 1974 มีการฉีดครอบคลุมในเด็กแล้วถึงร้อยละ 80 มีรายงานพบโรคไอกรนเพียง 393 รายทั่วประเทศ และไม่มีรายงานการเสียชีวิต แต่ต่อมาเกิดความเข้าใจผิดในวงกว้างว่าวัคซีนนี้ไม่ปลอดภัยและไม่จำเป็นต้องฉีดแล้ว

ผลปรากฏว่าในปี 1976 มีทารกที่ได้รับการฉีดวัคซีนเพียงร้อยละ 10 ทำให้ประเทศญี่ปุ่นต้องเผชิญกับการระบาดของโรคไอกรนครั้งใหญ่ในปี 1979 โดยพบผู้ป่วยมากกว่า 13,000 ราย และเสียชีวิต 41 ราย จนเมื่อเริ่มมีการกลับมาฉีดวัคซีนในวงกว้างอีกครั้ง อัตราของโรคไอกรนในญี่ปุ่นจึงค่อยๆ ลดลงในที่สุด

สร้างภูมิคุ้มกันปกป้องตัวเองและคนที่คุณรักได้ตั้งแต่วันนี้ สอบถามรายละเอียดและนัดฉีดวัคซีนที่พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

เครียด นอนไม่หลับ ทำยังไงดี? วิธีแก้นอนไม่หลับช่วงโควิด-19

    /    บทความ    /    เครียด นอนไม่หลับ ทำยังไงดี? วิธีแก้นอนไม่หลับช่วงโควิด-19

เครียด นอนไม่หลับ ทำยังไงดี? วิธีแก้อาการนอนไม่หลับช่วงโควิด-19

เครียด นอนไม่หลับ ทำยังไงดี?
วิธีแก้อาการนอนไม่หลับช่วงโควิด-19

ผู้หญิงนอนอยู่บนเตียง พยายามใช้นิ้วนวดบริเวณหัวคิ้ว เพื่อคลายความตึงเครียดที่เป็นสาเหตุของอาการนอนไม่หลับ

ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ต้องทำงานจากที่บ้าน หลายคนติดการทำงานไม่เป็นเวลาหรือทำงานจนดึก ประกอบกับสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่เอื้ออำนวย ไม่มีสมาธิในการทำงาน ทำให้เกิดความเครียดจนนอนไม่หลับ ผลที่ตามมาคือความรู้สึกอ่อนเพลียระหว่างวัน ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดความเครียดสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และอาการนอนไม่หลับก็รุนแรงขึ้นไปตามกัน 

จะมีวิธีไหนที่ช่วยให้เราหลุดพ้นจากวงจรเครียดจนนอนไม่หลับที่ไม่รู้จบนี้ได้บ้าง ลองมาเรียนรู้สาเหตุและวิธีคลายเครียดด้วยตัวเองที่คุณหมอพรีโมแคร์ เมดิคอล แนะนำกัน

ทำไมเราจึงรู้สึกเครียดเมื่อต้องทำงานที่บ้าน?

บางคนอาจคิดว่าการทำงานที่บ้าน หรือ Work from home นั้นน่าจะสะดวกสบายดี เพราะไม่จำเป็นต้องออกจากบ้านไปเผชิญรถติดและมลภาวะข้างนอก ไม่ต้องกังวลเรื่องความวุ่นวายในออฟฟิศ และคงมีสมาธิในการทำงานมากขึ้น 

แท้จริงแล้วการทำงานที่บ้านเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดการสะสมความเครียดขึ้นโดยไม่รู้ตัว ทั้งจากการที่ต้องพยายามควบคุมตนเองในการทำงาน การที่เวลาในการทำงานและพักผ่อนทับซ้อนกันจนไม่มีเวลาพักผ่อนอย่างแท้จริง ความไม่สะดวกสบายจากการทำงานที่บ้าน เนื่องจากงานบางอย่างต้องมีการระดมความคิดระดมสมองร่วมกัน หรือต้องการใครสักคนที่คอยให้คำแนะนำพูดคุยกันอยู่ตลอด

ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้จึงทำให้การทำงานที่บ้านอาจก่อให้เกิดความเครียดตามมาได้ ซึ่งความเครียดนี้เองที่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีอาการนอนไม่หลับ หลับไม่สนิท หลับๆ ตื่นๆ กลางดึก และพักผ่อนไม่เพียงพอ โดยผลสำรวจในหลายๆ ประเทศทั่วโลก พบว่าจำนวนคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหรือนอนไม่หลับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงโควิด-19 นี้

สาเหตุอาการนอนไม่หลับ

คุณหมอที่พรีโมแคร์ เมดิคอล ของเราอธิบายถึงสาเหตุของอาการนอนไม่หลับ ว่าเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ดังนี้ 

  • สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมแก่การนอน เช่น อุณหภูมิห้องที่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป มีแสงสว่างหรือเสียงดังรบกวนการนอน เป็นต้น
  • อาหารและยาบางชนิด เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ที่มีฤทธิ์กระตุ้นทำให้นอนหลับไม่สนิท การดื่มชา กาแฟ หรือน้ำอัดลมที่มีคาเฟอีนซึ่งเป็นสารกระตุ้นที่ทำให้รู้สึกตื่นตัว การได้รับสารนิโคตินจากการสูบบุหรี่ รวมถึงการรับประทานยาลดน้ำหนัก ยาแก้แพ้ ยาแก้หอบหืด และยาลดน้ำมูกบางชนิด
  • การทำงานที่มีเวลานอนไม่สม่ำเสมอ เช่น ทำงานเป็นกะ ทำงานที่ต้องเปลี่ยนเวลาเข้างานอยู่ตลอด จนทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ได้ 
  • การไม่ออกกำลังกายหรือออกกำลังกายน้อยเกินไป อาจทำให้นอนหลับยาก นอกจากนี้การออกกำลังกายในช่วงเวลาที่ใกล้กับเวลาเข้านอนเกินไปก็อาจทำให้ร่างกายตื่นตัวจนนอนไม่หลับได้เช่นกัน
  • อาการต่างๆ ทางร่างกาย เช่น ความหิว ความเจ็บปวด ความปวดเมื่อย ปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ เป็นต้น
  • ความเครียดและความวิตกกังวล หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้หลายๆ คนนอนไม่หลับ โดยเฉพาะคนวัยทำงานที่ต้องเคร่งเครียดกับการทำงาน ความเครียดทำให้เกิดผลกระทบด้านลบต่อทั้งร่างกายและจิตใจตามมา เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้อแท้ หมดกำลังใจ มีอาการซึมเศร้า ซึ่งอาการทั้งหมดนี้ยิ่งเสริมให้โรคนอนไม่หลับทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น

วิธีแก้อาการนอนไม่หลับ คลายความเครียดก่อนเข้านอน

อย่าปล่อยให้ความเครียดมาบั่นทอนคุณภาพในการนอนของเรา มาเริ่มต้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อนนอนเพื่อผ่อนคลายความเครียดและเตรียมความพร้อมต่อการนอนให้ร่างกายและสมอง ตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • วางแผนการทำงานให้เหมาะสมกับเวลาที่มีอยู่ แยกเวลาในการทำงานและพักผ่อนออกจากกัน เมื่อถึงเวลาเลิกงาน ควรหยุดคิดเรื่องงาน และให้เวลาตัวเองได้พักผ่อน
  • พยายามเข้านอนให้เป็นเวลาอย่างสม่ำเสมอ และเข้านอนทันทีที่รู้สึกง่วง เพื่อให้ร่างกายจดจำเวลานอน ปรับนาฬิกาชีวภาพในร่างกายให้สมดุล
  • จัดสภาพแวดล้อมภายในห้องนอนให้เหมาะสม ปรับอุณหภูมิให้ไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป ปิดแสงและเสียงรบกวนต่างๆ
  • รับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียมสูง เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง อัลมอนต์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และธัญพืชไม่ขัดสี เพื่อช่วยผ่อนคลายระบบประสาท ลดอาการซึมเศร้า
  • ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ บีบนวด บิดขี้เกียจ หรือแช่น้ำอุ่น เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด
  • จิบเครื่องดื่มอุ่นๆ ที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย เช่น ชาคาโมมายล์ เป็นต้น
  • สร้างบรรยากาศในการนอนด้วยการใช้กลิ่นที่ช่วยในการนอนหลับ เช่น ลาเวนเดอร์ คาโมมายล์ เป็นต้น เพื่อช่วยผ่อนคลายความเครียด ทำให้รู้สึกสงบ และปลอดโปร่ง
  • ทำกิจกรรมเบาๆ ที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง วาดภาพ นั่งสมาธิ เป็นต้น
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่ไม่ควรออกกำลังกายในช่วง 4 ชั่วโมงก่อนนอน เพราะจะทำให้ร่างกายตื่นตัวและนอนหลับยากขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์ก่อนนอน ควรวางโทรศัพท์ไว้ในตำแหน่งที่ไกลจากเตียงเพื่อป้องกันแสงจากหน้าจอโทรศัพท์รบกวนการนอน
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อหนักก่อนนอน หากรู้สึกหิว ควรรับประทานอาหารเบาๆ เช่น ขนมปัง น้ำผลไม้ นม เป็นต้น
  • งดการดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ และน้ำอัดลมที่มีคาเฟอีนอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนนอน
  • หยุดนึกถึงเรื่องที่ทำให้รู้สึกเครียด กังวล เศร้า เสียใจ พยายามไม่คิดพะวงถึงเรื่องในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง 

หากทำตามคำแนะนำข้างต้นนี้แล้วอาการนอนไม่หลับยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้รับคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อหาสาเหตุ รับการรักษา และวางแผนการนอนตามที่แพทย์แนะนำ เพราะหากปล่อยไว้จนเรื้อรังนอกจากจะส่งผลให้ไม่มีสมาธิในการทำงาน หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย ยังอาจก่อให้เกิดโรควิตกกังวล ซึมเศร้า รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจเนื่องจากการพักผ่อนที่ไม่เพียงพออีกด้วย

