/    บทความ    /    ภูมิคุ้มกันต่ำเพิ่มโอกาสติดโควิด แก้ไขได้อย่างไร?

ภาวะข้อไหล่ติดรักษาได้ด้วยกายภาพบำบัด

ภูมิคุ้มกันต่ำเพิ่มโอกาสติดโควิด แก้ไขได้อย่างไร?

โควิด-19 เป็นไวรัสที่จะแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เซลล์ของเชื้อไวรัสโคโรนา จะเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อในร่างกาย ส่งผลต่อการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน ทั้งปริมาณและคุณภาพ ซึ่งทำให้ร่างกายไม่สามารถควบคุมเชื้อโรคไม่ให้กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ ทั้งนี้เชื้อไวรัสนั้นจะเข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรงจะติดเชื้อได้ง่าย และยังทำให้เชื้อลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ได้เร็วกว่าผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี

ระบบภูมิคุ้มกัน (Immune System)

ระบบภูมิคุ้มกัน เป็นระบบที่ช่วยในการดักจับเชื้อโรค สิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย หากร่างกายมีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ ก็จะยิ่งทำให้เชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น หากร่างกายขาดระบบภูมิคุ้มกัน ก็เหมือนร่างกายไม่มีเกราะป้องกัน ทำให้ร่างกายได้รับแบคทีเรีย เชื้อไวรัส ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันสามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ ภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ จากการสร้างขึ้นเอง (Active Immunity) และภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ ได้รับจากภายนอก (Passive Immunity) โดยสามารถแยกประเภทได้ดังนี้

1. ภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ จากการสร้างขึ้นเอง (Active Immunity) แบ่งออกเป็น

  • Active naturally acquired immunity คือ ภูมิคุ้มกันเกิดภายหลังจากการเป็นโรคติดเชื้อตามธรรมชาติ สามารถป้องกันการติดเชื้อซ้ําได้เช่น หัด สุกใส ส่วนมากมักมีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต
  • Active artificially acquired immunity คือ ภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการได้รับวัคซีน ทำให้กระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกัน สามารถช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ หากมีการติดเชื้อ

2. ภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ ได้รับจากภายนอก (Passive Immunity)

  • Passive naturally acquired immunity เกิดจากได้รับภูมิคุ้มกันโดยตรง จากแม่ไปสู่ลูก ผ่านทางน้ํานมแม่ โดยจะมีผลคุ้มครองในช่วงต้นของชีวิตเท่านั้น
  • Passive artificially acquired immunity เกิดจากการได้รับแอนติบอดีหรือภูมิคุ้มกันสําเร็จรูป เช่น การฉีด Equine Rabies Immunoglobulin (ERIG) ให้ กับผู้ที่ถูกสุนัขบ้ากัด หรือการฉีด Antivenom ให้กับผู้ที่ถูกงูพิษกัด โดยภูมิคุ้มกันแบบนี้อยู่ได้ไม่นาน สามารถถูกทําลายโดยร่างกาย

การสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน

การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจะช่วยป้องกันเชื้อโรคในการเข้ามาทำร้ายร่างกาย ช่วยในการลดการแพร่ระบาดของโรค ลดการเจ็บป่วย และการเสียชีวิต โดยสามารถเริ่มจากตัวคุณเองด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต ทั้งในด้านการรับประทานอาหาร การพักผ่อน ดังนี้ 
  • รับวิตามินดีเพิ่มเติมจากแสงแดด โดยให้มือ แขนและขา สัมผัสแดดเพียงครั้งละ 15 นาที ในช่วงเวลาที่แดดไม่จัดจนเกินไป ได้แก่ก่อน 10 นาฬิกา และหลัง 15 นาฬิกา ทั้งนี้วิตามินดีมีความสำคัญมากต่อการทำงานอย่างสมดุลของระบบภูมิต้านทาน
  • รับธาตุสังกะสีให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เช่น อาหารทะล เนื้อสัตว์ เต้าหู้ ข้าวกล้อง เห็ด ผักโขม งาดำ ถั่วแดง มะม่วงหิมพานต์ ถั่วลิสงานโรค หากภูมิต้านทานโรคทำงานเกินพอดีจะส่งผลเสียต่อร่างกายในทุกระบบ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับให้เพียงพอและเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เพื่อให้ร่างกายสามารถหลั่งโกรทฮอร์โมนได้ในปริมาณมาก ช่วยในการชะลอวัย สมองจะได้รับการฟื้นฟู
  • รับวิตามินซีให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เนื่องจากวิตามินซีมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย โดยควรได้รับในปริมาณอย่างน้อย 400 มิลลิกรัมต่อวัน นอกจากจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแล้ว ยังช่วยให้ระบบขับถ่ายในร่างกายสามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติ 
  • จัดการกับความเครียด อารมณ์เครียดจะส่งผลเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนที่มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกัน ของร่างกาย ทำให้ภูมิต้านทานต่อโรคต่างๆ ลดลงจึงเกิดการติดเชื้อได้ง่าย จึงไม่ควรปล่อยให้ตัวเองเครียด สามารถใช้วิธีการต่างๆ เพื่อลดความเครียด เช่น การทำสมาธิ การออกกำลังกาย การทำสวน รดน้ำต้นไม้ เล่นกับสัตว์เลี้ยง ซึ่งสามารถช่วยลดความเครียดลงได้
  • ออกกำลังกายอย่างพอเหมาะเป็นประจำ นอกจากช่วยให้กล้ามเนื้อร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังช่วยขับของเสียผ่านทางเหงื่อ และเพิ่มปริมาณการไหลเวียนเลือด ช่วยกระตุ้นให้ระบบการไหลเวียนเลือดดีขึ้น แล้วทำให้เม็ดเลือดขาวแข็งแรงสามารถจัดการกับเชื้อโรค อีกทั้งร่างกายจะหลั่งสารเอนดอร์ฟินออกมาหลังการออกกำลังกายเพื่อช่วยทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย ลดความเครียด และความวิตกกังวล ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคภัยได้ ควรออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อยวันละ 30 นาที 3 – 4 วันต่อสัปดาห์
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำ การไปตรวจสุขภาพจะช่วยให้เราเข้าใจสุขภาพของตัวเอง และหากพบกับโรคร้ายก็จะทำให้เรารับมือได้อย่างทันท่วงที การไปตรวจสุขภาพจึงไม่ใช่เรื่องน่ากลัว ยิ่งไปตรวจสุขภาพกับศูนย์บริการที่ดีมีมาตรฐานก็ยิ่งช่วยให้รู้สึกอุ่นใจมากยิ่งขึ้น
อาหารเสริมสร้างภูมิต้านทานช่วยต้านโควิด-19

ภูมิต้านทานทำหน้าที่คุ้มกันเราจากการติดเชื้อ ต้านทานโรคไม่ให้ลุกลามและหายในที่สุด ภูมิต้านทานโรคจะสมบูรณ์เมื่อเรามีร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ การรับประทานอาหารจึงถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกายได้ ดังนี้
  • ผักและผลไม้หลากหลายสีและหลากหลายชนิด เพื่อเสริมวิตามินชี และสารต้านอนุมูลอิสระ
  • รับประทานอาหารกลุ่มที่ให้จุลินทรีย์โปรไบโอติกส์อย่างสม่ำเสมอ เช่น โยคิร์ต นัตโตะ กิมจิ มิโสะ เนยแข็ง แตงกวาดอง
  • ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ อุดมไปด้วยวิตามินซี ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
  • ปลา มีกรดไขมันโอเมก้า 3 และไขมันที่มีประโยชน์ ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวทำงานได้ดีขึ้นและช่วยให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • Low-carb หรืออาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ มีส่วนช่วยสร้างความแข็งแรงให้ร่างกายในระยะยาว มีผลดีต่อความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด ระบบการเผาผลาญอาหารและการควบคุมน้ำหนัก มีผลการวิจัยพบว่าผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานหรือระบบการเผาผลาญอาหารบกพร่องมีความเสี่ยงที่จะมีอาการป่วยรุนแรงหากได้รับเชื้อโควิดมากกว่าคนทั่วไป

หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร หรืออาหารเสริมที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สามารถเข้ามารับคำแนะนำ หรือรับการรักษาโดยแพทย์ได้ที่  พรีโมแคร์ เมดิคอล คลินิก ด้วยบริการ Lifestyle Medicine ที่ให้คำแนะนำตามความต้องการของบุคคล ด้วยแพทย์จากพรีโมแคร์ที่พร้อมให้คำปรึกษาอย่างรอบด้าน ภายใต้การดูเเลอย่างใกล้ชิดจากบุคลากรทางการเเพทย์ของพรีโมเเคร์ สามารถสอบถามหรือนัดหมายล่วงหน้าที่นี่