ให้ช่วงเวลาในการนอนหลับเป็นช่วงเวลาแห่งการพักผ่อนที่แท้จริง ด้วยการเริ่มใส่ใจดูแลสุขภาพกายและใจให้แข็งแรงตั้งแต่วันนี้ หรือรับคำปรึกษาเพิ่มเติมกับคุณหมอที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก โดยเข้าไปดูบริการของเราหรือนัดล่วงหน้าได้ที่นี่

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว: เมื่อเรามีหมอประจำตัวดูแลตั้งแต่เกิด

    /    บทความ    /    แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว: เมื่อเรามีหมอประจำตัวดูแลตั้งแต่เกิด

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว: จะเป็นอย่างไร
เมื่อเรามีหมอประจำตัวดูแลตั้งแต่เกิด

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว:
จะเป็นอย่างไรเมื่อเรามีหมอประจำตัวดูแลตั้งแต่เกิด

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว พูดคุยและตรวจอาการเด็กเล็กที่นั่งอยู่บนตักแม่ของเด็กอย่างอบอุ่นใกล้ชิด

งานวิจัยปี 2019 ในสหรัฐอเมริกา พบว่าประชาชนในระบบบริการสุขภาพแบบ Primary Care ที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป คอยให้การดูแลส่งเสริมสุขภาพในเบื้องต้นทุกๆ ด้านอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องเสมือนมีหมอประจำตัว มีแนวโน้มที่จะมีอายุยืนยาวกว่าผู้ที่ขาดการสนับสนุนจากระบบนี้ 

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปคืออะไร ทำไมการมีหมอประจำตัวถึงมีความสำคัญต่อสุขภาพและอายุขัยของเรา วันนี้ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก จะพาคุณไปหาคำตอบ

หน้าที่ของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

หลักการของเวชศาสตร์ครอบครัวเป็นแนวคิดเดียวกับนโยบาย “หมอครอบครัว” ที่ทางกระทรวงสาธารณสุขกำลังพยายามผลักดันให้เป็นรูปเป็นร่างอยู่ในตอนนี้ โดยมีเป้าหมายให้แต่ละครอบครัวมีหมอประจำตัว เป็นหมอคนเดิมที่รู้จักและเข้าใจเราเป็นอย่างดี ดูแลต่อเนื่องตั้งแต่เกิดจนโตในทุกมิติสุขภาพ ทั้งการดูแล รักษา ป้องกัน ฟื้นฟู รวมไปถึงการประสานงานส่งต่อให้แพทย์เฉพาะทางในกรณีที่จำเป็น 

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว (Family Medicine) เป็นแพทย์ที่มักอยู่ประจำคลินิกโรคทั่วไป หรือศูนย์สุขภาพใกล้บ้าน มีความเชี่ยวชาญและมีความรู้เฉพาะทางในด้านการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมให้กับคนทุกเพศทุกวัย จากความเชื่อมั่นที่ว่าสุขภาพที่ดีมีหลายปัจจัยประกอบเข้าด้วยกัน ไม่ใช่แค่สุขภาพกายและใจ หรือโรคที่เป็น แต่ยังรวมถึงมิติอื่นๆ ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นสังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ความเชื่อ ลักษณะนิสัย หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตของแต่ละคน

นอกจากนี้ เพื่อการดูแลอย่างครอบคลุมรอบด้านและต่อเนื่อง นอกจากแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแล้วยังมีแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป (General Practice: GP) ที่มีความเชี่ยวชาญในโรคทั่วไป สามารถให้การรักษาเบื้องต้นในทุกๆ โรค รวมถึงทีมสหวิชาชีพแขนงต่างๆ เช่น พยาบาล ทันตแพทย์ เภสัชกร นักกายภาพบำบัด และนักจิตวิทยา เพื่อร่วมกันดูแลผู้ป่วยอย่างครอบคลุมในทุกความต้องการด้านสุขภาพ

เวชศาสตร์ครอบครัว กับการดูแลในทุกช่วงชีวิต

โรคภัยต่างๆ โดยเฉพาะโรคเรื้อรังมักไม่มีสัญญาณเตือนแต่เนิ่นๆ ทำให้เราไม่เคยเอะใจ หากละเลยกว่าจะรู้ตัวก็อาจเข้าสู่ระยะรุนแรงที่สายเกินแก้ การดูแลใส่ใจจากหมอที่รู้จักและเข้าใจเราอย่างดีจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการคัดกรองและป้องกันการเกิดโรคตลอดช่วงชีวิตของเรา รวมไปถึงการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพทั้งกายและใจให้แข็งแรงอยู่เสมอ

ทีมแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเริ่มดูแลเราตั้งแต่วัยแรกเกิด และดูแลอย่างต่อเนื่องในทุกช่วงวัย

วัยแรกเกิด (0-2 ปี)

  • ตรวจเช็กความสมบูรณ์และดูแลป้องกันความเสี่ยงของทารกหลังคลอด
  • ตรวจพัฒนาการและการเจริญเติบโต รวมถึงการฉีดวัคซีนตามช่วงอายุที่เหมาะสม
  • คุณพ่อคุณแม่รับคำแนะนำเกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูกในแต่ละช่วงพัฒนาการอย่างสมวัยและปลอดภัยต่อเด็ก

วัยเด็ก (3-9 ปี)

เมื่ออายุเข้า 3 ขวบ เด็กควรได้รับการตรวจพัฒนาการเป็นประจำทุกปี เพื่อส่งเสริมพัฒนาการในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม โดยพ่อแม่สามารถปรึกษาและสอบถามเกี่ยวการเลี้ยงดูให้เด็กมีพัฒนาการครบถ้วนสมวัย 

นอกจากนี้ในแต่ละปีอาจมีการตรวจและการส่งเสริมพัฒนาการเด็กดังต่อไปนี้

  • ตรวจประเมินสุขภาพโดยรวม
  • ประเมินประวัติสุขภาพของคนในครอบครัวเพื่อดูความเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อเด็ก
  • ตรวจเช็กให้แน่ใจว่าเด็กได้รับวัคซีนป้องกันโรคแต่ละชนิดครบถ้วนตามเวลาที่เหมาะสม เช่น วัคซีนบาดทะยัก หัด คางทูม อีสุกอีใส ไอกรน และไข้หวัดใหญ่
  • ตรวจการมองเห็นและการได้ยิน
  • พูดคุยให้คำปรึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กหรือความกังวลในการเลี้ยงดูของพ่อแม่
  • ให้คำแนะนำเกี่ยวกับอาหารการกิน กิจกรรม และความปลอดภัยที่ควรคำนึงในการเลี้ยงดู

วัยรุ่น  (10-20 ปี)

ช่วงเวลาสำคัญในการสร้างรากฐานพฤติกรรมสุขภาพที่ดีให้ต่อเนื่องไปจนโตเป็นผู้ใหญ่ 

  • ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธ์ุ
  • ให้ความรู้ด้านเพศศึกษาและสุขภาพทางเพศ รวมถึงการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • ตรวจประเมินสุขภาพจิตและพฤติกรรมการกิน
  • ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการควบคุมน้ำหนักและทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อรักษาสุขภาพที่ดี
  • พูดคุยเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เช่น การใช้สารเสพติด การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์
  • พูดคุยเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งในโรงเรียนและสอนวิธีการรับมือเมื่อถูกกลั่นแกล้ง
  • แนะนำให้เห็นความสำคัญของการป้องกันอุบัติเหตุ เช่น การใส่หมวกกันน็อกเมื่อขับขี่รถจักรยานยนต์

วัยทำงาน (21-39 ปี)

ช่วงเวลาที่หลายคนทำงานหนักจนละเลยการดูแลสุขภาพ พฤติกรรมในช่วงเวลานี้อาจเป็นตัวกำหนดสุขภาพเมื่ออายุมากขึ้น 

  • ตรวจสุขภาพประจำปี เช่น ตรวจความดันโลหิต ตรวจไขมันในเลือด ตรวจดัชนีมวลกาย (BMI)
  • ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลอาหารการกิน การออกกำลังกาย และการควบคุมน้ำหนักเพื่อป้องกันโรคอ้วน
  • ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการความเครียด การดูแลสุขภาพจิต และอันตรายของการใช้สารเสพติด 
  • ตรวจประเมินความเครียดและประเมินสุขภาพจิตเบื้องต้น
  • ตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ุ เพื่อป้องกันโรคที่อาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์หรือก่อให้เกิดภาวะมีบุตรยากในอนาคต
  • ผู้หญิงควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยตรวจแปปสเมียร์ทุกปีตั้งแต่อายุ 21 ปีขึ้นไป
  • ตรวจสุขภาพปากและฟันทุกปี และตรวจสุขภาพตาอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำ

วัยก่อนเกษียณ (40-60 ปี)

  • ควรรับการตรวจประเมินโรคมะเร็ง เบาหวาน หัวใจ ความดันโลหิต คอเลสเตอรอลสูงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจพบและรักษาตั้งแต่ในระยะแรกเริ่ม 
  • ผู้หญิงควรตรวจแมมโมแกรมหามะเร็งเต้านมและตรวจมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ 
  • เมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป ควรเริ่มตรวจมะเร็งลำไส้ แต่หากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ แพทย์อาจแนะนำให้เริ่มตรวจเร็วขึ้น 
  • เมื่ออายุ 55 ปีขึ้นไป ผู้ชายควรตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก และแจ้งให้แพทย์ทราบหากมีปัญหาเกี่ยวการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศหรือความผิดปกติในการปัสสาวะที่อาจเป็นสัญญาณของมะเร็งต่อมลูกหมาก

วัยสูงอายุ (อายุ 61 ปีขึ้นไป)

  • ตรวจโรคต่างๆ ที่ตรวจในวัยก่อนเกษียณและยังคงมีความเสี่ยงสูงในวัยสูงอายุอย่างต่อเนื่อง
  • ตรวจสุขภาพตาและการมองเห็นอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันโรคทางสายตาที่จะยิ่งมีความเสี่ยงสูงเมื่อมีอายุมากขึ้น เช่น โรคต้อกระจก ต้อหิน เป็นต้น
  • ตรวจการได้ยิน
  • ตรวจกระดูกและข้อต่อ เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงการหกล้มกระดูกหัก
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคจากการติดเชื้อที่มีความเสี่ยงสูง เช่น โรคปอดบวม โรคงูสวัด

ในแต่ละช่วงชีวิตมีการดูแลสุขภาพที่ควรเน้นความสำคัญแตกต่างกันไป แต่คงไม่มีใครมาคอยนั่งบอกเรา ถ้าไม่ใช่หมอประจำตัวที่คุ้นเคยอย่างทีมแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ที่เน้นสร้างความเข้าใจ เอาใส่ใจอย่างรอบด้าน เพื่อปรับการดูแลรักษาและป้องกันโรคให้เหมาะกับเราที่สุด

เรื่องสุขภาพ วางใจให้ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก ช่วยดูแลคุณในทุกช่วงของชีวิต ดูรายละเอียดบริการต่างๆ ของเราได้ที่นี่เลย

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

13 ท่าบริหาร ออฟฟิศซินโดรม ทำง่าย ระหว่าง Work from home

    /    บทความ    /    13 ท่าบริหาร ออฟฟิศซินโดรม ทำง่าย ระหว่าง Work from home

13 ท่าบริหาร ออฟฟิศซินโดรม ทำง่าย ระหว่าง Work from home

13 ท่าบริหาร ออฟฟิศซินโดรม
ทำง่าย ระหว่าง Work from home

พิชิตออฟฟิศซินโดรมในช่วง Work from home ด้วยท่าบริหารยืดคลายกล้ามเนื้อง่ายๆ ที่บ้าน พร้อมวิธีแก้อาการออฟฟิศซินโดรมแบบตรงจุด

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เป็นโรคที่พบมากในกลุ่มคนทำงานออฟฟิศที่มักจะนั่งท่าเดิมเป็นเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อตึงหรือเกร็งจนเกิดอาการปวดเมื่อยตามคอ ไหล่ สะบัก หลัง และอาจลามไปถึงแขน ข้อมือ นิ้วมือ ยิ่งในช่วงโควิด-19 ที่ต้อง Work from home แบบนี้ หากไม่ดูแลตัวเองให้ดีและนั่งทำงานในท่าที่ไม่เหมาะสม ก็อาจทำให้ประสบปัญหาออฟฟิศซินโดรมได้ แม้จะไม่ได้นั่งทำงานในออฟฟิศก็ตาม

สำหรับใครที่มีอาการปวดเมื่อยหรือล้าจากการนั่งนานหรือใช้กล้ามเนื้อส่วนเดิมซ้ำๆ วันนี้คุณหมอที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิกของเรามีท่าบริหารแก้ออฟฟิศซินโดรมที่ทำได้ด้วยตนเองง่ายๆ ใช้เวลาไม่มาก มาให้ลองทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การทำงานในแต่ละวันของคุณมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ท่าบริหารแก้อาการออฟฟิศซินโดรม ป้องกันภาวะเรื้อรัง

ท่าที่ 1 ยืดกล้ามเนื้อแขนและข้อมือ

นั่งในท่าที่สบายและผ่อนคลาย ยืดหลังตรง ประสานมือเข้าด้วยกัน ยืดแขนออกไปข้างหน้าให้สุด โดยหันฝ่ามือออกนอกตัว ค้างไว้ประมาณ 5 วินาที แล้วจึงค่อยยกแขนชูขึ้นจนสุด ค้างไว้ประมาณ 5 วินาที ทำเช่นนี้สลับกัน 3-5 ครั้ง หรือจนกว่าจะรู้สึกผ่อนคลาย

ท่าที่ 2 บริหารแขนและนิ้วมือ

กำมือ แบมือ สลับกันไปมา 5 วินาที แล้วยืดแขนตรง แบมือ แล้วพลิกข้อมือคว่ำและหงาย สลับไปมา 5 วินาที ทำเช่นนี้สลับกันไปมา

ท่าที่ 3 บริหารมือ 

เหยียดแขนทั้งสองไปข้างหน้า ใช้มือซ้ายจับฝ่ามือขวา แล้วดัดข้อมือขวาเข้าหาตัว จนรู้สึกตึงบริเวณด้านในของข้อศอกขวา ทำค้างไว้ประมาณ 10 วินาที แล้วจึงสลับข้างด้วยการเหยียดแขนทั้งสองไปข้างหน้า ใช้มือขวาจับฝ่ามือซ้าย แล้วดัดข้อมือซ้ายเข้าหาตัว จนรู้สึกตึงบริเวณด้านในของข้อศอกซ้าย ทำค้างไว้ประมาณ 10 วินาที

ท่าที่ 4 ยืดกล้ามเนื้อคอ

ยกแขนขวาขึ้น พับข้อศอกนำฝ่ามือไปแนบที่ใบหูและด้านข้างของศีรษะด้านซ้าย ดันศีรษะไปด้านขวาช้า ๆ จนรู้สึกตึงที่ต้นคอ ทำค้างไว้ประมาณ 10 วินาที ก่อนที่จะสลับไปทำอีกข้าง

ท่าที่ 5 ยืดกล้ามเนื้อสะบักและต้นแขนด้านหลัง

ยกแขนขวาขึ้นเหนือศีรษะ งอแขนขวาลง ให้ฝ่ามือแตะบริเวณต้นคอด้านหลัง ยกมือซ้ายไปจับบริเวณข้อศอกของแขนขวาโดยทำมุม 90 องศา จากนั้นรั้งข้อศอกแขนซ้ายกับข้อศอกแขนขวาให้ตึง ทำค้างไว้ประมาณ 10 วินาที ก่อนที่จะสลับไปทำอีกข้าง

ท่าที่ 6 ยืดกล้ามเนื้อไหล่

นั่งหลังตรง ยืดแขนขวาตรง พับแขนข้างขวามาชิดไหล่ด้านซ้าย งอข้อศอกซ้ายล็อคบริเวณข้อศอกขวาไว้ หันศีรษะไปทางด้านขวา ทำค้างไว้ประมาณ 5 วินาที แล้วค่อยปล่อยแขนลงตามสบาย ทำเช่นนี้สลับกันทั้ง 2 ข้าง ข้างละ 5 ครั้ง

ท่าที่ 7 บริหารกล้ามเนื้อไหล่ 

นั่งหลังตรง ยกไหล่ทั้งสองข้างขึ้นไปจนสุด แล้วเกร็งค้างไว้ประมาณ 10 วินาที แล้วจึงกดไหล่ทั้งสองข้างลงไปให้สุด เกร็งค้างไว้ ประมาณ 10 วินาที

ท่าที่ 8 ยืดกล้ามเนื้อหลัง

ทิ้งแขนทั้งสองลงแนบลำตัว เอนตัวไปทางซ้าย ยืดแขนซ้ายลงไปแตะใกล้พื้นมากที่สุด ทำค้างไว้ 10 วินาที แล้วสลับไปทำอีกข้าง ด้วยการเอนตัวไปทางขวา ยืดแขนขวาลงไปแตะใกล้พื้นมากที่สุด ทำค้างไว้ 10 วินาที ทำสลับไปมาทั้งสองข้าง

ท่าที่ 9 บริหารกล้ามเนื้อด้านหลัง

นั่งหลังตรง โอบแขนทั้งสองข้างกอดตัวเองให้แน่นที่สุด ขยับมือแตะหลังตัวเองให้ได้มากที่สุด ค้างท่านี้เอาไว้ประมาณ 10 วินาที แล้วค่อยคลาย ทำแบบนี้ซ้ำประมาณ 3-4 ครั้ง

ท่าที่ 10 บริหารกล้ามเนื้อหน้าอก 

ลุกขึ้นยืน ประสานมือไว้ด้านหลัง แล้วค่อย ๆ ยกแขนขึ้นจนถึงระดับที่รู้สึกว่าตึง ค้างท่านี้เอาไว้ประมาณ 10 วินาที แล้วค่อยคลาย ทำแบบนี้ซ้ำประมาณ 3-4 ครั้ง

ท่าที่ 11 บริหารบริเวณสะโพก 

นั่งหลังตรง ยกเท้าข้างซ้ายขึ้นมาวางทับบนเข่าขวา จากนั้นเอนตัวมาด้านหน้า จนรู้สึกตึงบริเวณต้นขาด้านซ้าย ค้างไว้ประมาณ 10 วินาที แล้วจึงสลับมาบริหารอีกข้างแบบเดียวกัน

ท่าที่ 12 บริหารกล้ามเนื้อลำตัวด้านข้าง 

ลุกขึ้นยืน ประกบมือเป็นท่าพนมมือ แล้วยืดมือขึ้นบนสุด เอนตัวไปทางด้านซ้ายจนรู้สึกตึงบริเวณด้านข้างลำตัว ค้างไว้ประมาณ 10 วินาที จากนั้นเอนตัวมาด้านขวา ค้างไว้ประมาณ 10 วินาที  

ท่าที่ 13 บริหารขา

ลุกขึ้นยืน ไขว้ขาซ้ายไว้ข้างหน้าขาขวา แล้วค่อยๆ ก้มนำมือไปแตะที่หน้าขา ค้างไว้ประมาณ 10 วินาที แล้วจึงสลับมาบริหารอีกข้างด้วยการไขว้ขาขวาไว้ข้างหน้าขาซ้าย แล้วค่อยๆ ก้มนำมือไปแตะที่หน้าขา ค้างไว้ประมาณ 10 วินาที

ออฟฟิศซินโดรม ป้องกันได้ แค่ปรับพฤติกรรม

หลายคนอาจคิดว่าการนั่งทำงานบนเตียงหรือบนโซฟานุ่มๆ อยู่ที่บ้านเป็นท่าที่สบาย คงไม่ปวดเมื่อยเหมือนการนั่งท่าเดิมเป็นเวลานานๆ ในออฟฟิศ แต่หารู้ไม่ว่าหากนั่งไม่ถูกท่า หรือมีพฤติกรรมการทำงานที่ไม่เหมาะสม จะนั่งทำงานที่ไหนก็เสี่ยงมีอาการออฟฟิศซินโดรมได้ทั้งนั้น

ดังนั้น นอกจากการหมั่นคลายกล้ามเนื้อด้วยท่าบริหารกล้ามเนื้อดังข้างต้นแล้ว ควรป้องกันและบรรเทาอาการของโรคออฟฟิศซินโดรมด้วยการปรับท่านั่ง เปลี่ยนพฤติกรรม ตามคำแนะนำต่อไปนี้ด้วย

  • นั่งทำงานในท่าที่เหมาะสม โดยควรนั่งโดยวางคอมพิวเตอร์ไว้บนโต๊ะ ปรับระดับความสูงของโต๊ะและเก้าอี้ให้เหมาะสมกับสรีระ ให้เข่าอยู่ในระดับเดียวกับสะโพก แขนและข้อศอกงอทำมุมตั้งฉากกัน ข้อมือและแขนอยู่ในระนาบเดียวกัน ใช้ที่รองเท้าหากเท้าไม่ติดพื้น เวลานั่งควรแนบหลังไปกับพนักพิง
  • ตั้งหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ระดับสายตาหรือต่ำกว่าเล็กน้อย ให้คออยู่ในท่าธรรมชาติ ไม่ก้มหรือเงยมากเกินไป และมีในระยะสายตาที่เหมาะสม
  • พยายามอย่าเผลอเกร็งกล้ามเนื้อส่วนไหนเป็นเวลานาน หมั่นเปลี่ยนอิริยาบถ ขยับร่างกายเมื่อเมื่อยล้า หรือลุกขึ้นเดินไปมาอย่างน้อยทุกๆ 1 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมต่อเนื่องเป็นเวลานานจนเกินไป
  • ออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ รวมถึงการยืดคลายกล้ามเนื้อตามท่าบริหารเบื้องต้น
  • หมั่นผ่อนคลายจากความเครียด ไม่ควรเคร่งเครียดกับการทำงานมากจนเกินไป

โรคออฟฟิศซินโดรม ป้องกันและบำบัดได้ด้วยตนเอง เพียงหมั่นบริหารร่างกายคลายกล้ามเนื้อตามขั้นตอนเหล่านี้เป็นประจำ คุณก็จะทำงานได้อย่างราบรื่นโดยไม่ต้องกังวลกับอาการปวดเมื่อยที่แสนทรมานและน่ารำคาญใจจากโรคนี้ 

หากกังวลใจกับอาการปวดเมื่อยจากออฟฟิศซินโดรม ลองเข้ามารับคำปรึกษาจากแพทย์ได้ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก โดยสามารถจองนัดล่วงหน้าได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ กับคำถามที่พบบ่อย

    /    บทความ    /    วัคซีนไข้หวัดใหญ่ กับคำถามที่พบบ่อย

Q&A ถามตอบเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่

Q&A ถามตอบเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ใครควรฉีด คนท้องฉีดได้ไหม มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง ฉีดตอนไหนดีที่สุด ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้นานแค่ไหน

ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่มีอาการคล้ายโรคหวัดทั่วไป แต่มีโอกาสเกิดอาการรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้มากกว่า โดยจากการคาดการณ์ของหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา ในแต่ละปีโรคไข้หวัดใหญ่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตถึงประมาณ 2.9-6.5 แสนคนทั่วโลก ด้วยเหตุนี้แพทย์จึงแนะนำให้ทุกคนรับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี เพื่อป้องกันตัวเองและคนรอบข้างจากการติดเชื้อและช่วยลดความรุนแรงของโรค

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ช่วยป้องกันได้แค่ไหน ควรฉีดเมื่อไหร่ ฉีดได้ทุกคนหรือไม่? พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก ชวนคุณมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน เตรียมพร้อมเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อสู้เชื้อไข้หวัดใหญ่ประจำปีนี้

ติดไข้หวัดใหญ่เสี่ยงตาย 2 เท่า รู้หรือไม่คุณสามารถติดไข้หวัดใหญ่พร้อมโควิด-19 ได้ เช็คกลุ่มและช่วงเวลาการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ดีที่สุดได้เลยกับคุณหมอพรีโมแคร์

1 วัคซีนไข้หวัดใหญ่ช่วยป้องกันการติดเชื้อได้อย่างไร?

ตอบ: วัคซีนไข้หวัดใหญ่ทำจากเชื้อไวรัสที่ไม่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อได้แล้ว โดยจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาต่อสู้กับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เมื่อมีการสัมผัสเชื้อในอนาคต

2 ทำไมต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี?

ตอบ: ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนจะค่อยๆ ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป ประกอบกับสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในแต่ละปีจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ จึงต้องมีการอัปเดตวัคซีนไข้หวัดใหญ่เพื่อปรับเปลี่ยนส่วนประกอบให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันสายพันธุ์ของปีนั้นๆ มากขึ้น แน่นอนว่ามีโอกาสที่คุณจะสัมผัสและติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์อื่นที่ไม่ใช่ส่วนประกอบหลักของวัคซีนได้ แต่การฉีดวัคซีนก็ยังจำเป็นและมีประโยชน์ในการช่วยลดความรุนแรงจากการติดเชื้อได้อยู่ดี

3 ใครบ้างที่ควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่?

ตอบ: ทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ควรรับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะกลุ่มที่เสี่ยงเกิดอาการรุนแรงหรือมีภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ดังต่อไปนี้

  • หญิงตั้งครรภ์
  • เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี
  • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป
  • ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย เบาหวาน และผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ในระหว่างการรับเคมีบำบัด 
  • ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
  • ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • ผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 100 กก. ขึ้นไป
  • บุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ทำงานใกล้ชิดผู้ป่วย

กลุ่มเสี่ยงข้างต้นสามารถสอบถามกับทางอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อจองคิวนัดหมายฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ฟรี โดยจะเปิดจองในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์-เมษายนของทุกปีทางช่องทางต่างๆ ได้แก่ หน่วยบริการสุขภาพประจำชุมชน สายด่วน 1330 (กด 1 และกด 8) กระเป๋าสุขภาพในแอปพลิเคชันกระเป๋าตัง หรือทางแอปพลิเคชัน LINE @UCBKK กรณีอาศัยอยู่ในกทม. หรือมีสิทธิบัตรทอง

4 ใครที่ไม่ควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่?

ตอบ: บุคคลต่อไปนี้ไม่ควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

  • เด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน ซึ่งหากคุณแม่ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ขณะตั้งครรภ์ เด็กก็จะมีภูมิคุ้มกันต่อโรคไข้หวัดใหญ่ในช่วงนี้
  • ผู้ที่เคยมีอาการแพ้วัคซีนไข้หวัดใหญ่อย่างรุนแรง

บุคคลต่อไปนี้ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนฉีดวัคซีนทุกครั้ง

  • มีอาการแพ้ไข่ไก่อย่างรุนแรง เพราะวัคซีนไข้หวัดใหญ่บางชนิดอาจทำมาจากไข่ไก่ 
  • มีประวัติเป็นโรค GBS (Guillain-Barré Syndrome)
  • มีไข้ รู้สึกไม่สบาย เจ็บป่วยเฉียบพลัน หรือมีโรคประจำตัวที่อาการกำเริบหรือยังควบคุมไม่ได้ ซึ่งแพทย์อาจแนะนำให้เลื่อนการฉีดวัคซีนไปก่อน

5 วัคซีนไข้หวัดใหญ่ช่วยป้องกันได้แค่ไหน?

ตอบ: เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นเชื้อที่ติดต่อและแพร่กระจายได้ง่าย การฉีดวัคซีนไม่เพียงช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ แต่ยังป้องกันอาการรุนแรงที่อาจทำให้ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล และลดอัตราการเสียชีวิต ทั้งยังช่วยปกป้องคนรอบข้างจากการได้รับเชื้อ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่สามารถฉีดวัคซีนและผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดอาการรุนแรงหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายหากติดเชื้อไข้หวัดใหญ่

6 ฉีดแล้วป้องกันได้ทันทีหรือไม่?

ตอบ: หลังจากฉีดวัคซีนแล้วยังต้องรอเวลาให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาต่อสู้โรคอย่างเต็มที่ ประมาณ 2 สัปดาห์ 

7 ควรฉีดเมื่อไหร่?

ตอบ: สามารถฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ตลอดปี แต่ถ้าจะให้ดีควรฉีดก่อนช่วงที่เริ่มมีการระบาด คือ ช่วงก่อนฤดูฝนในเดือนพฤษภาคม และก่อนฤดูหนาวในเดือนตุลาคม

8 ฉีดวัคซีน 2 ครั้งในปีเดียวกัน ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันได้หรือไม่?

ตอบ: การฉีดวัคซีนก่อนฤดูแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่ปีละ 1 ครั้งนั้นเพียงพอแล้ว และจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ไม่พบว่าการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่มากกว่าปีละ 1 ครั้งในช่วงการแพร่ระบาดเดียวกันจะช่วยป้องกันได้มากกว่าเดิม เว้นแต่เป็นการฉีดในเด็กอายุต่ำกว่า 9 ปีที่ได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นปีแรกเท่านั้น ซึ่งจะแนะนำให้ฉีด 2 เข็ม โดยเว้นระยะเข็มที่ 2 จากเข็มแรก 4 สัปดาห์

9 ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนมีอะไรบ้าง?

ตอบ: วัคซีนไข้หวัดใหญ่มีความปลอดภัยสูง อาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนส่วนใหญ่จะไม่รุนแรงและหายไปได้เองใน 1-2 วัน โดยอาการที่พบได้บ่อย ได้แก่ มีไข้ต่ำ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และปวดบริเวณรอบๆ ที่ฉีดวัคซีน เนื่องจากเป็นการฉีดเข้ากล้ามเนื้อบริเวณต้นแขน 

เพื่อลดอาการปวดแนะนำให้หมั่นขยับและเคลื่อนไหวแขนตามปกติ หากมีอาการปวดมากสามารถรับประทานยาแก้ปวดได้ ทั้งนี้ สตรีมีครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานยาทุกครั้ง

10 สังเกตอาการแพ้วัคซีนอย่างไร?

ตอบ: อาการแพ้รุนแรง (Anaphylaxis) จากการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่นั้นพบได้น้อยมาก ส่วนมากหลังฉีดวัคซีนแพทย์หรือพยาบาลจะแนะนำให้นั่งรอสังเกตอาการข้างเคียงหรืออาการแพ้เป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาที หากมีสัญญาณของการแพ้ ได้แก่ อาการบวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลำคอ มีผื่นลมพิษขึ้นตามตัว หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ วิงเวียนศีรษะ ควรรีบแจ้งให้แพทย์ทราบทันที

11 การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทำให้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้หรือไม่?

ตอบ: วัคซีนไข้หวัดใหญ่ทำจากไวรัสที่ตายแล้ว ซึ่งไม่สามารถก่อให้เกิดโรคได้ จึงไม่ต้องกังวลว่าจะทำให้เกิดการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่แต่อย่างใด โดยอาการไข้อ่อนๆ หรืออาการปวดกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีนเป็นสัญญาณทั่วไปที่บ่งบอกว่าร่างกายของคุณกำลังสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาต่อสู้โรคนั่นเอง

12 ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ช่วยป้องกันโรคโควิด-19 ได้หรือไม่?

ตอบ: โรคไข้หวัดใหญ่และโรคโควิด-19 เกิดจากการติดเชื้อไวรัสต่างชนิดกัน การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่จึงไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อโรควิด-19 ได้ และมีความเป็นไปได้ที่คุณจะติดเชื้อไข้หวัดใหญ่และเชื้อโควิด-19 พร้อมกัน ซึ่งมีแนวโน้มทำให้อาการรุนแรงยิ่งขึ้น การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ป้องกันไว้จึงเป็นทางเลือกที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 นอกจากนี้ยังถือเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของระบบสุขภาพ ทั้งบุคลากรทางการแพทย์และจำนวนเตียงในโรงพยาบาล ที่ในขณะนี้ต้องแบ่งมาดูแลผู้ป่วยโควิด-19 เป็นจำนวนมากอีกด้วย 

13 ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่พร้อมวัคซีนโควิด-19 ได้ไหม?

ตอบ: ไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนทั้งสองชนิดพร้อมกัน เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แนะนำว่าควรเว้นระยะห่างการฉีดวัคซีน 2 ชนิดนี้เป็นเวลาอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ โดยหลังจากฉีดวัคซีนโควิด-19 ครบแล้ว ควรรออย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ ก่อนจะรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ หรือหากฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ก่อน ก็ควรรออย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ ก่อนจะเริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 

โรคโควิด-19 และไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันไปพร้อมกัน ยิ่งฝนตก อากาศชื้นแบบนี้ ยิ่งวางใจไม่ได้

อุ่นใจไว้ก่อน ปกป้องตัวคุณเองและคนที่คุณรักจากไข้หวัดใหญ่ได้ตั้งแต่วันนี้ สอบถามและนัดหมายฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำปีกับทีมแพทย์ของเราได้เลยที่ LINE @primoCare

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

Primary Care บริการสุขภาพใกล้บ้าน ดูแลเคียงข้างตั้งแต่ต้นจนจบ

    /    บทความ    /    Primary Care บริการสุขภาพใกล้บ้าน ดูแลเคียงข้างตั้งแต่ต้นจนจบ

Primary Care บริการสุขภาพใกล้บ้าน ดูแลเคียงข้างตั้งแต่ต้นจนจบ

Primary Care บริการสุขภาพใกล้บ้าน
ดูแลเคียงข้างตั้งแต่ต้นจนจบ

คุณหมอ Primary Care กำลังสอบถามอาการคนไข้ที่นอนอยู่บนเตียงอย่างอบอุ่นและเป็นมิตร

Primary Care หรือ “ระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ” เป็นคำที่หลายคนอาจฟังแล้วไม่เข้าใจ หรือบางคนอาจคิดว่าหมายถึงการรักษาอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ แต่แท้จริงแล้วในหลายประเทศ บริการสุขภาพแบบ Primary Care มีบทบาทสำคัญในฐานะการบริการด้านสุขภาพด่านแรกที่ทุกคนจะได้รับเมื่อมีความต้องการทางสุขภาพที่ไม่ฉุกเฉิน

กล่าวได้ว่า Primary Care คือ บริการหลักที่ช่วยดูแล รักษา และให้คำแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพอย่างต่อเนื่องไปตลอดชีวิต เปรียบเสมือนหมอประจำตัวที่คุ้นเคยและรู้จักคนไข้ในแง่มุมรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นอาการหนักหรือเบา 

ทำความรู้จักกับระบบสุขภาพปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ 

สถานบริการสุขภาพแต่ละแห่งจะมีการแบ่งขอบเขตของการให้บริการสุขภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งมีตั้งแต่การดูแลรักษาทั่วไปจนถึงการดูแลรักษาแบบเฉพาะทาง โดยสามารถแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ 

การบริการปฐมภูมิ (Primary Care) คือ บริการสุขภาพที่ใกล้ชิดชุมชนที่สุดและควรเป็นบริการระดับแรกที่ผู้ป่วยนึกถึงเมื่อมีความเจ็บป่วยที่ไม่ฉุกเฉิน หรือมีความกังวลใจไม่ว่าทางกายหรือทางจิตใจ

บุคลากรในระบบ Primary Care คือผู้เชี่ยวชาญในโรคที่พบบ่อย สามารถให้การวินิจฉัยและดูแลตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของความเจ็บป่วย โดยประกอบด้วยหมอเวชศาสตร์ครอบครัว หมอเวชปฏิบัติทั่วไป พยาบาล และทีมสหวิชาชีพ เช่น ทันตแพทย์ เภสัชกร นักกายภาพบำบัด นักจิตวิทยา เป็นต้น มักอยู่ในลักษณะคลินิกหรือศูนย์สุขภาพในชุมชนต่างๆ

Primary Care เน้นการดูแลแบบองค์รวมและดูแลอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดีตลอดชีวิต ได้แก่ การรักษาโรคทั่วไป อาการเจ็บป่วยเฉียบพลัน การติดตามดูแลอาการโรคเรื้อรัง การฟื้นฟูสุขภาพอย่างการทำกายภาพบำบัด โภชนบำบัด รวมถึงการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค เช่น การฉีดวัคซีน และการตรวจสุขภาพ ทั้งยังมีระบบการปรึกษาและส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางซึ่งเป็นบริการสุขภาพระดับทุติยภูมิและตติยภูมิ

การบริการทุติยภูมิ (Secondary Care) คือบริการสุขภาพที่รองรับผู้ป่วยที่ถูกส่งต่อมาจากคลินิกหรือศูนย์สุขภาพต่างๆ ในกรณีที่ต้องรับเข้าเป็นผู้ป่วยใน เช่น โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลเอกชน และคลินิกเฉพาะทางที่ตั้งอยู่ในโรงพยาบาลต่างๆ

การบริการตติยภูมิ (Tertiary Care) บริการสุขภาพเฉพาะทางที่มีอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการตรวจรักษาอย่างครบถ้วน ซึ่งมักต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสูง ได้แก่ โรงพยาบาลศูนย์ สถาบันเฉพาะทางต่างๆ และโรงพยาบาลในโรงเรียนแพทย์ ผู้ป่วยอาจได้รับการส่งต่อมาจากหน่วยทุติยภูมิหรือหน่วยปฐมภูมิโดยตรงก็ได้ ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรค

หลักการของบริการสุขภาพแบบ Primary Care

ระบบ Primary Care คือการดูแลสุขภาพตามหลักเวชศาสตร์ครอบครัว และการประยุกต์ความรู้ด้านการแพทย์ จิตวิทยา สังคมศาสตร์เข้าด้วยกัน โดยรวมมีหลักการทำงานที่เป็นหัวใจสำคัญ ดังต่อไปนี้ 

  • ดูแลรักษาทุกอาการในเบื้องต้น รวมถึงให้คำแนะนำในการดูแลส่งเสริมสุขภาพ ในฐานะบริการสุขภาพด่านแรกที่ใกล้ชิดชุมชนที่สุด 
  • เข้าถึงทุกคน ทุกเพศ ทุกวัยอย่างเท่าเทียมกัน โดยประยุกต์เทคโนโลยีมาช่วยในการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ และให้คำปรึกษา  
  • ดูแลแบบองค์รวมโดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ให้ความสำคัญกับทุกมิติที่อาจส่งผลต่ออาการเจ็บป่วย โดยผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการค้นหาแนวทางการดูแลส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน การรักษาโรค นอกจากนี้ยังมองภาพรวมในระดับครอบครัวและชุมชนไปพร้อมกัน เช่น ความสัมพันธ์และปัญหาในครอบครัว วัฒนธรรม ความเชื่อ และศาสนา เพื่อให้เข้าใจภาพรวมทั้งหมดที่ส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น
  • ดูแลต่อเนื่องในทุกด้านและตลอดเส้นทางสุขภาพ ตั้งแต่การให้ความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในตอนที่ยังไม่เจ็บป่วย การตรวจสุขภาพ การจัดการเมื่อพบความเสี่ยง การรักษา และการฟื้นฟูสุขภาพไม่ให้เสื่อมถดถอยหรือพิการ รวมถึงให้คำแนะนำในการดูแลตัวเองเพื่อสุขภาพดีที่ยั่งยืน
  • มีระบบการปรึกษาและส่งต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ที่เหมาะสม ทำงานอย่างเชื่อมโยงกับระบบบริการทางการแพทย์ในระดับอื่นๆ เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ

ความสำคัญของ Primary Care ต่อระบบสุขภาพและระบบสาธารณสุขของไทย

ปฏิเสธไม่ได้ว่าระบบบริการสุขภาพของไทยในปัจจุบันมีลักษณะพึ่งพาโรงพยาบาลเป็นหลัก เมื่อเจ็บป่วยหรือมีปัญหาสุขภาพ ไม่ว่าจะหนักหรือเบา คนส่วนมากมักเลือกไปโรงพยาบาลไว้ก่อน โดยมีความคิดว่ายิ่งเป็นโรงพยาบาลใหญ่ที่มีหมอเฉพาะทางหลากหลายด้านยิ่งดี ผลที่ตามมาก็คือปัญหาคนไข้ล้นโรงพยาบาล ต้องรอคิวนาน คุณภาพและความพึงพอใจต่อการบริการลดลงเนื่องจากความเร่งรีบและเวลาในการปรึกษาหมอที่สั้นลง 

ในความเป็นจริง หมอในระบบ Primary Care ซึ่งได้แก่ หมอเวชศาสตร์ครอบครัว และหมอเวชปฏิบัติทั่วไป เป็นหมอที่มีความเชี่ยวชาญไม่น้อยไปกว่าหมอเฉพาะทาง แต่เป็นความเชี่ยวชาญในลักษณะรอบด้าน สามารถให้การตรวจรักษาเบื้องต้นได้ทุกโรค

นอกจากนี้ยังมีทักษะในการเข้าถึงประชาชนและการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ที่เป็นการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นดูแลที่คน ในทุกมิติที่ส่งผลต่อสุขภาพ ทั้งด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และไลฟ์สไตล์ ไม่ใช่แค่อาการเจ็บป่วยทางกายและทางใจเท่านั้น 

ปัญหาสำคัญที่ควรต้องผลักดันและแก้ไขในปัจจุบัน คือไม่มีการปรับใช้ระบบดูแลสุขภาพที่เป็นฐานหลักอย่าง Primary Care ในวงกว้างเท่าที่ควร ทำให้ประชาชนจำนวนมากขาดการได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม

ในขณะเดียวกัน หมอเฉพาะโรคในโรงพยาบาลก็กลายมาเป็นฐานหลักโดยไม่จำเป็น ทั้งๆ ที่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเหล่านี้มีหน้าที่รับผู้ป่วยที่ส่งต่อจาก Primary Doctor ในระบบ Primary Care หรือผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและต้องรับการรักษาอย่างฉุกเฉิน เนื่องจากหมอเฉพาะทางเน้นดูแลรักษาแบบแยกส่วน ตามโรค ตามอวัยวะที่มีปัญหาเท่านั้น 

พรีโมแคร์ มุ่งมั่นสร้างรากฐานสุขภาพที่แข็งแรงไปพร้อมคนไทย

พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก (PrimoCare Medical Clinic) มองเห็นปัญหาและความสำคัญของระบบบริการสุขภาพในประเทศไทย ที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงโดยเน้นรากฐานที่แข็งแรงตามหลักบริการปฐมภูมิ เราพร้อมเริ่มต้นก้าวแรกในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมที่มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง และมอบการดูแลใส่ใจในทุกมิติของความเป็นมนุษย์ เพื่อเป็นเพื่อนร่วมทางที่คุณสามารถไว้วางใจให้ดูแลสุขภาพในทุกๆ ด้านอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยมีเป้าหมายที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยผลักดันระบบบริการสุขภาพเพื่อคนไทยที่มั่นคงและยั่งยืน

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

Toxic Positivity การคิดบวกที่ทำร้ายตัวเราและคนรอบข้าง

    /    บทความ    /    Toxic Positivity การคิดบวกที่ทำร้ายตัวเราและคนรอบข้าง

Toxic Positivity การคิดบวกที่ทำร้ายตัวเราและคนรอบข้าง

Toxic Positivity
การคิดบวกที่ทำร้ายตัวเราและคนรอบข้าง

Toxic Positivity คืออะไร? ทำไมการคิดบวกจึงเป็นพิษร้ายต่อตัวเราและคนรอบข้างได้? ตัวอย่าง Toxic positivity และวิธีการรับมือ

การ Work from home การกักตัว และสถานการณ์ในช่วงโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในหลายๆ ด้าน จนทำให้เรารู้สึกเครียด หดหู่ และอดกังวลถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึงในอนาคตไม่ได้ ถึงอย่างนั้นเราก็มักจะได้ยินถ้อยคำให้กำลังใจจากคนรอบข้างและสื่อต่างๆ ที่คอยบอกให้คิดบวกอยู่เสมอ เช่น ‘โชคดีแล้วที่เรายังมีงานให้ทำจากที่บ้าน’ ‘มองโลกในแง่ดีเข้าไว้’ ‘มีคนอื่นที่แย่กว่าอีกเยอะ’ ‘เรื่องแค่นี้เอง เดี๋ยวมันก็จะผ่านไป’ หรือแม้แต่ ‘ความสุขอยู่ที่ใจเราเอง’

‘คิดบวกเข้าไว้’ อาจไม่ได้ช่วยเยียวยาจิตใจหรือทำให้รู้สึกดีขึ้นอย่างที่เราเคยเชื่อเสมอมา เพราะอาจเป็นการปฏิเสธการมีอยู่ของอารมณ์ในแง่ลบ ทั้งความเศร้า ความหดหู่ ความเครียด ความวิตกกังวล หรือความโกรธ ด้วยการใช้คำพูดในแง่ดีทั้งหลายกดเอาไว้ หรือสร้างมายาคติว่าการแสดงออกถึงอารมณ์แง่ลบจะทำให้เราดูอ่อนแอหรือเป็นคนที่ไม่น่าเข้าใกล้ ซึ่งทั้งหมดนี้แสดงถึงภาวะ “Toxic Positivity” หรือที่แปลว่าภาวะคิดบวกจนเป็นพิษนั่นเอง

ทำไมการคิดบวกถึงทำร้ายเราได้?

Toxic positivity เกิดขึ้นได้ในหลายรูปแบบ อาจเป็นพ่อแม่เราที่ตำหนิหรือลงโทษเมื่อเราแสดงอารมณ์โกรธหรือก้าวร้าว แทนที่จะพยายามถามหาเหตุผลว่าทำไมเราถึงแสดงออกแบบนั้น หรือถ้อยคำให้กำลังใจที่ดูเหมือนปัญหาที่เรากำลังเผชิญเป็นเรื่องเล็กน้อย ทำให้รู้สึกเหมือนไม่ได้รับการรับฟังจริงๆ อาจเป็นโพสต์ในโซเชียลมีเดียของบรรดาเพื่อนๆ และเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ที่ดูจะใช้เวลาในช่วงโควิด-19 อย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ หรือจะเป็นความรู้สึกของคุณเองที่บอกว่าไม่ควรจมอยู่กับความเศร้าหมอง ความวิตกกังวล และความกลัวอย่างที่กำลังเป็นอยู่ก็ได้

เพราะในชีวิตจริงคงไม่มีใครที่จะมีความสุขได้ตลอดเวลา และในแต่ละวันมีทั้งเรื่องดีและร้ายที่ทำให้เกิดอารมณ์หลากหลายทั้งทางลบและทางบวกปะปนกันไปเป็นเรื่องธรรมดา การคาดหวังให้ตัวเองคิดบวกหรือถูกบอกให้กดอารมณ์และความคิดแง่ลบไว้ตลอดจึงเป็นเรื่องที่ต้องฝืนความรู้สึกและขัดกับกลไกทางธรรมชาติ ซึ่งอาจทำให้เกิดอารมณ์ลบซ้ำซ้อน เช่น ความอับอาย หรือการด้อยค่าตัวเอง ซึ่งจะยิ่งไม่เป็นผลดีและอาจนำไปสู่ภาวะสุขภาพจิตที่ย่ำแย่หรือก่อให้เกิดความวิตกกังวลและซึมเศร้าตามมาได้

มีงานวิจัยที่พิสูจน์ว่าคนเราจะตอบสนองอย่างไรเมื่อถูกบอกไม่ให้คิดถึงอะไรบางอย่าง ผลปรากฏว่ากลับยิ่งทำให้คิดถึงสิ่งเหล่านั้นมากขึ้น และงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่แบ่งอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่มและให้ดูวิดีโอ โดยกลุ่มหนึ่งสามารถแสดงอารมณ์ได้ปกติ ในขณะที่อีกกลุ่มต้องทำเหมือนไม่รู้สึกอะไร ผลลัพธ์ชี้ว่ากลุ่มที่เก็บอารมณ์ความรู้สึกเกิดความเครียดมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งนี่อาจนำไปสู่ปัญหานอนไม่หลับ และส่งผลต่อสุขภาพจิตโดยรวมได้

รับมือกับอารมณ์ด้านลบอย่างไรให้ห่างไกล Toxic Positivity

  • หมั่นพูดคุยกับตัวเองและยอมรับทุกความรู้สึกที่เกิดขึ้น เตือนตัวเองว่าอารมณ์ทั้งด้านบวกและด้านลบเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ เราสามารถมองโลกตามความเป็นจริง โดยไม่จำเป็นต้องปิดกั้นหรือกดความรู้สึกแง่ลบไว้ เพราะยิ่งกดไว้เท่าไหร่ก็มีแต่จะยิ่งทำให้รู้สึกแย่นานขึ้นเท่านั้น
  • ซื่อสัตย์กับตัวเองให้มาก หากรู้สึกไม่ดีก็ไม่จำเป็นต้องฝืนทำตัวร่าเริง ไม่ต้องรู้สึกผิดหรือกลัวว่าความรู้สึกแย่ของตัวเองจะรบกวนหรือทำให้คนอื่นไม่สบายใจ เพราะคนที่เราควรใส่ใจมากที่สุดคือตัวเราเอง นอกจากนี้การคิดถึงคนอื่นมากไปจนละเลยความรู้สึกตัวเองยังอาจทำให้ขาดความเคารพตัวเองและเห็นค่าในตัวเองน้อยลงได้ 
  • ระบายสิ่งที่อยู่ในใจ มีงานวิจัยที่พบว่าระบายความรู้สึกออกมาเป็นคำพูดสามารถช่วยลดความรุนแรงของอารมณ์ลงได้ ไม่ว่าจะอารมณ์โกรธ เศร้า หรือความเจ็บปวดทางใจก็ตาม โดยการพูดคุยกับใครสักคนที่พร้อมรับฟังหรือการเขียนลงในไดอารี่นั้นเป็นเหมือนการบอกสมองให้ปล่อยผ่านอารมณ์ลบ ทำให้เราคิดและพะวงถึงเรื่องนั้นๆ น้อยลงได้
  • ดูแลตัวเองให้พร้อมรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้น พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ กินอาหารให้ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ การดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานเหล่านี้ทำได้ทันทีและใช้ได้จริง เพราะเมื่อสุขภาพกายและใจเข้มแข็ง ปัญหาต่างๆ ก็พอจะเบาบางลงไม่มากก็น้อย
  • พักจากโลกโซเชียลที่อาจทำให้รู้สึกอ่อนล้า ในช่วงที่เราแทบไม่ได้พบปะกันข้างนอก แต่เปลี่ยนมาพูดคุยหรือติดตามชีวิตกันและกันผ่านโซเชียลมากขึ้น ทำให้ง่ายที่จะเกิดการเปรียบเทียบชีวิตตัวเองกับคนอื่นที่ดูจะรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่ปกตินี้ได้ดีกว่า จนกลายเป็นความรู้สึกแย่หรือผิดหวังในตัวเองขึ้น แต่ความจริงคือ ใครๆ ก็อยากโพสต์แต่สิ่งดีๆ และในสถานการณ์ที่คาดเดาไม่ได้แบบนี้ เป็นเรื่องปกติที่เราทุกคนต่างกำลังต่อสู้ความรู้สึกโดดเดี่ยว ความวิตกกังวล ความกลัวในหลายๆ เรื่อง ความรู้สึกแย่ที่เกิดขึ้นจึงเป็นเรื่องที่ปกติที่สุด

หยุดยั้ง Toxic Positivity ด้วยพลังแห่งความเข้าใจ 

คำแนะนำหรือพฤติกรรมที่เกิดจากความหวังดีที่ขาดความเข้าอกเข้าใจอาจกลายเป็นการละเลยความรู้สึกของอีกฝ่ายโดยไม่รู้ตัว ลองสังเกตตัวเองดูว่าคุณกำลังเผลอใช้ความคิดบวกที่เป็นพิษทำร้ายคนรอบข้างอยู่หรือไม่ เช่น 

  • ตอบกลับความทุกข์หรือปัญหาของคนอื่นด้วยประโยคคิดบวก ‘อย่าไปคิดถึงมันเลย’ ‘ทุกอย่างจะผ่านไปด้วยดี’
  • การเอาตัวเข้าไปตัดสินแทนที่จะทำความเข้าใจว่าอีกฝ่ายรู้สึกอย่างไร ‘ดีแค่ไหนแล้วที่…’ ‘ถ้าฉันผ่านมาได้ เธอก็ทำได้เหมือนกัน’
  • การกล่าวโทษเมื่ออีกฝ่ายแสดงอารมณ์โกรธหรือไม่พอใจ เช่น ‘แค่นี้ไม่เห็นต้องโกรธ’ ‘ทำไมต้องทำให้เป็นเรื่องใหญ่’
  • การต่อว่าว่าอีกฝ่ายทำเสียบรรยากาศหรือไม่น่าอยู่ใกล้เมื่อพวกเขาเริ่มพูดถึงปัญหาหรือความเศร้าที่กำลังเผชิญ

อย่าลืมว่าเราทุกคนมีสิทธิที่จะรู้สึกอย่างไรก็ได้ ลองเริ่มต้นด้วยการรับฟังโดยไม่ตัดสิน ปล่อยให้พวกเขาได้ระบาย และให้กำลังใจด้วยคำพูดที่แสดงว่าคุณรับรู้และเห็นใจในสิ่งที่พวกเขากำลังเผชิญอยู่ เช่น 

  • ‘รู้สึกยังไงพูดออกมาได้เลย ฉันยินดีรับฟัง’ 
  • ‘เธอต้องเครียดมากแน่ๆ ฉันพอจะช่วยอะไรได้ไหม’ 
  • ‘ชีวิตก็มีวันแย่ๆ แบบนี้ ยังไงฉันก็อยู่ข้างเธอเสมอ’ 
  • ‘เก่งมากที่ผ่านเรื่องพวกนั้นมาได้’
  • ‘ทุกคนก็มีเรื่องราวและข้อจำกัดในชีวิตต่างกัน อย่าฝืนตัวเองมากเกินไป’

เครียด กังวล หดหู่ เศร้า อย่าเก็บไว้คนเดียว ทุกอารมณ์ทุกความรู้สึก พูดคุยกับนักจิตวิทยาได้เสมอ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก พร้อมรับฟังคุณด้วยหัวใจ ติดต่อ LINE @primoCare เพื่อนัดปรึกษาปัญหาสุขภาพใจแบบตัวต่อตัว หรือปรึกษาผ่านทาง Telemedicine กับเราได้เลย 

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ พร้อมวัคซีนโควิด-19 ฉีดได้เลย ไม่ต้องรอ

    /    บทความ    /    ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ พร้อมวัคซีนโควิด-19 ฉีดได้เลย ไม่ต้องรอ

ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ พร้อมวัคซีนโควิด-19 ฉีดได้เลย ไม่ต้องรอ

ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ พร้อมวัคซีนโควิด-19
ฉีดได้เลย ไม่ต้องรอ

วัคซีนไข้หวัดใหญ่สำคัญอย่างไรในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังจำเป็นต้องฉีดไหม ฉีดพร้อมวัคซีนโควิด-19 ได้หรือไม่?

ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปทุกคนควรได้รับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว เนื่องจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นตัวการสำคัญของการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน ซึ่งสามารถก่อให้เกิดอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ทั้งยังมีอัตราการตายสูงในหญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคเรื้อรัง แล้วรู้หรือไม่ว่าในภาวะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แบบนี้ การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ก็ยิ่งมีความจำเป็นมากขึ้น 

วัคซีนไข้หวัดใหญ่จำเป็นอย่างไรในช่วงโควิด-19?

อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่าวัคซีนไข้หวัดใหญ่นั้นช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ เพราะแต่ละวัคซีนย่อมมีคุณสมบัติการป้องกันโรคแต่ละชนิดแตกต่างกันไป ไม่สามารถใช้แทนกันได้ โดยนอกจากการป้องกันและช่วยลดการแพร่กระจายของโรคไข้หวัดใหญ่แล้ว ประโยชน์ของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่จะได้รับมีดังต่อไปนี้

  • ลดอาการรุนแรง ลดการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและอัตราการเสียชีวิต ซึ่งอาจเพิ่มขึ้นทวีคูณหากติดเชื้อไข้หวัดใหญ่และโควิด-19 พร้อมกัน โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป หญิงตั้งครรภ์ เด็กเล็ก และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เป็นต้น
  • ลดความสับสนในการตรวจแยกการติดเชื้อระหว่างไข้หวัดใหญ่และโควิด-19 เพราะเมื่อฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่แล้วก็มีความเสี่ยงไม่มากที่อาการที่เกิดขึ้นจะมาจากโรคไข้หวัดใหญ่ ทั้งยังช่วยเพิ่มศักยภาพในการตรวจผู้เชื้อโควิด-19 เพราะการตรวจที่แม่นยำของ 2 โรคนี้จะใช้วิธีเดียวกัน คือการตรวจแบบ PCR
  • ช่วยแบ่งเบาภาระของบุคลากรทางการแพทย์ ที่ต้องดูแลผู้ป่วยโรคโควิด-19 จำนวนมากต่อวัน เพิ่มจำนวนเตียง เครื่องช่วยหายใจ และห้อง ICU สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ซึ่งเป็นที่ต้องการเป็นจำนวนมากในขณะนี้

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฉีดก่อนระหว่างรอวัคซีนโควิด-19 หรือฉีดพร้อมกันก็ได้ ไม่ต้องรอ

โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่มีความรู้ความเข้าใจทางการแพทย์เป็นอันดีและมีวัคซีนสำหรับป้องกันที่มีประสิทธิภาพอยู่แล้ว ระหว่างที่วัคซีนโควิด-19 ยังไม่มา การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ป้องกันไว้ก่อนคือสิ่งที่เราทำได้ในตอนนี้เพื่อลดความเสี่ยง 

ทั้งนี้ ในกรณีที่ต้องการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในเวลาไล่เลี่ยหรือพร้อมกับวัคซีนโควิด-19 สามารถทำได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องเว้นระยะห่างระหว่างวัคซีนทั้ง 2 ชนิด รวมถึงวัคซีนชนิดอื่นๆ ที่ไม่ใช่วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ตามคำแนะนำอย่างเป็นทางการจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ (CDC) เนื่องจากปัจจุบันมีข้อมูลยืนยันความปลอดภัยของวัคซีนโควิด-19 มากเพียงพอแล้ว

ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้เพื่อตัวคุณเองและคนรอบข้าง หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ อ่านได้ที่บทความ: ถามมาหมอตอบ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ หรือคลิกที่นี่หากต้องการนัดฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก ไม่ต้องรอนาน ไม่ต้องต่อคิว เพราะคนไข้ทุกคนคือคนสำคัญของเรา

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง

Categories
Uncategorized

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ กับ 7 เรื่องเข้าใจผิด ที่คุณอาจไม่เคยรู้

    /    บทความ    /    วัคซีนไข้หวัดใหญ่ กับ 7 เรื่องเข้าใจผิด ที่คุณอาจไม่เคยรู้

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ กับ 7 เรื่องเข้าใจผิดที่คุณอาจไม่เคยรู้

วัคซีนไข้หวัดใหญ่
กับ 7 เรื่องเข้าใจผิดที่คุณอาจไม่เคยรู้

วัคซีนไข้หวัดใหญ่กับ 7 ข้อเท็จจริงที่ต้องทำความเข้าใจกันใหม่ ลองมาเช็กดูว่าคุณเคยมีความเข้าใจผิดเหล่านี้หรือไม่?

ข้อมูลเกี่ยวกับไข้หวัดใหญ่และวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่คุณเชื่อมาทั้งชีวิตอาจเป็นเรื่องเข้าใจผิดมหันต์ พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก ชวนคุณมาลองเช็กให้ชัวร์ก่อนเชื่อเพื่อเตรียมตัวให้พร้อมก่อนฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำปีนี้

1 ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทำให้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่?

✔️ คุณไม่สามารถติดเชื้อไข้หวัดใหญ่จากการฉีดวัคซีนได้ 

เช่นเดียวกับวัคซีนอื่นๆ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ทำมาจากไวรัสที่ตายแล้ว ที่มีฤทธิ์อ่อนลง หรือแค่บางส่วนของไวรัส ซึ่งไม่สามารถก่อให้เกิดโรคได้ แต่เป็นการกระตุ้นให้ร่างกายจดจำและสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาต่อสู้กับเชื้อโรคเมื่อมีการสัมผัสเชื้อในครั้งต่อไป

2 โรคไข้หวัดใหญ่ไม่อันตราย และไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกัน

✔️ ในแต่ละปีมีคนจำนวนมากกว่า 6.5 แสนรายทั่วโลก เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่ 

แม้คนส่วนมากที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่จะมีอาการดีขึ้นภายในเวลา 2-3 สัปดาห์ แต่ก็ยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ติดเชื้อแล้วมีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงถึงขั้นอาจส่งผลต่อชีวิต เช่น ปอดบวม กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ไข้สมองอักเสบ กล้ามเนื้ออักเสบ และการทำงานของอวัยวะหลายอย่างล้มเหลว

3 วัคซีนไข้หวัดใหญ่ มีผลข้างเคียงอันตราย

✔️ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้รับการยืนยันว่ามีความปลอดภัยสูง 

อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่มักเป็นอาการทั่วไปที่ไม่เป็นอันตราย ที่พบได้บ่อย คือ อาการปวด บวม หรือแดงบริเวณที่ฉีด และมีบ้างที่ปวดศีรษะ มีไข้ต่ำ หรือปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งมักจะหายไปเองในช่วง 1-2 วันหลังฉีดวัคซีน 

ส่วนผลข้างเคียงที่ร้ายแรงอย่างอาการแพ้รุนแรงนั้นพบได้น้อยมาก โดยมักเกิดขึ้นภายในไม่กี่นาทีหรือไม่กี่ชั่วโมงหลังฉีดวัคซีน สังเกตได้จากอาการบวมที่ตา ใบหน้า ลำคอ ริมฝีปาก มีผื่นลมพิษขึ้น หายใจติดขัด หน้ามืด หรือวิงเวียนศีรษะ หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที 

นอกจากนี้มีรายงานพบผลข้างเคียงเป็นกลุ่มอาการ Guillain-Barré Syndrome ซึ่งเป็นโรคความผิดปกติเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันที่ส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้มีอาการแขนขาอ่อนแรงและเกิดภาวะอัมพาต แต่พบได้เพียง 1 ในล้านคนเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เป็นโรคนี้หรือมีประวัติเป็นโรคนี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับวัคซีน

4 วัคซีนไข้หวัดใหญ่ไม่ช่วยป้องกัน เพราะฉีดแล้วก็ยังติดเชื้อได้อยู่ดี 

✔️ การฉีดวัคซีนแม้ไม่ได้ช่วยป้องกัน 100% แต่ช่วยลดความรุนแรงจากโรคไข้หวัดใหญ่

วัคซีนไข้หวัดใหญ่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนส่วนประกอบของวัคซีนทุกๆ ปี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสสายพันธุ์ที่ระบาดในปีนั้นๆ จึงมีโอกาสที่คุณจะกับสัมผัสและติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์อื่นที่ไม่ใช่ส่วนประกอบหลักของวัคซีนได้ 

อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ของการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ไม่ใช่แค่ป้องกันการติดเชื้อเท่านั้น แต่ยังช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อและป้องกันอาการรุนแรงที่อาจทำให้ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลได้ ทั้งยังเป็นการช่วยปกป้องคนรอบข้างไม่ให้รับเชื้อจากคุณในทางอ้อม โดยเฉพาะหากคนรอบตัวของคุณเป็นผู้ที่เสี่ยงเกิดอาการรุนแรงจากโรคไข้หวัดใหญ่ เช่น ผู้สูงอายุ เด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 2 ปี หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีโรคเรื้อรังบางชนิด ได้แก่ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการรับเคมีบำบัด และเบาหวาน การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่จะช่วยปกป้องพวกเขาเหล่านี้จากอาการเจ็บป่วยรุนแรงและการเสียชีวิตได้

5 เคยฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ไปแล้ว ไม่ต้องฉีดอีก

✔️ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ควรฉีดทุกปีเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

เนื่องจากสายพันธ์ุของไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่แพร่ระบาดนั้นเปลี่ยนไปทุกปี ประกอบกับภูมิคุ้มกันจากวัคซีนที่ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป จึงควรรับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี ปีละ 1 ครั้ง โดยสามารถฉีดได้ตลอดปี แต่ช่วงเวลาที่แนะนำคือ ก่อนฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม) และก่อนฤดูหนาว (เดือนตุลาคม) ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการระบาด และควรฉีดก่อนประมาณ 2 สัปดาห์เพื่อให้เวลาร่างกายได้สร้างภูมิคุ้มกัน 

6 คนท้องห้ามฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

✔️ ยิ่งตั้งครรภ์ยิ่งต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

ระหว่างตั้งครรภ์ ระบบภูมิคุ้มกันของว่าที่คุณแม่จะอ่อนแอกว่าปกติ เพื่อป้องกันอันตรายจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ จึงแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ทุกคนรับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่และสามารถฉีดได้ในทุกช่วงอายุครรภ์ โดยมีการศึกษาพบว่าการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจขณะตั้งครรภ์กว่าครึ่ง และยังช่วยส่งผ่านภูมิคุ้มกันในการปกป้องทารกจากการติดเชื้อและการเสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่ในช่วง 6-12 เดือนหลังเกิด โดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรกที่เด็กยังไม่โตพอที่จะรับวัคซีนได้

7 คนที่สุขภาพดีอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีน

✔️ สุขภาพดีแค่ไหน ถ้าไม่ป้องกันก็ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้อยู่ดี 

ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ แข็งแรงแค่ไหน ก็ควรฉีดวัคซีนโรคไข้หวัดใหญ่ไว้ เพราะทุกคนสามารถติดเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่และเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ นอกจากนั้นยังมีความเป็นไปได้ที่คุณจะเป็นพาหะกระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว เพราะผู้ที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ประมาณ 20-30% จะไม่แสดงอาการใดๆ 

ทั้งนี้ บุคคลต่อไปนี้คือผู้ที่มีความเสี่ยงเกิดอาการรุนแรง มีภาวะแทรกซ้อน หรือทำให้อาการของโรคที่เป็นอยู่แย่ลง และเป็นกลุ่มที่ทางกรมควบคุมโรคแนะนำว่าควรฉีดวัคซีนเป็นประจำทุกปี 

  • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป
  • หญิงตั้งครรภ์
  • เด็กอายุ 6 เดือน – 2 ปี
  • ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย เบาหวาน และผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ในระหว่างการรับเคมีบำบัด 
  • ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
  • ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย และผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • ผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 100 กก. ขึ้นไป

ผู้มีความเสี่ยงข้างต้นสามารถสอบถามกับทางอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อจองคิวนัดหมายฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ฟรี โดยจะเปิดจองในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์-เมษายนของทุกปีทางช่องทางต่างๆ ได้แก่ หน่วยบริการสุขภาพประจำชุมชน สายด่วน 1330 (กด 1 และกด 8) กระเป๋าสุขภาพในแอปพลิเคชันกระเป๋าตัง หรือทางแอปพลิเคชัน LINE @UCBKK กรณีอาศัยอยู่ในกทม. หรือมีสิทธิบัตรทอง

อย่าให้ความเชื่อที่ผิดมาเป็นอุปสรรคของการมีสุขภาพดี ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เพิ่มความอุ่นใจ ปลอดภัยไว้ก่อน สามารถนัดหมายฉีดวัคซีน หรือปรึกษาทุกเรื่องสุขภาพกับคุณหมอของเราได้ที่ LINE @primoCare

Reference

บทความที่เกี่ยวข้อง